ใบงานที่ 2.4 การสรุปความรู้พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ĉ
ดู ดาวน์โหลด
  21 กิโลไบต์ เวอร์ชัน 1 19 พ.ย. 2555 03:45 ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา
ĉ
ดู ดาวน์โหลด
  24 กิโลไบต์ เวอร์ชัน 1 19 พ.ย. 2555 03:45 ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา
ĉ
ดู ดาวน์โหลด
  31 กิโลไบต์ เวอร์ชัน 1 19 พ.ย. 2555 03:46 ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา
ĉ
ดู ดาวน์โหลด
  32 กิโลไบต์ เวอร์ชัน 1 19 พ.ย. 2555 03:46 ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา
ĉ
ดู ดาวน์โหลด
  59 กิโลไบต์ เวอร์ชัน 1 19 พ.ย. 2555 03:47 ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา
ĉ
ดู ดาวน์โหลด
  29 กิโลไบต์ เวอร์ชัน 1 19 พ.ย. 2555 03:47 ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา
ĉ
ดู ดาวน์โหลด
การเมืองการปกครองสมัย ร.5-ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง  24 กิโลไบต์ เวอร์ชัน 1 19 พ.ย. 2555 03:42 ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา
ĉ
ดู ดาวน์โหลด
การเปลี่ยนแปลงการปกครองหลัง พ.ศ.2475 สู่ประชาธิปไตย   25 กิโลไบต์ เวอร์ชัน 1 19 พ.ย. 2555 03:42 ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา
ĉ
ดู ดาวน์โหลด
ประวัติศาสตร์การปฏิวัติ รัฐประหารของประเทศไทย  22 กิโลไบต์ เวอร์ชัน 1 19 พ.ย. 2555 03:43 ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา
ĉ
ดู ดาวน์โหลด
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย   27 กิโลไบต์ เวอร์ชัน 1 19 พ.ย. 2555 03:43 ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา
ĉ
ดู ดาวน์โหลด
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ   26 กิโลไบต์ เวอร์ชัน 1 19 พ.ย. 2555 03:44 ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา
ĉ
ดู ดาวน์โหลด
พัฒนาการศิลปวัฒนธรรมไทย   27 กิโลไบต์ เวอร์ชัน 1 19 พ.ย. 2555 03:44 ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา

พัฒนาการทางการเมืองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

รัชกาลที่ 1-3 (สมัยฟื้นฟูประเทศ พ.ศ.2325-2394)
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.2325 และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีใหม่จากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออก(ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้า พระยา)และสร้างกรุงเทพฯ เป็นราชธานีขึ้น ณ ที่แห่งนี้

เหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงย้ายราชธานี


            * พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้งสองด้าน คือ วัดอรุณราชวราราม(วัดแจ้ง)และวัดโมฬีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) จึงยากแก่การขยายพระราชวัง
            * ความไม่เหมาะสมด้านภูมิประเทศ เนื่องจากฝั่งตะวันตกหรือราชธานีเดิมเป็นท้องคุ้ง อาจถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย แต่ฝั่งตะวันออก(กรุงเทพ)เป็นแหลมพื้นดินจะงอกอยู่เรื่อยๆ
            * ความไม่เหมาะสมในการขยายเมืองในอนาคต พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มกว้างขวาง สามารถขยายตัวเมืองไปทางเหนือและตะวันออกได้
            * กรุงธนบุรีไม่เหมาะทางด้านทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์  กล่าวคือ มีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลาง เปรียบเสมือนเมืองอกแตก เมื่อใดข้าศึกยกทัพมาตามลำน้ำก็สามารถตีถึงใจกลางเมืองได้ง่าย

เมืองหลวงใหม่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 


            บริเวณ เมืองหลวงใหม่  เดิมเรียกว่า บางกอก หรือปัจจุบันคือกรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใหม่ของไทย สร้างขึ้นโดยเลียนแบบอยุธยา กำหนดพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนคือ

            * บริเวณพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วย วังหลวง วังหน้า วัดในพระบรมมหาราชวัง(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)และรวมทั้งทุ่งพระสุเมรุท้องสนามหลวง
            * บริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง อาณาเขตกำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปราการสร้างขึ้นตามแนวคลองรอบกรุง ได้แก่ คลองบางลำภู และคลองโอ่งอ่าง
            * บริเวณที่อยู่อาศัยภายนอกกำแพงเมือง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีบ้านเรือนราษฏรตั้งอยู่ด้านนอกของคลองรอบกรุง มีคลองขุดในรัชกาลที่ 1คือ คลองมหานาค

การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น


            ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การจัดระเบียบการปกครองยังคงยึดถือตามแบบอย่างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีดังนี้

            * การปกครองส่วนกลาง มีเสนาบดีทำหน้าที่บริหารราชการ ได้แก่

สมุหกลาโหม มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ทั้งทหารและพลเรือน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ใช้ตราคชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง

สมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งกิจการทหารและพลเรือนเทียบเท่ากระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยาจักรี หรือเจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง

เสนาบดีจตุสดมภ์ เป็นตำแหน่งรองลงมา ประกอบด้วย

กรมเวียง หรือกรมเมือง เสนาบดี คือ พระยายมราช มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร

กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ

-กรมคลังหรือกรมท่า เสนาบดี คือ พระยาราชภักดี, พระยาศรีพิพัฒน์ หรือพระยาพระคลังมีหน้าที่ด้านการเงิน การคลัง และการต่างประเทศ

-กรมนา เสนาบดี คือ พระยาพลเทพ มีหน้าที่ดูแลไร่นาหลวง และเก็บภาษีข้าว

            * การปกครองส่วนภูมิภาค หรือการปกครองหัวเมือง

o หัวเมืองฝ่ายเหนือ (รวมทั้งหัวเมืองอีสาน)อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก หัวเมืองฝ่ายเหนือแบ่งฐานะตามระดับความสำคัญ ดังนี้

-หัวเมืองชั้นใน(หัวเมืองจัตวา) อยู่ไม่ห่างไกลจากราชธานี มีเจ้าเมือง หรือ “ผู้รั้ง”เป็นผู้ปกครอง

-หัวเมืองชั้นนอก(เมืองชั้นตรี โท เอก) มีขุนนางชั้นสูงหรือพระบรมวงศานุวงศ์เป็นผู้ปกครอง ได้แก่ เมืองพิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร ฯลฯ

o หัวเมืองฝ่ายใต้ อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม นับตั้งแต่เมืองเพชรบุรีลงไปจนถึงนครศรีธรรมราช ไชยา พังงา ถลาง และสงขลา เป็นต้น มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกทั้งสิ้น

o หัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย เป็นหัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฯลฯ อยู่ในความรับผิดชอบของพระคลังหรือกรมท่า

* การปกครองประเทศราช

o ฐานะของประเทศราช คือ เมืองของชนต่างชาติต่างภาษา มีกษัตริย์ของตนเองเป็นผู้ปกครอง มีหน้าที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนดและส่งทหารมาช่วยเมื่อเมืองหลวงมีศึกสงคราม

o ประเทศราชของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีทั้งดินแดนล้านนา ลาว เขมรและหัวเมืองมลายู ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงแสน หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ เขมร ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ฯลฯ

การปรับปรุงกฏหมายและการศาล


            * กฏหมายตราสามดวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯให้รวบรวมและชำระกฏหมายเก่าที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และคัดลอกไว้ 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และตราบัวแก้ว จึงเรียกว่ากฏหมายตราสามดวง
            * กฏหมายตราสามดวง หรือประมวลกฏหมายรัชกาลที่ 1 ใช้เป็นหลักปกครองประเทศมาจนถึงรัชกาลที่ 5 ก่อนที่จะมีการปฏิรูปกฏหมายไทยและการศาลให้เป็นระบบสากล

การเมืองการปกครองยุคปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก
การรับอารยธรรมตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 4


            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 4 ทรงมีโอกาสได้ศึกษาความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ของประเทศตะวันตก ตั้งแต่ในครั้งที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ โดยเฉพาะการศึกษา ภาษาละติน และภาษาอังกฤษ อีกทั้งมีโอกาสได้คุ้นเคยกับพ่อค้าชาวตะวันตก จึงทำให้ทรงทราบสถานการณ์ของโลกในขณะนั้นเป็นอย่างดี

            แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เกี่ยวกับสถานการณ์ของโลกในขณะนั้น สรุปได้ 2 ประการ คือ

  1. ความเจริญก้าวหน้าในความรู้และวิทยาการของโลกตะวันตก เป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับบ้านเมือง จึงสมควรที่คนไทยจะได้เรียนรู้ไว้
  2. การเผชิญหน้ากับภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ประเทศมหาอำนาจตะวันตกกำลังแผ่ขยายอิทธิพลเข้ารุกรานในอินเดีย จีน และพม่าสมควรที่ไทยต้องเร่งรีบปรับปรุงประเทศให้เข้มแข็งและเจริญก้าวหน้า เพื่อป้องกันมิให้ถูกบีบบังคับหรือข่มเหงเหมือนประเทศอื่นๆ

นโยบายของไทยที่มีต่อลัทธิจักรวรรดินิยม


            ลัทธิจักรวรรดินิยม คือ การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก มักจะเริ่มต้นด้วยการติดต่อเข้ามาค้าขายก่อน ต่อมาจึงอ้างความไม่เป็นธรรมที่ได้รับ หรือความล้าหลังด้อยพัฒนาความเจริญของประเทศนั้นๆ และใช้กำลังเข้าควบคุมหรือยึดครองเป็นอาณานิคมในที่สุด การใช้กำลังเข้าต่อสู้มีแต่จะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากยิ่งขึ้น ดังนั้น รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 จึงทรงใช้พระบรมราโชบายเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติ ดังนี้

            * การผ่อนหนักเป็นเบา หมายถึง การโอนอ่อนผ่อนตามให้ชาติมหาอำนาจเป็นบางเรื่อง คือการยอมทำสัญญาเสียเปรียบ จะเห็นได้จากการทำสนธิสัญญาเบาริง ระหว่างไทยกับอังกฤษ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่มาก
            * การยอมเสียดินแดน สมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ไทยเสียดินแดนให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส ตามนโยบายเสียส่วนน้อย เพื่อรักษาส่วนใหญ่
            * การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย เพือมิให้มหาอำนาจตะวันตกใช้เงื่อนไขความล้าหลังด้อยพัฒนาของไทย เป็นข้ออ้างใช้กำลังเข้ายึดเป็นเมืองขึ้น และนำความเจริญมาสู่ชาวพื้นเมืองอาณานิคม เหมือนดังที่ทำกับทวีปแอฟริกา การปฏิรูปความเจริญของบ้านเมืองครั้งสำคัญเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งด้านการปกครอง กฏหมาย การทหาร ฯลฯ
            * การเจริญไมตรีกับประเทศมหาอำนาจยุโรป รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศมหาอำนาจตะวันตก ช่วยถ่วงดุลอำนาจมิให้ชาติใดชาติหนึ่งมาข่มเหงบีบคั้นไทย จึงเป็นวิธีการรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติอีกทางหนึ่ง