บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง โครงงานอาชีพ

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาส่วนประกอบโครงสร้างพืชท้องถิ่น คณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้

1.เอกสารที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการทำโครงงาน

2.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการคิดวิเคราะห์

3.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับพืชท้องถิ่นที่นำมาศึกษา

1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับข้องกับการทำโครงงาน

การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้คณะผู้จัดทำได้ใช้ขั้นตอนการศึกษารูปแบบการทำโครงงานซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

               1.1 ความหมายของโครงงาน

               โครงงาน คือ งานวิจัยเล็ก ๆ สำหรับนักเรียน เป็นการแก้ปัญหา หรือข้อสงสัย หาคำตอบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หากเนื้อหาหรือข้อสงสัยเป็นไปตามรายวิชาใด จะเรียกว่าโครงงานในรายวิชานั้น ๆ

               สำหรับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้คือ เมื่อนักเรียนเกิดปัญหา นักเรียนก็ตอบ

ปัญหาชั่วคราว ( ตั้งสมมติฐาน ) นักเรียนออกแบบการทดลอง เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือไม่

ทำการทดลองหรือศึกษาค้นคว้าเพื่อสรุปผล น้าผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ ในการที่นักเรียนจะทำ

โครงงานวิชาใด นักเรียนจะต้องเป็นผู้เลือกหัวข้อที่จะศึกษาค้นคว้า ดำเนินการวางแผน ออกแบบ

ประดิษฐ์ สำรวจ ทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการแปลผลสรุปผลและการนำเสนองาน

โดยตัวนักเรียนเอง อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นเพียงผู้ดูแลให้คำปรึกษา

                 1.2 ประเภทของโครงงาน

                 โครงงานโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

                              1) โครงงานประเภทสำรวจและรวบรวมข้อมูล

                              2) โครงงานประเภททดลอง

                              3) โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์

                              4) โครงงานประเภททฤษฎี

                1.3 ขั้นตอนการทำโครงงาน

                ผู้ศึกษาได้นำวิธีการทำโครงงาน เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ดังนี้

                1. การเลือกหัวเรื่อง เป็นขั้นตอนแรกของการทำโครงงาน ซึ่งนักเรียนจะศึกษาข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้การค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ความอยากรู้อยากเห็น ตลอดจนประสบการณ์ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน การทำโครงงานมีหลายประเภท แต่วิธีที่นำมาให้นักเรียนฝึกหัดทำคือการทำโครงงานแบบสำรวจและรวบรวมข้อมูล การเลือกหัวเรื่องโครงงานประเภทนี้ คือให้นักเรียนเลือกเรื่องที่สนใจ

                2. การรวบรวมข้อมูลและศึกษาแหล่งเรียนรู้ ขั้นตอนนี้ เป็นการศึกษาค้นคว้าข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำ เป็นการกำหนดแนวคิดขอบเขตของเรื่องให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น สนใจทำเรื่อง การนั่งสมาธิเพิ่มเกรด นักเรียนต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการนั่งสมาธิเพื่อพัฒนาผลการเรียน โดยที่ครูอาจให้ความรู้และคำแนะนำในการทำโครงงานรวมถึงความรู้เรื่องการนั่งสมาธิแล้วนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่มีอยู่แล้วในเอกสาร ตำราและให้นักเรียนวิเคราะห์ผลที่ได้ ซึ่งจะทำให้นักเรียน

มีความรู้มากยิ่งขึ้นจนสามารถออกแบบและวางแผนการดำเนินการทำโครงงานได้อย่างเหมาะสม

                3. การออกแบบการทำงาน การออกแบบคือการเขียนเค้าโครงของโครงงาน ถือว่าเป็นการกำหนดแผนงานที่นักเรียนคิดไว้ล่วงหน้าให้เป็นขั้นตอนไม่สับสน ว่าจะทำอะไร ทำกับใคร ทำไมต้องทำ จะทำเมื่อใด จะทำที่ไหน และสนใจจะทำอย่างไร แล้วเสนอต่อครูที่ปรึกษาเพื่อขอความเห็นชอบและคำแนะนำ การเขียนเค้าโครงของโครงงาน ประกอบด้วย

                          1) ชื่อเรื่อง

                          2) ชื่อผู้ทำโครงงาน 

                          3) ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน

                          4) ที่มาและความสำคัญของโครงงาน ควรอธิบายถึงเหตุผลที่เลือกท้าโครงงานนี้ และความสำคัญ

                          5) จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

                          6) สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้าเป็นคำตอบหรือคำอธิบายที่คาดไว้ล่วงหน้าซึ่งอาจจะถูกหรือไม่ก็ได้

                          7) วิธีดำเนินงาน เป็นส่วนที่ระบุถึงแนวทาง วิธีที่จะทำโครงงานโดยละเอียด การเขียน

ควรระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ แนวทางการศึกษาค้นคว้า การออกแบบการทดลอง และการเก็บข้อมูล

                          8) แผนปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่นิยมเขียนเป็นตาราง โดยระบุการดำเนินโครงงานอย่างละเอียดเป็นขั้นตอน ระบุระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมและผู้รับผิดชอบ

                           9) ผลที่คาดว่าจะได้รับ ระบุถึงประโยชน์หรือผลที่จะได้รับหลังจากสิ้นสุดการทำโครงงานนั้นๆ และระบุว่าใครได้รับประโยชน์และผลกระทบหรือมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องอะไร และอย่างไรทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ

                           10) เอกสารอ้างอิง เป็นการเขียนชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือที่จะนำมาประกอบการค้นคว้า

                4. การลงมือทำโครงงาน การลงมือทำโครงงานเป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ออกแบบเค้าโครงที่วางไว้เพื่อให้โครงงานนั้น ๆ เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ซึ่งแล้วแต่ว่าจะเป็นโครงงานประเภทใด อาจเป็นการเก็บข้อมูลของโครงงานแบบสำรวจ หรือการปฏิบัติการทดลอง มีขั้นตอนการศึกษา คือ

                           1) การเตรียมการ เป็นการเตรียมวัสดุ สถานที่ และสมุดบันทึก การทำกิจกรรม

                           2) การลงมือปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ในเค้าโครงการออกแบบ

                           3) การวิเคราะห์และสรุปผล เป็นการนำข้อมูลมาจัดกระทำเพื่อนำเสนออย่างเป็นระบบ

แล้วอธิบายหรือแปลความหมาย สรุปผลการวิเคราะห์ด้วยข้อความสั้น ๆ ชัดเจน

                          4) การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ เป็นการพิจารณาข้อมูลที่ได้วิเคราะห์แล้ว และนำไปหาความสัมพันธ์กับหลักการทฤษฎีหรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว

                5. การเขียนรายงาน การเขียนรายงานโครงงานเป็นวิธีสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพ

เพื่อให้คนอื่น ๆ เข้าใจถึงแนวความคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าข้อมูล ผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน ควรใช้ภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ชัดเจน สั้น ๆ และตรงไปตรงมาโดยให้ครอบคลุมหัวข้อ การเขียนรายงาน มีส่วนประกอบดังนี้

                          5.1 ส่วนนำเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้น ซึ่งประกอบด้วย

                                       1) ปกนอก มีชื่อโครงงาน ชื่อคณะที่ทำ ชื่อที่ปรึกษา ชื่อโรงเรียน

                                       2) ปกรองจะเหมือนกับปกนอก

                                       3) กิตติกรรมประกาศเป็นการเขียนคำขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้อง

                                       4) บทคัดย่อ เป็นการสรุปอย่างย่อ ๆ อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการและผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปต่าง ๆ

                                      5) คำนำ

                                      6) สารบัญ

                             5.2 บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย

                                       1) ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

                                       2) จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

                                       3) ตัวแปรต่าง ๆ หรือการควบคุมตัวแปร

                                       4) ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

                                       5) นิยามศัพท์หรือข้อตกลงเบื้องต้น

                                       6) สถานที่ทำการศึกษา

                               5.3 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นการศึกษาเอกสาร หรือตำรา หลักการ ทฤษฎีหรือวิธีการศึกษาค้นคว้าที่สอดคล้องกับหัวเรื่องที่จะทำโครงงาน และต้องมีการเขียนอ้างอิงแทรกไว้ในเนื้อหา

ที่กล่าวถึงเพื่อแสดงถึงแหล่งที่ค้นคว้า

                               5.4 บทที่ 3 วิธีดำเนินการ ประกอบด้วย

                                    1) วิธีที่ใช้ในการศึกษาโครงงาน

                                    2) แหล่งข้อมูล ได้แก่ ประชากร กลุ่มตัวอย่าง

                                    3) วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

                                    4) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาหรือเก็บข้อมูล

                                    5) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

                              5.5 บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า เป็นการนำเสนอข้อมูลที่จดบันทึกรวบรวมไว้จากการศึกษาค้นคว้ารวมทั้งเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่ได้มี 2 รูปแบบได้แก่ ข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ

                              5.6 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การสรุปผลของการศึกษาควรเขียนตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ การอภิปรายผลเป็นการอ้างอิงหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นศึกษาแล้วว่าสัมพันธ์สอดคล้อง หรือขัดแย้งกับการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ อย่างไร และข้อเสนอแนะ คือ การเสนอแนะสิ่งที่น่าจะศึกษาเพิ่มเติมและปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่จะศึกษาในเรื่องลักษณะเดียวกันต่อไป

                               5.7 เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม เป็นการเขียนชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ที่นำมาประกอบการค้นคว้าเรียงลำดับการเขียนตามลำดับตัวอักษร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ถ้ามากกว่า 5 เล่มให้ใช้คำว่าบรรณานุกรม

                6. การนำเสนอโครงงานและประเมินผล ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนสุดท้าย คือการนำเสนอผลงานโครงงานทั้งหมดให้ผู้อื่นได้ทราบ เป็นขั้นตอนที่สะท้อนการทำงานของนักเรียน ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ทำ และการตอบข้อซักถาม บุคลิกท่าทาง การแสดงผลงานอาจจัดในรูปแบบนิทรรศการ รายงานปากเปล่าหน้าชั้นเรียน

1.4 ประโยชน์ของการเรียนรู้แบบโครงงาน

การทำโครงงานมีประโยชน์ต่อผู้เรียนคือ ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เริ่มตั้งแต่การเลือกหัวข้อเรื่อง การเลือกวิธีการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ เป็นขั้นตอน ผู้เรียนได้มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย คือมีการยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกัน เอื้ออาทรกัน มีเหตุผล มีการแสดงความคิดเห็น ได้ฝึกภาวะผู้นำและผู้ตาม มีความเท่าเทียมกันในการแสดงออกและมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ได้ฝึกความรับผิดชอบ มีนิสัยรักการทำงานและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นหรือในชีวิตจริงได้

2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการคิดวิเคราะห์

               การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ ซึ่งมีกระบวนการ 5 ขั้นตอนดังนี้

                ขั้นที่ 1 กำหนดสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ เป็นการกำหนดวัตถุสิ่งของ เรื่องราว หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อเป็นต้นเรื่อง ที่จะใช้วิเคราะห์ เช่น พืช บทความ เรื่องราวเหตุการณ์ หรือสถานการณ์จากข่าว

 เป็นต้น

               ขั้นที่ 2 กำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์ เป็นการกำหนดประเด็นข้อสงสัยจากปัญหาของสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ซึ่งอาจจะกำหนดเป็นคำถามหรือวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์เพื่อค้นหาความจริง สาเหตุหรือความสำคัญ เช่น ภาพนี้ บทความนี้ ต้องการสื่ออะไรที่สำคัญที่สุด

               ขั้นที่ 3 กำหนดหลักการหรือกฎเกณฑ์ เป็นการกำหนดข้อกำหนดสำหรับใช้แยกส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้ เช่น เกณฑ์ในการจำแนกสิ่งที่มีความเหมือนหรือแตกต่างกันหลักเกณฑ์ในการหาลักษณะความสัมพันธ์เชิงเหตุผล

                ขั้นที่ 4 พิจารณาแยกแยะ เป็นการพินิจ พิเคราะห์ ทำการแยกแยะ กระจายสิ่งที่กำหนดให้ออกเป็นส่วน ๆ โดยใช้เทคนิคคำถาม 5 W 1 H ประกอบด้วย

What (อะไร) Where (ที่ไหน) When (เมื่อไร) Why (ทำไม) Who (ใคร) How (อย่างไร)

                 ขั้นที่ 5 สรุปคำตอบ เป็นการรวบรวมประเด็นที่สำคัญเพื่อหาข้อสรุปเป็นคำตอบ หรือตอบปัญหา

สิ่งที่กำหนดให้

                 เทคนิคการคิดวิเคราะห์อย่างง่ายที่นิยมใช้ คือ 5W 1H

                  1. What (อะไร) ปัญหาหรือสาเหตุที่เกิดขึ้น เช่น เกิดอะไรขึ้นบ้าง มีอะไรเกี่ยวข้อง

กับเหตุการณ์นี้ หลักฐานที่สำคัญที่สุด คืออะไร

                   2. Where (ที่ไหน) สถานที่สำคัญ ตำแหน่งที่เกิดเหตุ เช่นเรื่องนี้เกิดขึ้นที่ไหน เหตุการณ์นี้ น่าจะเกิดขึ้นที่ใดมากที่สุด

                   3. When (เมื่อไร) เวลาที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์นั้น เช่นเหตุการณ์นั้นน่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร เวลาใดบ้างที่สถานการณ์เช่นนี้ จะเกิดขึ้น

                   4. Why (ทำไม) สาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้น เช่นเหตุใดต้องเป็นสถานที่นี้ ท้าไมจึงเกิดเรื่องเช่นนี้

                   5. Who (ใคร) บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องที่จะได้รับผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ เช่น ใครน่าจะอยู่ในเหตุการณ์นี้บ้าง ใครน่าจะเป็นคนที่ทำให้เกิดสถานการณ์นี้มากที่สุด จากเหตุการณ์นี้ ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์

                   6. How (อย่างไร) รายละเอียดของสิ่งที่เกิดขึ้น และกำลังจะเกิดขึ้นมีความเป็นไปได้ในลักษณะใด เช่น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เราจะมีส่วนร่วมแก้ปัญหานี้ ได้อย่างไร

3.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับพืชท้องถิ่นที่นำมาศึกษา

              เอกสารที่เกี่ยวข้องกับพืชท้องถิ่นที่นำมาศึกษา ซึ่งได้แก่ เทียนบ้าน และ ตะไคร้

              3.1 ต้นเทียน

              เทียนบ้าน ชื่อสามัญ Garden Balsam

              เทียนบ้าน ชื่อวิทยาศาสตร์ Impatiens Balsamina Linn. จัดอยู่ในวงศ์ BALSAMINACEAE

              สมุนไพรเทียนบ้าน ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า เทียนดอก เทียนสวน เทียนไทย เทียนขาว เทียน (ภาคกลาง), จึงกะฮวย จี๋กะเช่า เซียวก่ออั้ง ห่งเซียง (จีน), จือเจี่ยฮวา จี๋ซิ่งจื่อ เฟิ่งเซียนฮวา ฝู่เฟิ่งเซียนฮวาจื่อ เป็นต้น

               3.1.1 ลักษณะของเทียนบ้าน

              ต้นเทียนบ้าน หรือ ต้นเทียนดอก มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและแอฟริกา โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุราว 1 ปี มีความสูงของต้นประมาณ 20-70 เซนติเมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านใกล้กับโคนต้น ข้อกลวง ต้นใหญ่ เป็นรูปกลมทรงกระบอก ลำต้นมีลักษณะกลมเป็นสีเขียวอ่อนอมสีแดง อวบน้ำมีเนื้อนิ่ม ผิวเรียบ เนื้อใส โคนต้นเป็นสีแดง พรรณไม้ชนิดนี้มีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ ปลูกได้ง่าย โตเร็ว เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีธาตุอาหารสมบูรณ์ ชอบแสงแดดอ่อนๆ จึงควรปลูกในที่ร่มรำไร

              ใบของเทียนบ้าน

             ใบเทียนบ้าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบต้น ใบมีลักกษณะเป็นรูปรีกว้าง ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบตักเป็นซี่ฟันตลอดทั้งขอบใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้มกว่าลำต้น หลังใบและท้องใบเรียบ บ้างว่าผิวของเนื้อใบสากและหยาบ

             ดอกของเทียนบ้าน

            ดอกเทียนบ้าน ออกดอกเป็นช่อประมาณ 2-3 ดอก หรือออกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามซอกใบ ดอกจะมีหลายสีแล้วแต่สายพันธุ์ เช่น สีชมพู สีแดง สีม่วง สีขาว หรืออาจเป็นสีผสมก็ได้ (แต่นิยมนำดอกขาวมาใช้ทำยา) ดอกมีกลีบดอกประมาณ 4-5 กลีบ กลีบดอกอาจซ้อนกันหรือไม่ซ้อนกันก็ได้ และแต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน ปลายของกลีบดอกหยักเว้าเป็นลอน ส่วนกลีบรองดอกมีลักษณะเป็นรูปถ้วยปากบานออก มีงวงน้ำหวานยาว ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 5 อัน เกิดติดกันอยู่รอบๆ รังไข่ โดยรังไข่แบ่งออกเป็น 5 ห้อง ปลายรังไข่มี 5 รอยแยก ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 3 กลีบ เป็นสีเขียว ออกดอกได้ตลอดทั้งปีและมีสีสดสวย

             ผลเทียนบ้าน

            ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรี ผิวผลมีขนยาวสีขาวปกคลุม ผลเป็นกระเปาะมีรอยแยกแบ่งเป็น 5 กลีบ ผลมีก้านผลยาวมองเห็นได้ชัดเจน ผลเป็นสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่แล้วจะแตกออกตามยาว เปลือกจะบิดม้วนขมวดและดีดเมล็ดออกมา ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีรอยกระอยู่หลายเมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมหรือเป็นรูปไข่แบน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-3 มิลลิเมตร

สรรพคุณของเทียนบ้าน

              1.รากมีรสขมเผ็ด มีพิษเล็กน้อย ใช้กระจายเลือด ขับลมชื้นในร่างกาย (ราก) ส่วนเมล็ดมีพิษ สรรพคุณช่วยกระจายเลือด (เมล็ด) ลำต้นมีสรรพคุณช่วยทำให้เลือดเดินสะดวก (ลำต้น)

             2.ดอกมีสรรพคุณเป็นยาเย็น ใช้บำรุงร่างกาย (ดอก)

             3.เมล็ด ใบ ดอก ทั้งต้นใช้เป็นยาฟอกเลือด (เมล็ด,ใบ,ดอก,ทั้งต้น),บ้างว่ารากก็มีสรรพคุณเป็นยาฟอกเลือดเช่นกัน (ราก)

             4.ใช้แก้จมูกอักเสบ บวมแดง ด้วยการใช้ยอดสดนำมาตำผสมกับน้ำตาลทรายแดง แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น เปลี่ยนเช้าและเย็น (ยอดสด)

             5.ลำต้นนำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำดื่มหรือกลืน เพื่อแก้ก้างปลาหรือกระดูกติดคอ (ต้น) ส่วนเมล็ดก็มีสรรพคุณช่วยแก้ก้างติดคอเช่นกัน โดยใช้เมล็ดสดนำมาตำแล้วกลืนลงไป หรือถ้าไม่มีเมล็ดก็ให้ใช้รากสดนำมาเคี้ยวให้ละเอียดแล้วกลืนลงไปช้าๆ แล้วใช้น้ำอุ่นอมบ้วนปาก เพื่อป้องกันฟันเสีย (เนื่องจากยานี้ละลายกระดูกและฟันได้) (เมล็ด,ราก)

            6.ช่วยทำให้อาเจียน (ลำต้น)

            7.เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะข้น (เมล็ด)

            8.ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ฝีบริเวณต่อมทอนซิล (ทั้งต้น)

            9.ใช้แก้คอเป็นเม็ดเดี่ยวหรือเม็ดคู่ โดยใช้เมล็ดนำมาบดเป็นผง ใช้กระดาษม้วนเป่าเข้าไป ให้อมไว้วันละ 2-3 ครั้ง (เมล็ด)

            10.ทั้งต้นมีรสเผ็ดขม เป็นยาร้อนเล็กน้อย ใช้เป็นยาขับลม (ทั้งต้น,ลำต้น) ใบและดอกมีสรรพคุณเป็นยาสลายลม (ใบ,ดอก)

               3.2 ตะไคร้

              ตะไคร้ (อังกฤษ: Lemon grass, Oil grass )

              ชื่อวิทยาศาสตร์: (Cymbopogon citratus)

              ชื่อท้องถิ่น: จะไคร (ภาคเหนือ), ไคร (ภาคใต้), คาหอม (แม่ฮ่องสอน), เชิดเกรย , เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย

                 3.2.1ลักษณะโดยทั่วไป

               โดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่

                          1.ตะไคร้กอ

                          2.ตะไคร้ต้น

                          3.ตะไคร้หางนาค

                          4.ตะไคร้น้ำ

                          5.ตะไคร้หางสิงห์

                          6.ตะไคร้หอม

                เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป

                  3.2.2 การปลูกและขยายพันธุ์

                ปลูกได้การปักชำต้นเหง้า โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนประมาณหนึ่งคืบ นำมาปักชำไว้สักหนึ่งสัปดาห์ก็จะมีรากงอกออกมา แล้วนำไปลงแปลงดินที่เตรียมไว้ หรืออาจใช้วิธีเอาโคนปักลงไปที่ดินซึ่งเตรียมไว้เลย ให้ห่างประมาณหนึ่งศอก ถ้าปลูกในกระถางใช้วิธีปักโคนลงในกระถางๆละ 2-3 ต้นก็ได้ แล้วหมั่นรดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตั้งไว้ให้โดนแดดตลอดวันจะทำให้โตได้เร็ว ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด ดูแลรดน้ำเสมอและโดนแดดได้ตลอดวัน เจริญได้ในดินแทบทุกชนิด เวลาจะใช้ก็ให้ตัดที่โคนสุดส่วนรากเลย แล้วถอนออกมาทั้งต้นตามต้องการ ต้องคอยตรวจดูเมื่อตะไคร้มีกอเจริญเติบโตได้เต็มที่แล้ว ต้องถอนทิ้งหรือแยกออกไปปลูกใหม่บ้างหรือเอาไปใช้บ้าง จะนำมาหั่นเป็นฝอยๆ ตากลมไว้ให้แห้งสนิทแล้วแพ็คเก็บไว้ใช้ได้นานๆ เพื่อให้ต้นอ่อนโตขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่แยกออกไปต้นจะเล็กและลีบลงเรื่อยๆ และบางที่ก็แคระแกร็น ต้นและกอก็จะโทรม ต้องล้างและปลูกใหม่ทั้งหมดเปลี่ยนเป็นการแตกหน่อทำให้การปลูกและการขยายพันธ์ได้ง่าย

                       3.2.3สรรพคุณ

สรรพคุณ : ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ

                  หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้

                  ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย

                  ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย