ข อสอบ o-net ม.3 2560 พร อมเฉลย 52

อดัม สมิท ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ โดยแต่งหนังสือสำคัญเรื่อง ความมั่งคั่งแห่งชาติ (The Wealth of Nations) 2 .ข้อความใดให้ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ถูกต้องที่สุด ก. วิชาที่เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าและบริการ ข. วิชาที่เกี่ยวกับการสนองตอบต่อความต้องการของสมาชิกในสังคม ค. วิชาที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเมือง ง. วิชาที่เกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า

3 การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค พฤติกรรมของผู้ผลิต จัดอยู่ในขอบข่ายสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ในข้อใด ก. เศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ ข. เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ค. เศรษฐศาสตร์จุลภาค ง. เศรษฐศาสตร์มหภาค

4 ข้อใดไม่ใช่ ทุนตามความหมายของทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์ ก. เครื่องจักร ข. โรงงาน ค. เงินตรา ง. อุปกรณ์การผลิต เงินตราไม่ใช่ทุน เป็นเพียงเครื่องมือที่ผู้ผลิตนำไปซื้อปัจจัยการผลิตมาใช้ผลิตสินค้าและบริการ ผลตอบแทนจากการลงทุน คือ ดอกเบี้ย

5. ผู้ที่รวบรวมปัจจัยการผลิตคือใคร ก. ผู้ผลิต ข. ผู้ประกอบการ ค. ผู้บริโภค ง. ผู้ใช้แรงงาน ผู้ประกอบการคือผู้รวบรวมปัจจัยการผลิต ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน และทุน มาผลิตเป็นสินค้าและบริการ 6. การจัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัดไม่สอดคล้องกับความต้องการที่ไม่จำกัดของมนุษย์ จะทำให้เกิดอะไรขึ้น ก. การขาดทุน ข. ความขาดแคลน ค. สินค้าล้นตลาด ง. การกักตุนผลผลิต

7. นายดำมีเวลาว่างช่วงเย็นเหลือพอที่จะทำงานบ้าน แต่เมื่อเพื่อนมาชวนไปเล่นกีฬา เขาจึงเลือกที่จะไปกับเพื่อน จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคิดในทางเศรษฐศาสตร์ ก. ค่าเสียโอกาส ข. ค่าสูญเปล่า ค. การใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า ง. การเสียประโยชน์

8 ข้อความใดตรงกับความหมายของการบริโภคในทางเศรษฐศาสตร์มากที่สุด ก. การซื้อสินค้ามาใช้ในครัวเรือน ข. การรับประทานอาหารให้เพียงพอกับความต้องการ ค. การรับฟังข่าวสารผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ ง. การใช้สินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์

9 ข้อความใดแสดงถึงลักษณะของการบริโภคแบบยั่งยืน ก. เอกใช้ถุงผ้าเวลาไปซื้อของ ข. ณัฐเปิดไฟไว้รอบบ้านในเวลากลางคืน ค. กรเปิดน้ำรดต้นไม้ทุกเช้าเย็นแม้จะมีฝนตก ง. พัทเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือบ่อยๆ เพื่อความทันสมัย

10. ข้อใดไม่ใช่หลักการบริโภคที่ดี ก. สุดาซื้ออาหารมารับประทานพออิ่ม ข. ปราณีซื้อเสื้อกันหนาวตัวใหม่ในฤดูหนาวนี้ ค. มณีวัลย์ซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ที่โฆษณาว่ามีความทันสมัยสูง ง. กรรณิการ์นำข้าวที่เหลือมาทำเป็นข้าวตังไว้รับประทานเป็นอาหารว่าง

11. สุธีชอบใช้นาฬิกายี่ห้อโรเล็กซ์ เพราะเขาเป็นคนมีรสนิยม การกระทำของสุธีสอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคในเรื่องใด ก. ความจำเป็น ข. กระแสสังคม ค. การประชาสัมพันธ์ ง. เทคโนโลยีสมัยใหม่

12. ข้อใดแสดงความหมายของอุปสงค์ได้ดีที่สุด ก. แก้วตาต้องการซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่มีเงินไม่พอ ข. ก้านทำแจกันที่โชว์อยู่ที่ร้านตกแตก จึงต้องจ่ายค่าเสียหาย ค. ก้อนมีเงินพอที่จะซื้อนาฬิกาแต่ยังไม่อยากซื้อ ง. กล้วยนำเงินเก็บไปซื้อคอมพิวเตอร์ที่อยากได้มานานแล้ว เพราะเป็นความต้องการซื้อสินค้าด้วยความเต็มใจและมีกำลังในการซื้อสินค้านั้น 13. จากข้อ 12. พฤติกรรมในข้อใดเป็นการแสดงออกถึงความต้องการเท่านั้น ไม่ใช่อุปสงค์ ก. ข้อ ก. ข้อเดียว ข. ข้อ ง. ข้อเดียว ค. ข้อ ก. และข้อ ข. ง. ข้อ ค. และข้อ ง. เพราะ แก้วยังไม่มีกำลังซื้อหรือไม่มีเงินพอที่จะซื้อ จึงไม่ถือว่าเป็นอุปสงค์ตามความหมายในทางเศรษฐศาสตร์ เป็นแค่เพียงความต้องการธรรมดา

……….ถ้าถามเด็กบกพร่องทางเกรดส่วนใหญ่ ว่ามีใครชอบคณิตศาสตร์หรือเปล่า ไม่ต้องเดาก็รู้ได้ทันทีว่าแทบไม่มีใครชอบหรอกครับ เพราะการเรียนการสอนในบ้านเรามักจะให้ค่าน้ำหนักวิชาคณิตศาสตร์เยอะๆ ถ้าใครเก่งคณิตศาสตร์ ก็มักจะกลายเป็นเด็กเกรดหรู เกรดดี เป็นอย่างนั้นไป ……….ถ้าถามว่า “ส้มกับสับปะรด ผลไม้ชนิดใดดีกว่ากัน” หรือ “สีชมพูกับสีฟ้าสีไหนดีกว่ากัน” ผมเชื่อว่าหลายคนคงจะตอบยาก แต่ถ้าถามว่าระหว่าง 10 บาทกับ 20 บาท จำนวนใมากกว่ากัน ทุกคนสามารถตอบได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องคิดเลย เป็นเพราะอะไรครับ เพราะว่าเป็นตัวเลขนั่นเอง แสดงว่าอะไรที่เป็นตัวเลขแล้วจะทำให้ง่ายขึ้น แต่แปลกที่เรายังคงไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์กันอยู่ ……….เราถูกกดดัน ด้วยการเรียนการสอนและการสอบในห้องเรียน ทำให้ไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์มานาน หลายคนพูได้เต็มปากว่า เกลียดวิชานี้เหลือเกิน แท้จริงแล้ว คณิตศาสตร์คือเครื่องมือที่ช่วยให้เราทำอะไรได้ง่ายขึ้น เช่น เราสามารถใช้คณิตศาสตร์ช่วยในการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไปเที่ยว เรียนต่อ ซื้อโทรศัพท์มือถือ เลือกตั้ง ฯลฯ ……….ผมเชื่อว่าคนไทยเรายังคงใช้คณิตศาสตร์กันน้อย เนื่องจากหลายคนยังคงเล่นหวย โดยเฉพาะเลขท้าย 2 ตัว แทงไป 1 บาท ถ้าเราถูกเราก็จะได้ 70 บาท แต่อกาสถูกมี 1 ใน 100 ดังนั้นต่อให้ซื้อกี่งวด ๆ ก็จะขาดทุนอยู่ประมาณ 30% เสมอ ถ้าคิดอย่างนี้ได้ คณิตศาสตร์ก็คงช่วยให้ชีวิตเราดีขึ้นได้ ……….ความจริงแล้วคณิตศาสตร์มีประโยชน์กับชีวิต เพียงแต่ว่าเราอาจจะไม่ชอบมันเท่านั้นเอง ตัวอย่างมีให้เห็นทั่วไป เช่น ในห้างสรรพสินค้าแบบซูปเปอร์สโตร์ เช่น บิ๊กซี โลตัส เหล่านี้ ก็มีการใช้คณิตศาสตร์มาช่วยในการคำนวณจำนวนเคาน์เตอร์แคชเชียร์ ถ้าช่วงเย็นมีลูกค้าเยอะ ก็ต้องเปิดเคาน์เตอร์แคชเชียร์เพิ่มขึ้น เพื่อลูกค้าจะได้ไม่ต้องรอคิวนาน แต่ถ้าเป็นช่วงกลางวันก็อาจลดจำนวนเคาน์เตอร์แคชเชียร์เหลือครึ่งหนึ่งก็เพียงพอแล้ว เมื่อคณิตศาสตร์ทำเป็นระบบ ก็กลายเป็นปรแกรม ไม่ต้องใช้คนคำนวณอีกต่อไป แต่ทั้งนี้ ที่มาก็มาจากคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น ……….ในทางการแพทย์ก็ใช้คณิตศาสตร์ในการคำนวณปริมาณยาหรือคาดการณ์อาการของโรค ซึ่งต้องใช้กราฟ หรือสถิติมาช่วยเพื่อใช้คาดคะเนว่าจะเป็นอย่างไร ……….แล้วเราจะนำคณิตศาสตร์มาใช้ในการพัฒนาตนเอง เพื่อให้ชีวิตดีขึ้นได้ไหม ก็ลองดูนะครับ เช่น เราอยากพัฒนาให้มีความอดกลั้น มีความยับยั้งชั่งใจ มากกว่านี้ เพราะความอดกลั้น ความยับยั้งชั่งใจสำคัญกับชีวิตมาก เราเห็นได้ทั่วไปครับ ผู้ใหญ่หลายคนทำความดีมากมากมาย แต่สุดท้าต้องเสียผู้เสียคนเพราะขาดความอดกลั้น พอโมโหขึ้นมา ก็ไปตบคนอื่นบ้าง เอาปืนไปยิงเค้าบ้าง อนาคตดับวูบครับ ……….เราบันทึกเพื่อทำสถิตไว้เลยครับ ว่าเดือนนี้เราอดกลั้นไปแล้วกี่ครั้ง โมโหกี่ครั้ง จากนั้นก็ทำเป็นกราฟของแต่ละเดือน ดูว่าเราฝึกความอดกลั้นได้ดีแค่ไหน กราฟตัวนี้จะช่วยให้เรามองเห็นได้ว่าปีหนึ่ง ๆ เราพัฒนาตัวเองไปมากน้อยเท่าไหร่ ชัดเจนกว่าใช้ความรู้สึกคาดคะเนเอาครับ นอกจากนี้ยังปรับใช้กับการพัฒนาด้านอื่น ๆ ได้อีกเช่น ฝึกความประหยัด ความขยัน ฯลฯ ……….เราคงได้เห็นกันแล้วนะครับว่า คณิตศาสตร์อาจมีผลต่ออนาคตของเราอีกมาก บางทีเราแค่ไม่ชอบวิธีการสอนหรือเบื่อกับวิธีการสอบทำให้เรามองไม่เห็นว่า คณิตศาสตร์ที่เรียน ๆ อยู่ จะจำเป็นอะไรกับอนาคตของเรา วันนี้ใครจะเบื่อคณิตศาสตร์ก็ได้ไม่ว่ากันครับ แต่ถ้าใครหันมาสนใจกับมันสักหน่อยอาจจะชอบมันก็ได้…บ่นมาเยอะแล้วขอเข้าเรื่อง…”เฉลย O-NET 52 วิชาคณิตศาสตร์ ม.3” กันก่อนครับ ……….สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ ผมได้นำเสนอ “เฉลยข้อสอบ ONET ปี 53-54 วิชาคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3“ ออกสู่เพื่อนครูและผู้สนใจทางเว็บไซต์ของผมเอง และเป็นเรื่องที่น่ายินดีและดีใจมากที่เอกสารที่เผยแพร่ได้รับการตอบรับจากทั้งนักเรียน ครู-อาจารย์ และผู้ปกครอง นำไปใช้เป็นสื่อเสริมในการฝึกฝน เพิ่มเติมทักษะและประสบการณ์การแก้โจทย์ปัญหาอย่างกว้างขวางเพื่อเตรียมสอบ O-NET ในปีต่อไป และมีผู้เริ่มสนใจได้สอบถามตลอดจนเสนอแนะให้ผมนำข้อสอบและเฉลยวิธีคิดละเอียดของ O-NET ปี 2552 ระดับ ม.3 วิชาคณิตศาสตร์ ขึ้นมาเผยแพร่บ้าง ผมก็เลยใช้เวลาว่าง ๆ นั่งเขียนเฉลยประมาณ 1 ชั่วโมง ที่ไม่ทำตอนแรกเนื่องจากว่ามีหลายสำนักพิมพ์ได้ทำเฉลยไว้แล้ว แต่เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้และเผยแพร่ทั่วไป จึงได้จัดทำขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และพบว่าเด็ก ๆ ให้ความสนใจและบางคนนำเอาไปฝึกทำที่บ้านด้วย ผมจึงคิดว่าน่าจะเป็นประโยชชน์ต่อนักเรียน ครู-อาจารย์ ผู้ปกครอง ตลอดจนบุคคลอื่น ๆ ที่มีความสนใจจะได้รับแนวคิด ทักษะการคิดคำนวณและวิธีการแก้ปัญหาจากการศึกษาเอกสารชุดนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาศักยภาพทางด้านคณิตศาตร์ให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น และใช้เตรียมความพร้อมในการสอบ O-NET ที่จะมีขึ้นในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้อีกด้วย

หรือดาวน์โหลดได้ที่ >>> เฉลย O-NET 52 คณิตศาสตร์ | ข้อสอบ O-NET 52 คณิตศาสตร์ |หรือลิงค์ด้านล่างครับ

1. เฉลย O-NET 52 คณิตศาสตร์ ม.3 2. เฉลย O-NET 53 คณิตศาสตร์ ม.3 3. เฉลย O-NET 54 คณิตศาสตร์ ม.3 4. เฉลย O-NET 55 คณิตศาสตร์ ม.3 5. เฉลย O-NET 56 คณิตศาสตร์ ม.3 6. เฉลย O-NET 57 คณิตศาสตร์ ม.3 7.ข้อสอบ ONET คณิตศาสตร์ ม.3 ปี 52-55 พร้อมเฉลย (สำหรับติว)