ค ณสมบ ต ช วยในการข บถ ายของมะร ม

เผยแพร่: 4 ก.พ. 2551 14:51 โดย: MGR Online

คตส.ฟันเหลือบกล้ายาง 45 ราย “วราเทพ-สรอรรถ-อดิศัย-เนวิน” ตายหมู่ “เจียรวนนท์” ไม่รอด โดนข้อหาฉกรรจ์ 3 กระทง ฐาน ฉ้อโกง ปลอมแปลงเอกสาร ฮั้วประมูล แฉจับมือบ.เลี้ยงไก่ชน-ธุรกิจโรงแรมร่วมประมูล พร้อมฟ้องอาญา-แพ่งเรียกเงินคืนแผ่นดิน 1.1 พันล้าน

วันนี้ (4 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) โดยเป็นการประชุมนัดพิเศษเพื่อพิจารณาคดีการทุจริตการจัดซื้อพันธุ์กล้ายางพารา 90 ล้านต้น ของกรมวิชาการเกษตรที่มีนาย บรรเจิด สิงคะเนติ กรรมการคตส. เป็นประธานคณะอนุกรรมการไต่สวน

นาย สัก กอแสงเรือง โฆษกคตส. พร้อมด้วย นายบรรเจิด ร่วมกันแแถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมคตส.มีมติส่งฟ้องดำเนินคดีให้อัยการสูงสุดพิจารณาสั่งฟ้อง จำนวน 45 ราย จากเดิม 90 ราย โดยยุติไม่สั่งฟ้อง 45 ราย คือ คณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องก่อนเข้าที่ประชุมครม.ชุดที่ 2 แต่รัฐมนตรีที่ร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) คตส.มีมติสั่งดำเนินคดีด้วย โดยหลังจากนี้คตส.จะจัดทำแฟ้มเอกสารสำนวนส่งให้อัยการสูงสุดภายใน 14 วัน เพื่อส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป

นายบรรเจิด กล่าวว่า ผู้ถูกกล่าวหาประกอบด้วย 1. กลุ่มคณะกรรมการคชก. 2.คณะกรรมการประกวดราคา 3. บริษัทเอกชนที่เข้าร่วมประมูล และ 4. ผู้รับผิดชอบโครงการ โดยจากการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการไต่สวนพบว่า ความผิดจากการดำเนินนโยบายคือ คชก.นำเงิน 1,440 ล้านบาท ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ โดยคณะกรรมการคชก. ไม่ได้ขออนุมัติกองทุนส่งเสริมการทำสวนยาง (สกย.) ตามมติครม. ซึ่งการนำเงินเซสของสกย.ไปใช้มีระเบียบที่กำหนดไว้ตามระเบียบขอบ สกย.ข้อ 19(5) คือให้ใช้ได้เฉพาะคราว และจำเป็นเร่งด่วน แต่โครงการนี้เป็นโครงการระยะยาว 1-3 ปี เป็นโครงการใหม่ ไม่ได้เป็นโครงการเร่งด่วน

นายบรรเจิด กล่าวอีกว่า สำหรับขั้นตอนการผลิตกล้ายาง พบว่ามีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ผลิตกล้ายาง ให้มีประสบการณ์ในเรื่องการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช เป็นการกำหนดคุณสมบัติแบบกว้าง แทนที่จะกำหนดคุณสมบัติเฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์ในการผลิตพันธุ์กล้ายางเท่านั้น ทั้งยังพบว่าเจ้าหน้าที่ยังมีการสบคม เอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชน และมีการย่นเวลาให้เร็วขึ้น ทำให้บางบริษัทผลิตไม่ทัน จึงเป็นเหตุให้ 3 บริษัทเอกชนชนะการประมูล ประกอบด้วย บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด บริษัทรีสอร์ทแลนด์ จำกัด และบริษัทเอกเจริญการเกษตร จำกัด ซึ่งทั้ง 3 บริษัทมีความเชื่อมโยงกัน มีเจ้าหน้าที่จากบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ฯ ได้รับมอบอำนาจจาก 2 บริษัทเข้าร่วมประมูล ทั้งที่ บริษัทเอกเจริญการเกษตร เป็นบริษัทเลี้ยงไก่ชน อยู่ที่ชลบุรี และบริษัทรีสอร์ท แลนด์ ทำธุรกิจโรงแรม ที่ระยอง นอกจากนี้ยับพบว่าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ฯ ใช้หลักฐานเอกสารในการประมูลเท็จ มีการปลอมลายเซ็นเกตรกรสวนยาง ในจ.ตรังและสตูล ว่าพร้อมเข้าร่วมโครงการกับบริษัท อีกทั้งยังเพิ่มตัวเลขจากจำนวน 10ไร่เป็น 30 ไร่ เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการร่วมประมูลจากที่มีอยู่ 1 พันไร่ เป็น 2 พันไร่

“พฤติกรรมดังกล่าวจึงเห็นว่าคณะกรรมการประกวดราคา และกำหนดทีโออาร์ มีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือพ.ร.บ.ฮั้ว และยังผิดพ.ร.บ.พนักงานในองค์กร หรือหน่วยงานของรัฐ ฐานเป็นพนักงานของรัฐไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นเงิน 1,100 ล้านบาท เพราะก่อนหน้านี้มีการร้องเรียนว่า 3 บริษัทฮั้วประมูล แต่เจ้าหน้าที่กลับไม่ตรวจสอบ ซึ่งอนุกรรมการไต่สวนตรวจสอบแล้วเห็นชัดว่าลายเซ็นของเกษตรกรเป็นลายเซ็นแบบเดียวกัน และคตส.ยังให้ดำเนินคดีกับ 3 บริษัทเอกชน ฐานฉ้อโกง ฮั้ว และสร้างหลักฐานเท็จโดยให้ดำเนินคดีกับกรรมการบริษัทดังกล่าวด้วย เพราะการประมูลเป็นพันล้านจะอ้างว่าไม่ทราบเรื่องถือว่าฟังไม่ขึ้น” นายบรรเจิด กล่าว

นายบรรเจิด กล่าวว่า พร้อมกันนี้คตส.ยังมีมติให้ดำเนินคดีกับนาย ฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ฐานเป็นผู้ริเริ่มโครงการ เสนอเรื่องให้รัฐมนตรี และรับผิดชอบการประกวดราคา รวมทั้งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเอื้อประโยชน์กับบริษัทเอกชนให้ชนะการประมูล ส่วนรัฐมนตรีที่ต้องรับผิดชอบนั้น เนื่องจากขณะนั้นอยู่ระหว่างเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีจากนาย สรอรรถ กลิ่นประทุม เป็นนาย สมศักดิ์ เทพสุทิน เข้ามาเป็นรมว.เกษตรฯแทน ซึ่งในวันที่ 10 พ.ย. 2546 นายสมศักดิ์ อยู่ระหว่างการเข้าพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเข้าเป็นรมว.เกษตรฯ ปรากฏว่านาย เนวิน ชิดชอบ รมช.เกษตรฯ ได้อนุมัติโครงการ โดยลงนามอนุมัติในนามของรมว.เกษตรฯ พฤติกรรมทั้งหมดของนายเนวิน จึงเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.ฮั้ว มาตรา 10 , 13 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 38 , 157 และ 341 โดยผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดจะต้องร่วมกันรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายเป็นเงิน 1,100 ล้านบาท คืนแก่รัฐ โดยจะต้องรับผิดร่วมกันเต็มจำนวนความเสียหายโดยจะฟ้องร่วมไปกับคดีอาญา

นายบรรเจิด กล่าวด้วยว่า สาเหตุที่คณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการกลั่นกรองและเสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมครม.คณะที่ 2 เรื่องเศรษฐกิจ ไม่ถูกดำเนินคดี เพราะการสั่งให้ใช้เงินสกย.ในโครงการดังกล่าว ทั้ง 2 คณะได้มีความเห็นให้คชก. ไปสอบถามความเห็นจากสกย. ก่อน ไม่ได้เห็นตามที่กระทรวงเกษตรฯเสนอมา จึงถือว่าครม.และคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไม่ผิดกฎหมาย เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้อนุมัติโครงการ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรายชื่ออดีตรัฐมนตรีที่ร่วมเป็นกรรมการคชก. มี 4 รายคือ นาย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ประธานคชก. และกรรมการคือ นาย สรอรรถ กลิ่นประทุม นาย วราเทพ รัตนากร และนาย อดิศัย โพธารามิก ขณะที่บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ฯ บุคคลที่น่าสนใจที่คตส.สั่งดำเนินคดีคือ นาย วัลลภ เจียรวนนท์ และนายพงษ์เทพ เจียรวนนท์ ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการบริษัท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรายชื่อผู้ถูกกล่าวหาในคดีดังกล่าว จำนวน 45 คน แยกตามฐานความผิด ได้ 7 กลุ่ม ประกอบด้วย

1 . คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตร (คชก.) ประกอบด้วย นาย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการการกลั่นกรองและประธาน คชก. นาย วราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะ กรรมการ คชก.นาย สรอรรถ กลิ่นประทุม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะกรรมการ คชก. นาย อดิสัย โพธารามิก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะกรรมการ คชก. นาย พิศิษฐ เศรษฐวงศ์ รองปลัดกระทรวงพานิชย์ นาย ปริญญา อุดมทรัพย์ รองอธิบดีกรมการปกครอง นาย ราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ น.ส. บุญมี เลิศพิเชษฐ ผู้อำนวยการกลุ่มงานเงินนอกงบประมาณ นาง เสริมสุข ชลวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ นาย ศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายใน นายก รณรงค์ ฤทธิ์ฤาชัย รองอธิบดีกรมการค้าภายใน นาย สิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมง และน.ส. สุชาดา วราภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ทั้งหมดมีฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,151และ 157 ส่วน น.ส. สุกัญญา โตวิวิชญ์ ผู้บริหารส่วนวิเคราะห์ สาขาเศรษฐกิจและนาย พิทยาพล นาถธราดล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผิดตาม พรบ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 11 ประกอบมาตรา 83 ตามประมวลกฎหมายอาญา

2. นาย อุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86,157 และพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ มาตรา 11

3. นาย ฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายจิรากร โกศัยเสวี นาย อนันต์ สุวรรณรัตน์ นาย จำนง คงศิลป์ กรรมการบริหารโครงการและกรรมการพิจารณาโครงการประกวดราคา นายสุจินต์ แม้นเหมือน นาย เยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ กรรมการบริหารโครงการ นาย สมบัติ ยิ่งยืน นาย สมชาย ชาญณรงค์กุล กรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ มาตรา 11,12 และมาตรา 83,157 และ 341 ตามประมวลกฎหมายอาญา

4.นาย สกล บุญชูดวง ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธ์ จำกัด นาย ญาณกร สิงห์ชุม ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท เอกเจริญการเกษตร จำกัด นาย สำราญ ชัยชนะ ผู้รับมอบอำนาจจาก บริษัท รีสอร์ทแลนด์ จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธ์ จำกัด ในฐานะผู้ชนะการประกวดราคา บริษัท รีสอร์ทแลนด์ จำกัด บริษัท เอกเจริญการเกษตร จำกัด ในฐานะผู้เสนอราคา มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ มาตรา 4,10 ,11 ,12 ,13และประมวลกฎหมายอาญา 86,157,341

5.นาย วัลลภ เจียรวนนท์ นาย มิน เธียรวร นาย ประเสริฐ พุ่งกุมาร นาย ธีรยุทธ พิทยาอิสรกุล นาย พงษ์เทพ เจียรวนนท์ นาย เอี่ยม งามดำรง นาย บุญเลิศ ประภากมล กรรมการบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด นาย วรวิทย์ เจนธนากุล นาง วิไลลักขณ์ รัตนสวัสดิ์ กรรมการบริษัท รีสอร์ทแลนด์ จำกัด น.ส. พัชรี ชินรักษ์ นาง อนงนุช ภรณวลัย นาง เจริญศรี ลือพัฒนสุข กรรมการผู้มีอำนาจบริษัท เอกเจริญการเกษตร จำกัด มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐมาตรา 4 ,9,10,11,12,13 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86,157,341

6.นาย ฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ฐานเป็นผู้ริเริ่มโครงการมีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดการเสนอความผิดต่อหน่วยงานรัฐ มาตรา 10,11,12 ตามประมวลกฎหมายอาญา 83,84,157,341

7.นาย เนวิน ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดการเสนอความผิดต่อหน่วยงานรัฐ มาตรา 10,13 ตามประมวลกฎหมายอาญา 83, 157,341