Application e commerce ม ช อง ทาง ใด บ าง

E-Business และ E-Commerce ได้ถูกนำมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อการประสานงาน เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูล การไหลของข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ เช่น การลดต้นทุนในการใช้กระดาษ การลดต้นทุนการเดินทาง ฯลฯ แต่ในขณะเดียวกันยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการของธุรกิจให้เป็นที่น่าพึงพอใจอีกด้วย แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า E-Business และ E-Commerce มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

เป็นที่ทราบกันดีว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และอินเทอร์เน็ตนั้นเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการบริหารจัดการธุรกิจในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้มีการเรียกชื่อแตกย่อยเป็นกระบวนการต่างๆ ที่แตกต่างกันไป อาทิ E-Business, E-Commerce, E-Collaboration, E-CRM, Supply Chain Management (SCM), Enterprise Resource Planning (ERP), Business Intelligence (BI) และอื่นๆ

โดยในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะ E-Business และ E-Commerce เพียงเท่านั้น

Application e commerce ม ช อง ทาง ใด บ าง

E-Business หรือธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ คือการใช้กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆ ในองค์รวม เพื่อโต้ตอบกันระหว่าง ลูกค้าทางธุรกิจ คู่ค้า หุ้นส่วนทางธุรกิจ ผู้ถือหุ้นและ/หรือนักลงทุน ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาศัยการใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และอาจรวมถึงอินเทอร์เน็ตเพื่อขยายขอบเขตการดำเนินงานทางธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น

Application e commerce ม ช อง ทาง ใด บ าง
e-Business Portal ของ AIS
Application e commerce ม ช อง ทาง ใด บ าง
e-Toyota Business
Application e commerce ม ช อง ทาง ใด บ าง

E-Commerce หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือใช้กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และอินเทอร์เน็ต มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจเช่นเดียวกันกับ E-Business เพียงแต่ E-Commerce จะมุ่งเน้นไปยังกระบวนอันเกี่ยวเนื่องกับการทำธุรกรรม การซื้อ หรือขายสินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ซึ่ง E-Commerce แบ่งได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่

ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction) กับ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) เหมือนกันหรือไม่ อย่างไร ???

ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction) หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ที่กระทำขึ้นระหว่างหน่วยธุรกิจ บุคคล รัฐ ตลอดจนองค์กรเอกชนหรือองค์กรของรัฐใด ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ การค้า และการติดต่องานราชการ โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ยกตัวอย่าง เช่น การซื้อ-ขายสินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, การสมัครสมาชิกผ่านระบบออนไลน์, การตกลงทำสัญญาซื้อ-ขาย หรือสัญญาตกลงตามข้อบังคับต่างๆ บนเครือข่าย, การโอนเงินด้วยระบบอัตโนมัติผ่านระบบเครือข่าย, การสื่อสารรับ-ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเครือข่ายการสื่อสาร และการสอบถามข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น แต่ e-commerce เป็นการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่ครอบคลุมการซื้อการขายสินค้าและบริการ โดยกระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เห็นได้ว่า ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction) มีขอบเขตที่กว้างกว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างไร

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กำหนดเรื่องลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มี 2 ประเภท คือ

1. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ตามมาตรา 9 (หลักของ ม. 9 คือ การลงลายมือชื่อต้องใช้วิธีการที่เชื่อถือได้) รองรับความเท่าเทียมกันระหว่างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่อที่เซ็นต์กันปกติ ซึ่งเป็นหลักเปิดกว้างเพื่อรองรับวิธีการทุกประเภทที่อาจนำมาใช้ในการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดย มาตรา 9 แบ่งส่วนประกอบ 2 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 คือ เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

ส่วนที่ 2 คือ การแสดงถึงความเห็นชอบของบุคคลในการรับรองข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็น “วิธีการที่เชื่อถือได้” (ดูพฤติการณ์ที่เหมาะสมในการกำหนดว่า อย่างไรคือ วิธีที่เชื่อถือได้ เช่น ความซับซ้อนของเครื่องมือ ศักยภาพของระบบ การติดต่อสื่อสาร เป็นต้น)

2. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ ตามมาตรา 26 เมื่อใช้เทคโนโลยีตามคุณสมบัติหรือหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ให้ถือว่า เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ โดย วิธีการเชื่อถือได้พิจารณาตามที่กฎหมายกำหนด เช่น เทคโนโลยีที่มีคุณสมบัติหรือลักษณะเป็นลายมือชื่อดิจิตัล (digital signature) (หมวด 2 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ เพื่อเสริมมาตรา 9) ดังนั้น ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 26 จึงเป็นการลงลายมือชื่อตามมาตรา 9 และสามารถใช้แทนกันได้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 วรรคสอง ก. ถึง ค. อีก

สิ่งพิมพ์ออกตามประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการรับรองสิ่งพิมพ์ออก พ.ศ. 2555 คืออะไร

สิ่งพิมพ์ออกของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเอกสารต้นฉบับ

การรับรองระบบการพิมพ์ออกตามประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการรับรองสิ่งพิมพ์ออก พ.ศ. 2555 คืออะไร

การรับรองกระบวนการในการพิมพ์เอกสาร โดยไม่ได้รับรองเนื้อหาหรือข้อความในเอกสารว่าถูกต้องแท้จริง

ประโยชน์ของการรับรองการพิมพ์ออกตามประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการรับรองสิ่งพิมพ์ออก พ.ศ.2555 คืออะไร

สามารถใช้แทนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นต้นฉบับได้

การทำกิจกรรมลุ้นของรางวัลผ่านแอพพลิเคชั่น (Application) บนมือถือเป็นการดำเนินกิจกรรม ที่ต้องมีการขออนุญาตตามกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่

โดยหลักแล้วการดำเนินกิจกรรมใด ๆ โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ได้กำหนดมาตรการหรือหลักเกณฑ์รองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้เสมอด้วยกระดาษ เพื่อให้การกระทำใด ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติสามารถทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้และมีผลผูกพัน ตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อพิจารณารูปแบบการดำเนินกิจกรรมลุ้นของรางวัลผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ อาจพิจารณาได้ว่า เป็นกิจกรรมที่ทำขึ้นกับบุคคลโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้พระราช บัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

การพิจารณาว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นธุรกรรมที่ต้องขออนุญาตตามพระราช บัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 หรือไม่นั้น ผู้ให้บริการจะต้องพิจารณาว่าการดำเนินกิจกรรมของตนเป็นธุรกิจบริการเกี่ยว กับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นธุรกิจบริการที่จะต้อง มีการแจ้งให้ทราบ ขอขึ้นทะเบียน หรือขอใบอนุญาตก่อนประกอบกิจการด้วยหรือไม่ ซึ่งหลักเกณฑ์ที่กำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนดในหมวด 3 เรื่องธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จะต้องแจ้งให้ทราบ ต้องขึ้นทะเบียน หรือต้องได้รับใบอนุญาตก่อนประกอบธุรกิจคือ ธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบ คุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 กำหนด

นอกจากนี้ ผู้ให้บริการควรคำนึงถึงการปฏิบัติตามกฎหมายอื่น ๆ เช่น พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 เป็นต้น ว่ากิจกรรมของตนเป็นการดำเนินกิจกรรมที่เข้าข่ายห้ามประกอบกิจการหรือต้อง ได้รับการอนุญาตตามกฎหมายก่อนหรือไม่ ซึ่งสอบถามได้จากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

E

e-Commerce คือ การดำเนินธุรกิจโดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ ขาย การชำระเงิน และอื่น ๆ ผู้ประกอบการ e-Commerce ที่ขายสินค้าหรือให้บริการ มีหน้าที่ต้องเสียภาษี เช่นเดียวกับผู้ประกอบการอื่น ๆ

Consumer to Consumer Electronic Commerce (C–to–c) คือข้อใด

ผู้บริโภคกับผู้บริโภค หรือ ซีทูซี (C-to-C = Consumer to Consumer) คือ การติดต่อซื้อขายระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเอง กล่าวคือ ผู้บริโภคที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจประกาศขายสินค้าของตนเอง และผู้บริโภคอีกคนก็สนใจสั่งซื้อไป การประกาศขายนี้ส่วนใหญ่ทำผ่านอินเทอร์เน็ตเพราะมีพื้นที่ให้ติดต่อซื้อขายได้สะดวก รวมถึงหาคนที่มีความสนใจเหมือน ...

เทคโนโลยีอีคอมเมิร์ช (E

e-Commerce (Electronic Commerce) คือ อีคอมเมิร์ซ, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการทำธุรกรรมซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้ผู้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุก ...

C2C คืออะไร และให้ยกตัวอย่าง

3. C2C (Customer to Customer) เป็นการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค เช่น การติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารในกลุ่มคนที่มีการบริโภค หรือบุคคลทั่วไปอาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสอง โดยสินค้าที่นำมาเสนอขายได้นั้นครอบคลุมตั้งแต่บ้านราคาหลายสิบล้านไปจนถึงหนังสือราคาไม่กี่บาท เป็นต้น