ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของร้อยแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ร้อยแก้ว เป็นภาษารูปแบบหนึ่งซึ่งใช้โครงสร้างไวยากรณ์ปกติและการไหลของถ้อยคำอย่างเป็นธรรมชาติ แทนที่จะใช้โครงสร้างเป็นจังหวะดังในกวีนิพนธ์ แม้จะมีการถกเถียงเชิงวิจารณ์ต่อการสร้างร้อยแก้ว แต่ด้วยความเรียบง่ายและโครงสร้างที่นิยามอย่างหลวม ทำให้ร้อยแก้วถูกนำมาใช้ในบทสนทนาเป็นส่วนใหญ่ วจนิพนธ์ข้อเท็จจริง ตลอดจนการเขียนเฉพาะเรื่องและบันเทิงคดี ร้อยแก้วเป็นรูปแบบภาษาที่ใช้กันสามัญ เช่น ในวรรณกรรม หนังสือพิมพ์ นิตยสาร สารานุกรม การแพร่สัญญาณทางสื่อต่างๆ หนังสือทางประวัติศาสตร์และปรัชญา กฎหมาย และการสื่อสารอีกหลายรูปแบบ

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม[แก้]

  • สมิทธ์ ถนอมศาสนะ. (2558, เม.ย.-มิ.ย.). กำเนิด “เรื่องอ่ำนเล่นร้อยแก้วสมัยใหม่”: ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบและบริบททำงความคิด. สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 21(2), 133-190.


ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของร้อยแก้ว

ร้อยแก้ว  

       ตามพจนานุกรมหมายความว่า  “ความเรียงที่สละสลวย  ไพเราะด้วยเสียงและความหมาย”  หรือ  หมายถึง  “ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นโดยไม่มีข้อบังคับหรือข้อแท้ต่างๆ  เช่น สัมผัส  เอก  โท  ครุ  ลหุ  คณะ  ฯลฯ  เป็นความเรียงที่เกลี้ยงเกลาสละสวย  ไพเราะงดงาม  ประหนึ่งการร้อยดวงแก้วที่แสนงามเข้าด้วยกัน”  

      ถึงแม้ว่าร้อยแก้วจะไม่บังคับว่าต้องใช้คำที่สัมผัสกัน  แต่บางครั้งร้อยแก้วที่มีสัมผัสซึ่งก็จะทำให้เกิดความไพเราะและแสดงถึงการเรียบเรียงร้อยแก้วนั้นอย่างพิถีพิถัน  เช่น  “...กรุงสุโขทัยนี้ดี  ในน้ำมีปลา  ในนามีข้าว  เจ้าเมืองบเอาจกอบในไพร่ลู่ทาง  เพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย...”  เป็นข้อความในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑  ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่ใช้คำคล้องจองทำให้เกิดความไพเราะ


แบบทดสอบเรื่องการอ่านออกเสียง

1. ข้อใดคือการอ่านออกเสียงที่ถูกต้อง

    ก.  สมชายกำหนดท่าทางที่จะอ่าน

     ข.   สมศักดิ์ทดลองออกเสียงก่อนที่จะอ่าน

     ค.   สมเดชศึกษาเจตนาของผู้แต่งเรื่องที่จะอ่าน

     ง.   สุดาทำความเข้าใจในเรื่องที่จะอ่านอย่างถี่ถ้วน

2. ข้อใดไม่ใช่การอ่านเพื่อความรู้

    ก.  ไก่ต๊อกอ่านฉลากยาแล้วปฏิบัติตาม

     ข.   ไก่แจ้อ่านตำราอาหารไทยไปทำขนมขาย

     ค.   ไก่โต้งอ่านนวนิยายเก็บข้อมูลแล้วไปเขียนนวนิยายส่งเข้าประกวด

     ง.   ไก่อูมีความทุกข์จึงไปอ่านหนังสือเกี่ยวกับศาสนาเพื่อผ่อนคลายความทุกข์  

3. การทำเครื่องหมายในบทอ่าน  ถ้าใช้เครื่องหมาย / หมายความว่าอย่างไร

ก.      หยุดอ่าน

ข.      หยุดหายใจ

ค.     เว้นวรรคเล็กน้อยเพื่อหยุดหายใจ 

ง.      ให้สังเกตข้อความที่จะอ่านต่อไปข้างหน้า

4.  ถ้าต้องการให้ทอดหางเสียง  ต้องใช้เครื่องหมายใดกำกับ

     ก.  //                                     ข.  ........

     ค.   ------                                ง.  ****

5.  ทักษะในข้อใดมีความจำเป็นสำหรับนักเรียนในการแสวงหา

     ความรู้เพิ่มเติม

     ก.  การฟัง                              ข.  การพูด                                 

     ค.   การอ่าน                            ง.  การเขียน

6.  ข้อใดคือลักษณะของผู้ที่อ่านเป็น

     ก.   กล้าผสมอักษรแล้วอ่านเป็นคำได้

     ข.   เก่งอ่านหนังสือแล้วแปลความหมายได้

     ค.   ก้อยอ่านหนังสือแล้วมีความเข้าใจเรื่องที่อ่าน

     ง.   แก้วอ่านหนังสือแล้วประเมินค่าของเรื่องที่อ่านได้

7.  ข้อใดไม่ใช่ความหมายของร้อยแก้ว

     ก.   ข้อความที่ไม่มีลักษณะบังคับสัมผัส

     ข.   ข้อความที่ใช้เขียนอยู่ในชีวิตประจำวัน

     ค.   ข้อความที่ไม่เน้นระบบคำและโครงสร้างประโยค

     ง.   ข้อความที่มีรูปแบบถูกต้องตรงตามไวยากรณ์ไทย

8.  ข้อใดสำคัญที่สุดในการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว

     ก.   มีสมาธิในการอ่าน

     ข.   อ่านให้เป็นเสียงพูด

     ค.   อ่านให้เสียงดังพอสมควร                              

     ง.  อ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธี

9.  การใส่อารมณ์ในการอ่านเป็นผลดีอย่างไร

     ก.   เปลี่ยนอารมณ์ของผู้ฟัง                                 

     ข.   ทำให้การอ่านนั้นชวนฟังยิ่งขึ้น

     ค.   ทำให้เรื่องที่อ่านนั้นน่าสนใจ                           

     ง.   ทำให้ผู้อ่านมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น

10. ข้อใดไม่ใช่แนวทางการอ่านบทร้อยกรอง                                        

      ก.   ต้องรู้จักทำนองของบทร้อยกรองที่อ่าน

      ข.   ต้องรู้จักฉันทลักษณ์ของบทร้อยกรองที่อ่าน

      ค.   ต้องรู้จักผสมคำหรือพยางค์บทร้อยกรองที่อ่าน                            

      ง.   ต้องรู้จักใส่อารมณ์ความรู้สึกในบทร้อยกรองที่อ่าน