จากมามาลิ่วล้ํา ลําบาง ภาพพจน์

บาทแรกตีความได้เป็น 2 ทาง ทางหนึ่ง ตีความว่า คำอยุธยา นั้นหมายถึง           กรุงศรีอยุธยา อดีตราชธานีของไทย ก็อาจถอดความได้ว่า กรุงศรีอยุธยาอันมียศล่มจมไปแล้วคือเสียแก่พม่าแต่แล้วก็ลอยจากสวรรค์เป็นกรุงเทพฯอีกทางหนึ่ง   ตีความว่า คำอยุธยา หมายถึงกรุงเทพฯ ราชธานีปัจจุบัน ก็อาจตีความได้ว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา อันประกอบด้วยยศ หล่นลอยจากสวรรค์ลงมาตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน  ส่วนบาทอื่นๆ เนื้อความชัดเจน บาทที่ 2 พรรณนาความงามของปราสาทราชมณเฑียร   บาทที่ 3 กล่าวถึง อำนาจบุญบารมีแต่ปางก่อนของพระมหากษัตริย์ไทย  ที่ยังผลให้พระศาสนารุ่งเรือง  บาทที่ 4 ความรุ่งเรืองของพระศาสนานั้นจึงปิดทางอบาย(ทุคติ)  และเปิดทางสวรรค์ด้วยการฟื้นฟูจิตใจของประชาชนให้เจริญ

          เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น                    พันแสง
รินรสพระธรรมแสดง                               ค่ำเช้า
เจดีย์ระดะแซง                                       เสียดยอด
ยลยิ่งแสงแก้วเก้า                                    แก่นหล้าหลากสวรรค์โคลงบทนี้

พรรณนาถึงอำนาจของคุณพระรัตนตรัย อันเป็นสรณะในพระพุทธศาสนา  โดยกล่าวว่ารุ่งเรืองยิ่งกว่าแสงพระอาทิตย์  (ในภาษาบาลีมีศัพท์ว่า "สหัสรังสี"  ซึ่งหมายถึงแสงอาทิตย์ ถอดเป็นคำไทยแท้ว่า "พันแสง") มีการแสดงธรรมทุกค่ำเช้า ภาพเจดีย์ที่เรียงรายยอดสูงเสียดกัน มองดูงามยิ่งกว่าแสงจากแก้วเก้าประการ เป็นหลักของแผ่นดินเป็นที่พิศวงแก่สวรรค์

           โฉมควรจักฝากฟ้า                       ฤาดิน ดีฤา
เกรงเทพไท้ธรณินทร์                                ลอบกล้ำ
ฝากลมเลื่อนโฉมบิน                                บนเล่า นะแม่
ลมจะชายชักช้ำ                                      ชอกเนื้อเรียมสงวน

โคลงบทนี้ เป็นกวีโวหารหรือการใช้ภาพพจน์ที่เรียกว่า การกล่าวเกินจริง แสดงความห่วงและหวงหญิงผู้เป็นที่รัก ด้วยการพรรณนาว่า ในการจากไปครั้งนี้ควรจะฝากหญิงผู้เป็นที่รักไว้กับฟ้าหรือดินจึงจะดี ถ้าฝากฟ้าก็ไม่ไว้ใจเทวดา ฝากดินก็ไม่ไว้ใจผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน จะฝากลมก็เกรงว่าลมพัดนางเลื่อนลอยไป  ทำให้เกิดความชอกช้ำแก่ผิวเนื้อของนางซึ่งตนเคยถนอม

           จากมามาลิ่วล้ำ                          ลำบาง
บางยี่เรือราพลาง                                    พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง                                  เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง                                    คล่าวน้ำตาคลอ

โคลงบทนี้เป็นตัวแทนของขนบการแต่งนิราศที่ชัดเจน คือกวีนำชื่อของตำบลที่ผ่านพบมาเชื่อมโยงกับความรู้สึกที่มีต่อหญิงผู้เป็นที่รัก ซึ่งได้แก่ ตำบลบางยี่เรือ เมื่อถึงตำบลบางยี่เรือ ก็ราพายชะลอให้เรือช้าลง พลางพูดกับเรือแผง (เรือที่ใช้แผงกั้นเป็นเครื่องกำบัง) ขอให้ช่วยพานางมา (ปกติหญิงผู้สูงศักดิ์เมื่อเดินทางย่อมมีม่านกั้น)แต่แล้วบางยี่เรือก็ไม่รับคำ จึงได้แต่น้ำตาไหลคลอ

           เอียงอกเทออกอ้าง                       อวดองค์ อรเอย
เมรุชุบสมุทรดินลง                                  เลขแต้ม
อากาศจักจานผจง                                  จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม                               อยู่ร้อนฤาเห็น

โคลงบทนี้ กวีเอียงอกเทความรู้สึกในอกออกหมดสิ้น และพรรณนาต่อไปว่า      แม้จะใช้เขาพระสุเมรุชุบน้ำในมหาสมุทรซึ่งละลายกับดิน (เป็นหมึก) เขียนลงแผ่นฟ้า ก็ยังจารึกไว้ไม่พอและรำพึงว่านางผู้งามดุจลงมาจากฟากฟ้า คงไม่อาจเห็นว่ากวีรุ่มร้อนเพียงใด