ตรวจสอบหลังจากดำเนินการแล้ว ตรงกับข้อใด

PDCA คือ วงจรคุณภาพ เป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพระยะยาวของการดำเนินงาน พร้อมกับกำหนดสิ่งที่ใช้วัดผลว่าการปรับปรุงคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ โดยวงจร PDCA ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ Plan Do Check และ Act

พื้นฐานของทฤษฎีวงจรคุณภาพ PDCA คือ การวางแผนและวนซ้ำไปเรื่อย ๆ ตามลำดับที่เห็นได้จากแผนภาพ โดยเริ่มจาก Plan (วางแผน) > Do (ปฏิบัติ) > Check (ตรวจผล) > Act (ปรับปรุง หรือ นำไปใช้) จนกว่าจะได้วิธีที่สามารถแก้ปัญหาได้จริงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

โดยในแต่ละขั้นตอนของวงจรคุณภาพ PDCA มีรายละเอียดดังนี้:

  • Plan คือ การวางแผนการดำเนินงาน
  • Do คือ การลงมือปฏิบัติจริงตามแผน
  • Check คือ การตรวจสอบและวัดผลว่าดีขึ้นจริงหรือไม่
  • Act คือ การปรับปรุงกระบวนการ
ตรวจสอบหลังจากดำเนินการแล้ว ตรงกับข้อใด
แผนภาพวงจรคุณภาพ Deming หรือ วงจร PDCA ที่เป็นการทดลองซ้ำเรื่อย ๆ

PDCA เป็นแนวคิดของ Edward Deming ที่พัฒนาต่อมาจาก Walter Shewhart ในปี 1950 ทำให้อีกชื่อของวงจรคุณภาพ PDCA คือ Deming Cycle หรือ วงจรเดมมิ่ง หรือ วงจรคุณภาพเดมมิ่ง รวมไปถึง Shewhart Cycle (วงจรชิวฮาร์ท) ตามชื่อผู้พัฒนาแนวคิด

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า PDCA คือ เครื่องมือที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อการพัฒนากระบวนการดำเนินงานขององค์กร แต่ในความเป็นจริง PDCA คือเครื่องมือในการวางแผนพัฒนาที่สามารถใช้กับเรื่องอะไรก็ได้ อย่างเช่น การพัฒนาผลการเรียน และการปรับปรุงวิธีการอะไรบางอย่างให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


Plan (วางแผน)

ขั้นแรกของ PDCA คือ Plan ซึ่งเป็นการวางแผนการดำเนินงาน ว่าจะทำอย่างไรหรือใช้วิธีการอะไรเพื่อให้เป้าหมายที่ต้องการแก้ไข เป็นไปตามผลลัพธ์ที่ต้องการ

โดยในส่วนของ P หรือ Plan จะครอบคลุมตั้งแต่การศึกษาถึงปัญหา การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา การเลือกปัญหาที่จะจัดการแก้ไขก่อนหลัง การจัดตั้งวัตถุประสงค์ ตั้งเกณฑ์ในการประเมินผล การกำหนดงบประมาณ ไปจนถึงขั้นตอนในการดำเนินงาน

ตัวอย่างเช่น ปัญหาที่จะแก้ไขด้วย วงจร PDCA คือ ปัญหางานเอกสารใช้เวลาทำนานเกินไป ก็จะต้องหาสาเหตุว่าอะไรบ้างที่ทำให้งานเอกสารใช้เวลานานและจัดลำดับความสำคัญของที่มาของปัญหา

จากตัวอย่างสมมติว่า เป็นเพราะมีการทำเอกสารซ้ำซ้อนมากเกินไป ดังนั้นจึงใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยการรวมเอกสารหลายอย่างเข้าด้วยกัน และตั้งเกณฑ์ในการประเมินผลด้วย 2 เงื่อนไขคือ

  1. ระยะเวลาในการทำเอกสารลดลง 60 นาที
  2. ความผิดพลาดในการดำเนินงานด้วยเอกสารแบบใหม่ไม่เกิน 10% ของเอกสารทั้งหมด

สำหรับขั้นตอนการหาปัญหาเพื่อปรับปรุงด้วย วงจรคุณภาพ PDCA อาจใช้แนวคิด QCC หรือ Quality Control Cycle (อ่านเพิ่มเติม) เข้ามาช่วยในการหาปัญหาก็ได้

Do (ทำ)

Do คือ ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติของ วงจร PDCA ตามแผนที่ได้วางไว้ในขั้น Plan ก่อนหน้านี้

โดยในขั้น Do การดำเนินงานจะต้องตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัดและมีการควบคุม เพื่อทำให้สามารถตรวจสอบ (ในขั้นถัดไป) ได้ว่า วิธีนี้ได้ผลหรือไม่

Check (ตรวจสอบ)

Check คือ การตรวจสอบ เป็นการตรวจวัดผลจากที่ได้ลงมือปฏิบัติในขั้น Do ว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในขั้น Plan หรือไม่

จากตัวอย่างเดิม เกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ “ระยะเวลาในการทำเอกสารลดลง 60 นาที” และ “ความผิดพลาดในการดำเนินงานด้วยเอกสารแบบใหม่ไม่เกิน 10%”

เมื่อตรวจสอบและได้ผลจากขั้น Check ของ PDCA ก็จะนำไปสู่ขั้นตอนถัดไปคือ Act หรือ การปรับปรุง

Act (ปรับปรุง)

Act คือ ขั้นตอนสุดท้ายของ วงจร PDCA เป็นการปรับปรุงกระบวนการหลังจากที่ได้วัดผลในขั้น Check เพื่อทำให้กระบวนการดังกล่าวสามารถนำไปใช้เป็นขั้นตอนมาตรฐานตามหลังจากนี้

โดยในขั้น Act เป็นผลมาจากขั้น Check หรือ การตรวจสอบผล โดยจะมีเงื่อนไขดังนี้คือ:

  • ถ้าตรวจสอบแล้วพบไว้ว่าไม่สำเร็จตามเกณฑ์ที่วางไว้ในขั้น Plan จะต้องกลับไปปรับปรุงวิธีการใหม่ให้เหมาะสม
  • ถ้าสำเร็จตามเกณฑ์ที่วางไว้ในขั้น Plan วิธีที่ใช้แล้วสำเร็จนี้จะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของการดำเนินงานหลังจากนี้

จากตัวอย่าง ถ้าหากเงื่อนไขที่ใช้วัดผลทั้ง 2 เงื่อนไขสำเร็จ หลังจากนี้งานเอกสารก็จะใช้วิธีนี้ แต่ถ้าไม่สำเร็จตามเงื่อนไขก็จะดูว่าปัญหาเกิดจากอะไร และกลับไปที่ขั้น Plan ของ วงจร PDCA อีกครั้ง พร้อมวิเคราะห์ปัญหาใหม่จากสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมกับปฏิบัติและประเมินผลจนกว่าจะผ่านเงื่อนไขที่ตั้งไว้


วงจรคุณภาพ PDCA กับเรื่องอื่น ๆ

PDCA คือ เครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการปรับปรุงพัฒนากระบวนการดำเนินงานภายในองค์กร แต่ด้วยหลักการของ PDCA ที่เป็นการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นวงจรด้วย Plan Do Check และ Act ทำให้วงจรคุณภาพ PDCA สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่อง

ตัวอย่างเช่น การแก้พัฒนาคะแนนสอบของนักศึกษา ซึ่งอาจพัฒนาด้วยขั้นตอนแบบวงจร PDCA ได้ดังนี้:

Plan หาว่าอะไรทำให้สอบได้คะแนนน้อย แล้วคิดวิธีแก้ปัญหานั้น เช่น เพิ่มเวลาอ่านหนังสือ ตั้งใจเรียนมากขึ้น หรือใช้การสรุปเนื้อหาก่อนสอบ พร้อมกับตั้งว่าในการสอบครั้งหน้าคะแนนจะต้องเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ (ด้วยตัวเลขที่เป็นไปได้)

Do ทำตามขั้นตอนที่วางเอาไว้

Check เปรียบเทียบผลสอบกับคะแนนที่ตั้งเป้าเอาไว้

Act ถ้าเป็นไปตามเป้าแปลว่าหลังจากนี้ต้องใช้วิธีที่ทำในขั้น Do ในการเรียนหนังสือ แต่ถ้ายังไม่เป็นไปตามเป้าก็ต้องหาคำตอบว่าทำไม (เช่น ทำข้อสอบส่วนไหนไม่ได้ เพราะอะไร) แล้วนำไปเพิ่มในการวางแผนในขั้น Plan

Kris Piroj

บรรณาธิการ GreedisGoods | อดีตที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการเงิน | นักลงทุนที่สนใจในเศรษฐศาสตร์มหภาคและอนุพันธ์เป็นพิเศษ | หากบทความเป็นประโยชน์สามารถติดตามเราได้บน Facebook และ Twitter

ข้อใดมีความหมายตรงกับ PDCA

PDCA คือวงจรบริหารงานคุณภาพ ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน Plan-Do-Check-Act หรือ วางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ-ปรับปรุง เป็นกระบวนการที่ใช้ปรับปรุงการทำงานขององค์กรอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

การปฏิบัติตามแผนของวงจร PDCA ตรงกับข้อใด

โครงสร้างของ PDCA ประกอบด้วย 1) Plan คือ การวางแผน 2) DO คือ การปฏิบัติตามแผน 3) Check คือ การตรวจสอบ

PDCA ตัว A หมายถึงข้อใด

PDCA ย่อมาจาก Plan-Do-Check-Act หรือ วางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ- ปรับปรุง PDCA เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาและทำให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement – CI) และทำวนลูปแบบนี้ไปเรื่อยๆจนเป็นวงจร (cycle)

ข้อใดหมายถึง Act

ACT หรือ American College Testing Assessment คือข้อสอบที่วัดทักษะการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา การวิเคราะห์ รวมถึงการสื่อสาร เพื่อนำไปใช้เป็นเกณฑ์ยื่นศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำ ตัวข้อสอบและคะแนนจะมีความคล้ายกับข้อสอบ SAT และ SAT Subject Tests รวมกัน