Sodium bicarbonate ท ใช ในการห อห ม ค อ

โซเดียมไบคาร์บอเนต หรือ โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate or sodium hydrogen carbonate) เป็นสารประกอบที่มีสูตรทางเคมี NaHCO3 เป็นผงละเอียดมีลักษณะสีขาว โซเดียมไบคาร์บอเนตเป็นอาหารที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเป็นตัวสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับขนมอบเช่นคุกกี้ขนมปังและแคร็กเกอร์

โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate) มีลักษณะเป็นผลึกสีขาวที่ละลายน้ำได้ดี มีความเป็นด่าง เมื่อทำปฏิกิริยากับส่วนผสมที่เป็นกรดในส่วนผสมของเหลวก็จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จนทำให้เกิดฟองก๊าซ

โซเดียมไบคาร์บอเนต” (Sodium bicarbonate) สารนี้จะสลายตัวได้เมื่อได้รับความร้อน มีค่าเป็นด่าง และมีข้อเสียคือจะมีสารตกค้าง ถ้าใช้มากเกินไปจะทำให้เกิดรสเฝื่อนได้ แต่สามารถแก้ไขได้โดยเติมกรดลงไปในสูตรขนมอาหารลงไปเพื่อทำให้สารตกค้างหมดไปได้ ตัวอย่างเช่น การเติมนมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ต เป็นต้น

เบกกิ้งโซดารูปแบบนี้เราจะนิยมนำมาใช้กับขนมที่มีโกโก้หรือกาแฟเป็นส่วนผสม เพราะทั้งโกโก้และกาแฟต่างก็มีค่าเป็นด่าง และเบกกิ้งโซดาก็มีค่าเป็นด่าง จึงทำให้เข้ากันได้ดี

ประโยชน์ด้านต่างๆ

  • น้ำยาล้างสารพิษจากผักและผลไม้ นำเบกกิ้งโซดา 1/2 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 10 ลิตร แช่ผักผลไม้ 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้งสามารถลดสารพิษได้ 90%
  • น้ำยาดับกลิ่นปาก ผสมแบ๊กกิ๊งโซดา 1/2 ช้อนโต๊ะ ในน้ำ 1 แก้ว ดับกลิ่นหอมกลิ่นกระเทียมได้ ถ้าใช้เบกกิ้งโซดา 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 1 แก้วและผสมเกลือ 1 ช้อนโต๊ะใช้เป็นน้ำยาบ้วนปากได้
  • ขัดฟันให้ขาว นำแบ๊กกิ๊งโซดา 1 ช้อนชาผสมน้ำมะนาว 1/2 ช้อนชา ใช้แปรงสีฟันจุ่มแล้วขัดฟันเบาๆ บ้วนน้ำเปล่าจนสะอาด คราบชากาแฟจะหายไป (ห้ามทำเวลาปวดฟัน เพราะมะนาวมีกรดสูงอาจทำลายสารเคลือบฟันได้)
  • น้ำยาล้างคราบในกาน้ำชาที่เป็นโลหะ ใส่น้ำลงในกาน้ำชาแล้วเติมแบ๊กกิ๊งโซดาลงไป 2 ช้อนโต๊ะ บีบน้ำมะนาวลงไปครึ่งลูก ต้มราวๆ 15 นาทีขัดและล้างจะสะอาดง่าย
  • ครีมลบรอยขูดขีดเครื่องครัว ละลายแบ๊กกิ๊งโซดา 4 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 1 ลิตร ทำความสะอาดเครื่องครัวที่ทำด้วยสเตนเลส พลาสติกโครเมี่ยม (ยกเว้นอะลูมิเนียม) ริ้วรอยจะเลือนหายไป
  • น้ำยาทำความสะอาดเครื่องสุขภัณฑ์ เทแบ๊กกิ๊งโซดา 1/2 กล่องลงในถังนำหลังชักโครก ทิ้งไหว้ 1 คืนแล้วค่อยกดชักโครก ถังและชักโครกสะอาดและปราศจากกลิ่น
  • ยาดับกลิ่นท่อและแก้ท่อตัน เทแบ๊กกกิ๊งโซดาลงไปในท่อ 1 ถ้วยก่อนแล้วใส่เกลือแกงลงไป 1/4 ถ้วย ตามด้วยน้ำร้อน ท่อจะไม่ตันและกลิ่นสะอาดอีกด้วย
  • น้ำยาทำความสะอาดเตาไมโครเวฟ นำแบ๊กกกิ๊งโซดา 4 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำอุ่น 1 ลิตร นำผ้ามาชุบแล้วเช็ดทำความสะอาดภายในคราบสกปรกจะเช็ดออกง่าย
  • น้ำยาดับกลิ่นพรม ผสมแบ๊กกกิ๊งโซดา 1/2 ถ้วยกับแป้งข้าวโพด 1/2 ถ้วย หยดน้ำมันหอมระเหยกลิ่นโปรดลงไป 15 หยด ใส่ขวดสเปรย์ฉีดบนพื้นพรมก่อนนอนทิ้งไว้จนเช้า กลิ่นพรมจะสะอาดสดชื่น
  • น้ำยาซักผ้า ใส่ผงแบ๊กกกิ๊งโซดา 1/2 ถ้วนในเครื่องซักผ้าพร้อมกับน้ำยาซักผ้า จะทำให้ผ้าขาวและสีจะสดขึ้น

ข้อแตกต่างระหว่าง โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate)และ ผงฟู

โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate)หรือ เบคกิ้งโซดา ( Baking Soda) มีฤทธิ์เป็นด่างสลายตัวเมื่อได้รับความร้อน ซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับส่วนผสมที่เป็นกรดในส่วนผสมของเหลว ก็จะให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งฟองก๊าซนี่แหละทำให้ส่วนผสมขึ้นฟู เป็นเหตุผลว่าเวลาทำขนม ต้องเอาของเหลวผสมในของแห้งหลังสุด เพราะจะเกิดก๊าซทันที และรีบเอาไปอบ เบคกิ้งโซดามีผลเสียคือจะมีสารตกค้างหากใส่มากเกินไปจะทำให้เกิดรสเฝื่อน ดังนั้นหากสังเกตดีๆ เบคกิ้งโซดามักใช้ร่วมกับสูตรที่มีส่วนเผสมที่มีฤทธิ์เป็นกรดด้วยเสมอ เช่นช็อกโกเลต น้ำผึ้ง brown sugar ,buttermilk,sour cream เป็นต้น เพื่อทำให้สารตกค้างหมดไป แก้รสเฝื่อนได้ค่ะ

ผงฟู (Baking Powder ) ประกอบด้วย โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate)เหมือนกับเบคกิ้งโซดาแต่ต่างตรงที่เพิ่มสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด,โซเดียม แอซิด ไพโรฟอสเฟต (sodium acid pyrophosphate, กรดเกลือของกรด) และส่วนที่เป็นแป้งข้าวโพดเข้าไปด้วยเพื่อคงความเป็นกลางไว้ไม่ให้สารทั้ง 2 ชนิดทำปฏิกิริยากัน เมื่อได้รับความร้อนในเตาอบทำให้เกิดฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระหว่างการผสมและอบ ขนมจึงขึ้นฟูและเนื้อนุ่ม

ผงฟูแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

  • ผงฟูกำลังหนึ่ง ( Fast Action ) ผงฟูชนิดนี้ทำปฏิกิริยารวดเร็ว เมื่อใส่ผสมกับแป้งจะทำให้ขึ้นฟูทันที ดังนั้นต้องทำการผสมและอบ อย่างไว ถ้าช้าไปขนมก็จะไม่ฟูนะค่ะ ผงฟูกำลังสอง ( Double Action ) นอกจากเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้ขึ้นฟูในขั้นตอนการผสมแล้ว เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นคือเมื่ออยู่ในเตาอบก็จะเกิดปฏิกิริยาอีกครั้งหนึ่ง คนส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ผงฟูชนิดนี้เพราะไม่ต้องรีบผสม รีบอบ ใช้ทำเบเกอรี่ได้หลายชนิด เช่น เค้ก ขนมปัง และเนื้อขนมที่ต้องการให้ขึ้นฟู เวลาใช้ก็ใช้ช้อนแห้งๆตัก และมัดปากถุงเก็บ เวลาผสมให้ร่อนรวมกับส่วนผสมแห้งนะคะ จะได้ไม่สูญเสียก๊าซไป

โซเดียมคาร์บอเนต หรือ โซดา แอช หรืออีกชื่อคือ โซดาซักผ้า สูตรเคมี คือ Na2CO3 เป็นสารประกอบเกลือของกรดคาร์บอนิก มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้ดี ละลายได้ในน้ำ มีฤทธิ์เป็นด่างแก่เมื่อละลายน้ำ ละลายได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์ พบในขี้เถ้าของพืชหลายชนิดและสาหร่ายทะเล (จึงได้ชื่อว่า โซดา แอช เนื่องจาก แอช ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ขี้เถ้า) เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น แก้ว เซรามิคส์ กระดาษ ผงซักฟอก สบู่ การแก้ไขน้ำกระด้าง

โซเดียมคาร์บอเนต พบได้ในธรรมชาติในเขตแห้งแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งแร่ที่เกิดจากทะเลสาบที่ระเหยแห้งไป ในสมัยอียิปต์โบราณ มีการขุดแร่ที่เรียกว่า เนทรอน (natron) (ซึ่งเป็นเกลือที่ประกอบด้วยโซเดียมคาร์บอเนต (หรือ โซดา แอช) และโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้ง โซดา) และมีโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) และโซเดียมซัลเฟต ปนอยู่เล็กน้อย) จากก้นทะเลสาบที่แห้ง ใกล้แม่น้ำไนล์ และนำมาใช้ในการทำมัมมี่ ใน ปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) พบแหล่งแร่โซเดียมคาร์บอเนตขนาดใหญ่ใกล้แม่น้ำกรีนริเวอร์ รัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐขุดแร่มาใช้แทนการผลิตทางกรรมวิธีทางเคมี

ในประเทศอื่น ๆ การผลิตโซเดียมคาร์บอเนตทำโดยกรรมวิธีทางเคมีที่เรียกว่า กระบวนการโซลเวย์ (Solvay process) ซึ่งค้นพบโดย เออร์เนส โซลเวย์ นักอุตสาหกรรมเคมีชาวเบลเยี่ยม ในปี พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) โดยเปลี่ยน โซเดียมคลอไรด์ (น้ำเกลือ) เป็น โซเดียมคาร์บอเนต โดยใช้ แอมโมเนีย และ แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) และสารที่เหลือจากกระบวนการมีเพียง แคลเซียมคลอไรด์ ซึ่งไม่เป็นพิษแม้ว่าอาจก่อให้เกิดความระคายเคืองได้ และ แอมโมเนียนั้นยังสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ทำให้กระบวนการโซลเวย์มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่ากรรมวิธีแบบเดิมมาก จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตอย่างแพร่หลาย ในคริสต์ศตวรรษ 1900 โซเดียมคาร์บอเนต 90% ที่ผลิต ใช้วิธีการนี้ และยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน

เดิมนั้นการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตทำโดยกระบวนเคมีที่เรียกว่า กระบวนการเลอบลังก์ (Leblanc process) ซึ่งค้นพบโดยนักเคมีชาวฝรั่งเศส ชื่อ นิโคลาส เลอบลังก์ ในปี พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1791) โดยใช้ โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) กรดซัลฟูริก (กรดกำมะถัน) แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) และถ่าน แต่กรดไฮโดรคลอริค (กรดเกลือ) ที่เกิดจากกระบวนการนี้ ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ และแคลเซียมซัลไฟด์ ที่เหลือจากกระบวนการทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม แต่เนื่องจากโซเดียมคาร์บอเนตเป็นสารเคมีพื้นฐานในอุตสาหกรรมหลายชนิด ทำให้มีการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตโดยกรรมวิธีนี้ และเป็นกรรมวิธีหลักมาจนถึงช่วงปี พ.ศ. 2423 - 2433 (ช่วง ค.ศ. 1880 - 1890) หลังการค้นพบกระบวนการโซลเวย์ กว่า 20 ปี โรงงานผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตที่ใช้กระบวนการ เลอบรังค์แห่งสุดท้ายปิดลงในช่วงปี พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920)