ตัวอย่าง การ พัฒนา อย่าง ยั่งยืน

หลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่องของ SDGs กันมาบ้าง วันนี้เราจะมาเล่าถึงแนวคิดนี้ในแบบฉบับของ little big green ให้ทุกคนได้ฟังกัน โดยก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ “Sustainable Development Goals (SDGs)” หรือ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” ว่าคืออะไร มีเป้าหมายอะไรบ้างที่เราควรจะรู้ไว้

ตัวอย่าง การ พัฒนา อย่าง ยั่งยืน

SDGs แผนพัฒนาโลกสู่ความยั่งยืน มีอะไรบ้าง?

SDGs เป็นเป้าหมายที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาโลกไปสู่ความยั่งยืนทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม มีองค์การสหประชาชาติ (United Nations) เป็นหัวเรือใหญ่เชิญ 193 ประเทศสมาชิกทั่วโลกมาร่วมมือกัน ให้แต่ละประเทศวางแผนและติดตามผล เพื่อบรรลุเป้าหมายทั้ง 17 ข้อ ภายในปี 2030 ซึ่ง 17 ข้อนั้นก็จะเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของทั้งมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ได้แก่

เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน (No Poverty) ขจัดความยากจนทั้งทางเศรษฐกิจ และความยากจนในมิติอื่น ๆ ทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม

เป้าหมายที่ 2 ขจัดความหิวโหย (Zero Hunger) ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน รวมถึงให้เด็กและผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีโภชนาการและเพียงพอ

เป้าหมายที่ 3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-being) สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวัคซีน และให้ทุกคนเข้าถึงยาในราคาที่เหมาะสม

เป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่เท่าเทียม (Quality Education) สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ครอบคลุมการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของเด็กในทุกระดับ

เป้าหมายที่ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality) บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ ยุติการเลือกปฏิบัติ และขจัดความรุนแรงทุกรูปแบบต่อผู้หญิงและเด็กหญิง

เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล (Clean Water and Sanitation) สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ ครอบคลุมไปถึงการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศเกี่ยวกับแหล่งน้ำ เช่น ป่าไม้ ภูเขา แม่น้ำ เป็นต้น

เป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Affordable and Clean Energy) สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยา เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานความร้อน

เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Decent Work and Economic Growth) ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน

เป้าหมายที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน (Industry, Innovation and Infrastructure) สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน มีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งเสริมนวัตกรรม

เป้าหมายที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ำ (Reduced Inequality) ลดความเหลื่อมล้ำ ความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ รวมถึงพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน

เป้าหมายที่ 11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities) ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน มีการเข้าถึงที่อยู่อาศัย การเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่ง และการบริการขั้นพื้นฐานที่ยั่งยืนที่พอเพียงปลอดภัยและในราคาที่สามารถจ่ายได้

เป้าหมายที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production) สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน มีการจัดการและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน รวมไปถึงเรื่องของการกำจัดขยะและลดมลพิษด้วย

เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) เร่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น การร่วมมือกันจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส

เป้าหมายที่ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (Life Below Water) อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ครอบคลุมทั้งด้านมลพิษ การบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรประมง ความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรประมง และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เป้าหมายที่ 15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก (Life on Land) ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ลดการทำลายป่า ต่อสู้กับการกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ

เป้าหมายที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (Peace and Justice Strong Institutions) ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรมและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผลรับผิดชอบและครอบคลุมในทุกระดับ เป็นการลดความรุนแรงทุกรูปแบบในสังคมนั่นเอง

เป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships to Achieve the Goal) สร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วน ความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ความยั่งยืนรอบด้านเกิดจากความร่วมมือ

เราจะเห็นได้ว่าในเป้าหมายทั้ง 17 ข้อจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนใน 3 ด้านด้วยกันคือ สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยในแต่ละข้ออาจเกิดผลกระทบมากกว่า 1 ด้าน เช่น เป้าหมายที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production) การบริโภคในที่นี้อาจจะเป็นสินค้าและบริการในรูปของสิ่งของหรือทรัพยากรธรรมชาติ ตัวอย่างง่าย ๆ ที่สามารถเห็นภาพได้อย่างครอบคลุมคือ อุตสาหกรรมแฟชั่น

ในปัจจุบันมักมีการผลิตแบบ Fast Fashion คือ ผลิตจำนวนมาก ให้ค่าแรงต่ำ ใช้วัตถุดิบที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง เพื่อลดต้นทุน และสามารถออกคอลเลคชั่นใหม่ ๆ ราคาถูก (โดยส่วนใหญ่) ได้เรื่อย ๆ ผลกระทบคือ

  1. เกิดสินค้ามากเกินความต้องการ เกิดโปรโมชั่นหรือราคาที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคซื้อโดยไม่จำเป็น (overconsumption) ซึ่งก็มีโอกาสสูงที่สินค้าเหล่านั้นจะกลายเป็นขยะหลังการสวมใส่เพียงไม่กี่ครั้ง
  2. เพราะต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมเป็นต้นทุนแฝงที่มักจะถูกละเลย เมื่อมองไม่เห็น และมีการผลิตมากขึ้น จึงทำให้ผลกระทบยิ่งมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งน้ำ สารเคมี การใช้พลังงาน การปล่อย carbon emission ซึ่งส่งผลต่อภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change)
  3. อัตราค่าจ้างที่ถูกทำให้ต่ำเกินไป ทำให้แรงงานไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ
  4. ผลกระทบโดยอ้อม คือ ราคาของผลผลิตที่เกิดขึ้นด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณค่าของแรงงานมนุษย์ถูกมองว่าแพงไปเมื่อเทียบกับสินค้าชนิดเดียวกัน ทำให้ตลาดสินค้าต้องแข่งกันด้วยราคามากกว่าคุณค่า

นอกจากนี้เป้าหมายข้อนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายอื่น ๆ เช่น

กับเป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล: อุตสาหกรรมแฟชั่นใช้น้ำ และมีส่วนในการการทำน้ำเสียเป็นอันดับ 2 หรือคิดเป็น 20% ของอุตสาหกรรมทุกประเภท

กับเป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ: อุตสาหกรรมสิ่งทอที่ต้นทุนต่ำ มักจะมีการจ้างแรงงานอย่างไม่เป็นธรรม

กับเป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: กระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมแฟชั่นมีส่วนในการปล่อย CO2 ถึง 10% (มากกว่าการขนส่งทางเครื่องบินและทางน้ำรวมกัน)

กับเป้าหมายที่ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล: ทั้งสารเคมี ขยะจากการบริโภคเกินจำเป็น (ทั้งตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์) ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศใต้น้ำ โดยเฉพาะเสื้อผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์ ที่จะกลายเป็นไมโครพลาสติกนับเป็นสัดส่วนถึง 31% ในแหล่งน้ำ (เท่าที่วัดได้)

ในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมายข้อนี้ (เป้าหมายอื่น ๆ ก็เช่นกัน) จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้ง 3 ฝ่ายคือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน โดยภาครัฐอาจกำหนดนโยบายหรือมาตรการกำหนดเพื่อควบคุมมาตรฐานเพื่อให้ผู้ผลิตมีความรับผิดชอบมากขึ้น ภาคเอกชนหรือฝั่งผู้ผลิตควรมีแนวทางในการผลิตที่มีจริยธรรมมากขึ้น ส่วนภาคประชาชนหรือผู้บริโภคก็สังเกตและสงสัยในที่มาที่ไปของสินค้า สำรวจความต้องการในการบริโภคของตัวเอง และเลือกสนับสนุนผู้ผลิตที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม

แล้วมีเรื่องอะไรใน “SDGs” ที่คนกรีนตัวเล็ก ๆ อย่างเราสามารถทำได้บ้างนะ?

จากทั้ง 17 เป้าหมาย มีหลายข้อที่อาจจะต้องอาศัยกำลังของภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ว่าในขณะเดียวกันก็มีหลายข้อเลยที่เราสามารถลงมือทำได้ เพื่อช่วยให้เป้าหมายเหล่านี้สำเร็จ (และเชื่อว่าหลายคนก็เริ่มทำมานานแล้ว) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน และพฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์เรา ไม่ว่าจะเป็น

  • ลองสังเกตกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ตั้งคำถามเกี่ยวกับแหล่งที่มาที่ไปว่ามีผลกระทบอะไรบ้างที่เกิดขึ้น และเราสามารถลดผลกระทบเหล่านั้นอย่างไรได้บ้าง
  • เพราะคำว่า “ใช้แล้วทิ้ง” ไม่ใช่ชื่อสินค้าแต่เป็นพฤติกรรม ลองเปลี่ยนวิธีการบริโภคสินค้าแบบ single use (ครั้งเดียวทิ้ง) เป็น multiple use (ใช้ซ้ำจนคุ้ม) ไม่รีบร้อนทิ้งให้กลายเป็นส่วนหนึ่งในภูเขาขยะ แล้วยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรในผลิตเพิ่มอีกด้วย
  • เปิดใจให้กับ sustainable fashion หรือแฟชั่นแบบยั่งยืน ซึ่งมีทั้งการสนับสนุนเสื้อผ้าที่ผลิตด้วยกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความโปร่งใสในการจ้างงาน เลือกซื้อเสื้อผ้ามือสอง แบ่งปันกันใส่ หรือที่ดีและง่ายที่สุดก็คือ การ mix and match เสื้อผ้าที่มีอยู่แล้ว

อย่างที่บอกไปว่าเป้าหมายนี้คือแผนพัฒนาโลกใบเดียวกัน และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนอย่างแท้จริง ถ้าอย่างนั้นเรามาช่วยกันทำในสิ่งที่เราทำได้กันตั้งแต่วันนี้ ไม่ใช่เพียงแค่เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่มันคือการเริ่มรักษาโลกให้คงอยู่ และส่งต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้กับวันพรุ่งนี้ของทุกคนอีกด้วย

แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน มีอะไรบ้าง

รากฐานแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน 1. ความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด 2. ทรัพยากรที่จะตอบสนองความต้องการของมนุษย์มีจากัด 3. ทาอย่างไรถึงจะจัดสรรทรัพยากรที่จากัด ให้สามารถตอบสนองความ ต้องการของมนุษย์ได้อย่างเหมาะสม และ มีทรัพยากรเพียงพอทั้ง ปัจจุบันและอนาคต

ตัวอย่างโครงการ SDGs มีอะไรบ้าง

โครงการหรือผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน.

YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม.

โครงการ Trashpresso..

โครงการฟื้นป่า รักษ์น้ำ เขาห้วยมะหาด.

โครงการ Our Khung Bangkachao..

โครงการ พลาสติกป้องกันภัย ป้องกันชีวิต.

โครงการ ThinkCycle Bank..

การพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนคืออะไร

1.1การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นคำที่มีรากฐานมาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต และการใช้หรือจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด รู้จักถนอมในการใช้ เพื่อให้มีไว้ใช้ เพื่อใช้มีอย่างยาวนานจนถึงคนรุ่นหลัง

การพัฒนาที่ยั่งยืน มีกี่ด้าน

การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงมีส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ส่วนประกอบทั้งสามนี้จะเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน วัตถุประสงค์ของการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามแนวคิดของ Edward Barbier.