ภ ม ป ญญาความร ในการดำเน นช ว ต

ปราชญ์ชาวบ้าน ตำบลม่วงหมู่

องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

ปราชญ์ชาวบ้าน ปราชญ์ชาวบ้านคนส่วนใหญ่มักจะคิดถึงองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาที่มาจากชาวบ้านเป็นความรู้ ที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ปรับตัวผ่านประสบการณ์ที่สั่งสมพัฒนา และสืบทอดกันต่อๆมาเพื่อใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขหลักการแนวคิด และวิถีชีวิตของปราชญ์เป็นสิ่งที่คนในยุคสมัยปัจจุบันนี้ควรได้เรียนรู้และนำไปเป็นแบบอย่าง ในการดำรงชีวิตการนำภูมิปัญญาจากปราชญ์ชาวบ้านมาประยุกต์ใช้ในการทำงานซึ่งสามารถ นำไปใช้ปฏิบัติใช้ในระดับบุคคลและชุมชนท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีบรรพบุรุษของชาวไทย เป็นชนชาติที่มีศิลปะวัฒนธรรมจารีตประเพณี ที่เก่าแก่สืบทอดกันมานานนับร้อยนับพันปีโดย บรรพบุรุษของชาวไทยได้นำเอาความรู้ความสามารถด้านต่างๆ ถ่ายทอดให้คนรุ่นหนึ่งไป สู่คนอีกรุ่นหนึ่งโดยมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เพื่อนำความรู้นั้นๆ มาใช้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมชุมชนท้องถิ่น ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นโดยความรู้ความสามารถเหล่านี้จะเรียกว่า “ภูมิปัญญาท้องถิ่น”

ปราชญ์ชาวบ้าน หมายถึงบุคคลในสังคมชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของภูมิปัญญาและนำ ภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตจนประสบผลสำเร็จจากการสั่งสมประสบการณ์และ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เชื่อมโยงคุณค่าภูมิปัญญาของอดีตกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับการดำรงชีพ ในปัจจุบัน

ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

1.ประวัติปราชญ์ชาวบ้านด้านแพทย์แผนไทย < < (โหลดข้อมูล)

2.ประวัติปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม ด้านจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม < < (โหลดข้อมูล)

ปรับปรุงล่าสุด 27 ต.ค. 2022 08:13:37 2,698

ภ ม ป ญญาความร ในการดำเน นช ว ต

ภูมิปัญญา (Wisdom) หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรมและความสามารถในการแก้ไขปัญหาของมนุษย์

ภูมิปัญญา เป็นเรื่องที่สั่งสมกันมาตั้งแต่อดีตและเป็นเรื่องของการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ โดยผ่านกระบวนการทางจารีตประเพณี วิถีชีวิต การทำมาหากินและพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความสัมพันธ์เหล่านี้

ภูมิปัญญา หมายถึง ประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ ในการศึกษาเล่าเรียน การที่ชาวนารู้จักวิธีทำนา การไถนา การเอาควายมาใช้ในการไถ่นา การรู้จักนวดข้าวโดยใช้ควาย รู้จักสานกระบุง ตระกร้า เอาไม้ไผ่มาทำเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน เรียกว่าภูมิปัญญาทั้งสิ้น

ภูมิปัญญา เป็นผลึกขององค์ความรู้ที่มีกระบวนการสั่งสม สืบทอด กลั่นกรอง กับมายาวนาน มีที่มาหลากหลายแต่ได้ประสบประสานกันจนเป็นเหลี่ยมกรณีที่จรัสแสงคงทนและท้าทายตลอดกาลเวลา ความรู้อาจจะไม่ได้เป็นเอกภาพ แต่ภูมิปัญญาจัดว่าเป็นเอกลักษณ์

ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า ภูมิปัญญา หมายถึง องค์ความรู้ ความเชื่อ ความสามารถของคนในท้องถิ่น ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์และการเรียนรู้มาเป็นระยะเวลายาวนาน มีลักษณะเป็นองค์รวม และมีคุณค่าทางวัฒนธรรม

ภ ม ป ญญาความร ในการดำเน นช ว ต

ประเภทของภูมิปัญญา

  1. ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นองค์ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่สั่งสมและสืบทอดกันมา เป็นความสามารถและศักยภาพในเชิงการแก้ปัญหา การปรับตัวเรียนรู้และสืบทอดไปสู่คนรุ่นต่อไป เพื่อการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์ จึงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมชาติ ของเผ่าพันธุ์หรือเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน
  2. ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นวิธีการปฏิบัติของชาวบ้าน ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ แนวทางแก้ปัญหาแต่ละเรื่อง แต่ละประสบการณ์ แต่ละสภาพแวดล้อม ซึ่งจะมีเงื่อนไขปัจจัยเฉพาะแตกต่างกันไป นำมาใช้แก้ไขปัญหาโดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่โดยชาวบ้านคิดเอง เป็นความรู้ที่สร้างสรรค์และมีส่วนเสริมสร้างการผลิต หรือเป็นความรู้ของชาวบ้านที่ผ่านการปฏิบัติมาแล้วอย่างโชกโชน เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรม เป็นความรู้ที่ปฏิบัติได้มีพลังและสำคัญยิ่ง ช่วยให้ชาวบ้านมีชีวิตอยู่รอดสร้างสรรค์การผลิตและช่วย ในด้านการทำงาน เป็นโครงสร้างความรู้ที่มีหลักการ มีเหตุ มีผลในตัวเอง
  3. ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคน ผ่านกระบวนการศึกษา สังเกต คิดว่าวิเคราะห์จนเกิดปัญญาและตกผลึกเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจากความรู้เฉพาะหลาย ๆ เรื่อง จัดว่าเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมัยใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหาจัดการและการปรับตัวในการดำเนินชีวิตของคนเรา ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม ชุมชนและในตัวผู้รู้เอง จึงควรมีการสืบค้น รวบรวม ศึกษา ถ่ายทอด พัฒนาและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง
  4. ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถ ทักษะของคนไทยที่เกิดจากการส่งเสริมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการการเลือกสรร เรียนรู้ปรุงแต่งและถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย

ภ ม ป ญญาความร ในการดำเน นช ว ต

ลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่น

ลักษณะสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น พอสรุปได้ดังนี้

  1. เป็นเรื่องของการใช้ความรู้ ทักษะ ความเชื่อและพฤติกรรม
  2. แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง คนกับคน คนกับธรรมชาติ คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
  3. เป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต
  4. เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชนและสังคม
  5. เป็นแกนหลักหรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิตเป็นพื้นความรู้ในเรื่องต่าง ๆ
  6. มีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
  7. มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคมตลอดเวลา
  8. มีวัฒนธรรมเป็นฐาน ไม่ใช่วิทยาศาสตร์
  9. มีบูรณาการสูง
  10. มีความเชื่อมโยงไปสู่นามธรรมที่ลึกซึ้งสูงส่ง
  11. เน้นความสำคัญของจริยธรรมมากกว่าวัตถุธรรม

กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดให้มีกลุ่มงานภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้สำนักพัฒนาเกษตรกร ตามนโยบายปฏิรูประบบราชการ เพื่อรับผิดชอบในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ โดยมีหน้าที่ดังนี้