ตัวอย่าง การ คำนวณ ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

วิธีคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2565 รายได้ เงินเดือน โบนัส รวมแล้วต้องเสียภาษีเท่าไร? ร้านค้าถุงเงินที่รับโครงการคนละครึ่งก็ต้องทราบ คำนวณภาษี 2565 เพื่อยื่นเสียภาษีในต้นปี 2566

Show

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร ใครต้องเสียภาษีบ้าง

ตัวอย่าง การ คำนวณ ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลที่มีเงินได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่เกิดมามีรายได้จากการทำงาน มีรายได้จากการจ้าง การถือหุ้น แม้อายุเพียง 1 วัน และยังมีชีวิตอยู่ในปีภาษีนั้น ก็ต้องยื่นแบบภาษี โดยเว็บไซต์กรมสรรพากรได้ให้ความหมายของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ว่า

“ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคม ถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ที่ต้องชำระ และเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษี ขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้น”

เสียภาษีออนไลน์ เป็นวิธีการเอื้อให้ผู้เสียภาษีเข้าไปกรอกข้อมูลบนเว็บไซต์ เพื่อเสียภาษีประจำปี หรือทยอยเสียภาษีครึ่งปี

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใครต้องเสียบ้าง?

ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือผู้ที่ได้สถานะบุคคลแล้วมีเงินได้ ต้องยื่นแบบเสียภาษี แต่การเสียภาษีนั้นเกิดขึ้นเมื่อมีเงินได้สุทธิเกินฐานภาษีที่ต้องเสียในปีนั้น กลุ่มบุคคล 6 ประเภทที่ต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีดังนี้

1. บุคคลธรรมดา 2. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี 3. กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง 4. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล 5. คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล 6. วิสาหกิจชุมชน ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548

รายได้จากช่องทางไหนต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ตัวอย่าง การ คำนวณ ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

การเสียภาษีเพราะมีรายได้ รายได้มาจาก 8 ช่องทางต่อไปนี้

1. เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส บำเหน็จ บำนาญ (เรียก เงินได้มาตรา 40(1)) 2. ค่าจ้างทำของ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า เบี้ยประชุม (เรียก เงินได้มาตรา 40(2)) 3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ คำพิพากษาของศาล (เรียก เงินได้มาตรา 40(3)) 4. ดอกเบี้ย เงินปันผล เครดิตภาษีเงินปันผล (เรียก เงินได้มาตรา 40(4)) 5. การให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน (เรียก เงินได้มาตรา 40(5)) 6. วิชาชีพอิสระ คือ กฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม (เรียก เงินได้มาตรา 40(6)) 7. การรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ (เรียก เงินได้มาตรา 40(7)) 8. เงินได้อื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในมาตรา 40(1) - 40(7) (เรียก เงินได้มาตรา 40(8))

รายการหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว 2. สินทรัพย์และการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ 3. เงินบริจาค 4. ประกันสุขภาพและประกันชีวิต 5. ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการออมและการลงทุน

วิธีคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2565

ตัวอย่าง การ คำนวณ ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

วิธีคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90) 2565

วิธีที่ 1 คำนวณจากเงินได้สุทธิ

เงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2565 - ค่าใช้จ่าย (เลือกหักเหมา หรือหักตามความจำเป็นและสมควร) - ค่าลดหย่อน - เงินบริจาค = เงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิ

วิธีที่ 2 คำนวณจากเงินได้พึงประเมิน

เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(2) - (8) ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2565 ไม่รวมมาตรา 40(1) x 0.005 = ภาษีที่คำนวณจากเงินได้พึงประเมิน

เมื่อเปรียบเทียบวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 แล้ว ให้ชำระภาษีตามวิธีที่คำนวณได้สูงกว่า

ตัวอย่าง การ คำนวณ ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

วิธีคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 94) 2565

วิธีที่ 1 คำนวณจากเงินได้สุทธิ เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(5) - (8) ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน 2565 - ค่าใช้จ่าย (เลือกหักเหมา หรือหักตามความจำเป็นและสมควร) - ค่าลดหย่อน - เงินบริจาค = เงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีที่คำนวณจากเงินได้สุทธิ

วิธีที่ 2 คำนวณจากเงินได้พึงประเมิน

เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(5) - (8) ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน 2565 x 0.005 = ภาษีที่คำนวณจากเงินได้พึงประเมิน

เมื่อเปรียบเทียบวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 แล้ว ให้ชำระภาษีตามวิธีที่คำนวณได้สูงกว่า

ตัวอย่าง การ คำนวณ ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

คํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ระวังเป็นเว็บหลอกเอาข้อมูล

ตัวอย่าง การ คำนวณ ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา

วิธีคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทำได้ด้วยตัวเอง หรือใช้โปรแกรมคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีเว็บไซต์ธนาคารต่างๆ ทำออกมาให้ผู้เสียภาษีได้ลองกรอกข้อมูลในระบบ โดยกรอกข้อมูล รายรับ, ลดหย่อนครอบครัว, ลดหย่อนกองทุนต่างๆ, ลดหย่อนจากประกันต่างๆ และสุดท้ายก็จะขึ้นยอดภาษีที่ให้ชำระ ซึ่งคุณไม่ควรใส่ข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ เช่น ชื่อสกุล, อีเมล, เบอร์โทรศัพท์ ป้องกันมิจฉาชีพนำข้อมูลนี้ไปใช้

สิ่งที่เกี่ยวกับการเสียภาษี

1. เว็บไซต์กรมสรรพากร คือเว็บ https://efiling.rd.go.th/rd-cms ยื่นเสียภาษีออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร หมดเขต 10 เมษายน 2566 2. ที่ตั้งสำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน ตรวจสอบได้ที่ https://www.rd.go.th/62983.html 3. มีหมายเลขบัญชีที่ผูกกับพร้อมเพย์ เพื่อรับเงินคืนภาษี ดูวิธีการสมัครพร้อมเพย์ได้ที่นี่

ช่องทางการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  • ยื่นเสียภาษีด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากร หมดเขต 31 มีนาคม 2566
  • ยื่นเสียภาษีออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร หมดเขต 10 เมษายน 2566

สรุปแล้ว ปี 2566 นี้ใครที่มีเงินได้ผ่านช่องทางขายของออนไลน์ เปิดร้านรับคนละครึ่ง หรือทำงานบริษัท หลังจากอ่านวิธีคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2565 จากบทความนี้แล้วก็อย่าลืมยื่นภาษีด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากร ก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2566 หรือยื่นออนไลน์ก่อนวันที่ 10 เมษายน 2566 นี้

การคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีกี่วิธี อะไรบ้าง

วิธีคำนวณ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายไทยจะคิดเป็นรายปีปฏิทิน (ปีภาษี) โดยต้องใช้ 2 วิธีคู่กันแล้วเลือกใช้วิธีที่คำนวณแล้วเสียภาษีเป็นจำนวนที่สูงกว่า ได้แก่ วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ (อัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันได) และ วิธีคำนวณภาษีแบบเหมา 0.5%

การคํานวณภาษีในแบบ ภ.ง.ด. 90 ต้องคํานวณภาษีกี่วิธี

วิธีคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90) 2565.

วิธีที่ 1 คำนวณจากเงินได้สุทธิ.

วิธีที่ 2 คำนวณจากเงินได้พึงประเมิน.

วิธีที่ 1 คำนวณจากเงินได้สุทธิ ... .

วิธีที่ 2 คำนวณจากเงินได้พึงประเมิน.

วิธีการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สิ้นปีจากเงินได้สุทธิคํานวณได้ตามข้อใด

วิธีคำนวณภาษีง่าย ๆ ใน 3 ขั้นตอน.

เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท (อัตราภาษี 0% หรือได้รับการยกเว้นภาษี) ... .

เงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาท (อัตราภาษี 5%) ... .

เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท (อัตราภาษี 10%) ... .

เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท (อัตราภาษี 15%) ... .

เงินได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000 (อัตราภาษี 20%).

รายได้ 1000000 เสียภาษีเท่าไร

เปิดรายได้ที่ต้องจ่ายและไม่ต้องจ่ายภาษี ตั้งแต่ 300,001-500,000 บาท เสียภาษี 10 % ตั้งแต่ 500,001-750,000 บาท เสียภาษี 15 % ตั้งแต่ 750,001-1,000,000 บาท เสียภาษี 20 % ตั้งแต่ 1,000,001-2,000,000 บาท เสียภาษี 25 %