ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของกระดูก

ทำไมกระดูกจึงเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย?

เพราะกระดูกสันหลัง คือ 1 ในอวัยวะชิ้นที่สำคัญที่สุดช่วยสนับสนุนให้ร่างกายตั้งตรง ก้ม และบิดตัวได้ ภายในกระดูกมีไขกระดูก ซึ่งทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือด (Blood cell)

นอกจากนี้ กระดูกยังเป็นที่เก็บแร่ธาตุ Calcium ในร่างกาย และช่วยป้องกันเส้นประสาทและหลอดเลือดที่ทอดอยู่ตามแนวของกระดูก

ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของกระดูก

รู้ไหมร่างกายของคนเรามีกระดูกกี่ชิ้น?

คำตอบ คือ 206 ชิ้น สำหรับ ผู้ใหญ่ และเด็กมีกระดูก 350 ชิ้น สาเหตุเพราะเมื่อเด็กกำลังอยู่ในช่วงวัยของการเจริญเติบโต จึงมีความจำเป็นต้องใช้กระดูกหลายชิ้นในการเชื่อมต่อร่างกาย และเมื่อเด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ กระดูกสองหรือสามชิ้นก็จะค่อยๆ รวมตัวกันเป็นชิ้นเดียว

ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของกระดูก

รู้จักกระดูก ให้ถูกทาง

ในกระดูก 206 ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามตำแหน่งที่อยู่ของกระดูก คือ

1. กระดูกแกน axial skeleton

เป็นกระดูกที่อยู่บริเวณกลางลำตัว มีทั้งหมด 80 ชิ้น ทำหน้าที่ค้ำจุนพยุงร่างกาย ประกอบด้วย

– กระดูกกะโหลกศีรษะ 29 ชิ้น ไม่รวมฟัน
– กระดูกสันหลัง 26 ชิ้น
– กระดูกซี่โครง 24 ชิ้น
– กระดูกหน้าอก 1 ชิ้น

2. กระดูกรยางค์ appendicular skeleton

เป็นกระดูกที่ยื่นจากกระดูกแกนออกไป มีทั้งหมด 126 ชิ้น ทำหน้าที่ค้ำจุนพยุงร่างกาย และป้องกันอวัยวะภายใน ได้แก่

– กระดูกแขนข้างละ 30 ชิ้น รวม 60 ชิ้น
– กระดูกขาข้างละ 30 ชิ้น รวม 60 ชิ้น
– กระดูกสะบักข้างละ 1 ชิ้น รวม 2 ชิ้น
– กระดูกเชิงกรานข้างละ 1 ชิ้น รวม 2 ชิ้น
– กระดูกไหปลาร้าข้างละ 1 ชิ้น รวม 2 ชิ้น

ความเชื่อ & ความจริง

เรามักเชื่อว่า กระดูกจะเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น แต่ความจริงแล้ว “แคลเซียม” ในกระดูก จะมีการสร้างและสลายตัวตลอดเวลา ที่สำคัญหลังอายุ 30 ปีไปแล้ว แคลเซียมในร่างกายจะสลายตัวมากกว่าสร้างใหม่

ดังนั้นข้อควรระวัง คือ ถ้ากระดูกไม่แข็งแรง จะเกิดปัญหาโรคกระดูกเปราะบางหรือกระดูกพรุน ซึ่งนั่นจะทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับข้อกระดูกต่างๆ เช่น ข้ออักเสบ ข้อเสื่อม มีอาการปวดหลัง ร่างกายจะเคลื่อนไหวได้ลำบาก

ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของกระดูก

อาหารบำรุงกระดูก

อาหารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก เป็นอาหารจำพวกที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่

– นมสด
– ไข่แดง
– ผักใบเขียว
– ผลไม้
– อาหารที่มีวิตามินดี เช่น น้ำมันตับปลา
– ผักสด

นอกจากนี้ การออกกำลังกายเป็นประจำ ก็มีส่วนช่วยพัฒนากระดูกให้แข็งแรงด้วย ส่วนข้อควรระวัง คือ อย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินไป เพราะอาจทำให้ข้อต่อชำรุด หรือเสื่อมสภาพเร็ว

ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของกระดูก

โรคที่เกี่ยวกับกระดูก

มีที่มาจากหลายสาเหตุ ทั้งจากสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิตประจำวัน อาทิเช่น
– พันธุกรรม
– เชื้อโรค
– สิ่งแวดล้อม
– วัยหรืออายุที่เพิ่มขึ้น

ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของกระดูก

โครงสร้างกระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังประกอบด้วยกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังของลำตัว มีหน้าที่ในการรับน้ำหนัก และเชื่อมโยงเส้นประสาทจากสมองถึงเชิงกราน

ภายในกระดูกสันหลัง จะมีส่วนที่เรียกว่า “ไขสันหลัง” ซึ่งมีหน้าที่นำคำสั่งจากสมองไปสู่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

“กระดูกสันหลัง” ซึ่งอยู่ด้านนอก จึงมีหน้าที่คอยป้องกัน “ไขกระดูกสันหลัง” ซึ่งอยู่ภายใน “โพรงกระดูกสันหลัง” อีกชั้นหนึ่ง ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ จะมี “หมอนรองกระดูก” คั่นกลางอยู่

ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของกระดูก

ลักษณะของ “หมอนรองกระดูก” นี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน กล่าวคือ

1.หมอนรองกระดูกชั้นใน มีลักษณะคล้ายเจลลี่ หรือ นิวเคลียสพอลโพซัส (Nucleus pulposus)
2.หมอนรองกระดูกชั้นนอก มีลักษณะเหมือนถุงห่อหุ้ม เรียกว่า อนุลัสไฟโบรซัส (Annulus fibrosus)

ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของกระดูก

ความสำคัญของ “หมอนรองกระดูก” ก็คือ มีหน้าที่รับน้ำหนัก ใช้ในการขยับหลัง เพื่อก้มหรือแอ่น ในระหว่าง “กระดูกสันหลัง” แต่ละข้อจะมี “เส้นประสาท” อยู่ภายใน

ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของกระดูก

รู้เรื่องกระดูกใช้ชีวิตถูกวิธี

กระดูกสันหลัง มี 4 ส่วน

– ส่วนคอ มี 7 ชิ้น / C1-C7
– ช่วงอก มี 12 ชิ้น / T1-T12
– ช่วงเอว มี 5 ชิ้น / L1-L5
– ช่วงเชิงกราน มี 1 ชิ้น

เมื่ออายุมากขึ้น มีสาเหตุ ที่ทำให้เกิดอาการ

“ปวดหลัง” ได้ เช่น มีการฉีกขาด ของ “หมอนรองกระดูกชั้นนอก” หรือ “หมอนรองกระดูกชั้นใน” มีน้ำน้อยลง ทำให้มีคุณสมบัติในการรับน้ำหนักได้น้อยลง

“ข้อต่อด้านหลังเสื่อม” ทำให้หลวม มีการขยับมีกระดูกสันหลังมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดได้ “หมอนรองกระดูก” ที่เสื่อมและเคลื่อนไปทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดร้าวลงขาได้ และ “หินปูน” ที่ “กระดูกสันหลัง” สามารถงอกและยืดไปกดทับเส้นประสาทได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการปวดอีกอย่างหนึ่ง อาจจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของกระดูก

ติดต่อสอบถาม และทำนัดล่วงหน้าได้ที่ 02-0340808

โรงพยาบาล เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ S-SPINE SPINE EXPERT

“เรื่องกระดูกสันหลังเราชำนาญ”