รัฐบาลจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลเมื่อเกิดกรณีใด

งบประมาณ : ปัจจัยสำคัญในการบริหาร

เผยแพร่: 28 ต.ค. 2562 15:44   โดย: สามารถ มังสัง

รัฐบาลจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลเมื่อเกิดกรณีใด

งบประมาณหรือประมาณการรายรับและรายจ่ายในการบริหารองค์กรตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัดไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่อันได้แก่ประเทศ ทั้งนี้อนุมานได้จากเหตุปัจจัยในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้

1. งบประมาณในส่วนของรายรับแสดงถึงศักยภาพในการประกอบการเพื่อหารายได้ ถ้าเป็นธุรกิจเอกชนก็หมายถึงศักยภาพในการผลิต และการขาย อันเป็นที่มาของรายได้ แต่ถ้าเป็นองค์กรภาครัฐหมายถึงการจัดเก็บรายได้จากภาษี และค่าธรรมเนียมต่างๆ จากผู้ประกอบการเอกชน

2. ในส่วนของรายจ่ายแสดงถึงศักยภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุดโดยประมาณการจากผลงานที่ได้รับ และจำนวนเงินที่จ่ายไป โดยยึดหลักง่ายๆ คืองานที่ได้เท่ากับเงินที่จ่ายไป ด้วยอาศัยหลักการของบัญชีต้นทุน และหลักของเศรษฐศาสตร์ในส่วนที่เกี่ยวกับความคุ้มค่าในการลงทุน

3. ในส่วนของการหารายได้แสดงถึงวิสัยทัศน์ในการบริหารการผลิต และการบริหารการขายของฝ่ายบริหาร และในส่วนของการควบคุมค่าใช้จ่ายแสดงถึงความโปร่งใส และใส่ใจในรายละเอียดของรายจ่ายในทุกขั้นตอน เพื่อป้องกันการรั่วไหล และให้เงินที่จ่ายไปคุ้มค่า

งบประมาณที่จัดทำขึ้นจะมี 3 ประเภทคือ

1. งบประมาณเกินดุล ได้แก่ งบประมาณที่ประมาณการรายรับมากกว่ารายจ่าย

2. งบประมาณสมดุล ได้แก่ งบประมาณที่ประมาณการรายรับเท่ากับรายจ่าย

3. งบประมาณขาดดุล ได้แก่ งบประมาณที่ประมาณการรายรับน้อยกว่ารายจ่าย และส่วนเกินของรายจ่าย องค์กรจะต้องกู้ยืมมาเพื่อให้ชดเชยรายรับที่ขาดไป

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา รัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 โดยมีวงเงินที่ประมาณการไว้ 3.2 แสนล้านล้านบาท และเป็นงบประมาณขาดดุล 4 แสน 6 หมื่นกว่าล้านบาท นั่นหมายถึงว่า รัฐบาลจะต้องกู้มาชดเชยงบที่ขาดดุลดังกล่าว จึงเท่ากับว่าคนไทยทุกคนจะต้องแบกรับหนี้เพิ่มขึ้นจากที่แบกรับมาแล้วเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน และยังไม่มีท่าทีใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยจะสามารถจัดทำงบประมาณสมดุลได้เมื่อใด และร่าง พ.ร.บ.งบประมาณดังกล่าวนี้ได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนฯ ในวาระ 1 ไปแล้วเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม

ในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนพิจารณาของกรรมาธิการงบประมาณเพื่อปรับลดหรือเพิ่ม แล้วจะนำกลับเข้ามาพิจารณาในวาระ 2 และ 3 ต่อไป

ส่วนจะปรับลดในส่วนใด และปรับเพิ่มในส่วนใดนั้นขึ้นอยู่กับกรรมาธิการงบประมาณ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเป็นหน้าที่ของผู้ที่ประชาชนเลือกเข้ามาทุกคน จะต้องคำนึงถึงการใช้งบประมาณให้รอบคอบ และครอบคลุม ภารกิจหลักของประเทศโดยผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยการพิจารณาจากปัญหาเร่งด่วนที่ประเทศชาติ และประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเผชิญอยู่ดังต่อไปนี้

1. ปัญหาความยากจน ซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยนานัปการ เริ่มตั้งแต่ปัญหาว่างงานในหมู่ผู้ที่จบ
การศึกษาแล้วหางานทำไม่ได้ ปัญหาราคาพืชผลทางด้านการเกษตรราคาตกต่ำ ไม่คุ้มทุน และสุดท้ายปัญหาราคาสินค้าซึ่งจำเป็นต่อการครองชีพราคาแพง เมื่อเทียบรายได้ของประชาชนผู้ที่มีรายได้น้อย มีกำลังซื้อไม่เพียงพอ ทำให้ความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น

2. ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเห็นได้จากการก่ออาชญากรรมมีตั้งแต่ลักเล็กขโมยน้อยไปจนถึงการจี้ปล้นที่เกิดขึ้นทุกวัน และวันละหลายรอบด้วย

3. ปัญหาทุจริต คอร์รัปชัน ในวงราชการซึ่งเกิดขึ้นมายาวนานจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังในประเทศไทย และยังไม่มีท่าทีว่าจะลดลง ตรงกันข้าม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย

ดังนั้น ถ้าจะให้การใช้งบประมาณเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ และประชาชนโดยรวมแล้ว จะต้องใช้ไปเพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าวข้างต้นให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม

แต่ถ้าปีงบประมาณ 2563 ผ่านไปแล้ว ปัญหาดังกล่าวไม่ลดลง ก็เท่ากับส่วนราชการที่รับผิดชอบในการแก้ปัญหาใช้งบประมาณไม่เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนคุ้มค่ากับเงินภาษีที่เสียไป เมื่อเป็นเช่นนี้ทั้งข้าราชการประจำ และนักการเมืองในส่วนนี้จะต้องรับผิดชอบในทางสังคม

เศรษฐกิจ

26 ธ.ค. 2564 เวลา 7:20 น.2.1k

รัฐบาลเคาะแผนการคลังระยะปานกลางปีงบประมาณ 66 - 69 พบยังขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากคงมาตรการทางการคลัง พยุงการฟื้นตัวจากโควิด ในปี 2569 ขาดดุลงบสุงสุดถึง 7.36 แสนล้านบาท ขณะที่ทั้งแผนมองการเติบโตจีดีพีสูงสุด 2.9 -4.2% เผยแผนคุมรายจ่ายภาครัฐไม่ให้เกิน 4%

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายและแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมาโดยมีหัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจทั่วประเทศรับฟัง 

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สถานการณ์โควิดในประเทศมีทิศทางดีขึ้นเป็นลำดับ รวมทั้งกระจายการฉีดวัคซีนให้ประชาชนคืบหน้าทำให้ทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคได้ในปี 2565 ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยมีเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 3.1 ล้านล้านบาท งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 3.07 แสนล้านบาท และเงินกู้จาก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 5 แสนล้านบาท ที่จะสิ้นสุดในปีงบประมาณ 2565 

ทั้งนี้เพื่อให้การใช้จ่ายภาครัฐผ่านงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้ต่อเนื่องควบคู่ไปการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13

สำหรับการจัดทำคำของบประมาณปี 2566 ต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับประเด็นการพัฒนาภายใต้ 13 หมุดหมาย ของร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เพื่อเพิ่มศักยภาพประเทศในการรับมือกับความเสี่ยงต่างที่อาจกระทบรุนแรง

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 21 ธ.ค.2564 เห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2566-2569) โดยมีรายละเอียดสำคัญคือในส่วนประมาณการเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2566-2569 คาดว่าจีดีพีขยายตัว 2.8-4.2% 

ปี 2566 จีดีพีจะขยายตัว 3.2-4.7% (ค่ากลาง 3.7%) ปี 2567 จีดีพีจะขยายตัว 2.9-3.9% (ค่ากลาง 3.4%) ส่วนปี 2568-2569 จีดีพีจะขยายตัว 2.8-3.8% (ค่ากลาง 3.3%)

ทั้งนี้กระทรวงการคลังรายงานว่าการจัดทำงบประมาณในระยะปานกลางมีความจำเป็น โดยต้องทำนโยบายการคลังแบบขยายตัวผ่านการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสังคมจากโควิด-19 ที่กระทบเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตประชาชน ซึ่งผลต่อเนื่องถึงภาคการคลังทำให้เกิดภาระที่สะสมต่อภาคการคลัง

นอกจากนี้ มีความเสี่ยงที่จะทำให้การแพร่ระบาดกลับมารุนแรง ซึ่งภาครัฐอาจจำเป็นต้องดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบเพิ่มเติม รวมทั้งเตรียมความพร้อมรับมือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก (Global Megatrends) ที่จะกระทบการเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิากาศ และโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัยที่จะกระทบการดำเนินนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งการจัดเก็บรายได้และการจัดสรรงบประมาณ

สำหรับการคาดการณ์สถานะทางการคลังพบว่าปีงบประมาณ 2566-2569 รัฐบาลจะขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปี โดยปี 2566 จัดเก็บรายได้รัฐบาล 2.49 ล้านล้านบาท มีรายจ่ายงบประมาณ 3.185 ล้านล้านบาท ต้องตั้งงบประมาณขาดดุล 6.95 แสนล้านบาท 

ปีงบประมาณ 2567 จัดเก็บรายได้ 2.56 ล้านล้านบาท มีรายจ่าย 3.27 ล้านล้านบาท ต้องตั้งงบประมาณขาดดุล 7.1 แสนล้านบาท 

ปีงบประมาณ 2568 จัดเก็บรายได้ 2.72 ล้านล้านบาท มีรายจ่าย 3.36 ล้านล้านบาท ต้องตั้งงบประมาณขาดดุล 7.23 แสนล้านบาท

ปีงบประมาณ 2569 จัดเก็บรายได้ 2.72 ล้านล้านบาท มีรายจ่าย 3.456 ล้านล้านบาท ต้องตั้งงบประมาณขาดดุล 7.36 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ การคาดการณ์รายรับรายจ่ายภาครัฐมาจากสมมติฐานสำคัญ เช่น สัดส่วนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 2.0-3.5% ของวงเงินงบประมาณ รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้มีสัดส่วน 2.5-4.0% ของวงเงินงบประมาณ ค่าใช้จ่ายบุคลากรมีอัตราเพิ่มโดยเฉลี่ยไม่เกิน 4.0% โดยใช้มาตรการให้หน่วยรับงบประมาณที่มีเงินรายได้นำมาสมทบ"

นอกจากนี้ ครม.สั่งการด้วยว่าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการคลังทั้งระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว รัฐบาลมุ่งบริหารจัดการเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการคลังทั้งด้านรายได้ รายจ่ายและหนี้สาธารณะ ควบคู่ไปกับการรักษาวินัยทางการคลัง