ใครเป็นผู้กอบกู้กรุงศรีอยุธยาครั้งที่1



วันที่ 28 ธันวาคม เป็นวันคล้ายวันปราบดาภิเษกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงกอบกู้เอกราชจากพม่าให้แก่ประเทศไทย และเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรีเพียงพระองค์เดียว

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีพระนามเดิมว่า “สิน” (ชื่อจีนเรียกว่า เซิ้นเซิ้นซิน) พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 พระราชบิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ชื่อ “นายไหฮอง” ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ “นางนกเอี้ยง” ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (สมเด็จพระธรรมราชาธิราชที่ 3) ซึ่งเจ้าพระยาจักรีได้ทรงขอไปอุปการะเป็นบุตรบุญธรรมตั้งแต่ครั้งเยาว์วัย ต่อมาเมื่ออายุครบ 13 ปี เจ้าพระยาจักรีได้ทรงนำตัวเด็กชายสินไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครั้น พ.ศ. 2301 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ 3 เดือนเศษ ก็ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเชษฐาธิราช “สมเด็จพระบรมราชาที่ 3” (สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์) สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์โปรดเกล้าฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงาน เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ไปชำระความที่หัวเมืองฝ่ายเหนือ ซึ่งปฏิบัติราชการได้รับความดีความชอบมากจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองตาก ช่วยราชการพระยาตากครั้นพระยาตากถึงแก่กรรม ก็ทรงโปรดให้เลื่อนเป็น “พระยาตาก ปกครองเมืองตาก” พระราชกรณียกิจสำคัญของพระเจ้ากรุงธนบุรี

1. การกู้เอกราช เมื่อปี พ.ศ. 2309 พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในสมัยพระเจ้าเอกทัศ และได้เสียกรุงแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 เหตุการณ์ในกรุงศรีอยุธยาขณะนั้นเกิดความระส่ำระสาย ทหารพม่าได้ล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ พระยาตากเห็นว่าคงสู้พม่าไม่ได้แล้ว จึงนำทหารจำนวนหนึ่งตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมา และได้รวบรวมกำลังอยู่ที่เมืองจันทบุรี แล้วยกทัพกลับไปตีพม่าที่กรุงศรีอยุธยา ทัพของพระยาตากสามารถตีพม่าจนแตกพ่ายไป พระยาตากสามารถรวบรวมผู้คนกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาจากพม่าได้ภายในเวลา 7 เดือน

2. การสร้างและสถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง หลังจากได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้แล้ว พระองค์ทรงเห็นว่าทางกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาผลาญเสียหายมากและยากที่จะฟื้นฟูให้เจริญเหมือนเดิมได้ พระองค์จึงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบรี แล้วทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระบรมราชาธิราชที่ 4 ทรงครองกรุงธนบุรีอยู่ 15 ปี นับว่าเป็นกษัตริย์พระองค์เดียวที่ปกครองกรุงธนบุรี

3. พระราชกรณียกิจอื่นๆ นอกจากจะทรงกู้เอกราชและทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงแล้ว พระองค์ยังได้ทรงขยายอาณาเขตโดยตีเวียงจันทน์ได้ และทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ที่เมืองหลวง ทรงทำนุบำรุงศาสนา และทรงส่งเสริมให้คนแต่งหนังสือต่างๆ ขึ้น เพราะหนังสือตำราอันมีค่าถูกพม่าเผาไปเกือบหมด ทรงเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎรเป็นอย่างดีแม้ว่าจะต้องทำสงครามกับพม่าตลอดเวลาก็ตาม

พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อพระชนมพรรษา 48 พรรษา หลังถูกสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกซึ่งเป็นพระสหายสำเร็จโทษ และสืบราชสมบัติต่อเป็นต้นราชวงศ์จักรีในปัจจุบัน รวมเวลาครองราชย์ 15 ปี พระองค์มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 30 พระองค์ พระองค์ทรงเป็นวีรกษัตริย์ของชาติไทยที่ประชาชนรู้จักดีและเป็นที่เคารพสักการะมากที่สุดพระองค์หนึ่ง นอกจากนี้ยังมีพระบรมราชานุสรณ์ของพระองค์ประดิษฐานมากที่สุด

คณะรัฐมนตรีจึงประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระองค์ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" เพื่อยกย่องพระองค์เป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของชาติไทย ผู้กอบกู้เอกราชให้ชาติไทย และได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงเครื่องขัตติยาภรณ์ ประทับเหนืออัศวราชพาหนะ พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ ประดิษฐานบนแท่งคอนกรีตเสริมเหล็ก ณ บริเวณวงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี



  • สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    พระเจ้าตากสิน ทรงรบทำศึก ปราบปรามขุนศึก พิชิต ก๊กต่าง ๆ เพื่อที่จะรวบรวมผนวกแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น เป็นอาณาจักร ปกครองดินแดน มีอาณาเขตที่กว้างใหญ่ไพศาลมากที่สุด ในประวัติศาสตร์ของการสร้างชาติไทย ดร.รัตติกร ทองเนตร กล่าวต่อไปว่า ดิฉันขอแสดงความยินดีกับทุกโรงเรียนนการประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อรับตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย” ในปีการศึกษา 2562 นับเป็นเกียรติประวัติของโรงเรียนทั้ง 57 แห่ง ที่ผ่านการประเมินรอบที่ 1 รอบที่ 2 และรอบที่ 3 การผ่านการประเมินเป็นการแสดงถึงศักยภาพของคุณครูปฐมวัยที่ตั้งใจ การพัฒนาการจัดกิจกรรมการทดลองตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ปีการศึกษา 2562 การจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ซึ่งกิจกรรมการทดลองและการทำโครงงานวิทยาศาสตร์นั้นจะได้ช่วยส่งเสริมพัฒนาการต่างๆ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา และยังเป็นการพัฒนา ทักษะ กระบวนการ และคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยที่จะเป็นรากฐานที่ดีของการพัฒนาคุณภาพของพลเมืองไทยในอนาคต ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยต่อไป และประสบผลสำเร็จในการพัฒนาความก้าวหน้าด้านวิชาชีพ และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยสืบไป

พระเจ้ากรุงธนบุรี หรือที่รู้จักกันดีในนามพระเจ้าตาก เป็นผู้กอบกู้เอกราชของสยามจากพม่าในปี พ.ศ.2310 โดยทรงยกทัพตีฝ่าวงล้อมของพม่า หวังจะรวบรวมไพร่พลมากอบกู้เอกราช ในอันดับแรก ทรงยกทัพไปทางดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออกเพื่อรวบรวมกำลังพลแล้วจึงทรงยกทัพไปปราบพม่าที่ยังอยู่ในดินแดนสยามและกอบกู้เอกราชได้ในที่สุด

Advertisment

แต่รู้หรือไม่ว่า ไพร่พลที่พระเจ้าตากทรงรวบรวมนั้นเป็นใคร พระองค์ต้องประสบปัญหาอะไรในการรวบรวมไพร่พลบ้าง ในบทความนี้จะนำท่านผู้อ่านไปพบกับคำตอบเหล่านั้นด้วยบทความ “พระเจ้าตากสินกับการปราบปรามโจรสลัดในชายฝั่งทะเลตะวันออก” โดย กำพล จำปาพันธ์ ตีพิมพ์ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนสิงหาคม 2560

ใครเป็นผู้กอบกู้กรุงศรีอยุธยาครั้งที่1
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่สวนสาธารณะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ทุ่งนาเชย) จ.จันทบุรี

ทำไมต้องเป็นหัวเมืองตะวันออก

ดินแดนบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกนั้นอุดมไปด้วยทรัพยากร จึงมีการซ่องสุมกำลังเพื่อปล้นสะดมพ่อค้าวาณิช ซึ่งผู้ที่ซ่องสุมกำลังล้วนแล้วแต่เป็นผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นทั้งนั้นที่จะเป็นใหญ่และได้รับการยอมรับจากชาวบ้านพื้นถิ่น เนื่องจากหัวเมืองชายทะเลอยู่ห่างไกลจากอำนาจการปกครองของส่วนกลางจึงยากต่อการควบคุม

Advertisement

เมื่อพระเจ้าตากทรงยกทัพมารวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช จึงต้องทรงปราบปรามผู้มีอิทธิพลเหล่านั้น อันจะมาเป็นกำลังพลสำหรับกอบกู้เอกราชของสยามประเทศ และเป็นพลเมืองในพระราชอาณาจักรของพระองค์ต่อไป

ใครเป็นผู้กอบกู้กรุงศรีอยุธยาครั้งที่1
จิตรกรรมฝาผนังแสดงเหตุการณ์ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าตากกับพวกได้ฝ่าวงล้อมของพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา ภาพนี้จัดแสดงในอาคารภาพปริทัศน์ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ จ.ปทุมธานี

กอบกู้เอกราช

ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 พระเจ้าตากและพวกได้ฝ่าวงล้อมของพม่า ยกทัพมายังดินแดนเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อรวบรวมผู้คน เสบียงอาหาร ตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อกลับมากอบกู้เอกราชจากพม่า

ระหว่างการเดินทัพของพระองค์ต้องรบกับผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นขุนหมื่นทนายที่บ้านดง (แขวงนครนายก) หลวงพลแสนหาญ ขุนจ่าเมือง ที่มาปล้นค่ายที่วัดลุ่ม (วัดลุ่มมหาชัยชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดระยอง) หรือนายทองอยู่นกเล็กที่บางปลาสร้อย (ชลบุรี) เป็นต้น ซึ่งคนเหล่านี้เป็นกลุ่มคนผู้มีอิทธิพลที่มีพื้นที่อิทธิพลอยู่ในดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออกที่ดักปล้นสะดมสินค้ามีค่าของพ่อค้าที่เดินทางผ่านมา

Advertisement

ใครเป็นผู้กอบกู้กรุงศรีอยุธยาครั้งที่1

กลุ่มผู้มีอิทธิพลที่สำคัญ

กลุ่มผู้มีอิทธิพลในดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออกนั้นมีอยู่หลากหลายแห่ง พระเจ้าตากจึงต้องทรงใช้วิธีการปราบที่แตกต่างกันออกไป ทั้งเจรจา ทำศึก หรือบางแห่งก็มาสวามิภักดิ์เลยก็มี ซึ่งกลุ่มผู้มีอิทธิพลที่เข้มแข็งที่สุดนั่นคือ ขุนรามหมื่นซ่อง ที่ปากน้ำประแส

ยุทธวิธีที่พระองค์ทรงใช้กำจัดขุนรามหมื่นซ่องคือตัดกำลังของข้าศึก โดยเกลี้ยกล่อมให้ชาวบ้านในเขตอิทธิพลของขุนรามหมื่นซ่องมาเข้าข้างพระองค์ แล้วจึงทรงเปิดฉากการปราบปรามขุนรามหมื่นซ่องอย่างเต็มรูปแบบ เมื่อพระองค์ได้รับชัยชนะแล้ว ขุนรามหมื่นซ่องได้หลบหนีไปอาศัยอยู่กับพระยาจันทบุรี พระเจ้าตากจึงยกทัพติดตามไปเจรจาขอตัวต่อพระยาจันทบุรี แต่พระยาจันทบุรีไม่ยอมส่งตัวคืนให้ จึงต้องรบกับเมืองจันทบุรีจนเมืองแตกพ่ายไปในที่สุด

ใครเป็นผู้กอบกู้กรุงศรีอยุธยาครั้งที่1
ภาพเรือสาเภาค้าขายของพ่อค้าจีน จิตรกรรมฝาผนังภายในโบสถ์เก่าวัดโขดทิมธาราม อ.เมือง จ.ระยอง

ฟื้นฟูบ้านเมือง

ครั้นพระเจ้าตากทรงเสร็จการศึกแล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่ากรุงศรีอยุธยานั้นมิได้บอบช้ำเสียหายจากการศึกสงครามเพียงอย่างเดียว แต่ผลกระทบของสงครามทำให้บ้านเมืองไร้ขื่อแป ไร้กฎระเบียบ มีการซ่องสุมกำลัง โจรผู้ร้ายคอยดักปล้นพ่อค้าวาณิชเนื่องจากความขาดแคลนปัจจัย 4 ทำให้พ่อค้าจากต่างแดนไม่กล้าเข้ามาค้าขายในดินแดนสยามประเทศ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลง

จึงทรงต้องฟื้นฟูระเบียบแบบแผนของบ้านเมืองโดยการปราบปรามผู้มีอิทธิพลต่างๆ ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่และคอยปล้นสะดมเหล่าพ่อค้าทั้งทางบกและทางเรือ อันเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างประเทศ สร้างกฎหมายที่เป็นธรรมต่อการค้ากับต่างประเทศ ชาวต่างชาติที่จะเข้ามาค้าขายก็เกิดความรู้สึกปลอดภัย ทำให้บ้านเมืองมีความสงบสุขเรื่อยมา ดังจะเห็นได้จากพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ที่บันทึกไว้ว่า

“ในขณะนั้นบรรดานายชุมนุมทั้งปวง ซึ่งคุมพรรคพวกตั้งอยู่ในแขวงอำเภอหัวเมืองต่างๆ และรบพุ่งชิงอาหารกันอยู่แต่ก่อนนั้น ก็สงบราบคาบลงทุกๆ แห่ง มิได้เบียดเบียนแก่กันสืบไป ต่างเข้ามาถวายตัวเป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาท ได้รับพระราชทานเงินทองและเสื้อผ้า และโปรดชุบเลี้ยงให้เป็นขุนนางในกรุงและหัวเมืองบ้าง บ้านเมืองก็สงบปราศจากโจรผู้ร้าย และราษฎรก็ได้ตั้งทำไร่นา ลูกค้าวานิชก็ไปมาค้าขาย ทำมาหากินเป็นสุข ข้าวปลาอาหารก็ค่อยบริบูรณ์ขึ้น คนทั้งหลายก็ค่อยได้บำเพ็ญการกุศลต่างๆ ฝ่ายสมณสากยบุตรในพระพุทธศาสนาก็ได้รับบิณฑบาตจตุปัจจัย ค่อยได้ความสุขบริบูรณ์”

เมื่อพระเจ้าตากทรงรวบรวมไพร่พลจากดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออกไว้ได้ จึงยกทัพชาวหัวเมืองตะวันออกที่สวามิภักดิ์ต่อพระองค์ไปกอบกู้เอกราชแห่งสยามประเทศให้เป็นแผ่นดินที่ชาวไทยได้อาศัยอยู่จนถึงทุกวันนี้