การเลี้ยงทารกแรกเกิด-3เดือน

Baby 1-3 months milestone

การเลี้ยงทารกแรกเกิด-3เดือน

การเลี้ยงทารกแรกเกิด-3เดือน

พัฒนาการทารกแรกเกิด - 1 เดือน

พัฒนาการตามเกณฑ์

  • พัฒนาการการเคลื่อนไหว: อยู่ในท่านอนคว่ำแล้วยกศีรษะหันไปข้างใดข้างหนึ่งได้
  • การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา: นอนหงายและมองตามสิ่งของได้ถึงกึ่งกลางลำตัว
  • การเข้าใจภาษา: สะดุ้งหรือเคลื่อนไหวร่างกายเมื่อได้ยินเสียงพูดในระดับปกติ
  • การใช้ภาษา: ส่งเสียงอ้อแอ้ได้
  • การช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น: จ้องหน้าผู้อื่นได้ 1 - 2 วินาที

พัฒนาการอาจล่าช้า

  • พัฒนาการการเคลื่อนไหว: ไม่สามารถยกศีรษะหันไปทางใดทางหนึ่งได้
  • การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา: มองตามสิ่งของได้แค่ตำแหน่งเหนือศีรษะเท่านั้น
  • การเข้าใจภาษา: ไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อมีเสียงเรียกในระดับปกติ
  • การใช้ภาษา: ไม่สามารถส่งเสียงใด ๆ ได้
  • การช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น: จ้องหน้าได้สั้นกว่า 1- 2 วินาที

แนะนำให้ปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์ หากคุณแม่สงสัยเรื่องพัฒนาการของลูก

วิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยวัยแรกเกิด - 1 เดือน

  1. จัดท่าทางให้ลูกนอนหงาย หันศีรษะไปด้านใดด้านหนี่ง แล้วให้คุณแม่เรียกชื่อ หรือพูดคุยกับลูกจากทางด้านข้างเพื่อกระตุ้นให้ลูกหันไปมา
  2. เขย่าของเล่นที่มีเสียงกรุ๊งกริ๊ง เพื่อกระตุ้นให้ลูกหันมองตาม
  3. พูดคุยและแสดงสีหน้าต่าง ๆ กับลูกในระยะห่างประมาณ 1 ไม้บรรทัด

การเลี้ยงทารกแรกเกิด-3เดือน

พัฒนาการทารกวัย 1 - 2 เดือน

พัฒนาการตามเกณฑ์

  • พัฒนาการการเคลื่อนไหว: อยู่ในท่านอนคว่ำ สามารถยกศีรษะตั้งได้ 45 องศา นาน 3 วินาที
  • การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา: นอนหงายและมองตามสิ่งของที่เคลื่อนผ่านกลางลำตัวได้
  • การเข้าใจภาษา: มองหน้าคู่สนทนาได้นาน 5 วินาที
  • การใช้ภาษา: ทำเสียงในลำคอ เช่น อู อา อือ ได้ชัดเจน
  • การช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น: ยิ้มหรือส่งเสียงโต้ตอบ เมื่อมีคนยิ้มหรือทักทายได้

พัฒนาการอาจล่าช้า

  • พัฒนาการการเคลื่อนไหว: ไม่สามารถยกศีรษะตั้งได้ 45 องศา หรือยกค้างไว้ได้สั้นกว่า 3 วินาที
  • การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา: นอนหงายและมองตามสิ่งของได้แค่กลางลำตัว
  • การเข้าใจภาษา: มองหน้าคู่สนทนาได้น้อยกว่า 5 วินาที
  • การใช้ภาษา: ไม่สามารถทำเสียงในลำคอได้
  • การช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น: ไม่มีปฏิกิริยาตอบกลับเมื่อมีคนยิ้มหรือทักทาย

แนะนำให้ปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์ หากคุณแม่สงสัยเรื่องพัฒนาการของลูก

วิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยวัย 1 - 2 เดือน

  1. พูดคุยกับลูกช้า ๆ ใกล้ ๆ เพื่อให้ลูกสังเกตเห็นปากของพ่อแม่ที่ขยับไปมา
  2. หยุดฟังเมื่อลูกพูด และพูดตอบ พร้อมจ้องตาลูก
  3. โอบกอดลูก และสบตา พร้อมสื่อสารด้วยถ้อยคำแสดงความรัก เช่น แม่รักหนูนะคนเก่งของแม่ เป็นต้น

การเลี้ยงทารกแรกเกิด-3เดือน

การเลี้ยงทารกแรกเกิด-3เดือน

การเลี้ยงทารกแรกเกิด-3เดือน

พัฒนาการทารกวัย 2 - 3 เดือน

พัฒนาการตามเกณฑ์

  • พัฒนาการการเคลื่อนไหว: อยู่ในท่านอนคว่ำ สามารถยกศีรษะและหน้าอกพ้นพื้นได้
  • การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา: นอนหงายและมองสิ่งของตามแนวขวางเป็นมุม 180 องศาได้
  • การเข้าใจภาษา: หันศีรษะตามเสียงได้
  • การใช้ภาษา: ทำเสียงสูงๆ ต่ำๆ เพื่อแสดงความรู้สึกได้
  • การช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น: ยิ้มทักทายบุคคลใกล้ชิดได้

พัฒนาการอาจล่าช้า

  • พัฒนาการการเคลื่อนไหว: ไม่สามารถยกศีรษะและหน้าอกพ้นพื้นได้
  • การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา: ไม่สามารถมองสิ่งของตามแนวขวางเป็นมุม 180 องศาได้
  • การเข้าใจภาษา: มองหน้าคู่สนทนาได้น้อยกว่า 5 วินาที
  • การใช้ภาษา: ไม่สามารถส่งเสียงเพื่อแสดงความรู้สึกได้
  • การช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น: ไม่ยิ้มทักทายกับคนใกล้ชิด

แนะนำให้ปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์ หากคุณแม่สงสัยเรื่องพัฒนาการของลูก

วิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยวัย 2 - 3 เดือน

  1. เล่านิทานภาพสีสันสดใสให้ลูกฟัง เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของสายตา การฟังและการใช้ภาษา
  2. เล่นของเล่นสีสดใส เขย่าแล้วมีเสียง เพื่อกระตุ้นการได้ยิน หรือมีลักษณะเป็นรูปห่วงให้ลูกคว้าจับ
  3. ให้ลูกลองสัมผัสสิ่งของที่มีผิวสัมผัสแตกต่างกัน เช่น ผ้านุ่มนิ่ม ตุ๊กตาผ้ากำมะหยี่ของเล่นที่มีผิวขรุขระ เป็นต้น

แม้ว่าเด็กๆ.. จะมีพัฒนาการช้าหรือเร็วแตกต่างกัน แต่พ่อแม่คือผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการของลูกรัก ซึ่งช่วยให้เจ้าตัวเล็กมีพัฒนาการที่ดีสมวัย เพราะ #ทุกการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่เริ่มได้ใน1000วันแรกของชีวิต

เลี้ยงลูก 3 เดือนแรก สำหรับคุณแม่มือใหม่ หลายๆ คน อาจจะเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลเป็นอย่างมาก เพราะไม่รู้ว่า จะต้องทำอะไร บางคน กังวลตั้งแต่ช่วงที่ ตั้งครรภ์ ในไตรมาสที่ 3 เลยทีเดียว เพราะไม่รู้ว่า คลอดแล้ว จะเป็นอย่างไรบ้าง แม้จะเปิดเว็บคุณแม่ต่างๆ หาข้อมูลมากมาย ก็ยังไม่เห็นภาพ และไม่เข้าใจอยู่ดี ยิ่งคุณแม่ ที่ต้องเลี้ยงลูกเอง แบบ Full time นั่นคือ ไม่มีผู้ใหญ่ มาอยู่ด้วย มาช่วยดูแล เป็นไม้สอง ยิ่งมีความเครียด และเป็นกังวลมากขึ้นไปอีก แอดมินเอง เลี้ยงลูกมา 2 คนแล้วค่ะ จึงอยากจะมาถ่ายทอดประสบการณ์ให้ว่า มันเหนื่อยแน่นอน แต่มันไม่ใช่เรื่องยาก อย่างที่คิดชัวร์ค่ะ

ทารกแรกเกิด ที่เพิ่งคลอดมาใหม่ๆ นั้น การดูแล จำเป็นต้องให้ความใส่ใจ แต่ไม่ยากค่ะ ยิ่งคุณแม่ สามารถให้นมเต้าได้ ไม่มีอะไรที่ยากเลยค่ะ แต่ถ้าคุณแม่ ไม่สามารถให้นมจากเต้าได้ ต้องใช้นมชง อันนี้ แอดมินขอบอกเลยค่ะ ว่ามันจะกลายเป็นเรื่องที่เหนื่อย และยุ่งยากมากๆ แน่นอนค่ะ ดังนั้นแอดมิน จะไม่ขอกล่าวถึงในกรณี ที่ให้นมผงนะคะ

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ เกี่ยวกับเด็กแรกเกิดก็คือ ในช่วง 1 เดือนแรก เด็ก จะทำแค่ 2 อย่าง นั่นคือ กิน กับ นอนค่ะ และเรา ในฐานะของแม่ จะทำ 3 อย่าง นั่นคือ ให้เค้ากินนม, กล่อมให้เค้านอน, และอาบน้ำทำความสะอาดตัวให้เค้า แค่นี้จริงๆ ค่ะ ที่เหลือ เป็นแค่ส่วนประกอบเสริม ที่ต้องทำไปพร้อมๆ กับ 3 สิ่งนี้อยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าคุณแม่เข้าใจตรงนี้ ก็จบค่ะ

การเลี้ยงทารกแรกเกิด-3เดือน

ช่วงนี้ คุณแม่ สามารถเริ่มทำการปั้มนมได้เลยนะคะ ถ้ารู้สึกว่า น้องกินนมแล้ว ยังคัดนมอยู่ แต่สำหรับแอดมินเอง เกลี้ยงเต้าค่ะ เพราะร่างกายของเรา จะผลิตน้ำนมออกมาพอดีกับการเจริญเติบโตของลูก จะมาปั้มได้จริงๆ ก็ช่วง เดือนที่ 2 – 3 เป็นต้นไปค่ะ

จะเห็นได้ว่า สิ่งที่คุณแม่ต้องทำ สำหรับดูแล ทารกแรกเกิดนั้น ไม่มีอะไรซับซ้อน หรือยุ่งยากเลย ดังนั้น มันจะไม่ใช่เรื่องยากค่ะ แต่เหนื่อยมั้ย? ถ้าเลี้ยงเอง แบบแอดมิน รับรองได้ ว่าเหนื่อยค่ะ เพราะต้องเลี้ยงลูกด้วย ทำงานบ้านด้วย ทำกับข้าวด้วย แต่ถ้ามีผู้ใหญ่ช่วย หรืออยู่กับผู้ใหญ่ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย อันนี้ก็จะเหนื่อยน้อยลงค่ะ

สิ่งที่คุณแม่ ต้องพยายามทำให้มากที่สุดก็คือ การนอน และการอยู่ไฟค่ะ ต้องพยายามหาเวลา อยู่ไฟ และนอนเยอะๆ เพราะในช่วงเดือนแรก ลูกจะร้องกินนมตลอดทุก ชั่วโมง แม้จะเป็นกลางดึกก็ตาม ถ้าคุณแม่ไม่หาเวลานอน เอาเวลาว่าง มาทำงานบ้าน มาทำนู่นนี่นั่น ก็จะอดนอน และเพลีย หรืออาจจะไม่สบายได้ ดังนั้น ช่วงนี้ คุณแม่ ต้องดูแลตัวเอง ด้วยการ กินเยอะๆ แล้วก็หาเวลานอนเยอะๆ นอนพร้อมลูกได้ ยิ่งดีเลยค่ะ

การเลี้ยงทารกแรกเกิด-3เดือน

สำหรับคุณแม่ที่ทำงานเต็มเวลา จะรู้เลยว่า เลี้ยงลูก 3 เดือนแรก ไม่ยาก มันเป็นเหมือนการหยุดพักร้อน ได้พักผ่อนเสียด้วยซ้ำ สิ่งที่ยากจริงๆ ก็คือ การเลี้ยงลูก หลังจาก 3 เดือนแรกไปแล้วต่างหาก นี่สิ คือเรื่องยาก เพราะคุณแม่ ต้องไปทำงาน ตั้งแต่เช้า และกลับเย็น ตรงนี้แหละ ที่ญาติผู้ใหญ่ จะเข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก ที่จะช่วยเราได้ แต่ก็ยังเหนื่อยอยู่บ้างนะ แต่มันก็มีวิธีการบริหารจัดการอยู่ ซึ่งตรงนี้ แอดมินจะเอามาเล่า ถ่ายทอดเป็นประสบการณ์ให้ได้อ่านกันค่ะ โปรดรอติดตามกันนะคะ

เด็ก3เดือนเลี้ยงยังไง

เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 3 เดือน ด้านการรับสัมผัส : อุ้มลูกบ่อยๆ ให้ผิวของพ่อแม่ได้สัมผัสกับผิวลูก เมื่ออารมณ์ดี ให้วางวัสดุที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่น นุ่มบ้าง แข็งบ้าง ใส่ไว้ในฝ่ามือลูก เด็กทารก 3 เดือนจะได้เริ่มเรียนรู้ผิวสัมผัสของวัสดุต่างๆ หรือหาของนุ่มๆ เช่น ขนนกมาเขี่ยเบาๆ ที่แขนและขา หรือใช้มือลูกจับ ...

เด็กอายุ 3 เดือนกินอะไรได้บ้าง

ข้าวบดหยาบ ไข่ทั้งฟอง สลับกับเนื้อปลา เนื้อหมูหรือ เนื้อไก่ ผักสุกบดหยาบให้ผักหลายชนิดสลับกัน น้ำต้มผักกับกระดูกหมู.
ข้าวบดละเอียด.
ไข่ต้มสลับกับตับบด หรือ ปลาบดเช่น ปลาทู ปลาช่อน.
ผักสุกบด เช่น ผักกาดขาวฟักทอง.
น้ำต้มผักกับกระดูกหมู.
ผลไม้สุก เช่น มะละกอสุก มะม่วงสุกส้ม กล้วยน้ำว้าสุก.

เด็กเลี้ยงยากสุดตอนกี่เดือน

บอกเสมอว่า 3 เดือนแรก ลูกยาก เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าหลังจาก 3 เดือนชีวิตพ่อแม่ยังสาหัส มันจะต้องมีอะไรไม่ชอบมาพากลในการดูแลลูกแล้วล่ะครับ เพราะจังหวะชีวิตควรลงตัว เพื่อเปิดรับพฤติกรรมใหม่ ๆ ตามวัยอื่นตามมาให้เราปรับจูนกันต่อไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหลัง 2 ขวบยังยากทุกอย่าง กิน-นอน-อึ-ร้องไห้ ให้มองเข้าไปในกระจกว่า จริง ...

เด็กแรกเกิดเลี้ยงยังไงบ้าง

การดูแลทารกแรกเกิด 10 วิธีดูแลลูกน้อยง่าย ๆ สำหรับคุณพ่อคุณแม่....
1. ให้กินนมแม่ อาหารดีที่สุดของลูก ... .
2. ลูกต้องนอนหลับให้เพียงพอ ... .
3. ดูแลสะดือน้อย ๆ ให้สะอาดเสมอ ... .
4. สร้างภูมิคุ้มกันด้วย "วัคซีน" ... .
5. ระมัดระวังเรื่องการอาบน้ำ ... .
6. กอดลูกบ่อย ๆ ... .
7. เปลี่ยนผ้าอ้อมเป็นประจำ ... .
8. ไม่พาลูกไปสถานที่แออัด.