ใบ งาน การฟังและการดู ม. 5

สื่อประกอบการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทย เรื่อง การฟังและการดูอย่างมีวิจารณญาณ มีตั้งแต่ขั้นนำ ขั้นสอน ไปจนถึงขั้นสรุปบทเรียนค่ะ มีคำถามนำเข้าสู่บทเรียนและคำถามทบทวนเป็นแบบฝึกหัดให้นักเรียนได้ลองทำด้วยค่ะ คูณครูท่านไหนสนใจสามารถนำไปปรับใช้ได้เลยนะคะ ภาพตัวอย่างค่ะ

ใบ งาน การฟังและการดู ม. 5
 Add to my workbooks (1)
ใบ งาน การฟังและการดู ม. 5
 Download file pdf
ใบ งาน การฟังและการดู ม. 5
 Embed in my website or blog
ใบ งาน การฟังและการดู ม. 5
 Add to Google Classroom
ใบ งาน การฟังและการดู ม. 5
 Add to Microsoft Teams
ใบ งาน การฟังและการดู ม. 5
 Share through Whatsapp

Link to this worksheet:  Copy
ใบ งาน การฟังและการดู ม. 5

kaewsmile24


ใบ งาน การฟังและการดู ม. 5
ใบ งาน การฟังและการดู ม. 5

What do you want to do?

ใบ งาน การฟังและการดู ม. 5
ใบ งาน การฟังและการดู ม. 5
Check my answersEmail my answers to my teacher

Enter your full name:

Group/level:

School subject:

Enter your teacher's email or key code:

Cancel

Please allow access to the microphone
Look at the top of your web browser. If you see a message asking for permission to access the microphone, please allow.

Close

Super Userประชาสัมพันธ์14 ธันวาคม 2564ฮิต: 1039

ใบความรู้วิชาภาษาไทย

  • พิมพ์

ใบความรู้  ครั้งที่ 1

เรื่อง  สรุปความ จับประเด็นสำคัญของเรื่องที่ฟังและดู

 

การฟังและดูเพื่อจับประเด็นและสรุปความ

          การจับประเด็นหมายถึง การจับข้อความสำคัญหรือใจความสำคัญของเรื่อง

ความหมายของการสรุปความ

          การสรุปความ  คือ  การหยิบยกเอาความคิดหลักหรือประเด็นที่สำคัญของเรื่องมากล่าวย้ำให้เด่นชัด โดยใช้ประโยคสั้นๆ แล้วเรียบเรียงให้เป็นระเบียบ

มารยาทในการฟังและดู

          1.  มองสบตาผู้พูด  ไม่มองออกนอกห้องหรือมองไปที่อื่น  อันเป็นการแสดงว่าไม่สนใจเรื่องที่พูดและไม่เอาหนังสือไปอ่านขณะที่ฟังหรือดู

          2.  รักษาความสงบ ไม่ส่งเสียงรบกวนผู้อื่น  ไม่เอาของขบเคี้ยวเข้าไปทำลายสมาธิของผู้อื่น  การชมภาพยนตร์ควรปิดโทรศัพท์มือถือจะได้ไม่รบกวนความสุขของผู้อื่น  ไม่ควรพาเด็กเล็กๆไปในโรงภาพยนตร์หรือในที่ที่ต้องการความสงบ

          3.  แสดงกิริยาอาการที่เหมาะสม  วัยรุ่นไม่ควรนั่งเกี้ยวพาราสีกันในที่สาธารณชนที่ต้องการความสงบในการฟังและการดู  เพราะนอกจากจะรบกวนสายตาคนอื่นแล้วยังเป็นการแสดงกิริยาที่ขัดต่อขนบธรรมเนียมของไทยอีกด้วย

          4.  ในการดูภาพไม่ควรขีดเขียนหรือฉีกภาพซึ่งแสดงถึงความไม่มีวัฒนธรรมที่ดีงาม

หลักการฟังและดูเพื่อสรุปความและจับประเด็น

          การฟังและดูเพื่อจับประเด็นและสรุปความ เป็นทักษะเบื้องต้นที่ทุกคนจะต้องฝึกฝน  เราจะต้องติดตามฟัง ดูเรื่องราวโดยตลอด  ดังนั้นจึงต้องมีสมาธิในการฟังและสามารถแยกแยะได้ว่าข้อความใดเป็นใจความสำคัญ และข้อความใดเป็นพลความ  ถ้าเราเข้าใจเรื่องราวได้โดยตลอดแล้วเราย่อมจดจำเรื่องราวที่ฟังและสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นฟังได้ด้วย

          ในการฟังแต่ละครั้ง  เราต้องจับประเด็นของเรื่องที่ฟังได้ คือ รู้ว่าผู้พูดต้องการสื่อสารอะไร เป็นประเด็นสำคัญ  และรู้จักว่าอะไรคือประเด็นรองซึ่งขยายประเด็นสำคัญ  การฟังเช่นนี้เป็นการฟังเพื่อจับใจความสำคัญและใจความรองและรายละเอียดของเรื่อง  มีวิธีการฟังดังนี้

          1. ฟังเรื่องราวให้เข้าใจ  พยายามจับใจความสำคัญของเรื่องเป็นตอนๆ ว่าเรื่องอะไร  ใครทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไร  อย่างไร

          2. ฟังเรื่องราวที่เป็นใจความสำคัญแล้วหารายละเอียดของเรื่องที่เป็นลักษณะปลีกย่อยของใจความสำคัญ  หรือที่เป็นส่วนขยายใจความสำคัญ

 

 

 

 

สรุปความโดยรวบรวมเนื้อหาสาระสำคัญอย่างครบถ้วน

          วิธีการสรุปความจากการฟังนั้น  เราจะต้องค้นหาให้พบว่าสารใดเป็นความคิดสำคัญในเรื่องนั้นๆ  แล้วสรุปไว้เฉพาะใจความสำคัญ  โดยเขียนชื่อเรื่อง  ผู้พูด  โอกาสที่ฟัง  วัน  เวลา  และสถานที่ที่ได้ฟังหรือดูไว้เป็นหลักฐานเครื่องเตือนความทรงจำต่อไป

          การฟังและดูเพื่อจับประเด็นและสรุปความ  เป็นการฟังในชีวิตประจำวันเพื่อให้ได้สาระสำคัญของเรื่องที่ฟัง  เช่น  ฟังการสนทนา  ฟังเรื่องราวข้อมูลข่าวสารต่างๆ  ฟังโทรศัพท์  ฟังประกาศ  ฟังการบรรยาย  ฟังการอภิปราย  ฟังการเล่าเรื่อง  เป็นต้น

วิธีสรุปความตามลำดับขั้น

          1.  ขั้น อ่าน  ฟัง  และดู

                   - อ่าน  ฟังและดูให้เข้าใจอย่างน้อย  2  เที่ยว  เพื่อให้ได้แนวคิดที่สำคัญ

          2. ขั้นคิด

                   -  คิดเป็นคำถามว่าอะไรเป็นจุดสำคัญของเรื่อง

                   -  คิดต่อไปว่า  จุดสำคัญของเรื่องมีความสัมพันธ์กับสิ่งใดบ้าง  จดสิ่งนั้นๆ  ไว้เป็นข้อความสั้นๆ

                   -  คิดวิธีที่จะเขียนสรุปความให้กะทัดรัดและชัดเจน

          3. ขั้นเขียน

                   - เขียนร่างข้อความสั้นๆที่จดไว้

                   - ขัดเกลาและตบแต่งร่างข้อความที่สรุปให้เป็นภาษาที่ดีสื่อความหมายได้แจ่มแจ้งชัดเจน

ตัวอย่างการสรุปความ    เรื่อง  เราคือบทเรียนของเด็ก

          การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญของชีวิต  ทุกคนเกิดมาจะโง่  จะฉลาด  จะดีจะชั่วขึ้นอยู่กับการศึกษา  พ่อแม่ทุกคนปรารถนาจะให้บุตรหลานของตนเป็นคนดี  จนถึงกับยอมทนลำบากตรากตรำทำการงานหาทรัพย์สินเงินทองมาเป็นค่าใช้จ่าย เพื่อการศึกษาของบุตรหลาน  นับว่าเป็นหน้าที่และสิ่งที่ควรได้รับการยกย่องในการเสียสละนั้น

          แต่ยังมีสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดในชีวิตเด็ก  ก็คือบทเรียนอันเป็นจริยศึกษาซึ่งเกิดจากการปฏิบัติตัวของพ่อแม่ผู้ปกครองของเด้ก นั่นคือการประพฤติปฏิบัติดีงาม  เพราะสิ่งที่เด็กได้ยินได้ฟัง  ได้รู้ได้เห็นจากพ่อแม่ผู้ปกครองของตน  เช่นการพูดจาไพเราะ  การงานเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นต้น  สิ่งเหล่านี้เป็นบทเรียนอย่างสำคัญ ที่จะซึมซาบเข้าไปในจิตใจของเด็กดียิ่งกว่าหนังสือบทเรียนอื่นๆ นั้นเป็นการให้การศึกษาที่มีค่ายิ่ง เป็นการปลูกสร้างนิสัยที่ดีให้แก่เด็ก

          ถ้าพ่อแม่  ผู้ปกครองเป็นคนดี  มีนิสัยดี  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  มีเมตตา  มีความยุติธรรม  มีความรัก  ความสามัคคีในครอบครัว  เป็นแบบอย่างที่ดี  ก็จะทำให้เด็กเอาอย่างในทางดี  เป็นคนดีของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง  สมความปรารถนาทุกประการ  ถ้าปรารถนาดี  หวังดีต่อบุตรหลาน  อย่าเพียงแต่จะให้ทุนการศึกษาอย่างเดียว  ต้องทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ดี  เป็นบทเรียนที่มีค่าของบุตรหลานด้วย  แล้วความปรารถนาของเราก็จะสมหวัง  :  จาก  “แสงธรรม”  ของมูลนิธิ  ก.ศ.ม.

 

 

การสรุปความ

          1. ขั้นอ่าน  ฟัง และ คิด  จับแนวคิดได้ดังนี้  “ พ่อแม่ หาเงินทองมาให้ลูกเรียนอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกด้วยจึงจะนับว่าได้ให้การศึกษาที่ถูกต้องแก่ลูก”

          2. ขั้นเขียน

                   2.1  ข้อความที่จดไว้ช่วยจำ  “การศึกษา  เรื่องสำคัญ – คนจะดีจะชั่ว  โง่ ฉลาดเพราะการศึกษา  พ่อแม่หาเงินมาให้ลูกเรียนเสียสละควรยกย่อง  สิ่งที่มีค่าต่อเด็ก – บทเรียนจริยศึกษา  คุณธรรม  การปฏิบัติตนดีงาม เป็นตัวอย่างที่ดี   รักลูกต้องทำให้เป็นตัวอย่างที่ดีด้วย”

                   2.2  ข้อความที่สรุปแล้ว  “การศึกษามีความสำคัญต่อชีวิตเด็ก  เพราะสามารถทำให้เด็กฉลาดและเป็นคนดีได้ พ่อแม่ที่รักลูก  อยากให้ลุกเป็นคนดีนั้น ไม่ควรจะพอใจเพียงการทำหน้าที่หาเงินมาให้ลูกเรียนเท่านั้น  แต่ควรคำนึงถึงบทเรียน จริยศึกษาอันมีคุณค่ายิ่งต่อชีวิตของเด็ก  อันได้แก่การที่พ่อแม่เป็นผู้มีคุณธรรมและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในทางที่ดีงามแก่ลูกด้วย”    

         

 

ที่มา  :  http://www.kr.ac.th/ebook/songsri/b4.htm

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ใบงาน  ครั้งที่ 1

เรื่อง  สรุปความ จับประเด็นสำคัญของเรื่องที่ฟังและดู

 

คำชี้แจง  ให้นักศึกษา กศน.ตำบล  เรียนรู้จากใบความรู้  หรือศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้อื่นที่สนใจ และตอบคำถามในใบงานดังต่อไปนี้

1. ให้นักศึกษาวิเคราะห์หลักสำคัญของการ “จับประเด็นสำคัญของการฟังและการดู” พร้อมยกตัวอย่างประกอบ 1 ตัวอย่าง

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

 

 

 

ชื่อ................................................................... ระดับชั้น  ................................ วันที่ ................................................