Lactobacillus sp และ bifidobacterium sp ทนอ ณหภ ม

Sorry, we just need to make sure you're not a robot. For best results, please make sure your browser is accepting cookies.

Type the characters you see in this image:

Lactobacillus sp และ bifidobacterium sp ทนอ ณหภ ม

Try different image

Conditions of Use Privacy Policy

© 1996-2014, Amazon.com, Inc. or its affiliates

โพรไบโอติก คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งมีส่วนช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารให้เหมาะสม ทำให้การทำงานของร่างกายโดยเฉพาะระบบทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกันเป็นไปตามปกติ

จุลินทรีย์ชนิดใดที่จัดเป็นโพรไบโอติก

โพรไบติกแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1) จุลินทรีย์ที่เป็นแบคทีเรีย ได้แก่ Lactobacillus spp. ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เกาะติดบริเวณลำไส้ และ Bifidobacterium spp. ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร และ 2) จุลินทรีย์ที่เป็นยีสต์ ได้แก่ Saccharomyces spp. โดยตัวอย่างจุลินทรีย์ที่จัดเป็นโพรไบติกแสดงในตารางที่ 1[1,2]

ตารางที่ 1 ตัวอย่างจุลินทรีย์ที่จัดเป็นโพรไบติก [1,2]

แบคทีเรีย

ยีสต์

Lactobacillus spp.

Bifidobacterium spp.

แบคทีเรียอื่น ๆ

Saccharomyces spp.

  1. acidophilus
  1. casei
  1. crispatus
  1. gallinarum
  1. gasseri
  1. johnsonii
  1. paracasei
  1. plantarum
  1. reuteri
  1. rhamnosus
  1. adolescentis
  1. animalis
  1. bifidum
  1. breve
  1. infantis
  1. lactis
  1. longum

Enterococcus faecalis

  1. faecium

Lactococcus lactis

Leuconostoc mesenteroides

Pediococcus acidilactici

Sporolactobacillus inulinus

Streptococcus thermophilus

Propionibacterium freudenreichii

  1. cerevisiae
  1. boulardii

ใช้โพรไบโอติกในเด็กได้หรือไม่

ในปัจจุบันมีงานวิจัยที่ศึกษาประโยชน์ของโพรไบโอติกในเด็ก เช่น ลดระยะเวลาของการติดเชื้อทางเดินหายใจ[3] รวมถึงการรักษาอาการท้องเสียเฉียบพลันในเด็กซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีในหลายด้าน เช่น ลดระยะเวลาการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและระยะเวลาของอาการท้องเสียจากเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ[4,5] แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ทุกสายพันธุ์ของโพรไบโอติกจะให้ผลการรักษาเหมือนกันเพราะในแต่ละคนล้วนมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีมาแต่เกิด (ไมโครไบโอม, microbiome) แตกต่างกัน ดังนั้นโพรไบโอติกจึงอาจจะได้ผลหรือไม่ได้ผลในแต่ละคนแตกต่างกัน สำหรับผลข้างเคียงที่พบได้จากการศึกษา ได้แก่ อาการท้องอืดจากการมีแก๊สในทางเดินอาหารที่มากขึ้น คลื่นไส้ ดังนั้นการใช้โพรไบโอติกในเด็กจึงควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์หรือเภสัชกร และหลีกเลี่ยงการใช้ในเด็กป่วยหนักหรือมีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง[6,7]

โพรไบโอติกช่วยเรื่องอาการท้องเสียได้อย่างไร

โพรไบโอติกป้องกันเชื้อก่อโรคในทางเดินอาหารโดยกระตุ้นการหลั่งเมือกจากกอบเล็ทเซลล์ (goblets cell) เพื่อป้องกันการรวมกลุ่มแบคทีเรียหรือไวรัสก่อโรคและเซลล์ในทางเดินอาหาร รวมทั้งกระตุ้นให้มีการผลิตสารที่ต่อต้านเชื้อในทางเดินอาหาร เช่น คาเธลิซิดิน (cathelicidins) และ ดีเฟนซิน (defensins) [4] ทำให้ปกป้องร่างกายจากเชื้อที่เข้ามาก่อโรคในร่างกาย อีกทั้งมีหลักฐานจากการศึกษาในหลอดทดลองบ่งชี้ว่า Lactobacillus spp. หลายสายพันธุ์เพิ่มการหลั่งเมือกในเซลล์เยื่อบุผิวในลำไส้ ช่วยยับยั้งการเกาะของเชื้อ E. coli และเชื้ออื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดโรคในทางเดินอาหารได้ โดยกลไกการออกฤทธิ์ของโพรไบโอติกต่อต้านเชื้อก่อโรคทางเดินอาหารดังแสดงในรูปที่ 1[4]

รูปที่ 1 กลไกการออกฤทธิ์ของโพรไบโอติกเพื่อต่อต้านเชื้อก่อโรคทางเดินอาหาร

โพรไบโอติกชนิดใดที่มีงานวิจัยในการบรรเทาอาการท้องเสียได้

ในปัจจุบันมีการศึกษามากมายที่ใช้โพรไบโอติกรักษาอาการท้องเสียเฉียบพลันในเด็ก โดยโพรไบโอติกที่มีข้อมูลการใช้มากที่สุด คือ L. rhamnosus GG (LGG) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Lactobacillus spp. โดยการศึกษาของ Guandalini ระบุว่าผู้ป่วยเด็กที่ได้รับ LGG ปริมาณ 1x109 CFU ลดปริมาณอุจจาระและเวลาที่เกิดอาการท้องเสียได้มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก[4] รวมทั้งมีการศึกษาพบว่า LGG ปริมาณมากกว่าหรือเท่ากับ 1x1010 CFU ใน 1 วัน เพียงพอที่จะลดระยะเวลาการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและระยะเวลาของอาการท้องเสียจากเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ[8] แบคทีเรียโพรไบโอติกอื่น ๆ ที่มีการศึกษาในเด็ก เช่น L. reuteri DSM 17938[9,10] L. acidophilus[11] และ B. lactis[12] ส่วนโพรไบโอติกที่เป็นยีสต์ เช่น S. boulardii มีงานวิจัยว่าช่วยลดระยะเวลาของอาการท้องเสียในเด็ก 2 เดือนถึง 4 ปีได้เช่นกัน โดยในช่วงวันแรกของอาการท้องเสีย S. boulardii จะยับยั้งเชื้อก่อโรคในทางเดินอาหารได้ดี [13,14]

ข้อควรระวังในการใช้โพรไบโอติก

การใช้โพรไบโอติกสามารถเกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน โดยที่พบได้บ่อย คือ การท้องอืดจากการมีแก๊สในทางเดินอาหารที่มากขึ้น อาการคลื่นไส้ รวมถึงอาการท้องเสียสามารถเกิดได้เช่นกันหากรับประทานในปริมาณมาก อย่างไรก็ตามมีรายงานถึงความสัมพันธ์ของการติดเชื้อภายหลังการใช้โพรไบโอติก เช่น การติดเชื้อในกระเเสเลือดจากการใช้โพรไบติกในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดบริเวณทางเดินอาหาร เด็กเล็กที่ป่วยหนัก รวมถึงผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางภูมิคุ้มกัน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาถึงผลของการใช้โพรไบโอติกเพื่อการรักษาโรคในระยะยาว ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้โพรไบโอติก[2,15-17]

ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกในท้องตลาด

ข้อมูลปัจจุบันในประเทศไทย จุลินทรีย์ที่ขึ้นทะเบียนเป็น “ยา” สำหรับใช้ในการบรรเทาภาวะท้องเสียเฉียบพลัน ได้แก่ S. boulardii CNCM I-175 (Bioflor®)[18] และสูตรผสมระหว่าง L. acidophilus และ B. Bifidum (Infloran®)[19] ส่วนจุลินทรีย์ที่มีจำหน่ายในรูปแบบของ “ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ” เช่น สูตรผสมของ L. acidophilus, L. casei, B. longum, B. infantis, B. bifidum, L. lactis นอกจากนี้ในปัจจุบันได้มีการนำจุลินทรีย์มาใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว โดยจุลินทรีย์ที่จัดเป็นโพรไบโอจุลินทรีย์สำหรับใช้ในอาหารตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น L. paracasei, L. acidophilus, B. animalis และ S. cerevisiae subsp. Boulardii[20]