ข้อใดกล่าวถึงการควบคุมการทำงานปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ d – jetronic ไม่ถูกต้อง

ปั๊มหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงควบคุมด้วยอีเล็คทรอนิคส์ [Electronic Fuel Injection Control]

ก่อนที่จะเข้าเรื่องระบบหัวฉีดอิเล็คทรอนิคส์ เรามาดูระบบคาร์บูเรเตอร์กันก่อน

เครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์ ก่อนจะพัฒนามาเป็นหัวฉีดอิเล็คทรอนิคส์นั้น รถยนต์ยุคแรกๆ นั้นเครื่องยนต์ใช้ระบบคาร์บูเรเตอร์ในการจ่ายน้ำมันให้กับเครื่องยนต์ โดยใช้หลัการของคอคอด (Venturi) ในการดึงน้ำมันเชื้อเพลิงจากห้องลูกลอยผ่านนมหนู (Jet) ด้วยสุญญากาศ โดยปริมาณของน้ำมันถูกควบคุม จาก

  1. ปริมาณของอากาศ ที่เครื่องยนต์ดูดผ่านคาร์บูเรเตอร์
  2. ขนาดของนมหนู
  3. ขนาดของคอคอด (Venturi) ถ้าคอคอดมีขนาดเล็กก็จะทำให้อากาศไหลผ่านด้วยความเร็วสูงขึ้น และทำให้เกิดสุญญากาศไปดึงน้ำมันเพิ่มมากขึ้น

ข้อเสียของระบบคาร์บูเรเตอร์
ปริมาณเชื้อเพลิงที่จ่ายนั้นไม่ถูกต้องเที่ยงตรง เนื่องจาก

  1. เครื่องยนต์ต้องการอัตราส่วนผสมบางลงเมื่ออุณหภูมิอากาศในท่อร่วมไอดีสูงขึ้น
  2. เครื่องยนต์ต้องการอัตราส่วนผสมบางลงเมื่ออุณหภูมิน้ำหล่อเย็นสูงขึ้น
  3. เครื่องยนต์ต้องการอัตราส่วนผสมบางลงเมื่อเครื่องยนต์อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล
  4. การตัดจ่ายน้ำมันเป็นไปอย่างช้า ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง

เนื่องจากการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของระบบคาร์บูเรเตอร์ไม่สามารถจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้ถูกต้องพอดีกับตวามต้องการของเครื่องยนต์ ส่งผลให้

  • ส่วนผสมหนาเกินไป ทำให้ปริมาณไฮโดรคาร์บอนและคาร์บอนมอนอกไซด์ในก๊าซไอเสีย เพิ่มมากขึ้น
  • ส่วนผสมบางเกินไป ทำให้ปริมาณออกไซด์ของไนโตรเจนในก๊าซไอเสียเพิ่มมากขึ้น และสมรรถนะของเครื่องยนต์ลดต่ำลง

ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาระบบหัวฉีดขึ้นมาแทนระบบคาร์บูเรเตอร์

พัฒนาการของระบบหัวฉีด
เริ่มแรกนั้นได้มีการนำระบบ ECU และอุปกรณ์เซนเซอร์ต่างๆ เข้ามาใช้ควบคู่ไปกับระบบจ่ายน้ำมันแบบคาร์บูเรเตอร์ก่อน แล้วจึงพัฒนามาเป็นระบบหัวฉีดอิเล็คทรอนิคส์ (EFI-Electronic Fuel Injection System) ในปัจจุบัน

ระบบหัวฉีดอิเล็คทรอนิคส์ EFI (Electronic Fuel Injection)

ข้อใดกล่าวถึงการควบคุมการทำงานปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ d – jetronic ไม่ถูกต้อง

ระบบหัวฉีดอิเล็คทรอนิคส์หมายถึง ระบบหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ยนต์เบนซินที่นำเอาอิเล็คทรอนิคส์เข้ามาควบคุมการจ่ายน้ำมันเชื่อเพลิง แทนระบบคาร์บูเรเตอร์แบบเดิม โดยอาศัย

  • ECU (Electronic Control Unit) ซึ่งเปรียบเสมือนระบบคอมพิวเตอร์ระบบเล็กๆ เข้ามาควบคุมการทำงานเพื่อให้การฉีดน้ำมันเป็นไปอย่าง ถูกต้องตามความต้องการของเครื่องยนต์

  • มาตรวัดอากาศ (สำหรับ L-Jetronic) โดยการตรวจสอบปริมาณอากาศที่ไหลเข้าเครื่องยนต์

  • มาตรวัดความดัน (สำหรับ D-Jetronic)

  • ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งประกอบด้วย หัวฉีดน้ำมัน (Injector) ปั๊มน้ำมัน กรองน้ำมัน ตัวควบคุมแรงดันน้ำมัน

  • เซนเซอร์ต่างๆ เช่น เซ็นเซอร์น้ำหล่อเย็น เซ็นเซอร์ความเร็วรอบเครื่องยนต์ เซ็นเซอร์วัดมุมปีกผีเสื้อ เพื่อส่งสัญญาณให้ ECU เพื่อคำนวณหาค่าที่เหมาะสมในสภาวะของเครื่องยนต์ ณ เวลานั้นเพื่อที่ ECU จะ ส่งสัญญาณไฟฟ้าไปให้ตัวควบคุมการฉีดน้ำมัน(Actuators) ที่หัวฉีดได้อย่างถูกต้อง

เป็นระบบที่ควบการฉีดน้ำมันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดตามอัตราส่วนผสมน้ำมันกับอากาศของเครื่องยนต์ ด้วยระบบการฉีดแบบนี้ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีการอุ่นไอดี เนื่องจากสภาพการทำงานต่างๆ จะมีอัตราส่วนที่เหมาะสมตลอดเวลา การตอบสนองต่อการเร่งเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพราะน้ำมันเชื้อเพลิงถูกฉีดออกมาภายใต้ความดันตลอดเวลาโดยใช้ความดันที่เกิดจากปั๊มเชื้อเพลิงไฟฟ้า หรือปั๊มติ๊ก ซึ่งแตกต่างจากระบบคาร์บูเรเตอร์ ที่ใช้ความดันอากาศที่คอคอดมาควบคุมการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิง

ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง

(1) หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง (Injector)

ข้อใดกล่าวถึงการควบคุมการทำงานปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ d – jetronic ไม่ถูกต้อง

หัวฉีด (Injector) จะทำการฉีดน้ำมันออกไปเป็นฝอย โดยได้รับการควบคุมการฉีดมาจาก  ECU โดยใช้ขดลวดโซลินอยด์

ข้อใดกล่าวถึงการควบคุมการทำงานปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ d – jetronic ไม่ถูกต้อง
ส่วนประกอบของหัวฉีด

หัวฉีดทำงานอย่างไร ?
หัวฉีดถูกระตุ้นการทำงานด้วยไฟฟ้า กล่าวคือ ในขณะที่มีน้ำมันเชื้อเพลิงจากท่อน้ำมัน เข้ามาสู่ตัวหัวฉีด จะมีแรงดันน้ำมันมารออยู่ในหัวฉีดแล้ว แต่น้ำมันไม่สามารถ เคลื่อนตัวผ่านออกไปภายนอกหัวฉีดได้ เพราะวาล์วขนาดเล็ก (เข็มวาล์วหัวฉีด) ได้ปิดกั้นทางออกเอาไว้ ตัววาล์วนี้ จะยึดเกี่ยวกับแกนเลื่อนขดลวดไฟฟ้า และจะมีโซลินอยด์ขนาดเล็ก ติดตั้งอยู่ภายในหัวฉีดด้วย เมื่อมีประแสไฟฟ้าผ่านเข้ามาภายในหัวฉีด จะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ดึงแกนเข็มวาล์วหัวฉีด ให้ถอยหลัง ที่ปลายเข็มหัวฉีด จึงเกิดเป็นช่องขนาดเล็ก น้ำมันเชื้อเพลิงที่มารออยู่ในหัวฉีด จึงเคลื่อนตัวผ่านทางช่องนี้ พุ่งออกไปเป็นเกล็ดฝอย ซึ่งเมื่อหมดกระแสไฟฟ้าแล้ว เข็มวาล์วหัวฉีด ก็จะเคลื่อนตัวไปอุดรูทางออก ของน้ำมันเชื้อเพลิงไว้เช่นเดิม

ตำแหน่งที่ตั้งและวีธีการฉีดของระบบหัวฉีด
ในเครื่องยนต์เบนซินระบบหัวฉีด น้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้าไปผสมกับอากาศโดยวาล์วหัวฉีดซึ่งทำงานโดยการควบคุมของโซลินอยด์ ตำแหน่งที่ฉีดน้ำมันโดยมากจะฉีดเข้าที่ช่องวาล์วปีกผีเสื้อ และหน้าวาล์วไอดี

ข้อใดกล่าวถึงการควบคุมการทำงานปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ d – jetronic ไม่ถูกต้อง

การฉีดแบบหลายจุด (Multi-point injection)

  1. ติดตั้งบริเวณช่องวาล์วปีกผีเสื้อ (Throttle body) การฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงจะฉีดเข้าช่องวาล์วปีกผีเสื้อ (Throttle body injection) หรือที่เรียกว่า TBI การฉีดลักษณะนี้ เป็นการผสมน้ำมันกับอากาศ ที่บริเวณช่องวาล์วปีกผีเสื้อ และส่วนผสมดังกล่าว จะเคลื่อนตัวไปตามท่อไอดี แต่ละตำแหน่งสูบ การทำงานลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า การฉีดแบบจุดเดียว (Single-point injection) พบในรถมิซูบิชิ 4G63-Sirius เป็นต้น
  2. ติดตั้งใกล้กับวาล์วไอดี (Port injection) หัวฉีดจะติดตั้ง ยื่นเข้าไปที่ช่องไอดี ใกล้กับวาล์วไอดี ก่อนถึงห้องเผาไหม้ หัวฉีดจะทำการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงผสมกับอากาศ ส่วนผสมที่เกิดขึ้น จะอยู่ใกล้กับทางเข้าห้องเผาไหม้ หัวฉีดจะติดตั้งประจำอยู่ ณ ตำแหน่งนี้ทุกกระบอกสูบ จึงเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า การฉีดแบบหลายจุด (Multi-point injection) การฉีดประจำแต่ละกระบอกสูบนี้ จะตัดปัญหา ส่วนผสมที่ไม่เท่ากันในแต่ละกระบอกสูบไปได้ ซึ่งทำให้เครื่องยนต์ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นแบบที่ใช้ในเครื่องยนต์ปัจจุบัน
  3. แบบฉีดเข้าห้องเผมไหม้โดยตรง (Gasoline Direct Injection)เช่นเดียวกับเครื่องยนต์ดีเซล ช่วยให้การเผาไหม้สมบูรณ์กว่าสองแบบแรก

(2) ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงไฟฟ้า (Electronic fuel pump) ทำหน้าที่สูบน้ำมัน จากถังน้ำมันเชื้อเพลิง ผ่านไปตามท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ไปให้กับหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง

ข้อใดกล่าวถึงการควบคุมการทำงานปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ d – jetronic ไม่ถูกต้อง

(3) กรองน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel filter) จะทำการกรองสิ่งสกปรก ที่อาจติดมากับน้ำมันเชื้อเพลิงออกไป

(4) อุปกรณ์ควบคุมแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel pressure regulator) ทำหน้าที่รักษาสมดุลย์ของแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ได้รับมา ส่งให้กับหัวฉีด ซึ่งจะมีท่อน้ำมันกลับไปยังถังน้ำมันเชื้อเพลิง ในกรณีที่มีแรงดันน้ำมัน เกินกว่าความจำเป็นที่จะต้องใช้ แต่ระบบหัวฉีดอิเล็คทรอนิคส์บางระบบ อาจใช้อุปกรณ์สะสมแรงดันน้ำมันร่วมในการทำงาน

ข้อใดกล่าวถึงการควบคุมการทำงานปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ d – jetronic ไม่ถูกต้อง
อุปกรณ์ควบคุมแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง

ระบบหัวฉีดแบบกลไก (Mechanic)

  1. K-Jetronic เป็นระบบหัวฉีดที่ทำงานด้วยระบบกลไก จะพบในเครื่องยนต์ของรถยนต์รุ่นเก่าบางยี่ห้อ เช่น Benz
  2. KE-Jetronic เป็นระบบหัวฉีดแบบกลไกผสมกับระบบอิเล็คทรอนิคส์ ซึงพัฒนามาจาก K-Jetronic พบในเครื่องยนต์ของรถยนต์รุ่นเก่าๆ บางยี่ห้อ เข่น Benz รุ่น W123, W124 เป็นต้น

ระบบที่ใช้ควบคุมปั๊มหัวฉีดด้วยอิเล็คทรอนิคส์นั้นมีอยู่ 3 แบบด้วยกัน

  1. in-line type
  2. distributor type
  3. common rail type

1. ระบบควบคุมปั๊มหัวฉีดด้วยอิเล็คทรอนิคส์แบบ  In-Line

ระบบควบคุมด้วยอิเล็คทรอนิคส์ของปั๊มหัวฉีดแบบ in-line ประกอบด้วย electronic governor หรือ electronic timer  ย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง

  • electronic governor  ควบคุมปริมาณการฉีดน้ำมันด้วยอิเล็คทรอนิคส์
  • electronic timer ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะเวลาในการฉีดด้วยอิเล็คทรอนิคส์

ในส่วนของ fuel feed mechanism (ตัวปั๊ม) จะเหมือนกับแบบกลไก (mechanical) นั่นคือมีตัวหนึ่งใช้สำหรับ conventional pump

2. ระบบควบคุมปั๊มหัวฉีดด้วยอิเล็คทรอนิคส์แบบ  Distributor

ข้อใดกล่าวถึงการควบคุมการทำงานปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ d – jetronic ไม่ถูกต้อง

ระบบควบคุมปั๊มหัวฉีดด้วยอิเล็คทรอนิคส์แบบ distributor ประกอบด้วยเซนเซอร์ต่างๆ ระบบ ECU และ actuator เพื่อตรวจจับสภาวะการทำงานต่างๆ ของเครื่องยนต์โดยใช้เซนเซอร์ และควบคุมปริมาณการฉีดน้ำมันและจังหวะเวลาในการฉีดโดย ECU อุปกรณ์เชิงกลที่ใช้ในการป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงใช้แบบเดียวกับที่ใช้ใน conventional pump

โครงสร้างของระบบควบคุมปั๊มหัวฉีดแบบ  Distributor

ระบบควบคุมแบบ distributor ประกอบด้วย เซนเซอร์ต่างๆ , ECU และ actuator

  • Sensors ใช้ตรวจจับสภาวะการทำงานต่างๆ ของปั๊มเครื่องยนต์หรือปั๊ม
  • Actuator  ใช้ควบคุมปริมาณการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงและจังหวะเวลาในการฉีด ตามสัญญาณที่ส่งมาจาก ECU
  • ECU คำนวณหาปริมาณและจังหวะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื่อเพลิงให้เหมาะสมที่สุด สำหรับสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ ณ เวลานั้น โดยใช้สัญญาณที่ส่งมาจาก sensor