ผู้ บังคับบัญชา กรมท่า ที่มีความ สามารถ มาก ที่สุด ในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ

กรมท่าหรือกรมพระคลัง โดยปกติแล้วก็จะมีเจ้ากรมคือ เจ้าพระยาพระคลัง (บางสมัยอาจเป็นแค่พระยา) เป็นผู้ควบคุมดูแลครับ แต่ในบางสมัยก็มีการตั้งพระราชวงศ์ขึ้นมากำกับราชการกรมนั้นอีกต่อหนึ่ง ซึ่งการตั้งเจ้านายกำกับกรมมีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ เป็นต้นมาครับ

สมัยรัชกาลที่ ๑

- เจ้าพระยาพระคลัง (สน)
เดิมในสมัยธนบุรีเป็นพระยาพิพัฒน์โกษา ปลัดทูลฉลองกรมท่า จึงโปรดเลื่อนขึ้นมาเป็นเจ้าพระยาพระคลังเมื่อรัชกาลที่ ๑ ครองราชย์  แต่ภายหลังลงไปส่งสำเภาหลวงที่เมืองสมุทรปราการ สำเภาจะข้ามสันดอนออกไป  ส่งใบบอกมาว่าจะขอบายศรีศีรษะสุกร   รัชกาลที่ ๑ จึงรับสั่งว่าเลอะนักแล้ว จึงโปรดให้ลดตำแหน่งมาเป็นพระยาศรีอรรคราช ช่วยราชการในกรมท่าแทน

- เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
เป็นข้าหลวงเดิมของรัชกาลที่ ๑ ในสมัยธนบุรีเป็นหลวงสรวิชิตนายด่านเมืองอุทัยธานี ซึ่งทำความดีความชอบส่งข่าวเกี่ยวกับกรุงธนบุรีให้รัชกาลที่ ๑ ขณะไปรบที่เขมร เมื่อรัชกาลที่ ๑ ครองราชย์จึงโปรดเลื่อนเป็นพระยาพิพัฒน์โกษา     เมื่อเจ้าพระยาพระคลัง (สน) ถูกลดเป็นพระยาศรีอรรคราชจึงได้เลื่อนเป็นพระยาพระคลัง และได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาพระคลังต่อมา (พงศาวดารระบุว่าได้เป็นเจ้าพระยาตั้งแต่แรก แต่ปรากฏในบานแพนกเรื่องราชาธิราช พ.ศ. ๒๓๒๘ ยังระบุว่าเป็น 'พญาพระคลัง')  เป็นกวีคนสำคัญ มีผลงานประพันธ์และงานแปลหลายเรื่อง

- เจ้าพระยาพระคลัง (กุน)
นามเดิม จีนกุน แซ่อึ้ง หรือ หวงจวิน (黃軍) มาจากแต้จิ๋ว เป็นเศรษฐีค้าสำเภา   ในสมัยธนบุรีเป็นพระราชประสิทธิ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ได้เลื่อนเป็นพระยาศรีพิพัฒน์ เจ้ากรมพระคลังสินค้า   หลังจากเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ถึงแก่อสัญกรรมจึงได้เลื่อนเป็นพระยาโกษาธิบดี  แล้วได้เป็นเจ้าพระยา  เรียกกันว่า "ท่านท่าเรือจ้าง" เมื่อรัชกาลที่ ๒ ครองราชย์ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ที่สมุหนายก

สมัยรัชกาลที่ ๒

พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงกำกับราชการกรมท่า มีเสนาบดีกรมท่าคือ

- เจ้าพระยาพระคลัง (กร)
เป็นปลัดกรมข้าหลวงเดิมในรัชกาลที่ ๒   เมื่อรัชกาลที่ ๒ ได้เป็นพระมหาอุปราชจึงโปรดให้เป็นพระยาไกรโกษา กรมท่าของวังหน้า และเมื่อรัชกาลที่ ๒ ครองราชย์จึงได้เป็นเจ้าพระยาพระคลัง (จดหมายเหตุช่วงต้นรัชกาลยังเรียกว่า 'พระยาโกษาธิบดี') ถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลที่ ๒

- เจ้าพระยาพระคลัง (สังข์)
เป็นบุตรเจ้าคุณทองอยู่ พี่นางสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี จึงนับเป็นเชื้อพระวงศ์  รัชกาลที่ ๒ ทรงนับญาติเรียกว่า "พี่สังข์"    เมื่อรัชกาลที่ ๒ ได้อุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงทรงแต่งตั้งเป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็กวังหน้า   เมื่อรัชกาลที่ ๒ ขึ้นครองราชย์จึงย้ายมาเป็นจางวางมหาดเล็กวังหลวง  แล้วได้ขึ้นเป็นเจ้าพระยาพระคลังต่อจากเจ้าพระยาพระคลัง (กร) เรียกกันว่า "เจ้าคุณโกษาสังข์"

มีบันทึกว่าท่านหลงผู้หญิง ให้ภรรยาน้อยประทับตราบัวแก้ว (ตราประจำตำแหน่งเสนาบดีกรมท่า)   เมื่อรัชกาลที่ ๒ ทรงทราบจึงรับสั่งว่า "พี่สังข์เลอะนักแล้ว"  จึงโปรดเกล้าฯ ให้เชิญตราบัวแก้วไปรักษาที่พระคลังมหาสมบัติ เมื่อจะประทับจึงให้ไปที่พระคลังมหาสมบัติแทน   เวลานั้นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงกำกับกรมพระคลังมหาสมบัติอยู่ก่อนแล้ว รัชกาลที่ ๒ จึงโปรดให้กำกับกรมท่าเพิ่มด้วย เพราะทรงเห็นว่ากรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นหลานเจ้าพระยาพระคลัง (กร) จะทำงานด้วยกันได้

ตเมื่อเจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง) สมุหพระกลาโหมถึงแก่อสัญกรรม จึงเลื่อนเจ้าพระยาพระคลัง (สังข์) เป็นเจ้าพระยามหาเสนาที่สมุหพระกลาโหมแทน  ถึงแก่อสัญกรรมในต้นรัชกาลที่ ๓

- เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ)
เป็นบุตรเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)    ในรัชกาลที่ ๑ เป็นนายสุดจินดาหุ้มแพรมหาดเล็ก แล้วเป็นหลวงศักดิ์นายเวรมหาเล็ก แล้วเป็นจมื่นไวยวรนาถหัวหมื่นมหาดเล็ก    ในรัชกาลที่ ๒ ได้เป็นพระยาสุริยวงศ์มนตรีจางวางมหาดเล็ก  ปลายรัชกาลได้ว่าที่กรมท่าจึงราชทินนามเป็นพระยาสุริยวงศ์โกษา  แล้วเลื่อนเป็นเจ้าพระยาพระคลัง  เรียกกันว่า "เจ้าคุณพระคลัง" อยู่ในตำแหน่งยาวนานจนสิ้นรัชกาลที่ ๓

สมัยรัชกาลที่ ๓

เมื่อต้นรัชกาลโปรดให้กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ พระปิตุลาที่ทรงนับถือเป็นพระสหายสนิท กำกับราชการกรมมหาดไทยและกรมท่า  และเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินด้วย (ยุคนั้นเข้าใจว่าหมายถึงที่ปรึกษาราชการผู้ใหญ่) แต่เมื่อกรมหมื่นสุรินทรรักษ์สิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. ๒๓๗๓ แล้วจึงไม่มีการตั้งพระราชวงศ์กำกับกรมท่าตลอดรัชกาล

ตลอดรัชกาลที่ ๓ มีเสนาบดีกรมท่าท่านเดียวคือ เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ซึ่งภายหลังได้ว่าที่สมุหพระกลาโหมเพิ่มอีกตำแหน่ง    ทั้งนี้รัชกาลที่ ๓ จะทรงยกท่านเป็นสมุหพระกลาโหมแต่ท่านปฏิเสธ อ้างว่าที่สมุหพระกลาโหมนั้นไม่ยั่งยืน ขอให้ตั้งผู้อื่น   แต่รัชกาลที่ ๓ ไม่ทรงเห็นผู้อื่นจะเป็นได้ จึงโปรดให้ว่าที่สมุหพระกลาโหมไว้  เมื่อจะกราบทูลหรือลงชื่อในหนังสือจะออกนามว่า "เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม" ถือทั้งตราบัวแก้วและตราพระคชสีห์     มีบันทึกว่าท่านไม่ยอมเป็นที่กลาโหมเพราะไม่อยากทิ้งผลประโยชน์จากตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลังไปจนหมางใจกับพระยาศรีพิพัฒน์ (ทัต) น้องชายที่รอขึ้นเป็นเจ้าพระยาพระคลังต่อ

สมัยรัชกาลที่ ๔

เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ได้เลื่อนขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ได้รับพระราชทานเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม สำเร็จราชการหัวเมืองปากใต้ฝ่ายเหนือทั้ง ๔ ทิศ  และยังคงถือตราบัวแก้วและตราพระคชสีห์ว่าราชการกรมท่าและกรมพระกลาโหมตามเดิม  มีจางวาง ปลัดจางวาง ทนายประจำตำแหน่ง    จมื่นราชามาตย์ (ขำ) บุตรชายได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี เป็นผู้ช่วยราชการในกรมท่า

เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาฯ ถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. ๒๓๙๘ เจ้าพระยารวิวงศ์ได้เลื่อนเป็นเสนาบดีกรมท่าแทน ภายหลังได้เปลี่ยนทินนามเป็นเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี แต่เนื่องจากป่วยเป็นโรคตาจึงลาออกจากตำแหน่งในปลายรัชกาลที่ ๔

ช่วงปลายรัชกาลที่ ๔ ไม่ได้ตั้งเสนาบดีกรมท่าแทน แต่โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพกำกับราชการกรมท่า

สมัยรัชกาลที่ ๕

เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๒๔๑๑ กรมขุนวรจักรธรานุภาพยังทรงกำกับราชการกรมท่า  ในเดือน ๑๒ พระราชทานเลื่อนยศพระยาเทพประชุน (ท้วม) ปลัดทูลฉลองกรมพระกลาโหม น้องชายเจ้าพระยาทิพากรวงศ์เป็นผู้ช่วยกรมท่า

ถึงเดือน ๔ ปลายปี โปรดให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดีสำเร็จราชการกรมท่าตามเดิม  เรียกคืนตราจากกรมขุนวรจักรธรานุภาพ (กล่าวกันว่ากรมขุนวรจักรธรานุภาพไม่ถูกกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน จึงไม่ยอมเสด็จออกจากวังอีกเลย) เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ได้รับอิสริยยศพิเศษคือเพิ่มศักดินาเป็น ๒๐,๐๐๐  ทรงดวงตราจันทรมณฑล มีจางวาง ปลัดจางวาง ทนายประจำตำแหน่ง ได้รับพระราชทานเครื่องยศเทียบเท่าสมเด็จเจ้าพระยา แต่อยู่ในตำแหน่งสั้นๆ ก็ถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. ๒๔๑๓

ใน พ.ศ. ๒๔๑๒ โปรดเกล้าฯ เลื่อนพระยาเทพประชุน (ท้วม) เป็นเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดีที่เจ้าพระยาพระคลัง ดูแลกรมท่าแทน จนถึง พ.ศ. ๒๔๑๘ ได้มีประกาศพระราชบัญญัติตั้งกระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้น แยกราชการฝ่ายการคลังออกจากกระทรวงการต่างประเทศ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ เป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศคนแรก อยู่ในตำแหน่งถึง พ.ศ. ๒๔๒๘ จึงกราบทูลลาออกจากตำแหน่ง

กรมท่าในสมัยโบราณก็ได้พัฒนามาเป็นกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั่นเองครับ

ผู้บังคับบัญชากรมท่าที่มีความสามารถมากที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 2 คือใคร

การที่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงได้รับความไว้วางพระทัยจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยให้ทรงดูแลกำกับกรมท่าซึ่งเป็นหน่วยงานที่สำคัญยิ่ง เพราะควบคุมดูแลรายได้รายจ่ายของแผ่นดิน คงเป็นเพราะทรงพระปรีชาสามารถและทรงขยันขันแข็งเป็นที่พอพระราชหฤทัยสมเด็จพระราชบิดา จึงทรงได้รับตำแหน่งสำคัญ ๆ เรื่อยมา จอห์น ครอว์ฟอร์ด ซึ่ง ...

ผู้ดูแลกรมท่า(การค้าขาย) ในสมัยรัชกาลที่ 2 คือใคร

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอัจฉริยภาพทางด้านการค้ามาตั้งแต่ทรงพระยศ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงกำกับกรมท่า ซึ่งมีหน้าที่ในด้านการค้า และการต่างประเทศ นอกจากจะทรงกำกับดูแลสำเภาหลวงแล้ว ยังทรงมีสำเภาค้าส่วนพระองค์ เช่นเดียวกับพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่หลาย ...

เจ้านายพระองค์ใดในสมัยรัชกาลที่ 2 ที่กำกับราชการกรมท่า

ที่สำคัญคือการค้าของหลวง ซึ่งทรงส่งเสริมให้เจ้านายขุนนางส่งเรือไปค้้าขายต่างประเทศ การค้าในรัชสมัยนี้จึงมีความก้าวหน้าได้กำไรเป็นรายได้ของแผ่นดินเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงกำกับราชการกรมท่า ได้ทรงแต่งสำเภาหลวงออกไปค้ากับเมืองจีนด้วย

บทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 2 ที่ทรงได้รับการยกย่องมากที่สุด คือเรื่องใด

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นับเป็นยุดที่วรรณกรรมด้านร้อยกรองมีความเจริญสูงสุด เนื่องจากในสมัยนี้มีกวีเอกหลายท่าน ได้เขียนผลงานทางวรรณกรรมที่มีคุณค่าไว้หลายเล่ม เช่น ๏ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย - บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ - บทละครเรื่อง อิเหนา (ได้รับยกย่องเป็นบทละครที่ไพเราะที่สุด)

ผู้บังคับบัญชากรมท่าที่มีความสามารถมากที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 2 คือใคร เจ้านายพระองค์ใดในสมัยรัชกาลที่ 2 ที่กำกับราชการกรมท่า ในสมัยรัชกาลที่ 2 หน่วยงานเดิมที่ดูแลเกี่ยวกับการค้าและชาวต่างชาติคือข้อใด เพราะเหตุใดจึงมีการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 ข้อใดเป็นรายได้เพิ่มเติมที่เรียกเก็บในสมัยรัชกาลที่ 2 รายได้เพิ่มเติมที่เรียกเก็บในสมัยรัชกาลที่ 2 ของกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชกรณียกิจด้านดนตรีของรัชกาลที่ 2 ที่สำคัญคืออะไร ปัญหาความมั่นคงของพระราชอาณาจักรที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่ 3 คือเรื่องใด การค้ากับต่างประเทศใช้วิธีการ