สาเหตุของการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

สาเหตุของการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

สาเหตุของการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง

เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรพม่าและอาณาจักรอยุธยา อันเป็นผลมาจากความต้องการของพระเจ้าบุเรงนองซึ่งต้องการได้กรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศราชและอาจถือได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากสงครามช้างเผือก ในปี พ.ศ. 2106 ที่ทรงตีกรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จ

สาเหตุ

  1. เกิดความแตกสามัคคีกันระหว่างสมเด็จพระมหินทราธิราชกับพระมหาธรรมราชาเนื่องมาจากการยุยงของข้าศึก
  2. ไทยขาดกำลังใจต่อสู้เนื่องจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิสวรรคตในขณะบัญชาการศึก
  3. พระยาจักรีซึ่งเป็นแม่ทัพไทยเป็นไส้ศึกให้แก่พม่า
  4. ไทยว่างเว้นการสงครามมานาน พอมีศัตรูมารุกรานก็ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

การเตรียมการของฝ่ายอยุธยา

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้เตรียมการป้องกันบ้านเมืองเพิ่มเติม ดังนี้

  1. สร้างป้อมและหอรบเพิ่มเติม โดยหอรบอยู่ห่างกันหอละ 40 เมตร รวมทั้งเสริมกำแพงให้แข็งแกร่งขึ้น
  2. จัดปืนใหญ่ไว้ตามกำแพงเมืองเป็นจำนวนมาก โดยห่างกันเพียงกระบอกละ 10 เมตร
  3. โปรดให้สร้างแนวกำแพงขึ้นใหม่โดยให้ชิดกับคูเมืองทุกด้าน
  4. ให้สร้างหอรบไว้กลางลำน้ำที่เป็นคูเมืองแล้วเอาปืนใหญ่ติดตั้งไว้บนนั้น

ลำดับเหตุการณ์

       พระเจ้าบุเรงนองทรงนำทัพเข้ารุกรานกรุงศรีอยุธยาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2111 ประกอบด้วยหลายทัพ ทั้งจากพระมหาอุปราชา เจ้าเมืองแปร เจ้าเมืองตองอู เจ้าเมืองอังวะ และเจ้าเมืองเชียงใหม่ เชียงตุงและพิษณุโลก รวมจำนวนได้กว่า 500,000 นายยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก ลงมาถึงพระนครในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน แล้วทัพพระเจ้าบุเรงนองก็ตั้งค่ายรายล้อมพระนครอยู่ไม่ห่างการตั้งรับภายในพระนครส่งผลให้มีการระดมยิงปืนใหญ่ของข้าศึกทำลายอาคารบ้านเรือนอยู่ตลอด ทำให้ได้รับความเสียหายอย่างมาก

       พระเจ้าบุเรงนองทรงพยายยามโจมตีอยู่นานจนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2112 ก็ยังไม่ได้กรุงศรีอยุธยา อีกทั้งยังสูญเสียกำลังพลเป็นจำนวนมากพระองค์ทรงพยายามเปลี่ยนที่ตั้งค่ายอยู่หลายระยะ โดยในภายหลังทรงย้ายค่ายเข้าไปใกล้กำแพงเมืองจนทำให้สูญเสียพลอย่างมาก แต่ก็ทำให้สามารถบุกเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาได้ในที่สุด ประกอบกับการที่พระมหาธรรมราชาทรงเกลี้ยกล่อมพระยาจักรีให้เป็นไส้ศึกในกรุงศรีอยุธยา ครั้นพระยาจักรีได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาพระนครแล้วจึงดำเนินการสับเปลี่ยนหน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆ จนกระทั่งการป้องกันพระนครอ่อนแอลง และทำให้กองทัพพม่าเข้าสู้พระนครสำเร็จโดยใช้เวลาเพียง 1 เดือน

 หลังสงคราม

   สมเด็จพระมหินทราธิราช ถูกพาตัวไปที่กรุงหงสาวดีแต่ประชวรสวรรคตระหว่างทางไปกรุงหงสาวดี โดยพระเจ้าบุเรงนองตั้งให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ของอยุธยา ซึ่งมาจากราชวงศ์สุโขทัย แล้วนำพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาไปเลี้ยงดู ซึ่งพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาคนนั้นคือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งต่อมาในภายหลังเป็นผู้นำที่ทำสงครามกับพม่านำอิสรภาพมาสู่สยาม

    อาณาจักรอยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าเป็นเวลานาน 15 ปี โดยพม่าแต่งตั้งให้พระมหาธรรมราชาธิราชเป็นพระมหากษัตริย์อยุธยาในฐานะประเทศราช ประชาชนส่วนใหญ่ถูกกวาดต้อนไปยังเมืองพม่า โดยเหลือให้รักษาเมืองเพียง 1,000 คน คนที่เหลือก็หนีไปหลบอาศัยอยู่ที่อื่น ทรัพย์สินจำนวนมากถูกลำเลียงไปยังเมืองพม่า พร้อมด้วยพระบรมวงษศานุวงศ์หลายพระองค์ บ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายได้รับความเสียหายเป็นอันมาก

การประกาศอิสรภาพ

    ในปีพ.ศ.2127สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง พ้นจากการเป็นประเทศราชของพม่าตั้งแต่บัดนั้น (รวมเวลาที่เป็นเมืองขึ้นของพม่า 15 ปี) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น3ปีหลังจากพระเจ้าบุเรงนองประชวรและสวรรคตลงในปีพ.ศ. 2124และมังไชยสิงห์ ราชบุตรองค์โตของพระเจ้าบุเรงนองที่รัชทายาทขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้านันทบุเรงแต่พระเจ้าอังวะพระญาติประกาศแข็งเมืองพระเจ้านันทบุเรงจึงบัญชาให้ พระเจ้าแปร พระเจ้าตองอู (พระสังกทัต) พระเจ้าเชียงใหม่ (อโนรธามังสอพระราชอนุชาของพระเจ้านันทบุเรง) พระเจ้า[[กรุงศรีสัตนา คนหุต]] (พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช) และสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชยกกองทัพไปตีกรุงอังวะพระเจ้านันทบุเรงจึงทรงมีรับสั่งให้พระมหาอุปราชา ที่ทรงโปรดให้รักษากรุงฯว่าถ้าสมเด็จพระนเรศวรทรงยกกองทัพมาถึงหงสาวดีให้ฆ่าเสีย (สาเหตุที่ทรงยกทัพมาแทนเนื่องจากพระมหาธรรมราชาทรงพระชราและพระนเรศวรทรงทูลขอ ออกรบเอง) ทุกเมืองยกกองทัพไปหมดแล้วแต่พระนเรศวรทรงเห็นว่าอยุธยาถึงเวลาที่จะเป็นเอกราชเสียทีจึงทรงยาตราทัพออกจากเมืองพิษณุโลกไปอย่างช้าๆถึงเมืองแครง โดยพระองค์ทรงหวังว่าถ้าพระเจ้าหงสาวดีแพ้ก็จะโจมตีกรุงหงสาวดีซำเติมหากทัพหงสาฯชนะก็จะกวาดต้อนครัวไทยที่อยู่ที่ชายแดนพม่ามาไว้เป็นกำลังของพระองค์สืบไปส่วนพระมหาอุปราชา ทรงทราบว่าสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพมาจึงโปรดให้ขุนนางมอญ2คนคือพระยาเกียรติ์และพระยารามศิษย์พระอาจารย์เดียวกันกับพระนเรศวรคือพระมหาเถรคันฉ่องออกมา ต้อนรับโดยทรงสั่งว่าเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมาถึงหงสาวดีพระองค์ (พระมหาอุปราชา) จะเข้าโจมตีจากข้างหน้าและให้พระยา�อย่างเปิดเผยพระองค์จึงเรียกประชุม แม่ทัพนายกองทั้งหมดและนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องและพระสงฆืในวัดนั้นมาเป็นประธานและทรงเล่าเรื่องที่พระเจ้านันทบุเรงคิดปองร้ายพระองค์แล้วพระองค์จึงหลั่งนำจากสุวรรณ ภิงคาร (นำเต้าทอง) ลงสู่พื้นพสุธาและประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินและผู้คนในที่นั้นว่า "ตั้งแต่วันนี้กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดีมิได้เป็นมิตรดังแต่ก่อนสืบไป"เมื่อวันที่ 15พฤษภาคมพ.ศ.2127หลังประกาศเสร็จแล้วทรงตรัสถามชาวเมืองมอญว่าจะมาเข้ากับฝ่ายไทยไหมชาวมอญทั้งหลายก็พร้อมใจกันเข้ากับฝ่ายไทย และทรงจัดทัพบุกตรงไปกรุงหงสาวดีแต่พอข้ามแม่นำสะโตงไปม้าเร็วก็มารายงานพระองค์ว่าพระเจ้าหงสาวดีได้ชัยชนะเหนือพระเจ้าอังวะและยกทัพกลับจวนถึงหงสาวดีอยู่แล้วเห็นไม่ สมควรจึงทรงกวาดต้อนครัวไทยครัวมอญกลับอยุธยาพร้อมพระองค์พระมหาอุปราชาเมื่อทรงทราบว่าพระยามอญทั้ง2ไปสวามิภักดิ์กับสมเด็จพระนเรศวรก็ทรงพิโรธและทราบว่าพระนเรศวรทรง ถอยทัพกลับจึงทรงบัญชาให้สุรกรรมาคุมทัพมาสกัดแต่พระนเรศวรทรงข้ามแม่นำสะโตงไปแล้วทั้ง2ทัพเผชิญหน้ากันแต่แม่นำสะโตงกว้างทั้งสองจึงยิงไม่ถึงกันพระนเรศวร ทรงมีพระแสงปืนอยู่กระบอกหนึ่งมีความยาว9คืบยิงถูกสุรกรรมาแม่ทัพพม่าตายคาคอช้างทหารเห็นแม่ทัพตายก็เสียขวัญถอยทัพกลับไปรายงานพระมหาอุปราชาให้ทรงทราบ ส่วนพระนเรศวรทรงเดินทัพกลับกรุงศรีอยุธยาโดยสวัสดิภาพพระแสงปืนกระบอกนั้นมีชื่อว่า"พระแสงปืนข้ามแม่นำสะโตง"เมื่อทรงถึงอยุธยาก็ทรงเข้าเฝ้าพระราชบิดารายงานเรื่อง ทั้งหมดให้ทรงทราบสมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงทรงปูนบำเหน็จมอญที่สวามิภักดิ์และทรงแต่งตั้งพระมหาเถรคันฉ่องเป็นที่สังฆราชส่วนพระยาเกียรติและพระยารามให้มีตำแหน่งได้ พระราชทานพานทองคุมกองทัพมอญที่สวามิภักดิ์พระราชทานบ้านทีอยู่อาศัยในพระนคร พร้อมกันนั้นได้ทรงมอบพระราชอาญาสิทธิ์แก่สมเด็จพระนเรศวรในการบัญชาการรบเพื่อที่ จะตระเตรียมกำลังคนและอาวุธไว้รับมือพม่า

                    รายชื่อสมาชิก

1. นาย วิทวัส ใจจิตร์มั่น ชั้น ม.4/1 เลขที่ 19

2. นาย ปัญญากร บุญปรุง ชั้น ม.4/1 เลขที่ 1

แหล่งอ้างอิง: 

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87