ตัวอย่าง แผน บูร ณา การ เศรษฐกิจ พอ เพียง

แผนการจัดการเรียนรู้ บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วยการเรียนรู้เรื่อง สมุนไพรไทยสู่ครัวโลก เวลา 2 ชั่วโมง ------------------------------ 1. เรื่อง การจำแนกพืช 2. มาตรฐานการเรียนรู้ 2.1 วิชาหลัก มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การ ใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มี กระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 2.2 สิ่งที่นำมาบูรณาการ มาตรฐาน ศ 1.1 สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด ต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน 3. ตัวชี้วัด 3.1 วิชาหลัก มฐ.ว 1.2 ป.5/4 ระบุลักษณะของพืชดอกที่เป็นพืชใบเลี้ยงเคี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่ โดยใช้ลักษณะภายนอก เป็นเกณฑ์ 3.2 วิชาที่นำมาบูรณาการ มฐ.ศ 1.1 ป.5/5 สร้างสรรค์งานพิมพ์ภาพ โดยเน้นการจัดวางตำแหน่งของสิ่งต่างๆในภาพ 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 4.1 วิชาหลัก ด้านความรู้(K) -นักเรียนสามารถบอกลักษณะของพืชที่นักเรียนสนใจค้นคว้าได้ ด้านทักษะกระบวนการ(P)

-นักเรียนสามารถจำแนกประเภทของพืช โดยการสร้างสรรค์ผลงานออกเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบ เลี้ยงคู่ โดยใช้ลักษณะภายนอกของพืชเป็นเกณฑ์ได้ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์(A) -นักเรียนมีความสนใจในการเรียนรู้ และมีความรับผิดชอบติองานที่ได้รับมอบหมาย 4.2 สิ่งที่นำมาบูรณาการ ด้านความรู้(K) -บอกวัสดุอุปกรณ์และอธิบายขั้นตอนในการพิมพ์ภาพจากพืชได้ ด้านทักษะกระบวนการ(P) -ฝึกปฏิบัติการพิมพ์ภาพจากพืชได้ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์(A) -ชื่นชมผลงานการพิมพ์ภาพของตนเองและผู้อื่น 5. สาระการเรียนรู้ 5.1 เนื้อหาวิชาหลัก ความรู้ เกณฑ์ในการจำแนกพืช 1. ใช้การมีดอกเป็นเกณฑ์ จำแนกได้เป็น ㆍพืชไร้ดอก หมายถึง พืชที่มีส่วนประกอบต่างๆ ไม่ครบ และที่สำคัญคือไม่มีดอก ผลและ เมล็ด เช่น เห็ด สาหร่าย เป็นต้น ㆍพืชดอก หมายถึง พืชที่มีส่วนประกอบต่างๆ ครบ และมีดอกเป็นโครงสร้างที่ใช้ในการ สืบพันธุ์ มีผล และเมล็ด เช่น มะเขือ กระเพราะ แตงกวา พริก เป็นต้น 2. ใช้ลักษณะส่วนประกอบของพืช ได้แก่ ลักษณะของราก ลำต้น และใบ เป็นเกณฑ์จำแนกได้เป็น ㆍพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลักษณะรากเป็นรากฝอย ลำต้นเนเป็นข้อปล้องชัดเจน มีเส้นใบขนาน เช่น ตะไคร้ ต้นหอม เป็นต้น

ㆍพืชใบเลี้ยงคู่ ลักษณะรากเป็นรากแก้ว ลำต้นเห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน มีเส้นใบเป็นร่างแห เช่น มะกรูด มะนาว เป็นต้น 6. สาระสำคัญ 6.1 เนื้อหาหลัก ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ในการจำแนกพืช ได้แก่ การมีดอก และลักษณะราก ลำต้น ใบ และประโยชน์ของ พืชชนิดต่างๆ 6.2 เนื้อหาที่นำมาบูรณาการ นักเรียนต้องรู้จักเลือกสิ่งที่จะใช้เป็นแม่พิมพ์ ซึ่งจะต้องเป็นสิ่งที่ทาสีแล้วพิมพ์ภาพได้ชัดเจน สิ่งนั้นจะต้องไม่สกปรก และไม่มีอันตราย 7. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. ใฝ่เรียนรู้ 2. มุ่งมั่นในการทำงาน 3. อยู่อย่างพอเพียง การบูรณาการโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความพอประมาณ - นักเรียนใช้เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมได้เหมาะสมตามลำดับขั้น - นักเรียนแบ่งหน้าที่ในการทำงานภายในกลุ่มได้อย่างเหมาะสมกับความสามารถของของแต่ละคน - นักเรียนใช้วัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม ความมีเหตุผล - นักเรียนเห็นถึงความสำคัญของพืช - นักเรียนสามารถจำแนกชนิดของพืชในสวนผักเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์ที่กำหนดได้อย่างเหมาะสม - นักเรียนเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ - การเลือกใช้ประโยชน์จากพืชชนิดต่างๆ - นักเรียนรู้ประโยชน์ของพืช

เงื่อนไขความรู้ - การจำแนกพืช - ประโยชน์ของพืช เงื่อนไขคุณธรรม - มีความตั้งใจ - มุ่งมั่นในการทำงาน - พอเพียงประหยัดและอดออม - จิตวิทยาศาสตร์ 8.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ (engagement) ( 5 นาที) ครูทบทวนความรู้เรื่องความหลากหลายของพืชในท้องถิ่น ขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหา (exploration) (20 นาที) ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 10 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มสืบค้นพืชที่นักเรียนสนใจ โดยมีหัวข้อ ดังต่อไปนี้ ▪ ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ▪ ลักษณะราก ▪ ลักษณะลำต้น ▪ ลักษณะดอก ▪ ลักษณะผล ▪ ประโยชน์ของพืชชนิดนี้ ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป (explanation) ( 20 นาที) 1. ครูให้ผู้แทนนักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลสืบค้นหน้าชั้นเรียน (นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นอย่างมีคุณธรรม และมีภูมิคุ้มกันในการรับฟังความคิดเห็นของส่วนรวม) 2. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการนำเสนอของแต่ละกลุ่มในประเด็น ดังนี้ 2.1 พืชแต่ละชนิดที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร 2.2 นักเรียนสามารถจำแนกพืชได้อย่างไร โดยใช้สิ่งที่นักเรียนสืบค้นและนำเสนอหน้า ชั้นเรียน

(มีเหตุผลในการให้ข้อมูลในการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน) ขั้นที่ 4 ขยายความรู้ (claboration) (10 นาที) จากที่ครูให้นักเรียนนำพืชที่สืบค้นออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน จากนั้นให้ช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานโดยจัด ประเภทให้ถูกต้อง ตามชนิดของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่ โดยกิจกรรมกลุ่ม 1. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมกลุ่ม จากวัสดุที่ครูเตรียมให้ ดังนี้ 2. ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการพิมพ์ภาพด้วยใบพืชมาให้โดยให้นักเรียนจำแนกออกเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และพืชใบเลี้ยงคู่ 3. วัสดุอุปกรณ์ได้แก่ สีน้ำหรือสีโปสเตอร์ พู่กัน จานสีถ้วยน้ำ กระดาษสำหรับพิมพ์ผ้าเช็ดมือ 4. ครูสาธิตการพิมพ์ภาพจากใบพืช พร้อมอธิบายขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ 4.1 ละลายสีที่ต้องการให้ข้นพอดีสำหรับการพิมพ์ภาพ 4.2 นำใบพืชที่ต้องการ มาจุ่มสี หรือใช้พู่กันระบายสีที่ใบ ทีละชิ้น 4.3 นำใบพืชที่จุ่มสีแล้วมาพิมพ์ภาพบนกระดาษ โดยจัดวางตำแหน่งและสลับสีให้สวยงาม 5. หลังจากทำเสร็จให้นักเรียนทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์และจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ให้เรียบร้อย 6. ให้นักเรียนนำผลงานมาแลกเปลี่ยนกันชื่นชม 7. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับการจำแนกประเภทของพืชให้ได้ประเด็นตาม จุดประสงค์การเรียนรู้ (นักเรียนได้แสดงออกทางความคิดเห็น มีความรู้ และการสื่อสารอย่างมีเหตุผล มีการคิด วิเคราะห์ เพื่อ นำมาสู่ความรู้ ในเรื่องการจำแนกประเภทของพืช ) ขั้นที่ 5 ประเมิน (evaluation) ( 5 นาที) ครูประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนดังนี้ สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะทำงานร่วมกัน สังเกตการตอบคำถามของนักเรียนในชั้นเรียน ตลอดจนการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และผลงาน 9. ชิ้นงานหรือภาระงาน ผลงานการพิมพ์ภาพจากใบพืชของนักเรียน 10. สื่อการเรียนรู้เพียงพอต่อการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้

1 ใบพืช 2 สีน้ำหรือสีโปสเตอร์ 3 พู่กัน 4 จานสี 5 ถ้วยน้ำ 6 กระดาษสำหรับพิมพ์ แหล่งการเรียนรู้ ห้องค้นคว้า Internet 11. การวัดและประเมินผล เกณฑ์การให้คะแนนแบบการประเมินตามสภาพจริงตามพฤติกรรมการจัดกระทำและนำเสนอแผนภาพ รายการวัด วิธีการวัดและประเมินผล เครื่องมือการวัดและ ประเมินผล เกณฑ์การประเมิน ด้านความรู้(K) -นักเรียนสามารถอธิบาย ลักษณะของพืชที่นักเรียน สนใจค้นคว้าได้ สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล แบบประเมินพฤติกรรม รายบุคคล ระดับคุณภาพ พอใช้ผ่าน ด้านทักษะกระบวนการ(P) -นักเรียนสามารถ จำแนกประเภทของพืช โดย การสร้างสรรค์ผลงาน ออกเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและ พืชใบเลี้ยงคู่ โดยใช้ลักษณะ ภายนอกของพืชเป็นเกณฑ์ ได้ ตรวจใบผลงานนักเรียน แบบประเมินการนำเสนอ ระดับคุณภาพ พอใช้ผ่าน

ด้านคุณลักษณะอันพึง ประสงค์(A) -นักเรียนมีความสนใจในการ เรียนรู้ และมีความ รับผิดชอบต่องานที่ได้รับ มอบหมาย สังเกตพฤติกรรมนักเรียน แบบประเมินคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ ระดับคุณภาพ พอใช้ผ่าน

ผลงานนักเรียน

เกณฑ์การประเมินการนำเสนอ เกณฑ์การประเมิน ระดับคะแนน ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง 1. การนําเสนอ ข้อมูล นําเสนอข้อมูลได้ อย่างถูกต้อง พูด ชัดเจนเชื่อมโยงกับ หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข นําเสนอข้อมูลได้ พูดชัดเจน เชื่อมโยง กับหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข นําเสนอข้อมูลไม่ได้ ครบถ้วน พูดได้ เชื่อมโยงกับหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข นําเสนอข้อมูลไม่ได้ พูดนำเสนอไม่ได้ ขาดการเชื่อมโยง กับหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ คะแนน ระดับคุณภาพ 11 - 12 ดีมาก 9 - 10 ดี เกณฑ์การผ่าน ระดับคุณภาพพอใช้ขึ้นไป 6 - 8 พอใช้ ต่ำกว่า 6 ปรับปรุง เกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ รายการประเมิน เกณฑ์การให้คะแนน 3 2 1 1. ซื่อสัตย์สุจริต มีความประพฤติตรงทั้ง ต่อหน้าที่ ตรงต่อเวลา ไม่ คัดลอกงานของผู้อื่นมา เป็นของตน รับรู้หน้าที่ ของตนเองและปฏิบัติ อย่างเต็มที่ถูกต้อง มีความประพฤติตรงทั้ง ต่อหน้าที่ ไม่ตรงต่อเวลา ไม่คัดลอกงานของผู้อื่นมา เป็นของตน รับรู้หน้าที่ ของตนเองและปฏิบัติ อย่างเต็มที่ถูกต้อง มีความประพฤติตรงทั้ง ต่อหน้าที่ ไม่ตรงต่อเวลา คัดลอกงานของผู้อื่นมา เป็นของตน รับรู้หน้าที่ ของตนเองและปฏิบัติ อย่างเต็มที่ถูกต้อง 2. อยู่อย่างพอเพียง ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการ เรียนอย่างประหยัด และ คุ้มค่าใช้ดีราคาถูก รู้จัก บริโภคสินค้า ที่ไม่ ฟุ่มเฟือย ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการ เรียนอย่างประหยัด และ คุ้มค่าใช้ดีราคาค่อนข้าง แพง ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการ เรียนไม่ค่อยรู้จักประหยัด และไม่ค่อยคุ้มค่า ใช้ของ ราคาแพง

แบบบันทึกผลการประเมินการเรียนรู้ เลขที่ ชื่อ - สกุล คุณลักษณะ ฯ รวมคะแนน ผลงาน รวม ผ่าน / ไม่ผ่าน มีความซื่อสัตย์ อยู่อย่างพอเพียง ใบงาน ความหมายระดับคุณภาพ 3 หมายถึง ดี เกณฑ์ระดับคะแนน 11 - 12 2 หมายถึง พอใช้ เกณฑ์ระดับคะแนน 8 - 10 3 หมายถึง ปรับปรุง เกณฑ์ระดับคะแนน 6 - 7 เกณฑ์การผ่านคะแนนต้อง 2 ขึ้นไป ลงชื่อ..................................................... (....................................................) ครูผู้สอน / ผู้ประเมิน

แนวทางการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1. ครูผู้สอนใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ หลักพอเพียง ประเด็น พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เนื้อหา จัดเตรียมเนื้อหาเกี่ยวกับ พืชได้เหมาะสมกับ มาตรฐาน ตัวชี้วัด ความ ยากง่ายที่เหมาะสมกับวัย ของนักเรียน นักเรียนรู้อย่างเหมาะสม มีการคิด วิเคราะห์ และ การให้เหตุผลที่เหมาะสม ในการทำกิจกรรม นำความรู้จากเนื้อหาที่ เรียน และทักษะที่ปฏิบัติ ไปใช้ได้ถูกต้อง เวลา กำหนดเวลาให้นักเรียน ทำกิจกรรมอย่าง เหมาะสม ดำเนินกิจกรรมได้ตาม แผนที่กำหนด กิจกรรมการเรียนการ สอนเป็นไปตาม วัตถุประสงค์ มีการจัดกิจกรรม ใช้กระบวนการ 5 E ให้ นักเรียนเกิดกระบวนการ เรียนรู้ที่เหมาะสม กระบวนการ 5 E เหมาะสมกับการจัดการ เรียนรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ เกิดการสร้างความรู้ด้วย ตนเอง นำไปใช้ได้จริง แหล่งเรียนรู้ ห้องสมุด ห้องเรียน หนังสือเรียน มีสื่อให้เลือกศึกษาได้ หลากหลาย เหมาะสมกับจำนวน นักเรียน สื่อ / อุปกรณ์ ใบงาน เหมาะสมกับนักเรียนและ กิจกรรมที่จัดขึ้น ส่งเสริมให้นักเรียนมีความ พร้อมในการเรียนรู้ การประเมินผล แบบบันทึกการ ประเมินผล สอดคล้องกับกิจกรรม เห็นพัฒนาการของ นักเรียน ความรู้ คุณธรรม ความรู้ที่ครูใช้ในการเตรียมการสอน - การเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ - การจำแนกพืชรอบตัว - การใช้แหล่งเรียนรู้ - การวัดและการประเมินผล คุณธรรมทราครูใช้ในการเตรียมสอน - ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ - ความเมตตาและใส่ใจนักเรียน - ความมีวินัยเป็นแบบอย่างแกนักเรียน - ความตั้งใจในการปฎิบัติการสอน - ความตรงต่อเวลา

2. ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.1 นักเรียนได้เรียนรู้หลักแนวคิด และฝึกปฏิบัติตามหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข หลักพอเพียง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เรียนรู้และทำกิจกรรม ด้วยความตั้งใจ สนใจ แล ร่วมมือในการทำกิจกรรม เพื่อการเรียนรู้อย่าง เหมาะสม รับผิดชอบงาน ที่ได้รับมอบหมาย เรียนรู้ ได้ตามมาตรฐานและ ตัวชี้วัด ปฏิบัติกิจกรรมอย่าง มุ่งมั่น มีสมาธิในการ เรียนรู้ ได้รับทักษะในการ แยกวัสดุรอบตัว รับฟังข้อเสนอแนะจาก ผู้อื่นได้เป็นอย่างดี นำ ความรู้ที่เรียนไปใช้ในการ เรียนต่อ และใช้ใน ชีวิตประจำวัน ความรู้ คุณธรรม มีความรู้ รอบคอบ ความรู้ที่นักเรียนได้รับเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียงกับการบริโภค คุณธรรมที่เกิดขึ้นในตัวนักเรียน ความรับผิดชอบต่อ งานที่ได้รับมอบหมาย การแบ่งปันความรู้ 2.2 ผู้เรียนได้เรียนรู้การใช้ชีวิตที่สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง 4 มิติ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ดังนี้ ด้าน องค์ประกอบ สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ความรู้ การจำแนกพืช รอบตัว รู้จักบทบาทหน้าที่ ของตนในการเป็น ส่วนหนึ่งของสังคม และแสดงแนว ทางการช่วยเหลือ สังคม มีแนวทางในการ เลือกใช้พืชได้อย่าง ถูกต้อง เหมาะสม ไม่ทำลาย สิ่งแวดล้อม รู้จักวัฒนธรรมใยน การใช้สมุนไพร ทักษะ - มีทักษะในการ เขียน การคิด วิเคราะห์อย่างมี เหตุผล - มีทักษะในการ เขียนแผนภาพ ความคิด ปฏิบัติหน้าที่ของ ตนเอง มีทักษะในการ จำแนกพืชชนิด ต่างๆ ช่วยเหลือผู้อื่นด้วย ความเต็มใจ

ค่านิยม เลือกใช้สิ่งของที่ เหมาะสมกับงาน เผยแพร่ความรู้ ให้กับเพื่อน สังคม ครอบครัว และ ชุมชน การบันทึกข้อมูลใน ใบงาน และการทำ แผนความคิดที่เป็น การแสดงให้เห็นถึง การจำแนกพืชได้ อย่างถูกต้อง เหมาะสม การบันทึกข้อมูลใน ใบงาน และการทำ แผนความคิดที่เป็น ส่วนหนึ่งของการใช้ ภาษาไทยให้ถูกต้อง เหมาะสม เป็นการ อนุรักษ์ภาษาไทย

บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ 1. ผลการเรียนรู้ ....................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................... 2. ปัญหาอุสรรค (ถ้ามี) ....................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................... 3. ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) ....................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................... ลงชื่อ................................................. (...............................................) ครูผู้สอน ความคิดเห็นของผู้บริหาร ....................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................... ลงชื่อ................................................. (...............................................) ผู้อำนวยการ