ว ดห วยาง ตำบลนครช ม กำแพงเพชร พระกำแพงซ มกอ

คำว่า “พระพิมพ์” หมายถึง รูปเคารพขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูป หรืออาจเป็นรูปพระโพธิสัตว์ ซึ่งสร้างขึ้นด้วยการนำวัสดุต่างๆ เช่น ดินเหนียวมากดประทับลงบนแม่พิมพ์ หรือถ้าเป็นเนื้อโลหะจะใช้โลหะที่หลอมละลายเทหล่อเข้ากับแบบพิมพ์ พระพิมพ์ในยุคแรก ๆ มักสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกจากการเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ๔ แห่งในประเทศอินเดีย คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินี) สถานที่ตรัสรู้ (พุทธคยา) สถานที่ปฐมเทศนา (สารนาถ) และสถานที่ปรินิพพาน (กุสินารา) หรือสร้างขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ในทางพระศาสนา เช่น การสืบทอดพระพุทธศาสนา หรือการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

การสร้างพระพิมพ์ในเมืองกำแพงเพชรนั้น สันนิษฐานว่า มีมานับแต่สมัยสุโขทัย (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๑๙) นิยมทำด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ว่าน (ดินผสมว่าน) ชินเงิน (ตะกั่วผสมดีบุก) ดินเผา ซึ่งพระราชนิพนธ์ เรื่อง เที่ยวเมืองพระร่วง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ระบุว่า “....เมืองกำแพงเพชรต้องนับว่าเป็นเมืองเคราะห์ร้ายที่มีชื่อเสียงแล้วว่า มีพระพิมพ์ดี มีอภินิหารต่าง ๆ กันศาสตราวุธ ฟันไม่เข้ายิงไม่ออก เป็นต้น ...พระกำแพงก็คงต้องเป็นสิ่งที่มีราคาอยู่ตราบนั้น และสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นที่ควรรักษาไว้เป็นอนุสาวรีย์ของชาติจะยังคงถูกทำลายลงเพราะความโลภของผู้ขุดพระและความหลงของ “คนเก่ง” ที่ต้องการพระนั้น...” จึงเห็นได้ว่าพระพิมพ์เมืองกำแพงเพชรเป็นที่นับถือในพุทธคุณด้านโชคลาภและการป้องกันภยันตรายต่าง ๆ จึงเป็นที่ต้องการของคนทั่วไปนับแต่อดีต

พระพิมพ์จากกรุในเมืองกำแพงเพชรที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ได้แก่

๑. พระพิมพ์กรุเมืองกำแพงเพชร (ชากังราว) พระพิมพ์ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย พระพิมพ์ที่มีชื่อเรียกตามรูปร่าง (เช่น พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงพลูจีบ) หรือจำนวนพระที่แทรกในพระพิมพ์ (เช่น พระกำแพงห้าร้อย) หรือเรียกชื่อตามซุ้มครอบองค์พระ (เช่น พระกำแพงซุ้มกอ) ซึ่งมีที่มาจากกรุโบราณสถานหลายแห่ง ได้แก่ กรุวัดพระแก้ว กรุวัดพระธาตุ กรุวัดพระนอน กรุวัดพระสี่อิริยาบถ กรุวัดอาวาสใหญ่ กรุวัดอาวาสน้อย ฯลฯ

๒. พระพิมพ์กรุนครชุม (กรุทุ่งเศรษฐี) พระพิมพ์ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย พระพิมพ์ที่มีชื่อเรียกตามรูปร่าง (เช่น พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงกลีบบัว) หรือเรียกตามอิริยาบถ (เช่น พระกำแพงเปิดโลก พระกำแพงลีลา พระกำแพงบิด) นอกจากนี้ยังมีพระกำแพงซุ้มกอ พระนางกำแพง พระยอดขุนพล ฯลฯ พระพิมพ์เหล่านี้มาจากกรุต่าง ๆ ได้แก่ กรุวัดพระบรมธาตุ กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุซุ้มกอ กรุบ้านเศรษฐี ฯลฯ

บรรณานุกรม

- กรมศิลปากร. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗), ๒๕๕๗.

- กรมศิลปากร. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗), ๒๕๔๐.

- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๒๖.

เป็นพระปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย มีทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน เนื้อชินเป็นชินเงินผิวปรอทเป็นส่วนมาก บางองค์มีผิวดินลูกรังจับหนาแน่น บางองค์ผิวดำ ส่วนที่เป็นเนื้อดินเป็นดินผสมว่านละเอียดและอ่อนนุ่ม มีคราบกรุจับแน่น ปรากฎว่านเม็ดดอกมะขามทั่วไป

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ตำหนิพระซุ้มกอ. สืบค้น 22 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1152&code_db=610005&code_type=01



ว ดห วยาง ตำบลนครช ม กำแพงเพชร พระกำแพงซ มกอ

.webp)

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,899

ว ดห วยาง ตำบลนครช ม กำแพงเพชร พระกำแพงซ มกอ

กรุวัดเชิงหวาย

ที่ตั้งกรุพระวัดเชิงหวาย อยู่ถนนกำแพงพรานกระต่ายเข้าทางกรุวัดดงหวาย เรียบถนนริมคลองประมาณ 700 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงขาว พระท่ามะปราง พระร่วงประทานพร พระยอดขุนพลพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มยอพิมพ์เล็ก พระซุ้มจิก พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระโพธิบัลลังก์ พระลีลากำแพง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่งทรงสมาธิ พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,624

ว ดห วยาง ตำบลนครช ม กำแพงเพชร พระกำแพงซ มกอ

พระสมเด็จพิมพ์เล็ก

พระอธิการกลึง วัดคูยาง กำแพงเพชร ได้รวบรวม พระเครื่องของกรุกำแพงเพชรที่แตกหัก ที่ได้ค้นพบจากการรื้อสร้างบูรณะพระเจดีย์ทั้งสามองค์ของวัดพระบรมธาตุ นำมาป่นแล้วกดพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยมักจะล้อพิมพ์พระดังๆ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,549

.webp)

พระกำแพงซุ้มกอดำ กรุวัดพิกุล

จำนวนกรุต่างๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร มีทั้งหมดประมาณไม่ต่ำกว่า 50 กรุ ส่วนฝั่งซ้ายซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมือง และเป็นเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร รวมทั้งพระราชวังเก่าที่มีวัดพระแก้วอยู่ภายในด้วยรวมเรียกว่ากรุเมือง มีจำนวนประมาณ 20 กรุ ซึ่งมีกรุเมืองที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี เช่น กรุวัดพระแก้ว กรุวัดพระธาตุ กรุวัดป่ามืด กรุวัดช้างล้อม และกรุวัดนาคเจ็ดเศียร เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อปี 2392 เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตแห่งวัดระฆังฯ ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงได้ดำริให้เจ้าเมืองออกสำรวจแล้วก็พบเจดีย์ อยู่ 3 องค์ อยู่ใกล้ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนให้เจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดีย์เก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน แต่เมื่อรื้อถอนแล้วจึงได้พบพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแตกหักตามสภาพกาลเวลา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตท่านเห็นว่าเศษพระที่แตกหักนั้นยังมีพุทธคุณอยู่ท่านจึงได้นำกลับมายังวัดระฆังจำนวนหนึ่งพร้อมกับเศษอิฐและเศษหิน และบันทึกใบลานเก่าแก่ที่ได้บันทึกเกี่ยวกับวิธีการสร้างพระสกุลกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 9,159

ว ดห วยาง ตำบลนครช ม กำแพงเพชร พระกำแพงซ มกอ

พระซุ้มเสมา

พระซุ้มเสมาทิศ มีผู้ค้นพบมากมายหลากหลายกรุ ในแถบพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ล้วนเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งสิ้น ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ 2450 เป็นต้นมาจน ประมาณ พ.ศ 2490-6 มีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการและมีผู้พบพระซุ้มเสมาทิศ ทั้งที่กรุวัดอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก โดยพบพร้อมกับพระชินราชใบมะยม มีทั้งเนื้อดิน และชินแข็งสภาพผุกร่อนไม่สมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับที่พบตามวัดร้าง และเนินดินตามเขตเมืองเก่าในจังหวัดชัยนาท มีบางส่วนพบที่จังหวัดกำแพงเพชร กรุวัดอาวาสใหญ่ส่วนมากเป็นพิมพ์กลาง เนื้อดินและเนื้อชินแก่ตะกั่วมีไขขาวแซมตามซอกองค์พระและที่กรุวัดอาวาสน้อย เนื้อชินจะเป็นลักษณะเป็นชินแข็งมีสนิมตีนกาและตามรอยผุระเบิดจะเป็นปื้นเกร็ดกระดี่มีปรอทขาวสีซีดแห้งสมอายุ เมื่อสัมผัสถูกความชื้นนานไปจะกลับเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ กรุสำคัญที่ถือได้ว่ามีพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศทุกพิมพ์อยู่เป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 6,134

ว ดห วยาง ตำบลนครช ม กำแพงเพชร พระกำแพงซ มกอ

พระประทานพรยืน

กรุที่พบหรือสถานที่พบพระพิมพ์นี้คือ บริเวณบ้านของครูกำยาน ตรงด้านใต้เชิงสะพานฝั่งตะวันตก ซึ่งรวมอยู่ฝั่งนครชุมของเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เป็นพระกรุพิมพ์หนึ่งที่มีศิลปะสมัยสุโขทัย บวกศิลปะกำแพงเพชรโบราณ พระกรุแตกเมื่อปี พ.ศ.2537 ได้พบพระพิมพ์ต่าง ๆ มากมาย มีทั้งพระเนื้อชินเงิน พระเนื้อดินเผา และพระพุทธรูปบูชา-เทวรูปศิลปะสมัยลพบุรีก็รวมอยู่ด้วย มีพระเครื่อง-พระบูชาหลายขนาด

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 9,676

ว ดห วยาง ตำบลนครช ม กำแพงเพชร พระกำแพงซ มกอ

พระปิดตา “สี่ทิศ”

พระปิดตาสี่ทิศ กรุวัดคูยาง จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2445-2448 โดยพระครูธรรมาธิมุติมุนี (สมภารกลึง) เจ้าอาวาสวัดคูยาง สร้างแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งถวาย รัชกาลที่ 5 ครั้งเมื่อเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และอีกส่วนหนึ่งบรรจุพระเจดีย์ยอดปรางค์ เป็นเนื้อดินละเอียดมีคราบรารัก มีว่านดอกมะขามใกล้เคียงพระกรุทุ่งเศรษฐี รูปทรงกลม หลังอูม มีรูปพระปิดตาสี่องค์ (ประจำสี่ทิศ) พระที่ขึ้นกรุนี้มีมากกว่า 30 พิมพ์ ส่วนใหญ่ใช้พระกรุเก่าทุ่งเศรษฐีกดพิมพ์ เช่น พิมพ์ซุ้มกอ นางแขนอ่อน ลีลาเขย่ง ซุ้มยอ เปิดโลกฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 9,467

ว ดห วยาง ตำบลนครช ม กำแพงเพชร พระกำแพงซ มกอ

คาถาลานเงินจารึก

คาถาลานเงินจารึก พบที่วัดพระบรมธาตุ ให้นิมนต์พระ (อาราธนาพระ) ใส่ศีรษะหรือออมใส่ในปาก อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล ถ้าจะเข้าณรงค์สงครามให้เอาพระใส่น้ำมันหอม เสกด้วย "นวหรคุณ" หรือพระเจ้า 16 พระองค์ทั้งคู่คือ "กิริมิทิ กุรุมุกุ กะระมะทะ เกเรเมเท นะมะนะอะ นอกอนอกะกอออนกอะ นะอะกะอัง ให้เสก 3 จบหรือ 7 จบ อานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยทั้งปวง คาถาบทนี้ท่รตีค่าไว้ควรเมือง ถึงข้าศึกจะเป็นหมื่นเป็นแสนให้ภาวนาเดินฝ่าฝูงข้าศึก ข้าศึกจะจังงงหมดสิ้นแล ถ้าเข้าป่าถูกไฟป่าล้อมให้ภาวนาเดินฝ่ากองไฟโดยไม่มีอันตรายแล ถ้าจะค้าขายดีไปทางบกหรือทางเรือก็ดี ให้นมัสการด้วยพาหุงส์ เอาพระสรงน้ำมันหอม เสกด้วยพระพุทธคุณ "อิติปิโส ภกูราติ" 7 จบ ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลายแล

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 15,149

ว ดห วยาง ตำบลนครช ม กำแพงเพชร พระกำแพงซ มกอ

กรุคลองไพร

ที่ตั้งกรุพระคลองไพร ฝั่งตะวันตกจากใต้หัวสะพานกำแพงเพชรไปทางทิศใต้ 2 กิโลเมตร ทิศตะวันออกของหัวสะพานคลองไพร ประมาณ 100 เมตร ปัจจุบันถูกทำเป็นพื้นที่การเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระพลูจีบ พระอู่ทองทองเจดีย์ พระกลีบบัว พระเปิดโลก พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,708

ว ดห วยาง ตำบลนครช ม กำแพงเพชร พระกำแพงซ มกอ

พระยอดขุนพล

พระยอดขุนพล กรุเก่าวัดพระบรมธาตุ เมืองกำแพงเพชร องค์นี้เป็นพระปางมารวิชัย พุทธลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูป "ทรงเทริด" ของเมืองลพบุรี (เทริด หมายถึง เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า) องค์พระประดิษฐานอยู่บนฐานในซุ้มทรงห้าเหลี่ยม คล้ายกับรูปทรง ใบเสมา เซียนพระสมัยก่อนจึงเรียกว่า "พระเสมาตัด" มาในระยะหลังคนรุ่นใหม่เห็นว่า คำว่า "ตัด" ฟังแล้วไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก จึงตัดคำนี้ออกไป เหลือเพียงพระยอดขุนพล กำแพงเพชร ก็เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่ว (เช่นเดียวกับ พระขุนแผน พิมพ์ใบไม้ร่วง กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี ที่เซียนพระรุ่นเก่าเรียกกันมานานปี ต่อมาเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้ เซียนพระชาวสุพรรณพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อเรียกพระพิมพ์นี้เสียใหม่ว่า พระขุนแผน พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว ฟังดูแล้วไพเราะกว่าใบไม้ร่วง ที่ไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก ทำให้พระพิมพ์นี้มีราคาพุ่งขึ้นทันที