การท อบต.ม เง นฝากประจำเพ มข นสะท อนให เห นถ ง

เงินฝากประจำ คืออะไร และฝากเงินแบบไหนได้ดอกเบี้ยสูง

อัพเดทวันที่ 20 ก.ย. 2566

“ออมเงินผ่านบัญชีเงินฝาก” ถือว่าเป็นวิธียอดนิยม ในการวางแผนการออมเงินของคนไทยก็ว่าได้ และด้วยความที่เป็นวิธีที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก จึงทำให้คนไทยหลายคนมองหาวิธีลงทุนอื่นๆ มากยิ่งขึ้นเพราะดอกเบี้ยจากการออมเงินผ่านบัญชีเงินฝากนั้นแสนจะน้อยนิด

เพื่อให้คุณได้มีทางเลือกในการต่อยอดเงินทุนที่ดีขึ้น กรุงไทยพร้อมพาทุกคนมาทำความรู้จักกับรูปแบบของบัญชีเงินฝากในรูปแบบอื่น ๆ พร้อมบอกเคล็ดลับฝากเงินแบบไหนได้ดอกเบี้ยสูงด้วยวิธีง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน

4 ประเภทของบัญชีเงินฝาก ตัวช่วยสุดคุ้มในการออมเงิน

กรุงไทยพร้อมพาทุกคนเริ่มต้นการลงทุนแบบสุดคุ้มกับ 4 ประเภทของบัญชีเงินฝาก ตัวช่วยการออมเงินที่จะทำให้คุณออมเงินได้อย่างคุ้มทุน เรามาดูกันเลยว่าบัญชีเงินฝากแต่ละประเภทเป็นอย่างไร ฝากเงินแบบไหนดีกับเราที่สุด

1. บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (Savings Account)

การท อบต.ม เง นฝากประจำเพ มข นสะท อนให เห นถ ง

วิธีการฝากเงินในรูปแบบบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เป็นวิธีการที่หลายคนคุ้นเคยอย่างดี เพราะเป็นบัญชีเพื่อการออมเงิน ไม่มีการกำหนดระยะเวลาการออม หรือจำนวนครั้งในการฝาก และสามารถเบิกถอนได้ตามต้องการ

เงื่อนไขข้างต้นจึงทำให้รูปแบบบัญชีเงินฝากออมทรัพย์มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าประเภทอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่อยู่ที่ 0.25% ต่อปี จึงเหมาะกับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอย่างมาก สะดวกสบายในการทำธุรกรรมต่าง ๆ

นอกจากนี้ยังสามารถเป็นแหล่งออมเงินสำรองเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินได้เช่นกัน เพราะบัญชีเงินฝากออมทรัพย์สามารถทำธุรกรรมผ่านตู้ ATM หรือ Mobile Banking ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

2. บัญชีเงินฝากประจำ (Fixed Deposit Account)

การท อบต.ม เง นฝากประจำเพ มข นสะท อนให เห นถ ง

เงินฝากประจำ คือรูปแบบการออมเงินผ่านบัญชีธนาคารที่มีเงื่อนไขในการฝาก - ถอนที่เข้มงวดขึ้น และมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ ซึ่งจะมาพร้อมแคมเปญพิเศษ และผู้ฝากไม่ต้องเสียภาษีเงินหัก ณ ที่จ่ายเงินได้บุคคลธรรมดาจากดอกเบี้ยที่รับ

เงื่อนไขส่วนใหญ่ของเงินฝากประจำ คือการกำหนดวงเงินการเปิดบัญชีขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป พร้อมเงื่อนไข “ห้ามถอน” ในระยะเวลาที่เลือกไว้ หากถอนการระยะเวลาที่กำหนดอาจทำให้ไม่ได้รับดอกเบี้ย หรือได้รับดอกเบี้ยน้อยลงนั่นเอง

เลือกความคุ้มในแบบที่ใช่กับ 2 รูปแบบบัญชีฝากประจำ

  1. บัญชีเงินฝากประจำ แบบทั่วไป (General Fixed Deposit) คือ การฝากเงินก้อนในธนาคารเป็นครั้ง ฝากกี่ครั้งก็ได้ จำนวนเงินก้อนที่ฝากไม่จำเป็นต้องเท่ากันในทุกครั้ง และต้อง “ไม่ถอนก่อนระยะเวลาที่กำหนด” ซึ่งเงื่อนไขของเงินแต่ละก้อนที่นำฝาก จะถูกนับช่วงเวลาแยกกันตัวอย่างเช่น ฝากเงินก้อนครั้งแรกจำนวน 50,000 บาทในเดือนมกราคม และฝากเงินก้อนครั้งที่สอง จำนวน 30,000 บาทในเดือนเมษายน หากเงื่่อนไขจ่ายดอกเบี้ยของบัญชีเงินฝากคือทุก 6 เดือน และผู้นำฝากไม่ถอนเงินก้อนก่อนกำหนดสัญญา คุณจะได้รับดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนมิถุนายน โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินฝากครั้งที่หนึ่ง หรือ 50,000 บาท และจะได้ดอกเบี้ยจากการฝากครั้งที่สองในเดือนตุลาคม โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินฝากครั้งที่สอง หรือ 30,000 บาท ซึ่งดอกเบี้ยที่ได้รับจะถูกหักภาษี 15% ตามเงื่อนไขของการฝากประจำ จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า “การคิดดอกเบี้ยแบบขั้นบันได” หรือ “ยิ่งฝากนานยิ่งคุ้ม” เป็นจุดเด่นของการฝากประจำแบบทั่วไป และบัญชีประเภทนี้ คุณสามารถเปิดได้อย่างไม่จำกัดบัญชีอีกด้วย
  2. บัญชีเงินฝากประจำ แบบปลอดภาษี (Tax Free Monthly Deposit) คือการฝากประจำที่ต้องฝากเงินในจำนวนเท่ากันทุกเดือน ตามระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่ถอนก่อนระยะเวลาสิ้นสุดสัญญา หรือไม่ทำผิดสัญญา โดยการฝากประจำในรูปแบบนี้ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท ซึ่งบัญชีประเภทนี้สามารถเปิดได้แค่ 1 คน ต่อ 1 บัญชีเท่านั้น และที่สำคัญบัญชีฝากประจำรูปแบบนี้ได้รับการยกเว้นภาษี

เช็กลิสต์ข้อดี - ข้อเสียของการฝากประจำ

ข้อดีของการฝากประจำ

  • เป็นตัวช่วยดี ๆ ให้กับคนที่ต้องการสร้างวินัยทางการเงิน และสร้างแหล่งเงินทุนสำรอง
  • มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าการฝากเงินแบบออมทรัพย์
  • ไม่มีความเสี่ยงที่จะเสียเงินต้นเทียบกับการลงทุนในหุ้นหรือกองทุนอื่น ๆ
  • ช่วยเพิ่มเครดิตทางการเงิน ทำให้การขอสินเชื่อได้รับการอนุมัติง่ายขึ้น

ข้อเสียของการฝากประจำ

  • บัญชีฝากประจำทั่วไปต้องเสียภาษีจากดอกเบี้ย 15%
  • หากถอนก่อนกำหนดสัญญา จะไม่ได้ดอกเบี้ย หรือ ได้ดอกเบี้ยต่ำมาก

เพราะเงินฝากประจำ คือแหล่งการออมเงินที่เหมาะกับผู้ที่มีเงินเย็นและยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ และต้องการเน้นการออมระยะยาวเพื่ออนาคต หากวิธีการออมเงินรูปแบบนี้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคุณ

เราขอแนะนำเงินฝากประจำกับกรุงไทยที่จะช่วยวางแผนการเงินในอนาคตให้คุณได้อย่างลงตัว เพียงเริ่มฝากขั้นต่ำที่ 1,000 บาท (โดยเลือกระยะเวลาได้ตามต้องการ เช่น 3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือน เป็นต้น)

และอีกหนึ่งทางเลือกที่กรุงไทยอยากแนะนำ “ฝากเงินได้ดอกเบี้ยสูง” แถมยังปลอดภาษีอย่าง เงินฝากประจำปลอดภาษี Krungthai Zero Tax Max ฝากประจำดอกเบี้ยเต็มสูงถึง 2.30% เลือกแผนฝากได้ตามใจ สูงสุดถึง 48 เดือน บอกเลยว่าวิธีนี้จะช่วยให้คุณได้สะสมเงินก้อนโต แบบปลอดภาษี คุ้มเงินลงทุนอย่างแน่นอน

3. บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน (Current Account)

การท อบต.ม เง นฝากประจำเพ มข นสะท อนให เห นถ ง

หากคุณมีเงินเข้า-ออกบัญชีตลอดเวลา หรือมีธุรกิจ - ร้านค้าที่ต้องจัดการบัญชีของกิจการ ต้องฝากเงินแบบไหนดี? ถึงจะเหมาะกับการบริหารธุรกิจของคุณ

คำตอบคือ บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน หรือบัญชีหมุนเวียน เพราะรูปแบบการฝากของบัญชีเงินฝากกระแสรายวันจะมีเงื่อนไขพิเศษ ที่สามารถเบิก - ถอนเกินบัญชี หรือ Overdraft (O/D) เพื่อนำเงินไปหมุนหากธุรกิจขาดสภาพคล่อง ซึ่งการฝากประเภทนี้จะต้องเสียดอกเบี้ยส่วนที่เบิกเกินเช่นกัน

หากคุณต้องการออมเงินเพื่อสะสมกำไรจากดอกเบี้ยธนาคาร บัญชีเงินฝากกระแสรายวันไม่ใช่คำตอบของคุณอย่างแน่นอน เพราะบัญชีประเภทนี้ไม่มีดอกเบี้ยเงินฝาก หรือถ้ามีอาจเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าบัญชีออมทรัพย์ก็เป็นได้

4. บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit Account)(Current Account)

การท อบต.ม เง นฝากประจำเพ มข นสะท อนให เห นถ ง

แล้วถ้าคุณเป็นผู้ที่มีรายรับ - รายจ่ายจากต่างประเทศ หรือรายรับรายจ่ายที่ไม่ใช่เงินสกุลไทย ควรฝากเงินแบบไหนดี? เพื่อให้คุณทำธุรกรรมได้ครบและจบในครั้งเดียว บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ คือคำตอบที่ใช่ที่สุดสำหรับคุณ เพราะบัญชีประเภทนี้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้โดยไม่ต้องแลกเปลี่ยนสกุลเงินเป็นเงินบาท ซึ่งทำให้เสียค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินตราต่างประเทศ

ซึ่งบัญชีประเภทนี้สามารถเปิดได้ทั้งบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และเงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศจะช่วยลดความผันผวนจากการขึ้น-ลงของอัตราแลกเปลี่ยน เพราะค่าเงินในแต่ละประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและข้อควรรู้ของวิธีการฝากเงินประเภทนี้คือดอกเบี้ยที่ได้รับจะต้องเสียภาษีด้วย

นอกจากนี้การฝากเงินเป็นเงินตราต่างประเทศจะไม่ได้รับความคุ้มครองเงินต้นและดอกเบี้ยจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก หากคุณมีความจำเป็นที่จะต้องเปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศอาจต้องศึกษาวิธีการฝาก - ถอน เพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยของเงินในบัญชี

แชร์เทคนิคง่าย ๆ ออมเงินยังไงให้เห็นผล

  • ออมก่อนใช้ ด้วยวิธี ออม 1 ส่วน ใช้ 3 ส่วน

    วิธีการออมในรูปแบบนี้จะเป็นการแบ่งสัดส่วนเงินที่มีออกเป็น 2 ส่วน คือ “เงินออม” และ “เงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน” โดยสัดส่วนของวิธีนี้ คือ “เงินออม 25%” และ “เงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 75%” จากภาพรวมของการออมรูปแบบนี้ จะเห็นได้ว่าเป็นการแบ่งเงินออมไว้ก่อนแล้วนำที่เหลือมาจัดการการใช้จ่ายในแต่ละวันให้เหมาะสมนั่นเองตัวอย่างการออมเงินแบบ “ออม 1 ส่วน ใช้ 3 ส่วน” สมมติเงินเดือน 20,000 บาท

    • สัดส่วนเงินออม 25% = 5,000 บาท
    • สัดส่วนเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 75% = 15,000 บาท
      • ค่าใช้จ่ายทั่วไป = 11,500 บาท
      • ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน = 2,000 บาท
      • ลงทุนต่าง ๆ (ถ้ามี) = 1,500 บาท
  • ออมแบบมีเป้าหมาย ตั้งเป้าหมายการออม ไว้ดาวน์บ้าน ดาวน์รถหรือท่องเที่ยวต่างประเทศ หากคุณอยากออกรถใหม่ ต้องการดาวน์รถ วางแผนเก็บเงินแสนภายในสามปี ก็สามารถเก็บเงินเดือนละ 2,500 บาท 36 เดือน หรือภายในสามปีก็มีเงินก้อนไปออกรถกันได้แล้ว
  • ภารกิจเก็บแบงค์ 50 อีกหนึ่งวิธีง่าย ๆ ที่คนเลือกใช้มากที่สุด คือการเก็บแบงค์ 50 เพราะปกติแล้วคนเรามักใช้แบงค์ 100 ไม่ก็แบงค์ 20 ในชีวิตประจำวัน นาน ๆ ทีจะพบเจอแบงค์ 50 ในการใช้จ่ายทั่วไป ด้วยความที่เป็นแบงค์หายาก และโอกาสพบเจอนั้นมีน้อย จึงทำให้ชาวเน็ตบอกต่อทริคเก็บเงินในรูปแบบภารกิจสะสมแบงค์ 50 ขึ้นมานั่นเอง คุณสามารถทำภารกิจนี้ได้เรื่อย ๆ เจอแบงค์ 50 เมื่อไหร่ก็เก็บใส่กระเป๋า หรือไม่ก็หยอดกระปุก สมมติว่าคุณเจอแบงค์ 50 วันละ 1 ใบ ตลอด 1 เดือน เงินออมของคุณในเดือนนั้นก็จะสูงถึง 1,500 บาทเลยทีเดียว วิธีออมเงินแสนง่าย แถมยังเป็นภารกิจที่ไม่น่าเบื่อแบบนี้ ลองนำไปใช้รับรองเลยว่าเงินออมของคุณต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

จากบทความข้างต้นอาจทำให้คุณรู้และเข้าใจมากขึ้นว่าฝากเงินแบบไหนดีกับตัวคุณที่สุด หากคุณพร้อมเริ่มต้นการลงทุนแล้ว อย่าลืมมองหาแผนการฝากเงินแบบไหนได้ดอกเบี้ยสูงมากที่สุด โดยลองเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ตอบโจทย์ และปลอดภาษีเพื่อให้ผลการออมคุณได้งอกเงยที่สุด

เราพร้อมแนะนำการวางแผนทางการเงินด้วยวิธีการออมเงินฝากประจำ ด้วยเงินฝากประจำปลอดภาษีอย่าง Krungthai Zero Tax Max ที่จะช่วยให้คุณได้รับดอกเบี้ยแบบจัดเต็ม ไม่ต้องเสียภาษี เพียงแค่เปิดบัญชีเงินฝากประจำที่สาขา เลือกระยะเวลาฝาก เริ่มออมเท่ากันทุกเดือน ฝากขั้นต่ำเพียงเดือนละ 1,000 บาท หากคุณพร้อมสะสมเงินก้อนแล้ว มาเริ่มต้นวางแผนการเงินที่ดีไปด้วยกันกับกรุงไทยได้เลย

เงินฝากประจำ คืออะไร ฝากเงินแบบไหนได้ดอกเบี้ยสูง | ธนาคารกรุงไทย บทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจมากขึ้นว่าเงินฝากประจำ คืออะไร มีกี่ประเภท และต้องฝากเงินแบบไหนได้ดอกเบี้ยสูงที่สุด อ่านเลย

เงินฝากธนาคาร5ประเภทมีอะไรบ้าง

1. บัญชีเงินฝากประจำรายเดือนแบบปลอดภาษี ... .

2. บัญชีเงินฝากแบบขั้นบันได (step-up account) ... .

3. บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ ... .

1. อัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนที่แท้จริง ... .

2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ... .

3. ค่าธรรมเนียมและเบี้ยปรับ ... .

4. เงื่อนไขการคุ้มครองเงินฝาก ... .

5. การแจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่.

ธนาคาร ไหน ให้ ดอกเบี้ย เงิน ฝาก สูงสุด

5 อันดับ เงินฝากดิจิทัล ดอกเบี้ย สูง.

1. B-You Max จาก LH Bank. ... .

2. Dime! โดย ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ... .

3. ชิลดี โดย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ... .

4. ttb ME Save โดย ธนาคารทหารไทยธนชาต ... .

5. Grow savings โดย Kept by krungsri. ... .

6. KKP Savvy โดย ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ... .

7. Profit โดย ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์.

ธนาคารคิดดอกเบี้ยเงินฝากยังไง

ธนาคารใช้วิธีการคำนวณจากยอดเงินต้นคงเหลือ คูณด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้(%) คูณจำนวนวันในเดือน (30 หรือ 31 วัน) หารด้วยจำนวนวันในหนึ่งปี (365 หรือ 366 วัน)

ดอกเบี้ยเงินฝากประจํา เสียภาษีไหม

- เสียภาษี ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ - การนับวันครบกำหนดระยะเวลาการฝากประจำ โดยทั่วไปจะตรงกับวันที่เดียวกันแต่เป็นเดือนถัด ๆ ไป เช่น ถ้าเริ่มฝากประจำ 3 เดือนวันที่ 5 มกราคม ก็จะครบกำหนดวันที่ 5 เมษายน