ใครเป็นคนเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยเป็น 1 มกราคม

โดยที่จารีตประเพณีของไทยแต่โบราณมา ได้ถือวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นการสอดคล้องต้องกับคติแห่งพระพุทธศาสนา ซึ่งถือฤดูเหมันต์เป็นการเริ่มต้นปี ต่อมา จารีตอันนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ ซึ่งใช้วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า เป็นวันขึ้นปีใหม่ ครั้นภายหลังเมื่อทางราชการนิยมใช้สุริยคติ จึ่งได้ถือวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นต้นปีมาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๓๒

แต่ในนานาอารยประเทศทั้งปวง ตลอดถึงประเทศใหญ่ ๆ ทางปลายบุรพทิศนี้ ได้นิยมใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นต้นปี การนิยมใช้วันที่ ๑ มกราคมนี้ มิได้เกี่ยวข้องกับลัทธิศาสนา จารีตประเพณี หรือการเมืองของชาติใดประเทศใด แต่เป็นการคำนวณโดยวิทยาการทางดาราศาสตร์ และนิยมใช้กันมาเป็นเวลากว่าสองพันปี เมื่อประเทศไทยได้นิยมถือสุริยคติตามอย่างนานาประเทศแล้ว ก็เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นต้นปีเหมือนอย่างประเทศทั้งหลาย เพราะวันที่ ๑ มกราคม ก็ใกล้เคียงกับวันแรม ๑ ค่ำ ของไทย และเป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปี การใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ จะเป็นการสอดคล้องต้องตามจารีตประเพณีโบราณของไทย ต้องตามคติแห่งพระบวรพุทธศาสนา และได้ระดับกับนานาอารยประเทศทั้งมวล

อนึ่ง ได้มีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติปีประดิทิน พุทธศักราช ๒๔๘๓ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่วันที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๓ และพระราชบัญญัตินั้นก็เป็นอันใช้ได้ตั้งแต่วันที่ ๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๓ เป็นอันว่าทางรัฐนั้นได้ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันเริ่มปีใหม่แล้ว

จึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ คณะสงฆ์ และอาณาประชาราษฎร์ทั้งมวล นิยมถือวันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ให้ถือเป็นจารีตประเพณีของชาติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และขอให้ปีใหม่อันเริ่มขึ้นในวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ นี้ จงเป็นเวลารุ่งอรุณแห่งชีวิต ให้ชาติไทยได้รับความเจริญและก้าวหน้าขึ้นสู่ความรุ่งโรจน์ใหญ่หลวง ให้อาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงได้รับความร่มเย็นเป็นสุขทั่วกันเทอญ

“วันขึ้นปีใหม่” เป็นเวลาที่ปฏิทินปีใหม่เริ่มต้น และนับปีปฏิทิน เพิ่มขึ้น 1 ปี  โดยวันขึ้นปีใหม่ ที่ใช้กันทั่วโลกปัจจุบัน ตรงกับวันที่ 1 มกราคม เป็นการนับตาม “ปฏิทินเกรกอเรียน” 

แต่ถ้าพูดถึง “เทศกาลปีใหม่” อาจหมายถึงวันที่นับจากวันหยุดวันแรกในสัปดาห์สุดท้าย ของเดือนธันวาคมปีก่อน จนถึงวันหยุดสุดท้ายในสัปดาห์แรก ของเดือนมกราคม สำหรับชาวคริสต์ จะหยุดตั้งแต่คริสต์มาส ไปจนถึงวันขึ้นปีใหม่ รวม 8 วัน

ใครเป็นคนเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยเป็น 1 มกราคม

ความเป็นมา “วันขึ้นปีใหม่”

วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมา ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรก เมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ

เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทิน กับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือน ทุก 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวอียิปต์มาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราว เพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้น

จนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียส ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอเล็กซานเดรียชื่อ เฮมดัล มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

วันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุกปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวัน และกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกพอดี เรียกว่า วสันตวิษุวัต

แต่ในปี ค.ศ. 1582 หรือราวปี พ.ศ. 2125 วันวสันตวิษุวัติ กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไข หักวันออกไป 10 วัน จากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1582 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะปีดังกล่าว)

ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรียน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

วันขึ้นปีใหม่ ตามความหมายในพจนานุกรม ให้ความหมายคำว่า “ปี” หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน หรือเวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ดังนั้น “ปีใหม่” จึงหมายถึง การขึ้นรอบใหม่หลังจาก 12 เดือน หรือ 1 ปี

ใครเป็นคนเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยเป็น 1 มกราคม

วันขึ้นปีใหม่ กับประเทศไทย

สำหรับวันปีใหม่ในประเทศไทยนั้น แต่เดิมถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย ซึ่งตรงกับเดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพระพุทธศาสนา ที่ถือช่วงเหมันต์ หรือหน้าหนาวเป็นการเริ่มต้นปี

ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ คือถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ ดังนั้น ในสมัยโบราณ จึงถือว่า วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย

แต่การนับวันปีใหม่ หรือวันสงกรานต์ตามวันทางจันทรคติ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติ ทำให้เวลาในแต่ละปีคลาดเคลื่อนกันไป ทำให้ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปี พ.ศ. 2432 (ร.ศ. 108) ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย นับแต่นั้นมา เพื่อวันปีใหม่จะได้ตรงกันทุกปีเมื่อนับทางสุริยคติ (แม้ว่าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ในปีต่อ ๆ มา จะไม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน แล้วก็ตาม

ดังนั้น จึงถือเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีนับแต่นั้นมา อย่างไรก็ดี ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบท ยังคงยึดถือวันสงกรานต์ เป็นวันขึ้นปีใหม่อยู่เกมือนเดิม

ต่อมา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้พิจารณาที่จะเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา โดยมี หลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานคณะกรรมการ และที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 โดยให้เหตุผล ว่า

  • ไม่ขัดกับหลักพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
  • เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์ มาคร่อมศาสนาพุทธ
  • ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
  • เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

ตั้งแต่นั้นมา วันขึ้นปีใหม่ของไทยจึงตรงกับวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เหมือนดังเช่นวันขึ้นปีใหม่ของประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

ใครเป็นคนเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยเป็น 1 มกราคม

การส่ง ส.ค.ส. ในวันปีใหม่

การส่ง ส.ค.ส. หรือบัตรอวยพรนั้น ประเทศไทยรับวัฒนธรรมมาจากต่างประเทศ ซึ่งนิยมส่งบัตรอวยพรกันมาเป็นเวลากว่า 200 ปีแล้ว ตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 18 หรือตรงกับปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา

บัตรอวยพรนี้ปรากฏในรูปแบบ “บัตรเยี่ยม” (Visiting Card) เป็นบัตรกระดาษขนาดเท่าไพ่ นิยมเขียนข้อความ หรือพิมพ์รูปภาพต่าง ๆ ลงไปเพื่อเยี่ยมเยียนกันในวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาแพร่หลายไปในเทศกาลต่าง ๆ เช่น วาเลนไทน์ คริสต์มาส มีการส่งพิมพ์และส่งบัตรอวยพรกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

สำหรับในประเทศไทยนั้น เชื่อกันว่าบัตรอวยพรปีใหม่ที่เก่าแก่ที่สุดคือ บัตรอวยพรที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ 120 กว่าปีก่อน โดยในรัชสมัยของพระองค์ เป็นยุคที่มีการติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จึงมีการรับเอาขนบธรรมเนียมของตะวันตกมาด้วย

ทั้งนี้ การส่งบัตรอวยพรของพระองค์นั้น ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ได้ปรากฏสำเนาคำพระราชทานพรขึ้นปีใหม่ ในปี พ.ศ. 2409 ของพระองค์ ในหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์ (ภาษาอังกฤษ) ฉบับวันที่ 13 มกราคม 2409 แปลได้ใจความว่า “ทรงขอส่งบัตรตีพิมพ์คำอวยพรนี้ถึงบรรดากงสุล เจ้าหน้าที่กงสุลต่าง ๆ และชาวต่างประเทศที่ทรงคุ้นเคยโดยทั่วถึงกัน”

ต่อมาในช่วงต้นรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ความนิยมการส่งบัตรอวยพรแพร่หลายอย่างมาก มีหลักฐานบัตรอวยพรประเภทต่าง ๆ ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเป็นจำนวนมาก โดยมักนิยมส่งกันในช่วงเดือนเมษายน ตามวันขึ้นปีใหม่เดิมที่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน และบนบัตรอวยพรเหล่านั้น ยังพบคำว่า “ส.ค.ศ.” หรือ “ส.ค.ส.” ปรากฏอยู่ จึงเชื่อกันว่า คำว่า “ส.ค.ส.” เกิดขึ้นในรัชสมัยนี้ โดยย่อมาจากคำว่า “ส่งความศุข” หรือ “ส่งความสุข”

หลังจากนั้น ส.ค.ส. ก็เป็นสิ่งที่นิยมส่งให้กันในวันขึ้นปีใหม่ จนถึงปัจจุบันนี้ และ ส.ค.ส. ก็ได้เปลี่ยนรูปแบบไปมีการนำวัสดุต่าง ๆ มาประดิษฐ์ ตกแต่ง มีรูปแบบ ลวดลายหลากหลายมากขึ้น

ใครเป็นผู้กำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย

ต่อมาก็ได้มีการพิจารณาเปลียนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึง ซึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาโดยมี หลวง วิจิตรวาทการ เป็นประธานคณะกรรมการ และทีประชุมก็ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลียนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ในวันที24 ธันวาคม ในสมัยคณะรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยเหตุผลส่าคัญ ก็คือ

การเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ของไทย จาก 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม มีขึ้นเมื่อใด *

2. พระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ประกาศ ให้เลิกใช้รัตนโกสินทรศก และให้ใช้พุทธศักราชแทน 3. ประกาศพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2483 ประกาศให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่

ปีใหม่ของไทยก่อนเปลี่ยนมาเป็นวันที่ ๑ มกราคม คือข้อใด

พ.ศ. 2484 มีมติให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคม