การสร้างจิต สํา นึก ในการ ทํา งาน

ปัญหาชิ้นงานชำรุดเสียหาย (Defect) ต้องแก้ไขงาน (Rework) หรือไม่ได้คุณภาพ (Defect) เครื่องจักรชำรุด (Machine Breakdown) การส่งงานไม่ตรงเวลา (Delay) ลูกค้าส่งสินค้าคืน หรือ ร้องเรียน (Customer Return or Complain) การไม่บรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกหน่วยงาน ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) และความมั่นคงของบริษัท จากการวิเคราะห์พบว่า การขาดจิตสำนึกคุณภาพ (Quality Awareness) ในการปฏิบัติงาน เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาดังกล่าว ในปัจจุบันหลายหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ให้เกิดขึ้นกับพนักงานทุกคนในหน่วยงาน โดยถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญลำดับต้นของหน่วยงานทีเดียว

Show

ขั้นตอนการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ เริ่มจากการประเมินจิตสำนึกคุณภาพ เพื่อทราบระดับของจิตสำนึกของคุณภาพของพนักงาน แล้วให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับคุณภาพในมิติต่างๆ ความคาดหวัง 3 ประการ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม นอกจากนี้ควรนำเครื่องมือ หรือกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดความต่อเนื่อง จนพนักงานมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีทัศนคติที่ดีในการสร้าง และรักษาคุณภาพ และรักในงานที่ตนปฏิบัติ “การสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติ จึงเป็นแนวทางใหม่ในการบริหารงาน ซึ่งจะพัฒนาวิธีการปฏิบัติงาน และพนักงานผู้ปฏิบัติไปพร้อมๆกัน โดยผ่านกระบวนการรับรู้ที่เหมาะสม ผลที่ได้คือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนในหน่วยงาน”

จุดเด่นของหลักสูตร

จัดทำขึ้นโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยมีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย เน้นการปฏิบัติจริงหน้างาน (Shop floor) จึงทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ หรือต่อยอดในหน่วยงานได้ง่าย

การสร้างจิตสำนึกที่ดีนั้นจะว่าเป็นเรื่องง่ายก็ง่ายจะว่าเป็นเรื่องยากก็ยาก เพราะเป็นเรื่องของจิตที่อยู่ในตัวของบุคคลแต่ละคน สำหรับผู้เขียนเองนั้นการสร้างจิตสำนึกต่อลูกน้องนั้น ผู้เขียนจะใช้ใจของตนเองให้กับการสร้างจิตสำนึกให้กับลูกน้องมากกว่า...

การสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อการทำงานของลูกน้องนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับส่วนราชการ ใครที่เป็นผู้บริหารหรือหัวหน้างานจึงจำเป็นต้องคำนึงถึง...เรื่องการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีเพื่อส่งเสริมให้ลูกน้องได้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีเป้าหมายการทำงานอย่างชัดเจน มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ผลงานที่ทำแล้วเมื่อออกมาก็จะต้องเป็นงานที่ดีมีคุณภาพสูงที่สุด รวมถึงลูกน้องต้องมีจิตสำนึกที่ดีในการช่วยดูแลทรัพย์สินของส่วนราชการเสมือนกับเป็นของของตนเอง...

คนที่เป็นหัวหน้าหรือผู้อำนวยการกอง จำเป็นต้องมีความอดทน รอบคอบ มีทักษะในการฝึกสอนคนให้เป็น รู้จักติดตามผลงานกับลูกน้อง ตรวจสอบความคืบหน้าของงานที่เกิดขึ้นซึ่งเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้ลูกน้องเกิดความคิดริเริ่มและรับผิดชอบงานที่ตนเองทำอย่างเต็มที่เพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ สุดท้ายก็จะทำให้ส่วนราชการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ

สำหรับผู้เขียนเอง สิ่งที่ได้ปฏิบัติในฐานะของการเป็นผู้บริหารหรือผู้อำนวยการกองนั้น ได้นำหลักซึ่งคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อการทำงานภาครัฐมาใช้กับการทำงานต่อลูกน้อง คือ การช่วยสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับลูกน้องในการทำงาน ได้แก่ :

1. การให้ลูกน้องมีอิสระในการทำงานในแบบของเขามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือ ให้ลูกน้องเป็นผู้ตั้งเป้าหมายในการทำงานและกำหนดวิธีการที่ทำให้บรรลุเป้าหมายโดยลูกน้องเป็นผู้ระบุขึ้นมาตามความรับผิดชอบของงานที่ได้ปฏิบัติ รวมทั้งกระบวนการในการแก้ปัญหาต่อการทำงาน และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการทำงาน โดยไม่ขัดแย้งกับกฎเกณฑ์และระเบียบของการทำงาน

2. การมอบอำนาจให้ลูกน้องได้มีการตัดสินใจตามกรอบงานที่พวกเขาได้รับผิดชอบ เพราะจะเป็นการพัฒนาความมั่นใจและความเคารพนับถือในตัวเองซึ่งเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้ลูกน้องเกิดความคิดริเริ่มที่จะทำให้งานสำเร็จอย่างไร โดยได้รับความร่วมมือจากเพื่อนร่วมงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ในฐานะผู้อำนวยการกองก็ต้องแสดงออกถึงความเชื่อมั่นต่อความสามารถของลูกน้องด้วย โดยการมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้อย่างเต็มที่เพื่อให้ลูกน้องได้ทำงานได้สำเร็จลุล่วง

3. การจัดการงานต้องมีระบบ ระบุถึงความรับผิดชอบอย่างชัดเจน เพื่อให้ลูกน้องเกิดความรับผิดชอบต่อผลการกระทำของตน ลูกน้องจะต้องทราบว่าตนเองมีความรับผิดชอบงานอะไรบ้าง? อำนาจของตนมีแค่ไหนและต้องสามารถระบุถึงความสำเร็จในงานที่ตนเองรับผิดชอบได้อย่างชัดเจน

4. การสนับสนุนให้ลูกน้องได้ใช้วิธีการของตัวเองในการตัดสินใจ เพราะจะทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าตัวผู้อำนวยการกองพร้อมที่จะสนับสนุนในการตัดสินใจและการกระทำของพวกเขา และพวกเขาก็พร้อมที่จะทุ่มเทแรงใจและแรงกายให้กับการทำงานเพื่อที่จะได้ผลงานออกมามีคุณภาพมากที่สุด

5. การมอบหมายให้ลูกน้องเรียนรู้งานในหน้าที่สูงขึ้น โดยผู้อำนวยการกองเป็นผู้สอนงานและพยายามให้เขาได้ฝึกหรือมีโอกาสในการทำงานนั้นให้มากที่สุด ตลอดจนรวมถึงการมอบหมายความรับผิดชอบในการแำ้ก้ปัญหา จะเป็นการทำให้ลูกน้องมีจิตสำนึกที่ดีต่อการทำงานได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะทำให้ส่วนราชการมีความสามารถหลากหลายและมีองค์ความรู้จากการเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

ที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนได้ลองปฏิบัติดูแล้ว สิ่งที่ได้ ทำให้ลูกน้องเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยมีผู้เขียนเป็นพี่เลี้ยงคอยชี้แนะ แนะนำ เพื่อที่ลูกน้องจะได้เกิดความคิดที่สร้างสรรค์ สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง เสมือนเป็นการสร้างบุคลากรให้ทำงานในฐานะที่สามารถเป็นหัวหน้างานได้โดยอัตโนมัติ สิ่งใดที่ทำไม่ถูกต้องผู้เขียนจะคอยเป็นผู้แนะนำและที่ปรึกษาให้กับลูกน้อง เพื่อในอนาคตพวกเขาจะได้เติบโตเป็นผู้บริหารและผู้นำที่ดีต่อส่วนราชการได้ต่อไป...

สำหรับลูกน้องของผู้เขียนนั้นมีบุคลากรหลายประเภท เช่น

มีผู้เขียนเองซึ่งเป็นข้าราชการและมีลูกน้องซึ่งเป็น

พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย...แต่พวกเราก็

สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข...

สิ่งที่สำคัญที่พวกเรามีให้ต่อกัน

นั่นคือ...พวกเราได้ใจในการทำงานกันมากกว่า...

ซึ่งจะโยงไปถึงเรื่องของการทำงานเป็นทีมได้ด้วย

หมายเหตุ : สิ่งที่ได้เห็นสำหรับพวกเขา นั่นคือ ผู้เขียน

ได้เห็นพวกเขาได้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ตามหน้าที่

ภาระงานที่พวกเขาได้รับมอบหมายให้ได้ปฏิบัติ

และนี่คือ...การทำงานตามรูปแบบใหม่ที่ผู้เขียนได้กระทำตาม

นโยบายของการทำงานตามภาครัฐแนวใหม่...

โดยคิดว่า...ในอนาคตพวกเขาจะต้องเป็นผู้บริหารหรือผู้นำ

ที่ดีและมีความพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น...

หมายเลขบันทึก: 493282สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน: