สงครามครั้งสำคัญที่สุดระหว่างไทยกับพม่าในสมัยรัชกาลที่ 1 คือสงครามอะไร *

สงคราม ๙ ทัพ กับสงครามสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ISBN: 9786164370302

ผู้แต่ง : ชาดา นนทวัฒน์

ผู้แปล : -

สำนักพิมพ์ : ศรีปัญญา

ปีที่พิมพ์ : 2561

จำนวนหน้า : 200

ราคาพิเศษ ฿176.00 ราคาปรกติ ฿220.00

“ถ้าหากจะพูดถึงบรรดาสงครามที่กองทัพไทยต้องสู้รบกับกองทัพพม่า ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สงคราม ๙ ทัพ นับว่าเป็นศึกที่ยิ่งใหญ่และถูกล่าวถึงมากที่สุดครั้งหนึ่ง…

            สงครามครั้งนี้นับเป็นบทหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่สมควรสนใจศึกษาและหาความรู้ให้ละเอียด ทั้งนี้เพราะนอกเหนือจากชัยชนะที่ได้รับรู้กันมาแล้วอย่างดี ยังมีเรื่องราวรายละเอียดปลีกย่อยที่น่าสนใจอยู่อีกมาก ไม่ว่า เรื่องราวพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ รวมไปถึงพระราชอนุชาของพระองค์คือสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาถ หรือบรรดาแม่ทัพนายกองต่างๆ ที่ได้เข้าร่วมในสงครามครั้งนี้ ซึ่งต่อมา ก็มาเป็นกำลังหลักในการพัฒนาและสร้างสรรค์กรุงรัตนโกสินทร์ให้มีความสถาวรยิ่งใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้”

  • สารบัญ
  • การรีวิวสินค้า

“ถ้าหากจะพูดถึงบรรดาสงครามที่กองทัพไทยต้องสู้รบกับกองทัพพม่า ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สงคราม ๙ ทัพ นับว่าเป็นศึกที่ยิ่งใหญ่และถูกล่าวถึงมากที่สุดครั้งหนึ่ง… สงครามครั้งนี้นับเป็นบทหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่สมควรสนใจศึกษาและหาความรู้ให้ละเอียด ทั้งนี้เพราะนอกเหนือจากชัยชนะที่ได้รับรู้กันมาแล้วอย่างดี ยังมีเรื่องราวรายละเอียดปลีกย่อยที่น่าสนใจอยู่อีกมาก ไม่ว่า เรื่องราวพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ รวมไปถึงพระราชอนุชาของพระองค์คือสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาถ หรือบรรดาแม่ทัพนายกองต่างๆ ที่ได้เข้าร่วมในสงครามครั้งนี้ ซึ่งต่อมา ก็มาเป็นกำลังหลักในการพัฒนาและสร้างสรรค์กรุงรัตนโกสินทร์ให้มีความสถาวรยิ่งใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้”

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง

Authorอาณัติ อนันตภาค
Titleรักษาแผ่นดินขยายอาณาเขต สงครามใหญ่ สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 1-3) / อาณัติ อนันตภาค
Imprint กรุงเทพฯ : ยิปซี, 2554
Edition พิมพ์ครั้งที่ 1
Descript 268 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม

CONTENT

ภาคที่ 1 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก -- สงครามครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สงคราม 9 ทัพ -- ครั้งที่ 2 ยึดปัตตานี สงครามต่อเนื่องจากคราศึกเก้าทัพ -- ครั้งที่ 3 พม่ากลับมาใหม่ในสงคราม "ท่าดินแดง" -- ครั้งที่ 4 รบพม่าที่ลำปางและป่าซาง -- ครั้งที่ 5 ไทยรุกพม่าที่เมืองทวาย -- ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2334 ปราบกบฏรายาเมืองปัตตานี -- ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2336 ไทยตีพม่าอีกครั้ง -- ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2340 พม่าเข้ามาตีเมืองเชียงใหม่ -- ครั้งที่ 9 ไล่พม่าออกจากล้านนา พ.ศ. 2345 -- ครั้งที่ 10 ปราบเมืองปัตตานีอีกครั้ง พ.ศ. 2351 -- ภาคที่ 2 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย -- ครั้งที่ 1 รบพม่าที่ถลาง พ.ศ. 2352 -- ครั้งที่ 2 ไทยตีไทรบุรี พ.ศ. 2364 -- ภาคที่ 3 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว -- ช่วยอังกฤษรบพม่า พ.ศ. 2367 -- ครั้งที่ 2 ปราบกบฏเจ้าอนุเวียงจันทน์ พ.ศ. 2369 -- ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2373-2381 ปราบกลฏไทรบุรี ปัตตานี -- ครั้งที่ 4 สงครามกับเขมรและญวน พ.ศ. 2376-2391 -- ครั้งที่ 5 ปราบกบฏสิบสองปันนา พ.ศ. 2392 -- บทสรุป

SUBJECT


  1. ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์
  2. 2325-2394
  3. ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- สงครามกับพม่า
  4. Thai history

LOCATIONCALL#STATUS
Thailand and ASEAN Information Center (6th Floor) [TAIC] 81652 CHECK SHELVES
สงครามครั้งสำคัญที่สุดระหว่างไทยกับพม่าในสมัยรัชกาลที่ 1 คือสงครามอะไร *
Interlibrary Loan Request
Central Library (5th Floor) 959.303 อ618ร CHECK SHELVES
สงครามครั้งสำคัญที่สุดระหว่างไทยกับพม่าในสมัยรัชกาลที่ 1 คือสงครามอะไร *
Interlibrary Loan Request
Central Library (5th Floor) 959.303 อ618ร CHECK SHELVES
สงครามครั้งสำคัญที่สุดระหว่างไทยกับพม่าในสมัยรัชกาลที่ 1 คือสงครามอะไร *
Interlibrary Loan Request

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

พระราชกรณียกิจประการแรกที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงจัดทำเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ คือการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีใหม่ ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา แทนกรุงธนบุรี ด้วยเหตุผลทางด้านยุทธศาสตร์ เนื่องจากกรุงธนบุรีตั้งอยู่บนสองฝั่งแม่น้ำ ทำให้การลำเลียงอาวุธยุทธภัณฑ์ และการรักษาพระนครเป็นไปได้ยาก อีกทั้งพระราชวังเดิมมีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถขยายได้ เนื่องจากติดวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารและวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร ส่วนทางฝั่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้นมีความเหมาะสมกว่าตรงที่มีพื้นแผ่นดินเป็นลักษณะหัวแหลม มีแม่น้ำเป็นคูเมืองธรรมชาติ มีชัยภูมิเหมาะสม และสามารถรับศึกได้เป็นอย่างดี

การสร้างราชธานีใหม่นั้นใช้เวลาทั้งสิ้น 3 ปี โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล จ.ศ. 1144 ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 และโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างพระบรมมหาราชวังสืบทอดราชประเพณี และสร้างพระอารามหลวงในเขตพระบรมมหาราชวังตามแบบกรุงศรีอยุธยา ซึ่งการสร้างเมืองและพระบรมมหาราชวังเป็นการสืบทอดประเพณี วัฒนธรรม และศิลปกรรมดั้งเดิมของชาติ ซึ่งปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้พระราชทานนามแก่ราชธานีใหม่นี้ว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์" นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างสิ่งต่าง ๆ อันสำคัญต่อการสถาปนาราชธานีได้แก่ ป้อมปราการ, คลอง ถนนและสะพานต่าง ๆ มากมาย

การป้องกันราชอาณาจักร

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระปรีชาสามารถในการรบ ทรงเป็นผู้นำทัพในการทำสงครามกับพม่าทั้งหมด 7 ครั้งในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่

• สงครามครั้งที่ 1 พ.ศ. 2327 สงครามเก้าทัพ

สงครามครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดระหว่างไทยกับพม่าส่งคือ สงครามเก้าทัพ โดยในครั้งนั้นพระเจ้าปดุงแห่งราชวงศ์อลองพญาของพม่า มีพระประสงค์จะเพิ่มพูนพระเกียรติยศและชื่อเสียงให้ขจรขจายด้วยการกำราบอาณาจักรสยาม จึงรวบรวมไพร่พลถึง 144,000 คน กรีธาทัพจะเข้าตีกรุงรัตนโกสินทร์ โดยแบ่งเป็น 9 ทัพใหญ่ เข้าตีจากกรอบทิศทาง ส่วนทัพของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีกำลังเพียงครึ่งหนึ่งของทหารพม่าคือมีเพียง 70,000 คนเศษเท่านั้น

ด้วยพระปรีชาสามารถในการทำสงคราม ได้ทรงให้ทัพของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทไปสกัดทัพพม่าที่บริเวณทุ่งลาดหญ้า ทำให้พม่าต้องชะงักติดอยู่บริเวณช่องเขา แล้วทรงสั่งให้จัดทัพแบบกองโจรออกปล้นสะดม จนทัพพม่าขัดสนเสบียงอาหาร เมื่อทัพพม่าบริเวณทุ่งลาดหญ้าแตกพ่ายไปแล้วสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทจึงยกทัพไปช่วยทางอื่น และได้รับชัยชนะตลอดทุกทัพตั้งแต่เหนือจรดใต้

• สงครามครั้งที่ 2 พ.ศ. 2329 สงครามท่าดินแดงและสามสบ

ในสงครามครั้งนี้ ทัพพม่าเตรียมเสบียงอาหารและเส้นทางเดินทัพอย่างดีที่สุด ที่สุด โดยแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ จากศึกครั้งก่อนก่อน โดยพม่าได้ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์มาตั้งค่ายอยู่ที่ท่าดินแดงและสามสบ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงยกทัพหลวงเข้าตีพม่าที่ค่ายดินแดงพร้อมกับให้ทัพของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เข้าตีค่ายพม่าที่สามสบหลังจากรบกันได้ 3 วันค่ายพม่าก็แตกพ่ายไปทุกค่าย และพระองค์ยังได้ทำสงครามขับไล่อิทธิพลของพม่าได้โดยเด็ดขาด และตีหัวเมืองต่าง ๆ ขยายราชอาณาเขต ทำให้ราชอาณาจักรสยามมีอาณาเขตกว้างใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ดินแดนล้านนา ไทใหญ่ สิบสองปันนา หลวงพระบาง เวียงจันทน์ เขมร ตั้งแต่ดินแดนล้านนา ไทใหญ่ สิบสองปันนา หลวงพระบาง เวียงจันทน์ เขมร และด้านทิศใต้ไปจนถึงเมืองกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปะลิส และเประก์

• สงครามครั้งที่ 3 พ.ศ. 2330 สงครามตีเมืองลำปางและเมืองป่าซาง

หลังจากที่พม่าพ่ายแพ้แก่สยาม ก็ส่งผลทำให้เมืองขึ้นทั้งหลายของพม่า เช่น เมืองเชียงรุ้งและเชียงตุง เกิดกระด้างกระเดื่อง ตั้งตนเป็นอิสระ พระเจ้าปดุงจึงสั่งให้ยกทัพมาปราบปราม รวมถึงเข้าตีลำปางและป่าซาง เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทราบเรื่องจึงสั่งให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทคุมไพร่พล 6,000 นาย มาช่วยเหลือและขับไล่พม่าไปเป็นผลสำเร็จ

• สงครามครั้งที่ 4 พ.ศ. 2330 สงครามตีเมืองทวาย

ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เกณฑ์ไพร่พล 20,000 นาย ยกทัพไปตีเมืองทวาย แต่สงครามครั้งนี้ไม่มีการรบพุ่ง เพราะต่างฝ่ายต่างก็ขาดแคลนเสบียงอาหาร รี้พลก็บาดเจ็บจึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ถอยทัพกลับกรุงเทพ

• สงครามครั้งที่ 5 พ.ศ. 2336 สงครามตีเมืองพม่า

ในครั้งนั้นเมืองทวาย ตะนาวศรี และมะริด ได้เข้ามาขอสวามิภักดิ์ต่อไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ยกทัพไปช่วยป้องกันเมือง แต่เมื่อพระเจ้าปดุงยกทัพมาปราบปรามเมืองทั้งสามก็หันกลับเข้ากับทางพม่าอีก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้ถอยทัพกลับกรุงเทพฯ

• สงครามครั้งที่ 6 พ.ศ. 2340 สงครามพม่าที่เมืองเชียงใหม่

เนื่องจากสงครามในครั้งก่อน ๆ พระเจ้าปดุงไม่สามารถตีหัวเมืองล้านนาได้ จึงทรงรับสั่งไพร่พล 55,000 นาย ยกทัพมาอีกครั้งโดยแบ่งเป็น 7 ทัพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึง โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทคุมไพร่พล 20,000 นาย ขึ้นไปรวมไพร่พลกับทางเหนือเป็น 40,000 นาย ระดมตีค่ายพม่าเพียงวันเดียวเท่านั้นทัพพม่าก็แตกพ่ายยับเยิน

• สงครามครั้งที่ 7 พ.ศ. 2346 สงครามพม่าที่เมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 2

ในครั้งนั้นพระเจ้ากาวิละได้ยกทัพไปตีเมืองสาด หัวเมืองขึ้นของพม่า พระเจ้าปดุงจึงยกทัพลงมาตีเมืองเชียงใหม่เพื่อแก้แค้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงทราบ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไปช่วยเหลือ และสงครามครั้งนี้ก็จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายไทย