เฉลย ใบงานที่ 2.3 การเลือกใช้งาน ซอฟต์แวร์ ให้เหมาะสมกับงาน

โจทย์ปัญหา

เฉลย ใบงานที่ 2.3 การเลือกใช้งาน ซอฟต์แวร์ ให้เหมาะสมกับงาน

  • มัธยมปลาย
  • วิชาอื่น ๆ

ไม่รู้เรื่องซักอย่างเลยครับ

2. Windows media player 3. Power DVD 4. Adobe reader 5. Nero burn 6. Google chrome 7. Adobe lightroom 8. Ms word 9. Wordpress 10. Adobe photoshop 11. Ms excel 12. Ms powerpoint 13. Windows OS 14. Winrar 15. Paint 16. Malwarebytes 17. Internet download manager 18. Knack 19. Adobe acrobat 20. Animaker

    ยังไม่เข้าใจใช่ไหม?

    ลองถามคำถามกับคุณครู QANDA!

    • เทคโนโลยี3

      • 1. โครงงานคอมพิวเตอร์

      • 2. การเขียนโปรแกรมภาษาขั้นพื้นฐาน

      • 3. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน

      • 4. การใช้เทคโนโลยีในการนำเสนองาน

    • แผนผังเว็บไซต์

    เทคโนโลยี3‎ > ‎2. การเขียนโปรแกรมภาษาขั้นพื้นฐาน‎ > ‎

    เฉลยเรื่องที่ 2

    Ċ

    เฉลยใบงานเรื่อง โครงสร้างตามลำดับ.pdf

    (145k)

    ยุพเยาว์ ทรงสบาย,

    23 ส.ค. 2558 21:23

    v.1

    Ċ

    เฉลยใบงานเรื่อง โครงสร้างแบบทำงานซ้ำ.pdf

    (165k)

    ยุพเยาว์ ทรงสบาย,

    23 ส.ค. 2558 21:23

    v.1

    Ċ

    เฉลยใบงานเรื่อง โครงสร้างแบบมีทางเลือก.pdf

    (148k)

    ยุพเยาว์ ทรงสบาย,

    23 ส.ค. 2558 21:23

    v.1

    Comments

    ลักษณะการใช้งานคอมพิวเตอร์

            ลักษณะการใช้งานคอมพิวเตอร์จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับระดับผู้ใช้งานและลักษณะของงาน  ดังนั้นผู้ใช้ควรคำนึงถึงและทำความเข้าใจก่อนจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มาใช้งาน  เพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการและคุ้มค่ากับเงินที่ลงทุน

            ระดับผู้ใช้งาน  สำหรับระดับผู้ใช้งานสามารถแบ่งได้  4  กลุ่ม  ดังนี้

            1.  กลุ่มผู้ใช้งานตามบ้าน  (Home  User)  หมายถึง  ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตามบ้าน  ห้องพัก  คอนโดมิเนียม  หรือที่พักใดๆ  ก็ได้  ซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ  (Desktop Computer)  และใช้งานเพื่อความบันเทิง  เช่น  ดูหนัง  ฟังเพลง  เล่นเกม  เล่นอินเทอร์เน็ต  เป็นต้น

            2.  กลุ่มผู้ใช้ในธุรกิจองค์กรขนาดเล็ก  (Small  Business  User)  มักจะใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายภายใน  (LAN)  ส่วนใหญ่จะใช้ทำงานด้านเอกสาร  คำนวณ  ฐานข้อมูลติดต่อสื่อสาร

            3.  กลุ่มผู้ใช้นอกสถานที่  (Mobile  User)  กลุ่มนี้เป็นผู้ใช้งานที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ต่างๆ  หรือต้องเดินทางบ่อยๆ  คอมพิวเตอร์ที่ใช้มักจะเป็นคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ค  โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

            4.  กลุ่มผู้ใช้ในธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ (Large Business User)  กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ใช้ในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร , สายการบิน เป็นต้น  ซึ่งจะต้องใช้คอมพิวเตอร์หลายเครื่องและมีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป้นแบบตั้งโต๊ะหรือโน้ตบุ๊ค รวมไปถึงเครื่องมินิคอมพิวเตอร์และเมนเฟรม

            ลักษณะของการใช้งาน  นอกจากจะแบ่งตามระดับผู้ใช้งานแล้ว ยังแบ่งตามลักษณะของงานที่ใช้  เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและความคุ้มค่า  ดังนี้

            1.  งานทางด้านเอกสาร  รายงาน  หรืองานสำนักงานต่างๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานด้านนี้ไม่จำเป็นต้องเน้นคุณลักษณะของเครื่องที่สูงมากนัก

            2. งานทางด้านกราฟิก ออกแบบสิ่งพิมพ์  และสื่อโฆษณาต่างๆ งานทางด้านนี้จะต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะที่มีประสิทธิภาพสูงพอสมควร  เนื่องจากบางครั้งอาจต้องใช้โปรแกรมพร้อมๆ กันหลายๆ โปรแกรม เช่น โปรแกรม Photoshop , Illustrator ,Pacemaker เป็นต้น

            3. เล่นเกมคอมพิวเตอร์ และบันเทิงเป็นหลัก  สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานด้านนี้ต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพ ความเร็ว ความจุ หรือคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ที่สูง เพื่อให้สามารถเล่นเกมได้อย่างเต็มอรรถรสและไม่ติดขัด เนื่องจากเกมในปัจจุบันล้วนต้องการทรัพยากรของเครื่องสูงๆ 

    การเลือกคุณลักษณะของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน

            งานของเราจะสำเร็จและมีประสิทธิภาพได้ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้งาน ซึ่งจะต้องมีคุรลักษณะของฮาร์ดแวร์ รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วง และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับลักษณะของงานที่นำไปใช้  ดังนี้

            1. คุณลักษณะของฮาร์ดแวร์

                เครื่องคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบอยู่มากมาย แต่ส่วนประกอบสำคัญที่ควรให้ความสนใจในการพิจารณาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ ได้แก่

                    1. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)  ส่วนนี้เป็นตัวกำหนดความเร็วในการประมวลผล ดังนั้นในการเลือกซื้อซีพียูต้องคำนึงถึงความเร็วของซีพียู  ซึ่งมีหน่วยเป็น "เฮิรตซ์ (Hz)" ยิ่งความเร็วมากก็สามารถทำงานตอบสนองต่อการใช้โปรแกรมต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

                    2. หน่วยความจำหลัก (RAM)  สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อก็คือ ขนาดและชนิด ยิ่งหน่วยความจำหลักมีขนาดมากเท่าไรก็จะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งควรมีขนาด 128 MB เป็นอย่างต่ำ เนื่องจากปัจจุบันโปรแกรมส่วนใหญ่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และใช้หน่วยความจำมากขึ้น

                    3. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)  คอมพิวเตอร์ที่ใช้ควรมีพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูลอย่างน้อย 5 GB ขึ้นไป  เพราะว่าปัจจุบันโปรแกรมส่วนใหญ่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่จัดเก็บ

                    4. การ์ดแสดงผล (Display Card) หรือ การ์ดจอ (VGA Card)  ควรเลือกให้เหมาะสมกับงานที่นำไปใช้ ซึ่งมี 2 รูปแบบที่ติดมาพร้อมกับเมนบอร์ด (On Board) และแบบอุปกรณ์แยกต่างหาก (Graphics Card)

                    5. การ์ดเสียง (Sound Card) ควรเลือกแบบ PCI

                    6. จอภาพ (Monitor) ควรเลือกขนาด 15-17 นิ้วเป็นอย่างน้อย ซึ่งอาจเลือกใช้แบบ CRT หรือ LCD ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณ เนื่องจากจอภาพแบบ LCD จะมีราคาสูงกว่าจอภาพแบบ CRT

                    7. อุปกรณ์สำหรับอ่านเขียนซีดี/ดีวีดี (Optical Drive)  ควรเลือกซื้อให้เหมาะสมกับการใช้งานว่าใช้เพียงแค่อ่านแผ่น หรือจะใช้แบบบันทึกข้อมูลได้ด้วย และควรเลือกความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลตั้งแต่  50X  ขึ้นไป

                    8. ระบบการเชื่อมต่อเครือข่าย (Connection) มีให้เลือกใช้ทั้งแบบโมเด็มแบบภายนอก (External Modem) โมเด็มแบบภายใน (Internal Modem) และ Wireless Modem ทั้งนี้ควรเลือกความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลที่ 56 bps เป็นอย่างน้อย

                    9. พอร์ต I/O เป็นช่องสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกอื่นๆ เช่น พอร์ต USB , พอร์ต Fire-Wire (สำหรับเชื่อมต่อกับวีดิโอ) เป็นต้น

                    10. เครื่องพิมพ์ ควรเลือกใช้ให้เหมาะกับงานที่ต้องการพิมพ์ ได้แก่ เครื่องพิมพ์แบบ Dot Matrix ใช้สำหรับงานพิมพ์สำเนาเอกสาร , เครื่องพิมพ์แบบ Ink Jet ใช้สำหรับงานพิมพ์ภาพสี หรืองานกราฟฟิก และเครื่องพิมพ์แบบ Laser ใช้สำหรับงานพิมพืเอกสารข้อความที่ต้องการความละเอียดและความเร้วในการพิมพ์สูง

              2. คุณลักษณะของซอฟต์แวร์

                    การเลือกใช้งานซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงานนั้น ขึ้นอยู่กับว่าต้องการทำอะไร เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ตกแต่งภาพ เล่นอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์มีให้เลือกใช้งานกันมากมาย ซึ่งแบ่งออกได้  2  ประเภทหลักๆ ดังนี้

                    2.1  ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating  System  Software)

                            ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า โอเอส  (Operating System : OS)  เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการดังนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกัน ได้แก่

                            1)  ดอส (DOS) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามานานแล้วการใช้งานจะใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร เช่น คำสั่ง DIR ใช้ในการเรียกดูรายการไฟล์และโฟลเดอร์ทั้งหมด , คำสั่ง DEL ใช้ในการลบไฟล์ , คำสั่ง MD ใช้สร้างโฟลเดอร์ เป็นต้น

                            2) วินโดวส์  (Windows)  เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส เน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้นด้วยการใช้เมาส์คลิกคำสั่งโดยหน้าจอถูกออกแบบมาให้ง่ายต่อการใช้งาน และสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการนี้ได้รับความนิยมอย่างมากและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องหลายเวอร์ชัน ได้แก่ Windows 95 ,  Windows XP , Windows vista และ Windows 7

                            3) ยูนิกซ์ (Unix)  เป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทำให้สามารถใช้งานร่วมกันได้หลายคน โดยผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีชื่อและรหัสผ่าน

                            4) ลีนุกซ์ (Linux)  เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Freeware)  คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรม ปัจจุบันได้มีการนำระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ไปประยุกต์ใช้เป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายสำหรับงานด้านต่างๆ เช่น งานด้านการคำนวณสถานีบริหารต่างๆ , ระบบอินเทอร์เน็ตภายในองค์กร , การพัฒนาโปรแกรม เป็นต้น ปัจจุบันได้มีองค์กรต่างๆ ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการบนลีนุกซ์มากขึ้นเนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการแบบโอเพนซอร์ส (Open Source) ที่อนุญาตให้แก้ไขและเผยแพร่ซอร์สโค้ดได้อย่างอิสระ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ ลีนุกซ์ทะเล (Linux TLE) , Ubuntu และ Suriyan

    เฉลย ใบงานที่ 2.3 การเลือกใช้งาน ซอฟต์แวร์ ให้เหมาะสมกับงาน


                    2.2  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

                            ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะอย่างตามที่ต้องการโดยทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ ซึ่งบางโปรแกรมต้องซื้อมาใช้งาน (Software License) , บางโปรแกรมสามารถใช้งานได้ฟรี (Freeware) , บางโปรแกรมให้ทดลองใช้โดยจำกัดจำนวนวัน หรือจำกัดความสามารถบางอย่าง (Shareware) เช่น ใช้งานได้ 30 วัน ถ้าต้องการใช้งานโปรแกรมต่อจะต้องซื้อโปรแกรมเวอร์ชันเต็ม เป้นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์อาจแบ่งออกเป็นซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป และซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน

                            1)  ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไปหรือซอฟต์แวร์สำเร็จรูป  ที่สามารถใช้งานหลายๆ อย่าง โดยแบ่งออกเป็น 2  กลุ่ม  ดังนี้

          •  ซอฟต์แวร์ทางด้านสำนักงานเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการงานด้านสำนักงานเพื่อให้การดำเนิน  งานของธุรกิจสะดวกรวดเร็วยิ่งขั้น

                                        -  โปรแกรมพิมพ์งานหรือโปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing) ใช้สำหรับพิมพ์และจัดรูปแบบเอกสาร จดหมายเวียน ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Word เป็นต้น

                                        -  โปรแกรมตารางคำนวณ  (Spreadsheet)  ใช้ในการสร้างตาราง คำนวณหาผลลัพธ์วิเคราะห์ข้อมูล ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Excel เป็นต้น

                                        -  โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Database Management Systems)  ใช้สำหรับจัดเก็บเรียกค้น ทำรายงาน และสรุปผลข้อมูล ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Access, MySQL, SQL Server เป็นต้น

                                        -  โปรแกรมนำเสนองาน (Presentation Software)  ใช้สำหรับนำเสนอผลงานต่างๆ โดยนำเสนอได้ทั้งข้อความ แผนภูมิ กราฟ และรูปภาพ ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ เช่น Microsoft PowerPoint เป็นต้น

          •  ซอฟต์แวร์ทางด้านติดต่อสื่อสาร  เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายเพื่อใช้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต เช่น รับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ , โอนถ่ายหรือและเปลี่ยนข้อมูล , อ่านข่าวสาร เป็นต้น

                                        -  โปรแกรมค้นดูเว็บ (Web Browser) ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Internet Explorer , Mozilla Firefox , Opera  เป็นต้น

                                        -   โปรแกรมจัดการอีเมล  ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ เช่น Outlook Express , Microsoft Outlook  เป็นต้น

                            2)  ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน  เป็นซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาตามรูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้นๆ เช่น โปรแกรมระบบบัญชี  โปรแกรมเพื่องานออกแบบ  โปรแกรมช่วยงานอุตสาหกรรม  โปรแกรมเช้าซื้อ  เป็นต้น

          •  ซอฟต์แวร์ทางด้านมัลติมีเดีย  เป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นความบันเทิงทุกรูปแบบ

                                                    -  โปรแกรมเล่นไฟล์มีเดีย (Media Player) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับดูหนัง  ฟังเพลง หรือเล่นไฟล์มีเดียต่างๆ ทุกรูปแบบ  ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ ได้แก่ CyberLink  PowerDVD , Microsoft Media Player, RealPayer , QuickTime , Winamp เป็นต้น

                                        -  โปรแกรมตัดต่อวีดิโอ (Video Editing)  เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานตัดต่อหรือสร้างวีดิโอ ภาพยนตร์  ตัวอย่างเช่น  Windows Movie Maker , Ulead VideoStudio  เป็นต้น

                                        -  โปรแกรมกราฟิก  (Graphic Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ปรับแต่งหรือสร้างภาพกราฟิก , ภาพเคลื่อนไหว (Animation)  รวมถึงภาพวัตถุ 3 มิติ ตัวอย่างเช่น Adobe Photoshop , Adobe Fireworks , Adobe Illustrator , CorelDRAW , Xara X  เป็นต้น

                                        -  ซอฟต์แวร์ช่วยในการเรียนการสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI)  เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสร้างหรือเป้นสื่อในการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งภายในสื่อจะประกอบด้วยข้อความ  รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว  เสียง  ทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ ตัวอย่างเช่น Authorware , I Love Library  เป็นต้น

          •  ซอฟต์แวร์อเนกประสงค์ (Utilities Software)  เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยจัดการคอมพิวเตอร์  ระบบปฏิบัติการ  รวมทั้งโปรแกรมต่างๆ  ตัวอย่างเช่น  โปรแกรม  Winzip ใช้ย่อและแตกไฟล์ขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง , โปรแกรม Adobe Acrobat ใช้อ่านไฟล์เอกสารรูปแบบ PDF , โปรแกรม McAfee virus scan  ใช้สำหรับตรวจสอบและป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์  เป็นต้น
          •  ซอฟต์แวร์เพื่องานออกแบบ (Computer-Aided Design : CAD)  เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ และงานออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ตัวอย่างเช่น AutoCAD , AutoLISP และ DesignCAD เป็นต้น
          •  ซอฟต์แวร์ทางด้านธุรกิจ (Business Management Software)  เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการทำงานทางด้านธุรกิจเฉพาะงานใดงานหนึ่ง ทำให้การดำเนินงานของธุรกิจสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น โปรแกรมระบบบัญชี , โปรแกรมซื้อขาย , โปรแกรมสินค้าคงคลัง , โปรแกรมเช่าซื้อเงินผ่อน เป็นต้น

    เฉลย ใบงานที่ 2.3 การเลือกใช้งาน ซอฟต์แวร์ ให้เหมาะสมกับงาน

                    2.3  การเลือกใช้ปรเภทซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน

                            ซอฟต์แวร์มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท  ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน ซึ่งซอฟต์แวร์ฟรีจะเป็นโปแกรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย  ไม่ละเมิดสิทธิ์  สามารถแบ่งประเภทซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้ดังนี้

                            1)  แบบใช้งานฟรี (Freeware)  เป็นโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ฟรีโดยไม่จำกัดระยะเวลาและไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ แต่อาจจำกัดสิทธิ์ในการใช้งานให้ทดลองใช้งานได้ในบางคุณสมบัติเท่านั้นเพื่อตัดสินใจซื้อเวอร์ชันสมบูรณ์ภายหลัง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้เรียกอีกอย่างว่า  Demo version

                            2)  แบบทดลองใช้ (Shareware)  เป็นโปรแกรมที่แจกให้ทดลองใช้งานก่อน  โดยจะจำกัดความสามารถการใช้งานบางส่วนไว้ และจำกัดในเรื่องของระยะเวลาในการทดลองใช้  เช่น  30  วัน , 60 วัน เป็นต้น  หลังจากนั้นถ้าต้องการใช้งานต่อก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อโปรแกรมเวอร์ชันสมบูรณ์ ซอฟต์แวร์ประเภทนี้เรียกว่า  Trial Version


               3.  การกำหนดคุณลักษณะของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน

                    ในการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งานควรเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะ (Specification)  ที่สามารถรองรับการทำงานได้เป็นหลัก  ดังนี้

                    1) สำหรับงานพื้นฐานทั่วไป  เช่น นำไปใช้สร้างเอกสาร รายงาน  รวมถึงดูหนัง  ฟังเพลง  เล่นอินเทอร์เน็ต  เป็นต้น  ซึ่งไม่เน้นความเร็วมากนัก  ดังนั้นการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเน้นเทคโนโลยีหรือคุณลักษณะของเครื่องสูง

                    2) สำหรับงานด้านกราฟิก เช่น การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ตกแต่งภาพ งานเขียนโปรแกรม งานสามมิติ  เป็นต้น  ควรใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง  และเน้นความเร็ว

                    3)  สำหรับเล่นเกมคอมพิวเตอร์  ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพสูง  ทั้งความเร็ว  ความจุ  และมาตรฐานของอุปกรณ์ต่างๆ  เพื่อให้สามารถเล่นเกมได้อย่างเต็มอรรถรส

                    ดังนั้นในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ ควรจะต้องศึกษาและคำนึงถึงความเหมาะสมกับงาน  ความคุ้มค่าและประสิทธิภาพการทำงานด้วย 

    การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

            ในปัจจุบันการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์  แบ่งออกได้  3  กลุ่ม  ดังนี้

            1. กลุ่มที่เลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบขายเป็นชุด  คอมพิวเตอร์แบบนี้จะเป็นคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ (Brand name) เช่น Powell, Acer , Atec , SVOA เป็นต้น เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความสะดวก ไม่ต้องเสียเวลาเลือกซื้อมากนัก

            2. กลุ่มที่เลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบสั่งประกอบ คอมพิวเตอร์แบบนี้ผู้ใช้งานจะเป็นผู้สั่งคุณลักษณะของฮาร์ดแวร์ (Spec) เช่น จะใช้ซีพียูอะไร ความเร็วเท่าไร  หน่วยความจำเท่าไร เป็นต้น ซึ่งสามารถสั่งประกอบได้ตามร้านคอมพิวเตอร์ทั่วไป

            3. กลุ่มที่เลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบประกอบเอง  คอมพิวเตอร์แบบนี้จะเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์บ้าง  โดยหาซื้อตามร้านจำหน่ายคอมพิวเตอร์แล้วนำมาประกอบเองที่บ้าน

     ประเภทการเลือกซื้อ ข้อดี  ข้อเสีย 
     คอมพิวเตอร์แบบขายเป็นชุด -  มีบริการหลังการขายที่ดี
    -  เมื่อเครื่องมีปัญหาหรือเสียสามารถส่งซ่อมได้ทันที
    -  มีการรับประกัน สามารถเคลมอุปกรณ์ที่เสียได้
    -  มีคุณภาพได้มาตรฐาน 
     -  ไม่สามารถเลือกคุณลักษณะของฮาร์ดแวร์ที่ต้องการได้
     -  เครื่องมีราคาสูง
     คอมพิวเตอร์แบบสั่งประกอบ -  สามารถเลือกหรือปรับเปลี่ยนคุณลักษณะของฮาร์ดแวร์ได้ตามต้องการ
    -  ราคาถูก(ขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์และร้านที่เลือกซื้อ) 
     -  จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์
     -  อาจได้สินค้าปลอมหรือไม่ตรงคุณลักษณะที่สั่งประกอบ
     คอมพิวเตอร์แบบประกอบเอง - สามารถเลือกหรือปรับเปลี่ยนคุณลักษณะของฮาร์ดแวร์ได้ตามต้องการ
    - ราคาถูก (ขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์และร้านที่เลือกซื้อ) 
     -  จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เนื่องจากต้องติดตั้งลงโปรแกรมเอง รวมถึงแก้ไขเองเวลามีปัญหา

    ตรวจสอบคุณลักษณะเครื่องคอมพิวเตอร์

            หากต้องการทราบคุณลักษณะของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ว่าใช้ระบบปฏิบัติการอะไร ความเร็วซีพียูเท่าใด หน่วยความจำมีขนาดเท่าใด ก็สามารถทำได้ดังนี้

            1. การตรวจสอบความเร็วซีพียู หน่วยความจำ และระบบปฏิบัติการ

                สำหรับระบบปฏิบัติการ Window XP หลังจากเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแล้ว ให้ทำดังนี้

                    1) คลิกเมาส์ขวาที่ไอคอน My Computer

                    2) เลือกรายการ Properties

                    3) คลิกที่แท็บ General ในไดอะล็อกบ็อกซ์ System Properties

                    4) ในส่วน System จะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ

                    5) ในส่วน Computer จะแสดงซีพียูที่ใช้งาน

                    6) ความเร็วซีพียูที่ใช้งาน

                    7) ขนาดหน่วยตวามจำของเครื่องคอมพิวเตอร์

    เฉลย ใบงานที่ 2.3 การเลือกใช้งาน ซอฟต์แวร์ ให้เหมาะสมกับงาน

    เฉลย ใบงานที่ 2.3 การเลือกใช้งาน ซอฟต์แวร์ ให้เหมาะสมกับงาน

                 สำหรับระบบปฏิบัติการ Window Vista , Window 7 หลังจากเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแล้ว ให้ทำดังนี้

                    1) คลิกเมาส์ขวาที่ไอคอน My Computer

                    2) เลือกรายการ Properties

                    3) ในส่วน Windows edition จะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ

                    4) ในส่วน System จะแสดงซีพียูที่ใช้งานและความเร็วซีพียูที่ใช้งาน

                    5) ขนาดหน่วยตวามจำของเครื่องคอมพิวเตอร์

    เฉลย ใบงานที่ 2.3 การเลือกใช้งาน ซอฟต์แวร์ ให้เหมาะสมกับงาน
        
    เฉลย ใบงานที่ 2.3 การเลือกใช้งาน ซอฟต์แวร์ ให้เหมาะสมกับงาน

            2. ตรวจสอบขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์

                หากต้องการทราบว่าฮาร์ดิสก์มีขนาดเท่าใด และยังมีพื้นที่เหลืออยู่เท่าใดก็สามารถทำได้โดยดับเบิลคลิกไอคอน My Computer จากนั้นหน้าต่าง My Computer จะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับไดรฟ์ทั้งหมด ถ้าต้องการทราบขนาดพื้นที่ทั้งหมดของไดรฟ์นั้นให้ดูค่าที่คอลัมน์ Total Size และถ้าต้องการทราบขนาดพื้นที่ที่ยังว่างของไดรฟ์ที่เลือกให้ดูค่าที่คอลัมน์ Free Space