มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

มอเตอร์เป็นเครื่องต้นกำลังสำคัญในงานปรับอากาศ การเลือกมอเตอร์มีผลต่อการทำงานและประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศและงานปรับอากาศ วิศวกรเครื่องกลจึงควรศึกษาในเรื่องมอเตอร์ ซึ่งความรู้เรื่องการทำงานของมอเตอร์ ประเภทต่างๆ การสร้าง และการควบคุมมอเตอร์ จะช่วยให้เข้าใจการซ่อมแซม บำรุงรักษา การแก้ปัญหา การปรับปรุงการทำงาน และการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องและอุปกรณ์ในงานปรับอากาศ

มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล มอเตอร์ทำงานโดยการใช้สนามแม่เหล็กที่สร้างขึ้นจากพลังงานไฟฟ้า การออกแบบมอเตอร์มีสองแบบตามลักษณะทางกายภาพคือแบบโรเตอร์อยู่ภายใน(Internal rotor)ตามรูปที่ 1.ซ้าย ชุดสเตเตอร์ยึดอยู่กับตัวถังมอเตอร์ และโรเตอร์สอดอยู่ในสเตเตอร์โดยมีแกนมอเตอร์ยื่นออกมาต่อกับพัดลม และแยยโรเตอร์อยู่ภายนอก(External rotor)ตามรูปที่ 1.ขวา โรเตอร์อยู่ภายนอกครอบชุดสเตเตอร์ ชุดสเตเตอร์ที่อยู่ด้านในจะยื่นออกมาจากฐานของมอเตอร์ ใบพัดลมจะสวมยึดเช้ากับโรเตอร์นอกสุด

รูปที่ 1.มอเตอร์ที่มีโรเตอร์ อยู่ภายใน(Internal rotor)และโรเตอร์อยู่ภายนอก(External rotor)

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

มอเตอร์มีหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความต้องการได้แก่ ระบบไฟฟ้า ความเร็วรอบ กำลัง แรงบิดขณะเริ่มหมุน อุปกรณ์ประกอบ ราคา การควบคุมความเร็ว และอื่นๆ ประเภทของมอเตอร็มีดังต่อไปนี้

มอเตอร์กระแสตรง (DC motor)

หลักการทำงานของมอเตอร์กระแสตรงคือแม่เหล็กขั้วเดียวกันจะผลักกัน แม่เหล็กต่างขั้วจะดูดกัน แม่เหล็กในมอเตอร์แบ่งออกเป็นชุดสเตเตอร๋(Stator) และโรเตอร์(Rotor) ซึ่งอาจเป็นแม่เหล็กถาวรหรือแม่เหล็กไฟฟ้าแล้วแต่การออกแบบ สนามแม่เหล็กของทั้งสองชุดจะผลักและ/หรือดูดกันทำให้โรเตอร์สามารถหมุนภาระเชิงกลได้ รูปที่ 2. เริ่มจากซ้าย เมื่อสนามแม่เหล็กที่สเตเตเตอร์หมุน รูปกลางขั้วเหนือของสนามแม่เหล็กเคลื่อนมาดูดกับขั้วใต้ของแม่เหล็กที่โรเตอร์ และขวาเมื่อทำให้สนามแม่เหล็กของสเตเตอร์หมุน จะทำให้โรเตอร์หมุนตาม

รูปที่ 2. หลักการทำงานของมอเตอร์กระแลตรง

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

มอเตอร์กระแสตรงแบ่งออกเป็นแบบมีแปรงถ่าน(DC Brush Motor) และแบบไม่มีแปรงถ่าน(BLDC, Brush Less Direct Current) มอเตอร์แบบมีแปรงถ่านตามรูปที่ 3. มีโรเตอร์เป็นขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าอยู่ภายในสเตเตอร์ซึ่งทำด้วยแม่เหล็กถาวร และมืแปรงถ่านยึดกับตัวถังมอเตอร์ โรเตอร์เป็นขดลวด(Armature)และมีคอมมิวเตเตอร์อยู่บนแกนหมุน เมื่อประกอบแปรงถ่านจะสัมผัสกับคอมมิวเตเตอร์

รูปที่ 3.ลักษณะการสร้างมอเตอร์กระแสตรงแบบมีแปลงถ่าน(DC Brush Motor)

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

การทำงานจะกลับกับรูปที่ 2. โดยโรเตอร์สร้างสนามแม่เหล็กเคลื่อนที่และสเตเตอร์เป็นแม่เหล็กถาวร ที่ตำแหน่งหนึ่ง แปลงถ่านจะเชื่อมวงจรส่งแรงดันไฟฟ้าผ่านคอมมิวเตเตอร์ให้ขดลวดทำให้เกิดสนามแม่เหล็กผลักกับสเตเตอร์ เมื่อแกนหมุนไปอีกตำแหน่งแปรงก็จะส่งแรงดันไฟฟ้าผ่านคอมมิวเตเตอร์ให้ขดลวดสร้างสนามแม่เหล็กสลับขั้วทำให้มอเตอร์หมุนต่อ การหมุนของโรเตอร์หมุนทำให้แปรงถ่านขัดสีกับคอมมิวเตเตอร์ จึงเกิดการสึกหรอทำให้ต้องเปลี่ยนแปรงถ่านเป็นระยะๆไม่ให้สนามแม่เหล็กลดลง มอเคอร์แบบนี้จึงมีประสิทธิภาพต่ำและต้องการการบำรุงรักษามาก

เมื่อภาระของมอเตอร์คงที่ความเร็วรอบจะเป็นสัดส่วนกับแรงดันไฟฟ้าจึงสามารถสร้างแรงบิดเพื่อการสตาร์ทได้ดัวยการเลือกแรงดันไฟฟ้า และเมื่อแรงดันไฟฟ้าคงที่ ความเร็วรอบจะเป็นสัดส่วนกลับกับภาระของมอเตอร์ ดังนั้นเมื่อแรงดันไฟฟ้าคงที่แรงบิดจึงเป็นสัดส่วนกลับกับความเร็วรอบของมอเตอร์ตามรูปที่ 4.

รูปที่ 4. แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ของแรงบิดและความเร็วรอบของมอเตอร์กระแสตรง

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

มอเตอร์ BLDCมีสเตเตอร์เป็นขดลวดและมีโรเตอร์เป็นแม่เหล็กถาวรตามรูปที่ 5. และมีการทำงานเหมือนรูปที่ 2. โดยมีการปรับขั้วแม่เหล็กเช่นเดียวกับแบบมีแปลงถ่าน หรือใช้ระบบควบคุมอีเลคทรอนิคส์สร้างความถี่ Pulse Width Modulator (PWM) ส่งแรงดันไฟฟ้าให้ขดลวดสเตเตอร์สร้างสนามแม่เหล็กเพื่อขับโรเตอร์ตามจังหวะที่สัมพันธ์กับตำแหน่งที่เซนเซอร์วัดจากสเตเตอร์และโรเตอร์

รูปที่ 5. ลักษณะการสร้างมอเตอร์กระแสตรงแบบไม่มีแปลงถ่าน(Brush Less Direct Current)

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

ความเร็วรอบของมอเตอร์แปรผันตรงกับแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้ขดลวด แปรกลับกับแรงดันตกในขดลวดและความเข้มสนามแม่เหล็กไฟฟ้า การควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์จึงใข้เทคนิคการควบคุมขดลวด(Armature controlled) และเทคนิคการควบคุมสนามแม่เหล็ก(Field controlled) ซึ่งจะไม่อธิบายในที่นี้ จะต้องเลือกระบบควบคุมความเร็วรอบให้ตรงตามความต้องการของระบบ ตัวอย่างในรูปที่ 6. แสดงระบบตวบคุมความเร็วซึ่งแสดงไว้เพียง 3วิธีจากหลายๆวิธี

รูปที่ 6.ตัวอย่างวิธีการควบคุมความเร็วมอเตอร์กระแสตรง

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

การปรับความต้านทานตามรูปที่ 6.เพื่อปรับความต้านทานจะทำให้เกิดพลังงานสูญเสีย ทำให้ความเข้มของสนามแม่เหล็กน้อยลง แรงบิดลดลงและความเร็วสูง ตารางที่ 1. แสดงข้อดีข้อเสียของมอเตอร์ที่มีระบบควบคุมแบบ Armature Controlled DC Shunt Motor

ตารางที่ 1. เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของ Armature Controlled DC Shunt Motor

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

มอเตอร์กระแสสลับ(AC Motor)

เมื่อสนามแม่แหล็กตัดกับลวดจะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในลวด(Faraday’s law) เกิดสนามแม่เหล็กที่ขดลวด และเกิดแรงผลักหรือดูด ตามรูปที่ 7.(Lorentz law) ซ้ายแสดงสนามแม่เหล็กที่สเตเตเตอร์หมุนผ่านลวดของโรเตอร์ กลางสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำเกิดกระแสไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก และแรงที่ลวด และขวาทำให้ลวดหมุนได้คามทิศทางของแรง

รูปที่ 7. หลักการทำงานของมอเตอร์กระแสสลับ

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

มอเตอร์กระแสสลับแบ่งออกเป็นมอเตอร์แบบอินดักชั่น(Induction Motor)หรือเรียกอีกอย่างว่ามอเตอร์เหนี่ยวนำ และแบบ(Synchronous Motor) มอเตอร์แบบอินดักชั่นจะมีขดลวดเพื่อสร้างสนามแม่เหล็กที่สเตเตอร์ตามรูปที่ 8.สเตเตอร์ทำจากแผ่นอลูมิเนียมหรือเหล็กซ้อนกันเป็นชั้นๆอัดแน่นโดยมีร่องสำหรับสอดขดลวดอาบฉนวนไฟฟ้า โรเตอร์สร้างจากแผ่นเหล็กซ้อนลักษณะเดียวกันเป็นทรงกระบอกที่มีร่องสำหรับสอดแท่งทองแดง อลูมิเนียม หรือโลหะผสมเชื่อมหัวและท้ายติดกับแหวนตามรูปเรียกว่าโรเตอร์แบบกรงกระรอก(Squirrel cage rotor)

รูปที่ 8.สเตเตอร์ และโรเตอร์ของมอเตอร์แบบอินดักชั่น

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

ความเร็วรอบสนามแม่เหล็กของมอเตอร์ Ns = 120 f/P……………………………………………………….(1.)

เมื่อ Ns คือความเร็วซินโครนัส f คือความถี่ของของคลื่นไฟฟ้ากระแสสลับ Pคือจำนวนขั้วของขดลวดที่สเตเตอร์

แต่โรเตอร์ไม่สามารถจะหมุนได้ทันสนามแม่เหล็ก ทำให้ความเร็วมอเตอร์น้อยกว่าความเร็วซินโครนัส

ความเร็วรอบของมอเตอร์ Nb = Ns-slip.Ns…………………………………………………………………..(2.)

Slipมากขึ้นตามภาระของมอเตอร์ ความเร็วระบุของมอเตอร์จึงเป็นความเร็วที่ภาระระบุของมอเตอร์ มอเตอร์3เฟสมีสนามแม่เหล็ก3คลื่น แรงของมอเตอร์จึงสามารถสตาร์ทในขณะที่มีภาระได้ มอเตอร์อินดักชั่น(IM)1เฟส เป็นมอเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ไฟฟ้า(single phase) สนามแม่เหล็กกลายเป็นจังหวะไม่เกิดแรงบิดพอสำหรับการเริ่มหมุนจึงต้องเพิ่มขดสตาร์ท(start/auxiliary winding)ตามรูปที่ 10. ซึ่งมีคาปาซิเตอร์เพื่อเปลี่ยนคลื่นไฟฟ้าของขดสตาร์ทให้นำหรือตามคลื่นไฟฟ้าหลักสร้างแรงหมุนให้มากขึ้น และมีสวิทช์แรงเหวียงเพื่อตัดไฟเข้าขดสตาร์ทเมื่อมอเตอร์หมุนประมาณ75%ของรอบมอเตอร์

รูปที่ 10.การต่อวงจรมอเตอร์แบบไม่มีอุปกรณ์สตาร์ทและแบบที่มีอุปกรณ์สตาร์ท

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

Split-phase มอเตอร์เป็นมอเตอร์อินดักชั่น 1เฟสที่มีอุปกรณ์สตาร์ทตามรูปที่ 11.ซ้าย ขดสตาร์ทเป็นลวดขนาดเล็กและสั้นกว่าชดหลักเพื่อสร้างความต้านทานให้สนามแม่เหล็กจากขดสตาร์ทต่างจากของขดหลัก ซึ่งจะมีแรงบิดสำหรับการสตาร์สพิ่มขึ้นแต่น้อยกว่าวิธีอื่นๆ คาปาซิเตอร์สตาร์ทปรับปรุงโดยเพิ่มคาปาซิเตอร์ตามรูปที่ 10.ขวาใช้ทำให้สนามแม่เหล็กจากขดสตาร์ทต่างจากของขดหลักแทนความต้านทานทำให้มีแรงบิดและประสิทธิภาพสูงขึ้น

และรูปที่ 11.ขวาขดสตาร์ททำงานตลอดเวลา คาปาซิเตอร์ที่ใช้จีงเป็น Run capacitor ไม่มีสวิทช์แรงเหวียงเรียกว่าแบบ Permanent Split Capacitor(PSC) คาปาซิเตอร์มีขนาดสำหรับช่วยการสตาร์ท การหมุนจึงมีแรงบิดของมอเตอร์น้อยลง เหมาะสำหรับงานที่มีการหยุด/หมุนถี่มากๆจึงใช้กับอุปกรณ์ที่ควบคุมด้วยการปิด/เปิด มักใช้กับพัดลมเนื่องจากต้องการแรงบิดสตาร์ทน้อย

รูปที่ 11.การสตาร์ทมอเตอร์อินดักชั่น 1เฟสแบบSplit-phase และแบบ Permanent Split Capacitor(PSC)

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

เพื่อให้แรงบิดสตาร์ทของมอเตอร์PSCมากขึ้น จึงเพิ่มคาปาซิเตอร์สตาร์ทตามรูปที่ 12.ซ้ายเรียกว่าแบบ Capacitor start/run รูปที่ 12.ขวาเป็นมอเตอร์แบบ Shaded-pole มีขดลวดชุดเดียวแต่มีแหวนทองแดงเป็นวงจรปิดอยู่ด้านนอกของสเตเตอร์ ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กในบริเวณของแหวนต่างจากบริเวณอื่นเกิดความแตกต่างของสนามแม่เหล็กช่วยในการสตาร์ทได้ แต่มีแรงบิดน้อยที่สุดทำให้มีSlipมากและประสิทธิภาพต่ำสุด สรุปความสัมพันธ์ของแรงบิดและความเร็วรอบของมอเตอร์ 1เฟสอินดักชั่นได้ตามรูปที่ 13.

รูปที่ 12. การสตาร์ทมอเตอร์อินดักชั่น 1เฟสแบบ Capacitor start/run และแบบ Shaded-pole

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

รูปที่ 13. แผนภูมิแสดงแรงบิดและความเร็วรอบของมอเตอร์ 1เฟสเมื่อใช้อุปกรณ์สตาร์ทแบบต่างๆ

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

มอเตอร์อินดักชั่น(IM) 3เฟสมีโรเตอร์ 2แบบได้แก่ แบบกรงกระรอก(Squirrel cage rotor)ตามรูปที่ 7. และแบบขดลวด(Wound-Rotor) หรือแบบSlip-ringซึ่งโรเตอร์จะมีขดลวดต่อผ่านSlip-ringไปผ่านความต้านทานภายนอกตามรูปที่ 14. ซึ่งความต้านทานภายนอกจะทำให้เกิดSlip ทำให้แรงบิดสูงเหมาะสำหรับงานที่มีความหน่วงมากต้องการแรงบิดสูงโดยไม่กินกระแสสูง สามารถปรับความเร็วรอบมอเตอร์ลงได้ถึง 50%ด้วยการปรับความต้านทานภายนอก จึงเหมาะสำหรับใช้กับงานที่ต้องการแรงบิดและความเร็วรอบเปลี่ยนแปลงได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมเพรสเซอร์ และสายพานเป็นต้น

รูปที่ 14. มอเตอร์อินดักชั่น3เฟสแบบขดลวด(Wound-Rotor)

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

กระแสไฟที่ความเร็วรอบต่างๆกันของมอเตอร์อินดักชั่น 3เฟสแสดงในรูปที่ 15. เมื่อเริ่มสตาร์ทมอเตอร์จะใช้กระแส Lock rotor current(LRC)มากเกือบ 7เท่าของกระแสใช้งาน และมีแรงบิดLock rotor torque(LRT)กว่า 3เท่าซึ่งมากเกินพอสำหรับการสตาร์ท มอเตอร์ขนาดใหญ่จึงต้องมีอุปกรณ์ลดกระแสขณะสตาร์ทมิให้เกิดไฟฟ้ากระพริบได้แก่ star-delta, part-winding, soft start, และอื่นๆ

รูปที่ 15.แผนภูมิแรงบิด-ความเร็วรอบและกระแสของมอเตอร์อินดักชั่น 3เฟส

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

มอเตอร์ซินโครนัส(SM)คือมอเตอร์ที่หมุนที่ความเร็วซินโครนัส เป็นมอเตร์ที่ใช้เป็นเครื่องปั่นไฟได้ มีโรเตอร์2แบบคือแบบที่มีขดลวดกับแบบที่ใช้แม่เหล็กถาวร รูปที่ 16.ซ้ายใช้ไฟฟ้ากระแสตรงสร้างขั้วแม่เหล็กให้โรเตอร์ รูปขวาใช้แม่เหล็กถาวรแทน ในขณะที่สเตเตอร์ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับสร้างสนามแม่เหล็กหมุนทำให้โรเตอร์หมุนตามด้วยความเร็วซินโครนัสตามหลักการทำงานในรูปที่ 2.

รูปที่ 16.มอเตอร์ซินโครนัสแบบโรเตอร์มีขดลวดและแบบที่โรเตอร์มีแม่เหล็กถาวร

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

เนื่องจากสนามแม่เหล็กของสเตเตอร์และโรเตอร์เกาะไปด้วยกัน(ไม่มี slip) จึงไม่มีแรงบิดในการสตาร์ทต้องมีอุปกรณ์ช่วยหมุนจนมอเตอร์มีความเร็วเท่ากับความเร็วซินโครนัสแล้วจึงจ่ายไฟฟ้าเพื่อรักษาความเร็วและปลดอุปกรณ์หมุนออก

ตารางที่ 2.ความแตกต่างระหว่าง Induction Motor and Synchronous Motor

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

Electronically Commutated Motor (ECM)

ECM คือมอเตอร์กระแสสลับที่ 1เฟสที่ใช้มอเตอร์กระแสตรงแบบ bldc โรเตอร์เป็นแม่เหล็กถาวร มีวงจรอิเล็กทรอนิกแปลงระบบไฟฟ้าติดตั้งในตัวมอเตอร์เพื่อควบคุมการทำงานจึงได้ข้อดีทั้งของมอเตอร์กระแสตรงและกระแสสลับ ทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น ลดค่ากระแสไฟฟ้าและมีอายุการใช้มากขึ้น

หลักการทำงานของระบบควบคุมมอเตอร์ ECM ตามรูปที่ 17. ไฟฟ้า 1เฟสจะถูกแปลงเป็นกระแสตรง แล้วจึงเก็บไฟฟ้ากระแสตรงไว้ในคาปาซเตอร์ PWMจะดึงกระกสตรงจากที่เก็บมาสร้างเป็นคลื่นเข้าให้กับมอเตอร์กระแสตรง ระบบควบคุมออกแบบสำหรับการทำงานเฉพาะงาน ปรับแรงดันไฟฟ้าเพื่อควบคุมแรงบิดเพื่อการสตาร์ทด้วยและเหมาะสมกับภาระมอเตอร์ที่ความเร็วที่ต้องการ

รูปที่ 17. หลักการทำงานของระบบควบคุมมอเตอร์ ECM

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

ข้อจำกัดของมอเตอร์ ECM ตือ ระบบไฟเป็นระบบ 1 เฟสทำให้แรงดันเฉลี่ยกระแสตรงต่ำลงและได้ความกว้างของคลื่นความถี่เป็นหลักสิบเฮิทซ์เท่านั้น มีผลต่อรอบการหมุนของมอเตอร์ ECM มอเตอร์ ECMมีระบบควบคุมติดตั้งอยู่ที่ท้ายของมอเตอร์ ในรูปที่ 18. เป็นลักษณะการสร้างมอเตอร์ ECMซึ่งมีโรเตอร์อยู่ภายนอกสเตเตอร์

รูปที่ 18.ลักษณะการสร้างมอเตอร์กระแสสลับแบบ ECM

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

Reluctance Motor(RM)

มอเตอร์RM ทำงานโดยใช้แม่เหล็กชั่วคราว เมื่อวัสดุแม่เหล็กอยู่ในสนามแม่เหล็ก โครงสร้างของวัสดุจะถูกบังคับให้เรียงตัวในแนวของสนามแม่เหล็กและเปลี่ยนคุณสมบัติเป๊นแม่เหล็กชั่วคราว สนามแม่เหล็กจากขดลวดที่สเตเตอร์ทำให้ โรเตอร์เป็แม่เหล็กชั่วคราวและหมุนตามการหมุนชองสนามแม่เหล็กสเตเตอร์เช่นเดียวกับในรูปที่ 2. โดยมีแรงบิดบังคับ(Reluctance torque)ซึ่งเกิดจากการดูดของสนามแม่เหล็กของโรเตอร์และสเตเตอร์ช่วยให้โรเตอร์หมุนตามการหมุนของสนามแม่เหล็กสเตเตอร์

รูปที่ 19. เมื่อมีภาระจะทำให้เกิดมุมเยื้องระหว่างแกนแม่เหล็กทั้งสองเรียกว่ามุมภาระ(load angle) แรงบิดบังตับลูงสุดเกิดที่มุมภาระวิกฤติ ถ้ามุมภาระมากกว่ามุมภาระวิกฤติ โรเตอร์จะหมุนตามสนามแม่เหล็กสเตเตอร์ไม่ทันและโรเตอร์จะหยุดหมุน

รูปที่ 19. แรงบิดบังคับ(Reluctance torque)

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

มอเตอร์ RM แบ่งย่อยได้หลายแบบ แต่จะอธิบายเฉพาะ synchronous(SynRM) และ switched(SRM) เท่านั้นมอเตอร์ SynRMมีส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ สเตเตอร์ โรเตอร์ และระบบควบคุม รูปที่ 20.ก. โรเตอร์อยู่ด้านในของสเตเตอร์ซึ่งมีช่องสำหรับสอดขดลวดแบบกระจาย 6ช่องติดกันเป็นและ 6ช่องที่อยู่ตรงข้ามกันเป็นขดลวด 1ชุด จำนวนชุดต่อคู่ของขั้วแล้วแต่การออกแบบ รูปที่ 20.ข.โรเตอร์ทำจากแผ่นเหล็กซิลิกอนซ้อนกัน โรเตอร์แผ่นเหล็กซิลีกอนแต่ละแผ่นถูกเซาะร่องให้มีช่องอากาศเพื่อให้สนามแม่เหล็กวิ่งในเนื้อแผ่นโรเตอร์มีความหนาแน่นสูงขึ้น รูปที่ 20.ค.โรเตอร์ประกอบจากชิ้นส่วนในแนวแกนเพื่อให้มีเนื้อสำหรับสนามแม่เหล็กในลักษณะเดียวกัน โรเตอร์ทั้งสองแบบดีสำหรับการใช้วัสดุที่เป็นแม่เหล็กชั่วคราวเนื่องจากทำให้สนามแม่เหล็กไม่ผ่านช่องว่างที่เป็นอากาศจะวิ่งในส่วนที่เป็นเนื้อโลหะทำให้ความเป็นแม่เหล็กของโรเตอร์ดีกว่าทรงกลมตัน และทำให้โรเตอร์มีน้ำหนักลดลง จากรูปนี้โรเตอร์มีทั้งสิ้น 4ขั้ว

รูปที่ 20. รูปตัดมอเตอร์ Reluctance และลักษณะการสร้างโรเตอร์ 4ขั้ว

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

SynRM มีความเร็วรอบเท่ากับความเร็วซินโครนัส ขั้วแม่เหล็กของโรเตอร์จะล็อกไปกับสนามแม่เหล็กของสเตเตอร์โดยจะมีแรงบิดบังคับรักษาตำแหน่งขั้วให้ล็อกกัน ระบบควบคุมเป็นหัวใจสำหรับการทำงานของSynRM ระบบควบคุมจะตรวจสอบมุมภาระตลอดเวลา ขณะที่ภาระปกติระบบควบคุมจะปรับความเร็วรอบให้คงที่ด้วยการปรับความเข้มของสนามแม่เหล็กสเตเตอร์ให้เหมาะสมกับภาระ เมื่อภาระเปลี่ยนกระทันหันมุมภาระจะเปลี่ยนตาม ระบบจะควบคุมจะปรับไม่ให้มุมภาระมากกว่าค่าวิกฤตซึ่งจะทำให้โรเตอร์ตามสนามแม่เหล็กไม่ทัน

SynRM มีแรงบิดสตาร์ทน้อยต้องใช้การหมุนจากภายนอกจนได้ความเร็วซินโครนัสก่อนจึงจะสามารถหมุนต่อไปด้วยตัวเองได้เช่นเดียวกับมอเตอร์ซินโครนัส การสตาร์ทด้วยตัวเองจึงต้องดัดแปลงการสร้างและระบบควบคุมให้เป็นมอเตอร์อินดักชั่นเฉพาะช่วงสตาร์ทซึ่งจะเสียข้อดีบางส่วนของระบบไป

SRM เป็น stepper motor ประเภทหนึ่ง ทำงานโดยอาศัยแรงบิดจากสนามแม่เหล็กของโรเตอร์และสเตเตอร์เพื่อให้โรเตอร์วิ่งเข้าหาและเปลี่ยนขดย้ายสนามแม่เหล็กสเตเตอร์ไปทำให้โรเตอร์หมุนตาม มีลักษณะการสร้างไม่ซับซ้อนจึงมีราคาถูก จำนวนขั้วของสเตเตอร์จะมากกว่าขั้วของโรเตอร์เพื่อให้ตำแหน่งขั้วเหลื่อมกันตลอด รูปที่ 21แสดงวงจรการควบคุมSRM และการสร้างที่มีสเตเตอร์ 8ขั้ว และโรเตอร์ 6ขั้ว มีระบบไฟกระแสตรงและระบบสวิทช์ 4เฟส(ในรูปซ้ายแสดงเพียงเฟสเดียว)

รูปที่ 21.วงจรการทำงานและลักษณะการสร้าง SRM

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

ระบบควบคุมของมอเตอร์SRM รับตำแหน่งของโรเตอร์มากำหนดการสวิทช์ของไฟเฟสต่างๆไปที่ขั้วของสเตเตอร์ เพื่อรักษาความเร็วและขณะเดียวกันก็ตรวจสอบมุมภาระ ขณะสตาร์ทแรงบิดบังคับของขั้วหลายขั้วทำให้มีแรงบิดมากกว่าและสามารถหมุนสตาร์ทได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่นช่วย ระบบควบตุมจึงเป็นแบบที่ไม่ซับซ้อนและมีราคาที่ถูกว่า รูปที่ 22. แบ่งการทำงานออกเป็นช่วงแรกที่มอเตอร์ให้แรงบิดคงที่จนถึงความเร็วรอบพื้นฐานจากนั้นในช่วงที่สองความเร็วจะเพิ่มขึ้นโดยได้กำลังคงที่แต่แรงบิดจะลดลง และในช่วงสุดท้ายความเร็วเพิ่มขึ้นพร้อมกับกำลังมอเตอร์จะลดลงเนื่องจากเป็นขอบเขตของระยะการสวิทช์

รูปที่ 22.แผนภูมิแรงบิด-ความเร็วรอบของมอเตอร์ SRM

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

ข้อดีของมอเตอร์RMคือไม่มีขดลวดที่โรเตอร์จึงไม่มีกระแสที่เกิดจากการเหนียวนำ ไม่สูญเสียพลังงานในโรเตอร์ ไม่มีความร้อนจากกระแสในโรเตอร์จึงใช้กับงานที่มีอุณหภูมิแวดล้อมสูงได้ดีกว่า โรเตอร์มีน้ำหนักน้อยจึงมีความเฉื่อยน้อยใช้กับความเร็วได้สูงกว่า การบำรุงรักษาน้อย ประสิทธิภาพสูงกว่ามอเตอร์แบบอินดักชั่น ข้อเสียคือมีค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ต่ำ และมีขนาดจำกัดไม่ใหญ่มาก

มาตรฐานของมอเตอร์

มาตรฐานที่ยอมรับได้แก่ the National Electrical Manufacturers Association (NEMA) ใช้โดยผู้ผลิตมอเตอร์ในอเมริกาเหนือและ the International Electrotechnical Commission (IEC) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยอมรับทั่วโลก

NEMAกำหนดมอเตอร์อินดักชั่นไว้ 5ประเภท(เริ่ม 4 Design เพิ่มภายหลัง 1 Design)ได้แก่

– Design A มีแรงบิดสตาร์ท 150-170%ของแรงบิดใช้งาน กระแสสตาร์ทค่อนข้างสูง รับภาระเกินได้ช่วงสั้นๆ slip<=5% ใช้กับเครื่องฉีด

– Design B เป็นมอเตอร์ที่ใช้มากที่สุด แรงบิดสตาร์ทใกล้เคียงClass Aแต่กระแสสตาร์ทน้อยกว่า แรงบิดสามารถสตาร์ทภาระในงานอุตสาหกรรมทั่วไป slip<=5% มีประสิทธิภาพและเพาเวอร์แฟคเตอร์สูง ใช้กับปั๊ม พัดลมและเครื่องจักร

– Design C มีแรงบิดสตาร์ทสูง (เช่น 200%) ใช้กับงานที่ต้องการแรงบิดมากเช่นสายพาน เครื่องกวน ปั๊มลูกสูบ ออกแบบให้ใช้ที่ความเร็วใช้งานโดยมีภาระเกินได้น้อย มีกระแสสตาร์ทน้อย slip<=5%

– Design D มีแรงบิดสตาร์ทสูงสุด กระแสสตาร์ทและที่จุดใช้งานต่ำ slip=5-13% เหมาะกัลงานที่ภาระเปลี่ยนแปลงเช่นงานที่มีล้อกำลัง(flywheel) เครื่องกด เครื่องตัด ลิฟท์ เครื่องยก และอื่นๆ

– Design E คล้าย Design B แต่มีประสิทธิภาพสูง กระแสสตาร์ทสูง กระแสใช้งานต่ำ แรงบิดกับความเร็วเหมือนมอเตอร์กำลังของ IEC

รูปที่ 23. แผนภูมิแรงบิด-ความเร็วรอบของ มอเตอร์ตามมาตรฐาน NEMA

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

IECกำหนดแรงบิดและความเร็วรอบมอเคอร์เหมือนNEMA มอเตอร์ สามารถสรุปได้ดังนี้

– IEC Design N เทียบได้กับ NEMA Design B :7jเป็นมอเตอร์ที่ใช้มากที่สุดในงานอุตสาหกรรม

– IEC Design H เทียบได้กับ NEMA Design C

– IEC ไม่กำหนดมอเตอร์เทียบเท่ากับ NEMA Design D.

IEC กำหนดลักษณะการทำงานของมอเตอร์ออกเป็น 9 ประเภท (IEC 34 -1) โดยที NEMA แบ่งการทำงานเป็นแบบต่อเนื่อง เป็นพักๆ หรือแบบพิเศษ

ตารางที่ 3. แบ่งลักษณะการทำงานของมอเตอร์ตามมาตรฐาน IEC

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

สำหรับประเทศไทยมีมาตรฐานเลขที่ มอก.๘๖๗ เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอเตอร์เหนี่ยวนําสามเฟส : ประสิทธิภาพขั้นต่ำ ซึ่งไม่ใช่มาตรฐานบังคับ

มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง

เนื่องจากปัญหาเริ่องพลังงานจากราคาน้ำมัน ตามมาด้วยปัญหาสภาพแวดล้อมจากการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาโลกร้อน ประเทศต่างๆจึงต้องกำหนดมาตรฐานมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงเนื่องจากเครื่องจักรและเครื่องใช้ไฟฟ้าแทบทุกชนิดต้องใช้มอเตอร์ การใช้มอเตอร์ประสิทธิภาพสูงจึงช่วยให้ประหยัดพลังงานและลดปัญหาโลกร้อน มาตรฐานมอเตอร๋ประสิทธิภาพสูงมีทั้งทีเป็นมาตรฐานบังคับและมาตรฐานสมัครใจ

ตารางที่ 4. เปรียบเทียบมาตรฐานมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงของประเทศต่างๆ

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

เดือนมกราคม 2017 สหภาพยุโรปกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพต่ำสุด Minimum Energy Performance Standard (MEPS) สำหรับมอเตอร์ 0.75 to 375 kW จะต้องมีประสิทธิภาพระดับ IE3 และถ้าติดตั้งอินเวอร็เตอร์ต้องมีประสิทธิภาพระดับ IE2 ตามรูปที่ 24.

รูปที่ 24. ค่าประสิทธิภาพของมอเตอร์ IE classes ตามข้อกำหนด IEC/EN 60034-30-1:2014.

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

มอเตอร์ประสิทธิภาพสูงIE5 หรือUltra Premium Efficiency Motors นั้น IECยังไม่ได้กำหนดออกมาป็นทางการแต่ผู้ผลิตหลายบริษัทก็ได้พัฒนาโดยมีจุดมุ่งหมายในการลดพลังงานสูญเสียมอเติร์ IE4ลง20% จากตารางที่ 5. มอเตอร์อินดักชั่นสามารถออกแบบให้ใช้ได้ในทุกระดับ แต่ที่ระดับ IE4 และ IE5 จะใช้เฉพาะมอเตอร์ขนาดใหญ่

ตารางที่ 5. ประเภทของมอเตอร์ที่พัฒนาใช้ตามระดับมอเตอร์ของ IECและขนาดของมอเตอร์

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

มอเตอร์แม่เหล็กถาวร PM ได้แก่ มอเตอร์กระแสตรง และ ECM ซึ่งใช้โรเตอร์แม่เหล็กถาวรอยู่ภายใน(Internal rotor)และโรเตอร์อยู่ภายนอก(External rotor) โดยมีสเตเตอร์เป็นแบบกระจายหรือกระจุกซึ่งตามรูปที่ 25.ซ้ายสเตเตอร์มีขดลวดเป็นแบบกระจาย มอเตอร์SR มีโรเตอร๋เป็นแผ่นเหล็กซ้อนกันทำงานเป็นแม่เหล็กชั่วคราวและมีสเตเตอร์แบบกระจุกตามรูปที่ 25.ขวา ส่วนมอเตอร์อินดักชั่น มีแท่งอลูมิเนียมหรือทองแดงในโรเตอร์แบบกรงกระรอกและสเตเตอร์แบบกระจายตามรูปที่ 25.กลาง

รูปที่ 25.ภาพตัดมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงบบต่างๆ

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

เพื่อประสิทธิภาพของมอเตอร์แม่เหล็กถาวร PM แม่เหล็กตัองใช้ออกไซด์ของธาตุหายาก(rare earth)เพื่อให้ความเข้มสนามแม่เหล็กสูงและไม่ให้ความเป็นแม่เหล็กถาวรเสื่อมสภาพ มีประสิทธิภาพสม่ำเสมอกว่ามอเตอร์อินดักชั่นแต่มีปัญหาเรื่องการออกแบบ การผลิต ความแข็งแรงและวัสดุทำแม่เหล็ก ทำให้มีราคาแพงกว่า

มอเตอร์SR เป็นมอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง มีโครงสร้างเรียบง่ายและแข็งแรง ในโรเตอร์ไม่มีแม่เหล็กถาวร แท่งอลูมิเนียมหรือทองแดง จึงมีประสิทธิภาพสม่ำเสมอกว่ามอเตอร์PM ใช้งานได้ในช่วงความเร็วที่กว้างกว่า ข้อเสียคือเรื่องเสียงและมีการกระเพื่อมของแรงบิด

มอเตอร์อินดักชั่นมีโครงสร้างเรียบง่ายและแข็งแรง ไม่มีปัญหาเรื่องเสียงและการกระเพื่อมของแรงบิด ใช้วัสดุน้อยและไม่ต้องใช้เซนเซอร์ เป็นเทคโนโลยีที่ยอมรับมานานมีความเสถียร แตมีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ พลังงานสูญเสียในส่วนต่างๆของมอเตอร์อินดักชั่นแสดงในตารางที่ 6. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต้องเลือกวัสดุเพื่อลด Copper lossและ Iron Loss เลือกใช้แม่เหล็กที่มีประสิทธิภาพ ลดMechanical Lossด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพพัดลมและลดความดันสูญเสียของอากาศระบายความร้อน ลดstray lossด้วยการออกแบบและปรับปรุงกระบวนการผลิต ลดrotor lossด้วยการปรับปรุงกระบวนการหล่อ

ตารางที่ 6. การสูญเสียพลังงานประเภทต่างๆของมอเตอร์อินดักชั่น

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

สำหรับประเทศไทย มอเตอร์อินดักชั่นสามเฟสที่มีประสิทธิภาพสูง ต้องมีค่าประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าค่าที่กําหนดตามประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กําหนดค่าประสิทธิภาพพลังงาน หน่วยงานทดสอบและมาตรฐานและวิธีการทดสอบ หาค่าประสิทธิภาพพลังงานของมอเตอร์เหนี่ยวนําสามเฟสที่มีประสิทธิภาพสูง พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๕๗ ง ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

การเลือกประเภทมอเตอร์

การเลือกมอเตอร์จะต้องให้เหมาะสมกับลักษณะของภาระ เช่นสกรูดอมเพ่สเซอร์ สายพาน และเครื่องส่งว้สดุ ต้องการแรงบิดสม่ำเสมอตลอดช่วงความเร็วตามรูปที่ 28.ก. พัดลมและปั๊มต้องใช้กำลังเท่ากับกำลังสองของความเร็วรอบตามรูปที่ 26.ข. บางอุตสาหกรรม(ซึ่งหายาก)ต้องการกำลังคงที่ตลอดช่วงความเร็วคามรูปทื่ 26.ค. ภาระเครื่องจักรในโรงงานกระดาษต้องการแรงบิดคงที่ช่วงความเร็วหนึ่งและเมื่อพ้นความเร็วนั้นไปต้องการกำลังคงที่คามรูปที่ 26.ง. เครื่องฉีดและสกรูคอมเพรสเซอร์ต้องการแรงบิดสูงที่ความเร็วรอบต่ำตามรูปที่ 26.จ.

รูปที่ 26. ลักษณะของภาระแบบต่างๆที่ต้องการสำหรับงานต่างๆ

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

เครื่องปรับอากาศระบบแยกส่วนระบายความร้อนด้วยอากาศมีอุปกรณ์ที่ใช้มอเตอร์ได้แก่ พัดลมส่งอากาศเย็น พัดลมระบายความร้อน และคอมเพรสเซอร์ ระบบปรับอากาศน้ำเย็นระบายความร้อนด้วยน้ำมีอุปกรณ์ที่ใช้มอเตอร์ได้แก่ ปั๊มน้ำเย็นเพื่อส่งน้ำเย็นไปที่เครื่องเป่าลมเย็นและแฟนดอยล์ พัดลมซึ่งใช้ส่งลมเย็นในเครื่องเป่าลมเย็นและแฟนคอยล์ ปั๊มน้ำใช้ระบายความร้อนจากเครื่องทำน้ำเย็นไปที่หอผึ่งน้ำ พัดลมที่หอผึ่งน้ำใช้ระบายอากาศร้อนและชื้นออกจากหอผึ่งน้ำ พัดลมระบายอากาศใช้ระบายอากาศที่ปนเปื้อนสิ่งสกปรกจากห้องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ และอื่นๆ

คอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศเป็นแบบปิดมิดชิด(hermetic) หรือกึ่งปิดมิดชิด(semi-hermetic) มอเตอร์ติดคั้งสำเร็จมากับเครื่อง การเลือกคอมเพรสเอร์จึงรวมประสิทธิภาพของมอเคอร์ไม่สามารถแยกพิจารณาได้ แต่ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศหรือผู้ติดตั้งสามารถเลือกพัดลมและปั๊มได้ พัดลมและปั๊มมีการทำงานคล้ายกันสามารถใช้ Affinity law อธิบายการทำงานได้ ดังต่อไปนี้

– อัตราการไหล Q = ค่าคงที่ C คูณด้วยความเร็วรอบ N

– ความดันที่สร้าง H = ค่าคงที่ C คูณด้วยความเร็วรอบ N ยกกำลัง 2

– กำลังไฟฟ้า P = ค่าคงที่ C คูณด้วยความเร็วรอบ N ยกกำลัง 3

จาก Affinity Law ความดันที่ต้องการของอุปกรณ์สัมพันธ์กับความเร็วรอบของอุปกรณ์นั้นๆยกกำลังสอง แรงบิดของพัดลมและปั๊มจึงสัมพันธ์กับความเร็วรอบยกกำลังสอง นั้นคือค่าแรงบิดและความเร็วรอบมีความสัมพันธ์ตามรูปที่ 26.ข. มอเตอร์ที่ใช้ได้คือ ECM และ มอเตอร์อินดักชั่นตามขนาดของมอเตอร์เนื่องจากสามารถเลือกให้มอเตอร์มีแรงบิดมากกว่าแรงบิดที่ต้องการตลอดช่วงความเร็ว เพื่อให้สามารถสตาร์ทได้และเร่งความเร็วไปที่ความเร็วที่ต้องการซึ่งเป็นจุดที่แรงบิดของมอเตอร์จะเท่ากับแรงบิดที่อุปกรณ์ต้องการ มีอายุการใช้งานและราคาที่ยอมรับได้

มักจะใช้มอเตอร์ECM กับพัดลมขนาดเล็กติดตั้งมาพร้อมกับพัดลม โดยออกแบบระบบควบคุมให้เหมาะกับความต้องการของพัดลมนั้นๆ จึงทำให้มีประสิทธิภาพสูง ถึงมอเตอร์จะมีต้นทุนสูงแต่เมื่อเป็นราคารวมพัดลมทั้งชุดก็สามารถยอมรับได้ มอเตอร์ขนาดใหญ่ขึ้นจะใช้มอเตอร์อินดักชั่นซึ่งสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสม

รูปที่ 27.พัดลมที่ใช้มอเตอร์ECM แบบโรเตอร์อยู่ภายนอก

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

เครื่องเป่าลมเย็นสำหรับงานพิเศษต้องการอัตราการส่งลมคงที่ แต่เมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่งความดันตกของระบบท่อลมจะสูงขึ้นเนื่องที่กรองอากาศเริ่มอุดตัน จาก Affinity law จำเป็นต้องเพิ่มความเร็วรอบพัดลม งานด้านการประหยัดพลังงานก็จำเป็นต้องปรับลดความเร็วรอบพัดลมเพื่อลดกำลังของมอเตอร์ซึ่งเป็นวิธีที่ประหยัดพลังงานได้มากที่สุด มอเตอร์ทั้ง ECM และมอเตอร์อินดักชั่นสามารถปรับความเร็วได้จากระบบควบคุมภายนอก

รูปที่ 28.แสดงมอเตอร์ ECM ที่มีขั้วสำหรับต่อระบบควบคุมความเร็วภายนอก

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

ความเร็วรอบของมอเตอร์กระแสสลับถูกออกแบบให้ทำงานตามความเร็วซิงโดรนัส การปรับความเร็วทำได้ด้วยการปรับความถี่ของระบบไฟฟ้าที่จ่ายให้มอเตอร์ด้วย Variable Frequency Drives(VFD) หรือ Variable Speed Drives(VSD) หรืออินเวอร์เตอร์ ไฟฟ้ากระแสสลับ 3เฟสจะถูกเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ 3เฟสที่มีความถึ่สูงขึ้นเพื่อเพิ่มความเร็วซิงโดรนัสตามรูปที่ 29.

รูปที่ 29.หลักการทำงานของระบบ VFD

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

ECMเมื่อออกแบบให้ทำงานเฉพาะเทียบกับVFDจะมีประสิทธิภาพสูงกว่ามอเตอร์อินดักชั่นเนื่องจากแม่เหล็กถาวรในมอเตอร์ซึ่งไม่มีการสูญเสียจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของสเตเตอร์ในมอเตอร์อินดักชั่น และการใช้ระบบควบคุมที่ออกแบบพิเศษเฉพาะงานของECM

VFDและECMมีปัญหาเรื่องฮาร์โมนิกส์เนื่องจากเกิดกระแสไฟฟ่าเป็นจังหวะไม่สม่ำเสมอเมื่อผ่านrectifier ฮาร์โมนิกส์ที่เกิดขึ้นถ้าไม่มีอุปกรณ์ลดฮาร์โมนิกส์จะมีค่า 80-90%ทำให้เกิดปัญหาการทำงานผิดพลาดของระบบอิเลคโทรนิกอื่นๆ ระบบปรับอากาศจะกำหนดให้VFDมี DC link choke ในตัวซึ่งสามารถลดฮาร์โมนิกส์เหลือ 30-35% มอเตอร์ECMบางผลิตภัณฑ์ที่มีอุปกรณ์ป้องกันในตัวก็จะมีราคาแพง มาตรฐาน. IEEE 519 จำกัดขนาดของฮาร์โมนิกส์ของระบบต่างๆที่จะใช้งาน จึงควรตรวจสอบฮาร์โมนิกส์ของVFDและECMว่าเป็นไปตาม IEEE 519เป็นอย่างน้อย

สรุปข้อแตกต่างระหว่าง ECMและVFDจากตารางที่7.เมื่อขนาดมอเตอร์เกิน 10แรงม้า ECMจะมีราคาสูงกว่า VFDจึงไม่นิยมใช้ ECMมีระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ในตัวจึงไม่สามารถจะใช้ในสิ่งแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงได้ และมีความยืดหยุ่นน้อยกว่า VFDที่สามารถควบคุมปรับเปลี่ยนจากภายนอกได้ เช่นจาก Building automation system (BAS) การที่ECMออกแบบเฉพาะงานทำให้การเปลี่ยนอะไหล่ทำได้ยากกว่าVFDและมอเตอร์อินดักชั่นที่ผลิตตามมาตรฐาน

ตารางที่ 7.เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่าง ECMและVFD

มอเตอร์เฟสใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

ส่งท้าย

การเลือกใช้มอเตอร์และระบบควบคุมต้องอาศัยคำแนะนำจากผู้ผลิตและผู้เชื่ยวชาญเรื่องมอเตอร์โดยเฉพาะ บทความนี้เพียงให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการทำงานของมอเตอร์เพื่อช่วยให้ทราบทางเลือกต่างๆ ช่วยเป็นข้อคิดเพื่อการตัดสินใจเลือกใช้มอเตอร์ให้เหมาะสมสำหรับงาน

เอกสารอ้างอิง

– Rakesh Parekh, “AC Induction Motor Fundamentals”, AN887, Microchip Technology Inc.

– Blesswin Alexander,”Study of Torque and speed characteristics of an DC machine, https://skill-lync.com/student-projects/Study-of-Torque-and-speed-characteristics-of-a-DC-Machine-77877

– Christopher Mohalley, ELECTRONICALLY COMMUTATED MOTORS, Part 1: History and Overview of ECMs, Service Application Manual, SAM Chapter 650-003 Section 6A, the Refrigeration Service Engineers Society, Supplement to the Refrigeration Service Engineers Society

– .LARRY GARDNER, How to choose between an ECM and a VFD, JANUARY 7, 2021

– EC Motors & Fan Applications, https://continentalfan.com/what-is-an-electronically-commutated-ec-motor/

– Difference between Induction Motor and Synchronous Motor, https://www.etechnophiles.com/difference-between-induction-motor-and-synchronous motor/

– https://www.thomasnet.com/articles/machinery-tools-supplies/emc-motors-vs-psc-motors/

– High-efficiency motors and sustainability. https://www.electricmotorengineering.com/high-efficiency-motors-and-sustainability/

– Speed Control of DC Motor (Shunt, Series, and Compound), https://www.electrical4u.com/speed-control-of-dc-motor/

– Synchronous Motor, https://circuitglobe.com/synchronous-motor.html

– Basics of Synchronous reluctance motor, https://www.lesics.com/basics-of-synchronous-reluctance-motor.html

– How synchronous reluctance motor work?, https://www.lesics.com/how-synchronous-reluctance-motor-work.html

Daniel Liang,High efficiency motors: Standards and Solutions, International Copper Association, Energy Efficiency Conference 2015.