Iso 22000 ขอร บรอง ในไทย ม จำนวนเท าไหร

FSSC 22000 เป็นโครงการที่ได้รับการรับรองจาก GFSI ซึ่งให้แนวทางในการพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร (FSMS) ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด

โครงการ FSSC 22000 ได้รับการพัฒนาผ่านการปรึกษาหารืออย่างกว้างขวางและเปิดกว้างกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั่วโลกจํานวนมาก

FSSC 22000 ใช้มาตรฐานสากลและเป็นอิสระ เช่น ISO 22000, ISO 9001, ISO/TS 22003 และข้อกําหนดทางเทคนิคสําหรับโปรแกรมที่จําเป็นเบื้องต้นเฉพาะภาค (PRPs) เช่น ISO/TS 22002-1

  • รายละเอียดหลักสูตร
  • ทรัพยากร
  • คําถามที่พบบ่อย
  • ส่วน ลด

วัตถุประสงค์การเรียนรู้:

  • ส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน FSSC
  • สร้างฐานความรู้เพื่ออํานวยความสะดวกในการดําเนินการระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารของ FSSC ให้ประสบความสําเร็จ
  • แสดงให้เห็นว่าวิธีการที่ใช้ HACCP จัดการความปลอดภัยและอันตรายด้านคุณภาพอาหารในการดําเนินงานอย่างไร
  • รู้กระบวนการที่จะได้รับการรับรอง FSSC

ใครควรเข้าร่วม:

สมาชิกในทีมและผู้ที่พยายามได้รับการรับรอง FSSC 22000 สมาชิกในทีมในโรงงานผลิตอาหารที่กําลังมองหาความเข้าใจเกี่ยวกับรหัส FSSC 22000 สําหรับการดําเนินงานห่วงโซ่อุปทานอาหาร (เช่นการผลิตการจัดจําหน่าย ฯลฯ ) และเกี่ยวข้องกับการควบคุมเชิงป้องกัน HACCP และการพัฒนาแผนความปลอดภัยของอาหารอย่างไร

ข้อกําหนดเบื้องต้น: ขอแนะนําอย่างยิ่งให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้เกี่ยวกับ GMPs และการฝึกอบรม HACCP อย่างเป็นทางการ 16 ชั่วโมง

ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร HACCP (Hazard Analysis and Critical Point System) เป็นระบบการจัดการเพื่อความปลอดภัยของอาหาร โดยใช้การควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (CCP) ของการผลิต ซึ่งระบบดังกล่าว ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสามารถนำไปปฏิบัติได้โดยตลอดในห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่ผู้ผลิตเบื้องต้น (Primary Producer) จนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังลดการกีดกันทางการค้าของประเทศนำเข้าอีกด้วย ระบบ HACCP ยึดหลักเกณฑ์ตามโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex) ซึ่งสามารถป้องกันอันตราย หรือสิ่งปนเปื้อนทางชีวภาพ เคมี และกายภาพของอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะเน้นการควบคุมพนักงานและ / หรือเทคนิคการตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องที่จุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและลดความ สำคัญของการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุดท้าย

GMP พื้นฐานที่ดีสู่ HACCP หลักการที่จะนำ HACCP มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างมีประสิทธิผลนั้น โรงงานจำเป็นจะต้องมีการจัดทำโปรแกรมพื้นฐานด้านสุขลักษณะการผลิตอาหาร : Pre-requisite programme หรืออีกนัยหนึ่งคือ GMP (Good Manufacturing Practices) ของโรงงานมีความสะดวกต่อการดำเนินการให้มีประสิทธิผล ดังนั้น โรงงานที่ยังไม่ได้นำระบบ HACCP มาใช้ควรเตรียมการเสียแต่เนิ่น ๆ ส่วนโรงงานที่มีการนำระบบ GMP มาใช้ในโรงงานอยู่แล้ว จะสามารถนำระบบ HACCP ไปประยุกต์ใช้ให้ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น

หลักการของระบบ HACCP หลักการที่ 1 การดำเนินการวิเคราะห์อันตราย หลักการที่ 2 หาจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม หลักการที่ 3 กำหนดค่าวิกฤต หลักการที่ 4 กำหนดระบบเพื่อตรวจติดตามการควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม หลักการที่ 5 กำหนดวิธีการแก้ไข เมื่อตรวจพบว่าจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งไม่ อยู่ภายใต้การควบคุม หลักการที่ 6 กำหนดวิธีการทวนสอบเพื่อยืนยันประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบ HACCP หลักการที่ 7 กำหนดวิธีการจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิธีการปฏิบัติและบันทึกข้อมูล ต่าง ๆ ที่ เหมาะสมตามหลักการเหล่านี้ และการประยุกต์ใช้

ประโยชน์ที่ได้รับ

  • เกิดผลดีต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค
  • ลดการสูญเสียในด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
  • มีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารอย่างมีระบบ และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดค่าใช้จ่าย
  • ลดการกีดกันทางการค้า และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาด
  • เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร และผลิตภัณฑ์
  • เป็นระบบคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหารที่สามารถขอการรับรองได้
  • เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสู่ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001

ISO 22000:2005 Food Safety Management System: FSMS ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร ระบบการจัดการตัวใหม่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ประกอบกิจการในอุตสาหกรรม อาหารและห่วงโซ่อาหาร ซึ่งมาตรฐาน ISO 22000 จะครอบคลุมทั้งข้อกำหนดของ GMP, HACCP และข้อกำหนดสำหรับระบบการจัดการในองค์กร มาตรฐานดังกล่าวเน้นที่ผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาการจัดการความปลอดภัยของ อาหารให้มีความชัดเจน โดยจะเป็นที่รวมของข้อกำหนดในมาตรฐานต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อประกันความปลอดภัยของสินค้าตลอดเส้นทางห่วงโซ่อาหาร โดยเน้นที่การสื่อสารร่วมกันระบบการจัดการและการควบคุมอันตราย มีวัตถุประสงค์เพื่อประกันว่ามีการกำหนดรายละเอียดการตรวจสอบเพื่อความ ปลอดภัยของอาหารอย่างถูกต้องเหมาะสม และมีกระบวนการควบคุมตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอน โดยอาศัยข้อมูลจากการสื่อสารระหว่างผู้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่อาหารทุกราย ให้ข้อมูลและหลักฐานตามความต้องการของลูกค้าและตัวแทนจำหน่ายในด้านความเป็น ไปได้ ความจำเป็น และผลกระทบที่มีต่อผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายโดยอาศัยข้อมูลจากการสื่อสารระหว่าง ลูกค้าและตัวแทนจำหน่าย

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่างๆ

มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร (ISO 22000)

1. แบบฟอร์มร้องขอให้เสนอราคา Download 2. ขั้นตอนการขอการรับรองระบบการจัดการ Download 3. แบบฟอร์มคำขอการรับรองระบบ Download 4. แบบฟอร์มข้อมูลเกี่ยวกับการรับรองระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร Download 5. ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองระบบการบริหารจัดการ Download 6. การตรวจประเมินเพื่อการรับรองระบบการบริหารจัดการ Download 7. แนวทางการดำเนินการในการปรับเปลี่ยนการรับรองระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร สู่มาตรฐาน ISO 22000:2018 Download 8. ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใน การรับรองระบบการบริหารจัดการกรณีการโอนการรับรองจากหน่วยรับรองอื่น Download