เฉลย ใบ งาน เรื่อง การสกัดด้วยตัวทำละลาย


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3        รหัสวิชา ว22101                          กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ                                                            ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2         

สาระที่ 3   หน่วยที่ 4                           เรื่อง  การสกัดด้วยตัวทำละลาย                             เวลา 2.00 ชั่วโมง

…………………………………………………………………………………………………….

มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์


ตัวชี้วัด

                1. ทดลองและอธิบายการหลักการแยกสารด้วยวิธีการกรอง  การตกผลึก การสกัด  การกลั่น  และ
โครมาโทกราฟี
และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (ว 3.1-3)


จุดประสงค์การเรียนรู้




1. อธิบายหลักการแยกสารโดยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย การสกัดโดยวิธีการกลั่นด้วยไอน้ำ

2. ออกแบบวิธีสกัดสารโดยการสกัดด้วยตัวทำละลายโดยเลือกใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสม

3. ยกตัวอย่างการแยกสารโดยการสกัดด้วยตัวทำละลายที่พบในชีวิตประจำวันและในอุตสาหกรรม



 เนื้อหา (รายละเอียดของเนื้อหาอยู่ในใบความรู้ที่ 32)

                - การแยกสาร :: การสกัดด้วยตัวทำละลาย


การจัดกระบวนการเรียนรู้

1. ขั้นนำ

1. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน

2. ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากสารที่มีสี กลิ่น รสชาติ ที่มีอยู่ตามส่วนต่าง ของพืช และรวมอยู่เป็นเนื้อเดียวกับส่วนต่าง ของพืช มีสารใดบ้าง ได้จากพืชชนิดใด เราจะมีวิธีแยกสารเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ในชีวิตประจำวัน ใครเคยแยกสารที่มีกลิ่นหอมจากส่วนต่าง ของพืชบ้าง ทำได้อย่างไร

 2. ขั้นสอน

                1. ครูให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น  4-5  กลุ่มๆ ละ 4-5  คนและทำกิจกรรม7.2 จะแยกสารจากส่วนต่าง ของพืชได้อย่างไร  


กิจกรรม 7.2 จะแยกสารจากส่วนต่าง ของพืชได้อย่างไร

จุดประสงค์ของกิจกรรม

     1. อธิบายการแยกสารโดยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย

     2. เลือกใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารจากส่วนต่าง ของพืช

     3. เสนอแนะการใช้ประโยชน์จากสารที่สกัดได้จากส่วนต่าง ของพืช

     4. ยกตัวอย่างการแยกสารโดยการสกัดด้วยตัวทำละลายที่พบในชีวิตประจำวัน

เวลาที่ใช้    80 นาที

อภิปรายก่อนกิจกรรม                        15 นาที

ทำกิจกรรม                                           40 นาที

อภิปรายหลังกิจกรรม                          25 นาที

วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี


รายการ

ปริมาณต่อ 10 กลุ่ม

1. ขมิ้นหั่นเป็นชิ้นเล็ก (หรือพืชอื่น ที่มีในท้องถิ่น)*

2. เส้นใยฝ้าย หรือเส้นใยจากพืชอื่น

3. เอทานอล

4. น้ำกลั่น

5. ขวดรูปกรวยขนาด 100 cm3 พร้อมจุกปิดปากขวดหรือหลอดทดลองขนาดใหญ่พร้อมจุกปิด)

6. บีกเกอร์ ขนาด 250 cm3

7. กรวยแก้วหรือกรวยพลาสติก

8. ถ้วยระเหย

9. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลม และตะแกรงลวด

10. กระดาษกรอง

11. กระบอกตวงขนาด 10 cm3

12. เครื่องชั่ง

100 g

50 g

50 cm3

100 cm3

20 ชุด


20 ใบ

10 ชุด

20 ใบ

10 ชุด

10 แผ่น

10 ใบ

1 – 2 เครื่อง

* อาจเลือกใช้พืชอื่น ที่มีในท้องถิ่น เช่น ขิงแก่ ใบเตย ตะไคร้หอม ดอกกระเจี๊ยบ เป็นต้น


การเตรียมล่วงหน้า

ให้เตรียมพืชในท้องถิ่นที่สนใจจะสกัดสารมากลุ่มละ 1 – 2 ชนิด

                2. ครูอภิปรายก่อนทำกิจกรรมที่ 7.2

                ตอนที่ 1 ขมิ้นที่จะใช้ ควรหั่นเป็นชิ้นเล็ก เพื่อให้การสกัดได้ผลดี โดยใช้น้ำสกัด เปรียบเทียบกับที่ใช้แอลกอฮอล์สกัดว่าตัวทำละลายชนิดใดจะสกัดสีจากขมิ้นได้ดีกว่ากัน

                ตอนที่ 2 ผู้เรียนนำพืชที่สนใจจะศึกษามากลุ่มละ 1 ชนิด แล้วอภิปรายร่วมกันว่า ถ้าจะแยกสารที่มีสีหรือกลิ่นจากส่วนต่าง ของพืช จะใช้วิธีการแบบเดียวกับตอนที่ 1 ได้หรือไม่ พืชที่ผู้เรียนนำมาซึ่งมีในท้องถิ่นอาจเป็นตะไคร้หอม ใบเตย ขิง ดอกอัญชัน แก่นขนุน ดอกกระเจี๊ยบแดง  ลำไยแห้ง ข่า มะตูม ผิวมะกรูด ผิวมะนาว กระชายดำ เป็นต้น ให้แต่ละกลุ่มระดมความคิดกันเพื่อกำหนดว่าจะใช้ส่วนใดของพืช ใช้ปริมาณเท่าไร ใช้สารใดเป็นตัวทำละลาย และใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ฯลฯ


ตัวอย่างผลการทำกิจกรรม ตอนที่ 1

               ตัวทำละลาย

  สารตัวอย่าง

ผลที่สังเกตได้เมื่อใช้น้ำ

ผลที่สังเกตได้เมื่อใช้เอทานอล

ของเหลวที่ได้

เมื่อนำไประเหยแห้ง

ของเหลวที่ได้

เมื่อนำไประเหยแห้ง

ขมิ้น

มีสีเหลืองเข้ม

มีกลิ่นขมิ้นเล็ก

น้อย


มีสารสีเหลืองเป็น

ผง จำนวนมาก

มีสีเหลืองอ่อน

มีกลิ่นขมิ้น

มีสารสีเหลืองจำนวนน้อย และมีของเหลวเป็นน้ำมันข้นเหลวอยู่เล็กน้อย


                3. ครูให้ผู้เรียนอภิปรายผลหลังการทำกิจกรรมร่วมกันภายในกลุ่มโดยใช้คำถามท้ายกิจกรรมเป็นแนวทางจนได้ข้อสรุปว่า

                • สามารถสกัดสารที่มีสีหรือสารที่มีกลิ่นจากขมิ้นได้ด้วยตัวทำละลายต่าง

                • ปริมาณสารที่สกัดได้ขึ้นอยู่กับปริมาณของพืชที่ใช้และปริมาณของตัวทำละลาย

                • ถ้าใช้ตัวทำละลายต่างชนิดกัน จะสกัดสารได้ต่างกัน

                     -ตัวทำละลายต่างชนิดกันใช้สกัดสารได้ต่างกัน คือ น้ำสามารถสกัดสีจากขมิ้นได้ดีกว่าเอทานอล

     -ถ้าผสมน้ำและเอทานอลเข้าด้วยกัน สารที่สกัดได้ จะมีทั้งสีและกลิ่นรวมอยู่ด้วยกัน

     -การหั่นขมิ้นเป็นชิ้นเล็ก ทำให้สกัดสารได้ดี ได้สารสีเหลือง หรือกลิ่นหอมออกมาขึ้น

     - สารที่สกัดได้จากขมิ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เช่น ทำเครื่องสำอาง ผสมในอาหาร เช่น ข้าวหมกไก่ ไก่ย่าง ปลาทอดขมิ้น แกงเหลือง เป็นต้น ส่วนกลิ่นอาจนำไปผสมในน้ำมันหม่องสมุนไพร

ตัวอย่างผลการทำกิจกรรม ตอนที่ 2

               ตัวทำละลาย

  สารตัวอย่าง

ผลที่สังเกตได้เมื่อใช้น้ำ

ผลที่สังเกตได้เมื่อใช้เอทานอล

ของเหลวที่ได้

เมื่อนำไประเหยแห้ง

ของเหลวที่ได้

เมื่อนำไประเหยแห้ง

ขิงแก่



ของเหลวสีขาว

ขุ่น มีกลิ่นขิง


ได้สารสีเหลืองอ่อนเล็กน้อย(เป็นผง)


ของเหลวสีเหลืองมีกลิ่นขิงปนกลิ่นเอทานอล

ได้สารสีเหลืองเป็นผงจำนวนมาก


ใบเตย



ของเหลวสีเขียว

อ่อน มีกลิ่น

หอมใบเตย

ได้สารสีเขียวเป็นผงจำนวนเล็กน้อย


ของเหลวสีเขียว

มีกลิ่นหอมปน

กลิ่นเอทานอล

ได้สารสีเขียวเป็นผงจำนวนมาก


ตะไคร้หอม



ของเหลวสีขาว

ขุ่น แยกเป็น 2 ชั้นมีกลิ่นเฉพาะ ตัว

ได้ของเหลวใส

มีกลิ่นตะไคร้


ของเหลวสีเหลืองอ่อน


ได้ของเหลวใสสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นตะไคร้


ดอกกระเจี๊ยบ

ของเหลวสีแดง

ได้สารสีแดงเป็นผง

ของเหลวสีแดง

ได้สารสีแดงเป็นผง

                       
                4. ครูให้ผู้เรียนอภิปรายผลหลังการทำกิจกรรมในแต่ละกลุ่ม แล้วนำเสนอผลในชั้นเรียน และใช้คำถามท้ายกิจกรรมเป็นแนวทางในการอภิปราย จนได้ข้อสรุปว่า

                • สามารถสกัดสารจากส่วนต่าง ของพืชได้ โดยอาศัยหลักการเกี่ยวกับการละลายของสารในตัวทำละลาย

                • ชนิดและปริมาณสารที่สกัดได้ ขึ้นอยู่กับชนิด ปริมาณ และส่วนต่าง ของพืชที่นำมาใช้ รวมทั้งชนิดและปริมาณของตัวทำละลาย

                • สารที่สกัดได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย

     - ในแต่ละท้องถิ่นอาจมีการสกัดสารด้วยตัวทำละลายจากพืชต่าง เช่น ใบเตย ดอกมะลิ ตะไคร้หอม ดอกกระเจี๊ยบ กระชายดำ ข่า ขิง แก่นขนุน ใบหูกวาง ใบสะระแหน่ ไพล พริก ส่วนใหญ่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลายในการสกัดบางชนิดใช้น้ำเย็น เช่น สกัดสีจากใบเตย กลิ่นหอมจากดอกมะลิ สีจากดอกอัญชัน บางชนิดสกัดด้วยน้ำร้อน เช่น สีจากดอกกระเจี๊ยบ กลิ่นหอมจากตะไคร้หอม สีจากแก่นขนุน ใบหูกวาง บางชนิดใช้เอทานอลสกัด เช่น ยาดองเหล้าสมุนไพร ไวน์กระชายดำ  การใช้ประโยชน์จากสารที่สกัดได้ เช่น

                • นำสีที่สกัดได้จากแก่นขนุน มาย้อมเส้นใย หรือผ้าฝ้ายให้เป็นลวดลาย ใช้ตกแต่งอุปกรณ์ เครื่องใช้

                • นำสีและกลิ่นหอมที่สกัดได้จากใบเตย ดอกมะลิ ดอกอัญชัน ดอกกระเจี๊ยบ  ดอกกระดังงา ใช้ผสมทำอาหารคาว หวาน

                • นำน้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จาก ขิง ข่า ไพล พริก ใบสะระแหน่ มาทำยาหม่อง

                • นำสารที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคที่สกัดได้จากส่วนต่าง ๆของพืช มาทำยาลูกกลอน หรือระเหยแห้งแล้วบรรจุแคปซูล

5. ครูให้ข้อเสนอแนะว่า อาจนำความรู้เกี่ยวกับการสกัดสารไปใช้ประโยชน์ เช่น นำสีไปย้อมเส้นใยฝ้าย ผักตบชวา  ผสมในแชมพู สบู่ อาหาร นำน้ำมันหอมระเหยไปผสมในยาหม่อง ยาดม ลูกอมสมุนไพร และจัดแสดงผลงาน

6. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ การใช้ตัวทำละลายสกัดสารออกจากส่วนต่าง ของพืช ตามรายละเอียดในบทเรียน รวมทั้งอภิปรายร่วมกันถึงวิธีการสกัดสารจากธรรมชาติ โดยใช้ไอน้ำร้อนจากการหุงต้ม ซึ่งเรียกวิธีการสกัดแบบนี้ว่า การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ และกล่าวว่า     น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากส่วนต่าง ของพืช สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ดังนี้

     - กลิ่นหอมจากดอกไม้ ใบเตย ใช้ทำหัวน้ำหอม ผสมในอาหาร ทำให้มีกลิ่นหอม  ผสมทำธูปหอม เทียนหอม

     - น้ำมันหอมระเหยจากขิง ข่า กระชาย ไพล พริก ใบสะระแหน่ (เมนทอล) ใช้ผสมทำยาดม ยาหม่อง ยาอม

                7. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนสอบถามเนื้อหา เรื่อง การสกัดด้วยตัวทำละลาย ว่ามีส่วนไหนที่ไม่เข้าใจและให้ความรู้เพิ่มเติมในส่วนนั้น   

3. ขั้นสรุป

1. ครูมอบหมายให้นักเรียนสรุปความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้ แล้วร่วมกันสรุปความรู้ เรื่อง การสกัดด้วยตัวทำละลาย  ตามรายละเอียดในใบความรู้


                2. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน

                3. ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาความรู้ เรื่อง การกลั่น ซึ่งจะเรียนในคาบต่อไปมาล่วงหน้า


สื่อการเรียนการสอน

                1. แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน จำนวน 5 ข้อ

                2. ใบความรู้ที่ 32 เรื่อง การแยกสาร :: การสกัดด้วยตัวทำละลาย

                3. ใบงานที่ 31 เรื่อง การแยกสาร :: การสกัดด้วยตัวทำละลาย

                4. อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการศึกษาทดลอง


การวัดผลประเมินผล


การวัดผลประเมินผลด้าน

วิธีการวัด

เครื่องมือวัด

เกณฑ์การผ่าน

1. ด้านความรู้ความเข้าใจ

1.วัดจากแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน


1. แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน


1. ตอบคำถามถูกมากกว่าหรือเท่ากับ 60% ข้อขึ้น


2.วัดจากการตอบคำถามตามใบงานที่ 31

2.ใบงานที่ 31

2. ตอบคำถามถูกมากกว่าหรือ เท่ากับ 60%ขึ้นไป

2. ด้านทักษะกระบวนการ

ประเมินจากทักษะการปฏิบัติการ

แบบประเมินด้านทักษะ(การทดลอง)

ได้คะแนนในระดับ 2 ขึ้นไป

3. ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์

การสังเกตพฤติกรรมความสนใจ และตั้งใจเรียน

แบบสังเกตพฤติกรรมความสนใจและตั้งใจเรียน

ได้คะแนนในระดับ 2 ขึ้นไป


กิจกรรมเสนอแนะ

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................