งบการเงินรวมและกำไรระหว่างกัน ตัวอย่าง

Mr.LikeStock เชื่อว่าเพื่อนๆ นักลงทุนคงเคยเห็นหุ้นที่เราลงทุนนั้นบางครั้งก็ไปเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทอื่นๆ มากน้อยแตกต่างกันออกไป การที่บริษัทสามารถไปซื้อหุ้นบริษัทอื่นหรือลงทุนในธุรกิจอื่นๆได้ ทำให้งบการเงินอาจต้องแสดง “งบการเงินรวม” และ “งบเฉพาะกิจการ” ทุกครั้ง เพื่อนๆหลายคนอาจไม่ทราบว่ามันแตกต่าง หรือมีรายละเอียดยังไงบ้าง ในบทความนี้ Mr.LikeStock จะเล่าให้ฟัง ฉบับลงทุนหุ้น

ในการไปลงทุนในกิจการอื่น ทางบัญชีจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป 3 ระดับได้แก่

บริษัทย่อย = กิจการถือหุ้นในบริษัทที่ลงทุนตั้งแต่ 50% ขึ้นไป (เราเป็นเจ้าของ)

บริษัทร่วม = กิจการถือหุ้นในบริษัทที่ลงทุนระหว่าง 20% ถึง 50%

เงินลงทุน = กิจการถือหุ้นในบริษัทที่ลงทุนน้อยกว่า 20%

ดังนั้น การบันทึกในทางบัญชีย่อมมีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

เงินลงทุน หรือ สินทรัพย์ทางการเงิน

งบการเงินรวมและกำไรระหว่างกัน ตัวอย่าง

คือ เงินที่กิจการนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง หรือ หุ้น ที่มีการซื้อขายอยู่ในตลาด เพื่อหวังผลกำไร ซึ่งสามารถบันทึกได้เป็น 2 แบบ

1. เงินลงทุนเพื่อค้า

  • การบันทึกแบบนี้เงินลงทุนจะแสดงมูลค่าตามราคาหุ้น ณ ตลาด
  • การเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นจะถูกบันทึกลงในส่วนของ กำไรหรือขาดทุน แม้ยังไม่ขายเงินลงทุนนั้น
  • กำไรทางบันชีที่เกิดขึ้น ถูกนำไปคิดเป็นกำไรสะสม กำไรต่อหุ้น ได้เช่นกัน
  • ทำให้กำไรขาดทุนมีความผันผวนสูงตาม จึงไม่นิยมใช้ในการบันทึก
  • นิยมใช้กับการลงทุนในตราสารหนี้

เพื่อค้า > ราคาหุ้นขึ้น > บันทึกกำไรลงงบกำไรขาดทุน > มีผลต่อ EPS

2. เงินลงทุนเผื่อขาย

  • เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขายแสดงมูลค่าตามราคา ณ ตลาด
  • การเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์จะบันทึกใน กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (กำไรขาดทุนที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง) ดังนั้น จะไม่มีผลกระทบต่อกำไรสุทธิ กำไรต่อหุ้น และกำไรสะสม
  • จะถูกบันทึกในส่วนของ กำไรหรือขาดทุน จริงๆ ต่อเมื่อได้ทำการขายหลักทรัพย์นั้นออกไปแล้ว

เงินลงทุนเผื่อขาย > ราคาหุ้นขึ้น > บันทึกลงกำไรลงใน กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ > ไม่มีผลต่อ EPS

บริษัทร่วม

“งบการเงินรวม” จะเป็นส่วนที่แสดงผลได้เสียที่เราได้รับจากการลงทุนนั้น โดยมีวิธีการบันทึก เรียกว่า “Equity Method” หลักการ คือ

  1. บันทึกเงินลงทุนในบริษัทร่วมเริ่มแรกด้วย ราคาทุน
  2. เงินลงทุนเพิ่มขึ้นลดลงด้วยการแบ่ง กำไร/ขาดทุน
  3. หากมีการจ่ายปันผล ทุนของกิจการก็ลดลงไปด้วย แต่ได้เงินสดกลับมา
  4. เห็นแต่ผ่านภาพรวมเท่านั้น One line consolidation

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A ถือหุ้นใน บริษัท B 40% ทุนของบริษัท B 100 ล้านบาท จะเป็นของ บริษัท A 40 ล้านบาท

หากดำเนินกิจการไปผ่านไป 1 ปี บริษัท B มีกำไร 10 ล้านบาท

ทุนส่วนบริษัท B จะเท่ากับ 66 ล้านบาท ทุนส่วนบริษัท A จะเท่ากับ 44 ล้านบาท

ต่อมาบริษัท B จ่ายปันผล 5 ล้านบาท

บริษัท A จะได้รับเงินปันผล 2 ล้านบาท ทุนส่วนบริษัท B จะเท่ากับ 61 ล้านบาท ทุนส่วนบริษัท A จะเท่ากับ 42 ล้านบาท

“งบเฉพาะกิจการ” จะถูกบันทึก โดยวิธี Cost Method

  1. บันทึกงินลงทุนในการซื้อหุ้นด้วยราคาทุน ไม่ปรับเปลี่ยนตามราคาหุ้นในตลาด
  2. รับรู้รายได้จากเงินปันผลเท่านั้น
  3. เงินปันผัลสามารถถูกนำมาคิด EPS ได้
  4. ในงบการเงินจะไม่ทราบถึงผลการดำเนินของบริษัทลูก

บริษัทย่อย

“ แม้ไม่ได้ถือหุ้นเกินกว่า 50% แต่มีอำนาจในการควบคุมกิจการก็จัดอยู่ในบริษัทย่อย ต้องทำงบการเงินรวม “

การทำงบการเงินรวม ในงบดุล ทรัพย์สินและหนี้สินของ 2 บริษัทจะถูกรวมเข้าได้กัน 100% งบกำไรขาดทุน ตั้งแต่บรรทัดรายได้จนถึงกำไรสุทธิก็จะถูกรวมเข้าด้วยกันทั้ง 100% แต่จะมีบรรทัดเพิ่มขึ้นมาเพื่อบอกกำไรสำหรับบริษัทแม่

งบดุล

ทรัพย์สิน = บริษัทแม่ + บริษัทย่อย

หนี้สิน = บริษัทแม่ + บริษัทย่อย

ส่วนของทุน = ทุนของบริษัทแม่ + NCI

ดังนั้น ในงบการเงินรวม ทรัพย์สิน จะไม่เท่ากับ หนี้สิน + ส่วนของทุน

NCI คือ ส่วนได้เสียที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจควบคุมของบริษัทย่อย

หัวใจสำคัญของการอ่านงบเมื่อบริษัทที่เราลงทุนอยู่นั้นไปลงทุนในกิจการอื่น เพื่อแยกให้ออกว่ากำไรที่ได้มานั้น มาจากกิจการเก่งขึ้นจริง หรือได้มาเพราะไปลงทุนในบริษัทอื่น และจะช่วยให้เพื่อนๆ วิเคราะห์ธุรกิจได้แม่นยำยิ่งขึ้นอีกด้วย

งบรวมหลายคนยังงงๆว่ามันรวมกันอย่างไร บทความนี้จะอธิบายความแตกต่างระหว่างงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการอย่างง่ายๆ ครับ

1. มีบริษัทย่อยไปทำไม

ในการทำธุรกิจ หลายๆครั้งต้อง เปิดเป็นบริษัทย่อยๆ หลายบริษัทด้วยหลายเหตุผลเช่น ต้องการแยกการจัดการที่ชัดเจน การขยายธุรกิจโดยมีพาร์ทเนอร์เข้ามาร่วมด้วยก็แยกบริษัทกัน หรือมีแผนที่จะนำบริษัทย่อยเข้าจดทะเบียน IPO ในอนาคต

2. การบันทึกบัญชี

พอเราเปิดบริษัทย่อยๆ ถือหุ้นเยอะๆ ก็มีอำนาจควบคุมในการบริหารงาน และควบคุมทางการเงิน สั่งได้ว่าจะให้บริษัท ลงทุนอะไร กู้เงินจากไหน จ่ายปันผลเท่าไร

เมื่อสั่งได้ เพื่อให้เห็นภาพรวมของกิจการก็ต้องบันทึกบัญชีโดยเอางบการเงินของบริษัทย่อยเข้ามารวมด้วย

ไอเดียคือเงินลงทุนของเราก็เป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์สุทธิ (book value) ของบริษัทย่อย เราก็กระจายสินทรัพย์สุทธิออกมาเป็น สินทรัพย์ลบหนี้สิน แล้วก็กระจายสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทย่อยเข้ามารวมร่างกับบริษัทแม่

งบการเงินรวมและกำไรระหว่างกัน ตัวอย่าง

ภาพแสดงงบการเงินรวม

จะเห็นในฝั่งขวา สินทรัพย์ และหนี้สินของบริษัทย่อยจะจับมารวมกัน ค่อยมาแบ่งกันในส่วนของทุน

ถ้าบริษัทที่เราสนใจมีบริษัทย่อย ในงบการเงินส่วนของทุนจะเห็นรายการ ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม หรือคือส่วนทุนของบุคคลภายนอกที่ถือหุ้นอยู่ในบริษัทย่อย มีกำไรก็แบ่งให้เขาไป

ส่วนในงบกำไรขาดทุน รายได้และรายจ่ายของทั้งเราและย่อยจะจับมารวมกันแล้วค่อยหักกำไรไปให้ ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุมไป จึงเหลือกำไรเป็นของเรา

3. การวิเคราะห์งบรวม

งบการเงินรวมก็เหมือนรวมๆ ทั้งสาขาใหญ่และย่อยเข้าด้วยการ รายการที่เห็นในงบจะหักรายการระหว่างกันออก

ดังนั้นแสดงว่า รายการที่เห็นในงบการเงินจะเป็นรายการที่เกิดกับบุคคลภายนอกเท่านั้น การวิเคราะห์ก็วิเคราะห์ไปตามปกติ

4. การคำนวณอัตราส่วนทางการเงิน

ที่มีปัญหาคือเวลาคำนวณอัตราส่วนทางการเงิน โดยเฉพาะ อัตราส่วนที่มีส่วนของทุนและกำไรสุทธิเข้ามาร่วมด้วย ต้องคิดว่าจะเอาอะไรมาคำนวณ

ROE

ROE ใช้ = กำไรสุทธิส่วนของบริษัทใหญ่ / ส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่เฉลี่ย

อัตรากำไรสุทธิ

ถ้าจะดูภาพรวม = กำไรก่อนหักส่วนได้เสียไม่มีอำนาจควบคุม /รายได้รวม คำนวณแบบตลาดหลักทรัพย์ set = กำไรสุทธิส่วนของบริษัทใหญ๋ /รายได้รวม

อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน

ถ้าจะดูภาพรวม = รวมหนี้สิน / รวมส่วนของผู้ถือหุ้น คำนวณแบบตลาดหลักทรัพย์ set = รวมหนี้สิน / ส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่

5. ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

เวลาไปซื้อกิจการบริษัทย่อย ในบางครั้งชอบซื้อในราคาแพงกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (book value) ของบริษัทย่อย ส่วนที่เกินเขาเรียกว่า “ค่าความนิยม” จะบันทกอยู่ในรายการสินทรัพย์ค้างเติ่งอยู่ในงบตลาดกาลจนกว่าบริษัทย่อยจะไม่นิยม ก็ตั้งเป็นรายจ่ายไป

ในทางกลับกันถ้าเราไปซื้อกิจการในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (book value) ของบริษัทย่อย ส่วนที่ต่ำกว่า จะกลายมาเป็นกำไรจากการต่อรองราคาซื้อกิจการ

เหตุที่ต้องบันทึกกำไรในงวดนั้นเนื่องจากการต่อรองได้สินทรัพย์มาถูกก็เป็นฝีมือของผู้บริหารในงวดนั้น ก็เลยต้องบันทึกงวดนั้นไปเลยให้เครดิตไป ในขณะที่บางคนก็บอกว่า ถ้ากิจการมันดีจริงแล้วคนขายจะขายให้ในราคาถูกทำไม?

หวังว่าบทความนี้คงให้ความรู้ในการลงทุนไม่มากก็น้อยนะครับผม เจริญในการลงทุนทุกท่านครับผม

ที่มาบทความ : http://www.investidea.in.th/2016/06/Consolidated.html

ผู้เขียน

งบการเงินรวมและกำไรระหว่างกัน ตัวอย่าง

Investidea

ภัทรธร ช่อวิชิต ปัจจุบันเป็นนักลงทุนอิสระ เน้นการลงทุนในหุ้นเล็กพริกขี้หนู มีโอกาสเติบโต ที่ตลาดยังไม่สนใจให้ค่า เจ้าของผลงานหนังสือ “คุ้ยแคะแกะหุ้นเด้ง”, “เจาะหุ้นร้อนสแกนหุ้นเด้ง”, เว็บ investidea.in.th และอาจารย์ประจำ efinschool

งบการเงินรวม มีอะไรบ้าง

งบการเงินรวมคือแสดงงบการเงินที่รวมบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยเข้าด้วยกัน รวมตัวรายได้, รายจ่าย, กระแสเงินสด, ทรัพย์สิน, หนี้สิน ทุกอย่างรวมกันเหมือนเป็นบริษัทเดียวกัน แล้วก็รายงานตัว minority interest หรือส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทแยกต่างหากอีกที

งบการเงินรวม ณ วันซื้อหุ้นได้แก่งบอะไรบ้าง

การคำนวณ การตัดรายการ และการจัดทำงบการเงินรวมหลังวันซื้อหุ้น ประกอบด้วยงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม งบกำไรสะสมรวม และงบแสดงฐานะการเงินรวม ดร.สุภาวดี ชอบเสร็จ อาจารย์ประจำสาขาการบัญชี คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

งบการเงินรวม ทําอย่างไร

“งบการเงินรวม” จะเป็นส่วนที่แสดงผลได้เสียที่เราได้รับจากการลงทุนนั้น โดยมีวิธีการบันทึก เรียกว่า “Equity Method” หลักการ คือ บันทึกเงินลงทุนในบริษัทร่วมเริ่มแรกด้วย ราคาทุน เงินลงทุนเพิ่มขึ้นลดลงด้วยการแบ่ง กำไร/ขาดทุน หากมีการจ่ายปันผล ทุนของกิจการก็ลดลงไปด้วย แต่ได้เงินสดกลับมา

กิจการใดต้องทำงบการเงินรวม

งบการเงินรวมจัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงผลประกอบการของกลุ่มกิจการ โดยงบการเงินรวมนำเสนอเสมือนว่ากลุ่มกิจการนั้นเป็นกิจการเดียว หลักเกณฑ์ทางปฏิบัติการกำหนดว่าเมื่อใดควรจัดทำงบการเงินรวมคือ ถ้าบริษัทใหญ่ถือหุ้นในบริษัทอื่นเกินเกินกว่า 50% ให้ถือว่าบริษัทนั้นเป็นบริษัทอื่นเกินกว่า 50% ให้ถือว่าบริษัทนั้นเป็นบริษัทนั้นเป็น ...