การวางแผนการด าเน นช ว ตอย างพอเพ ยงท ม ความส ข

An Application of Sufficiency Economy PhilosophyIn Lifestyle of Kasetsart University’s Students (Kamphaengsaen Campus)

จักรีวัชระ กันบุรมย์ นักศึกษาปริญญาเอกทางรัฐประศาสศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2560

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิดาภา ถิรศิริกุล รองคณบดีสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต อาจารย์ที่ปรึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงของนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 2) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีพลต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงองนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยจำแนกตามเพศ อายุ รายได้ต่อเดือน ชั้นปีการศึกษา สถานที่พักอาศัย คณะที่ศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2559 จำนวน 400 คน ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ .954 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การทดสอบไคสแคว์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : ความพอประมาณ, ความมีเหตุผล, ภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง

Abstracts

The objectives of this study are to 1) to explore the level of knowledge about the philosophy of Sufficiency Economy of Undergraduate Students of Kasetsart University, 2) to examine the standard of living behaviors in Sufficiency Economy philosophy of undergraduates Students at Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus, 3) to study the factors affecting the life behavior of the Sufficiency Economy Philosophy of Kasetsart University undergraduates. Kamphaeng Saen Campus By gender, age, income per month Academic year the residences of the study were Kasetsart University students. Kamphaeng Saen Campus the 400 student's undergraduate students in the year 2556. The tool used was a questionnaire developed by the researcher. The reliability was 954. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation. Testing the value of One-way analysis of variance Chi-square test Pearson Product Moment Correlation Coefficient The statistical significance was at .05

Keywords: modesty, rationality, good immunity in itself

บทนำ

วิกฤตการณ์ของเศรษฐกิจและการเงินในประเทศไทยที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 พบว่า มีหลายเหตุปัจจัยที่เชื่อมโยงกัน จนนำมาสู่การเกิดวิกฤตในครั้งนี้ เริ่มจากการพัฒนาอย่างรวดเร็ว “แบบก้าวกระโดด” ในขณะที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศยังไม่เข้มแข็งเพียงพอและไม่มีการวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น การตัดสินใจเชิงนโยบายและในระดับบุคคลเกี่ยวกับการบริโภคและการลงทุนที่ไม่ตั้งอยู่บนการวิเคราะห์สถานการณ์อย่างเป็นเหตุเป็นผลอีกทั้งไม่สอดคล้องกับพื้นฐานความเป็นจริงของปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ (ปรียานุช ธรรมปิยา, 2550, 1)

จากสภาพปัญหาความไม่เพียงพอของทุนสำรองระหว่างประเทศปัญหาความไม่มั่นใจของประชาชนผู้ออมในระบบการเงินไทย ซึ่งต่อมาได้ขยายตัวเป็นภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ และ มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจมหาภาค การว่างงาน การขาดรายได้ของประชาชนทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของประชาชนที่มีรายได้น้อย ซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อและความมั่นใจของผู้ประกอบการ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศเป็นอย่างมาก และจนในที่สุดประเทศต่างๆ ที่มี ปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุนแรงมากเช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ รวมถึงประเทศไทย ต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International MonetaryFund) หรือที่เรียกกันว่า IMF (ปรียานุช ธรรมปิยา, 2550, 8)

หลังจากนั้น 10 ปี ได้มีหนังสือรายงานการพัฒนาคนปี พ.ศ. 2550 หรือ Thailand Human Development Report 2007 (NHDR 2007) จัดทำโดยโครงการพัฒนาสหประชาชาติ หรือ United Nations Development Program (UNDP) ก็ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับประเทสไทยหลังผ่านวิกฤตเศรษฐกิจว่า “เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าพระมหากษัตริย์ในประเทศต่างๆทั่วโลกในปัจจุบันมักจะไม่ค่อยทรงแสดงความเห็นเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจในประเทศของแต่ละพระองค์ แต่สำหรับประเทศไทยพระมหากษัตริย์กลับทรงเสนอให้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศที่ได้รับการยกย่องจากทั่วโลกและประสบความสำเร็จอย่างสูง เป็นเวลากว่า 40 ปีมาแล้วที่เศรษฐกิจของประเทศไทยมีการขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 7.6 ต่อปี โดยอัตราดังกล่าวถือได้ว่าเป็นอัตราที่ทำให้ประเทศไทยมีการขยายตัวเร็วที่สุดประเทศหนึ่งในโลก

ประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 - 11 ระหว่าง พ.ศ. 2504 - 2559 รวมระยะเวลา 55 ปีและขณะนี้กำลังใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ระหว่าง พ.ศ. 2560 - 2564 โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 - 12 ได้อัญเชิญ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและบริหาร ประเทศ ตลอดระยะเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปกครองแผ่นดินไทย ทรงริเริ่มหลักเศรษฐกิจพอเพียงทฤษฎีใหม่ โดยมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการหลวง เพื่อให้พสกนิกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีความสุขอย่างยั่งยืน (กมลทิพย์ วงรีธนพร, 2556)

การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง ตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบและคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวในทางการดำรงชีวิตและปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับประเทศ เราอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า วิกฤตเศรษฐกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เป็นตัวอย่างให้เห็นถึงผลที่เกิดขึ้นจากการลงทุน การผลิตการบริโภค ที่ไม่อยู่บนพื้นฐานหลักการแห่งความพอเพียง

ผลมาจากแนวคิดในการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย รวมทั้งการดำเนินชีวิตของคนไทย มีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้คนต้องปรับเปลี่ยนตนเองให้เข้ากับยุคสมัยเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและความอยู่รอดในสังคมเยาวชนไทย นักเรียน รวมถึงนิสิตและนักศึกษามีการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยและไม่รู้จักความพอดี อีกทั้งยังมีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด อยากได้สิ่งใดก็จะขวนขวายมาให้ได้อยู่ตลอดเวลา สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่เยาวชนสมัยนี้ตามกระแสแฟชั่นมากเกินไป มีความรู้สึกอยากได้อยากมีจนทำให้เกิดความไม่พอดีและความไม่รู้จักพอ เพื่อให้ทันสมัยซึ่งเป็นค่านิยมที่ผิด ส่งผลให้การดำเนินชีวิตของคนในสังคมสวนทางกับแนวคิดของหลักเศรษฐกิจพอเพียง เยาวชนไทยควรที่จะศึกษาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้าใจและนำไปปฏิบัติตามอย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักยับยั้งชั่งใจ ตระหนักและหันมาดำเนินชีวิตโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความสุขที่ยั่งยืนของตัวเอง ครอบครัว และประเทศชาติสืบไป

จากบทความเรื่อง เด็กขายตัว ของดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ แสดงให้เห็นว่าในยุคปัจจุบันเราต้องยอมรับว่าสังคมไทยของเราเข้าสู่ยุคทุนนิยม หรือ ยุคแห่งการบริโภคนิยมมากขึ้น ทำให้คนในสังคมต่างก็ต้องหาเงินมาเพื่อบริโภคกันมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา เมื่อมีความต้องการบริโภคสิ่งที่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสินค้าแบรนด์เนม สินค้าราคาแพง โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย รวมถึงเรื่องของอาหารการกิน ฯลฯ จึงทำให้เงินที่ผู้ปกครองให้เพื่อมาใช้จ่ายไม่เพียงพอ ในการดำรงชีวิต นักเรียน นิสิต นักศึกษาจึงต้องมาขายบริการทางเพศกันมากขึ้น เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ที่เกินความจำเป็นและความพึงใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งนักศึกษาหลายแห่งก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาที่เริ่มเข้ามหาวิทยาลัยที่ได้เจอสังคมใหม่เพื่อนใหม่เจอผู้คนหลากหลายมากขึ้นทำให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะสังคมในมหาวิทยาลัยเด็กล้วนแล้วแต่ต่างที่มา ในเมื่องบ้าง ต่างอำเภอ ต่างจังหวัดบ้าง พื้นฐานการดำเนินชีวิตก็แตกต่างกัน ดังนั้นการติดเพื่อน การตามเพื่อนก็จะมีเห็นอยู่ทั่วไปในสังคมมหาวิทยาลัย

จากปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้วิจัยตระหนักถึงความสำคัญของเยาวชนไทยซึ่งถือว่าเป็นอนาคตของชาติ และต้องการสนับสนุนให้เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา หันมาให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินชีวิต ก็จะทำให้ลดปัญหาความฟุ้มเฟื่อยของสังคมวัยรุ่นในมหาวิทยาลัยได้ และจะเป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งในการดำเนินชีวิตหลังจากสำเร็จการศึกษา ทำงานและมีครอบครัวต่อไปในอนาคต จากการที่หลายมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน เลงเห็นถึงปัญหาดงกล่าวและได้มีการจัดการเรียนการสอน และเพิ่มวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐซึ่งสอนทางด้านศาสตร์ของเกษตร ที่เป็นอาชีพหลักของประชาชนดั่งเดิมของประเทศ สอดคล้องเกษตรทฎษฎีใหม่และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั่งยังมีการเรียนการสอนในรายวิชาบังคับเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยแล้วนั้น ทางผู้วิจัยจึงได้เลือก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

2. เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีพลต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงองนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

สมมติฐานการวิจัย

ตัวแปรต้น 4 ตัวแปร ประกอบด้วย ปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคล (X1) ปัจจัยสภาพแวดล้อม (X2) ปัจจัยการเรียนรู้ (X3) ปัจจัยการรับรู้ (X4)

วิธีดำเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้คณะผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นหลักเสริมด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) โดยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นหลัก และเสริมด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยดังนี้

ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลเอกสาร ( Documentary Research) โดยศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากสื่อต่างๆ ได้แก่ เอกสารทางวิชาการ วารสาร บทความ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย และข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต มาเป็นข้อมูลเบื้องต้น จากนั้นนำข้อมูลเหล่านี้มาพิจารราร่วมกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มาสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย และสมมติฐานงานวิจัย

ขั้นที่ 2 การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สำหรับในงานวิจัยนี้คือแบบสอบถาม จากนั้นทำการแจกแบบสอบถามไปยัง

นิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลในทางสถิติ เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้

เครื่องมือการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร (Population) ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2559 รวมทั้งสิ้น 13,562 คน แสดงได้ดังนี้

การรวบรวมข้อมูล ขนาดของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เท่ากับ 400 คน (คิดเป็นจำนวนเต็ม 400 คน) ซึ้งคณะผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแจกแบบสอบถามกับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ระดับปริญญาตรีปีการศึกษา 2559

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือในการวิจัย (Research Instrument) สำหรับการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งคณะผู้วิจัยสร้างขึ้น จากการทบทวนแนวคิด ทฤษฎี วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตโดยคำถามแบงออกเป็น 4 ส่วน จำนวน 1 ชุดดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นการตรวจสอบรายการ (Check list) เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ รายได้ต่อเดือน (ขณะกำลังศึกษา) ชั้นปีที่กำลังศึกษา สถานที่พักอาศัย คณะที่ศึกษา

ตอนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับปัจจัยสถาพแวดล้อมต่อการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมในครอบครัว สภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย และสภาพแวดล้อมในกลุ่มเพื่อน โดยคำตอบแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ (Rating Scale) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับ เห็นด้วยมากที่สุด เห็นด้วยมาก เห็นด้วยปานกลาง เห็นด้วยน้อย และเห็นด้วยน้อยที่สุด โดยกำหนดคะแนนไว้ในแต่ละระดับ

ตอนที่ 3 คำถามเกี่ยวกับความรู้เรื่องแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการตระหนักรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยคำตอบแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับ เห็นด้วยมากที่สุด เห็นด้วยมาก เห็นด้วยปานกลาง เห็นด้วยน้อย และเห็นด้วยน้อยที่สุด

ตอนที่ 4 คำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในด้านความพอประมาณในการดำรงชีวิต ด้านความมีเหตุผลในการดำรงชีวิต และด้านภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิต โดยคำตอบแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับ เห็นด้วยมากที่สุด เห็นด้วยมาก เห็นด้วยปานกลาง เห็นด้วยน้อย และเห็นด้วยน้อยที่สุด

การเก็บรวมรวมข้อมูล

คณะผู้วิจัยทำการรวบรวมข้อมูลโดยการเก็บรวบรวมแบบสอบถามในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ตรวจสอบแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาโดยนำมาตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว นำแบบสอบถามทั้งหมดไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติสำเร็จรูป

การวิเคราะห์ข้อมูล

ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำแบบสอบถามที่จัดทำขึ้นหลังจากมีการกรอกข้อความสมบูรณ์ มาวิเคราะห์ประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อนำข้อมูลจากแบบสอบถามบันทึกลงในหน่วยความจำ แล้วดำเนินการเขียนโปรแกรมเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่ง ประกอบด้วย

1. สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics)

ใช้ค่าความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage) เพื่อบรรยายข้อมูลส่วนบุคคล และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในปัจจัยสภาพแวดล้อมต่อการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ใช้ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Stand-ard Deviation) เพื่อบรรยายระดับความรู้เรื่องแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เพื่อบรรยายระดับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนิสิตมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

2. สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistic)

เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ใช้สถิติ t – Test ในกรณีที่ตัวแปรอิสระมี 2 กลุ่ม โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) ในกรณีที่ตัวแปรอิสระมีมากกว่า 2 กลุ่ม เมื่อพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 จะทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe

เพื่อการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ และความรู้เรื่องแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับการประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน วิเคราะห์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุปผลการวิจัย

การศึกษาวิจัยเรื่องการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สามารถสรุปผลการวิจัยเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล โดยวิธีการแจกแจงความถี่ หาจำนวนและหาค่าร้อยละ ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ต่อเดือน ชั้นปีที่กำลังศึกษา สถานที่พักอาศัยและคณะที่ศึกษา ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีรายละเอียด ดังนี้

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 59.00 มีอายุต่ำกว่า 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 67.50 เป็นส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน(ขณะกำลังศึกษา) 5,000-10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 45.25 กำลังศึกษาชั้นปีที่2 คิดเป็นร้อยละ 27.25 สถานที่พักอาศัยส่วนใหญ่เดินทางไป – กลับคิดเป็นร้อยละ 41.75 และได้ศึกษาคณะคณะเกษตร กำแพงแสน คิดเป็นร้อยละ 21.00

ระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมต่อการดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมต่อการดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 โดยพิจารณาเป็นรายด้านของระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมต่อการดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงได้ดังนี้

ระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมต่อการดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจด้านสภาพแวดล้อมในครอบครัว อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01

ระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมต่อการดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจด้านสภาพแวดล้อมในกลุ่มเพื่อน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91

ระดับเกี่ยวกับความรู้เรื่องแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ระดับเกี่ยวกับความรู้เรื่องแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 โดยพิจารณาเป็นรายด้านของระดับเกี่ยวกับความรู้เรื่องแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พอเพียงได้ดังนี้

ระดับเกี่ยวกับความรู้เรื่องแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการตระหนักรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24

ระดับเกี่ยวกับความรู้เรื่องแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84

ระดับเกี่ยวกับการประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต

ระดับเกี่ยวกับการประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29โดยพิจารณาเป็นรายด้านการประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ได้ดังนี้

การประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ด้านความพอประมาณในการดำรงชีวิต อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.30

การประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ด้านความมีเหตุมีผลในการดํารงชีวิต อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.25

- การประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ด้านภูมิคุ้มกันในการดํารงชีวิต อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.32

อภิปรายผลการวิจัย

จากสรุปผลการวิจัยเรื่องการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีประเด็นที่น่าสนใจและผู้วิจัยขออภิปรายผลการวิจัย ดังนี้คือ

ปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีระดับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่แตกต่างกันได้แก่ เพศ อายุ รายได้ต่อเดือน(ที่กำลังศึกษา) ที่มีระดับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่แตกต่างกัน

ส่วนชั้นปีที่กำลังศึกษา มีระดับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันโดยกลุ่มชั้นปีที่ 1 มีระดับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

มากกว่ากลุ่มชั้นปีที่ 2 โดยกลุ่มชั้นปีที่ 1 มีระดับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มากกว่ากลุ่มชั้นปีที่ 4 ขึ้นไป

ส่วนสถานที่พักอาศัย มีระดับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันโดยกลุ่มหอพักภายในมหาวิทยาลัยมีระดับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงน้อยกว่ากลุ่มเดินทางไป – กลับ

ระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมต่อการดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งจากงานวิจัยหลายชิ้นที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ภายในครอบครัว (ดวงเดือน พันธุมนาวิน, 2524, 9) พบว่า” ครอบครัวมีบทบาทเกี่ยวข้อง ทั้งทางด้านการเป็นที่พักทางใจและเป็นกำลังใจให้เด็กสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมใหญ่ได้ ขณะเดียวกันครอบครัวก็อาจเป็นต้นเหตุของปัญหาทางสุขภาพจิตของเด็กด้วย แสดงให้เห็นว่าความสำคัญของสถาบันครอบครัวนั้น มีอิทธิพลอย่างมากต่อพฤติกรรมของเด็ก เป็นต้นแบบนิสัย เป็นผู้หล่อหลอมความคิด ค่านิยม ทัศนคติ ให้กับเยาวชนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง” สภาพแวดล้อมมหาวิทยาลัยก็มีผลต่อการดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับ สำเนาว์ ขจรศิลป์ (2542, 13-14) ได้กล่าวว่า “สภาพแวดล้อมภายในสถาบันอุดมศึกษา มีความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนานักศึกษามาก เพราะสภาพแวดล้อมที่มีความสมบูรณ์ ย่อมทำให้การพัฒนานักศึกษาได้ผลดี” และปัจจัยเพื่อนมีผลต่อการดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับ มณฑาทิพย์ มณีโชติรัตน์, (2542, 28) ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า “สถาบันอุดมศึกษาควรส่งเสริมให้นักศึกษารักใคร่กันฉันท์เพื่อน มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน เพื่อประโยชน์แก่ตัวนักศึกษาเอง และเมื่อออกไปทำงานในอนาคตจะได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันต่อไป” ฉะนั้น มหาวิทยาลัยควรจัดกิจกรรมประกอบการเรียนการสอน ในรูปแบบ Peer group (เพื่อนช่วยเพื่อนหรือพี่ช่วยน้อง) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้ที่อาศัยการร่วมและการแบ่งปันกันในกลุ่มสมาชิก

ระดับเกี่ยวกับความรู้เรื่องแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ ชูชัย พิทักษ์เมืองแมน,(2553) ศึกษาเรื่อง “ทัศนะของนักศึกษาต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต กรณีศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากโทรทัศน์ โดยมีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจไปใช้ในการดำเนินชีวิตอยู่ในระดับมากทั้งในด้านบุคคล ครอบครัว และด้านสังคม และพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของนักศึกษาต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต พบว่า ความรู้ความเข้าใจ มีผลต่อทัศนะของนักศึกษาต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต “

ระดับเกี่ยวกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ อำพน กิตติอำพน (2550, 14) กล่าวว่า” ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ แนวทางการปฏิบัติขึ้นอยู่กับระดับของการตัดสินใจทั้งในระดับปัจเจกครอบครัว แนวทางการปฏิบัติภายในชุมชน แนวทางปฏิบัติในภาคธุรกิจ และแนวทางปฏิบัติของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งในภาคนิติบัญญัติที่ต้องปฏิบัติตามแนวทางสายกลาง ซึ่งหลักของทางสายกลางนั้นจะนำมาซึ่ง ความพอเพียง ความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีเหตุมีผลที่จะกำหนดสิ่งต่างๆ ตลอดจนมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี”

ข้อเสนอแนะ

ผลจากการศึกษาเรื่องการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ของนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ในที่นี้คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

ควรจัดกิจกรรมเกี่ยวกับแนวคิดและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มีความรู้และเข้าใจหลักสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และความมีภูมิคุ้มกันที่ดี อย่างแท้จริง

- ควรส่งเสริมให้มีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม ด้วยการรณรงค์เกี่ยวกับแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อจูงใจให้เกิดการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

- ควรเชิญผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาให้ความรู้กับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ให้มาบรรยายเพื่อเสริมสร้างค่านิยมให้ตระหนักถึงประโยชน์ของดำเนินชีวิตบนหลักความพอเพียงโดยยึดหลักความมั่นคงของตนเองและครอบครัว

- ควรมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นให้นิสิตเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินชีวิตตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะนิสิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ระดับปริญญาตรี ซึ่งอาจจะไม่ครอบคลุมถึง นิสิตในหลักสูตรต่างๆ เช่น หลักสูตรโครงการพิเศษ หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรประกาศนียบัตร และ หลักสูตรระดับบัณฑิตวิทยาลัย ดังนั้น ในการวิจัยครั้งต่อไปควรวิจัยมหาวิทยาลัยแห่งอื่น ๆ และครอบคลุมทุกระดับมากยิ่งขึ้น หรืออาจทำวิจัย โดยออกแบบกรอบแนวคิดใหม่ที่มุ่งศึกษาว่าการดำเนินชีวิตตามแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการศึกษาหรือไม่ เพื่อให้สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติตน ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่า แนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปใช้ในเรื่องต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี อันจะทำให้นิสิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน หรือผู้ที่สนใจมีความเข้าใจ เห็นคุณค่า และประโยชน์ของแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมในทางการศึกษา หรือในเรื่องอื่นๆต่อไป

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

กชกร ชำนาญกิจ, ธิติมา ประภากรเกีนรติ, อเนก แสงโนรี และจิรเดช สมิทธพรพรรณ. (2554). การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต. ภาคนิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

กุลวดี ล้อมทอง วีระภัทรานนท์. (2550). การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต : ศึกษากรณี บุคลากรสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

คัคนางค์ มณีศรี. 2556. จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรวัฒน์ วงศ์สวัสดิวัฒน์. (2547). ทัศนคติ ความเชื่อและพฤติกรรม: การวัด การพยากรณ์ และการเปลี่ยนแปลง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2557). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เฉลิมศรี ชุมเกษียน. (2550). การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับภาวการณ์เป็นหนี้สินของข้าราชการทหาร สังกัดกองทัพเรือ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิเชียร วิทยอุดม และ เขมมารี รักษ์ชูชีพ. (2552). ทัศนะของนักศึกษาต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การแก้ปัญหาความฟุ่มเฟือย กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (รายงานผลการวิจัย). ปทุมธานี : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เด็ด ดี ดอท คอม. (มปป.). “ศักยภาพของจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก”. สืบค้นวันที่ 4 มีนาคม 2559. จากhttp://writer.dekd.com/punch006/story/viewlongc.php?id=

1200850&chapter=2

ธัญญา อ้นคง. (2551). ความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลพะเนียด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

น้ำฝน ผ่องสุวรรณ. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชูชัย พิทักษ์เมืองแมน. (2553). ทัศนะของนักศึกษาต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต กรณีศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ปราโมทย์ มลคล้ำ, นวลฉวี ประเสริฐสุข, สมทรัพย์ สุขอนันต์ และกมล โพธิ์เย็น. (2553). “พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของผู้นำครอบครัวในเขตปกครองท้องที่ อำเภอเมือง จังหวัดนครประถม”. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อ การพัฒนา ปีที่ 2 (1), (1 มกราคม 2553).

ภัทรพล ใจเย็น. (2553). ความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงของพระนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พิชัย สดภิบาล. (2554). “ปัจจัยส่วนบุคคล”. สืบค้นวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559.จาก http://www.thaiblogonline.com/sodpichai.blog?PostID=25857

พงศ์พิชญ์ วงศ์สวัสดิ์. (2551). ความรู้ความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน พื้นที่จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

มนต์ฤดี ทองรัตน์. (2552). ความรู้ความเข้าใจและการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิตของนักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยแม่โจ้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเม่โจ้.

มิ่งหมาย มุ่งมาจน. (2552). การประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารโรงเรียนสัมมาสิกขาราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

รัตนา เนตรแจ่มศรี. (2550). การประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ กรณีศึกษา ประชาชนชุมชนเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วัฒน์ระวี (นามแฝง). 2549. เมื่อฟ้าโอบและดินอุ่น ขอตามรอยพระบาทพ่อที่พอเพียง (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : แสงดาว.

วิวรรธน์ มลมีศรเอี่ยม. (2553). พฤติกรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์.

ศุภชัย ชัยจันทร์. (2553). การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของคณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สนิท หิรัญพิพัฒน์พงศ์. (2550). การนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ในการดำเนินชีวิต : กรณีศึกษา กลุ่มอาชีพสหกรณ์บ้านใหม่สามัคคี ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมพร กรุดน้อย. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการบริหารจัดการองค์การกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงาน บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิริพร รัตนกำเนิด. (2550). ความคิดเห็นของข้าราชการสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง (พิมพ์ครั้งที่ 1). มปท.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : 21 เซนจูรี่.

สุกันยา แก้วสุวรรณ. 2557. การรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ค่านิยมในการทำงาน กับความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษา : โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เสรี พงศ์พิศ. (2550). กรอบคิดเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นวันที่ 5 มีนาคม 2559. จากhttp://www.phongphit.com

อรวรรณ ชมชัยยา และ ขวัญใจ จริยาทัศน์กร. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดำเนิน ชีวิตของผู้ปกครองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณลักษณะดีเก่งมีความสุขของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

อภิชาติ ชูเกียตติตกุล. (2551). ความรู้ความเข้าใจในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชทหารสังกัดกองพันพัฒนาที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเม่โจ้.

เอื้องทิพย์ เกตุกราย. (2551). การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของประชาชนในตำบลคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

อำพน กิตติอำพน. 2550. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี : เพรชรุ่งการพิมพ์.

Wood, R. E. & Bandura, A. (1989). Social cognitive theory of organization management. Academy of management Review, p.14, p.361-p.384.

Maslow, A. (1943). A theory of human motivation. Psychological review, p. 50, 370-396.

Ana Markulev and Anthea Long. (2013). On Sustainability : an economic approach. Staff Research Note,Productivity Commission, Canberra. 23.

Frank Figge and Tobias Hahn. (2014). Sustainable Value Added-measuring corporate contributions to sustainability beyond eco-efficiency. Ecological Economics, 48, 173 – 187.

Ian Scoones. (2007). Sustainability. Development in Practice, 17, 589 – 596.

John C.V. Pezzey and Michael A. Toman. (2002). The Economics of Sustainability : A Review of Journal Articles Resource for the Future. Discuss Paper 02-03. No. of pages36.

John C.V. Pezzey and Michael A. Toman. (2001). Progress and Problems in the Economics of Sustainability. Centre for Resource and Environment al Studies, Australia National University Canberra, Act 0200. Australia, No. of pages 111.

Matthias Ruth. (2006). Aquest for the economics of the sustainability and the sustainability of economics. Ecological Economics , 56, 332 – 342.

Robert U.Ayres. (2008). Sustainability Economics : Where do we stand? Ecological Economics No. 30.

Stefan Baumgartner, Christian Becker, Karin Frank, Birgit Muller and Martin F.Quaas. (2005). Relating the Philosophy and Practice of Ecological Economics.The Role of Concepts, Models and Case Studies in International and Transdisciplinary Sustainability Research.University of Luneburg.Working Paper Series in Economics.No.75, 29.

Stefan Baumgartner and Martin F.Quaas. (2009). What is sustainability economics? University of Luneburg. Working Paper Series in Economics, 138, 17.

Sharachchandra M.Lele. (1991). Sustainability Development : A Critical Review. World Development, 19(6), 607-621.

Simon Dietz and Eric Neumayer. (2006). Weak and Strong Sustainability in the SEEA : Concepts and measurement. Ecological Economics, 61(4), 617–626.

John E.ikerd. (2016). Toward an Economics of Sustainability. University of Missouri, Retrieved February 24, 2016 from http://web.missouri,edu/ikerdj/