ตรวจ ส ขภาพ ก อน ม บ ตร ร.พ.จ ฬา

ข้าราชการและบคุคลในครอบครัวสามารถใช้สิทธิ์เบิกจ่ายตรง โดยใช้บัตรประชาชนในการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกทุกครั้ง ณ จุดชำระเงิน

Show

โดยหากไม่ได้นำบัตรประชาชนมาแสดง หรือเอกสารที่กรมบัญชีกลางกำหนด ผู้รับบริการจะต้องสำรองจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไปก่อน แล้วนำใบเสร็จรับเงินไปเบิกคืนกับส่วนราชการต้นสังกัด

2. สิทธิ์บัตรทอง โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ขึ้นเป็นหน่วยบริการรับส่งต่อกับทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ผู้ป่วยที่ต้องการใช้สิทธิ์บัตรทองจะต้องมีหนังสือส่งตัวจากทางโรงพยาบาลต้นสังกัดถึงจะสามารถใช้สิทธิ์ได้ ทั้งนี้ก่อนผู้ป่วยเข้ารับบริการทางหน่วยตรวจสอบสิทธิ์จะทำการตรวจสอบและยืนยันสิทธิ์ดังกล่าวกับ โรงพยาบาลต้นสังกัดอีกครั้ง

3. สิทธิ์ประกันสังคม

สามารถใช้สิทธิ์ได้เฉพาะกรณีที่มีใบส่งตัวมาจากโรงพยาบาลต้นสังกัด และชำระเงินสดเท่านั้น ยกเว้น กรณีมีใบส่งตัวยืนยันการให้วางบิลโรงพยาบาลต้นสังกัดได้

4. สิทธิ์องค์กรคู่สัญญา

ผู้ป่วยไม่ต้องสำรองจ่ายเฉพาะบริษัทที่มีบันทึกข้อตกลงกับทางโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และผู้ป่วยต้องมีหนังสือส่งตัวจากทางองค์กรเท่านั้น

หน่วยปฏิบัติการบริการวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ให้บริการตรวจเลือดที่คลินิกเทคนิคการแพทย์แก่ประชาชนทั่วไป เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 07.00 – 15.00 น. โดยไม่พักกลางวัน ผู้รับบริการสามารถมารับบริการได้ทันทีโดยไม่ต้องรอลงทะเบียนหรือนัดล่วงหน้า พร้อมเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญให้บริการ

ตรวจ ส ขภาพ ก อน ม บ ตร ร.พ.จ ฬา

อ.ดร.ณัฐชยา แหวนวงศ์ อาจารย์ประจำคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า ผู้มารับบริการตรวจเลือดสามารถมารับบริการโดยไม่จำเป็นต้องงดอาหารหรือเครื่องดื่มก่อนการมาตรวจ ยกเว้นบางรายการที่มีการเก็บค่าไขมันและน้ำตาล ผู้เข้ารับบริการควรเตรียมตัวงดเว้นอาหาร 8 –12 ชั่วโมง ผู้หญิงที่ประจำเดือนหมดไปไม่ถึง 5 – 7 วัน ทางคลินิกเทคนิคการแพทย์จะแนะนำให้ผู้มารับบริการเลื่อนการตรวจเก็บปัสสาวะออกไปก่อน

“บริการตรวจเลือดของเราให้บริการเพื่อประชาชน อยากให้ทุกคนมาตรวจสุขภาพ เพราะหลายๆ โรคจะไม่แสดงอาการ จะรู้ก็ต่อเมื่อมาตรวจเลือด เพื่อเป็นแนวทางป้องกันตนเองก่อนที่จะต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล ค่าบริการของห้องปฏิบัติการของเราจะอ้างอิงตามกรมบัญชีกลาง และไม่มีค่าแพทย์ ค่าพยาบาล หรือค่าอุปกรณ์เพิ่มเติมด้วย เป็นราคาที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และผู้ใช้บริการสามารถปรับแต่งโปรแกรมตามความต้องการ เช่นการตรวจน้ำตาลในกระแสเลือด เพียง 40 บาท เป็นต้น ซึ่งวัยทำงาน วัยเกษียณ หรือนักเรียนนิสิตนักศึกษาสามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้ถ้าเป็นข้าราชการสามารถนำใบเสร็จไปเบิกตามสิทธิ์ข้าราชการได้” อ.ดร.ณัฐชยา กล่าว

สำหรับการรับผลตรวจเลือดจากห้องปฏิบัติการคลินิกเทคนิคการแพทย์ อ.ดร.ณัฐชยา กล่าวว่ามีหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการมารับผลตรวจด้วยตนเอง บริการส่งผลตรวจทางอีเมลหรือทางไลน์ บริการส่งทางไปรษณีย์ และทางโทรสาร ครอบคลุมถึงการขอผลตรวจเลือดย้อนหลัง 3 ปี โดยสามารถโทรมาขอรับคำปรึกษาจากนักเทคนิคการแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อนาคตงานคลินิกเทคนิคการแพทย์จะขยายพื้นที่รองรับ ผู้มาใช้บริการเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการใช้แอปพลิเคชันเพื่อการส่งผลตรวจ ดูผลย้อนหลังและจองคิวล่วงหน้าของผู้มารับบริการเป็นรายบุคคล

ตรวจ ส ขภาพ ก อน ม บ ตร ร.พ.จ ฬา

นอกจากบริการตรวจเลือดแล้วคลินิกเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ยังมีโปรแกรมตรวจสุขภาพหลากหลายให้ผู้มารับบริการเลือกสรรตามความต้องการ อาทิ โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน โปรแกรมตรวจหาภาวะซีด โปรแกรมตรวจกลุ่มวัยทอง เป็นต้น ด้วยเครื่องมือที่มีมาตรฐานเทียบเท่ากับโรงพยาบาลชั้นนำ การตรวจวิเคราะห์และการรายงานผลมีการเชื่อมต่อด้วยระบบโปรแกรมสารสนเทศทางห้องปฏิบัติการ LIS (Laboratory Information System) สามารถรับคำสั่งการตรวจเพื่อใช้ในการรายงานผล จัดเก็บผลการตรวจเพื่อความรวดเร็วและเพื่อความถูกต้อง นอกจากนี้ทางห้องปฏิบัติการยังได้รับการรับรองมาตรฐานสากลห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ISO 15189 และ ISO 15190

พิเศษ เพื่อเป็นสวัสดิการสำหรับประชาคมจุฬาฯ คณาจารย์ บุคลากรของจุฬาฯ จะมีส่วนลด 10% สำหรับนิสิตจะได้รับส่วนลด 5%

ในปัจจุบันหลายบริษัทมักให้ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน มีการขอใบรับรองแพทย์ และการตรวจร่างกายเบื้องต้น จุดประสงค์เพื่อยืนยันความพร้อมสำหรับการเริ่มงานใหม่ โดยรายการที่ต้องตรวจมักเป็นโรคติดต่อหรือปัญหาสุขภาพที่จะเป็นอุปสรรคต่อการทำงานนั้น ๆ

ในบทความนี้จะแนะนำขั้นตอนการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ว่าต้องตรวจอะไรบ้าง ราคาเท่าไหร่ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มทำงานอย่างมืออาชีพ

ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน?

ปัจจุบันการตรวจสุขภาพก่อนเข้างานเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหลาย ๆ บริษัทเพื่อเป็นการเสริมความมั่นใจของบริษัทว่า พนักงานที่เข้ามาทำงานจะมีความพร้อม และสุขภาพที่แข็งแรงพร้อมสำหรับการทำงานเพื่อความปลอดภัยโดยรวมของคนในองค์กรที่ต้องทำงานร่วมกับเรา

ในขณะเดียวกันก็ยังเกิดประโยชน์กับตัวพนักงงานเอง เพราะการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงานก็จะทำให้เราได้ทราบถึงสุขภาพโดยรวมของตนเอง ซึ่งบางครั้งภายนอกอาจดูปกติ แต่แท้จริงแล้วอาจกำลังเจ็บป่วยหรือมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคต่าง ๆ ซึ่งหากรู้เร็ว ก็จะสามารถรักษาได้ทัน สามารถลดต้นทุนค่ารักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายแต่ละปีโดยไม่จำเป็นอีกด้วย

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ตรวจอะไรบ้าง?

ในการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน จะแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท แบ่งเป็น ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานทั่วไป เช่น วัดความดันโลหิต ชีพจร ดัชนีมวลกาย ฯลฯ เป็นใบรับรองสุขภาพทั่วไป และตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานตามความเสี่ยงของงานที่ทำ บริษัทจะระบุรายการตรวจมาให้ หรือต้องปรึกษาแพทย์อาชีวเวชศาสตร์

1.ซักประวัติและตรวจสุขภาพทั่วไป (Physical exams)

การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน แพทย์จะมีการซักประวัติเพื่อคัดกรองข้อมูลเบื้องต้น ใช้ประกอบคำวินิจฉัยร่วมกับการตรวจอื่น ๆ เช่น ตรวจวัดสัญญาณชีพ ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต การทำงานของระบบประสาท ตรวจเอกซ์เรย์ปอด ตรวจโรคระบบทางเดินหายใจ ช่องท้อง เพื่อวินิฉัยโรคความดันโลหิตสูง หัวใจ โรคอ้วน เป็นต้น

2.การตรวจวัดทางสายตา

การตรวจวัดทางสายตาจะตรวจด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อหาปัญหาทางสายตาเบื้องต้น โดยดูที่การตอบสนองของดวงตา ค่าสายตา ตรวจตาบอดสี และสีของตาขาว,ตาดำ

3.ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของเม็ดเลือด ระดับคอเลสเตอรอล ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ค่าไต ค่าไทรอยด์ฮอร์โมน โดยต้องตรวจผ่านห้องปฏิบัติการเพื่อผลการตรวจที่มีความแม่นยำ

4.ตรวจปัสสาวะและตรวจสารเสพติด

ในการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานเพื่อหาสารเสพติด มักจะตรวจจากปัสสาวะ โดยหาสารเมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) และแอมเฟตามีน (Amphetamine) อีกทั้งยังสามารถตรวจโรคอื่น ๆ จากปัสสาวะ เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โรคไต และโรคเบาหวาน

5.ตรวจหาเชื้อไวรัส โรคติดต่อ

ตรวจหาโรคติดต่อที่มีการติดได้จากการใช้ของร่วมกัน หรือติดต่อทางสารคัดหลั่งทางเพศสัมพันธ์ ค่อนข้างมีความสำคัญ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนเข้าทำงาน ทั้งต่อองค์กรและเพื่อนร่วมงาน

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน 5 โรคคืออะไร?

ใบบางบริษัทจะมีการระบุให้ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน โดยขอใบรับรองแพทย์ 5 โรค จากสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานและน่าเชื่อถือ เพื่อยืนยันว่ามีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน และลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคติดต่อร้ายแรงที่ส่งผลต่อบริษัท โดย 5 โรคนี้ ได้แก่

  1. วัณโรคในระยะอันตราย
  2. โรคเท้าช้าง
  3. โรคยาเสพติดให้โทษ
  4. โรคพิษสุราเรื้อรัง
  5. โรคเรื้อรังหรือร้ายแรงอื่น ๆ ที่มีการแสดงอาการอย่างชัดเจน

ทั้งนี้รายละเอียดในการขอใบรับรองจะขึ้นอยู่กับบริษัทว่าต้องการแบบไหน เนื่องจากใบรับรอง 5 โรค สามารถตรวจจากการซักประวัติ และตรวจอาการเบื้องต้นได้ แต่ถ้าบริษัทต้องการความละเอียดและผลการันตี อาจจะมีการให้ระบุผลเลือด ผลการเอ็กเรย์ หรือการตรวจปัสสาวะด้วย

ผู้ชายกับผู้หญิงมีรายการตรวจต่างกันไหม?

การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานของผู้ชายและผู้หญิง อาจมีแตกต่างกันบ้างในบางรายการ ดังนี้

  • ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานผู้ชาย ที่แตกต่างจากผู้หญิง เช่น การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก (มักแนะนำให้ตรวจให้ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป), การตรวจถุงลมโป่งพอง ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานผู้หญิง ที่แตกต่างจากผู้ชาย เช่น การตรวจภายใน เพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หรือสัญญาณของโรคมะเร็ง, ตรวจเต้านม ด้วยการคลำเต้านมหรือใช้เครื่องแมมโมแกรมถ่ายภาพเต้านม เพื่อหาความผิดปกติของก้อนเนื้อ