ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม

แนวร่วมต่อสู้เยอรมนีช่วงสงครามเริ่มต้น (1 กันยายน ค.ศ. 1939) ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ (กำลังสหภาพแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สู้รบภายใต้การบัญชาของเครือจักรภพแม้จะเป็นชาติอธิปไตยนับแต่ ค.ศ. 1931) หลัง ค.ศ. 1941 ผู้นำสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพอังกฤษ, สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "สามผู้ยิ่งใหญ่" ถือความเป็นผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตร ในขณะนั้น จีนเองก็เป็นฝ่ายสัมพันธมิตรหลักเช่นกัน ฝ่ายสัมพันธมิตรอื่นมีเบลเยียม บราซิล เชโกสโลวาเกีย เอธิโอเปีย กรีซ อินเดีย เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์และยูโกสลาเวีย

Show

ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ประธานาธิบดีสหรัฐ แฟรงกลิน โรสเวลต์ เสนอชื่อ "สหประชาชาติ" สำหรับฝ่ายสัมพันธมิตร เขาเรียกผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสามและจีนว่า "หน้าที่พิทักษ์ของผู้ทรงพลัง" (trusteeship of the powerful) และภายหลังเรียกว่า "สี่ตำรวจ" ปฏิญญาสหประชาชาติวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 เป็นรากฐานของสหประชาชาติสมัยใหม่ ที่การประชุมพอตสดัม เมื่อเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ค.ศ. 1945 ผู้สืบทอดของโรสเวลต์ แฮร์รี เอส. ทรูแมน เสนอว่ารัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา "ควรร่างสนธิสัญญาสันติภาพและการตกลงเขตแดนของยุโรป" ซึ่งนำไปสู่สภารัฐมนตรีต่างประเทศ

การเข้าร่วมของประเทศสมาชิก[แก้]

ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
"เครือจักรภพอังกฤษพร้อมด้วยพันธมิตร จะทำลายล้างทรราชนาซี" โปสเตอร์ของอังกฤษในปี 1941

ตามช่วงเวลาการบุกครองโปแลนด์[แก้]

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ การบุกครองโปแลนด์

กันยายน 1939 เมษายน 1940

ระหว่างและหลังสงครามลวง[แก้]

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ สงครามลวง

หลังจากการรุกรานสหภาพโซเวียต[แก้]

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    สหภาพโซเวียต: 22 มิถุนายน 1941

หลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์[แก้]

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

หลังจากประกาศก่อตั้งสหประชาชาติ[แก้]

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ ปฏิญญาก่อตั้งสหประชาชาติ

หลังจากปฏิบัติการบากราติออนและวันดีเดย์[แก้]

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ ปฏิบัติการบากราติออน และ ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด

ประวัติ[แก้]

ฝ่ายสัมพันธมิตรดั้งเดิม[แก้]

ประเทศสัมพันธมิตรดั้งเดิม คือ กลุ่มประเทศที่ประกาศสงครามต่อนาซีเยอรมนี ในช่วงการบุกครองในปี 1939 อันประกอบด้วย

  • สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2
  • สหราชอาณาจักรและเครือจักรภพ (จักรวรรดิอังกฤษ)
  • สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3

ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันจากเครือข่ายสนธิสัญญาป้องกันร่วมกัน และสนธิสัญญาในความร่วมมือพันธมิตรทางการทหารก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนความร่วมมือกันระหว่างสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสสามารถย้อนไปได้ถึง ความเข้าใจระหว่างอังกฤษ-ฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1904 และฝ่ายไตรภาคี ในปี ค.ศ. 1907 และดำเนินการร่วมกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนพันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ได้รับการลงนาม ในปีค.ศ. 1921 ซึ่งได้รับการแก้ไขในปี ค.ศ. 1927 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1939 ส่วนพันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์ ได้รับการลงนามในวันที่ 25 สิงหาคม 1939 ซึ่งประกอบไปด้วยสัญญาในการให้ความร่วมมือทางการทหารร่วมกันระหว่างชาติในกรณีถูกรุกรานโดยนาซีเยอรมนี

ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก[แก้]

ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีได้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ในวันเดียวกัน ประเทศเครือจักรภพประกาศสงครามเข้ากับสหราชอาณาจักรด้วยเช่นกัน ต่อมาประเทศบางส่วนในยุโรปตะวันตกได้เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรหลังจากถูกกองทัพเยอรมันเข้ามารุกราน ได้แก่ เดนมาร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และลักเซมเบิร์ก

ในวันที่ 17 กันยายน สหภาพโซเวียตบุกครองโปแลนด์ทางทิศตะวันออก ต่อมา ในวันที่ 30 กันยายน สหภาพโซเวียตโจมตีฟินแลนด์ ภายในปีต่อมา สหภาพโซเวียตได้ผนวกเอาดินแดนของรัฐบอลติก ซึ่งประกอบด้วยเอสโตเนีย ลัตเวียและลิทัวเนีย ต่อมาสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนี-โซเวียตยุติลงภายหลังจากการรุกรานสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 จึงได้เข้าร่วมฝ่ายกับสัมพันธมิตรและทำการต่อสู้ในแนวรบตะวันออก

ส่วนสหรัฐได้ตั้งอยู่ในสถานะความเป็นกลางไม่ยุ่งกับสงครามแต่คอยช่วยเหลือสนับสนุนสัมพันธมิตรและสหภาพโซเวียตด้วยการให้ทรัพยากรต่าง ๆ และอาวุธยุโธปกณ์ต่าง ๆ แต่หลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ของจักรวรรดิญี่ปุ่นทำให้อเมริกาตัดสินใจเข้าร่วมสงคราม เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ต่อมาปฏิญญาแห่งสหประชาชาติในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกร่วมลงนามจำนวน 26 ประเทศ ถือได้ว่าเป็นประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรจำนวน 3 ประเทศ สหราชอาณาจักร สหรัฐและสหภาพโซเวียตถือได้ว่าเป็น ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสาม อย่างไม่เป็นทางการ

ประเทศสมาชิกหลัก[แก้]

สหราชอาณาจักร[แก้]

สหราชอาณาจักรได้เข้าร่วมสงครามเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรหลังจากที่เยอรมนีบุกโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1939 ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรเพียงไม่กี่ประเทศในยุโรปที่รอดพ้นจากการถูกเยอรมนียึดครองจนสิ้นสุดสงคราม

  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    British Supermarine Spitfire fighter aircraft (bottom) flying past a German Heinkel He 111 bomber aircraft (top) during the Battle of Britain (1940)
  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    British aircraft carrier HMS Ark Royal under attack from Italian aircraft during the Battle of Cape Spartivento (Nov. 27, 1940)
  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    British soldiers of the King's Own Yorkshire Light Infantry in Elst, Netherlands on 2 March 1945]]

สหรัฐ[แก้]

สหรัฐได้วางตัวเป็นกลาง แต่ก็ส่งเสบียงให้กับฝ่ายสัมพันธมิตร จนกระทั่งถูกญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล สหรัฐจึงเข้าร่วมสงครามเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรในปี ค.ศ. 1941 โดยทำสงครามต่อญี่ปุ่นและเยอรมนีจนสิ้นสุดสงคราม

  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    Yorktown is hit on the port side, amidships, by a Japanese Type 91 aerial torpedo during the mid-afternoon attack by planes from the carrier Hiryu.
  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    American Douglas SBD Dauntless dive-bomber aircraft attacking the Japanese cruiser Mikuma during the Battle of Midway in June 1942
  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    American Marines during the Guadalcanal Campaign in November 1942
  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    American Consolidated B-24 Liberator bomber aircraft during the bombing of oil refineries in Ploiești, Romania on 1 August 1943 during Operation Tidal Wave
  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    American soldiers depart landing craft during the Normandy landings on 6 June 1944 known as D-Day, in the Battle of Normandy.
  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    M4 Sherman Medium tank

สหภาพโซเวียต[แก้]

สหภาพโซเวียตได้ร่วมมือกับนาซีเยอรมันในเรื่องการบุกเข้ายึดประเทศโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1939 โดยนาซีเยอรมันจะบุกจากทางตะวันตก ส่วนสหภาพโซเวียตบุกมาทางด้านตะวันออก ทำให้ประเทศโปแลนด์ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยนาซีเยอรมันครอบครองโปแลนด์ทางตะวันตก ส่วนสหภาพโซเวียตครอบครองโปแลนด์ทางตะวันออก ต่อมาทั้งสองประเทศได้ทำสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพคือ การไม่รุกรานกัน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 1939 เพื่อหลังจากยึดโปแลนด์แล้ว นาซีเยอรมันก็จะทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรที่แนวรบตะวันตกได้เต็มที่โดยโซเวียตไม่ยุ่งเกี่ยวด้วย แต่ทว่านาซีเยอรมันกลับฉีกสันธิสัญญาฉบับนี้ไป เมื่อส่งกองทัพบุกโจมตีสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บารอสซา โซเวียตจึงได้เปลี่ยนฝ่ายเป็นสัมพันธมิตร

  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    Soviet soldiers and T-34 tanks advance in skirmish near Bryansk in 1942.
  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    Soviet soldiers fighting in the ruins of during the Battle of Stalingrad
  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    Soviet Il-2 ground attack aircraft attacking German ground forces during the Battle of Kursk (1943)

จีน[แก้]

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 รัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งนำโดยจอมทัพเจียง ไคเช็คซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต และยังได้มีการช่วยเหลือการปรับปรุงภายในพรรคในเป็นไปตามแนวคิดลัทธิเลนิน อันประกอบด้วยการผสมกันอย่างลงตัวระหว่างพรรค รัฐและกองทัพ อย่างไรก็ตาม หลังจากการประกาศรวมชาติเมื่อปี ค.ศ. 1928 เจียง ไคเช็คได้กวาดล้างเอานักการเมืองหัวเอียงซ้ายออกจากพรรคและต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ขุนศึกในอดีตและฝ่ายอื่น ๆ ประเทศจีนในเวลานั้นมีความขัดแย้งกันและเปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นกลืนกินดินแดนทีละน้อยโดยไม่สูญเสียกำลังทหารมากนัก จากเหตุการณ์กรณีมุกเดนในปี ค.ศ. 1931 นำไปสู่การจัดตั้งแมนจูกัว แต่รัฐบาลจีนยังคงมุ่งความสนใจไปยังการกำจัดพรรคคอมมิวนิสต์และขุนศึกต่อไป โดยแบ่งกองทัพเพียงส่วนน้อยมาทำการรบเพื่อต้านทานกองทัพญี่ปุ่น

ในช่วงต้นของคริสต์ทศวรรษ 1930 เยอรมนีและจีนได้ให้ความร่วมมือระหว่างกันทางทหารและอุตสาหกรรม โดยนาซีเยอรมนีได้กลายมาเป็นคู่ค้าอาวุธและวิทยาการรายใหญ่ของจีน หลังจากเหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 จีนและญี่ปุ่นจึงเข้าสู่การทำสงครามเบ็ดเสร็จ ซึ่งดำเนินต่อไปจนกระทั่งยุติลงในปี ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตต้องการให้จีนต่อสู้กับญี่ปุ่น จึงให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่จีนจนถึงปี ค.ศ. 1941 หลังจากการลงนามในสนธิสัญญาความเป็นกลางญี่ปุ่น เพื่อเตรียมตัวทำสงครามกับเยอรมนีในแนวรบด้านตะวันออก

ถึงแม้ว่าจีนจะเป็นประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรที่ทำการรบเป็นเวลายาวนานที่สุด แต่จีนได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเป็นทางการภายหลังการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ โดยจอมทัพเจียง ไคเช็คมีความเชื่อมั่นว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะสามารถชนะสงครามได้หลังจากการเข้าสู่สงครามของสหรัฐ

  • Soldiers of the National Revolutionary Army associated with Nationalist China, during the Second Sino-Japanese War
  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    Victorious Chinese Communist soldiers holding the flag of the Republic of China during the Hundred Regiments Offensive

ฝรั่งเศส[แก้]

ฝรั่งเศสมีส่วนร่วมกับการรบในแนวรบด้านตะวันตก นับตั้งแต่สงครามลวง และยุทธการฝรั่งเศส หลังจากความพ่ายแพ้ต่อกองทัพเยอรมัน ดินแดนฝรั่งเศสถูกแบ่งออกเป็น "ฝรั่งเศสเขตยึดครอง" และ "วิชีฝรั่งเศส" ขณะที่รัฐบาลฝรั่งเศสลี้ภัยไปยังอังกฤษ และมีการก่อตั้งฝรั่งเศสเสรี ซึ่งมีส่วนร่วมในการปลดปล่อยฝรั่งเศสจนกระทั่งสงครามยุติ

  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    FAFL Free French GC II/5 "LaFayette" receiving ex-USAAF Curtiss P-40 fighters at Casablanca, French Morocco
  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    The French fleet scuttled itself rather than fall into the hands of the Axis after their invasion of Vichy France on 11 November 1942.

ประเทศสมาชิกรอง[แก้]

โปแลนด์[แก้]

สงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปเริ่มต้นขึ้นเมื่อการบุกครองโปแลนด์ ในขณะนั้น กองทัพโปแลนด์มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สามของบรรดาประเทศในทวีปยุโรป รองจากสหภาพโซเวียตและสหราชอาณาจักร โปแลนด์ไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการต่อนาซีเยอรมนี และทำสงครามต่อภายใต้คณะรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลนด์

กองทัพบ้านเกิดซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปนอกอาณาเขตของสหภาพโซเวียต และมีขบวนการเคลื่อนไหวใต้ดินอื่น ๆ ที่ได้ให้ข้อมูลข่าวกรองซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติการให้สำเร็จในสงครามระยะต่อมา และได้เปิดเผยการก่อาชญากรรมสงครามของนาซีเยอรมนีต่อฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก นอกจากนี้ กองกำลังโปแลนด์ยังได้มีส่วนช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตรในแนวรบด้านตะวันตก แนวรบทะเลทราย และแนวรบด้านตะวันออกอีกด้วย

  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    Polish Home Army resistance fighters from the "Kiliński" Battalion during the Warsaw Uprising (1944)

เบลเยียม[แก้]

  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    Members of the Belgian Resistance with a Canadian soldier in Bruges, September 1944 during the Battle of the Scheldt

เนเธอร์แลนด์[แก้]

  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    Dutch troops close the barrier of the Nijmegen Waal bridge during the Albania crisis.

ลักเซมเบิร์ก[แก้]

  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    Soldiers from Luxembourg training in Britain, 1943

นอร์เวย์[แก้]

  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    Norwegian soldiers on the Narvik front, May 1940

เชโกสโลวาเกีย[แก้]

กรีซ[แก้]

  • Greek soldiers in March 1941 during the Greco-Italian War

ยูโกสลาเวีย[แก้]

  • The Partisans and the Chetniks carried captured Germans through Užice, autumn 1941.
  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    Partisan leader Marshal Josip Broz Tito with Winston Churchill in 1944
  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    Chetniks leader General Mihailovic with the members of the US military mission, Operation Halyard 1944

แคนาดา[แก้]

  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    Several soldiers from the 48th Highlanders of Canada at the Battle of Ortona, December 1943.

ออสเตรเลีย[แก้]

  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    Australian troops land in Alexandria after their evacuation from Greece

นิวซีแลนด์[แก้]

  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    Soldiers of the New Zealand Expeditionary Force, 20th Battalion, C Company marching in Baggush, Egypt, September 1941.

แอฟริกาใต้[แก้]

  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    South African infantry on parade prior to the Union of South Africa's entry into World War II

เม็กซิโก[แก้]

  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    Mexican air force Capt. Radames Gaxiola Andrade stands in front of his P-47D with his maintenance team after he returned from a combat mission

คิวบา[แก้]

สาธารณรัฐโดมินิกัน[แก้]

บราซิล[แก้]

  • ก งโกสส ม ก บ โกสธงชาต ผสมก นได ไหม
    Brazilian soldiers of the Brazilian Expeditionary Force greet civilians in the city of Massarosa, Italy, September 1944.

กลุ่มออสโล[แก้]

กลุ่มออสโลเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศที่เป็นกลางระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งในภายหลังได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในฐานะรัฐบาลพลัดถิ่น อันประกอบด้วย นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยมและลักเซมเบิร์ก

ฟินแลนด์ถูกรุกรานโดยสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 ในภายหลังฟินแลนด์และเดนมาร์กได้เข้าร่วมกับสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลร่วมกับฝ่ายอักษะ ส่วนสวีเดนยังคงดำรงตนเป็นกลางตลอดช่วงเวลาของสงคราม หลังจากสนธิสัญญาสงบศึกในกรุงมอสโกเมื่อปี ค.ศ. 1944 ฟินแลนด์ได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรและหันมาต่อสู้กับเยอรมนีแทน และเกิดเป็นสงครามแลปแลนด์

ส่วนเดนมาร์กซึ่งถูกรุกรานโดยเยอรมนีเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1940 รัฐบาลเดนมาร์กไม่ได้ประกาศสงครามกับเยอรมนีและยอมจำนนในวันเดียวกัน เนื่องจากว่ารัฐบาลยังคงมีอำนาจในการจัดการกิจการภายในประเทศได้อยู่ เดนมาร์กไม่ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นมา ชาวเดนมาร์กรบโดยอยู่ทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ไอซ์แลนด์ หมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์ซึ่งถือว่าเป็นอาณานิคมของเดนมาร์ก ถูกยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่ของสงคราม กองทัพอังกฤษรุกรานเกาะไอซ์แลนด์ในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 และใช้อำนวยความสะดวกให้กับนโยบายให้กู้-ยืม ส่วนกองกำลังจากสหรัฐอเมริกาได้ยึดครองเกาะกรีนแลนด์เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1941 หลังจากนั้นก็ได้ยึดครองเกาะไอซ์แลนด์ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 แม้ว่าจะคงดำรงตนเป็นกลางในสงครามก็ตาม ต่อมาไอซ์แลนด์ประกาศตนเป็นเอกราชจากเดนมาร์กในปี ค.ศ. 1944 แต่ไม่ได้ประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายอักษะใด ๆ

เครือจักรภพแห่งประชาชาติ[แก้]

ประเทศเหล่านี้ถูกดึงเข้าสู่สงครามหลังจากการประกาศสงครามของสหราชอาณาจักร ซึ่งประเทศเหล่านี้ประกอบด้วย ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์และแอฟริกาใต้

สหภาพรวมอเมริกา[แก้]

สมาชิกของสหภาพรวมอเมริกายังคงดำรงตนเป็นกลางในช่วงปี ค.ศ. 1939-1941 ได้สร้างสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันในที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่กรุงอาบานา ระหว่างวันที่ 21-30 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 โดยมีตัวแทนประเทศ 21 ประเทศร่วมลงนาม อันประกอบด้วย

องค์การคอมมิวนิสต์สากล[แก้]

องค์การสหประชาชาติ[แก้]

หลังจากได้มีการลงนามในปฏิญญาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 โดยมีตัวแทนจาก 27 ประเทศร่วมลงนาม ประกอบด้วย