อนาถบิณฑิกะเป็นใครเป็นแบบอย่างการปฏิบัติด้านใดบ้าง

อนาถบิณฑิกเศรษฐี บุรุษผู้มีแต่ให้

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ”เมื่อแรกที่ได้ยินชื่อของอุบาสกท่านนี้ หลายคนคงสงสัยอยู่ครามครันว่า ชื่อแปลกๆ ที่ว่านี้มีความหมายว่าอย่างไร จนเมื่อศึกษาประวัติชีวิตจนเห็นความเป็นเลิศด้านการทำทานของท่าน จึงได้ประจักษ์ว่า “อนาถบิณฑิก” ที่แปลว่า“ผู้มีก้อนข้าวสำหรับคนอนาถา”เป็นชื่อที่เหมาะสมกับเศรษฐีใจบุญท่านนี้เป็นอย่างยิ่ง

อนาถบิณฑิกเศรษฐี มีนามเดิมว่า“สุทัตตะ”ก่อนที่จะมอบศรัทธาแด่พระพุทธศาสนานั้น ท่านเศรษฐีเคยนับถือนักบวชปริพาชกมาก่อน จนวันหนึ่งท่านเดินทางไปหาสหาย ณ ต่างเมือง แล้วพบว่าบริวารของสหายต่างสาละวนตระเตรียมภัตตาหารสำหรับถวายพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ผู้ติดตาม ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงเริ่มมีจิตเคารพในบารมีของพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนั้น

ความเลื่อมใสที่มีต่อพระพุทธเจ้าทำให้ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีไม่อาจข่มตาให้หลับลงได้ จึงตัดสินใจเดินเท้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และมีโอกาสได้ฟังธรรมจากพระโอษฐ์ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงเกิดดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบันในคืนนั้นเอง

ด้วยศรัทธาที่มีต่อพระธรรมที่ได้สดับฟัง ท่านเศรษฐี จึงปวารณาตนเป็นพุทธมามกะ ตั้งใจอุทิศทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์เพื่อทำนุบำรุงพระศาสนาอย่างสุดกำลัง ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีประสงค์จะสร้างวัดในเขตเมืองสาวัตถีที่ตนอาศัยอยู่ เพื่อจะได้อัญเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับ แม้ว่าเจ้าเชตราชกุมารเจ้าของที่ดินจะมีเงื่อนไขว่าท่านเศรษฐีต้องนำเงินกหาปณะ(มาตราเงินในสมัยโบราณ 1 กหาปณะเท่ากับ 4 บาท) มาปูลาดให้เต็มพื้นที่ที่จะใช้สร้างวัดทั้งหมด

แต่ถึงกระนั้นศรัทธาของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็มิได้โยกคลอน ท่านทำตามเงื่อนไขที่ว่านั้นอย่างเต็มใจในที่สุดเมืองสาวัตถีจึงมีวัดที่สงบสงัดเหมาะจะใช้ต้อนรับพระพุทธเจ้าและพระสาวกอนาถบิณฑิกเศรษฐีตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดพระเชตวันมหาวิหาร”เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าเชตราชกุมาร

การสร้างวัดครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสละทรัพย์สินไปจำนวนมหาศาล แต่ภารกิจที่ท่านปวารณาตนเพื่อพุทธศาสนานั้นยังไม่สิ้นสุด ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐียังคงเดินหน้ารับใช้พระศาสนาอย่างเต็มที่ ท่านมีดำริจะสร้างกัปปียกุฎี (เรือนเก็บของ) วัจกุฎี (ส้วม) สระโบกขรณี (สระบัว) แม้แต่ศาลารายที่พระสงฆ์ใช้สำหรับค้างแรมในยามจาริกเดินทาง ก็ถือเป็นภารกิจที่ท่านเศรษฐีน้อมรับอย่างเต็มใจ

แม้ทรัพย์สมบัติจะพร่องไปจากเดิม หนำซ้ำท่านยังถูกพ่อค้าต่างเมืองโกงทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก แต่นั่นมิได้ทำให้ความใจบุญสุนทานของท่านเศรษฐีลดน้อยถอยลงองค์ทานของท่านยังคงมีจำนวนเท่าเดิม แต่ลดคุณภาพลงบ้างตามกำลังทรัพย์ แต่จิตใจของท่านยังคงตั้งมั่นในการบำเพ็ญทานอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ในที่สุดเทวดาที่สถิตในซุ้มประตูที่เคยไม่เห็นด้วยกับการให้ทานของท่านเศรษฐีก็เข้าใจในเจตนาของท่าน และจำแลงกายไปทวงเงินคืนให้แก่ท่านเศรษฐี เพื่อเป็นการไถ่โทษที่เคยพยายามขัดขวางการให้ทานของท่านเศรษฐี

นอกจากนี้ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐียังสนับสนุนให้ลูกเมียและญาติมิตรบริวารถืออุโบสถศีล และพยายามออกอุบายให้บุตรชายที่มีจิตใจห่างเหินจากพระพุทธศาสนาได้มีโอกาสเข้าถึงรสพระธรรม ผู้คนที่แวดล้อมเศรษฐีท่านนี้ จึงได้อยู่ในวงล้อมแห่งบุญที่ท่านบำเพ็ญอยู่เป็นนิจไปด้วย

เรื่องราวของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีน่าจะทำให้หลายคนฉุกคิดว่า แม้จะมีชีวิตร่ำรวยหรูหรา แต่ท่านเศรษฐีก็มิได้ลุ่มหลงไปกับลาภยศสรรเสริญ หากพิจารณาจากศรัทธาที่ท่านมอบแด่พุทธศาสนาและน้ำจิตน้ำใจที่ท่านมีให้เพื่อนมนุษย์จะพบว่า ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้น้อมนำหลักธรรม เช่น การประกอบสัมมาอาชีพและการให้ทานมาปฏิบัติเพื่อให้ชีวิตทางโลกสุขสงบได้อย่างแท้จริง

เรื่อง อิสระพร บวรเกิด


บทความที่น่าสนใจ

ไข 7 ข้อคาใจเกี่ยวกับการทำบุญ

หลักการให้ทาน 3 ประการ ที่ทำให้ทานสมบูรณ์แบบ

1 บาท รักษาทุกโรค! คุณสุรัตน์ วงศ์ชาญศิลป์

7 คมความคิดของแจ็ค หม่า มหาเศรษฐีผู้ประสบความสำเร็จระดับโลก

จอห์น พอล โจนส์ เดอโจเรีย จากคนไร้บ้านสู่มหาเศรษฐีพันล้าน

กว่าจะมีวันนี้ “ โจว ฉุนเฟย ” เศรษฐีจีน ผู้เป็นต้นแบบของความเพียร

7 วลีเด็ดสู่ความสำเร็จของ มหาเศรษฐีฟอร์บส

10 แนวคิดโดนใจจาก วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีระดับโลก

กชพรรณ วิรุฬห์รักษ์สกุล จากแม่ค้าเร่สู้ชีวิต สู่เศรษฐีร้อยล้าน

Secret คือแรงบันดาลใจ
สั่งซื้อนิตยสารหรือสมัครสมาชิก Secret ได้ที่ 0-2423-9889
ทาง Naiin.com : https://www.naiin.com/magazines/title/SC/

  

อนาถบิณฑิกะเป็นใครเป็นแบบอย่างการปฏิบัติด้านใดบ้าง
 

ประวัติอนาถบิณฑิกะเศรษฐี

       ชาติภูมิ

  อนาถบิณฑิกะเศรษฐี (อ่านว่า อะนาถะบิณฑิกะ)เป็นบุตรชายของสุมะนะเศรษฐี เกิดที่เมืองสาวัตถี สุมะนะเศรษฐีและภรรยาได้ตั้งชื่อให้ว่า “สุทัตตะ”  พอเศรษฐีเติบโตขึ้นก็เป็นคนใจบุญมีเมตตากรุณาแก่คนยากคนจนทั้งหลายจึงได้เตรียมข้าวปลาอาหารไว้แจกให้คนยากจนทุกวันมิได้ขาด ต่อมาเมื่อบิดามารดาถึงแก่กรรมไปแล้วท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีแทนบิดา ท่านให้ตั้งโรงทานที่หน้าบ้านเพื่อแจกจ่ายอาหารแก่คนยากจนทุกวัน จนกระทั่งประชาชนทั่วไปเรียกท่านตามลักษณะนิสัยว่า “อนาถบิณฑิกะ” ซึ่งแปลว่า “ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนยากจน” และได้เรียกกันต่อมาจนบางคนได้ลืมชื่อเดิมของท่านไปเลย  คนทั้งหลายจึงตั้งชื่อให้ท่านใหม่ว่า “อนาถบิณฑิกะ” ได้ชื่อใหม่เพราะชอบให้ทาน

  อนาถบิณฑิกะเศรษฐีเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการค้ามากจึงทำให้กิจการค้าของท่านเจริญรุ่งเรืองยิงกว่าในสมัยของบิดา อนาถบิณฑิกะเศรษฐีได้แต่งงานกับนางบุญญะลักขะณาผู้ที่เป็นน้องสาวของเศรษฐีแห่งเมืองราชคฤห์ผู้ที่เป็นสหายกันมีบุตรธิดาด้วยกัน ๔ คน คือ:-

  ๑.นางมหาสุภัททา

  ๒.นางจุฬะสุภัททา  (ต่อไปจะไม่ใส่สระ " ะ " ที่ฬ)

  ๓.นางสาวสุมะนาเทวี

  ๔.นายกาละ

  ธิดาทั้ง ๓ คนได้เป็นกำลังสำคัญและได้แบ่งเบาภาระที่สำคัญในการทำบุญของท่านเศรษฐีมาก  เพราะธิดาทั้ง ๓ คนนี้เป็นคนฉลาดในการจัดแจงเรื่องการทำบุญและควบคุมคนใช้บริวารให้รู้ตำแหน่งหน้าที่ของตนเป็นอย่างดีการทำบุญเลี้ยงพระ ๕๐๐ รูปซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานนี้ไม่เรื่องง่าย ด้วยเหตุที่นางทั้ง ๓ คนได้ทำบุญเลี้ยงพระกับบิดาอยู่บ่อยๆจึงทำให้นางฉลาดในการจัดเตรียมไทยทานที่จะถวายพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ๕๐๐ รูปได้เป็นอย่างดี ทำบุญเลี้ยงพระไปด้วยฟังเทศน์ไปด้วยทำให้นางกลายเป็นพระอริยบุคคลไปอย่างไม่รู้ตัว  นางมหาสุภัททาและนางจุฬสุภัททาได้เป็นพระอริยบคคลในขั้นโสดาบัน ส่วนนางสุมะนาเทวีได้เป็นพระอริยบุคคลในขั้นสะกะทาคามี

   เรื่องของนางมหาสุภัททา 

  นางมหาสุภัททาเป็นลูกสาวคนโตที่ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีได้มอบภาระหน้าที่ให้ดูแลกิจการค้าแทนในตอนท่านเศรษฐีได้รู้จักกับพระพุทธเจ้าหลังจากท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีได้รูจักกับระพุทธเจ้าและได้ฟังพระธรรมเทศนาจนบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลในขั้นโสดาบันแล้วก็เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากจึงอุทิศตนเป็นอุบาสกบำรุงเลี้ยงดูพระสงฆ์ที่มาจำพรรษาในพระเชตวันมหาหารจนไม่ค่อยมีเวลามาดูแลกิจการค้าได้เต็มเวลาเหมือนแต่ก่อนจึงได้มอบภาระหน้าที่นี้ให้นางมหาสุภัททาเป็นคนดูแลแทนท่านจะดูแลในธุรกิจที่ใหญ่ๆและคอยตัดสินใจในเรื่องที่นางมหาสุภัททาตัดสินใจไม่ได้  นางเป็นลูกสาวที่มีความสามารถในการช่วยเหลือกิจการของบิดาได้เป็นอย่างดีและยังเป็นผู้จัดเตรียมไทยทานที่จะทำบุญเลี้ยงพระแทนบิดาอีกด้วยเมื่อได้ทำบุญบ่อยๆและฟังเทศน์ไปด้วยทำให้นางได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน  ต่อมาไม่นานนางก็แต่งงานและได้ย้ายไปอยู่ในกุลของสามีเรี่องของนางก็ได้จบลงแค่นี้  ก่อนที่จะผ่านเรื่องของนางไปข้าพเจ้าผู้เขียนอยากจะนำเอาเรื่องของพระโสดาบันมาเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังว่ามันหมายถึงอะไร?  พระโสดาบันคืออะไร?  นี้คือข้อสงสัยที่เกิดขึ้นในใจใช่ไหม?  ข้าพเจ้าจะอธิบายให้ผู้อ่านรู้ในคราวเดียวกันเลยต่อไปข้างหน้า ถ้าใครเป็นพระโสดาบันก็ให้รู้ว่ามีความหมายเป็นเช่นนี้

           เรื่องของโสดาบัน

 -พระโสดาบัน  แปลว่า “บุคคลที่มีจิตเข้าสู่กระแสพระนิพพาน”

  -คุณสมบัติของพระโสดาบันพระพุทธเจ้าตรัสว่า “คือบุคคลทีมีผู้มีปัญญาเล็กน้อย,   มีสมาธิเล็กน้อย,  แต่มีศีล ๕ บริสุทธิ์   และมีความเคารพในพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์”

  -พระโสดาบัน ละสังโยชน์  คือกิเลสที่นอนทับอยู่ในสันดานเบื้องต่ำได้ ๓ ประการคือ:-

     ๑.สักกายทิฏฐิ   คือมีความเห็นว่ากายเป็นตัวของเรา ความเห็นเป็นเหตุให้ถือตัวตนจึงจัดเป็นอัตตาทิฎฐิ เช่น เห็นรูปเป็นตัวตนเห็นเวทนาเป็นตัวตน

      -พระโสดาบันละกิเลสเครื่องเศร้าหมองของจิตตัวนี้ได้คือไม่ยึดติดในเรื่องของตัวตน  ตัวตนของเราประกอบขึ้นด้วยธาตุ ๔ และขันธ์ ๕  เป็นของไม่จีรังยังยืน  แสดงให้เห็นว่าพระโสดาบันเป็นผู้รู้และเข้าใจกฏของไตรลักษณ์ คืออนิจจัง   ทุกขัง   อนัตตา  เป็น

อย่างดี

    ๒.วิจิกิจฉา  คือความสงสัยในพระรัตนตรัยและในกุศลธรรมทั้งหลาย

      -พระโสดาบันละกิเลสตัวนี้ได้ก็เพราะมีควาศรัทธาและเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้า, พระธรรม, และสงฆ์อย่างมั่นคงไม่คลอนแคลนและยังมีความเชื่อมั่นในความดีเช่นเชื่อว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว บุญมีบาปมี นรกสวรรค์มีจริง พ่อแม่มีคุณ       

   ๓.สีลัพพตปรามาส   คือบุคคลที่ยึดถือในศีลและข้อวัตรปฏิบัติที่ไม่สามารถทำตัวให้ตนเองหลุดพ้นได้  

      -สีลัพพตปรามาส  จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิที่พระโสดาบันจะต้องละ  เช่นเชื่อในเวทย์มนต์คาถาว่าจะทำให้ตนเองหลุดพ้นได้  เชื่อในการสะกดจิตผู้อื่นให้พ้นทุกข์ได้  เชื่อในการทรมานร่างกายโดยการนอนบนขวากหนามของพวกโยคีจะทำให้ตนเองหลุดพ้นได้

     ประเภทของพระโสดาบัน

   ดังที่กล่าวมาแล้วพระโสดาบันสามารถละสังโยชน์ ๓ ประการ ตัดขาดออกจากใจได้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษนั้น แม้ว่าจะตัดสังโยชน์ได้เพียง ๓ ประการก็ตาม แต่ก็สามารถตัดเส้นทางในการเวียนว่ายตายเกิดให้สั้นลงได้อีกด้วย เพราะผู้เป็นโสดาบันบุคคลมีกฎตายตัวว่า ย่อมเกิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของพระโสดาบันได้เป็น ๓ ประเภทดังนี้

   ประเภทที่ ๑ เอกะพีชีโสดาบัน จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกเพียงชาติเดียว เมื่อเกิดมาแล้วถ้าได้ลงมือปฏิบัติธรรมก็จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา

   ประเภทที่ ๒ โกลังโกละโสดาบัน จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกเพียง ๓ ชาติเท่านั้น แล้วก็จะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

   ประเภทที่ ๓ สัตตักขัตตุปะระมะโสดาบัน  จะเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอีกไม่เกิน ๗ ชาติ ก็จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

   การที่พระโสดาบัน แบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังที่กล่าวมา เพราะว่าการสั่งสมบุญบารมี อีกทั้งอินทรีย์ ๓ ที่อบรมมาแตกต่างกัน เช่นผู้ที่สร้างบารมีมาอย่างแก่กล้า เกิดในภพชาตินี้ เมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕ ประการ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ(Meditation) และปัญญา ถึงความแก่รอบสม่ำเสมอ ก็สามารถบรรลุผลได้อย่างรวดเร็ว พระโสดาบันประเภทนี้ คือ ประเภทเอกะพีชีดังกล่าวได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ในสมัยพุทธกาลมีผู้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันมากมายทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์

     พระโสดาบันผู้ท่องอยู่ใน ๒ โลก

  พระโสดาบัน เป็นผู้ที่ฝึกฝนตนเองได้เป็นอย่างดี สั่งสมบุญบารมีจนสามารถตัดกิเลสได้ ๓ ประการ จนมีกิเลสเบาบาง เป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา คือ ไม่ต้องไปเกิดในอบายอีกต่อไป เป็นผู้ปิดอบายได้โดยเด็ดขาด เพราะจิตจะมีความผ่องใสตลอดเวลา ถ้าไม่เกิดเป็นมนุษย์อีก ก็จะไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นใดชั้นหนึ่งอย่างแน่นอน และมีทิพยสมบัติ วิมาน บริวารอันอลังการ เป็นสหายแห่งเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ มีคำอ้างอิงในโมคคัลลานสูตรถึงการที่พระโสดาบันย่อมเกิดในสวรรค์ชั้นต่างๆ ซึ่งสรุปย่อ ดังนี้

 พระมหาโมคคัลลานะได้ท่องเที่ยวไปยังวิมานของติสสมหาพรหม อดีตเป็นพระภิกษุผู้บรรลุฌาน เมื่อละสังขารแล้วจึงไปเกิดเป็นพรหม  พระมหาโมคคัลลานะได้สอบถามติสสมหาพรหมว่า “ ในบรรดาเทวดาที่ท่านรู้จักเทวดาชั้นใดที่เป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน ซึ่งมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา และเป็นผู้ที่เที่ยงแท้ว่าจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า”

 ติสสมหาพรหมตอบว่า  “ ข้าพเจ้าเห็นว่า เทวดาที่มีคุณวิเศษ ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันนั้น มีอยู่ในสวรรค์ทุกชั้น ตั้งแต่สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงปรนิมมิตวสวัตตี เทวดาเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้จะตรัสรู้ในเบื้องหน้าทั้งนั้น”  จากบทสนทนาจะเห็นได้ว่า ผู้ที่เป็นพระโสดาบันนั้น จะเกิดในสวรรค์ทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นที่ ๑ จนถึง ชั้นที่ ๖ เป็นผู้ไม่ตกต่ำ และจะต้องบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในภายภาคหน้าอย่างแน่นอน เมื่อเกิดบนสวรรค์ แล้วอย่างไรก็ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อจะบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลขั้นสูงต่อไป หรืออาจจะบรรลุบนสวรรค์ก็ได้เช่นกัน

 การบรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลนี้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะเพศบรรพชิต (นักบวช) เท่านั้น แม้แต่คฤหัสถ์ก็สามารถบรรลุเป็นอริยบุคคลได้ ผู้บรรลุโสดาบันที่เป็นคฤหัสถ์มีชื่อเสียงเช่น นางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถบิณฑิกเศรษฐี พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น

          เรื่องของนางจูฬสุภัททา

     

อนาถบิณฑิกะเป็นใครเป็นแบบอย่างการปฏิบัติด้านใดบ้าง
 

  นางจูฬสุภัททา (อ่านว่า จูฬะสุภัททา) เป็นลูกสาวคนที่ ๒ ของอนาถบิณฑิกะเศรษฐี   เมื่อนางมหาสุภัททาลูกสาวคนโตแต่งงานมีสมีออกเรือนไปอยู่กับสามีแล้วท่านเศรษฐีจึงมอบภาระหน้าที่ในการดูแลธุรกิจการค้าทั้งหมดให้แก่นางสาวจุฬสุภัททาเป็นคนดูแลต่อไป  นางสาวจูฬสุภัททามีนิสัยเป็นคนเด็ดขาดเข้มแข็งทำอะไรกล้าตัดสินใจไม่ต้องถามเศรษฐี เมื่อเห็นว่าการตัดสินใจทำนั้นจะไม่เกิดผลเสียแก่ธุรกิจการค้าของบิดา   ในตอนที่นางสาวจูฬสุภัททามารับหน้าที่แทนพี่สาวนี้  ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีมีเวลาว่างมากท่านจึงมีเวลาไปวัดทั้งเช้าและเย็น  ปกติแล้วท่านจะไปวัดก่อนใครๆทั้งหมด   วันหนึ่งท่านเศรษฐีกำลังนั่งสนทนากับกับพระพุทธเจ้าอยู่คนใช้ที่บ้านมาบอกท่านว่ามีคนมาส่งข่าวว่า "อุคคะเศรษฐีจะมาเยี่ยม"

   เมื่อท่านเศรษฐีกลับมาถึงบ้านแล้วจึงให้เรียกนางสาวจูฬสุภัททามาแล้วสั่งว่า "จูฬสุภัททา  พรุ่งนี้อุคคะเศรษฐีแห่งเมืองอุคคะนครที่เป็นเพื่อนรักของพ่อจะมาเยี่ยม  พ่ออนุญาตให้เธอจัดแจงการต้อนรับแขกของพ่ออย่าให้พ่อขายหน้านะลูก"   นางสาวจูฬสุภัททาพูดว่า "จ๊ะ พอ   หนูจะไม่ทำให้พ่อตัองผิดหวังและขายหน้าอย่างแน่นอนคะพ่อ"  เมื่อนางได้รับบัญชาจากพ่อแล้ว  นางก็รีบไปจัดเตรียมการต้อนรับอย่างใหญ่โตทีเดียว จัดเตรียมเรื่องอาหารการกินที่หลับที่นอนของเศรษฐีและบริวารอย่างดียิ่งทีเดียว  อุคคะเศรษฐีรู้สึกประทับใจในการต้อนรับของนางมาก  จึงได้ถามอนาถบิณฑิกะเศรษฐีว่า "หญิงสาวคนที่เป็นแม่งานนั้นเป็นใคร"  อนาถบิณฑิกะเศรษฐีจึงถามว่า "คนที่ใส่เสื้อผ้าชุดสีฟ้าใช่ไหม?"   อุคคะเศรษฐีบอกว่า "ใช่"   อนาถบิณฑิกะเศรษฐีก็บอกว่า "คนนั้นเป็นลูกสาวของผมเอง  นางชื่อจูฬสุภัททา"   อุคคะเศรษฐีคิดว่านางจูฬสุภัททาคนนี้เป็นเด็กหญิงที่ฉลาดและนิสัยดีแถมยังสวยอีกด้วย จำเราจะขอนางให้แก่บุตชายของเรา   อุคคะเศรษฐีจึงถามถึงสัญญาตอนที่เป็นนักเรียนที่เคยเรียนหนังสือร่วมกันและเคยสัญญากันไว้ว่า 

"ในบรรดาเราทั้งสองคนถ้าคนใดคนหนึ่งได้ลูกสาวอีกคนหนึ่งได้ลูกชายจะอนุญาตให้แต่งงานกัน"   อนาถบิณฑิกะเศรษฐีบอกว่า "จำได้ดี"    อุคคะเศรษฐีจึงพูดว่าถ้าเช่นนั้นผมถือโอกาสขอนางให้แก่ลูกชายของผมเลยจะได้ไหม?   อนาถบิณฑิกะเศรษฐีบอกว่า "ผมขอถามนางดูก่อนนางจะพอใจหรือไม่?  ถ้านางไม่มีปัญหาผมก็ยินดียกนางให้เลย"  เมื่ออนาถบิณฑิกะเศรษฐีกลับมาที่เรือนอาศัย ถามภรรยาว่า "เราควรจะยกนางจูฬสุภ้ททาให้เป็นลูกสะใภ้ของอุคคะเศรษฐีหรือไม่"  ภรรยาพูดว่า "แล้วแต่พี่เถอะฉันได้ทั้งนั้น"ถึงภรรยาพูดอย่างนี้แต่อนาถบิณฑิกะเศรษฐีก็ยังไม่มั่นใจอยู่ดีเพราะอุคคะเศรษฐียังเป็นมิจฉาทิฏฐิเลื่อมใสนับถือชีเปลือยจึงได้เอาข้อความนี้ไปทูลถามพระพุทธเจ้า   พระพุทธองค์ทรงเห็นว่านางจูฬสุภัททากับลูกชายอุคคะเศรษฐีเป็นคู่ครองกันมาตั้งแต่อดีตชาติ และเมื่อแต่งงานแล้วนางจูฬสุภัททาจะทำให้สามีแม่ผัวพ่อผัวเป็นพระอริยบุคคลขั้นโสดาบัน  เมื่อท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีทราบข้อมูลนี้แล้วจึงกลับบ้านถามนางจุฬสุภัททาดูว่า "จูฬสุภัททา  พ่ออยากจะให้เธอแต่งงานกับลูกชายของอุคคะเศรษฐี  เธอจะพอใจหรือไม่" 

  นางจูฬสุภัททาก็พูดกับพ่อว่า "ถึงหนูไม่อยากแต่งเพราะยังไม่เคยเห็นหน้าเจ้าบ่าวว่าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร จะรูปหล่อหรือขี้เหร่จะมีรูปร่างพิกลพิการส่วนไหนหรือไม่  จะใจดีหรือใจร้ายจะอยู่กินเป็นสามีร่วมทุกข์ร่วมสุขได้หรือไม่  จะไม่แต่งก็ไม่ได้เพราะพ่อไปทำสัญญาไว้กับเขา  ถ้าหนูไม่แต่งพ่อก็จะเสียสัจจะที่ให้ไว้กับเขาจะทำให้พ่อเป็นคนบาป เพื่อจะรักษาสัจจะข้อนี้และช่วยปลดเปลืองสัญญาที่พ่อได้ไปสัญญาไว้กับเพื่อนหนูก็ยินยอมทำตามคำของพ่อ"   ตามความเป็นจริงแล้วนางยังอยากช่วยเหลือกิจการของพ่อไปอีกสักระยะหนึ่งก่อน จะให้พ่อมีเวลาไปทำบุญมากๆ และนางก็ยังอยากฟังเทศน์ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงมันชังจับใจจริงๆและยังทำให้หล่อนมีปัญญาเกิดขึ้นอึกด้วย  ถ้าไปอยู่เมืองอุคคะนครระยะทางก็ไกลจากที่นี่ถึง ๑๒๐ โยชน์อยากที่จะมาฟังฟังเทศน์ได้ แต่เพื่อเป็นการปลดเปลื้องสัญญาให้แก่พ่อก็จำเป็นต้องยอมรับ  

  ตรงนี้ผู้เขียนอยากขอเตือนพ่อแม่ทั้งหลายอย่าไปทำสัญญาที่ตัวเองชอบแล้วมาบังคับลูกให้ทำตามสัญญาที่ตัวเองได้กระทำเอาไว้ มันเป็นการทำร้ายลูกของตนเอง  ถึงเขาเป็นลูกก็ต่างจิตต่างใจกับพ่อแม่  พ่อแม่ชอบแต่ลูกอาจจะไม่ชอบก็ได้แล้วมาบังคับให้ลูกชอบเหมือนตนเองนี่เป็นความผิดที่ร้ายแรง  ถ้าลูกไม่ยอมรับพ่อแม่อาจจะสูญเสียลูกไปก็ได้  นี่จะกลายเป็นความผิดอ้นมหันต์ที่ให้อภัยไม่ได้ เพราะเป็นสาเหตุให้ลูกต้องตายเท่ากับไปทำสัญญาเอาไว้เพื่อฆ่าลูกตนนั่นเอง

    เมื่อกำหนดวันแต่งงานแล้วอนาถบิณฑิกะเศรษฐี ได้สั่งให้ช่างทองทำเครื่องประดับ ชื่อ มหาลดาปสาธน์ เพื่อมอบให้แก่ ลูกสาว ซึ่งเป็นเครื่องประดับชนิดพิเศษ เป็นชุดยาวติดต่อกันตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ประดับด้วยเงิน, ทองคำ, และเพชรพลอยที่มีค่าถึง ๙  โกฏิกหาปณะ  ถ้าคิดราคาเป็นเงินในปัจจุบันก็มีราคา ๙๐ ล้าน ค่าแรงฝีมือช่างอีก ๑ แสน เป็นเครื่องประดับที่หญิงอื่น ๆ ไม่สามารถจะประดับได้เพราะมันมีน้ำหนักมากผู้หญิงจะประดับเครื่องประดับนี้ได้จะต้องมีพละกำลังเท่าช้าง ๕ เชือก  มิฉะนั้นแล้วจะประดับเครื่องประดับนี้ไมได้เพราะมีเรียวแรงไม่พอ  ในสมัยพระพุทธเจ้าผู้หญิงที่มีเครื่องประดับนี้มีอยู่ ๓ คนด้วยกัน คือ:-

  ๑.นางวิสาขา   ลูกสาวของธนัญชัยมหาเศรษฐี

  ๒.พระนางมัลลิกาเทวี  พระอัครมเหสีของพระเจ้าปะเสนทิโกศล

  ๓.นางจูฬสุภัททา   ลูกสาวของอนาถบิณฑิกะมหาเศรษฐี

 อนาถบิณฑิกะเศรษฐี ยังได้มอบทรัพย์สินเงินทองของใช้ต่าง ๆ รวมทั้งข้าทาสบริวารและฝูงโคอีกจำนวนมากมายมหศาล อีกทั้งส่งกุฏุมพีผู้มีความชำนาญพิเศษด้านต่าง ๆ ไปเป็นที่ปรึกษาดูแลประจำตัวอีก ๘ นายด้วย

   อนาถบิณฑิกะเศรษฐีให้โอวาทแก่ลูกสาว

   ก่อนที่นางจูฬสุภัททาจะไปสู่ตระกูลของสามี อนาถบิณฑิกะศรษฐีได้อบรมมารยาทสมบัติของกุลสตรีผู้จะไปสู่ตระกูลของสามีโดยให้โอวาท ๑๐ ประการ เป็นแนวปฏิบัติ คือ:-

   -โอวาทข้อที่ ๑ ไฟในอย่านำออก หมายความว่า อย่านำความไม่ดีของพ่อผัวแม่ผัวและสามีออกไปพูดให้คนภายนอกฟัง

   -โอวาทข้อที่ ๒ ไฟนอกอย่านำเข้า หมายความว่า เมื่อคนภายนอกตำหนิพ่อผัวแม่ผัวและสามีอย่างไร อย่านำมาพูดให้คนในบ้านฟัง

   -โอวาทข้อที่ ๓ ควรให้แก่คนที่ให้เท่านั้น หมายความว่า ควรให้แก่คนที่ยืมของไปแล้วแล้วนำมาส่งคืน

   -โอวาทข้อที่ ๔ ไม่ควรให้แก่คนที่ไม่ให้ หมายความว่า ไม่ควรให้แก่คนที่ยืมของไปแล้ว แล้วไม่นำมาส่งคืน

   -โอวาทข้อที่ ๕ ควรให้ทั้งแก่คนที่ให้และไม่ให้ หมายความว่า เมื่อมีญาติมิตรผู้ยากจนมาขอความช่วยเหลือพึ่งพาอาศัย เมื่อให้ไปแล้วจะให้คืนหรือไม่ให้คืน ก็ควรให้

   -โอวาทข้อที่ ๖ พึงนั่งให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่นั่งในที่กีดขวางพ่อผัว แม่ผัวและสามีโอวาทข้อที่ ๗ พึงนอนให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่ควรนอนก่อนพ่อผัวแม่ผัวและสามี

   -โอวาทข้อที่ ๘ พึงบริโภคให้เป็นสุข หมายความว่า ควรจัดให้พ่อผัว แม่ผัวและสามีบริโภคแล้ว ตนจึงบริโภคภายหลัง

   -โอวาทข้อที่ ๙ พึงบำเรอไฟ หมายความว่า ให้มีความสำนึกอยู่เสมอว่า พ่อผัว แม่ผัวและสามีเป็นเหมืองกองไฟ และพญานาคที่จะต้องบำรุงดูแล

   -โอวาทข้อที่ ๑๐ พึงนอบน้อมเทวดาภายใน หมายความว่า ให้มีความสำนึกอยู่เสอมว่า พ่อผัว แม่ผัว และสามีเป็นเหมือนเทวดาที่จะต้องให้ความนอบน้อม

   ในวันส่งธิดาไปยังอุคคะนครนั้น ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีได้ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้วทำสักการะอันยิ่งใหญ่แก่ธิดาเพือให้ประจักษ์แก่ชาวโลกในบุญกุศลของนาง   ในเวลาถึงอุคคะนครมหาชนและญาติของพ่อผัวและญาติของแม่ผัวไดทำการต้อนรับอันยิ่งใหญ่ที่น่าตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก                                   

 ส่วนนางจูฬสุภัททาก็ได้ประดับตกแต่งตัวด้วยเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์  แสดงตนให้ปรากฏแก่ชาวนครทั้งสิ้น เหมือนนางวิสาขา เพื่อทำสิริสมบัติของตนให้ปรากฏ ยืนอยู่บนรถเข้าไปสู่นครรับเครื่องบรรณาการที่ชาวนครส่งมาแล้ว ก็ส่งสิ่งของไปตอบแทนแก่ประชนทั้งหลายตามวัตถุสิ่งของที่ส่งมาให้ตามสมควร ได้ทำชาวเมืองทั้งหลายให้เนืองแน่นเป็นอันเดียวกันด้วยคุณของตน.

               พ่อผัวให้นางจูฬสุภัททาไหว้ชีเปลือย               

  ในวันที่เป็นมงคลวันหนึ่งหลังจากนางจุฬสุภัททาได้ไปอยู่ที่บ้านของพ่อผัวแล้ว เพื่อจะทำสักการะแก่พวกชีเปลือย จึงส่งคนใช้ให้ไปบอกนางจูฬสุภัททาว่า "ขอให้นางจงมาไหว้พระสมณะทั้งหลายของพวกเรา."  นางจูฬสุภัททารู้ว่าสมณะของตระกูลพ่อผัวก็คือพวกชีเปือย พวกชีเปือยทั้งหลายจะไม่นุ่งผ้าแก้ผ้าเปือยเปล่าเหมือนพวกคนป่าที่อยู่ในทวีปแอฟริกา   นางไม่อาจจะไปดูคนลามกป่าเถื่อนได้ นางจึงบอกคนใช้ของพ่อผัวว่า "ไม่ไป"   แม้พ่อผัวจะส่งคนมาบอกถึง ๓-๔ ครั้ง  นางก็บอกว่าไม่ไป เมื่อส่งคนไปบอกบ่อยๆ ก็ถูกนางห้ามเสียทั้งสิ้น    เมื่อเป็นเข่นนี้พ่อผัวก็โกรธพูดว่า "พวกเธอจงไปขับไล่นางให้หนีจากบ้านไปเสีย."   นางจูฬสุภัททาคิดว่า "พ่อผัวอาจจะไม่ยกโทษแก่เราแน่ เพราะเหตุอันไม่สมควรนี้"  จึงให้คนไปเรียกกุฎุมพีที่พ่อให้มาดูแลตน แล้วจึงบอกความนั้นแก่พวกกุฎุมพีเหล่านั้นให้ทราบว่า "ถูกพ่อผัวขับไล่ให้หนีจากบ้านด้วยเหตุที่ไม่ไปไหว้พวกชีเปือย" ความที่นางไม่มีโทษพวกกฎุุมพีจึงไปพูดกับอุคคะเศรษฐีว่า "นางจูฬสุภัททาเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า  นางบรรลุธรรมอยู่ในขั้นโสดาบันแล้ว ที่นางมาแต่งงานกับบุตรชายของท่านเพราะนางหวังจะปลดเปลื้องสัญญาที่พ่อได้ให้ไว้กับท่านตอนเรียนหนังสือไง  ท่านเศรษฐีอย่าไปบังคับนางเลย  ท่านเศรษฐีจะไหว้ก็ไหว้ไปเถิด  แต่นางก็จะไหว้พระพุทธเจ้าที่นางเคารพนับถือ  ต่างคนต่างไหว้สมณะของตนเองไม่ดีหรือ  ถ้าท่านเศรษฐีจะไล่นางออกจากบ้านด้วยสาเหตุนี้  ท่านก็จะถูกประชาชนทั้งหลายตำหนิติเตียนว่าเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่มีความยุติธรรมบังคับเคี่ยวเข็ญผู้อื่นให้ทำตามในสิ่งเขาไม่ชอบ  อีกประการหนึ่งการที่ท่านเศรษฐีขับไล่นางให้หนีออกจากบ้านเพราะสาเหตุอันไม่สมควรนี้นางต้องไปแน่เพราะนางเป็นลูกสาวของอนาถบิณฑิกะเศรษฐีซึ่งเป็นเศรษฐีอันหนึ่งของกรุงสาวัตถี  แต่พวกข้าพเจ้ากลัวแต่ว่าท่านเศรษฐีกับอนาถบิณฑิกะเศรษฐีที่เป็นมิตรสหายที่ดีต่อกันจะต้องมาผิดใจกันเพราะสาเหตุอันไม่สมควรนี้อย่างแน่นอน"  เมื่ออุคคะเศรษฐีได้ฟังเรื่องราวเช่นนี้ก็นิ่งเงียบไม่พูดจาอะไรเลย  แต่ก็จำเป็นต้องยอมรับตามที่พวกกฎุมพีทั้ง ๘ คนพูด เมื่อเศรษฐีจำนนในคำชี้แจงนี้เขาก็ได้เอาข้อความนี้ไปบอกให้ภรรยาทราบ ภรรยาของเศรษฐีดูเหมือนว่าหล่อนจะเป็นฉลาดและมีเหตุผลนางก็พูดกับสามีว่า "ลูกสะใภ้คนนี้ไม่ไหว้พระสมณะทั้งหลายของเรา ด้วยเข้าใจว่าเป็นผู้ลามกไม่มีความละอาย."

  ภรรยาเศรษฐีก็คิดว่า "พวกสมณะของลูกสะใภ้คนนี้ จะเป็นเช่นไรหนอ? นางถึงสรรเสริญพระสมณะเหล่านั้นมากมายเหลือเกินเราอยากดูจริงๆ"  เมื่อภรรยาอุคคะเศรษฐีคิดได้ดังนี้แล้วนางก็ให้คนไปเรียกนางจุฬสุภัททามาแล้ว พูดว่า  "พวกพระสมณะของเจ้า เป็นเช่นไร?  เจ้าจึงสรรเสริญพระสมณะเหล่านั้นมากนักหนา พระสมณะเหล่านั้น มีปกติอย่างไร? มีสมาจาระอย่างไร? เจ้าจงบอกเรื่องนั้นแก่เราดูซิ"

    ลำดับนั้นนางจูฬสุภัททาก็ได้ประกาศพระคุณทั้งหลายของพระพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้าแก่แม่ผัวว่า  "พระองค์เป็นผู้มีอินทรีย์อันสง่างามมีกิริยาวาจาอันสงบ มีจิตใจสงบเบิกบาน ท่านยืนเดินนั่งนอนด้วกิริยาอันสงบเรียบร้อย,มีจักษุทอดลง พูดจาพอ

ประมาณไม่โอ้อวด พวกสมณะของฉันเป็นเช่นนี้,  พระวรกายของพระองค์สะอาดปราศจากมลทิน วจีกรรมไพเราะเสนาะโสตไม่มัวหมอง มโนกรรมหมดจดแจ่มใสเบิกบาน พวกสมณะของฉันเป็นเช่นนี้, พระองค์ไม่มีมลทิน มีรัศมีเปล่งออกจากพระวรกายเป็น ๖ สี

สีสวยงามยิ่งนัก บริสุทธิ์ทั้งภายในและภายนอก เต็มไปด้วยธรรมอันหมดจดทั้งหลาย, พวกสมณะของฉันเป็นเช่นนี้, โลกฟูขึ้นเพราะลาภ และฟุบลงเพราะเสื่อมลาภ, พระองค์ตั้งอยู่อย่างเดียวคือความสงบจากลาภและการเสื่อมลาภ,พวกสมณะของฉันเป็นเช่นนี้,

โลกฟูขึ้นเพราะยศ และฟุบลงเพราะเสื่อมยศ, พระองค์ตั้งอยู่อย่างเดียวคือความสงบจากยศและการเสื่อมยศ, พวกสมณะของฉันเป็นเช่นนี้, โลกฟูขึ้นเพราะสรรเสริญ และฟุบลงแม้เพราะนินทา, พระองค์จะสงบในการนินทาและการสรรเสริญ, พวกสมณะของฉันเป็นเช่นนี้, โลกฟูขึ้นเพราะสุข และฟุบลงแม้เพราะทุกข์, พระองค์จะไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์, พวกสมณะของฉันเป็นเช่นนี้."  เมื่อภรรยาเศรษฐีได้ฟังการสรรเสริญพระสมณะของนางก็คิดอยากจะเห็นสมณะเหล่านี้จริงๆ

        นางจูฬสุภัททานิมนต์พระพุทธเจ้าฉันภัตตาหารเช้า               

   ลำดับนั้น แม่ผัวก็กล่าวกะนางจูฬสุภัททาว่า "เจ้าจะเชิญสมณะทั้งหลายของเจ้า มาให้แม่ดูได้หรือไม่" 

    นางจูฬสุภัททาตอบว่า "ได้สิจ๊ะ ถ้าแม่อยากดู" 

    ภรรยาเศรษฐีถามว่า "เมื่อไหร่? "

    นางจูฬสุภัททาบอกว่า "วันพรุ่งนี้เช้าค่ะ"

    ภรรยาเศรษฐีพูดว่า "จูฬสุภัททา เจ้าอย่าได้ล้อเล่นกับแม่เลยนะ  มันจะเป็นไปได้อย่างไง  พระเขตวันมหาวิหารที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ห่างไกลจากที่นี่ถึง ๑๒๐ โยชน์เลยเชียวนะ"  

   นางจูฬสุภัททาก็ตอบแม่ผัวว่า "หนูจะต้องนิมนต์มาพรุ่งนี้ให้ได้   ขอให้แม่จงวางใจเถอะ"  

   **ตรงนี้มีคำถามสอดแทรกเข้ามาว่า "ทำไมนางจูฬสุภัททาถึงกล้ารับรองกับแม่ผัวเป็นมั่นเหมาะว่าจะนิมนต์พระพุทธเจ้าให้เสด็จมาในพรุ่งนี้ให้ได้ทั้งที่บ้านของแม่ผัวอยู่ไกลจากพระเชตวันมหาวิหารถึง ๑๒๐ โยชน์  หรือ ๑๙๐๐ กิโลเมตร มันช่างเป็นเรื่องที่

เหลือเชื่อเสียจริงๆ? "

     ตอบ:เพราะนางมั่นใจในพุทธานุภาพว่าจะทำได้ นางเคยเห็นเรื่องมหัศจรรย์มาแล้วในตอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ปราบพวกเดียรถีย์ทั้งหลาย  เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์เสร็จแล้ว พระพุทธองค์ก็เสด็จไปโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์โดยการย่างก้าวไปแค่ ๓ ก้าวเท่านั้น  เมืองสวรรค์อยูห่างไกลจากโลกมนุษย์หลายหมื่นหลายแสนโยชน์พระพุทธองค์ยังเสด็จไปแค่ ๓ ก้าวย่างเท่านั้น  นับประสาอะไรกับการอยู่ไกลแค่ ๑๒๐ โยชน์ พระพุทธองค์อาจจะทำให้ประตูแห่งพระเชตวันมหาวิหารมาอยู่ตรงหน้าบ้านของพ่อผัวก็ได้ใครจะไปรู้  เพราะเหตุนี้แหละนางถึงกล้ารับรองกับแม่ผัวว่าจะต้องเสด็จมาทันฉันเช้าวันพรุ่งนี้อย่างแน่นอน

    ภรรยาเศรษฐีจึงพูดว่า "ถ้าเช่นนั้นเธอก็จงเชิญสมณะของเธอมาให้แม่ดูเถอะ เจ้าจงจัดแจงการต้อนรับตามที่เจ้าพอใจ"

   นางจูฬสุภัททาตอบว่า "ดีละ" ก็ไปจัดเตรียมมหาทานเพื่อภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้วยืนอยู่บนพื้นปราสาทชั้นบนผินหน้าไปทางพระเชตวันมหาวิหาร กราบไหว้โดยเคารพด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ระลึกถึงพระพุทธคุณทั้งหลายของพระพุทธองค์ ทำการ

บูชาด้วยของหอม เครื่องอบ ดอกไม้และธูปเทียนกล่าวอัญเชิญนิมนต์ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นางจุฬสุภัททาขอนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อฉันภัตตาหารเช้าในวันพรุ่งนี้, ด้วยสัญญาณของข้าพระองค์นี้ ขอพระพุทธองค์ทราบว่า

วันพรุ่งนี้เช้าข้าพระองค์นิมนต์พระพุทธองค์ไว้แล้วพระเจ้าข้า" เมื่อกล่าวดังนี้แล้วนางก็จึงซัดดอกมะลิ ๘ กำมือไปในอากาศ ดอกมะลิทั้งหลายก็ล่องลอยไปเป็นเพดานอันสำเร็จด้วยดอกไม้อยู่เบื้องบนพระพุทธองค์ที่ทรงแสดงธรรมอยู่ในท่ามกลางบริษัท ๔  ช่างเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

         คำนิมนต์ของนางจูฬสุภัททาเป็นเพดานดอกไม้              

   ในขณะนั้น แม้อนาถบิณฑิกะเศรษฐีเมื่อได้สดับธรรมกถาเสร็จแล้ว จึงนิมนต์ระพุทธเจ้าเพื่อเสวยภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ 

พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "คฤหบดี ตถาคตรับนิมนต์เพื่อฉันแล้วในวันพรุ่งนี้"  เมื่ออนาถบิณฑิกะเศรษฐีกราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนอื่นมาก่อนกว่าข้าพระองค์ไม่มี พระองค์ทรงรับนิมนต์ของใครไว้หนอพระเจ้าข้า?"  พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "ดูกรคฤหบดี 

นางจูฬสุภัททานิมนต์ไว้แล้ว" เมื่อท่านเศรษฐีกล่าวว่า "นางจูฬสุภัททาอยู่ไกลจากที่นี้ถึง ๑๒๐ โยชน์นางมานิมนต์ตอนไหนหรือพระเจ้าข้า? "

  พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "ใช่ คฤหบดี ท่านจงดูเพดานดอกไม้ที่อยู่ข้างบนเพดานนั้นสินี้แหละคือคำนิมนต์ของนางจูฬสภัททา"

  ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีก็มองขึ้นไปดูข้างบนเพดานก็ได้เห็นเพดานดอกไม้จริงๆ  ก็นึกอัศจรรย์ใจในพุทธานุภาพยิ่งนัก 

  ฝ่ายนางจูฬสุภัททาก็ได้ทำการจัดเตรียมภัตตาหารไว้ถวายพระพุทธเจ้าพร้อมพระสงฆ์ ๕๐๐ รูป  การจัดเตรียมภัตตาหารถวายพระพุทธเจ้าพร้อมพระสงฆ์ ๕๐๐ รูป  ใช้เวลาจัดเตรียมเพียงวันเดียวบุคคลธรรมดาแม้มีสี่เศียรแปดกรก็ทำไม่ได้  แต่นางจูฬสุภัททาถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาเพราะนางเคยช่วยพ่อคืออนาถบิณฑิกะเศรษฐีทำบุญเลี้ยงพระเช่นนี้มาแล้วตั้งหลายครั้งที่กรุงสาวัตถี 

   อุคคะเศรษฐีและภรรยาพร้อมด้วยข้าทาสบริวารตลอดทั้งประชาชนเป็นจำนวนมากต่างก็คิดไปต่างๆนานาว่าสมณะของนางจูฬสุภัททาจะมาจริงหรือเปล่าจะมาได้อย่างไร  ระยะทางจากเมืองสาวัตถีสู่เมืองอุคคะนครเป็นระยะทาง ๑๒๐ โยชน์  มันช่างเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้จริงๆ

    พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดชาวเมืองอุคคะนคร

  พอวันรุ่งขึ้นท้าวสักกะเทวราชตรัสสั่งให้วิษนุกรรมเทพบุตร ไปเนรมิตเรือนยอด ๕๐๐ หลัง  แล้วไปส่งเสด็จพระพุทธเจ้าพร้อมพระสงฆ์ ๕๐๐ รูปที่เมืองอุคคะนครเพื่อฉันภัตตาหารเช้า  ชาวเมืองอุคคะนครและเศรษฐีพร้อมด้วยภรรยาได้รอรับเสด็จอย่างใจจดใจจ่อว่าพระองค์จะเสด็จมาทางถนนสายไหน ไม่นานก็มีเสียงอื้ออึงขึ้นชวนให้มองดูท้องฟ้าทางด้านทิศเหนือว่าพวกเราจงมองดูซิมันคืออะไรมันเป็นเรือนยอดที่สวยงาม ๕๐๐ หลังล่องลอยมุ่งตรงมาสู่เมืองอุคคะนครของเรา เมื่อนางจูฬสุภัททามองขึ้นไปบนอากาศนางก็รู้ได้ทันทีว่านี้คือการเสด็จมาของพระพุทธเจ้าของเรา  นางก็ได้บอกอุคคะเศรษฐีและภรรยาว่านั้นคือการเสด็จมาของพระพุทธเจ้าที่เป็นสมณะของดิฉัน  เศรษฐีภรรยาและประชาชนชาวอุคคะนครเบิ่งตามองดูอย่างตกตะลึงและมหัศจรรย์ใจยิ่งนัก คิดว่าพระพุทธเจ้าที่เป็นสมณะของนางจูฬสุภัททาไม่ใช่บุคคลธรรมดาพระองค์จะต้องเป็นบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ของโลกอย่างแน่นอนเมื่อเรือนยอด ๕๐๐ หลังล่องลอยใกล้เข้ามานางจูฬสุภัททาและอุคคะเศรษฐีพร้อมทั้งภรรยาญาติพี่น้องตลอดทั้งประชาชนทั้งหลายได้ไปยืนคอยต้อนรับอย่างดีอกดีใจเป็นยิ่งนัก  ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเรือนยอดนั้นท่านเศรษฐีและภรรยาเพ่งมองดูพระพุทธองค์อย่างตะลึงคิดในใจว่า "ตั้งแต่เราเกิดมามีอายุปูนนี้แล้วยังไม่เคยเห็นใครไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายจะมีรูปร่างสวยงามเหมือนสมณะองค์นี้" ในส่วนลึกของจิตใจก็เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธองค์อย่างสุดซึ้งขึ้นมาทันที

 อุคคะเศรษฐีภรรยาและนางจูฬสุภัททาได้นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์ ๕๐๐ รูปให้เข้าสู่ปราสาทที่จัดเตรียมไว้ต้อนรับอย่างอลังการ  นางจูฬสุภัททานิมนต์พระพุทธองค์และพระสงฆ์ไว้ ๗ วันเพื่อจะได้ทำบุญมหาทานถวายพระพุทธองค์ชาวเมืองอุคคะนครทั้ง

หลายก็พากันหลั่งไหลมาทำบุญร่วมกับเศรษฐีอย่างเนืองแน่นมากเป็นประวัติการณ์  ในวันที่ ๗ พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดท่านเศรษฐีและชาวอุคคะนครทำให้เศรษฐีและภรรยาพร้อมทั้งชาวเมืองทั้งหลายได้บรรลุเป็นพระโสดาบันมากถึง๘๔๐๐๐ คน  แม้นางจูฬสุภัททาคนสวยได้ทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่ให้แก่พระพุทธศาสนาทำให้เกิดมีพระอริยบคคลในขั้นโสดาบันมากขึ้นกว่าครั้งไหนๆ นางจึงเป็นยอดของมหาอุบาสิกาที่ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและแก่ประชาชนที่มากกว่าใครๆ

  คุณสมบัติพิเศษของนางจูฬสุภัททา

  ๑.เป็นคนมีรูปร่างสวยงาม  ในลักษณะของความงาม ๕ อย่าง คือ:-

      ๑.๑ มีผมงาม

      ๑.๒ มีเนื้องาม

      ๑.๓ มีฟันงาม

      ๑.๔ มีผิวงาม

      ๑.๕ มีถันงาม

      อธิบายเกี่ยวกับความงามทั้ง ๕ ปะการ   

     ๑.ผมงาม หมายถึง ผมซึ่งยาวสลวยลงมาแล้วมีปลายช้อนขึ้นเองโดยธรรมชาติ ลักษณะผมของหญิงผู้มีบุญมาก เป็นเช่นกับกำหางนกยูง เวลาปล่อยระชายผ้านุ่งแล้ว ก็กลับมีปลายงอนขึ้นตั้งอยู่

     ๒.ฟันงาม หมายถึง ฟันขาวสะอาดเป็นระเบียบเรียงรายประดุจไข่มุกที่นายช่างจัดเข้าระเบียบแล้ว ฟันขาวเรียบไม่ห่างกัน งดงาม  ดุจระเบียบแห่งเพชรที่เขายกขึ้นตั้งไว้ และดุจระเบียบแห่งสังข์ที่เขาขัดสีดีแล้ว

     ๓.ริมฝีปากงาม หมายถึง ริมฝีปากบางโค้งเป็นรูปกระจับสีชมพูเรื่อคล้ายกับผลตำลึงสุก  ถึงพร้อมด้วยสีเรียบชิดสนิทดี  เป็นเองโดยธรรมชาติ มิใช่เพราะตกแต่งแต้มทา

     ๔.ผิวงาม ลักษณะนี้มี ๒ อย่าง คือ ถ้าผิวขาวก็ขาวละเอียดอ่อนเหมือนสีดอกกรรณิการ์ ถ้าผิวดำก็ดำอย่างดอกอุบลเขียว อมเลือดอมฝาด เปล่งปลั่งคล้ายสีน้ำผึ้งซึ่งนำมาจากรังผึ้งใหม่ๆ

     ๕.ถันงาม  คือมีนมทั้ง ๒ ข้าง ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป  นมทั้งสองข้างจะตั้งตรงอยู่เสมอจะไม่หย่อนยานเหมือนคนธรรมดา

  ๒.เป็นคนฉลาดในการพูดจาและการกระทำ

  ๓.เป็นคนมีนิสัยดี กล้าได้กล้าเสีย  กล้าตัดสินใจด้วยสติปัญญาและความสามารถของตนเอง  ซึ่งเป็นลักษณะของผู้นำที่ดี

  ๔.เป็นคนมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคงไม่มีอะไรจะมาบังคับและเปลี่ยนแปลงจิตใจของนางได้  แม้จะถูกบังคับจากพ่อผัวให้ไปไหว้พวกชีเปือยก็ตาม

  ๕.เป็นพุทธสาวิกาที่นำคนนอกพระพุทธศาสนาให้มาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและบรรลุธรรมในขั้นโสดาบันมากที่สุด

  ๖.เป็นคนเชี่ยวชาญในวิทยาการๆจัดการที่มีความสามารถมากในการจัดงานใหญ่ๆ

  ๗.เป็นคนกะตัญญูกะตะเวทีต่อผู้มีพระคุณอย่างไม่เสื่อมคลาย

        เรื่องของนางสาวสุมนาเทวี

   นางสาวสุมนาเทวี (อ่านว่า สุมะนาเทวี)เป็นลูกสาวคนที่๓ ที่ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีรักมากที่สุด  นางเป็นคนสวยและมีนิสัยดีมารยาทงามเรียบร้อยพูดจาอ่อนหวานรู้จักพูดจาให้พ่อสบายใจได้เมื่อคราวทุกข์ยาก  นางสาวสุมนาเทวีมีรูปร่างเหมือนแม่มากที่สุด  ผู้หญิงถ้ามีหน้าตาเหมือนแม่จะมีอายุสั้นแต่ถ้ามีหน้าตาเหมือนพ่อจะมีอายุยืน  ผู้ชายก็เหมือนกันถ้ามีรูปร่างหน้าตาเหมือนพ่อจะมีอายุสั้นแต่ถ้ามีรูปร่างหน้าตาเหมือนแม่จะมีอายุยืน  เมื่อนางสาวจูสุภัททาแต่งงานก็ได้ย้ายไปอยู่ที่สกุลของสามีที่เมืองอุคคะนครแล้วท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีจึงได้ตั้งนางสาวสุมนาเทวีให้ดูแลในเรื่องธุรกิจการค้าทุกอย่างแทน  นางสาวสุมนาเทวีมีความสามารถในการบริหารธุรกิจเก่งไม่แพ้พี่สาวทั้ง ๒ คน  แต่ก็น่าเสียดายที่นางจะต้องมาตายจากพ่อไปในวัยสาว  วันหนึ่งในขณะที่นางกำลังทำงานอยู่ก็เกิดเจ็บป่วยขึ้นมาอย่างไม่รู้สาเหตุนางกระสับกระส่ายเร่าร้อนด้วยอาการของโรคนางป่วยหนักขึ้นเรื่อยๆจนกินอาหารไม่ได้  นางรู้ว่าตัวเองจะไม่รอดแน่จึงให้คนใช้ไปตามท่านเศรษฐีซึ่งอยู่ที่โรงทานแห่งหนึ่ง

  พอท่านเศรษฐีมาถึงก็ถามลูกสาวว่า "เป็นอะไรหรือ ?  สุมนา"

  นางได้ถามพ่อว่า "อะไรเล่า ? น้องชาย"

  เศรษฐีพูดว่า "เจ้าเพ้อไปหรือ ? ลูก"

  นางตอบว่า "ไม่เพ้อ  น้องชาย"

  เศรษฐีถามว่า "เจ้ากลัวหรือ ? ลูก"

  นางตอบว่า "ไม่กลัว  น้องชาย"

  พอนางพูดกับพ่อได้แค่นี้นางก็ขาดใจตาย   ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีทั้งรักทั้งสงสารและเศร้าโศกเสียใจอดกลั้นความเศร้าโศกไว้ไม่ได้จึงร้องไห้โฮออกมาอย่างไม่อายใคร

   เมื่อท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีทำฌาปนกิจศพของนางเสร็จแล้ว  ตั้งแต่การตายของลูกสาวนั้นเป็นต้นมาท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีก็มีอาการซึมเศร้าและเจ็บป่วยออดๆแอดๆ เรื่อยมา

    วันหนึ่งท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีร้องไห้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร

   พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่า "คฤหบดี ทำไม? ท่านจึงมีทุกข์ เสียใจ มีหน้าอาบไปด้วยน้ำตา ร้องไห้มาแล้ว"

   เศรษฐีจึงกราบทูลว่า "นางสุมนาเทวี ธิดาของข้าพระองค์ ตายเสียแล้ว พระเจ้าข้า”

   พระพุทธองค์จึงตรัสว่า " เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร? ท่านจึงโศก, ความตาย ย่อมเป็นไปโดยส่วนเดียวแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย มิใช่หรือ?

   เศรษฐีจึงกราบทูลว่า" ข้าพระองค์ทราบข้อนั้นดี พระเจ้าข้า แต่ธิดาของข้าพระองค์ ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะเห็นปานนี้, ในเวลาจวนตาย นางไม่สามารถคุมสติไว้ได้เลย บ่นเพ้อตายไปแล้ว, ด้วยเหตุนั้น ความโทมนัสไม่น้อย จึงเกิดมีแก่ข้าพระองค์แล้ว พระเจ้าข้า"

  พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่า " มหาเศรษฐี ก็นางพูดอะไรเล่า?

   เศรษฐีจึงกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถามนางว่า ‘เป็นอะไรหรือ? สุมนา’ ทีนั้น นางก็กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ‘อะไร? น้องชาย’ แต่นั้น เมื่อข้าพระองค์กล่าวว่า ‘เจ้าเพ้อไปหรือ? ลูก’ ก็ตอบว่า ‘ไม่เพ้อ น้องชาย’ เมื่อข้าพระองค์ถามว่า ‘เจ้ากลัวหรือ? 

ลูก’ ก็ตอบว่า ‘ไม่กลัว น้องชาย’ พอกล่าวได้เท่านี้ก็ตายพระเจ้าข้า

     ลำดับนั้น พระผู้มีพระพุทธองค์เจ้าตรัสกะเศรษฐีนั้นว่า “มหาเศรษฐี ธิดาของท่านไม่ได้เพ้อ”

     เศรษฐีจึงกราบทูลว่า " เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร? นางจึงพูดอย่างนี้  พระเจ้าข้า"

     พระพุทธองค์ตรัสว่า "เพราะท่านเป็นน้องนางจริงๆ นางจึงพูดอย่างนั้นกะท่าน, คฤหบดี ก็ธิดาของท่านเป็นใหญ่กว่าท่านโดยมรรคและผล, เพราะท่านเป็นเพียงโสดาบัน, ส่วนธิดาของท่านเป็นสกทาคามินี; เพราะนางเป็นใหญ่โดยมรรคและผล นางจึงกล่าวอย่างนั้นกะท่าน"

   เศรษฐีจึงกราบทูลว่า "อย่างนั้นหรือ พระเจ้าข้า"

   พระพุทธองค์จึงตรัสว่า " อย่างนั้น คฤหบดี"

   เศรษฐีจึงทูลถามว่า "ถ้าเช่นนั้น  เวลานี้นางไปเกิดที่ไหน ? พระเจ้าข้า"

   เมื่อพระพุทธองค์ตรัสว่า “นางไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต คฤหบดี” ท่านเศรษฐีจึงกราบทูลถามอีกว่า “ธิดาของข้าพระองค์ เที่ยวเพลิดเพลินอยู่ในระหว่างหมู่ญาติในโลกนี้ แม้จากโลกไปนี้แล้ว นางก็เกิดในที่ๆ เพลิดเพลินเหมือนกันหรือ? พระเจ้าข้า.”

   พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "ผู้ที่เป็นพระอริยบุคคลขั้นสกทาคามี  เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว  ย่อมไปเกิดในที่รื่นรมณ์น่ารื่นเริงบันเทิงใจเสมอ"

      เรื่องของนางสุมนาเทวีก็จบลงแค่นี้  ก่อนทีจะผ่านเรื่องของนางสุมนาเทวีไป  ข้าพเจ้าใคร่จะนำเอาเรื่องของสกทาคามี (อ่านว่า สะกะทาคามี) มาเล่าให้ฟัง เพราะบางท่านอาจจะสงสัยและต้องการรู้รายละเอียดอย่างแน่นอน

      เรื่องของสกทาคามี

  สกทาคามี (อ่านว่า สะกะทาคามี) แปลว่า ผู้จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกเพียงขาติเดียวก็จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ 

 ผู้ได้บรรลุสกทาคามีคือผู้ที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ ๓ ประการเหมือนพระโสดาบัน แต่ยังต้องทำสังโยชน์เบื้องต่ำอีกสองประการที่เหลือให้เบาบางลงด้วยคือ:-

  ๑.กามราคะ หมายถึง ความพอใจในกาม คือ การความเพลินในการได้เสพ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ ที่น่าพอใจ 

 ๒.ปฏิฆะ คือความขัดใจ เป็นอาการของจิต อย่างหนึ่ง หากระงับไว้ไม่ได้จะกลายเป็นความ โกรธและพยาบาทต่อไปเมื่อจิตของเราไม่พอใจกับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง (อรติ) แล้ว หาก ไม่ระงับความไม่พอใจนั้นเสียก็จะเกิดปฏิฆะ คือ ความขัดใจ  หมายถึงจิตไม่อาจลืมอารมณ์นั้นได้  หากละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งสองประการนี้หมดไปก็จะเป็นพระอนาคามี

       เรื่องของนายกาละ

   นายกาละเป็นลูกชายคนเดียวของอนาถบิณฑิกะเศรษฐี  นายกละมีนิสัยไม่ดีต่างจากพี่สาวทั้ง ๓ คนยิ่งนัก  เป็นมิจฉาทิฏฐิว่านอนสอนยาก ชอบการเที่ยวเตร่  ชอบคบนักเลงนี้คือนิสัยของลูกผู้ดีทั้งหลายชอบประพฤติ  เขาทำให้เศรษฐีหนักใจกับลูกคนนี้ยิ่งนัก   วันหนึ่งท่านเศรษฐีมาคิดว่า "ถ้าเราช่วยเหลือลูกคนนี้ไม่ได้ ตายไปเขาก็จะตกนรกอย่างแน่นอน  จำเราจะหาวิธีช่วยเขาให้ได้"   พอคิดได้เช่นนี้แล้ว ท่านเศรษฐีก็ให้เรียกลูกชายมาหาแล้วพูดขึ้นว่า "กาละ  ลูกอยากได้เงินไปเที่ยวไหม๊ ?  พ่อจะให้เธอสัก ๑๐๐ กหาปณะ แต่เธอต้องทำธุระให้พ่ออย่างหนึ่ง"

   นายกาละเห็นโอกาสจะได้เงินไปเที่ยวก็ถามพ่อว่า "พ่อจะให้ผมทำอะไรหรือ"

   ท่านเศรษฐีพูดว่า "ถ้าเจ้าไปถืออุโบสถศีลที่พระเชตวันมหาวิหาร ๑ วัน แล้วตื่นเช้ามาให้เจ้ามารับเงินจากพ่อได้เลย"  

  นายกาละมีความยินดีมากที่จะได้เงิน ๑๐๐ กหาปณะ  ก็ตอบตกลง  นายกาละไปรักษาศีลก็เพราะอยากได้เงิน ๑๐๐ กหาปณะ เมื่อรับศีลแล้วก็ไปหลบนอนอยู่มุมหนึ่ง  พอรุ่งเช้าก็รีบไปรับเงินจากพ่อ  ท่านเศรษฐีก็เอาเงินให้ด้วยความยินดีแล้วก็พูดกับลูกชายว่า "ถ้าเจ้าไปรักษาศีลในวันต่อไปให้เจ้าจำเอาข้อความบทหนึ่งมาบอกพ่อว่าเจ้าจำบทนี้ได้  พ่อก็จะให้เงินเจ้า ๑๐๐๐ กหาปณะ  นายกาละได้ฟังพ่อพูดดังนั้นก็ดีใจแทบจะกระโดดโลดเต้นแล้วพูดว่า "ตกลงพ่อ  ผมจะต้องจำบทความหนึ่งบทมาเล่าให้พ่อฟังให้ได้"   พอวันพระมาถึงนายกาละก็ไปรักษาศีลอีก  คราวนี้เขารอฟังเทศน์ด้วย  วันนั้นพระพุทธเจ้าเจ้ามองเห็นอุปนิสัยของเขาที่จะได้บรรลุธรรมจึงเสด็จมาแสดงธรรมเอง  ในขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังแสดงพระธรรมเศนานั้นเขาพยายามจำว่า "นะโม"  ตัวเดียว พระพุทธองค์รู้วาระจิตของเขาจึงทำให้เขาลืมเสีย  เมื่อลืมบทนะโมแล้วเขาก็ตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาใหม่ เมื่อตั้งใจฟังด้วยความเคารพเขาก็ได้บรรลุเป็นโสดาบันในขณะนั้นนั่นเอง  พอวันรุ่งขึ้นเขาก็มาจากวิหารพร้อมพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์อีก ๕๐๐ รูป เพื่อฉันภัตตารเช้าที่บ้านเศรษฐี  เศรษฐีเมื่อจัดการเลี้ยงพระเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ก็ได้ยกเงิน ๑๐๐๐ กหาปณะมาให้เขาต่อหน้าพระ พุทธเจ้าพร้อมพระสงฆ์ ๕๐๐ รูป  เขามีความละอายมาก จึงพูดกับเศรษฐีว่า "ไม่เอาแล้วพ่อ"   นี้แสดงให้เห็นว่าคนเราเมื่อได้บรรลุธรรมแล้ว ความเกเรก็จะหายไปความโลภก็จะลดลงเพราะมีหิริโอตตัปปะเกิดขึ้นในใจ พระพุทธองค์จึงตรัสกับเศรษฐีว่า "ตอนนี้กาละบุตรชายของท่าน  เขาได้โสดาปัตติผลซึ่งเป็นการได้ที่ประเสริฐกว่าดีกว่ามีอานุภาพมากกว่าการได้ทรัพย์ ๑๐๐๐ กหาปณะแล้ว  ท่านเศรษฐี"

  นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาเขาก็กลับกลายเป็นคนดีของพ่อแม่ทำให้ท่านเศรษฐียิ้มแย้มเป็นสุขจนลืมความตายของลูกสาวไปเลยทีเดียว

   การที่ท่านอนาถบิณฑิกะมหาเศรษฐีหาอุบายสั่งสอนลูกชายที่เกเรให้กลับกลายเป็นคนดีนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่ท่านเศรษฐีได้มอบนิพพานสมบัติให้แก่ลูกชายอันเป็นสมบัติที่ประเสิฐกว่า มนุษย์สมบัติ, สวรรค์สมบัติ, และสมบัติที่เป็นเศรษฐี  คนรวยและเศรษฐีทั้งหลายควรจะเอาเป็นแบบอย่างจงหาวิธีสั่งสอนลูกที่เกเรให้เป็นคนดีให้ได้ท่านก็จะเป็นพ่อแม่ที่ดีมีคุณภาพ  อย่าเอาแต่ดุด่าว่าตีและเอาใจจนลูกเสียคน

      ท่านอนาถบิณฑิกะ ทำการค้าขายระหว่างเมืองสาวัตถีกับเมืองราชคฤห์เป็นประจำ จนมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับเศรษฐีเมืองราชคฤห์ นามว่า “ราชคหกะ อ่านว่า ราดชะคะหะกะ"  และต่อมาเศรษฐีทั้งสองก็มีความเกี่ยวดองกันมากขึ้น โดยต่างฝ่ายก็ได้น้องสาวของกันและกันมาเป็นภรรยา ดังนั้น  เมื่ออนาถบิณฑิกะเศรษฐี นำสินค้ามาขายยังเมืองราชคฤห์จึงได้มาพักอาศัยที่บ้านของราชคฤหกะเศรษฐี  ผู้ซึ่งมีฐานะเป็นทั้งน้องเขยและพี่เมียอยู่เป็นประจำ

        อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นพระโสดาบัน

    อนาถบิณฑิกะเศรษฐี ดำรงชีวิตอยู่ในกรุงสาวัตถี โดยมิได้ทราบข่าวเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนาเลย จวบจนวันหนึ่ง ท่านได้นำสินค้ามาขายยังเมืองราชคฤห์ และได้เข้าพักในบ้านของราชคหกะเศรษฐีตามปกติ แต่ในวันนั้น เป็นวันที่ราชคหกะเศรษฐี 

ได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมากมายมาฉันภัตตาหารที่เรือนของตนในวันรุ่งขึ้น ราชคหกะเศรษฐี มัวยุ่งอยู่กับการสั่งงานแก่ข้าทาสบริวาร จึงไม่มีเวลามาปฏิสันถาร ต้อนรับท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีเหมือนเช่นเคยเพียงแต่ได้ทักทายปราศัยเล็กน้อยเท่านั้นแล้วก็ สั่งงานต่อไปแม้ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี ก็เกิดความสงสัยขึ้นเช่นกัน จึงคิดอยู่ในใจ ว่า

    “ราชคหกะเศรษฐี คงจะมีงานบูชายัญหรือไม่ก็คงจะกราบทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารเสด็จมายังเรือนของตนในวันพรุ่งนี้”

    เมื่อการสั่งงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ราชคฤห์เศรษฐี จึงได้มีเวลามาต้อนรับพูดคุยกับอนาถบิณฑิกะเศรษฐี และท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีก็ได้ไต่ถามข้อข้องใจสงสัยนั้นซึ่งได้รับคำตอบว่าที่มัวยุ่งอยู่กับการสั่งงานนั้นก็เพราะได้กราบทูลอาราธนานิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ มาเสวยและฉันภัตตาหารที่เรือนของตนในวันพรุ่งนี้ อนาถบิณฑิกะเศรษฐี พอได้ฟังคำว่า “พระพุทธเจ้า”  เท่านั้นเองก็รู้สึกแปลกประหลาดใจ จึงย้อนถามถึงสามครั้งเพื่อให้แน่ใจ เพราะคำว่า “พระพุทธเจ้า” นี้เป็นการยากยิ่งนักที่จะได้ยินในโลกนี้ เมื่อราชคหกะเศรษฐีกล่าวยืนยันว่า “ขณะนี้ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระ สงฆ์ เกิดขึ้นแล้วในโลก” จึงเกิดปีติและศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ปรารถนาจะไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ในทันที่ตอนนั้นเลย แต่ราชคหกะเศรษฐียับยั้งไว้ว่ามิใช่เวลาแห่งการเข้าเฝ้า 

    อนาถบิณฑิกะเศรษฐีเมื่อได้ยินคำว่า "พระพุทธเจ้า  พระธรรม   พระสงฆ์  แล้ว" ก็อยากจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้ามากจนหลับลงแล้วตื่นขึ้นหลับลงแล้วตื่นขึ้นถึง ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๓ ท่านนึกว่าสว่างแล้ว จึงได้ออกจากนครราชคฤห์ เพื่อไปเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งขณะนั้น

ประทับอยู่ที่ป่าสีตวัน (ป่าสีตะวัน เป็นป่าช้าผีดิบ) ท่านออกทางประตูป่าสีตวันพวกอมนุษย์ได้ช่วยเปิดประตูให้ แต่พอท่านเศรษฐีออกพ้นพระนครไป ความสว่างก็หายวับไป ความมืดปรากฏขึ้น ท่านจึงเกิดความหวาดกลัวขนพองสยองเกล้าคิดจะกลับเข้าสู่พระนครแต่สีวะกะยักษ์ได้ส่งเสียงให้กำลังใจท่านว่า ช้างตั้ง๑๐๐ ม้าตั้ง ๑๐๐ รถเทียมม้าตั้ง ๑๐๐ ก็ดี หญิงสาวสวยตั้ง ๑๐๐ ตั้ง ๑๐๐๐ ที่จัดสรรประดับร่างกายด้วยกุณฑลแก้วมณีก็ดี ก็ไม่เท่ากับเศษหนึ่งส่วนสิบหกแห่งการยกเท้าเพียงก้าวเดียวของท่านเศรษฐีที่จะเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ขอท่านเศรษฐีจงไปเถิด ขอท่านเศรษฐีจงไปเถิด การไปของท่านเศรษฐีประเสริฐนักหนา ท่านเศรษฐีอย่าได้กลับเลย ต่อมาความมืดได้หายไป ความสว่างได้ปรากฏขึ้นอีก ท่านจึงหายกลัวออกเดินทางต่อไปแต่แล้วความสว่างก็หายไปอีก 

ความมืดก็กลับปรากฏขึ้นแทนอีก ท่านก็ตกใจกลัวขนพองอีก และสีวะกะยักษ์ก็ได้ช่วยส่งเสียงปลอบโยนให้กำลังใจท่านเป็นอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง ในที่สุดท่านก็สามารถเดินทางไปถึงป่าสีตวัน ที่ประทับของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จขณะนั้นพระองค์กำลังเสด็จเดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง  ในเวลาจวนสว่าง เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นอนาถบิณฑิกะเศรษฐีพระองค์ก็เสด็จลงจากที่จงกรมไปประทับนั่งแล้วตรัสเรียกว่า "มานี่เถิด สุทัตตะ" อนาถบิณฑิกะเศรษฐีดีใจมากที่พระพุทธองค์ทรงเรียกชื่อท่าน อนาถบิณฑิกะเศรษฐีจึงรีบเดินเข้าไปหาพระพุทธองค์ที่ทรงประทับนั่งอยู่เหนืออาสนะแล้วหมอบลงแทบพระบาท แล้วถามพระพุทธองค์  ว่า  "พระองค์ประทับอยู่ที่นี่สำราญดีหรือพระเจ้าข้า" 

  พระพุทธองค์จึงทรงตรัสตอบว่า.. "สมณะ ผู้ดับทุกข์ได้แล้วย่อมอยู่เป็นสุขแท้ทุกเวลา  ผู้ใดไม่ติดในกาม  มีใจเย็น  ผู้ไม่มีกิเลสแล้ว  ตัดความเกี่ยวข้องทุกอย่างได้แล้วบรรเทาความกระวนกระวายใจ  ถึงความสงบแห่งจิต  เป็นผู้สงบแล้ว  ย่อมอยู่เป็นสุข" จากนั้น

พระพุทธองค์จึงทรงแสดงธรรมคืออนุปุพพิกถา  (อนุปุพพิกถา” คือ พระธรรมเทศนาที่แสดงความลุ่มลึกลงไปโดยลำดับเพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดและประณีตขึ้นไปเป็นชั้นๆ จากง่ายไปหายาก) เพื่อซักฟอกใจของท่านเศรษฐีพระองค์ได้แสดงธรรม

ถึงเรื่องทาน  ศีล  สวรรค์  โทษของกาม  อานิสงส์ของการออกจากกาม  เมื่อทรงแสดงอนุปุพพิกถาจบแล้ว พระองค์ทรงรับรู้ได้ถึงวาระแห่งจิตของอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า  บัดนี้จิตของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นจิตที่บริสุทธิ์ควรแก่การงาน  ปราศจากนิวรณ์  มีจิตสูงและมีความเลื่อมใสแล้ว จึงทรงแสดงธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เองคือ "อริยสัจ ๔ " 

   เมื่อได้รับฟังพระธรรมของพระพุทธเจ้าจบแล้ว  อนาถบิณฑิกะเศรษฐีก็ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้ง ข้ามความลังเลสงสัย  มีความเชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้า เปรียบเสมือนผ้าที่สะอาดเมื่อนำไปย้อมย่อมได้สีสันที่สวยงาม  และแล้วก็ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุธรรมเป็น  "พระโสดาบัน" หลังจากฟังธรรมจบแล้ว อนาถบิณฑิกเศรษฐีก็มีความปลาบปลื้มปีติอย่างมากมายจึงกล่าวยกย่องพระธรรมเทศนาของพระองค์ว่า  "ข้าแด่พระองค์ผู้  เจริญ  พระธรรมของพระองค์นั้นทรงแจ่มแจ้งชัดเจน และไพเราะงดงามยิ่งนักพระธรรมที่พระองค์ ทรงแสดงนั้น เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิดอยู่ บอกทางแก่คนหลงทาง และส่องคบไฟในที่มืดเพื่อคนที่มีตาดีจักมองเห็นฉันนั้น" แล้วเปล่งวาจาแสดง ตนเป็นพุทธมามกะว่า "ข้าพระพุทธเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะของข้าพระพุทธเจ้า ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิตของข้าพระพุทธเจ้า"  "ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับ ภัตตาหาร เพื่อเจริญบุญกุศล ปีติและปราโมทย์ ในวันพรุ่งนี้ของข้าพระพุทธเจ้า" พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนา โดยดุษณีภาพ  (คือการนั่งนิ่งๆ ผู้มีปัญญาจะพึงทราบเอง) 

  ครั้นอนาถบิณฑิกะคหบดีทราบว่าพระพุทธองค์ทรงรับ อาราธนาแล้วจึงลุกจากที่นั่งถวายบังคม ท่านเศรษฐีก็กระทำประทักษิณ ๓ รอบ แล้วกลับมายังที่พักในคืนนั้น ท่านได้ตระเตรียมอาหารด้วยตนเองจนพร้อมบริบูรณ์ แม้ท่านเศรษฐีแห่งนครราชคฤห์จะช่วย

เหลือบ้างในฐานะเจ้าของบ้าน ท่านก็ไม่ยอม พระเจ้าพิมพิสาร ได้ทราบข่าว ก็เสด็จมาหาท่านเพื่อจะทรงช่วยเหลือบ้าง ท่านก็ทูลปฏิเสธว่า ท่านจัดไว้พร้อมทุกประการแล้ว  ครั้นในวันรุ่งขึ้นท่านได้ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์ด้วยมือของท่านเอง เมื่อพระพุทธองค์เสวยเสร็จแล้ว ท่านเศรษฐีได้กราบทูลอาราธนา  พระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปจำพรรษาที่นครสาวัตถีบ้าง พระพุทธองค์ตรัสว่า "พระตถาคตทั้งหลายย่อมยินดีในเสนาสนะอันสงบสงัด" 

 ท่านเศรษฐีทูลตอบว่า "ข้อนั้นข้าพระองค์ทราบแล้ว พระเจ้าข้า" เมื่อได้ทรงแสดงธรรมแก่ท่านเศรษฐีพอสมควรแล้ว พระองค์ก็เสด็จกลับสู่ที่ประทับ  ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีจึงรีบทำธุระของตนในกรุงราชคฤห์ให้เสร็จเร็วก่อนกำหนดเพื่อที่จะกลับเมืองสาวัตถีไปสร้างอารามถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกได้อยู่จำพรรษา   ครั้นท่านเศรษฐีได้ทำธุรกิจในนครราชคฤห์สำเร็จก็ออกเดินทางกลับไปยังนครสาวัตถี ท่านเศรษฐีเป็นผู้มีมิตรสหายมากและเป็นที่รู้จักของทุกคนทุกหมู่บ้าน ท่านจึงได้ชักชวนเพื่อนของท่านในแต่ละหมู่บ้านว่า " บัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว และข้าพเจ้าก็ได้อาราธนาพระพุทธเจ้าและพระสาวก มาจำพรรษาในนครสาวัตถี ซึ่งพระองค์จะเสด็จมาตามเส้นทางนี้ ขอท่านทั้งหลายจงช่วยกันสร้างเสนาสนะสำหรับที่พักแรมเพื่อน้อมถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวก ในระยะทางทุก ๑ โยชน์ รวม ๔๕ โยชน์จนถึงเมืองสาวัตถี แล้วจงช่วยกันแผ้วถางหนทางให้ราบเรียบและร่มรื่น เหมาะแก่การพักเหนื่อยเถิด" 

      อนาถบิณฑิกะเศรษฐีสร้างมหาวิหารถวาย

   ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีเมื่อไปถึงเมืองสาวัตถีแล้ว ท่านก็รีบไปสำรวจดูพื้นที่ทั่วทั้งพระนครเพื่อหาสถานที่สร้างอารามที่จะเป็นที่ประทับของพระพุทธองค์และของเหล่าพระสาวกโดยท่านเศรษฐีมีหลักในการเลือกหาสถานที่ดังนี้

   ๑.สถานที่นั้นต้องอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านเกินไปเพื่อความสะดวกในการบิณฑบาต

   ๒.ไม่อยู่ใกล้กับหมู่บ้านมากนักเพื่อจะได้ไม่พลุกพล่านด้วยผู้คน

   ๓.มีการคมนาคมไปมาได้สะดวกสบาย

   ๔.กลางวันมีคนมาไม่มากเพราะต้องการความสงบ

   ๕.กลางคืนเงียบสงบไม่มีเสียงรบกวนใดๆ

   ๖.ไม่มีชาวบ้านเข้ามารบกวน คือ บางทีเขามาตัดไม้ในป่าบ้าง ถ้าไม่ปฏิสันถารเดี๋ยว ชาวบ้านก็โกรธถ้าคุยด้วยก็เสียเวลาปฏิบัติธรรม

   ๗.เป็นสถานที่สงบ วิเวก คือ พอเดินผ่านไปดูเหมือนไม่มีพระภิกษุ

   ๘.เป็นสถานที่เหมาะสมสำหรับบรรพชิตหรือนักบวชผู้รักความสงบ 

    สถานที่จะต้องหลีกเร้นเพราะนักบวชพึงต้องการๆปฏิบัติธรรม ถ้าอยู่โดยไม่ได้ปฏิบัติธรรมแล้วเป็นนักบวชยาก อยู่ไปก็อย่างนั้น ๆอยู่กันไปวันๆ ไม่ว่าพระเณรหรือฆราวาสก็ตาม แม้ฆราวาสมีเครื่องสนุกสนานเพลิดเพลิน แต่ถ้าไม่ทำสมาธิปฏิบัติธรรมแม้มีชีวิตอยู่ก็เหมือนคนที่ตายไปแล้วเมื่อมาถึงเมืองสาวัตถี   ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีก็ได้เที่ยวเดินสำรวจพื้นที่เพื่อหาผืนดินที่เหมาะสมแก่การสร้างวิหาร จนมาพบอุทยานของเจ้าเชตราชกุมาร พบว่าเป็นที่ที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างวิหารถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกเพราะมีคุณสมบัติ ๘ ประการครบถ้วนบริบูรณ์ท่านจึงเดินทางไปเข้าเฝ้าเจ้าเชตราชกุมาร และกราบทูล ว่า “ หม่อมฉันมาขอประทานที่ดินผืนที่เป็นอุทยานของพระองค์ พระเจ้าข้า” 

   เจ้าเชตถามว่า "ท่านเศรษฐีจะเอาผืนดินไปทำอะไร" 

   ท่านเศรษฐีตอบว่า "จะเอาไปสร้างอารามถวายสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน "

  เจ้าเชตราชกุมารจึงถามความต้องการว่า "ท่านเศรษฐีต้องการพื้นที่ขนาดเท่าไหร่ บริเวณไหน" 

  ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีก็ตอบว่า "หม่อมฉันอยากได้พื้นที่ทั้งหมดของอุทยาน พระเจ้าข้า”  ความต้องการของเศรษฐีทำให้เจ้าเชตราชกุมารถึงกับนิ่งอึ้งไปด้วยความประหลาดใจเป็นอย่างมาก   

   เจ้าเชตจึงถามกลับว่า "ทำไมถึงต้องใช้พื้นที่มากมายถึงขนาดนั้นล่ะ ? อุทยานของฉันมีพื้นที่กว้างขวางมาก จะสร้างวิหารอะไรใหญ่โตมากขนาดนั้น"

   ท่านเศรษฐีตอบว่า " หม่อมฉันไม่ได้สร้างหลังเดียว  พระเจ้าข้า "

   เจ้าเชตกล่าวว่า "ถึงจะสร้างหลายหลังก็ไม่น่าจะต้องใช้ที่ดินมากมายถึงขนาดนี้ " 

   ท่านเศรษฐีก็กล่าวว่า " หม่อมฉันนอกจากจะสร้างวิหารถวายพระพุทธเจ้าแล้วก็จะสร้างเสนาสนะที่พักของภิกษุสงฆ์ สำหรับภิกษุสงฆ์จำนวนเรือนหมื่น จะสร้างที่พักสำหรับภิกษุอาคันตุกะที่มาจากทั่วสารทิศกว่าพันรูป ที่จะมาฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็จะสร้างธรรมสภาเพื่อให้ประชาชนเข้ามาฟังธรรม ซึ่งต้องสามารถจุคนได้จำนวนมาก จะสร้างหอฉันอีกเรือนเก็บของซุ้มประตู แล้วก็อีกเยอะแยะ แล้วก็ยังต้องเว้นพื้นที่ให้ห่างกันพอประมาณอีกไม่ใช่ว่าสร้างติด ๆ กัน ต้องสร้างมีระยะ มีช่องไฟ ถึงจะสวยงาม ไม่แออัดเพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องใช้พื้นที่ทั้งหมดของอุทยาน พระเจ้าข้า”

   เจ้าเชตกล่าวว่า "เราฟังท่านพูดมานาน ฟังแล้วคิดว่า โอ้! อุทยานนี้เราให้ไม่ได้หรอกนึกว่าท่านจะเอาสักหน่อยก็จะตัดให้สักไร่สองไร่ แต่เล่นเอาทั้งหมดอย่างนี้ เราให้ไม่ได้หรอกและเราก็รักสถานที่แห่งนี้มากเหลือเกิน แต่ถ้าท่านต้องการ ท่านต้องซื้อโดยการนำเอาทรัพย์มาปูเรียงติดกันไปอย่าให้มีช่องว่าง ถ้าตรงไหนเป็นหลุมเป็นบ่อก็เอาเงินมาถมให้เต็ม  ตรงไหนเป็นต้นไม้ก็ให้วัดรอบต้นไม้แล้วเอามาทำเป็นรูปวงกลมแล้วเอาทรัพย์ปูลาดไปตามวงกลมนั้น  ตรงไหนเป็นก่อไผ่ก็ให้ขุดขึ้นมาแล้วเอาทรัพย์ถมลงไปให้เต็ม   ตรงไหนเป็นหนองน้ำและบ่อน้ำก็จงขนเอาทรัพย์มาถมให้เต็ม   ถ้าตรงไหนมีช่องว่างถือว่าผิดกติกา คือไม่ให้มีที่ว่างต้องปูทรัพย์ให้เต็มพื้นที่ทั้งหมด ถ้าทำได้อย่างนี้เราถึงจะขายให้"  

  การที่เจ้าเชตพูดอย่างนี้ ก็พูดออกมาเพื่อให้เศรษฐีซื้อไม่ได้เพราะจริงๆแล้วเจ้าเชตยังรักอุทยานตรงนี้อยู่มาก  เพราะมันเป็นที่ร่มรื่นน่ารื่นรมณ์ แต่ในใจจริงๆ เจ้าเชตไม่ขาย เลยพูดออกมาอย่างนี้ เพราะคิดว่ายกเว้นเทวดาแล้ว มนุษย์ทำไม่ได้หรอก ที่ตั้งราคาแพง ๆ สูง ๆ ก็เพราะว่าไม่อยากขายนั่นเองแต่ว่าเจ้าเชตพูดผิดคนเสียแล้ว มาพูดกับท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี

   เศรษฐีก็พูดว่า " ตกลง ถ้าพระองค์จะทรงขายเช่นนี้ หม่อมฉันก็จะนำเอาทรัพย์มาปูเรียงให้เต็มพื้นที่ทั้งหมดของพระองค์คืนนี้เลย"

   เจ้าเชตพูดว่า "ซื้อจริงๆเหรอ ใจท่านเศรษฐีไม่ใช่ว่าขอคิดดูก่อนจะให้คำตอบวันหลัง ท่านเศรษฐีคิดแล้วทำเลย  ตั้งแต่เกิดมาเป็นเจ้าเชตยังไม่เคยได้ยินและเคยเห็นบุคคลเช่นนี้ในโลกมาก่อนเลย  เอ๊ะ ! บุคคลเช่นนี้ก็มีด้วยหรือเจ้าเชตตกพระทัย " 

   เจ้าเชตยังพูดต่อไปว่า "เราพูดเล่น ไม่คิดว่าท่านจะกล้าซื้อจริงๆ เราพูดไปอย่างนั้นเอง อย่างไรเราก็ไม่ขายหรอก ที่พูดไปอย่างนั้นเพราะคิดว่า อย่างไรเสียท่านเศรษฐีก็คงไม่มีปัญญาซื้ออย่างแน่นอน แต่ตอนนี้ท่านจะเอาจริงๆ มีเงินพร้อมที่จะซื้อด้วย มันเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อจริงๆ ถึงอย่างไรฉันก็ไม่ขายหรอก"

  เศรษฐีเมื่อได้ยินเจ้าเชตพูดออกมาเช่นนี้ ก็พูดว่า "ปกติท่านเป็นคนสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน มีจิตใจเอื้อเฟื้อ เมตตาดวงตาก็อ่อนโยน แต่มาบอกว่าไม่ขายทั้งที่บอกว่าขายแล้วแต่ก็มากลับคำอย่างนี้มันไม่ค่อยเหมาะสมนัก  พระองค์ทำเช่นนั้นไม่ได้ หม่อมฉันไม่ยอมเพราะพระองค์ตกลงราคาไว้แล้ว พูดอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น" ก็เกิดเถียงกันไปมา  

  เจ้าเชตก็บอกว่า" ไม่ได้เราไม่ขายหรอก เราก็พูดไปอย่างนั้นเอง ไม่คิดว่าท่านจะเอาจริงๆ ท่านเอาจริง เราก็พูดเล่นไม่ได้นะสิ" 

 ในใจของท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีนึกถึงแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์อยากจะเอาบุญใหญ่ เพราะการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่ง่ายและตอนนี้ท่านก็เป็นพระโสดาบันแล้ว ยังยืนยันอย่างมั่นคงว่า จะต้องขายเพราะตกลงกันแล้วเมื่อพระองค์ไม่ขายก็จะต้องเข้าสู่ขบวนการยุติธรรมเพื่อให้ตุลาการเป็นคนตัดสิน  ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีจึงนำเรื่องนี้เข้าสู่ขบวนการสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อให้ตุลาการเป็นคนตัดสินพิพากษาความยุติออกมา  ตุลาการวินิจฉัยคดีออกมาว่า "การซื้อขายตามที่ตกลงกันนั้น ถือเป็นการซื้อขายที่ชอบแล้ว ตามกฎมณเฑียรบาลของแผ่นดินเจ้าเชตจะต้องขาย " เจ้าเชตจึงจำใจต้องขายอุทยานให้ท่านเศรษฐีตามราคาที่เสนอไป แต่ก็ยังนึกไม่ออกว่าถึงแม้เราจะตกลงขายไปแล้ว ท่านเศรษฐีจะนำเอาทรัพย์มาปูไปได้ถึงไหน

   ท่านเศรษฐีดีใจมากที่เจ้าเชตยอมตามคำวินิจฉัยนั้น สั่งบริวารทันทีเลย ให้นำเกวียนบรรทุกเงินจำนวนหลายร้อยเล่มเกวียนเพื่อนำมาปูเรียงเต็มพื้นที่อุทยาน  ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีให้บริวารของตนปูเงินเรียงกัน โดยเริ่มจากภายในออกมาภายนอกเริ่มท้ายสวนก่อน ปูมาเรื่อยเป็นลำดับปูมาทุกส่วนจรดกัน เรียงกันอย่างมีระเบียบส่วนภายในบางแห่งที่มีต้นไม้ หรือแอ่งน้ำก็จะเอาเงินกองเอาไว้ โดยกะให้เท่ากับพื้นที่บริเวณของต้นไม้หรือแอ่งน้ำนั้นเมื่อปูเรียงเต็มพื้นที่อุทยานแล้ว ก็ได้เชิญเจ้าเชตมาดูการปูเงินเพื่อเป็นสักขีพยาน

   เศรษฐีถามเจ้าเชตว่า " ปูชิดอย่างนี้ถูกใจไหม ตามที่ท่านตกลงใช่อย่างนี้หรือไม่ ?"  

   เจ้าเชตบอกว่า " ใช่ๆ "   ท่านเศรษฐีก็ให้ขนเงินมาอีก มาเรื่อยๆ ปูเต็มจนกระทั่งถึงซุ้มประตูทางเข้าด้วยใบหน้าที่สดชื่นผ่องใสเพราะในใจมีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านคิดว่าทำอย่างไรโลกจะได้รับประโยชน์จากทรัพย์ของเรา เพราะว่า ทรัพย์สินเงินทอง คืออุปกรณ์การสร้างบารมีปกติเจ้าเชตเป็นคนตระหนี่ ไม่ยอมจ่ายทรัพย์ของตนง่ายๆ ใครมาขอก็บอกเชิญไปข้างหน้าก่อนในตอนนั้น บริวารเจ้าเชตกลับมาเล่าให้ท่านฟัง 

    เรื่องการใช้ทรัพย์ปูของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเพราะท่านคอยฟังข่าวมาตลอด ว่าเขาขนทรัพย์มาถึงตรงนั้น  ปูมาถึงตรงนี้แล้วเจ้าเชตฟังทีก็ระทึกใจที  มาถึงครึ่งสวนแล้ว  มถึง ๓ ส่วน ๔ ของสวนแล้ว เหลืออีกนิดเดียวแล้วมาเรื่อยๆ เลยและในที่สุดจากความลุ้นระทึกก็เปลี่ยนแปลงจิตใจท่านใหม่ ให้เกิดศรัทธาขึ้น ท่านบอกเห็นแล้วขนลุกตอนแรกตกใจประหวั่นพรั่นพรึงพอเห็นคนเอาจริงเข้า ขนลุกซู่เลย เปลี่ยนจากคนที่ใจมืดบอดด้วยความตระหนี่ มาเลื่อมเป็นเงาใสกระจ่าง ด้วยความศรัทธาในการกระทำของท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี ที่ของเราคงไม่เหลือแล้วกระมัง ท่านเศรษฐีเล่นปูลาดเงินจนเต็มพื้นที่แล้ว ท่านจึงให้บริวารไปเชิญท่านเศรษฐีมาแล้วพูดว่า " ท่านเศรษฐีพอแล้ว ท่านเศรษฐีเดี๋ยวหยุดก่อน พอก่อน อย่าเพิ่งปูอีกเลยขอให้ท่านเหลือที่ตรงนี้ไว้ให้แก่เราด้วยเถอะ ไม่ต้องนำเงินมาปูลาดอีกแล้วล่ะ เราขอร่วมทำบุญกับท่านโดยถวายพื้นที่ตรงนี้ให้แก่พระศาสนา"  

   ท่านเศรษฐีก็นึกในใจว่าเจ้าเชตราชกุมารนี้เป็นผู้มีชื่อเสียง มีคนรู้จักมาก การที่เจ้าเชตมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาย่อมเกิดผลดี 

   ท่านเศรษฐีจึงตัดสินใจถวายส่วนที่เหลือนั้นให้แก่เจ้าเชตได้มีส่วนแห่งบุญ แล้วตรงนั้นเป็นทางเข้าเสียด้วย เจ้าเชตสั่งให้บริวารสร้างซุ้มประตู ๗ ชั้น ณ พื้นที่ว่างนั้น ใช้ทรัพย์ทั้งสิ้น ๑๘ โกฏิ โดยเอาเงินที่ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีปูไว้นำมาสร้างทั้งหมดดังนั้นคนทั่วไปจึงเรียกวิหารนี้ว่า "พระเชตวันมหาวิหาร ซึ่งเป็นการให้เกียรติแก่เจ้าเชตราชกุมารแต่คนก็เรียกต่อท้ายว่า อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี  เมื่อสร้างวิหารเสร็จแล้วท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ส่งคนเข้าไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เพื่อกราบทูลให้พระพุทธองค์ทรงทราบและอาราธนาให้พระพุทธองค์เสด็จออกจากนครราชคฤห์ไปสู่นครสาวัตถีท่าน เศรษฐีได้จัดเตรียมการฉลองวิหารอย่างยิ่งใหญ่ 

   ในวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกเสด็จมาถึงพระเชตวันมหาวิหาร ท่านอนาถเศรษฐีได้ส่งบุตรชายออกไปต้อนรับบุตรชายเศรษฐีพร้อมด้วยบริวารอีก ๕๐๐ คน อันเรืองรองไปด้วยผ้า ๕ สี บุตรชายท่านเศรษฐีชื่อ กาละ และบริวารทั้ง ๕๐๐ คน ก็ได้โบกสะบัดธงเพื่อต้อนรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกถัดจากการต้อนรับ ขบวนของบุตรชายเศรษฐีแล้วก็มีขบวนของธิดาสาวของเศรษฐีคือ นางสาวมหาสุภัททา และนางสาวจูฬสุภัททาพร้อมด้วยบริวารอีก ๕๐๐ คน ถือหม้อน้ำอันเต็มไปด้วยน้ำเพื่อรอต้อนรับการเสด็จ ถัดจากขบวนของธิดาสาวทั้งสอง ก็เป็นขบวนของภรรยาของท่านเศรษฐี พร้อมด้วยเพื่อนหญิงที่เป็นเศรษฐีอีก ๕๐๐ คน ถือถาดอันเต็มไปด้วยอาหาร รอต้อนรับการเสด็จของพระบรมศาสดา และพระสาวกส่วนท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีก็ได้นุ่งห่มผ้าใหม่แล้วออกไปต้อนรับพระพุทธเจ้า และพระสาวกเป็นขบวนสุดท้ายพร้อมกับเพื่อนเศรษฐีอีก ๕๐๐ คน 

   เมี่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมเหล่าพระสาวกเสด็จมาถึงขบวนต้อนรับของท่านเศรษฐีพระพุทธองค์ก็ทรงให้อุบาสกเดินนำหน้าเพื่อนำเสด็จเข้าสู่พระเชตวันมหาวิหารพระพุทธองค์ทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสี กระทำบริเวณนั้นให้เป็นประดุจทองคำเหลืองอร่าม 

พระบรมศาสดาของเราพระองค์นี้ทรงมีพระฉัพพรรณรังสีเปล่งออกจากพระวรกายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบางพระองค์ทรงเปล่งพระรังสีสว่างไสวจนไม่รู้เลยว่า ดวงอาทิตย์ขึ้น หรือดวงอาทิตย์ตกกลางวันหรือกลางคืน ในยุคนั้นจะรู้ได้เมื่อนกหิว มันจะออกจากรังไปทำมาหากินของมันแล้วพอถึงเวลามันง่วง มันก็บินกลับมานอนที่รังของมัน เราจึงรู้ว่า กลางวันหรือกลางคืนเพราะรัศมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น  กลบหมดโลกธาตุต่างๆ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เราชาวพุทธควรจะปลื้มปีติยินดีว่า ที่ท่านเปล่งฉัพพรรณรังสีได้แสดงว่าพระองค์มีความบริสุทธิ์มาก จนกระทั่งพลังแห่งความบริสุทธิ์นั้น นึกจะเปล่งออกมาเมื่อไหร่ก็ได้ เอาออกก็ได้ ไม่เอาออกก็ได้หรือให้เรืองๆ นิดๆ เป็นปกติของท่านก็ได้แต่พอเรามายุคนี้ เราเกิดไม่ค่อยทัน จึงชักจะไม่ค่อยเชื่อ มันกลายเป็นเรื่องอจินไตย คือ เหนือความนึกคิดเราจะไปหาเหตุผลด้วยวิธีธรรมดาว่า อย่างนี้ต้องเพราะอย่างนั้นๆ ก็ไม่ได้ และคนที่เคยเห็นไม่กลับมาเกิดแล้วมาเล่าให้เราฟัง หรือไม่อยู่มาถึงมาเล่าให้เราฟังว่าเคยเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสีแล้วเราก็ไม่ได้ไปเกิดในยุคนั้น แล้วอายุยืนมาจนถึงปัจจุบันนี้พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปด้วยพุทธลีลาอันงดงามหาที่เปรียบมิได้จากนั้นพระองค์พร้อมด้วยเหล่าพระสาวกเสด็จประทับบนอาสนะที่จัดไว้อย่างเรียบร้อย ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีได้กราบทูลว่า" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญควรปฏิบัติอย่างไรกับวิหารนี้ต่อไป "

   พระพุทธองค์ตรัสว่า "ท่านเศรษฐี ขอท่านจงถวายวิหารนี้แก่ภิกษุสงฆ์ที่อยู่ในทิศทั้ง ๔ ทั้งที่มาแล้วและยังมิได้มา" ท่านเศรษฐีรับพุทธดำรัสด้วยความปีติเบิกบานใจจากนั้นท่านก็นำน้ำเต้าทองมาหลั่งน้ำลงบนพระหัตถ์ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วกล่าวคำถวายวิหารนี้ว่า " ข้าพระองค์ขอถวายพระเชตวันมหาวิหารนี้ แด่สงฆ์ทั้ง 4 ทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังมิได้มาโดยมีพระพุทธเจ้าเป็นพระประมุข " ครั้นท่านเศรษฐีได้ทำตามพระพุทธฏีกาแล้วพระพุทธองค์ทรงอนุโมทนาว่า "วิหาร คือที่อยู่อาศัยย่อมป้องกันเย็นร้อนได้ ป้องกันสัตว์ร้ายได้ ป้องกันงูเล็กงูใหญ่ เหลือบยุงได้ ป้องกันน้ำค้างน้ำฝนได้ป้องกันลมแดดได้ การถวายวิหารแก่สงฆ์เพื่อเป็นที่อาศัย เพื่อความสุข เพื่อเจริญฌาน เพื่อเจริญวิปัสสนาพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญว่า เป็นการถวายที่มีผลเลิศ เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้พหุสูตอยู่ ถวายข้าวเครื่องนุ่งห่ม ที่นั่งที่นอนแก่ภิกษุเหล่านั้นด้วยใจเลื่อมใสต่อพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้ปฏิบัติตรงภิกษุเหล่านั้นจะได้แสดงธรรมอันเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ทั้งปวง อันทำให้รู้สิ้นอาสวกิเลสได้ ให้บัณฑิตนั้นฟัง" หลังจากที่พระพุทธองค์อนุโมทนาแล้วก็เสด็จกลับไปยังพระเชตวันมหาวิหารในวันที่ ๒ ท่านเศรษฐีก็จัดการฉลองพระวิหารเป็นเวลา ๙ เดือน หมดเงิน ๑๘ โกฏิ ตั้งแต่นั้นมา ท่านเศรษฐีก็ได้ถวายทานเป็นการใหญ่เป็นประจำทุกวัน คือ สลากภัต ๕๐๐ ที่ ปักขิกภัต ๕๐๐ ที่  สลากยาคู ๕๐๐ ที่ ปักขิกยาคู ๕๐๐ ที่ ธุวภัต ๕๐๐ ที่ คมิกภัต ๕๐๐ ที่ คิลานภัต ๕๐๐ ที่คิลาโนปัฏฐากภัต ๕๐๐ ที่ และได้ตบแต่งอาสนะไว้๕๐๐ อาสนะ เป็นประจำ ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์ จึงทรงแต่งตั้ง  ท่านไว้ในตำแหน่ง "อัครทายก" เล่ากันมาว่า ในอดีตชาติ สมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระท่านได้เกิดในเมือง หงสาวดี เมื่อได้ฟังธรรมกถาของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้ว ได้เห็นพระพุทธองค์ทรงแต่งตั้งอุบาสกคนหนึ่งไว้ในตำแหน่ง อัครทายกผู้เลิศกว่าทายกทั้งหลาย จึงได้ทำบุญกุศล แล้วปรารถนาจะได้ตำแหน่งนี้บ้าง ครั้นในพุทธุปบาทนี้ ท่านจึงได้สำเร็จความปรารถนานี้  ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีมีความเคารพรักในพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง  

   ขณะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหาร ท่านไปเฝ้าพระพุทธองค์วันละ ๓ ครั้งทุกวัน เมื่อจะไปเฝ้าก็ไม่เคยไปมือเปล่าเลย  ถ้าจะไปในเวลาก่อนฉันอาหาร ก็ตระเตรียมข้าวยาคู และของขบฉันอื่น ๆ จัดให้คนถือไป ถ้าจะไปในเวลาฉันอาหารแล้ว ก็ตระเตรียมเภสัชมีเนยใสเนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้น จัดให้คนถือไปถ้าจะไปในเวลาเย็น ก็ตระเตรียมเครื่องสักการะมีดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้และผ้า เป็นต้น จัดให้คนถือไป นอกจากนี้ยังคอยทูลถามถึงพระอนามัยของพระพุทธองค์อยู่เสมอทั้ง ๆ ที่ท่านเข้าเฝ้าอยู่เป็นประจำก็ตามแต่ท่านไม่เคยทูลถามปัญหาธรรมกับพระพุทธองค์เลย เพราะท่านคิดว่า พระองค์ทรงเป็นพระพุทธเจ้าสุขุมาลชาติเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ ถ้าพระองค์จะทรงแสดงธรรมแก่ท่านพระองค์จะทรงลำบากมาก ฉะนั้น ท่านจึงไม่ทูลถามปัญหาใด ๆ ทั้งนี้ ก็เพราะท่านเคารพรักพระพุทธองค์มากนั่นเอง

  ครั้งหนึ่งพระองค์ตรัสว่า ท่านอนาถบิณฑิกรักษาพระองค์ในฐานะที่ไม่ควรรักษา เพราะพระองค์บำเพ็ญบารมีมาด้วยความยากลำบาก เป็นเวลา ๔ อสงไชย หนึ่งแสนมหากัป ก็เพื่อจะสอนคนอื่น แล้วทรงแสดงธรรมให้ท่านเศรษฐีฟัง ๑ กันฑ์  ในสมัยต่อมา ประชาชน

ในนครสาวัตถี มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากขึ้น และได้มีจิตศรัทธาในการถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์กันมากขึ้น เนื่องจากท่านเศรษฐีเคยทำบุญให้ทานมานาน ก็รู้จิตใจของพระสงฆ์ได้ดี จึงจัดอาหารถวายได้ถูกใจพระเสมอ ฉะนั้น บ้านใดก็ตาม ถ้าจะถวาย

ทานก็ต้องเชิญท่านเศรษฐีไปช่วยจัดการให้ ท่านก็ไปช่วยเหลือเขาเสมอ ๆ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงไม่เคยมีเวลาอยู่บ้าน เพื่อถวายทานประจำวันของท่าน ซึ่งมีพระสงฆ์มาฉันวันละ 2 พันรูปทุกวัน ท่านจึงได้มอบหมายหน้าที่นี้  ให้ธิดาคนโตชื่อ มหาสุภัททา ช่วยจัดการถวายทาน ครั้นมหาสุภัททาได้แต่งงานและไปอยู่บ้านของสามีแล้ว ก็ได้มอบหมายให้จูฬสุภัททาธิดาคนสวยซึ่งเป็นคนที่สองรับหน้าที่นี้สืบไป ครั้นจูฬสุภัททา ได้แต่งงานไปอยู่บ้านของสามี ก็มอบให้ สุมนเทวี ธิดาคนเล็ก รับหน้าที่นี้สืบไป

  สมัยหนึ่ง ท่านเศรษฐีได้ตกอับลงเพราะต้องเสียทรัพย์ไปครั้งใหญ่ถึง ๒ ครั้ง คือพวกพ่อค้าผู้เป็นสหายได้ขอยืมเงินไป ๑๘ โกฏิทรัพย์อีกส่วนหนึ่งซึ่งฝังไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ จำนวน ๑๘ โกฏิ ได้ถูกน้ำเซาะตลิ่งพังทรัพย์ก็ถูกน้ำพัดไปในมหาสมุทร แม้ท่านจะตกอับลงอย่างนี้ก็ตาม ท่านก็ยังคงให้ทานอยู่เสมอวันละ ๕๐๐ รูป แต่เป็นอาหารจำพวกข้าวปลายเกวียนกับผักดอง

         อนาถบิณฑิกะเศรษฐีไล่เทวดาออกจากซุ้มประตู

  ขณะนั้นเทวดาตนหนึ่งผู้เป็นมิจฉาทิฎฐิ ซึ่งสิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูบ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ไม่เลื่อมใสพุทธศาสนา เบื่อระอาที่พระภิกษุสงฆ์เดินรอดซุ้มประตูเข้าออกทุกวัน เพราะในขณะที่ภิกษุสงฆ์เดินรอดซุ้มประตูนั้นตนไม่สามารถจะอยู่บนซุ้มประตูได้ เมื่อเห็นเศรษฐีกลับกลายมีฐานะยากจนลงเพราะทำบุญแก่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จึงปรากฎกายต่อหน้าท่านเศรษฐีกล่าวห้ามปรามให้เศรษฐีเลิกทำบุญเสียเถิด แล้วทรัพย์สินเงินทองก็จะเพิ่มพูนขึ้นเหมือนเดิม 

   เศรษฐีจึงถามว่า “ท่านเป็นใคร ?”

   เทวดากล่าวว่า “ข้าพเจ้าเป็นเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูเรือนของท่าน”

   เศรษฐีพูดว่า “ดูก่อนเทวดาอันธพาล เราไม่ต้องการเห็น ไม่ต้องการฟังคำพูดของท่าน ขอท่านจงออกไปจากซุ่มประตูเรือนของเรา อย่ามาให้ข้าพเจ้าเห็นอีกเป็นอันขาด”

   เทวดาตกใจไม่สามารถจะอยู่ที่ซุ่มประตูเรือนของเศรษฐีได้อีกต่อไป กลายเป็นเทวดาไร้ที่สิงสถิต ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เข้าไปหาเทวดาผู้มีศักดิ์สูงกว่าตนให้ช่วยเหลือ เมื่อไม่มีเทวดาตนไหนช่วยเหลือได้ จึงเข้าขอความช่วยเหลือจากท้าวสักกเทวราชก็เพียงแต่บอกอุบายให้ว่า “ทรัพย์เก่าของเศรษฐีจำนวน ๘๐ โกฏิ ซึ่งใส่ภาชนะฝังไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำถูกน้ำเซาะตลิ่งพังจมหายไปในสายน้ำ ท่านจงไปนำทรัพย์เหล่านั้นกลับคืนมามอบให้ท่านเศรษฐี แล้วท่านเศรษฐีก็จะหายโกรธยกโทษให้ และอนุญาตให้อยู่อาศัยที่ซุ้มประตูบ้านดังเดิมได้” เทวดาก็ไปทำตามคำแนะนำนั้น ได้นำทรัพย์เหล่านั้นมามอบให้เศรษฐีด้วยอำนาจฤทธิ์เทวดา เมื่อเศรษฐียกโทษให้แล้วได้อยู่ ณ สถานที่เดิมของตนอีกต่อไป

  ในคราวที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ตกอับลงนั้น พระพุทธองค์ก็ได้เสด็จไปยังนครสาวัตถี อีกครั้งหนึ่ง เสด็จประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร เมื่อท่านเศรษฐีเข้าเฝ้าก็ตรัสถามว่า "ในตระกูลของท่าน ยังมีการให้ทานอยู่หรือคฤหบดี?"

 ท่านทูลตอบว่า "ยังให้ทานอยู่ พระเจ้าข้า แต่ทานนั้นเป็นของเศร้าหมอง เป็นปลายข้าว มีน้ำผักดองเป็นที่สอง"

 พระพุทธองค์ตรัสว่า "วัตถุที่ให้นั้น จะเศร้าหมอง หรือประณีตก็ตาม แต่ถ้าผู้ให้ทานไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมทานนั้นย่อมให้ผลไม่ดี แต่ถ้าผู้ให้ทาน ให้ด้วยความเคารพ ให้ด้วยความนอบน้อม ให้ด้วยมือของตนเอง ไม่ทิ้งให้เทให้ให้เพราะเชื่อกรรมและผลของกรรม ทานนั้นย่อมให้ผลดี" แล้วทรงเล่าเรื่องเวลามพราหมณ์ ผู้ให้มหาทานให้ท่านเศรษฐีฟัง

  ในอดีตมีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อ เวลามพราหมณ์ เป็นผู้รักในการให้ทานมาก วันหนึ่งพราหมณ์ได้อธิษฐานว่า ถ้าบนโลกนี้ยังมีทักขิไณยบุคคล(ทักขิไณยบุคคล แปลว่า บุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา คือ ทำเคารพ) ผู้เหมาะสมกับทานของเราขอให้น้ำที่อยู่ในเต้าจงไหล

ซึมออกมาลงแผ่นดิน แต่ถ้าไม่มี น้ำนี้จงอย่าได้ไหลออกมาเลย ปรากฎว่าน้ำในเต้าทองไม่ไหลออกมาเลย แม้เปิดฝาแล้วเทลงแต่

เหมือนถูกอุดไว้ แสดงว่า ไม่มีทักขิไณยบุคคลเวลามพราหมณ์เมื่อเห็นดังนั้นก็ไม่เดือดร้อนใจ ไม่มีบุคคลแม้เพียงคนเดียวบนโลก

นี้เหมาะสมที่จะเป็นทักษิณาทานของเราเลย คือ ไม่เหมาะสมในการให้ แต่เมื่อท่านคิดว่าถ้าทักษิณาทานของเราบริสุทธิ์แล้ว ขอน้ำ

นั้นจงไหลออกแล้วซึมลงแผ่นดินเถิด ท่านจึงหลั่งน้ำเป็นครั้งที่ ๒ ปรากฎว่า น้ำนั้นได้ไหลออกมาจากเต้าทองคำ ซึมลงแผ่นดินไป

เลย เวลามพราหมณ์ปลื้มอกปลื้มใจทักษิณาทานดี แต่ปฏิคาหก คือ ทักขิไณยบุคคลไม่มี ท่านได้ไปที่โรงทานแล้วตั้งใจทำทานอย่างเต็มกำลังในโรงทานของเวลามพราหมณ์จะไม่ได้ยินว่า ของสิ่งนั้นไม่มี ของสิ่งนี้ไม่มี เมื่อผู้ที่มารับบริจาคบอกกับท่านเวลามพราหมณ์ว่า เราต้องการอย่างนั้น อย่างนี้ อย่างโน้นก็จะมีของให้กับทุกคน หลังจากนั้นท่านเวลามพราหมณ์จึงคิดที่จะให้ทานยิ่งๆ ขึ้นไป ทาน ที่เวลามพราหมณ์ให้ เปรียบเสมือนกระแสน้ำในแม่น้ำที่ไหลไปไม่ขาดสายเลย ดูก่อนอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านอาจจะเข้าใจว่า เวลามพราหมณ์นั้น คงจะเป็นคนอื่นแต่ที่จริงแล้วเวลามพราหมณ์ในครั้งนั้น คือ เราตถาคตนั่นเอง" ดูก่อนท่านเศรษฐี ส่วนท่านได้ให้ทานในกาลสมัยที่มีพระพุทธเจ้าเช่นเรา ปรากฎอยู่บนโลกท่านจึงไม่ควรคิดน้อยใจ ก็ตอนเวลามพราหมณ์ทำบุญ ยังไม่มีทักขิไณยบุคคลเลยไม่มีพระพุทธเจ้าอย่างเราเกิดขึ้นในโลก เพราะฉะนั้นทานที่ท่านทำอยู่ชื่อว่า ไม่ประณีตไม่มี"  ทุกครั้งที่พระพุทธองค์เสด็จมาประทับที่พระเชตวันมหาวิหาร ท่านเศรษฐีต้องเข้าเฝ้าเสมอ ท่านมักจะเล่าถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ  ถวายพระองค์ ๆ ก็ทรงอาศัยเรื่องของท่านนั่นเอง ได้ตรัสเล่าเรื่องนั้น ๆ ซึ่งเคยเกิดขึ้นแล้วในอดีตให้ท่านฟัง ชาดกต่าง ๆ รวมทั้ง

ธรรมซึ่งธรรมส่วนมากที่พระพุทธองค์ตรัสแก่ท่านเศรษฐีเป็นธรรมสำหรับคฤหัสถ์ดังเช่น จิตที่คุ้มครองรักษาไว้ดีแล้ว ก็เหมือนกับเรือนอันมีเครื่องมุงเครื่องบังดี การให้ทานอาหาร ย่อมได้รับผล คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ  หน้าที่ ๔ อย่างของพ่อบ้านผู้มีศรัทธาคือบำรุงพระภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช

  ความปรารถนาของบุคคลในโลกจะสมหมายได้ยาก 4 อย่างคือ:-

      ๑.ขอสมบัติจงเกิดมีแก่เราโดยทางที่ชอบ

      ๒.ขอยศจงเกิดมีแก่เรากับญาติพวกพ้อง

      ๓.ขอเราจงรักษาอายุให้ยืนนาน

      ๔.เมื่อสิ้นชีพแล้ว ขอเราจงไปบังเกิดในโลกสวรรค์

   สิ่งที่น่าปรารถนา แต่สำเร็จได้ โดยยาก ๕ อย่าง คือ:-

    ๑.ขอให้มีอายุยืนนาน

    ๒.ขอให้มีรูปงาม

    ๓.ขอให้มีความสุข

    ๔.ขอให้มีเกียรติยศชื่อเสียง

    ๕.เมื่อตายไปแล้ว ขอให้เกิดในโลกสวรรค์

    ความสุขของคฤหัสถ์ ๔ อย่าง คือ:-

     ๑.สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์

     ๒.สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค

     ๓.สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้

     ๔.สุขเกิดแก่การประกอบการงานที่ไม่มีโทษ

  วิธีใช้โภคทรัพย์ให้เป็นประโยชน์ ๕ อย่าง คือ:-

     ๑.เลี้ยงตัว บิดา มารดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข

     ๒.เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข

     ๓.บำบัดอันตรายอันจะเกิดแต่เหตุต่าง ๆ

     ๔.ทำพลี ๕ อย่าง คือ:-

        ๔.๑ ญาติพลี = สงเคราะห์ญาติ

        ๔.๒ อติถิพลี = ต้อนรับแขก

        ๔.๓ ปุพพเปตพลี = ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย

        ๔.๔ ราชพลี = ถวายให้หลวง มีเสียค่าภาษีอากรเป็นต้น

        ๔.๕ เทวตาพลี = ทำบุญอุทิศให้เทวดา

     ๕.บริจาคทานให้พระผู้ประพฤติดีปฏิบุติชอบชอบ 

    กรรมกิเลสซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลเศร้าหมอง ๕ อย่างคือ:-

       ๑.ปาณาติบาต = ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง

       ๒.อทินนาทาน = ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ด้วยอาการลักขโมย

       ๓.กาเมสุ มิจฉาจาร = ประพฤติผิดในกาม

       ๔.มุสาวาท = พูดเท็จ

       ๕.สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน = ดื่มสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

   แบบการทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย พุทธบริษัทผู้ใฝ่บุญนั้น ย่อมปรารภเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ขึ้นมาเป็นเรื่องทำบุญได้เสมอ เช่นเรื่องของอนาถบิณฑิกเศรษฐีนี้ 

           ต้นกำเหนิดการทำบุญอุทิศให้คนตาย

   วันหนึ่งหลานของท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีเล่นตุ๊กตาที่ทำจากแป้งแล้วหล่นลงแตก หลานร้องไห้ด้วยความเสียดายตุ๊กตา เพราะไม่มีตุ๊กตาจะเล่น ท่านเศรษฐีได้ปลอบโยนหลานว่า “ไม่เป็นไร เราช่วยกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตากันเถิด” ปรากฏว่าหลาน

หยุดร้องไห้ รุ่งเช้าท่านจึงพาหลานไปทำบุญเลี้ยงพระแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตาข่าวการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตาของท่านเศรษฐี แพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วประชาชนชาวพุทธบริษัททั้งหลาย เห็นเป็นเรื่องแปลกและเป็นสิ่งที่ดีที่ควรกระทำ ดังนั้น

เมื่อญาติผู้เป็นที่รักของตนตายลงก็พากันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เหมือนอย่าที่ท่านเศรษฐีกระทำนั้น และถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้

   เนื่องจากท่านอนาถบิณฑิกะ มีศรัทธาในพระศาสนามาก ได้สละทรัพย์ ๔๕ โกฏิ สร้างพระเชตวันมหาวิหารและได้ทำบุญอื่น ๆ อีกเป็นเงินจำนวนมากเหลือคณนา ดังนั้น ท่านจึงได้รับเกียรติพิเศษจากพระเจ้าปเสนทิโกศลคือให้ท่านเป็นคนปลูกต้นโพธิ์ไว้หน้า

พระเชตวันมหาวิหาร มีชื่อว่า อานันทโพธิ มูลเหตุให้มีการปลูกโพธิ์ต้นนี้ มีเรื่องเล่าไว้ในกาลิงคชาดกว่า ท่านอนาถบิณฑิกได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ในคราวที่พระพุทธองค์เสด็จมาสู่พระเชตวันมหาวิหารครั้งหนึ่ง แล้วเรียนท่านว่า "วิหารนี้เมื่อพระตถาคตเจ้าเสด็จจาริกไปโปรดสัตว์ ณ ที่อื่นเสียก็ไม่มีร่องรอยอะไรเหลือไว้เลยคนทั้งหลายถือดอกไม้ของหอมมาก็ไม่มีที่บูชา ขอพระคุณเจ้าช่วยทูลถามเรื่องนี้ แด่พระตถาคตเจ้าด้วยว่า หากจะสร้างปูชนียสถานขึ้นสักแห่งหนึ่งจะได้หรือไม่? " ท่านพระอานนท์รับคำท่านเศรษฐี แล้วเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ทูลถามถึงพระเจดีย์ว่ามีเท่าไร?

   พระพุทธองค์ตรัสว่า มี 3 คือ:-

    ๑.สารีริกธาตุเจดีย์  คือ  เจดีย์ที่บรรจุสารีริกธาตุ

    ๒.ปาริโภคิกเจดีย์  คือ  เจดีย์ที่บรรจุอัฏฐบริขารต่างๆ

    ๓.อุททิสิกเจดีย์ คือ  เจดีย์ที่สร้างขึ้นโดยเจตนาแทนพระพุทธเจ้า ไม่กำหนดว่ารูปร่างอย่างไร

  ท่านพระอานนท์จึงกราบทูลเรื่องที่ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีเรียนถวาย แล้วทูลขออนุญาตนำพืชโพธิ์จากต้นศรีมหาโพธิ์มาปลูกไว้ที่พระเชตวันมหาวิหารเพื่อให้เป็นปูชนียสถานแก่ประชาชนชาวนครสาวัตถีแทนพระองค์ในคราวที่เสด็จจาริกไปที่อื่น พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ปลูกได้  ท่านพระอานนท์จึงได้แจ้งเรื่องนี้แก่พระเจ้า ปเสนทิโกศล ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีและนางวิสาขา มหาอุบาสิกา เป็นต้น แล้วขอนิมนต์ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ให้เหาะไปนำเมล็ดโพธิ์จากต้น ศรีมหาโพธิ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม 

มา ซึ่งท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้เหาะไปนำมาได้สำเร็จในวันนั้นนั่นเอง ครั้งนำมาแล้วก็ปรึกษากันว่า จะให้ใครเป็นคนปลูก จึงจะสมกับความสำคัญของต้นโพธิ์นี้ ทั้งพระสงฆ์และประชาชนได้ตกลงกันถวายเกียรติให้พระเจ้าปเสนทิโกศล ราชาแห่งแคว้นโกศลเป็นผู้ปลูกแต่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงปฏิเสธ และทรงแนะนำว่า ควรจะให้เกียรตินี้แก่ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีเป็นคนปลูกเพราะท่านเป็นคนสร้างสถานที่นี้ แล้วทรงพระราชทานพืชโพธิ์ให้ท่านเศรษฐี ท่านเศรษฐีจึงได้เอาน้ำหอมประพรมเมล็ดโพธิ์แล้วปลูกลงไว้แล้วทำการฉลองเป็นการใหญ่ และได้บูชาต้นโพธิ์ด้วยสักการะมากมาย ต้นโพธิ์นี้ปรากฏชื่อว่า อานันทโพธิเพราะท่านพระอานนท์เป็นผู้ให้ปลูกของดีของท่านเศรษฐีอีกอย่างหนึ่งคือ ศิริ ในสิริชาดก กล่าวว่า พราหมณ์คนหนึ่งต้องการขโมยศิริของท่านเศรษฐีจึงค้นหาว่าศิรินั้นอยู่ที่ไหน ก็พบว่าอยู่ที่หงอนไก่ตัวผู้สีขาวของท่าน จึงขอไก่ตัวนั้นต่อท่านเศรษฐี พอท่านเศรษฐี มอบไก่ให้แก่พราหมณ์ไป ศิริก็หลบไปอยู่เสียที่ดวงแก้วมณีซึ่งอยู่เหนือหัวนอนของเศรษฐี พราหมณ์จึงขอดวงแก้วมณีพอเศรษฐีตกลงให้ ศิริจึงออกไปอยู่ที่ไม้เตว็ด (ไม้เตว็ด คือ แผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมา เขียนหรือแกะเป็นรูปเทพารักษ์) ซึ่งอยู่เหนือหัวนอนของเศรษฐี  พราหมณ์จึงขอไม้เตว็ด พอเศรษฐีตกลงให้ ศิริจึงหนีไปซ่อนอยู่ที่ศีรษะของภรรยาของท่านเศรษฐี ดังนั้นความปรารถนาของพราหมณ์จึงล้มเหลว แล้วเล่าความจริงแก่ทานเศรษฐี  แม้ท่านเศรษฐีจะเป็นคนใจบุญ และไม่เคยเป็นศัตรูกับใครเลยก็ตามแต่ก็มีคนคิดร้ายต่อท่านอยู่บ้างเหมือนกันเพราะธรรมดาคนพาลย่อมไม่ชอบความดีของผู้อื่น แต่ด้วยบุญกุศลช่วยเหลือ ศัตรูก็ไม่สามารถจะทำอะไรท่านได้ 

  ดังมีเรื่องเล่าว่า ท่านถูกพวกคนร้ายคอยดักทางเพื่อทำร้ายท่านถึง ๒ ครั้ง ครั้งแรกพวกนักเลงสุรา พยายามจะมอมสุราท่านแล้วแย่งเอาเครื่องประดับแต่ท่านรู้ทัน แล้วท่านขับไล่นักเลงให้หนีไป ครั้งที่ ๒ ขณะที่ท่านเดินทางกลับจากไปทำธุรกิจยังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง พวกโจรจำนวนหนึ่งมาคอยดักทางเพื่อจะปล้น  ท่านเศรษฐีรู้ตัวก็รีบถอยกลับเปลี่ยนเส้นทางใหม่แล้วบอกบริวารให้สืบดูความเคลื่อนไหวของพวกโจรอยู่ทางด้านหลังบริวารอีกชุดหนึ่งเดินไปเคลียร์พื้นที่ข้างหน้าเสียก่อนท่านเศรษฐีก็กลับถึงบ้านด้วยความปลอดภัย  นอกจากเป็นนักธุรกิจการค้าที่สุขุมรอบคอบแล้วยังเป็นอัครทายกผู้ให้ทานมาก  ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นนักโต้คารมที่ชำนาญด้วย 

   ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย กล่าวไว้ว่า ท่านเศรษฐีเคยไปหาพวกปริพพาชกในยามว่าง  ท่านได้เคยโต้คารมกับพวกปริพพาชกอย่างเผ็ดร้อน ในทัศนะอันขัดแย้งกันระหว่างลัทธิของพวกปริพพาชกกับพระพุทธศาสนา ท่านสามารถพูดให้คู่แข่งขันยอมจำนนต่อเหตุ

ผลได้ เมื่อเรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธองค์ ก็ทรงสรรเสริญเป็นอย่างมาก  มีเรื่องเล่าว่า  อนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้น   ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา   ถึงกับสละเงิน  ๕๔  โกฏิสร้างพระเชตะวันมหาวิหาร   เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตะวันนี้ท่านก็ไปสู่ที่บำรุงสงฆ์วันละ  ๓  ครั้ง   มิได้ขาดโดยการไปทุก ๆ  วันตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว

  ต่อมาท่านเศรษฐีกลับยากจนลง  เงิน  ๑๘  โกฏิที่พวกพ่อค้ายืมไปประกอบการค้าก็สูญหาย  รวมทั้งเงิน  ๘๐  โกฏิที่เป็นสมบัติแห่งตระกูลของเศรษฐีที่ฝังไว้ใกล้ฝั่งแม่น้ำ  ก็ถูกน้ำเซาะพัดลงสู่มหาสมุทรไปด้วย   เศรษฐียากจนลงด้วยประการฉะนี้แต่อย่างไรก็ตาม   ถึงแม้ว่า   ท่านจะยากจนข้นแค้นสักปานใด   ท่านก็ยังถวายทานแก่พระสงฆ์เรื่อยไป   ผิดอย่างเดียวที่ไม่สามารถจะทำให้ประณีตได้เท่านั้นเอง   จนกระทั่งเทวดาซึ่งสถิตอยู่  ณ  ซุ้มประตูของเศรษฐี   เห็นเศรษฐียากจนลง   กลางคืนก็ไปปรากฏตัวอยู่ในห้องเศรษฐี   บอกให้เศรษฐีเลิกการถวายทานเสีย  มิฉะนั้น  ต่อไปจะลำบาก   แต่เศรษฐีกลับไม่พอใจ   ขับไล่เทวดานั้นออกจากซุ้มประตูของตน  เทวดาเดือดร้อนหนักแล้วคราวนี้   กลายเป็นผู้ไม่มีที่อยู่จึงสำนึกได้  คิดจะให้เศรษฐีอดโทษให้   เพื่อจะได้กลับมาอยู่ในที่เดิมอีก   จึงเข้าไปหาเทพบุตรองค์หนึ่ง เพื่อให้บอกอุบาย   แต่เทพบุตรองค์นั้นไม่สามารถจะบอกอุบายให้ได้จึงเข้าไปหาท้าวมหาราชทั้ง  ๔  ซึ่งก็ได้รับการปฏิเสธเช่นเดียวกันลงท้ายจึงเข้าไปหาท้าวสักกะราชเทวราชๆ ก็ทรงบอกว่า   พระองค์ไม่มีอุบายอะไรที่จะให้เศรษฐีนั้นอดโทษแต่เธอได้   นอกไปกว่าการให้เทวดานั้นแปลงเพศเป็นเสมือนของเศรษฐี   ให้ใครนำหนังสือสัญญากู้เงินจากมือเศรษฐี   นำไปให้เขาชำระทรัพย์  ๑๘  โกฏิที่พวกพ่อค้ายืมเอาไป   และเงินอีก  ๑๘  โกฏิซึงจมลง ในแม่น้ำพร้อมทั้งเงินอีก  ๑๘  โกฏิซึ่งไม่มีเจ้าของ   ฝังอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง  รวมเป็น ๕๔ โกฏิ รวบรวมมาบรรจุไว้ในเรือนคลังของเศรษฐี

แล้วจึงไปขอขมาเศรษฐีเทวดาปฏิบัติตามคำของท้าวสักกะทุกประการ   แล้วเข้าไปหาเศรษฐีที่ห้องนอนอีก   ขอโทษกับเศรษฐีเล่าเรื่องที่ตนนำเงิน ๕๔ โกฏิมาให้เศรษฐีตามเดิม

   ฝ่ายเศรษฐีก็นำเทวดานั้นไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเล่าเรื่องที่เทวดานั้นกระทำทั้งหมดถวายพระองค์   เทวดาทูลขอขมากับพระศาสดาแล้วให้เศรษฐีอดโทษ

   พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "ดูก่อนคฤหบดี   แม้บุคคลผู้ทำบาปในโลกนี้   ย่อมเห็นว่าบาปดี   ตลอดเวลาที่บาปยังไม่เผล็ดผล   แต่เมื่อบาปของเขาเผล็ดผล   เมื่อนั้นเขาย่อมเห็นบาปว่าชั่วแท้  ๆ ฝ่ายบุคคลผู้ทำกรรมดีย่อมเห็นกรรมดีว่าดีตลอดเวลาที่กรรมดียังไม่เผล็ดผล   แต่เมื่อกรรมดีของเขาเผล็ดผลแล้ว  เมื่อนั้นเขาย่อมเห็นกรรมนั้นว่าดีจริงๆ"  แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า "แม้คนทำบาป  ย่อมเห็นว่าบาปดี   ตลอดเวลาที่บาปยังไม่เผล็ดผล   แต่เมื่อบาปเผล็ดผล   เขาย่อมเห็นว่าบาปชั่ว   ฝ่ายคนทำกรรมดี  ย่อมเห็นกรรมดีนั้น ดีตลอดเวลาที่กรรมดียังไม่เผล็ดผล  แต่เมื่อกรรมดีเผล็ดผล  เมื่อนั้นเขาย่อมเห็นกรรมดีว่าดียิ่ง"  ในเวลาจบเทศนา เทวดานั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ฯ

     ท่านเศรษฐีมอบภารกิจของตนให้ลูกหลาน

   ตามปกติทุก ๆ วัน ภิกษุทั้งหมดผู้อยู่ในกรุงสาวัตถีจะรับนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหารในบ้านของอนาถบิณฑิกะเศรษฐี และในบ้านของนางวิสาขาดังนั้น บุคคลอื่น ๆ ผู้ประสงค์จะ ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ก็ต้องมาขอโอกาสแก่ท่านทั้งสองนี้ เมื่อนิมนต์พระได้แล้วก็ต้อง

เชิญท่านทั้งสองนี้ไปเป็นประธานที่ปรึกษาด้วย ทั้งนี้ก็เพราะท่านทั้งสองทราบดีว่าควรประกอบ ควรปรุงอาหารอย่างไรให้ต้องกับอัธยาศัยและวินัยของพระ ควรจัดสถานที่อย่างไรจึงจะเหมาะสม นอกจากนี้ก็เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้านเรือนที่จัดงานอีกด้วย ดังนั้นท่านทั้งสองจึงไม่ค่อยมีเวลาอยู่ปฏิบัติเลี้ยงดูพระภิกษุที่นิมนต์มาฉันที่บ้านของตน นางวิสาขาจึงได้มอบหมายภารกิจหน้าที่นี้แก่หลานสาวส่วนอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ได้มอบให้แก่ลูกสาวคนโตชื่อว่า “มหาสุภัททา” นางได้ทำหน้าที่นี้อยู่ระยะหนึ่ง ได้ฟังธรรม

จากพระพุทธเจ้าเจ้าแล้วได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ต่อมาได้แต่งงานแล้วก็ติดตามไปอยู่ในสกุลของสามีจากนั้นอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ได้มอบหมายให้ลูกสาวคนที่สองชื่อว่า “จูฬสุภัททา”  นางก็ทำหน้าที่แทนบิดาด้วยดีโดยตลอด และก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันเช่นกัน ต่อจากนั้นไม่นาน นางก็ได้แยกไปอยู่กับครอบครัวของสกุลสามี อนาถบิณฑิกะเศรษฐี จึงได้มอบหน้าที่ให้ลุกสาวคนเล็กชื่อว่า “สุมนาเทวี” กระทำแทนสืบมา ลูกสาวป่วยเรียกบิดาว่าน้องชาย  สุมนาเทวี ทำหน้าที่ด้วยความขยันเข้มแข็ง งานสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อยทุกวัน ทั้ง ๆ ที่นางอายุยังน้อย จากการที่นางได้ทำบุญถวายภัตตาหาร แก่พระภิกษุสงฆ์และได้ฟังธรรมเป็นประจำนางก็ได้บรรลุเป็นพระสกทาคามี แต่ต่อมานางได้ล้มป่วยลงมีอาการหนัก ใคร่อยากจะพบบิดา จึงให้คนไปเชิญบิดามา  ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี พอได้ทราบว่าลูกสาวป่วยหนักก็รีบมาเยี่ยมโดยเร็ว 

   พอมาถึงก็ได้ถามลูกสาวว่า “แม่สุมนา เจ้าเป็นอะไรหรือ ?”

    “อะไรเล่า น้องชาย ?” ลูกสาวตอบ

    “เจ้าเพ้อหรือ แม่สุมนา ?” บิดาถาม

    “ไม่เพ้อหรอก น้องชาย” ลูกสาวตอบ

    “แม่สุมนา ถ้าอย่างนั้น เจ้ากลัวหรือ ?” บิดาถาม

    “ไม่กลัวหรอก น้องชาย” ลูกสาวตอบ

    นางสุมนาเทวี พูดโต้ตอบกับบิดาได้เพียงเท่านั้นก็ถึงแก่กรรม  พระโสดาบันร้องไห้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้า ท่านเศรษฐี แม้จะเป็นพระโสดาบัน ก็ไม่อาจจะกลั่นความเศร้าโศกเสียใจเพราะการจากไปของธิดาได้ เมื่อเสร็จงานศพและได้ร้องไห้น้ำตานองหน้าไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ตรัสปลอบว่า “อนาถบิณฑิกะ ก็ความตายเป็นสิ่งเที่ยงแท้ของสรรพสัตว์มิใช่หรือเหตุไฉนท่านจึงร้องไห้อย่างนี้ ?”

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นข้าพระองค์ทราบดี แต่นางสุมนาเทวีธิดาของข้าพระองค์ เมื่อใกล้เวลาจวนจะตาย นางไม่สามารถคุมสติได้เลย นางบ่นเพ้อจนกระทั่งตาย ข้าพระองค์โทมนัสร้องไห้เพราะเหตุนี้ พระเจ้าข้า”  พร้อมทั้งได้กราบทูลถ้อยคำที่นางสุมนาเทวีเรียนตนเองว่าน้องชาย ถวายให้พระพุทธองค์ทรงทราบ พระพุทธองค์ได้สดับแล้วตรัสว่า “ดูก่อนมหาเศรษฐี บุตรของท่านมิได้เพ้อหลงสติอย่างที่ท่านเข้าใจ แต่ที่นางเรียกท่านว่าน้องชายนั้น ก็เพราะท่านเป็นน้องของนางจริง ๆ นางเป็นใหญ่กว่าท่านโดยมรรคและผล เพราะท่านเป็นเพียงพระโสดาบัน แต่ธิดาของท่านเป็นพระสกทาคามีเป็นอริยบุคคลสูงกว่าท่าน และบัดนี้ นางได้ไปเกิดเสวยสุขอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตแล้ว นี่แหละคฤหบดี ธรรมดา บุคคลไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม ถ้าอยู่ด้วยความไม่ประมาท ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ก็ย่อมเสวยสุขเพลินทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”

   อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้วหายจากความเศร้าโศกเสียใจกลับได้รับความปีติเอิบอิ่มใจขึ้นมาแทน เมื่อควรแก่เวลาแล้วก็กราบทูลลากลับสู่เคหสถานของตน  เพราะความที่อนาถบิณฑิกะเศรษฐี เป็นผู้มีศรัทธามั่นคงไม่หวั่นไหว ฝักใฝ่ในการทำ

 บุญให้ทาน ไม่มีผู้ใดจะเปรียบเทียบได้ พระพุทธองค์ยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งหลายในฝ่ายของผู้ให้ทาน 

   ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้บำเพ็ญทานรักษาศีลตลอดมามิได้บกพร่องจนกระทั่งถึงบั้นปลายแห่งชีวิตขณะที่พระพุทธองค์เสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ท่านได้ล้มป่วยลงอย่างหนัก จนท่านรู้ตัวว่าจะต้องตายแน่แล้วจึงได้ส่งคนไปกราบทูลพระพุทธ

องค์ว่า ท่านป่วยหนัก จนถึงนอนลุกไม่ได้อีก บัดนี้ขอน้อมเกล้าถวายบังคมมาถึงพระองค์และพร้อมกันนั้นก็ให้นิมนต์ท่านพระสารีบุตรเถระ มาที่บ้านด้วย ท่านพระสารีบุตรเถระพร้อมด้วยท่านพระอานนท์ได้ไปเยี่ยมท่านเศรษฐีที่บ้าน ไต่ถามถึงความป่วยไข้แล้ว ได้แสดงธรรมเทศนา สอนท่านให้ถอน ตัณหา ทิฐิ มานะ ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นว่านี้ของเรา นี้เป็นเรา นี้เป็นตัวขอเรา เป็นต้น เมื่อจบธรรมเทศนาแล้วก็ลากลับ  ท่านเศรษฐีร้องไห้น้ำตาไหล ถึงกับพูดว่ายังไม่เคยฟังธรรมกถาที่ไพเราะจับใจถึงเพียงนี้เลย ธรรมเทศนานี้มีชื่อว่า อนาถบิณฑิโกวาทสูตร ครั้นท่านพระเถระทั้งสองจากไปแล้วไม่นานนัก ท่านเศรษฐีก็ถึงกาลกิริยาตายบนเตียงนอนของท่านเองแล้วไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตในคืนนั้นเอง ตอนปฐมยามล่วงไปแล้ว อนาถบิณฑิกเทพบุตรผู้มีรัศมีอันงดงามได้ลงมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ พระเชตวันมหาวิหาร ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลพรรณนาพระเชตวันมหาวิหาร  และสรรเสริญคุณท่านพระสารีบุตรเถระว่า พระเชตวันมหาวิหารนี้มีประโยชน์ อันสงฆ์ผู้แสวงบุญอยู่อาศัยแล้วอันพระองค์ผู้เป็นธรรมราชาประทับอยู่ เป็นที่เกิดปีติแก่ข้าพระองค์ 

   สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕ อย่างนี้ คือ:-

    ๑.กรรม

    ๒.วิชชา

    ๓.ธรรม

    ๔.ศีล

    ๕.ชีวิตอุดม

 ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือตระกูลหรือด้วยทรัพย์ เพราะฉะนั้นบุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ของตนพึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายอย่างนี้ จึงจะบริสุทธิ์ในธรรมนั้นได้ พระสารีบุตรเถระ นั้นและย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ด้วยศีล และด้วยความสงบ  ความจริงภิกษุผู้ถึงฝั่งแล้ว  จะอย่างยิ่งก็เท่าพระสารีบุตรเถระ นี้เท่านั้น ฯ

เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …