Surplus Budget แตกต่างจาก deficit Budget อย่างไร

๑๒๙

๒. การอนุมัติงบประมาณ (Budget Resolution)
๓. การบริหารงบประมาณ (Budget Execution)

ไพศาล ชัยมงคล นโยบายงบประมาณแผ่นดิน มี ๓ ชนิด คือ
๑๓
๑. นโยบายงบประมาณสมดุล (Balanced Budget Policy) ได้แก งบประมาณ

ซึ่งรายได้และรายจ่ายมีจำนวนเท่ากัน

๒. นโยบายงบประมาณเกินดุล (Surplus Budget Policy) ได้แก่ งบประมาณ

ซึ่งรายได้มีจำนวนสูงกว่ารายจ่าย
๓. นโยบายงบประมาณขาดดุล (Deficit Budget Policy) ได้แก่ งบประมาณ

ซึ่งรายจ่ายมีจำนวนสูงกว่ารายได้
ประเภทของงบประมาณ แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ

๑. งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line – Item Budget) เป็นงบประมาณ
แบบเก่าหรือแบบประเพณี (Conventional or Traditional Budget) เน้นในเรื่องการ

ควบคุมการใช้จ่ายเงินโดยส่วนกลางเป็นสำคัญ

๒. งบประมาณแบบแสดงแผนงานหรือแบบปฏิบัติการ (Program or
Performance Budget) บางทีเรียกว่า งบประมาณแบบจัดการ (Management Budget)

เน้นในด้านการบริหารหรือการจัดการเป็นสำคัญ สหรัฐฯ เป็นประเทศแรกที่นำมาใช้ ซึ่ง

งบประมาณชนิดนี้จะจำแนกรายจ่ายตามลักษณะงาน
๓. งบประมาณแบบระบบการวางแผน – การวางโครงการ – การทำ

งบประมาณ (Planning – Programming – Budgeting System) เรียกย่อ ๆ ว่า PPBS

เป็นงบประมาณที่เน้นในเรื่องการวางแผนเป็นสำคัญ โดยจะรวมเอาหน้าที่ทั้ง ๓ ประการ
คือ การควบคุม การจัดการ และการวางแผนเข้าไว้ด้วยกัน

หมายเหตุ ส่วนงบประมาณแบบล่าสุดที่ประเทศไทยใช้ในปัจจุบัน ก็คือ
งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance – Based

๑๓ ไพศาล ชัยมงคล, งบประมาณแผ่นดิน : ทฤษฎีและปฏิบัติ, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท
โรงพิมพ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, ๒๕๔๗), หน้า ๗๖.

๑๓๐

Budget : SPBB) ซึ่งการจัดทำงบประมาณแบบนี้จะเน้นความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้อง ๓
ระดับ คือ ระดับรัฐบาล ระดับกระทรวง และระดับกรม

หลักเกณฑ์สำคัญในการจัดสรรงบประมาณ

ป๋วย อึ้งภากรณ์ ได้เสนอหลักเกณฑ์สำคัญในการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน
๑๔
ไว้ ๖ ประการ คือ

๑. หลักคาดการณ์ไกล (Foresight)

๒. หลักประชาธิปไตย (Democracy)
๓. หลักดุลยภาพ (Balance)

๔. หลักสารัตถประโยชน์ (Utility)
๕. หลักยุติธรรม (Equity)

๖. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)

๖.๘ การใช้จ่ายของรัฐบาล (Government Expenditures)

พูนศรี สงวนชีพ การใช้จ่ายของรัฐบาล อาจแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
๑๕
ดังนี้
๑. การใช้จ่ายในกิจการที่ผู้ได้รับประโยชน์จะต้องจ่ายค่าตอบแทน ได้แก่

บริการด้านสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา เป็นต้น

๒. การใช้จ่ายในทางที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจในระยะยาว
เช่น การใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุข การศึกษา เป็นต้น

๓. การใช้จ่ายไปในด้านที่จะทำให้รายได้ประชาชาติ และรายได้จากภาษีเงินได้
เพิ่มขึ้นโดยทางอ้อม โดยใช้จ่ายไปในด้านการให้ริการ ด้านการพักผ่อนหย่อนใจของ

ประชาชน เช่น สวนสาธารณะ เป็นต้น

๑๔ ป๋วย อึ้งภากรณ์, เศรษฐกิจแห่งประเทศไทย, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท ประมวลมิตร
จำกัด, ๒๕๔๓), หน้า ๒๐๖-๒๑๔.

๑๕ พูนศรี สงวนชีพ, การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ ๙. (กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๕๒), หน้า ๒๙๕.

๑๓๑

๔. การใช้จ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิตขึ้นมา เช่น การใช้จ่ายไปในด้านการป้องกัน
ประเทศ

๕. การใช้จ่ายไปในด้านการให้ความช่วยเหลือแก่คนบางกลุ่มของสังคม เพอ
ื่
เป็นสวัสดิการของสังคม เช่น การสงเคราะห์เด็กกำพร้า การสงเคราะห์คนพิการ เป็นต้น

๖.๙ นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)

๑๖
อรัญ ธรรมโน ได้อธิบายความหมายของนโยบายการคลังว่า หมายถึง
นโยบายในด้านการรับและจ่ายเงิน และการกู้เงินสาธารณะ ซึ่งรัฐบาลดำเนินเพื่อที่จะให้มี

ผลในด้านที่จะช่วยรักษาเสถียรภาพและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศ

นโยบายการคลัง หมายถึง นโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการหารายได้และใช้
จ่ายเงินเพื่อที่จะช่วยรักษาเสถียรภาพและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศ

การใช้นโยบายการคลังและการเงินแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

การใช้นโยบายการคลังและการเงินในการแก้ปัญหาเงินฝืด เงินเฟ้อ และการ
ว่างงาน

๑. ภาวะเงินฝืด (Deflation) หมายถึง ภาวะที่อุปสงค์ด้านสินค้าและบริการ
(ปริมาณเงินที่อยู่ในมือของประชาชน) มีน้อยกว่าอุปทานด้านสินค้าและบริการ ตลอดจน

ระดับสินค้าโดยทั่วไปลดลงอย่างรวดเร็วหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ สินค้า

ล้นตลาด ประชาชนว่างงาน
การแก้ปัญหาเงินฝืดจะต้องใช้นโยบายดังต่อไปนี้

๑) การใช้นโยบายการคลัง ได้แก่ การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล การใช้
งบประมาณขาดดุล และการลดอัตราภาษีอากร

๑๖ อรัญ ธรรมโน, ความรู้ทั่วไปทางการคลัง, (กรุงเทพมหานคร : บรัษัท บพิธ จำกัด,

๒๕๔๘), หน้า ๒๖.

๑๓๒

๒) การใช้นโยบายการเงิน ได้แก่ การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก การ
ลดอัตราเงินสดสำรอง การลดอัตราการรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน การซื้อพันธบัตรและตั๋วเงินคลัง

คืนจากประชาชน

๒. ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการ
โดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ภาวะเงินเฟ้อเกิดจากสาเหตุ

หลายประการ ได้แก่ อุปสงค์ด้านสินค้าและบริการมากกว่าอุปทานด้านสินค้าและบริการ

หรือต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น
การแก้ปัญหาเงินเฟ้อจะต้องใช้นโยบายดังต่อไปนี้

๑) กรณีเงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์ด้านสินค้าและบริการมากกว่าสินค้าและ
บริการ

(๑) การใช้นโยบายการคลัง ได้แก่ การลดการใช้จ่ายของรัฐบาล การใช้
งบประมาณเกินดุล การเพิ่มอัตราภาษีอากร

(๒) การใช้นโยบายการเงิน ได้แก่ การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก

การเพิ่มอัตราเงินสดสำรอง การเพิ่มอัตราการรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน การขายพันธบัตรหรือ
หลักทรัพย์ของรัฐให้ประชาชน

๒) กรณีเงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการสูงขึ้น

(๑) การใช้นโยบายการคลัง ได้แก่ การลดอัตราภาษีอากรสำหรับวัตถุดิบ
และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ การลดอัตราภาษีอากรสินค้าสำเร็จรูป

(๒) การใช้นโยบายการเงิน ได้แก่ การจัดหาแหล่งเงินกู้ให้เอกชนในอัตรา

ดอกเบี้ยต่ำ การควบคุมธนาคารพาณิชย์ไม่ให้ปล่อยกู้เพื่อใช้ในการกักตุนสินค้า การลด
อัตราการรับช่วงซื้อลดตั๋วเงินสำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้น

๓. การว่างงาน (Unemployment) หมายถึง ภาวการณ์ที่บุคคลในวัยแรงงาน
ซึ่งพร้อมที่จะทำงานแต่ไม่สามารถหางานทำได้ หรือเจ็บป่วย หรือรองานใหม่ หรือหางานที่

เหมาะสมไม่ได้

การแก้ปัญหาการว่างงานจะต้องใช้นโยบายดังต่อไปนี้
๑) การใช้นโยบายคลัง ได้แก่ การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล การจ่ายเงิน

ประกันการว่างงาน การจ่ายเงินสงเคราะห์ช่วยเหลือ การลงทุนที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

๑๓๓

(เช่น การสร้างถนน การสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย) การลดอัตราภาษีอากร
(เช่น การลดภาษีการค้าหรือภาษีการขาย ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคล

ธรรมดา)

๒) นโยบายการเงิน รัฐบาลควรใช้มาตรการทางการเงินเพื่อเพิ่มปริมาณเงิน
หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งจะมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง การลงทุนของ

ประเทศสูงขึ้น การผลิต การจ้างงานเกิดการขยายตัว

๖.๑๐ สรุป

การบริหารการคลังสาธารณะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินหรือ

การบริหารงานของกระทรวง กรมต่างๆของรัฐบาลในเรื่องเกี่ยวกับรายได้กับรายจ่ายของ

ประเทศ รวมทั้งการงบประมาณแผ่นดินเป็นแผนงานทางการคลังของรัฐบาลจะกำหนด
รายละเอียดเกี่ยวกับแผนการหารายรับและแผนการใช้จ่าย สำหรับการบริหารงานคลังมี

ขอบเขตครอบคลุมนโยบายในหลาย ๆ ด้าน เช่น นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง
นโยบายเศรษฐกิจมหภาค นโยบายหนี้สาธารณะ นโยบายภาษีอากร เป็นต้น โดยสามารถ

จำแนกได้เป็น ๓ นโยบายใหญ่ๆ คือ

๑. นโยบายการเงิน เป็นนโยบายที่เกี่ยวกับการกำหนดและควบคุมปริมาณเงิน
ให้พอเหมาะกับความต้องการและความจำเป็นในการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของ

ประเทศ ซึ่งรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ จะดำเนินนโยบายการเงินผ่านทางธนาคารกลาง

แนวทางในการดำเนินนโยบายทางการเงิน มีแนวทางหลักๆ อยู่ ๒ แนวทาง คือ
๑) การควบคุมเชิงปริมาณ คือ การควบคุมปริมาณเงิน เช่น การเปลี่ยนแปลง

อัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น
๒) การควบคุมเชิงคุณภาพ เช่น การจำกัดสินเชื่อ การเข้มงวดในการปล่อย

สินเชื่อ เป็นต้น

หน่วยงานหลักที่มีอำนาจหน้าที่และดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลังด้าน
นโยบายการเงินก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย

๑๓๔

๒. นโยบายเศรษฐกิจ เป็นนโยบายที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อสร้างความ
เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจโดยรวม เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และกระตุ้นให้เกิด

เสรีภาพทางเศรษฐกิจ และเพื่อรักษาความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ

๓. นโยบายการคลัง แบ่งออกเป็น ๒ ภาค คือ
๑) ภาครายรับ จะเป็นเรื่องของภาษีอากร การค้ำประกัน การก่อหนี้สาธารณะ

การออกพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น

๒) ภาครายจ่าย จะเป็นเรื่องของงบประมาณแผ่นดิน หรือแผนการใช้เงินซึ่ง
เป็นแผนเบ็ดเสร็จที่แสดงโครงการในการดำเนินงาน เป้าหมายวัตถุประสงค์ และจำนวนเงิน

ที่ต้องการใช้ โดยมีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานด้วย
หน่วยงานหลักที่มีอำนาจหน้าที่และดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลังภาค

รายจ่าย คือ สำนักงบประมาณ ส่วนหน่วยงานหลักที่มีอำนาจหน้าที่และดูแลรับผิดชอบการ
บริหารงานคลังภาครายรับ ก็คือ กระทรวงการคลัง

๑๓๓

บทที่ ๗

การกระจายอำนาจทางการคลัง

จากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้บัญญัติ

เรื่องการกระจายอำนาจในหมวดว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น ผลจากการนี้ทำให้รัฐ
จะต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

คือการกำหนดให้มีกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจซึ่งผลที่เกิดขึ้นจาก

การมีกฎหมายฉบับนี้คือทำให้หลังปี พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นมา รายได้ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากและมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม

ถึงแม้ในแง่ของรายได้รวมจะให้ภาพออกมาดี แต่เมื่อพิจารณาในแง่สัมพัทธ์แล้วกลับพบว่า
การเพิ่มขึ้นของรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อ

โครงสร้างรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมาก

นอกจากนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีข้อจำกัดในการให้บริการสาธารณะ
ทั้งข้อจำกัดด้านเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ข้อจำกัดของจำนวนประชากร และที่สำคัญคือ

ข้อจำกัดในด้านทรัพยากรที่มีอยู่ ดังนั้นกระบวนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องจัดกลไกความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น
รวมถึงระหว่างท้องถิ่นด้วยกันเองด้วยให้ชัดเจน เพื่อสะดวกแก่การทำงานและไม่สูญเสีย

ทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์จากการทำงานซ้ำซ้อนซึ่งกันและกัน รวมถึงเพื่อเสริมสร้าง

ความเข้มแข็งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายหลังเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ สาระสำคัญเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ

ทางการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ถูกบัญญัติให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นใน
มาตรา ๒๘๓ โดยนอกจากจะบัญญัติในเรื่องความเป็นอิสระทางด้านการเงินและการคลัง

ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ยังกำหนดให้ต้องมีการตรากฎหมายรายได้ท้องถิ่นเพอ
ื่
กำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีและรายได้อื่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย

๑๓๔

มีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมตามลักษณะของภาษีแต่ละชนิด การจัดสรรทรัพยากรในภาครัฐ
และการมีรายได้ที่เพียงพอกับรายจ่ายตามอำนาจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

๗.๑ การคลังท้องถิ่น
การคลังท้องถิ่น เป็นการอธิบายถึงการบริหารงานราชการบริหารส่วนกลาง

ให้กับประชาชนในท้องถิ่นที่เป็นลักษณะการบริหารและการปกครองตนเอง โดยการบริหาร

ราชการส่วนกลางจะเป็นผู้กำหนดว่ารายได้ว่าประเภทใดที่ให้อยู่ในความรับผิดชอบของการ
บริหารงานราชการส่วนท้องถิ่น และรายได้ประเภทใดที่ยังคงเป็นของการบริหารราชการ

ส่วนกลางผ่านการกำหนดในรูปแบบในการจัดเก็บตามกฎหมาย ทั้งที่เป็นพระราชบัญญัติ

พระราชกฤษฎีกากฎกระทรวง ประกาศกระทรวง รวมทั้งระเบียบและข้อบังคับต่างๆ และ
การกำหนดรายได้ให้การบริหารงานส่วนท้องถิ่นนั้นยังขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญหลาย

ประการในการบริหารงาน เช่น ปัจจัยด้านเศรษฐกิจของประเทศ ฐานะทางการคลังของรัฐ

ความพร้อมของท้องถิ่น การเรียกร้องของท้องถิ่นและที่สำคัญ คือ ปัจจัยทางด้านการเมืองมี
ส่วนสำคัญสำหรับการจัดสรรงบประมาณให้แต่ละส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งการการ

ิ่
ื่
บริหารงานคลังของท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญเพมมากขึ้นในการบริหารงานงบประมาณเพอ
แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้าของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ

การกระจายอำนาจให้กับราชการส่วนท้องถิ่น นั้นจะต้องมีการศึกษาอย่าง

ละเอียดเนื่องจากระบบการคลังของประเทศต่างๆ มักมีความซับซ้อนไม่ว่าด้านการจัดเก็บ
ภาษีและงบประมาณแผ่นดินนอกจากนี้รัฐบาลยังต้องใช้มาตรการทางการคลังเพื่อให้บรรลุ

เป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค กล่าวได้ว่า การคลัง
ท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากการได้รับการกระจายอำนาจจากรัฐบาลส่วนกลางเพื่อก่อให้เกิด

ประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม และน้ามาซึ่งการกระจายความเจริญและ

ความมั่งคั่งสู่ภูมิภาคต่างๆอย่างเท่าเทียม และเสมอภาคกัน ซึ่งบทบาทการบริหารงานคลัง

๑ ธนพร โรจนวุฒิธรรม, “การพัฒนาการบริหารงานด้านการคลังขององค์กรปกครองส่วน

ทองถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่”, วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
(บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๒), หน้า ๑๑.

๑๓๕

ท้องถิ่นนั้นการบริหารงานเพื่อให้เกิดความเสมอภาคและสามารถตอบสนองต่อความ
ต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึงในสังคมท้องถิ่น

การคลังท้องถิ่น ถือว่าเป็นเครื่องมือ หรือกระบวนการการจัดการที่สำคัญ

ซึ่งเป็นกลไกของการบริหารงาน เพื่อมุ่งไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยการปกครอง
ส่วนท้องถิ่น โดยการคลังท้องถิ่นย่อมมีความเชื่อมโยงกับการบริหารการคลัง (Financial

Administration) ซึ่งครอบคลุมเกี่ยวกับการจัดหารายได้ การกำหนดรายจ่าย ซึ่งการ

กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักการปกครองตนเองที่กำหนดไว้ใน
รัฐธรรมนูญนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีความสามารถในการจัดหารายได้ด้วย

ตนเองให้มากที่สุด โดยการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เต็มความสามารถ
และถ้าหากรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่จำเป็นในการจัดบริการพื้นฐานแล้ว รัฐบาลควร

เข้าไปให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการบริหารงานในด้านต่างๆ เช่น การให้เงินอุดหนุนตาม
ความจำเป็นรวมทั้งการบริหารการคลังยังครอบคลุมถึงการจัดหางบประมาณ การจัดซื้อจัด

จ้าง การบัญชี และการตรวจสอบบัญชี ซึ่งการบริหารงานคลังท้องถิ่นนั้น เพื่อจัดสรร

งบประมาณเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้าที่เกิดขึ้นจากการใช้งบประมาณการบริหาร
งบประมาณในการใช้จ่ายเงินต้องได้รับการตรวจสอบเพื่อลดปัญหาความไม่โปรงใสในการ

ทำงานและเพื่อจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้อย่างเพียงพอกับความ


ต้องการของประชาชน

๗.๒ การพัฒนาศักยภาพการคลังท้องถิ่น

การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกคาดหวังให้การจัดบริการสาธารณะต่างๆ
เพิ่มขึ้นจากสังคมนั้น ล้วนมีความจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรทางการเงินด้วยกันทั้งสิ้นการ

พัฒนาขีดความสามารถด้านคลังของท้องถิ่นย่อมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้นำไปสู่การเกิดขึ้น

๒ จรัส สุวรรณมาลา และคณะ. “บทสังเคราะห์นวัตกรรมท้องถิ่นไทย ประจำปี พ.ศ.
๒๕๔๗.” เอกสารการประชุมทางวิชาการเรื่องนวัตกรรมท้องถิ่นไทยครั้งที่ ๑ จัดโดยคณะรัฐศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ( สกว.) ณ ศูนย์การประชุมไบเทค
กรุงเทพมหานคร, ๑๓-๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๗.

๑๓๖

ของนวัตกรรมในด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้นในวงกว้าง และยังช่วยลดแรงกดดันทางการคลังและลด
ความผันผวนในการจัดบริการสาธารณะที่อาจเกิดจากความผันผวนของเงินอุดหนุนที่จะ

ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลในแต่ละปี สิ่งเหล่านี้ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนประการหนึ่งที่

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่รับผิดชอบควรรีบดำเนินการ จากนวัตกรรม
ท้องถิ่นด้านการคลังนั้น พบว่าการเพิ่มขีดความสามารถทางการคลังขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นสามารถกระทำได้ใน ๓ ลักษณะที่สำคัญ ประการแรกคือ การขอรับเงินอุดหนุน

หรือเงินสนับสนุนจากภายนอก ประการที่สองคือ การพัฒนาการบริหารจัดเก็บภาษีท้องถิ่น
และพัฒนารายได้ใหม่ๆ และประการสุดท้ายคือ การบริหารรายจ่ายให้มีความประหยัดและ

เกิดความคุ้มค่าของการใช้เงินงบประมาณ
ในการหาเงินทุนจากแหล่งภายนอกนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถ

ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอสำหรับการดำเนิน
นวัตกรรมต่างๆ ได้เป็นครั้งคราว เช่น จากองค์กรพัฒนาเอกชน จากบริษัทห้างร้านเอกชน

จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ หรือจากการขอรับบริจาคทั่วไป ฯลฯ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวิธีระดมทุนเช่นนี้จะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีทรัพยากร
เพิ่มขึ้นสำหรับการดำเนินนวัตกรรมต่างๆ หากแต่ว่าทรัพยากรที่ได้รับไม่มีความแน่นอน

และไม่ยั่งยืน บ่อยครั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจได้รับทรัพยากรโดยอาศัยการรู้จัก

หรือความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่มีข้อจ้ากัดในการประยุกต์ใช้กับองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งอื่นๆ พอสมควรแนวทางที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถ

เลือกใช้เพื่อลดข้อจ้ากัดจากการระดมทรัพยากรด้วยวิธีการแรกก็คือการพัฒนา

ประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดเก็บภาษีท้องถิ่น วิธีการที่สองนี้คือการปรับปรุง
ื่
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการบริหารจัดเก็บภาษีท้องถิ่นเพอให้การจัดเก็บ
ภาษีทำได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย มีความประหยัดและเป็นธรรมกับประชาชนในชุมชนอย่างทั่ว
หน้ากัน นวัตกรรมในด้านนี้มีหลายประการเริ่มตั้งแต่การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้

ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษีแก่ประชาชน (Tax Education) โดยการชี้แจงทำความเข้าใจ

ื่
ถึงวัตถุประสงค์ เหตุผลความจำเป็นของการจัดเก็บภาษี และการนำเงินภาษีไปใช้จ่ายเพอ
การพัฒนาท้องถิ่นในด้านต่างๆ เป็นต้น การชี้แจงเหล่านี้ย่อมมีส่วนในการเพิ่มการยอมรับ

ของประชาชนในการเสียภาษีอากร (Tax Compliance) และนำไปสู่การจัดเก็บภาษี

๑๓๗

ท้องถิ่นได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้แล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ้านวนหนึ่งได้พัฒนาระบบ
การบริหารจัดเก็บที่มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นโดยการพัฒนาระบบฐานข้อมูลภาษีและแผนที่

ภาษี (Tax Map) เพื่อใช้สำหรับการวางแผนและการติดตามผลสำเร็จของการจัดเก็บภาษี

ท้องถิ่นในการจัดทำฐานข้อมูลและแผนที่ภาษีดังกล่าวอาจดำเนินการโดยบุคลากรของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง (เช่นกรณีของเทศบาลนครนนทบุรี) ไปจนถึงการจ้างเหมา


บริษัทเอกชนซึ่งมีการนำเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมและระบบฐานข้อมูลทางคอมพวเตอร์
มาใช้เพื่อติดตามการใช้ประโยชน์ของที่ดินและทรัพย์สิน (เช่นกรณีขององค์การบริการส่วน
ตำบลบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ)ในบางกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจพัฒนา

ให้มีระบบการจัดเก็บภาษีร่วมกับชุมชน (Tax Farming) โดยกำหนดให้ผู้นำชุมชน เช่น
กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ เป็นต้น ดำเนินการสำรวจและจัดเก็บภาษีแทนองค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นตามอัตราภาษีและเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย จากนั้น นำส่งภาษีที่จัดเก็บ
ได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ หากผู้นำชุมชนสามารถจัดเก็บภาษีได้ครบถ้วน

หรือเกินกว่าเป้าหมายที่ประมาณการไว้ ก็จะมีการจัดสรรเงินภาษีที่จัดเก็บได้บางส่วนคืน

ให้แก่ชุมชนเพื่อใช้สำหรับการดำเนินกิจกรรมของชุมชนหรือหมู่บ้านนั้นต่อไป (ดังกรณี
นวัตกรรมของเทศบาลเมืองน่าน) การดำเนินนวัตกรรมในลักษณะนี้พบว่าช่วยเพิ่มรายได้

ภาษีท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน อีกทั้งเป็นการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนพอสมควร

บทเรียนจากนวัตกรรมด้านการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่นอีกลักษณะหนึ่งได้แก่ การวาง
ระดมทุนจากชุมชนเป็นครั้งคราวเพื่อนำมาใช้จ่ายในกิจกรรมบางด้านที่กำหนดไว้เป็นการ

เฉพาะ การจัดเก็บรายได้เช่นนี้เปรียบเสมือนกันการจัดเก็บภาษีประเภท Earmarked Tax

ยกตัวอย่างเช่น นวัตกรรมในการจัดการป่าชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองห้าง
จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น ใช้การจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการเข้าหาของป่าเป็นอัตราที่

แน่นอน อีกทั้งมีการกำหนดเงินค่าปรับสำหรับผู้ที่ปฏิบัติฝ่าฝืนกฎชุมชนเงินค่าธรรมเนียมที่
จัดเก็บได้นี้จะนำมาใช้ในการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ป่า เป็นต้น การจัดเก็บ

ค่าธรรมเนียมที่มีวัตถุประสงค์ในการนำเงินไปใช้จ่ายเฉพาะด้านเช่นนี้นอกจากจะช่วยลด

ภาระค่าใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องที่ไม่ต้องใช้เงินงบประมาณประจ้าปีในการ
บริหารจัดการป่าชุมชนได้แล้ว ยังเป็นการใช้กลไกราคา (Price Mechanism) ในการ

อนุรักษ์ป่าชุมชนไปพร้อมกัน กล่าวคือค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บจะช่วยควบคุมมิให้ปริมาณ

๑๓๘

ความต้องการในการเก็บของป่า (Demand) มีมากเกินไปจนทำลายความอุดมสมบูรณ์ของ

ระบบนิเวศป่าชุมชน (Supply) นั่นเอง
ิ่
การพัฒนาศักยภาพทางการคลังท้องถิ่นในประการสุดท้าย ได้แก่ การเพม
ประสิทธิภาพของการบริหารรายจ่ายสาธารณะ กล่าวคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สามารถใช้เทคนิควิธีการบริหารจัดการใหม่ๆ ที่ช่วยเพิ่มความคุ้มค่าของการใช้จ่าย หรือ

ช่วยลดภาระรายจ่ายลงได้ตามแนวคิดการจัดการภาครัฐสมัยใหม่ (New Public

Management: NPM) นวัตกรรมกลุ่มหนึ่งที่ได้ศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้
ใช้ระบบการจ้างเหมาเอกชนภายนอก (Outsourcing) ให้จัดบริการสาธารณะหลายด้าน

เช่น การจ้างเหมาเอกชนในการจัดเก็บขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง การจ้าง
เหมาเอกชนเข้าบริหารโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาลนครพิษณุโลก หรือการจ้างแรงงานชุมชนใน

ตำบลราชาเทวะ ฯลฯ เป็นต้น นวัตกรรมในลักษณะนี้นอกจากจะพิสูจน์ถึงผลสำเร็จของ
การลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ การลงทุน และการบริหารบุคลากรให้กับองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ยังช่วยเพิ่มคุณภาพของการให้บริการสาธารณะได้พร้อมกัน

ดังนั้น การพฒนาศักยภาพทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงเป็น

ประเด็นที่ควรส่งเสริมให้เกิดการดำเนินการในวงกว้างอย่างเร่งด่วน ในช่วงเวลาปัจจุบันที่

การจัดสรรสัดส่วนรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามบทบัญญัติมาตรา ๓๐ (๔)

แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ.๒๕๔๒ ยังไม่มีความ
ชัดเจนในขณะนี้ การปรับปรุงศักยภาพทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถอ เป็น

สิ่งที่มีความแน่นอนและสามารถดำเนินการโดยมิต้องรอแต่เพียงความช่วยเหลือจากรัฐบาล

กลาง การเรียนรู้และการประยุกต์ใช้มาตรการในการพัฒนาศักยภาพทางการคลังจาก
นวัตกรรมท้องถิ่นเหล่านี้ควรสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังในวงกว้างต่อไป

๓ จรัส สุวรรณมาลา, “ความสามารถในการพึ่งตัวเองทางการคลังของเทศบาล” รายงาน

การวิจัย, (กรุงเทพมหานคร : ศูนย์วิจัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๙), หน้า ๔๓.

๑๓๙

๗.๓ การกระจายอำนาจทางการคลัง

ในการส่งเสริมการกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น (อปท.) นั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐


รวมถึงแผนการกระจายอำนาจให้แก อปท. และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจาย
อำนาจให้แก่ อปท. ฉบับที่ ๑ และฉบับที่๒ ได้กำหนดแนวทางและมาตรการดำเนินการที่


เป็นรูปธรรมหลายประการ ดังสรุปสาระสำคัญได้ต่อไปนี้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๘๔ มี
บทบัญญัติที่ให้การรับรองความเป็นอิสระของ อปท. ในการกำหนดนโยบาย การปกครอง

การบริหาร การบริหารงานบุคคล และการเงินการคลัง และได้กำหนดให้มีกฎหมายกำหนด

แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจโดยมีเจตนารมณ์ที่สำคัญในการผลักดันให้ อปท. มี
อำนาจอิสระทางการคลังเพิ่มขึ้น โดยมีการปรับสัดส่วนการจัดสรรภาษีอากรระหว่างรัฐกับ

อปท. และระหว่าง อปท. ด้วยกัน

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ กำหนดแนวทางหลายประการในการส่งเสริมศักยภาพ

การคลังท้องถิ่น อาทิ การกำหนดให้มีการจัดสรรสัดส่วนภาษีอากรให้แก่ อปท. (หมวด ๓
มาตรา ๒๓ ถึงมาตรา ๒๙) และให้มีคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่น ทำหน้าที่จัดแบ่งอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐและ อปท. และระหว่าง

อปท. ด้วยกัน และมีหน้าที่กำหนดมาตรการด้านการเงินการคลังการงบประมาณ และการ
รักษาวินัยทางการเงินการคลังของ อปท. (มาตรา ๑๒ (๒) (๓) และ (๗))

แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๓ กำหนด
วิสัยทัศน์และกรอบแนวคิดในการกระจายอำนาจที่สำคัญหลายประการในด้านการคลัง

ท้องถิ่น อาทิ การส่งเสริมความเป็นอิสระของ อปท. ในด้านการเงินการคลัง การกำหนด

เป้าหมายว่าการจัดสรรภาษีอากร เงินอุดหนุนและรายได้อื่นๆ ให้แก่ อปท. จะต้องเพิ่มขึ้น

๔ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์, การประเมินการบริหารการคลังท้องถิ่นตาม

หลักการการคลังท้องถิ่นที่พึงประสงค์, (กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๗), หน้า
๔๒.

๑๔๐

และสอดคล้องกับภารกิจหน้าที่ของ อปท. โดยมีสัดส่วนรายได้ของ อปท. ต่อรายได้สุทธิ
ของรัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ภายในปีงบประมาณ ๒๕๔๔และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นไม่

น้อยกว่าร้อยละ ๓๕ ภายในปีงบประมาณ ๒๕๔๙ และถือเป็นความรับผิดชอบของรัฐใน

การเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังให้แก่ อปท. ให้เพียง
พอที่จะสามารถรองรับการถ่ายโอนภารกิจและการทำงานเพิ่มขึ้นได้

ทั้งนี้ เป้าหมายที่สำคัญประการหนึ่งในการกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่

อปท. คือการส่งเสริมให้ อปท. มีรายได้ที่จัดเก็บเองในสัดส่วนที่สูงขึ้น ตามลำดับ เพื่อให้
อปท. สามารถพึ่งตนเองทางการคลังได้ในระยะยาว โดยการส่งเสริมการขยายฐานภาษี

ท้องถิ่น ปรับปรุงอัตราภาษี การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดเก็บภาษีท้องถิ่น การ

พัฒนารายได้ประเภทใหม่ๆ ให้แก อปท. และการส่งเสริมความโปร่งใสในการบริหารจัดเก็บ
ภาษีของ อปท. นอกจากนี้แผนการกระจายอำนาจยังกำหนดเป้าหมายในระยะยาวที่
ต้องการให้รายได้ของ อปท. ที่มาจากภาษีที่รัฐจัดแบ่งให้หรือจัดสรรให้และรายได้จากเงิน

อุดหนุนจากรัฐบาลมีสัดส่วนที่น้อยลงตามลำดับ และรัฐจะต้องดำเนินการทบทวนมาตรการ

และแนวทางการจัดสรรรายได้ให้แก่ อปท. อย่างสม่ำเสมอ (ข้อ ๖.๒ ของแผนการกระจาย
อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๓) พร้อมกันนี้เพื่อให้ อปท. สามารถ

บริหารการเงินการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปสู่การดำเนินงานและการ

จัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนได้อย่างคุ้มค่า แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๓ ยังได้กำหนดให้มีการพัฒนาระบบการวางแผน ระบบ

ข้อมูลท้องถิ่น ระบบงบประมาณ ระบบบัญชี และระบบการตรวจสอบประเมินผลการ

ปฏิบัติงานของ อปท. อย่างต่อเนื่อง อาทิ การพัฒนาระบบการวางแผนยุทธศาสตร์ การ
พัฒนาระบบงบประมาณแบบเน้นผลงาน ระบบข้อมูลต้นทุนบริการสาธารณะ การทำระบบ

บัญชีเกณฑ์พึงรับพึงจ่าย ระบบข้อมูลรายได้และรายจ่ายของ อปท. และตัวชี้วัด
ประสิทธิภาพในการจัดบริการสาธารณะของ อปท. (ข้อ ๖.๕.๔ ของแผนการกระจาย

อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๓)

แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๕ ซึ่งดำเนินการตามมาตรา ๓๒ (๒) ของ พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอน

การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ กำหนดให้มีกลไก

๑๔๑

สนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจและการกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่ อปท. อาทิ การจัด
ให้มีคณะอนุกรรมการด้านการเงิน การคลังการงบประมาณ และบุคลากร ทำหน้าที่

สนับสนุนการถ่ายโอนงบประมาณไปสู่ อปท. เป็นต้น

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ยังคงสนับสนุน
แนวทางการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ต่อไป โดยมีบทบัญญัติที่สนับสนุนให้การ

บริหารงานของ อปท. เป็นอิสระ ได้รับการกำกับดูแลเท่าที่จำเป็น และต้องได้รับการ

ส่งเสริมให้มีขีดความสามารถด้านการเงินการคลังอย่างเพียงพอต่อการดำเนินงานและการ
จัดบริการสาธารณะในพื้นที่ของตนเอง (มาตรา ๒๘๑, ๒๘๒ และ๒๘๓) นอกจากนี้

รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวยังได้กำหนดให้รัฐตรากฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการ
กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกฎหมายรายได้องค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่น เพื่อกำหนดประเภทรายได้และอำนาจทางภาษีอากรของ อปท. ตามเหมาะสมกับ
ความจำเป็นในการดำเนินการจัดบริการสาธารณะของ อปท.

แผนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๕๑) ได้กำหนด

ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ๓ ประการในการผลักดันการกระจายอำนาจ ได้แก่ (ก) การสร้าง
หลักประกันความต่อเนื่องในการกระจายอำนาจ (ข) การส่งเสริมธรรมาภิบาลและการมี

ส่วนร่วมของประชาชน และ (ค) การเพิ่มขีดความสามารถทางด้านการคลังและการบริการ

จัดการให้แก่ อปท. ทั้งนี้ แผนการกระจายอำนาจฯฉบับที่ ๒ ยังได้กำหนดเป้าหมายให้
อปท. มีรายได้สอดคล้องกับภารกิจรับผิดชอบ สนับสนุนให้อปท.สามารถพึ่งพาตนเอง

ทางการคลังได้ในระยะยาวในระดับที่สามารถจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนได้อย่างมี

คุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาหลักเกณฑ์
ในการจัดสรรรายได้และเงินอุดหนุนให้แก่ อปท. กำหนดมาตรการพัฒนารายได้ท้องถิ่น

ประเภทใหม่ๆ การปรับปรุงโครงสร้างรายได้ท้องถิ่นและหลักเกณฑ์การจัดสรรรายได้
ระหว่างรัฐกับอปท. มีมาตรการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น

กำหนดมาตรการลดความไม่เสมอภาคทางการคลังระหว่าง อปท. ส่งเสริมการรักษาวินัย

ทางการคลัง และการพัฒนามาตรฐานทางการเงิน การบัญชี การพัสดุ การรายงานข้อมูล
และการตรวจสอบการดำเนินงานของ อปท. เป็นต้น

๑๔๒

การกำหนดแนวนโยบาย เป้าหมาย และมาตรการดำเนินการหลายประการเพอ
ื่
ส่งเสริมการกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่ อปท. จะถูกกำหนดขึ้นอย่างรอบด้าน และ

การดำเนินการหลายส่วนตามแผนงานมีความก้าวหนำไปพอสมควร แต่ในภาพรวมผลการ

กระจายอำนาจทางการคลังยังไม่ก้าวหน้ามากนัก โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับ
เจตนารมณ์ของการปกครองท้องถิ่นและการกระจายอำนาจทางการคลังตามบทบัญญัติของ

รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนดแผนและและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.

๗.๔ แนวคิดการกระจายอำนาจทางการคลัง

นักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญของแนวคิดการกระจายอำนาจทางการคลัง คือ

Charles Tiebout ที่นำเสนอให้เห็นถึงข้อดีของการกระจายอำนาจทางการคลังว่าสามารถ
ช่วยให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่สามารถเลือกบริการสาธารณะตามความเหมาะสม

เช่นเดียวกับ Oates ที่สนับสนุนให้การกระจายอำนาจนั้นควรเริ่มจากองค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่นที่มีขนาดการปกครองที่เล็กที่สุดที่สามารถพิจารณาได้จากมิติทางเศรษฐศาสตร์ใน
แง่ของการกระจายรายได้ ความเป็นธรรม การจัดสรรทรัพยากรและการรักษาดุลยภาพทาง

เศรษฐกิจและมิติทางรัฐศาสตร์ในแง่ของความเป็นเจ้าของและการพึ่งตนเองมีอิสระในการ
ปกครอง

ในมุมมองของผู้วิจัย การกระจายอำนาจทางการคลัง (Fiscal

Decentralization) จึงหมายถึง การให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่ง
อาจมาจากการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นภาษีแบ่ง เงินอุดหนุน รวมถึงให้มีภารกิจและมีอำนาจ

การใช้จ่ายงบประมาณและการตรวจสอบตามกระบวนการของท้องถิ่น เพื่อลดการกำกับ
ควบคุม หรือสั่งการจากรัฐบาลหรือจากส่วนราชการโดยทั่วไปการกระจายอำนาจ ด้านการ

คลังจะมีการดำเนินการพร้อมกับการกระจายอำนาจการบริหารและปกครอง ซึ่งอาจกล่าว

ได้ว่าการกระจายอำนาจทางการคลัง คือ การที่รัฐบาลกลางมอบอำนาจการตัดสินใจ
เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายว่าจะเป็นรายรับและรายจ่ายให้กับรัฐบาลในระดับส่วนท้องถิ่น

เนื่องจากผู้บริหารท้องถิ่นเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจ โดยได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน

ในท้องถิ่น ให้สามารถกำหนดนโยบายเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนใน
ท้องถิ่นได้ดีกว่ารัฐบาลส่วนกลาง เนื่องจากรัฐบาลส่วนท้องถิ่นมีความใกล้ชิดกับประชาชน

๑๔๓

ระบอบการปกครองที่มีการกระจายอำนาจทางการคลังและอำนาจการปกครองสู่รัฐบาล
ท้องถิ่น จะช่วยเปิดโอกาสให้ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วม รับผิดชอบใน


การบริหารงานที่จะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองโดยตรง นอกจากนี้การ
กระจายอำนาจทางการคลังถือเป็นการโอนความรับผิดชอบในการตัดสินใจจากรัฐบาล
ส่วนกลางสู่รัฐบาลส่วนท้องถิ่น การกระจายอำนาจทางการคลังถือเป็นปัจจัยสำคัญของการ

กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น โดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นหรือรัฐบาลส่วนท้องถิ่นจะทำ

หน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้ดีจะต้องมีอำนาจ
ระดับหนึ่งในการตัดสินใจในการใช้จ่าย ซึ่งรายได้จะสามารถกระทำได้โดยจัดเก็บภาษี

ท้องถิ่น และอีกส่วนหนึ่งมาจากเงินโอนจากรัฐบาลกลาง
Oates ได้เสนอว่าทฤษฏีการกระจายอำนาจ (Decentralization Theorem)

มีใจความสำคัญที่ลักษณะต้นทุนคงที่ (Constant Returns to Scale) และหากดำเนินการ
โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ้านวนมากและหลากหลาย ย่อมเกิดประสิทธิภาพสูงกว่า

การผลิตโดยหน่วยงานราชการส่วนกลาง โดยมีเหตุผล ที่ว่า สามารถตอบสนองความ

ต้องการของท้องถิ่นและความคล่องตัวในการให้บิการในพื้นที่ที่รับผิดชอบ การจัดบริการจึง

เป็นไปในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความต้องการของท้องถิ่น ซึ่งมีรูปแบบหลากหลายด้วยกัน
อาทิ การได้รับอำนาจในการตัดสินใจทางการคลังในการจัดทำโครงการต่างๆ ที่เป็น

ประโยชน์ต่อสังคม หรือโครงการที่จำเป็นสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย เช่น การให้เงินชดเชย
สำหรับประชาชนที่ตกงาน การประกันราคาข้าว ตามพรบ. ฉบับ ๒๕๔๐ เน้นการกระจาย

อำนาจอำนาจทางการคลังให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการมีอำนาจในการจัดเก็บ

ภาษีได้เอง และนำเงินมาบริหารองค์กรของตนเองได้ด้วยตนเอง โดยภาครัฐเป็นผู้กำกับ
ติดตามการทำงานของหน่วยงานส่วนท้องถิ่น ถ้าหากเงินในการบริหารงานส่วนท้องถิ่นไม่

เพียงพอนั้น รัฐจะนำเงินมาอุดหนุนให้กับแต่ละท้องถิ่นในการบริหารงานในด้านต่างๆ

๕ ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และคณะ, การคลังท้องถิ่น : การขยายฐานรายได้และลดความ
เหลื่อมล้ำ. (กรุงเทพมหานคร : พี.เอ. ลีฟวิ่ง, ๒๕๕๗), หน้า ๒๗-๓๐.

๖ ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, การคลังท้องถิ่น รวมบทความวิจัยเพื่อเพิ่มพลังให้ท้องถิ่น, พิมพ ์
ครั้งท ๔, (กรุงเทพมหานคร : พี.เอ. ลีฟวิ่ง, ๒๕๕๓), หน้า ๒๗-๓๐.
ี่

๑๔๔


ในขณะที่ สกนธ์ วรัญญูวัฒนา ได้อธิบายให้เห็นว่าการกระจายอำนาจการคลัง
ที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ใช่เพียงการถ่ายโอนงบประมาณรายได้ของรัฐบาล

ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น เพราะการเพิ่มศักยภาพทางรายได้เป็นเพียง

องค์ประกอบสำคัญหนึ่งของการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องคำนึง
ร่วมกับการออกแบบปัจจัยเชิงสถาบันต่างๆ (Institutional Factors) ที่เกี่ยวกับการ

กระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาพรวมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการกำหนด

ภารกิจและอำนาจหน้าที่ ความสัมพันธ์ทางการเงินการคลัง การกำกับดูแล และอำนาจการ
ตัดสินใจในการบริหารจัดการที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยรับผิดชอบกับ

ประชาชนของตนเองให้มากที่สุด ภายใต้รูปแบบการกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องมีความลงตัวของทั้ง ๓ ประเด็น เพื่อให้องค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นมีขนาดรายรับที่เหมาะสมกับการทำหน้าที่ของตนเอง และสามารถ
จัดการได้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ ในด้านหลักการสำหรับการออกแบบการกำหนดแบ่ง

ประเภทรายรับระหว่างรัฐบาลและองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถระบุได้เป็น ๓ หลักการใหญ่ ได้แก ่
๑. หลักความมีประสิทธิภาพที่อาศัยแนวคิดที่ว่า “การเงินต้องตามภารกิจ

(Finance Follow Functions)” เป็นการสะท้อนความคิดที่ว่าการกำหนดแหล่งรายรับ

ต้องตามหลังการรู้ชัดเจนในอำนาจหน้าที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอยู่ เพราะบริการ
สาธารณะที่ให้แก่ประชาชนแต่ละประเภทนั้นอาจมีวิธีการสนับสนุนทางการเงินที่จะ

นำมาใช้สนับสนุนการให้บริการที่แตกต่างกันได้แนวคิดนี้จึงเป็นหลักพื้นฐานในการกำหนด

อำนาจหน้าที่ในการหารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไปที่ครอบคลุมถึงกรณี
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศกำลังพัฒนาที่รวมถึงประเทศไทยด้วยดังนั้นการ

จัดแบ่งอำนาจทางรายได้ระหว่างรัฐบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ใช่เพียงเรื่องของ
การหารายได้ให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น แต่

ประเภทของแหล่งรายได้แต่ละชนิดยังอาจทำหน้าที่ในการแสดงถึงขนาดความต้องการ

๗ สกนธ์ วรัญญูวัฒนา, การบริหารการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,
(กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท, ๒๕๕๑), หน้า ๗.

๑๔๕

บริการสาธารณะที่แท้จริงของประชาชนในท้องถิ่น รวมทั้งเป็นเครื่องมือกำกับการทำหน้าที่
ให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้นก็ได้

๒. รายรับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ควรที่จะอยู่บนฐานของการเป็น

ปัจจัยการผลิตหรือเป็นการจัดเก็บที่ทำให้เกิดการบิดเบือนของการใช้ทรัพยากรในระบบ
เศรษฐกิจ อาทิเช่น การเก็บภาษีจากการใช้ปัจจัยการผลิตบางประเภท การจัดเก็บภาษีกับ

ปุ๋ยเพื่อใช้ในการผลิตทางการเกษตรรายได้ของแรงงาน เป็นต้น เพราะหากมีการจัดเก็บ

รายได้จากปัจจัยการผลิตเหล่านี้แล้วนอกจากจะทำให้เกิดการบิดเบือนการใช้ปัจจัยการ
ผลิตในกระบวนการผลิตแล้ว ยังส่งผลให้เกิดการผลักภาระของภาษีที่องค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่นจัดเก็บนั้นออกไปยังผู้ใช้หรือผู้บริโภคผลผลิตนั้นๆ ที่อาจอยู่นอกเขตพื้นที่ของ
ี่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการจัดเก็บรายได้นั้นอยู่ทำให้ภาระภาษีทแท้จริงถูกกระจาย
ออกจากพื้นที่ของท้องถิ่นที่มีการจัดเก็บภาษีนั้นๆ
๓. การใช้หลักการอุดหนุน (Subsidiary) ที่กล่าวว่าอำนาจการหารายได้ควรที่

จะกำหนดให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กที่สุดให้มากที่สุด แต่หากการมอบ

อำนาจดังกล่าวก่อให้เกิดผลการบิดเบือนหรือส่งผลทางลบต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อื่นๆ จึงอาจมอบหมายให้รัฐบาลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับที่สูงกว่าที่มี

ศักยภาพในการจัดการที่ดีกว่าทำหน้าที่แทนได้ อย่างไรก็ตามในส่วนของการกระจาย

อำนาจทางการคลัง พบว่า ยังคงมีปัญหาในการกระจายอำนาจทางการคลังอยู่มาก ซึ่งใน
แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดเก็บรายได้เอง แต่ยังคงขาดความเป็นอิสระ


ทางการคลังซึ่งสอดคล้องกับ ไททัศน์ มาลา ที่แสดงข้อมูลให้เห็นว่ายังคงมีความเหลื่อมล้า
ในสังคมไทย ในขณะที่งานวิจัยเรื่องการกระจายอำนาจและความเข้มแข็งทางการคลังของ
รัฐบาลท้องถิ่นระดับ County โดย Warner (๑๙๙๙) พบว่า การกระจายอำนาจส่งผลให้

๘ สกนธ์ วรัญญูวัฒนา, การกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

แนวคิดและการปฏิบัติกรณีศึกษาประเทศไทย, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๓), หน้า ๑๑-๑๓.
๙ ไททัศน์ มาลา, การเมืองเรื่องความเหลื่อมลาในสังคมไทย : บทเรียน วิกฤติ และความ

ท้าทาย, (กรุงเทพมหานคร : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์,
ม.ป.ป.), หน้า ๖๒๙.

๑๔๖

ระดับรายจ่ายโดยเฉลี่ยต่อประชากรเพิ่มขึ้นราวร้อยละ ๑๗ (Real Term) ในช่วงระยะเวลา
ิ่
ที่ศึกษา ทั้งนี้รัฐบาล County ในชุมชนเมืองขนาดใหญ่มีแนวโน้มการเพมขึ้นของรายจ่ายใน
การจัดบริการสาธารณะมากกว่ารัฐบาลCounty ในเขตเมืองขนาดกลางและเขตชนบท

ราวๆ ร้อยละ ๗๐ ในการนี้ รัฐบาล County ในชุมชนเมืองขนาดใหญ่ดำเนินมาตรการลด
แรงกดดันทางการคลังด้วยการเพิ่มรายได้ใหม่ๆ จากรายได้ที่มิใช่ภาษี (Non-Tax

Revenue) เช่น รายได้จากค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ ฯลฯ เป็นต้น จากข้อค้นพบข้างต้น

สรุปได้ว่าการกระจายอำนาจทางการคลังที่มีประสิทธิภาพย่อมช่วยลดช่องว่างทางการคลัง
และการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมของ

๑๐
ชุมชน

๗.๖ ความหมายของการกระจายอำนาจทางการคลังและการบริหารการคลัง

ท้องถิ่น

เพื่อให้ทราบถึงความหมายของการกระจายอำนาจทางการคลังและการบริหาร
การคลังท้องถิ่น จึงมีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

๑๑
พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์ ได้ให้ความหมายของ การกระจายอำนาจทางการ
คลัง(Fiscal Decentralization) ว่า เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถทำหน้าที่
ตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญ

สำหรับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นการโอนความรับผิดชอบในการตัดสินใจด้านการเงิน

จากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นจึงมีความจำเป็นอย่างมาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีอำนาจ
ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินได้ด้วยตนเอง โดยมีที่ของงบประมาณท้องถิ่นจากการ

จัดเก็บภาษีในท้องถิ่นและเงินอุดหนุนของรัฐบาลกลางซึ่งลักษณะสำคัญของการกระจาย
อำนาจทางการคลังคือ

๑๐ Wagner, Richard E, Public finance, (Canada : Little, Brown & Company
(Canada) Limited, ๑๙๘๓), p.๒๓-๒๗.

๑๑ พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์, การคลังรัฐบาลและการคลังท้องถิ่น, (กรุงเทพมหานคร : โอน
เดียนสโตร์, ๒๕๕๐), หน้า ๔๓๕.

๑๔๗

๑. บริการสาธารณะที่ให้กับท้องถิ่นใด จะต้องจัดเก็บเงินจากประชาชนใน
ท้องถิ่นที่ได้รับบริการนั้น

๒. ผู้ใช้บริการท้องถิ่น อาจจะต้องจ่ายค่าบริการบางส่วน โดยประชาชนใน

ท้องถิ่นอาจร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผลิตบริการสาธารณะได้
๓. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถที่จะหารายได้จากภาษีโรงเรือนและ

ที่ดินภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้ายและอากรฆ่าสัตว์ได้

๔. มีการโอนรายได้จากรัฐบาลกลางสำหรับการใช้จ่ายบางอย่างหรือการใช้จ่าย
ทั่วไปแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

๕. อนุญาตให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกู้ยืมเงินได้ตามความเหมาะสม
๑๒
ส่วน อุดม ทุมโฆสิต ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการกระจายอำนาจทางการคลัง
ท้องถิ่นว่า การคลังท้องถิ่นเป็นตัวชี้วัดสถานะหลายประการในการปกครองท้องถิ่นได้ ดังนี้
๑. บ่งชี้สถานะการกระจายอำนาจ โดยหากอำนาจในการจัดเก็บภาษีได้รับถ่าย

โอนไปให้ท้องถิ่นมากเพียงใดก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าการกระจายอำนาจมีมากเพียงนั้นตรง

ข้ามหากมิได้กระจายอำนาจทางภาษีให้ ก็แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลยังสงวนอำนาจไว้อยู่ ทั้งนี้
เพราะหากท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดเก็บภาษีมากแสดงให้เห็นได้ว่าท้องถิ่นจะมีรายได้ของ

ตัวเองมาก มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจใช้เงินไปในกิจกรรมใดๆได้มากกว่าการใช้เงิน

ช่วยเหลือจากส่วนกลาง
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การกระจายอำนาจที่แท้จริง ก็คือการถ่ายโอนอำนาจใน

การจัดหารายได้ไปให้นั้นเอง

๒. ฐานะทางการคลังท้องถิ่นย่อมบ่งบอกถึงความเข้มแขงของท้องถิ่น กล่าวคือ

ท้องถิ่นใดมีฐานะทางการคลังท้องถิ่นดี ก็จะสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้มากและมีความ

น่าเชื่อถือทางการเงินมากอีกด้วย ตรงกันข้ามหากท้องถิ่นใดฐานะทางการคลังท้องถิ่นไม่ดี
ย่อมไม่มีเงินไปจัดทำบริการต่างๆ ได้ความน่าเชื่อถือก็จะต่ำตามไปด้วย

๑๒ อุดม ทุมโฆสิต, การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่ : บทเรียนจากประเทศพัฒนาแล้ว,
(กรุงเทพมหานคร : แซท โฟร์ พริ้นติ้ง, ๒๕๕๒), หน้า ๔๖๙-๔๗๐.

๑๔๘

๓. ประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการทำงานของ
ท้องถิ่นโดยปริยาย กล่าวคือ ท้องถิ่นใดสามารถจัดเก็บรายได้อย่างครบถ้วน ภายใต้ต้นทุน

ี่
การจัดเก็บทต่ำ แสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้บริหารท้องถิ่นนั้นและความร่วมมือของ
ประชาชนเนื่องจากงานจัดเก็บภาษีและหารายได้เป็นงานที่ยากยิ่งที่ประสิทธิภาพในการ
จัดเก็บจะเกิดขึ้นได้

๔. รายได้ของท้องถิ่นต่อหัวย่อมบ่งชี้ถึงความมั่งคั่งของท้องถิ่น ดังนั้นท้องถิ่นที่

มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงย่อมบ่งบอกได้ว่าประชาชนในท้องถิ่นนั้นมีรายได้มากมีทรัพย์สินมาก
อันเป็นตัวบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของท้องถิ่นนั้นดี

๕. อัตราเพิ่มของรายได้ท้องถิ่นในแต่ละรอบปี แสดงให้เห็นถึงอัตราความมั่งคั่ง
ที่เพิ่มขึ้นในรอบปีได้ด้วย อันแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารท้องถิ่นนั้นมีความสามารถในการ

บริหารงานธุรกิจและเศรษฐกิจได้ผลดี เป็นต้น ดังนั้น การบริหารงานคลังท้องถิ่นจึงถือเป็น
เรื่องสำคัญที่ผู้บริหารท้องถิ่นต้องให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

๑๓
สกนธ์ วรัญญูวัฒนา ได้ให้ความหมายของการกระจายอำนาจทางการคลัง
ท้องถิ่นสู่ท้องถิ่นไว้ ดังนี้
๑. เป็นการถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจทางการคลังท้องถิ่นแก่ท้องถิ่นอย่าง

อิสระตามกรอบที่กำหนด

๒. สร้างความรับผิดชอบทางการคลังท้องถิ่นให้เกิดขึ้นกับท้องถิ่น
๓. มอบอำนาจการหารายได้แก่ท้องถิ่นดำเนินการ

๔. ท้องถิ่นสามารถกำหนดการใช้จ่ายทั้งขนาดและประเภทได้ด้วยตัวเอง

๕. ท้องถิ่นกำหนดและจัดทำงบประมาณได้ด้วยตัวเอง
จากความหมายของการคลังท้องถิ่น ไพรัช ตระการศิรินันท์ ได้ให้ความหมาย

การคลังท้องถิ่นดังนี้ การคลังท้องถิ่นเป็นเครื่องมือหรือกระบวนการในการบริหารงานของ
ท้องถิ่น ไม่เพียงเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยการปกครองท้องถิ่นแต่ยังรวมถึงการ

กระจายอำนาจทางการคลังท้องถิ่นการบริหารการคลังท้องถิ่น (Financial

๑๓ สกนธ์ วรัญญูวัฒนา, การบริหารการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,
(กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท, ๒๕๕๑), หน้า ๒๓.

๑๔๙

Administration) อันรวมไปถึงรายได้ การกำหนดรายจ่ายการจัดหางบประมาณ การจัดซื้อ
จัดจ้าง การบัญชีและการตรวจบัญชี

ดังนั้น การคลังท้องถิ่น จึงหมายถึง การบริหารการคลังท้องถิ่นขององค์การ

ปกครองท้องถิ่นอันประกอบด้วย การจัดหารายได้ การกำหนดรายจ่าย การจัดทำ
งบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การบัญชี การตรวจสอบบัญชีของหน่วยการปกครองท้องถิ่น

โดยกระบวนการงบประมาณของท้องถิ่นจะเป็นตัวกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ของ

แหล่งที่มาของรายรับกับรูปแบบการใช้จ่ายของแต่ละหน่วยขององค์กรปกครองท้องถิ่น
๑๔
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยการปกครองท้องถิ่นนั้นๆ

๔.๗ ความสัมพันธ์ระหว่างการกระจายอำนาจทางการคลังกับการจัดสรรและ

การกระจายสินค้าและบริการสาธารณะ

โดยนักวิชาการได้วางหลักการความสัมพันธ์ระหว่างการกระจายอำนาจ

ทางการคลังกับการจัดสรรและการกระจายสินค้าและบริการสาธารณะ ไว้ดังนี้
วรพิทย์ มีมาก ได้อธิบายว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการกระจายอำนาจ
๑๕
ทางการคลังกับการจัดสรรและการกระจายสินค้าและบริการสาธารณะ โดยหลักการของ

การคลังท้องถิ่นหน่วยการปกครองท้องถิ่นควรมีอิสระในการจัดสรรและกระจายสินค้าและ
บริการสาธารณะ โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมีที่มาจากประชาชนในรูปแบบของภาษีหรือโดยคิด

ค่าบริการโดยตรงแก่ผู้ที่ได้รับประโยชน์หรือผู้ใช้บริการ แต่ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น

๑. อาณาเขตของท้องถิ่นที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถ
บริหารงานคลังสำหรับการจัดสรรและกระจายสินค้าและบริการสาธารณะได้อย่างมี

ประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นได้
อย่างเหมาะสม

๑๔ ไพรัช ตระการศิรินนท์, การคลังภาครัฐ, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร : เอ็น
สแควร์ กราฟฟิคพริ้นท, ๒๕๕๐), หน้า ๓๐๑.

๑๕ วรพิทย์ มีมาก, “การวิเคราะห์โครงสร้างการคลังของหน่วยงานปกครองต้องถิ่นศึกษา”,
รายงานวิจัย, (กรุงเทพมหานคร : กรมการปกครอง, ๒๕๓๕), หน้า ๑๘.

๑๕๐

๒. ความแตกต่างของประชาชนในด้านรายได้และรสนิยม เช่น ถ้าประชาชนมี
รายได้ไม่เท่ากันจะทำให้เกิดปัญหาการแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่เท่ากันเกิดขึ้นซึ่งอาจ

นำไปสู่ความขัดแย้งหรือการแบ่งแยกชนชั้นในสังคมได้

๓. อาณาเขตของท้องถิ่นแต่ละแห่งควรจะได้รับสินค้าและบริการสาธารณะใน
ระดับใดจึงถือได้ว่าเหมาะสมที่สุด หรือจะทำให้การจัดสรรทรัพยากรเพื่อผลิตสินค้าและ

บริการสาธารณะในท้องถิ่นนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุดและในกรณีที่กำหนดให้สินค้าและ

บริการสาธารณะมีระดับคงที่ท้องถิ่นจะดำเนินการอย่างไร เพื่อทำให้การประหยัดค่าใช้จ่าย
ส่วนเพิ่มต่อหัว (Marginal Savings in per Capita Service Cost) เท่ากับต้นทุนความคับ

คั่งส่วนเพิ่มต่อหัว (Marginal per Capita Crowding Cost) อยู่เสมอ
๔. สินค้าและบริการสาธารณะที่ให้เกิดผลิตขึ้นโดยท้องถิ่นหนึ่ง อาจก่อให้เกิด

ผลกระทบภายนอกต่อท้องถิ่นอื่น โดยที่ท้องถิ่นผู้ผลิตไม่ได้นำเข้ามาพิจารณาประกอบใน
การตัดสินใจและผลกระทบดังกล่าวไม่ได้นำไปรวมในราคาตลาด รวมทั้งไม่มีกฎหมาย

รองรับให้มีการเรียกใช้ค่าเสียหายหรือเรียกค่าตอบแทนจากผลประโยชน์ที่ได้รับ ด้วยเหตุนี้


จึงทำให้ผลประโยชน์ไม่เท่ากับผลประโยชน์ของสังคมและต้นทุนของสังคมไม่เท่ากันอนอาจ
นำมาสู่ปัญหาได้

ในด้านความแตกต่างของการคลังท้องถิ่นและการคลังท้องถิ่นของส่วนกลาง

นอกจากจะมีความแตกต่างในด้านขนาดของหน่วยงานและขอบเขตความรับผิดชอบแล้วยัง
มีความแตกต่างกันในด้านสาระสำคัญของวัตถุประสงค์ของการคลังท้องถิ่นและการคลัง

ท้องถิ่นส่วนกลางกล่าวคือวัตถุประสงค์สำคัญของการคลังท้องถิ่น ได้แก ่

๑. การจัดหารายได้ของหน่วยงานการปกครองท้องถิ่น

๒. การกำหนดรายจ่ายและจัดทำงบประมาณ
๓. การบริหารรายได้ รายจ่ายและทรัพย์สินของท้องถิ่น

๑๕๑

วัตถุประสงค์ของการคลังท้องถิ่นส่วนกลาง คือ เป็นการคลังท้องถิ่นเกี่ยวกับ
ข้อเท็จจริงทฤษฎี วิธีการและผลกระทบของการรับและการจ่ายเงินของรัฐบาลและการ

๑๖
บริหารหนี้สาธารณะปัจจุบันโครงสร้างการคลังท้องถิ่นของไทย จึงสามารถแบ่งได้ดังนี้
๑. รายได้และรายรับของท้องถิ่น กฎหมายสำคัญที่กำหนดรายได้ – รายรับ
หลักของท้องถิ่นมาจากกฎหมาย ๕ ฉบับ คือ

๑.๑ พ.ร.บ. เทศบาล

๑.๒ พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนตำบล
๑.๓ พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗

๑.๔ พ.ร.บ. กรุงเทพมหานคร
๑.๕ พ.ร.บ. เมืองพัทยา

๒. ส่วนประเภทรายได้ของท้องถิ่น ได้แก ่
๒.๑ ภาษีอากรที่ท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บเอง (Local Levied Taxes)

๒.๒ ภาษีอากรที่รัฐบาลท้องถิ่นร่วมกับรัฐบากลาง (Surcharged Taxes)

หรือภาษีเสริมที่เก็บเพิ่ม
๒.๓ ภาษีที่ได้จากการแบ่งหรือได้รับจัดสรรจากรัฐบาลกลาง (Share

Taxes) และรายได้หรือรายรับอื่นๆ

๗.๘ สรุป

ในการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การกระจายอำนาจ

ทางการคลังเป็นการกระจายอำนาจที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่ง เนื่องจากการจัดบริการ
สาธารณะต้องอาศัย งบประมาณการเงินการคลังเพื่อผลิตบริการสาธารณะในพื้นที่ของ

ท้องถิ่น และดังที่ได้กล่าวข้างต้นว่า ท้องถิ่นมีความแตกต่างหลากหลาย ความพร้อมด้าน

การคลังต่างกันจึงเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ทางการคลังของท้องถิ่น โดยส่วนใหญ่ท้องถิ่น

๑๖ ไพรัช ตระการศิรินนท์, การคลังภาครัฐ, (กรุงเทพมหานคร : เอ็น สแควร์ กราฟ

ฟิคพริ้นท์, ๒๕๔๘), หน้า ๓๐๓-๓๐๔.

๑๕๒

ขาดความเข้มแข็งด้านการจัดหารายได้ โครงสร้างรายได้ มีลักษณะพึ่งพิงรัฐบาลสูง คือ
แหล่งรายได้ของท้องถิ่นส่วนใหญ่มากจากการจัดสรรเงินให้ของรัฐบาล ส่วนกลาง และ

สำหรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นงบประมาณที่ต้องดำเนินการตามภารกิจของรัฐบาล

แบ่งเป็นเงินอุดหนุนทั่วไป และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ซึ่งดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ ได้กล่าวถึง
ทฤษฏีเงิน อุดหนุน ว่าแหล่งรายได้หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาจากเงินอุดหนุน

ื่
ที่รัฐบาลจัดสรรให้หรือ ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บและแบ่งสัดส่วนให้ท้องถิ่น เพอให้ท้องถิ่นมีเงิน
งบประมาณไปจัดบริการสาธารณะ โดยเงินงบประมาณที่รัฐบาลโอนหรือมอบให้ท้องถิ่น
หรือ “เงินอุดหนุน” สามารถแบ่งประเภทได้เป็น เงินอุดหนุนทั่วไป และเงินอุดหนุนเฉพาะ



ึ่
กิจ ภายใต้กรอบโครงสร้างทางการคลังนี้ รายได้ของท้องถิ่น จึงมีลักษณะพงพงเงินอดหนุน
อย่างมาก และคาดเดาได้ว่าท้องถิ่นย่อมต้องการเงินอุดหนุนทั่วไป มากกว่า เนื่องจากทำให้
ลดต้นทุน ไม่กระทบกับคะแนนนิยมทางการเมือง แต่การออกแบบโครงสร้าง ทางการคลัง
เช่นนี้ อาจทำให้ท้องถิ่นขาดความกระตือรือร้นหรือความพยายามในการจัดเก็บรายได้ เช่น

การจัดเก็บภาษีท้องถิ่น ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต นอกจากนี้การที่โครงสร้างทางการคลัง

ของ ท้องถิ่นต้องอิงกับเงินอุดหนุนสูง โดยเฉพาะเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เป็นการสะท้อนให้
เห็นการขาด อิสระทางการคลังของท้องถิ่น และเป็นการออกแบบให้ท้องถิ่นทำหน้าที่เป็น

ผู้ปฏิบัติงานให้กับรัฐบาล หน่วยงานราชการส่วนกลางมีอำนาจในการอนุมัติโครงการต่าง ๆ

ทำให้ทิศทางหรือเป้าหมายในการ ปฏิบัติภารกิจหรือจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่นมุ่ง
จัดทำโครงการที่สนองหรือสอดคล้องกับนโยบาย ของรัฐบาลส่วนกลางเป็นหลัก แทนที่จะ

ื่
ื่
ปฏิบัติภารกิจเพอตอบสนองหรือแก้ไขปัญหาของประชาชนใน ท้องถิ่นเป็นหลักทั้งนี้เพอให้
ได้รับอนุมัติโครงการและเงินงบประมาณสนับสนุนในแต่ละปี โดยสัดส่วน ในการจัดสรรเงิน
อุดหนุนเฉพาะกิจให้กับท้องถิ่นแต่ละแห่ง ยังเป็นไปอย่างขาดความโปร่งใส เปิดเผย

เกี่ยวกับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจจำนวนหลายหมื่นล้าน ถูกกระจายไปยังท้องถิ่นใดจำนวน
เท่าใด ข้อมูล เหล่านี้มักจะเก็บอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในหน่วย

ราชการ แม้แต่ฝ่ายการเมือง ที่กำกับดูแลหน่วยราชการอาจยังไม่ทราบข้อมูล ซึ่งความจริง

การจัดสรรเงินอุดหนุนอย่างเป็นธรรม เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็น
กลไกหนึ่งที่ใช้ในการสนับสนุนความเข้มแข็งทางการ คลังของท้องถิ่นได้ การพิจารณา

จัดสรรเงินอุดหนุนควรเปิดให้มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เข้าร่วมพิจารณาการ

๑๕๓

จัดสรรในแต่ละปี และควรเป็นไปอย่างเปิดเผย มีการเผยแพร่ข้อมูล และใน กระบวนการ
พิจารณาเงินอุดหนุน ควรใช้เครื่องชี้วัด หรือสูตรที่เป็นรูปธรรมชัดเจน นอกจากนี้ควรจะ

ลดสัดส่วนของเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ และเพิ่มสัดส่วนเงินอุดหนุนทั่วไป

๑๕๑

บทที่ ๘

การคลังท้องถิ่น

การคลังท้องถิ่น เป็นเครื่องมือหรือกระบวนการในการบริหารจัดการของ

รัฐบาล ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการบริหารงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น ดังนั้นการบริหารการคลังมีความหายครอบคลุมเกี่ยวกับรายได้ การกำหนด
รายจ่าย การจัดหางบประมาณ การจัดซื้อ จัดจ้างการบัญชี และการตรวจสอบบัญชี

๘.๑ ความหมายของการคลังท้องถิ่น
ปธาน สุวรรณมงคล ได้กล่าวถึงความหมาย และความสำคัญของการคลัง

ท้องถิ่นไว้ดังนี้

การคลังท้องถิ่นมีความสำคัญมากต่อการปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะที่เป็น
เครื่องมือ หรือกลไกอันหนึ่งที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือความสำเร็จในการปกครอง

ท้องถิ่น การคลัง ท้องถิ่นเป็นการพิจารณาถึงความสัมพนธ์ระหว่างแหล่งที่มาของรายได้กับ

รูปแบบของการใช้จ่าย ของหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นประการสำคัญ
การคลังท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ

๓ ประการ ที่สำคัญ คือ ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการพัฒนาสังคม และ

ก่อให้เกิดการพัฒนาเมือง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาประเทศต่อไป ดังนี้
๑. ความหมายของการคลังท้องถิ่น การคลังท้องถิ่นเป็นเครื่องมือหรือ

กระบวนการในการจัดการอันหนึ่งที่เป็นกลไกใน การบริหารงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของ
หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น

๑ ปธาน สุวรรณมงคล, ทัศนะบางประการในเรื่องสภาตำบลกับการมีส่วนร่วมของชุมชน

ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. (กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข
มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๔๗), หน้า ๕๒-๕๓.

๑๕๒

การบริหารการคลังโดยทั่วไป (Financial Administration) มีความหมาย
ครอบคลุมเรื่องที่ เกี่ยวกับรายได้ การกำหนดรายจ่าย การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อวัสดุ

การว่าจ้าง การบัญชี การตรวจบัญชีของหน่วยการท้องถิ่น

ในการศึกษาการคลังท้องถิ่นจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับแหล่งที่มาของรายรับ
(Source of Revenue) กระบวนการงบประมาณ (Budget Process) และรูปแบบของการ

ใช้จ่าย (Type of Expenditure) ของหน่วยการปกครองท้องถิ่น ซึ่งกระบวนการ

งบประมาณดังกล่าวจะเป็นตัวกลาง ในการเชื่อมความสัมพันธ์ของแหล่งที่มารายรับกับ
รูปแบบในการใช้จ่ายของแต่ละหน่วย การปกครองท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความสอดคล้องต่อ

การบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยการปกครอง ท้องถิ่น

องค์ประกอบของการคลังท้องถิ่น มี ๓ ประการ ได้แก
๑. แหล่งที่มาของรายรับ หมายถึง การพิจารณาถึงแหล่งที่มาของรายได้ของ
องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น พระราชกฤษฎีการายได้ของ

องค์การบริหาร ส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๔๙๙ พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๗

พระราชบัญญัติรายได้สุขาภิบาล พ.ศ. ๒๔๙๘
๒. กระบวนการงบประมาณ หมายถึง การพิจารณาถึงขั้นการจัดเตรียม

งบประมาณ (Budget Preparation) ขั้นตอนในการอนุมัติงบประมาณ (Budget

Adoption) และขั้นตอนใน การบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละ
ประเภท ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละประเภทโดยทั่วไปจะมีกระบวนการ

งบประมาณที่คล้ายคลึงกัน

๓. รูปแบบของการใช้จ่าย หมายถึง การพิจารณาถึงลักษณะของการใช้จ่ายของ
องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละประเภทตามบทบัญญัติของกฎหมาย

๘.๒ วัตถุประสงค์ของการคลังท้องถิ่น

วัตถุประสงค์ของการคลังท้องถิ่น มี ๓ ประการ ดังต่อไปนี้

๑. การจัดหารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

๒. การกำหนดรายจ่ายและการจัดทำงบประมาณ
๓. การบริหารรายได้ รายจ่าย และทรัพย์สินของท้องถิ่น

๑๕๓

๘.๓ ประเภทรายได้ของท้องถิ่น

เมื่อมีเหตุผลและความจำเป็นที่เหมาะสมที่รัฐบาลท้องถิ่นจะต้องดำเนิน

กิจกรรมต่าง ๆและให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในท้องถิ่นที่รับผิดชอบ รัฐบาลท้องถิ่น
จำเป็นจะต้องมีแหล่งรายได้และรายรับที่เหมาะสม รายได้ของท้องถิ่นสามารถแบ่งออกเป็น


ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
๑. ภาษีอากรที่รัฐบาลกลางควรจะเป็นผู้จัดเก็บ
โดยทั่วไปแล้ว ภาษีอากรที่รัฐบาลควรจะเป็นผู้จัดเก็บนั้นจะเป็นภาษีอากรที่

สามารถทำรายได้ให้แก่รัฐบาลเป็นจำนวนมากทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลกลางจะมีความจำเป็นที่

จะต้องใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องดึงอำนาจการจัดเก็บภาษีอากร
ต่าง ๆ ที่สามารถทำรายได้สูงนั้นมาไว้ที่ตนเอง โดยหลักการแล้ว รัฐบาลกลางจะเก็บภาษี

อากรต่าง ๆ ที่ใช้เป็นรากฐานในการควบคุมนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ ๓ ประเภท ดังนี้

(๑) ภาษีอากรที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ภาษีอากรที่ใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อควบคุมนโยบายเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการ

ติดต่อต่างประเทศ และรักษาฐานะของดุลการค้า และดุลการชำระเงินของประเทศนั้น
ได้แก่ ภาษีศุลกากร (customs duties) ของสินค้าที่ส่งออกและสั่งเข้าประเทศ และ

ถึงแม้ว่าภาษีทั้ง สองชนิดนั้นจะใช้เก็บเพื่อผลทางนโยบายอันเดียวกันก็ตาม แต่ผลของภาษี

แต่ละประเภทนั้นจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก กล่าวคือ ภาษีขาเข้านั้นมีลักษณะเป็น
ภาษีทางอ้อม ซึ่งภาระของภาษีส่วนใหญ่จะตกแก่ผู้ซื้อ สินค้า ส่วนภาษีขาออกนั้นมีลักษณะ

เป็นการเก็บภาษีรายได้ (Income tax) ในรูปหนึ่ง ซึ่งภาระของภาษีดังกล่าวส่วนใหญ่จะตก
แก่ผู้ผลิตสินค้าชนิดนั้น

(๒) ภาษีอากรที่เกี่ยวกับการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจภายในประเทศ

ในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศนั้นรัฐบาลจะพยายามป้องกัน
ภาวะเงินเฟ้อ และพยายามให้อัตราการจ้างงานของประเทศอยู่ในระดับสูง ภาษีอากรที่

๒ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย, พิมพ์ครั้ง
ที่ ๘, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๕), หน้า ๒๓-๒๙.

๑๕๔

รัฐบาลมักจะใช้เป็นเครื่องมือได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาในระบบที่ก้าวหน้า และ
ภาษีเงินได้ของนิติบุคคล รายได้ของภาษีดังกล่าวมักจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับ

การเปลี่ยนแปลงตามภาวการณ์เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาษี

การค้าปลีก การค้าส่ง ภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value added tax)
(๓) ภาษีอากรเกี่ยวกับการกระจายรายได้และความมั่นคงของสังคม

ภาษีอากรที่ใช้เป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้ และความมั่นคงของสังคม

นั้นที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในระบบที่ก้าวหน้า นอกจากนี้ก็ได้แก่การเก็บ
ภาษีเกี่ยวกับการตายในรูปต่าง ๆ เช่น อากรมรดก (Estate tax) อากรการรับมรดก

(Inheritance tax)และภาษีการให้โดยเสน่หา (Gift tax) ภาษีที่เก็บจากมูลค่าของทรัพย์สิน
ที่เพิ่มขึ้น (Capital gains tax)และภาษีทรัพย์สิน (Property tax) ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

ภาษีที่ดิน ภาษีเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้าง และภาษีรถยนต์
๒. ภาษีอากรที่รัฐบาลท้องถิ่นควรจะเป็นผู้จัดเก็บ

เมื่ออำนาจในการจัดเก็บภาษีอากรส่วนใหญ่จะตกแก่รัฐบาลกลาง และภาษีที่

จะเก็บได้ภายในประเทศนั้นจะขึ้น อยู่กับความสามารถในการเก็บภาษี (Tax capacity)
ของประชาชนของประเทศเป็นสำคัญ ดังนั้นทั้ง รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นต่างจำต้อง

พึ่งรายได้จากฐานของภาษีอันเดียวกัน รายได้ของภาษีอากรที่พงจะเก็บได้จากภาษีอากรแต่

ละชนิดนั้นนอกจากจะขึ้น อยู่กับความสามารถในการเสียภาษีของประชาชนแล้ว ยังขึ้น อยู่
กับความพยายามในการจัดเก็บ (Tax effort)ของรัฐบาลในแต่ละระดับอีกด้วย โดยทั่วไป

แล้วภาษีอากรที่รัฐบาลกลางจะมอบให้รัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจในการจัดเก็บนั้น

อาจจะพิจารณาได้ดังนี้
(๑) ภาษีอากรที่มอบให้รัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บ

เนื่องจากรัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละระดับต่าง ๆ มีความต้องการที่จะใช้เงินดังนั้น
รัฐบาลกลางจึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณามอบอำนาจการจัดเก็บภาษีอากรบางอย่างให้แก่

รัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งมักจะพิจารณาหลักสำคัญสองประการดังนี้

(๑.๑) ภาษีที่เก็บตามหลักผลประโยชน์ที่ได้รับ
โดยทั่วไปแล้วภาษีที่รัฐบาลกลางมอบให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บ

มักจะคำนึงถึงการเก็บภาษีตามหลักของผลประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits Received

๑๕๕

Principle)คือ ประชาชนผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการใช้บริการสาธารณะ ควรจะต้องเป็นผู้
เสียภาษีอากร เพื่อนำมาใช้ในการผลิตบริการนั้นซึ่งจะมีผลเท่ากับว่าประชาชนเป็นผู้

จ่ายเงินเพื่อซื้อ บริการสาธารณะโดยปริยาย

(๑.๒) พิจารณาถึงความสามารถ หรือความพยายามในการจัดเก็บ
รายได้ของภาษีอากรบางประเภทนั้นนอกจากจะขึ้น อยู่กับฐานะและอัตรา

ของภาษีแล้ว ยังขึ้น อยู่กับความสามารถหรือความพยายามในการจัดเก็บภาษีอากร

ดังกล่าวด้วย ซึ่งรัฐบาลท้องถิ่นอาจจะมีข้อได้เปรียบเหนือรัฐบาลกลางในการจัดเก็บภาษี
อากรบางประเภทเนื่องจากรัฐบาลท้องถิ่นอยู่ใกล้ชิดกับผู้เสียภาษี และผู้เสียภาษีมีความ

สมัครใจที่จะเสียภาษีให้แก่ท้องถิ่นมากกว่าให้รัฐบาลกลาง เช่น ภาษีจากทรัพย์สิน
(Property tax) โดยทั่วไปจะพิจารณาได้ดังนี้

- รัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้ใกล้ชิดกับทรัพย์สินที่จะจัดเก็บ เช่น ภาษีที่ดินที่เกี่ยวกับ
สิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น ดังนั้นรัฐบาลท้องถิ่นย่อมจะรู้ดีว่าทรัพย์สินนั้นอยู่ที่ไหน และได้เสีย

ภาษีครบถ้วนหรือไม่ ซึ่งย่อมจะทำให้รัฐบาลท้องถิ่นสามารถเก็บภาษีจากทรัพย์สินดังกล่าว

ได้มากกว่ารัฐบาลกลาง แต่รายได้ของการจัดเก็บภาษีในกรณีนี้จะขึ้น อยู่กับประสิทธิภาพ
ในการจัดเก็บของรัฐบาลท้องถิ่นด้วย

- การที่รายได้จากภาษีนั้นถูกนำมาใช้เพื่อผลประโยชน์ของท้องถิ่นย่อมจะให้ผู้

เสียภาษีมีความโน้มเอียงที่จะยอมเสียภาษีโดยสมัครใจให้แก่ท้องถิ่นมากขึ้น และใน
ขณะเดียวกันประชาชนในท้องถิ่นก็จะให้ความสนใจเกี่ยวกับการหลบเลี่ยงการเสียภาษี

ดังกล่าวมากขึ้น ดังนั้นอาจจะทำให้รัฐบาลท้องถิ่นสามารถเก็บภาษีจากทรัพย์สินดังกล่าวได้

มากกว่ารัฐบาลกลาง
๓. ภาษีอากรที่ท้องถิ่นร่วมเก็บกับรัฐบาลกลาง หรือภาษีเสริม

ลักษณะของการเก็บภาษีอากรประเภทนี้ ท้องถิ่นจะใช้ภาษีอากรบางอย่างที่
รัฐบาลจัดเก็บอยู่แล้วเป็นฐานในการจัดเก็บ เช่น การจัดเก็บภาษีเสริม (Supplement tax)

๑๕๖


และการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติม (Surcharged tax) ซึ่งเป็นการจัดเก็บจากประชาชนใน

ท้องถิ่น ภาษีที่ท้องถิ่นจัดเก็บเพิ่มสามารถแบ่งได้ ๒ ประเภทดังนี้
(๑) ภาษีที่ท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บเอง (Pure tax supplement)

ภาษีชนิดนี้ รัฐบาลกลางจะมอบอำนาจให้รัฐบาลท้องถิ่นแต่ละระดับมีสิทธิ
จัดเก็บภาษีอากรบางชนิดเพิ่มขึ้น ตามอัตราที่รัฐบาลกลางกำหนดให้ แต่หน่วยงานของ

รัฐบาลกลางจะเป็นผู้จัดเก็บเอง เช่น การจัดเก็บภาษีการค้าของเทศบาลที่เป็นอยู่ใน

ประเทศไทยในปัจจุบันภาษีแบบนี้มีลักษณะเป็นการแบ่งรายได้จากรัฐบาลกลางเรียกว่า
Revenue sharing ซึ่งการจัดเก็บภาษีแบบนี้มีข้อดี ๒ ประการ คือ

(๑.๑) ทำให้ท้องถิ่นประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษี เพราะรัฐบาล
กลางจะเป็นผู้จัดเก็บให้เอง ซึ่งโดยปกติแล้วหน่วยงานการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลกลาง จะมี

ความสามารถสูงกว่าหน่วยงานของรัฐบาลท้องถิ่น
(๑.๒) รัฐบาลกลางอาจจะให้อำนาจแก่รัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละระดับและแต่

ิ่
ละท้องถิ่น สามารถจัดเก็บภาษีเพมได้ในอัตราที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้รัฐบาลกลางใช้ในการ
จัดเก็บภาษีดังกล่าวเป็นเครื่องกระจายความเสมอภาคทางการคลังให้แก่ท้องถิ่นแต่ละแห่ง
หรือเพื่อให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายบางอย่างของรัฐบาลกลาง

๔. รัฐบาลกลางแบ่งรายได้ให้แก่รัฐบาลท้องถิ่น หรือภาษีแบ่ง

ภาษีประเภทนี้คล้ายภาษีเสริมที่ร่วมจัดเก็บกับรัฐบาล แต่แตกต่างจากภาษี
เสริมเนื่องจากเป็นภาษีของท้องถิ่นโดยเฉพาะ ไม่ได้โยงกับภาษีของรัฐบาล และลักษณะ

การจัดสรรภาษีมีลักษณะคล้ายกับการโอนเงินอุดหนุนจากรัฐบาล แต่ไม่ได้ขึ้น อยู่กับภาระ


การชำระภาษีของประชาชนในท้องถิ่นโดยตรง และการแบ่งส่วนรายได้ของภาษีบางชนิด
ที่รัฐบาลกลางจัดเก็บได้ในแต่ละท้องถิ่นให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นเรียกว่า Tax sharing ในบาง

๓ พนม ทินกร ณ อยุธยา, การบริหารงานคลังรัฐบาล เล่มที่ ๒ การบริหารงานคลัง

รัฐบาลมหภาค ๒, (กรุงเทพฯ: สยามศิลป์การพิมพ์. (๒๕๓๒). ๒๖๕
๔ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย, พิมพ์ครั้ง
ที่ ๘, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๕), หน้า ๓๕.

๕ ไพรัช ตระการศิรินนท์, “การคลังภาครัฐ”, รายงานการวิจัย, (เชียงใหม่ : คณะสังคม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ๒๕๔๘), หน้า ๓๐๘.

๑๕๗

กรณีรัฐบาลกลางอาจจะแบ่งรายได้ที่เก็บได้ในท้องถิ่น ตามอัตราส่วนที่กำหนด ซึ่งเรียกว่า
Revenue sharingการแบ่งส่วนรายได้ทั้ง สองดังกล่าวมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จะ

แตกต่างกันเฉพาะรายได้ที่รัฐบาลกลางแบ่งให้จะครอบคลุมกว้างขวางมากน้อยแค่ไหน ซึ่ง


รูปแบบของการแบ่งส่วนรายได้ สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ แบบ ดังนี้
(๑) การแบ่งส่วนรายได้แบบมีเงื่อนไข หมายถึง การพิจารณาแบ่งรายได้


ภาษีอากรที่รัฐบาลกลางจัดเก็บได้ในแต่ละท้องถิ่นให้แกท้องถิ่น รัฐบาลกลางจะ
พิจารณาให้ตามความเหมาะสม โดยใช้หลักการบางอย่างเป็นเกณฑ์ในการแบ่งรายได้
ซึ่งหลักเกณฑ์ที่ใช้เป็นตัวกำหนดอัตราการแบ่งรายได้โดยทั่วไป ได้แก ่

(๑.๑) จำนวนของประชากรในแต่ละท้องถิ่น รัฐบาลกลางสามารถแบ่ง
รายได้ให้กับท้องถิ่น โดยอาศัยจำนวนประชากรในท้องถิ่นได้ ซึ่งท้องถิ่นใดมี

จำนวนประชากรมากจะได้รับการแบ่งรายได้มาก ถ้าท้องถิ่นใดมีจำนวนประชากรน้อย จะ
ได้รับการแบ่งรายได้น้อยตามไปด้วย

(๒) การแบ่งส่วนรายได้แบบมีเงื่อนไข หมายถึง การที่รัฐบาลกลางพิจารณา

แบ่งรายได้ที่จัดเก็บได้ในแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ โดยไม่คำนึงถึงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
มากนัก อาจจัดแบ่งรายได้ในรูปแบบนี้มุ่งเพื่อให้ท้องถิ่นแต่ละแห่งมีรายได้เพื่อใช้จ่ายใน

กิจการของท้องถิ่นมากขึ้น เป็นวิธีการที่ใช้เพื่อลดความแตกต่างในฐานะทางการคลัง

ระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละระดับ แต่อาจจะทำให้เกิดความแตกต่างใน
ฐานะทางการคลัง ระหว่างท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าท้องถิ่นที่มีรายได้สูง จะได้รับส่วน

แบ่งรายได้มากกว่าท้องถิ่นมีรายได้น้อย นอกเสียว่ารัฐบาลกำหนดอัตราส่วนแบ่งรายได้ใน

แต่ละท้องถิ่นในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน
๕. รายได้และรายรับอื่น ๆ

นอกจากรัฐบาลท้องถิ่นจะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรในรูปแบบต่าง ๆ
ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว รัฐบาลท้องถิ่นยังอาจจะได้รับรายได้จากแหล่งอื่น ๆ อีกเช่น

๖ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย, พิมพ์ครั้ง

ที่ ๘, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๕), หน้า ๓๗.

๑๕๘

(๑) รายได้จากการประกอบกิจการของรัฐบาลท้องถิ่น รัฐบาลท้องถิ่นบางแห่ง
อาจจะหารายได้เพื่อมาใช้จ่ายในท้องถิ่น โดยการเข้าไปประกอบธุรกิจบางประเภท

เช่นเดียวกับการที่รัฐบาลประกอบกิจการในรูปแบบรัฐวิสาหกิจ เช่น เป็นผู้ผูกขาดการขาด

สินค้าหรือบริการบางอย่างหรือผูกขาดการประกอบกิจการเกี่ยวกับการพนัน เป็นต้น
(๒) การกู้ยืมของรัฐบาลท้องถิ่น นอกจากรายได้ของรัฐบาลท้องถิ่น และเงิน

อุดหนุน หรือเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางแล้ว รัฐบาลท้องถิ่นอาจจะหาเงินมาใช้จ่ายด้วย

วิธีการกู้ยืม โดยอาจจะกู้ยืมจากประชาชนด้วยการขายพันธบัตร หรือกู้ยืมจากธนาคาร
หรือหน่วยงานของรัฐบาล อย่างไรก็ตามการกู้ยืมของรัฐบาลท้องถิ่นมักจะต้องได้รับความ

เห็นชอบจากรัฐบาลกลางโดยทั่วไปแล้วการกู้ยืมของรัฐบาลท้องถิ่นจะมีน้อยมาก
๖. การได้เงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลาง โดยปกติแล้วรัฐบาลท้องถิ่นมักจะมี

รายได้ไม่เพียงพอกับการใช้จ่ายของท้องถิ่น จำเป็นต้องพึ่งเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลาง ซึ่ง
การให้เงินอุดหนุนแก่รัฐบาลท้องถิ่นโดยรัฐบาลกลาง เพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น

รัฐบาลสามารถที่จะเลือกใช้การช่วยเหลือรูปแบบที่มีความเหมาะสม กับความต้องการของ

รัฐบาล เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับการปกครองประเทศได้ ซึ่ง
สามารถทราบที่มาของรายได้


Alderfer ได้กล่าวว่า โดยทั่วไปแล้วรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ประเภทต่าง ๆ จะมีที่มาในลักษณะใหญ่ๆดังนี้
๑. ภาษีที่ท้องถิ่นเก็บเพิ่มจากระบบภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บแล้ว (additional

percentage of by national government) ภาษีในทำนองนี้อาจเรียกไว้ภาษีเสริม คือ

รัฐบาลอนุญาตให้ท้องถิ่นเก็บเพิ่มได้ ซึ่งในกรณีนี้จะเห็นได้ว่าเทศบาลของไทย จะ
ดำเนินการจัดเก็บได้ไม่เกินร้อยละสิบ

๒. ภาษีที่จัดเก็บจากที่ดินและทรัพย์สิน (local taxes on land and building
including agricultural land) ภาษีดังกล่าวนี้ได้จัดเก็บจากที่ดินและทรัพย์สินต่าง ๆ ที่อยู่

๗ ประทาน คงฤทธิศึกษากร, การปกครองท้องถิ่น โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ.
(กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ๒๕๓๔), หน้า ๑๕๑-๑๕๔.

๑๕๙

ในเขตท้องถิ่นนั้นเช่นภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งการจัดเก็บใช้หลักการ
ประเมินค่าจากทุนทรัพย์ (capital value) และการประเมินจากค่าเช่า (rental value)

๓. รายได้จากค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ (licence and fees)

รายได้ประเภทนี้เป็นรายได้ที่จัดเก็บจากค่าธรรมเนียม และค่าใบอนุญาตต่าง ๆ ซึ่งท้องถิ่น
เป็นผู้ดำเนินการควบคุมตามกฎหมาย เช่น ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา ค่าธรรมเนียม

ใบอนุญาตการพนันค่าปรับผู้ฝ่าฝืนกฎและระเบียบของท้องถิ่น ค่าธรรมเนียมเก็บขยะมูล

ฝอย
๔. รายได้จากการบริการต่าง ๆ (earning from public utilities and

services) รายได้ประเภทนี้จัดเก็บจากการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ซึ่งเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ เอง เช่น ค่าบริการในการจอดรถ ค่า

ประปา ค่าไฟฟ้า เป็นต้น
๕. เงินรายได้อื่น ๆ เช่น เงินรายได้จากพาณิชย์ เงินที่มีผู้บริจาคหรือผู้อุทิศให้

(Voluntary contributions and gifts) เงินกู้ (loan) และเงินอุดหนุน (grant in aids)


หรืออีกนัยหนึ่งที่มารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นกล่าวโดยสรุปอาจพจารณาได้
อีกดังนี้คือ

๑. รายได้จากภาษีอากร (local taxes)

เป็นรายได้ที่มีความสำคัญ ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ภาษีท้องถิ่น (local
taxes)และภาษีที่ได้รับการเพิ่มเติมเปอร์เซ็นต์เข้ากับภาษีของรัฐ (additional percentage

on other taxes)ประกอบด้วย

๑.๑ ภาษีทางอ้อม (indirect taxes)
๑.๒ ภาษีมหรสพ (entertainment taxes)

๑.๓ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน (real estate taxes)
๑.๔ ภาษีที่เก็บจากมาตรฐานการครองชีพของประชาชนเป็นหลัก

๘ สะอาด ปายะนันท, รายได้ท้องถิ่น, (กรุงเทพมหานคร : นิตยสารท้องถิ่น, ๒๕๔๘), หน้า

๒-๔.

๑๖๐

๒. รายได้จากการประกอบการพาณิชย์ของท้องถิ่น (local government
enterprise) การพาณิชย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ กิจกรรมซึ่งท้องถิ่น

ดำเนินการในเชิงการค้าเพื่อหาประโยชน์ และกิจการเหล่านั้นควรเป็นกิจการที่ท้องถิ่นจะได้

ขึ้น เพื่อบริการแก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ เป็นสำคัญและทั้งนี้จะเป็นรายได้ให้กับท้องถิ่น
ลักษณะของการพาณิชย์เช่น การประปา ไฟฟ้า แก๊ส และการขนส่ง ตลอดจนการจัดตั้ง

สถานธนานุบาล การตลาด การสร้าง ท่าเทียบเรือ และที่จอดรถ เป็นต้น

๓. รายได้จากทรัพย์สิน (local government properties)
รายได้ประเภทนี้ได้แก่ ที่ดินหรือทรัพย์สินของท้องถิ่น ซึ่งอาจเก็บได้จาก

ผลประโยชน์ค่าเช่าต่าง ๆ เช่น ค่าเช่าจากที่ดิน อาคารสถานที่ต่าง ๆ
๔. รายได้จากเงินอุดหนุนและเงินปันส่วน (grant & contribution)

เงินอุดหนุนนี้มีลักษณะที่แบ่งได้เป็นเงินอุดหนุนเฉพาะกิจการ (specific grant)
เช่น จ่ายเพื่อนำไปใช้ในกิจการสร้างถนน การจัดผังเมือง และเงินอุดหนุนทั่วไป (general

grant) ซึ่งรัฐให้ใช้ได้เป็นกรณีไป แล้วแต่ดุลยพินิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ

๕. เงินกู้ (loan)
เป็นการกู้เงินจากรัฐบาลโดยกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตลอดจนการกู้จาก

แหล่งทุนทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ควบคุมโดยการอนุมัติให้กู้


ชูวงศ์ ฉายะบุตร ได้กล่าวว่า รายได้และรายรับอื่น ๆ เป็นรายได้ที่ท้องถิ่น
จัดเก็บเองจากการให้บริการ หรือมีสิ่งแลกเปลี่ยนกับประชาชน เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ

หรือรายได้เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด สามารถจำแนกได้ดังนี้

๑. ค่าธรรมเนียม เป็นเงินที่ท้องถิ่นเรียกเก็บจากประชาชนที่ได้รับบริการ หรือ
ได้รับประโยชน์จากท้องถิ่น เช่น ค่าธรรมเนียมการเก็บและขนอุจจาระหรือสิ่งปฏิกูล

ค่าธรรมเนียมการเก็บและขนมูลฝอย ค่าธรรมเนียม โรงฆ่าสัตว์
๒. ค่าใบอนุญาต เป็นเงินที่เรียกเก็บจากผู้ได้รับอนุญาต ให้ดำเนินกิจการ

ประเภทใดประเภทหนึ่ง ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ต้องขออนุญาตจากท้องถิ่น เช่น ใบอนุญาต

๙ ชูวงศ์ ฉายะบุตร, การปกครองส่วนท้องถิ่นไทย, (กรุงเทพมหานคร : พิฆเนศพริ้น ติ้ง,
๒๕๓๙), หน้า ๓๐๙-๓๑๓.

๑๖๑

การรับเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วย
การคิดค่าบริการใบอนุญาตดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

๓. ค่าปรับ เป็นโทษทางอาญาประเภทหนึ่งซึ่งเปรียบเทียบปรับจากผู้กระทำ

ความผิดตามข้อกำหนดของท้องถิ่น หรือตามกฎหมายที่ให้ท้องถิ่นเป็นผู้อนุมัติตามกฎหมาย
นั้นเช่น ค่าปรับผู้กระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน ค่าปรับผู้กระทำผิด

ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข เป็นต้น

๔. รายได้จากทรัพย์สิน เนื่องจากท้องถิ่นมีฐานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งสามารถมี
กรรมสิทธิ์หรือครอบครองในทรัพย์สินต่าง ๆ ได้ เช่น ค่าเช่าที่ดิน ค่าเช่าห้องแถว ตลาด

แผงลอย ดอกเบี้ย เงินฝากธนาคาร และทรัพย์สินอื่น ๆ เป็นต้น
๕. รายได้จากสาธารณูปโภค และการพาณิชย์ เป็นรายได้ที่เกิดขึ้น เนื่องจาก

กฎหมายได้เปิดโอกาสให้ท้องถิ่นสามารถดำเนินกิจการให้บริการที่เป็นการสาธารณูปโภค
หรือประกอบการพาณิชย์ต่าง ๆ ได้ เช่น กิจการประปา สถานีจำหน่ายน้ำมัน ท่าเทียบเรือ

สถานธนานุบาล โรงแรม

๖. เงินอุดหนุน เป็นรายได้หลักที่สำคัญประเภทหนึ่งของท้องถิ่น ที่รัฐบาล
อุดหนุนให้กับท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อแบ่งเบาภาระด้านงบประมาณของท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นมี

ความสามารถในการพัฒนา และจัดบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการของ

ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เงินอุดหนุนของท้องถิ่นจำแนกได้เป็น
๓ ประเภท ดังนี้

๖.๑ เงินอุดหนุนทั่วไป เป็นเงินอุดหนุนที่จัดสรรให้กับท้องถิ่นโดยที่ไม่ได้

ระบุรายการให้จ่ายเงินไว้เป็นเฉพาะ ท้องถิ่นสามารถนำเงินไปใช้จ่ายในกิจการใด ๆ ก็ได้ ซึ่ง
จัดสรรให้เทศบาลตามจำนวนประชากรในเขตเทศบาล เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายนของ

ปีงบประมาณที่ผ่านมาแล้ว ๒ ปี เช่นเงินอุดหนุนทั่วไปเทศบาล ที่จัดสรรให้ในปีงบประมาณ
๒๕๓๗ จะใช้ข้อมูลจำนวนประชากร เมื่อวันที่๓๐ กันยายน ๒๕๓๕ โดยในปีงบประมาณ

๒๕๓๗ จัดสรรให้ในอัตรา ๑๒๐ บาท ต่อประชากร ๑ คน ซึ่งเทศบาลสามารถนำเงิน

งบประมาณไปใช้จ่ายเพื่อกิจการใดก็ได้ที่เป็นการช่วยการบริหารของเทศบาลโดยมิได้
กำหนดประเภทรายจ่ายไว้เป็นการเฉพาะ

๑๖๒


๖.๒ เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เป็นเงินอุดหนุนที่ให้แก่ทองถิ่นเพอใช้จ่ายในการ
ื่
ดำเนินกิจการบางอย่างโดยเฉพาะ เช่น โครงการพัฒนา โครงสร้างพน ฐานทางเศรษฐกิจ
ื้
การศึกษาการสาธารณสุข เป็นต้น

เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม กล่าวว่า ในการกระจายอำนาจทางการคลังแก่
๑๐
ท้องถิ่นนั้นรัฐบาลกลางยังคงต้องเข้าไปมีบทบาทเพื่อคอยให้ความช่วยเหลือและแก้ไข

ปัญหาระหว่างท้องถิ่นที่เกิดขึ้น มาตรการสำคัญที่รัฐบาลกลางใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไข

ปัญหาดังกล่าวคือ การให้เงินอุดหนุน หรือเงินช่วยเหลือแก่รัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งจะกล่าวถึง
วัตถุประสงค์และรูปแบบของการให้เงินอุดหนุนได้ดังนี้

๑. วัตถุประสงค์ของการให้เงินอุดหนุน
๑.๑ เพื่อแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น

ในกรณีที่ท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง เป็นผู้ผลิตบริการสาธารณะขึ้น มา และทำ
ให้ประชาชนในท้องถิ่นอื่นได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะดังกล่าว แต่ในขณะเดียวกัน

ท้องถิ่นที่ผลิตบริการสาธารณะนั้นไม่สามารถที่จะเรียกเก็บเงินจากประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่น

ได้ ในกรณีเช่นนี้จะทำให้คนที่อยู่ในท้องถิ่นที่ผลิตบริการสาธารณะนั้นจะต้องแบกรับ
ค่าใช้จ่ายในการผลิตบริการสาธารณะดังกล่าวมากเกินไป ทั้งนี้เพราะว่าค่าใช้จ่ายในการ

ผลิตบริการสาธารณะดังกล่าวนั้นจะได้มาจากภาษีอากรของท้องถิ่นนั้น

๑.๒ เพื่อช่วยให้ท้องถิ่นสามารถผลิตบริการสาธารณะที่จำเป็น
การกระจายอำนาจทางการคลังแก่ท้องถิ่นนั้นจะช่วยให้รัฐบาลท้องถิ่น

สามารถผลิตบริการสาธารณะที่จำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนใน

ท้องถิ่นนั้นได้ และการที่รัฐบาลท้องถิ่นแต่ละแห่ง จะสามารถจัดสรรบริการสาธารณะที่
จำเป็นได้มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้น อยู่กับขนาดของความต้องการ และฐานะทางการคลัง

ของท้องถิ่นนั้นเป็นสำคัญ ในกรณีที่รัฐบาลท้องถิ่นมีรายได้น้อยแล้ว ก็จะไม่สามารถจัดสรร

๑๐ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย, พิมพ์ครั้ง

ที่ ๘, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๕), หน้า ๑๑๓-๑๑๕.

๑๖๓

ื่
บริการสาธารณะที่จำเป็นได้อย่างเพียงพอเพอที่จะช่วยให้รัฐบาลท้องถิ่นแต่ละแห่งสามารถ
ทำหน้าที่ของตนได้อย่างสมบูรณ์ รัฐบาลกลางจึงต้องใช้เงินช่วยเหลือแก่รัฐบาลท้องถิ่นนั้นๆ

๑.๓ เพื่อก่อให้เกิดความเสมอภาคระหว่างท้องถิ่น

เนื่องจากท้องถิ่นแต่ละแห่งมีความอุดมสมบูรณ์และความเจริญไม่เหมือนกัน
ซึ่งมีผลทำให้รัฐบาลท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นนั้นได้รับประโยชน์จากการบริการสาธารณะไม่

เท่ากัน และก่อให้เกิดความแตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อที่จะลดความแตกต่างดังกล่าว หรือ

เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางการคลัง (Fiscal equalization) ระหว่างท้องถิ่นต่าง ๆ
รัฐบาลกลางจึงต้องให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลท้องถิ่นที่มีฐานะยากจน หรือมีความอ่อนแอ

ทางการคลัง
๑.๔ เพื่อผลทางการเมืองในการปกครอง

ในบางกรณีรัฐบาลกลางอาจจะใช้เงินอุดหนุนเป็นเครื่องมือทางการเมือง
เพื่อช่วยในการปกครองประเทศ โดยอาจจะให้เงินอุดหนุนแก่รัฐบาลท้องถิ่นบางแห่งหรือ

บางภูมิภาคเป็นกรณีพิเศษ เพื่อทำให้ประชาชนในท้องถิ่นนั้นมีความจงรักภักดีต่อรัฐบาล

กลาง และเห็นความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในประเทศ ในเรื่องนีถ้ ้าหากรัฐบาลรู้จัก
เลือกใช้รูปแบบของการกระจายอำนาจทางการคลังที่เหมาะสมให้แก่ทองถิ่นที่มีปัญหา และ

นำเอาเงินอุดหนุนเข้ามาช่วยแล้ว จะทำให้รัฐบาลกลางสามารถบริหารการปกครอง

ภายในประเทศเป็นไปด้วยดี
๒. เงื่อนไขในการกำหนดรูปแบบของเงินอุดหนุน

การที่จะสามารถบรรลุถึงจุดมุ่งหมายในการให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาล

ท้องถิ่นขึ้น อยู่กับการจัดรูปแบบของเงินช่วยเหลือที่ให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นเป็นสำคัญ ลักษณะ
ของเงินช่วยเหลือหรือเงินอุดหนุนแต่ละรูปแบบนั้นมีประเด็นหรือเงื่อนไขในการกำหนดการ

ช่วยเหลืออยู่ ๓ ประเด็น ดังนี้
๑๑
๒.๑ เงินอุดหนุนที่ให้นั้นควรเป็นแบบทั่วไป หรือเป็นแบบเฉพาะกิจ

๑๑ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย, พิมพ์
ครั้ง ที่ ๘, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๕), หน้า ๑๑๕-๑๑๙.

๑๖๔

ในการให้เงินอุดหนุนรัฐบาลกลางนั้นสิ่งแรกที่จะต้องพิจารณา คือ เงิน
อุดหนุนที่ให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นนั้นควรเป็นแบบทั่วไป หรือควรจะเป็นแบบเฉพาะอย่างซึ่ง

พอจะพิจารณาได้โดยย่อดังนี้

๒.๑.๑ เงินช่วยเหลือแบบทั่วไป (General or Block grants)
เงินช่วยเหลือแบบทั่วไปนี้ รัฐบาลกลางจะให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นโดยมิได้

กำหนดว่าจะต้องนำเงินดังกล่าวไปใช้จ่ายโครงการใดบ้าง รัฐบาลท้องถิ่นมีสิทธิที่จะนำเงิน

ช่วยเหลือนั้นไปใช้ในกิจการของท้องถิ่นอย่างไรก็ตามที่ตนเห็นว่าเหมาะสม เงินอุดหนุนใน
แบบนี้ถ้าพิจารณาในแง่ของรัฐบาลท้องถิ่นที่ได้รับความช่วยเหลือแล้ว ท้องถิ่นจะได้รับ

ความพึงพอใจมากที่สุด เพราะตนมีโอกาสที่จะเลือกใช้เงินดังกล่าวได้ตามใจชอบ
๒.๑.๒ เงินช่วยเหลือแบบเฉพาะกิจ (Selective or Categorical grant)

การให้เงินช่วยเหลือในแบบเฉพาะกิจนี้ รัฐบาลกลางจะกำหนดเงื่อนไข
ให้นำเงินดังกล่าวไปใช้ในโครงการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ รัฐบาลท้องถิ่นจะนำเงิน

ดังกล่าวไปใช้ในโครงการอ่านไม่ได้ เช่น เงินอุดหนุนเพื่อการศึกษา ท้องถิ่นจะนำไปใช้

กิจการอื่นไม่ได้เงินช่วยเหลือแบบเฉพาะอย่างนี้ ทำให้รัฐบาลกลางสามารถใช้เงินช่วยเหลือ
เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายบางอย่างของรัฐบาลได้ง่าย

๒.๑.๓ เงินอุดหนุนที่ให้นั้นควรเป็นแบบให้เปล่าหรือแบบร่วมสมทบ

การกำหนดเงื่อนไขของเงินอุดหนุนที่ให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นที่สำคัญอก

ประการ คือ เงินอุดหนุนที่ให้นั้นควรจะเป็นแบบให้เปล่า (Nonmatching) หรือควรจะเป็น

แบบร่วมสมทบ (Matching) ซึ่งอาจจะพิจารณาได้ ดังนี้

๒.๑.๓.๑ เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า (Nonmatching grants)
เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่านี้เป็นเงินที่รัฐบาลกลางให้รัฐบาลท้องถิ่น โดย

ที่รัฐบาลท้องถิ่นไม่ต้องออกเงินร่วมสมทบกับการช่วยเหลือดังกล่าวนั้นเลย ซึ่งเงินช่วยเหลือ
นั้นอาจจะเป็นแบบทั่วไปให้เปล่า (General Nonmatching grants) หรืออาจจะเป็นแบบ

ให้เปล่าเฉพาะกิจ (Selective Nonmatching grants) เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่านี้ถ้า

พิจารณาในแง่ของรัฐบาลท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้รับแล้ว จะทำให้ท้องถิ่นได้รับความพอใจมาก
เพราะท้องถิ่นจะไม่ต้องปรับแนวทางในการเลือกใช้ทรัพยากรของตน เงินที่ได้รับความ

ช่วยเหลือมีผลเท่ากับเป็นการเพิ่มพูนรายได้หรือทรัพยากรให้แกท้องถิ่นนั้น

๑๖๕

๒.๑.๓.๒ เงินช่วยเหลือแบบร่วมสมทบ (Matching grants)
เงินช่วยเหลือแบบร่วมสมทบนี้ เป็นเงินช่วยเหลือที่รัฐบาลกลางจะเป็น

ฝ่ายออกเงินร่วมสมทบกับรัฐบาลท้องถิ่น โดยที่ฝ่ายรัฐบาลท้องถิ่นจะต้องมีเงินเพื่อใช้จ่าย

ก่อนและรัฐบาลกลางจึงจะออกเงินร่วมสมทบให้ ซึ่งรูปแบบของการช่วยเหลือนั้นอาจจะ
เป็นแบบร่วมสมทบทั่วไป (General Matching grants) หรืออาจจะเป็นแบบร่วมสมทบ

เฉพาะกิจ (Selective Matching grants)

เงินช่วยเหลือในแบบนี้ถ้าพิจารณาในแง่ของรัฐบาลแล้ว ทำให้รัฐบาล

สามารถประหยัดเงินช่วยเหลือได้มาก เพราะท้องถิ่นจะร่วมออกด้วย และถ้าพจารณาในแง่
ของรัฐบาลท้องถิ่นแล้ว เงินช่วยเหลือแบบร่วมสมทบนี้อาจจะไปทำลายแนวทางในการ
เลือกใช้ทรัพยากรที่ดีที่สุดของท้องถิ่นได้ เนื่องจากเงินช่วยเหลือที่รัฐบาลกลางจะเป็นฝ่าย

ออกร่วมสมทบสำหรับโครงการบางอย่างจะชักนำให้ท้องถิ่นพยายามหันมาทำโครงการ
ดังกล่าว โดยที่โครงการที่ทำนั้นอาจไม่ใช่โครงการที่ประชาชนต้องการมากที่สุดก็ได้

๒.๑.๓.๓ เงินอุดหนุนที่ให้นั้นจะต้องพิจารณาถึงฐานะการคลังของ

ท้องถิ่น
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบของเงินอุดหนุนที่สำคัญคือ

จะต้องพิจารณาดูว่า ในการให้เงินอุดหนุนของรัฐบาลกลางนั้นจะต้องดูฐานะทางการคลัง

ของรัฐบาลท้องถิ่นเป็นเครื่องประกอบซึ่งมีข้อพิจารณา ดังนี้
(๑) พิจารณาถึงฐานะทางการคลังของท้องถิ่น (Need –related)

การให้เงินช่วยเหลือในแนวนี้ มักจะคำนึงถึงความเสมอภาคทางการ

คลัง (Fiscal equalization) ระหว่างท้องถิ่นเป็นสำคัญ โดยพยายามมุ่งช่วยรัฐบาลท้องถิ่น
ที่มีรายได้น้อยหรือช่วยตัวเองไม่ค่อยได้ เพื่อให้รัฐบาลท้องถิ่นนั้นสามารถทำหน้าที่ของตน

ได้ดียิ่งขึ้น
(๒) ไม่ต้องพิจารณาถึงฐานะทางการคลังของท้องถิ่น (Not

Needrelated)

การให้ความช่วยเหลือในแนวนี้ รัฐบาลกลางจะไม่คำนึงถึงฐานะ
ทางการคลังของท้องถิ่นที่จะได้รับความช่วยเหลือ หากแต่จะพิจารณาถึงลักษณะของสินค้า

หรือบริการสาธารณะบางอย่างที่ท้องถิ่นนั้นผลิตขึ้น เป็นสำคัญ กล่าวคือ ถ้าหากท้องถิ่นใด

๑๖๖

เป็นฝ่ายที่ผลิตบริการสาธารณะที่รัฐบาลต้องการส่งเสริม หรือบริการสาธารณะที่ผลิตขึ้น
ใช้ในท้องถิ่นนั้นก่อให้เกิด Spilloversที่เป็นคุณประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่นอื่น รัฐบาล

กลางก็จะจ่ายเงินอุดหนุนแก่ท้องถิ่นนั้นโดยอาจไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงฐานะทางการคลัง

ของท้องถิ่นนั้น
จากลักษณะรายได้ของท้องถิ่นในลักษณะต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนี้จะ

เห็นได้ว่าในประเทศต่าง ๆ ได้มีการถือปฏิบัติในการจัดเก็บรายได้ที่สำคัญ ๆ เช่น ประเทศ

อังกฤษ การจัดหารายได้ส่วนใหญ่มีดังนี้
๑. ภาษีท้องถิ่น (rates)

ลักษณะของภาษีท้องถิ่น (rates) ในที่นี้หมายถึง การจัดเก็บภาษีจาก
ทรัพย์สินเฉพาะอย่างยิ่งเป็นประเภทสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง การจัดเก็บจะ

เป็นไปโดยความเป็นธรรมจะมีคณะกรรมการประเมินภาษี เรียกว่า Board of Inland
Revenue และจำต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาของท้องถิ่น (local council) ซึ่ง

ลักษณะการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นดังกล่าวนี้ ได้มีข้อยกเว้นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

สถานที่ราชการ วัด เป็นต้น แต่ก็มีทรัพย์สินบางประเภทที่ต้องได้รับการจัดเก็บแต่ก็ได้รับ
การลดหย่อนในอัตราพิเศษ คือ ที่ดินเพื่อการเกษตรและอตสาหกรรม

๒. ภาษีหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ

๑๒
ดรูมอนด์ (Drumond) ได้แบ่งประเภทค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้
ในประเทศอังกฤษ มีดังนี้

๒.๑ ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการให้บริการ เช่น ค่าธรรมเนียมการ

เลี้ยงดูเด็กและคนชราค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากการสาธารณสุข การรักษาความสะอาด
ซึ่งเป็นบริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

๒.๒ ค่าธรรมเนียมที่ได้จากทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น เช่น ค่าธรรมเนียมการใช้สวนสาธารณะ ค่าธรรมเนียมการใช้อาคาร สถานที่ ของ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

๑๒ Drumond, J.M., The Finance of Local Government, (London: George
Allun& Urwin, ๑๙๖๔), p.๕๑-๕๒.

๑๖๗

๒.๓ ค่าธรรมเนียมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรียกเก็บจาก
กิจการของเอกชน เช่นการเก็บค่าธรรมเนียมจากโรงมหรสพ โรงละคร โรงรับจำนำ เป็นต้น

๓. เงินอุดหนุน (grant in aid)

๓.๑ เงินอุดหนุนทั่วไป (general grants)
เป็นเงินที่รัฐบาลจัดสรรเพื่อช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โดยเฉพาะเป็นการช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีรายได้น้อย เพื่อให้ได้มาซึ่งการ

บรรลุถึงการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรัฐบาลจะช่วยเงินเป็นก้อน
และเพื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้นำเงินจำนวนนีไ ปพัฒนาใช้จ่ายตามอำนาจ

หน้าที่ที่กล่าวไว้ตามกฎหมาย
ดรูมอนด์ (Drumond) ยังได้แบ่งประเภทของเงินอุดหนุนทั่วไป
๑๓
(general grants) ดังนี้
๑. เงินอุดหนุนเป็นก้อน (block grant) เงินอุดหนุนประเภทนี้รัฐบาล

จ่ายให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้

เสนอโครงการต่าง ๆ ต่อรัฐบาล แล้วรัฐบาลจัดสรรเงินอุดหนุนให้ตามดุลยพินิจของรัฐบาล
เอง ซึ่งเงินอุดหนุนในลักษณะเช่นนี้อังกฤษได้ริเริ่มใช้ในปี ค.ศ. ๑๙๒๙ เดิมเรียกว่า

General Exchequer Contribution โดยใช้เกณฑ์คำถามที่จะจ่ายให้ตามอัตราของ

ประชากรเป็นหลัก เมื่อประชากรมากจะได้เงินอุดหนุนประเภทนี้มากดังปฏิบัติอยู่ใน
สหรัฐอเมริกา

๒. เงินอุดหนุนตามหลักความเสมอภาค (equalization grants) เงิน

ื่
อุดหนุนประเภทนี้จัดให้มีขึ้นเพอพยุงให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีรายได้น้อย สามารถ
มีเงินหรือรายได้เพอดำเนินกิจการอันเป็นหน้าที่เพอสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่นได้ ระบบ
ื่
ื่
เงินอุดหนุนดังกล่าวนี้ได้ใช้เป็นครั้งแรกในประเภทอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๔๘ เรียกว่า
Exchequer equalization grants ซึ่งหมายความว่าท้องถิ่นใดที่ยากจน รายได้น้อย จะ

๑๓ Drumond, J.M., The Finance of Local Government, (London: George
Allun& Urwin, ๑๙๖๔), p.๙๐.

๑๖๘

ได้รับเงินอุดหนุนประเภทนี้มาก ท้องถิ่นใดมีรายได้มากอยู่แล้วจะได้รับเงินอุดหนุนหรือไม่
ได้รับเลยก็เป็นได้

๓. เงินอุดหนุนพิเศษเฉพาะกิจการ (specific grants) เงินอุดหนุน

ประเภทนี้รัฐบาลได้จัดสรรให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อปฏิบัติงานในเรื่องหนึ่ง
เรื่องใดโดยเฉพาะ เช่นการบริหารการเดินรถ การจัดการอาคารสงเคราะห์ และหลักการ

จ่ายเงินอุดหนุนประเภทนี้ย่อมขึ้น อยู่กับนโยบายและทางปฏิบัติของแต่ละประเทศ บาง

ประเทศได้ให้ไปในอัตราที่เหมาะสม ตามนโยบายของรัฐบาลที่เห็นว่ากิจการประเภทนั้นๆ
ถ้าหากทำตามโครงการควรใช้เงินเท่าใด และบางประเทศอาจจ่ายเงินอุดหนุนประเภทนี้


เป็นลักษณะเงินสมทบ คือ ถ้ากิจกรรมนั้นๆ เช่น การจัดการศกษาการจัดอาคารสงเคราะห์
ถ้าหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งงบประมาณ หรือมีงบประมาณจำนวนหนึ่งแล้ว


รัฐบาลจะจ่ายสมทบให้อกจำนวนหนึ่งก็เป็นได้ ดังนั้นวิธีการจึงอาจดำเนินการได้ในลักษณะ
ต่าง ๆ เช่น การให้เงินอุดหนุนเป็นร้อยละ (percentage grant) การให้เงินอุดหนุนเป็น

หน่วย (unit grant) และการให้เงินอุดหนุนเป็นแบบสมทบ (matching grant) ตลอดจน

การให้ตามดุลยพินิจ (discretionary grant) เป็นต้น

๘.๔ รายจ่ายท้องถิ่น

ไพรัช ตระการศิรินนท์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีลักษณะสำคัญของการ
๑๔
ใช้จ่ายแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ รายจ่ายประจำและรายจ่ายพิเศษซึ่งผลของรายจ่าย
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแบบขึ้น อยู่กับขนาดและรูปแบบการปกครองต่อการ

พัฒนาท้องถิ่นจะแตกต่างกันตามโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นนั้นที่เป็นส่วนสำคัญของการปกครองท้องถิ่นรูปแบบต่าง ๆ

ก. ประเภทรายจ่ายประจำ หมายถึง รายจ่ายที่จ่ายจากรายได้ของท้องถิ่นเอง

รวมทั้ง เงินอุดหนุนทั่วไปจากรัฐบาลกลาง รายจ่ายประจำของท้องถิ่นรูปแบบต่าง ๆ
สามารถแบ่งเป็นหมวดได้ตามหมวดรายจ่าย ตามหมวดรายจ่ายของงบประมาณแผ่นดิน

๑๔ ไพรัช ตระการศิรินนท์, “การคลังภาครัฐ”, รายงานการวิจัย, (เชียงใหม่ : คณะสังคม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ๒๕๔๘), หน้า ๓๐๙.

๑๖๙

ข. ประเภทพิเศษ หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดขึ้น เพื่อกิจการเฉพาะอย่างเป็น
กรณีพิเศษในแต่ละปี โดยเป็นการตั้ง จ่ายจากเงินสะสม เงินกู้ และเงินอุดหนุนเฉพาะหรือ

เงินอื่นที่ไม่ใช่งบประมาณประจำ

การมีงบประมาณประจำปี ของตนเองแต่จะมีจำนวนมากน้อยเพียงใด ขึ้น อยู่
กับขนาดและรูปแบบการปกครองแต่ละแบบโดยสัดส่วนภาพรวมของท้องถิ่นต่อ

งบประมาณแผ่นดินในปัจจุบันจะมีจำนวนน้อย และมีรูปแบบการบริหารงานงบประมาณที่

อิสระต่อกัน
ื่
๑. งบประมาณทั่วไป หมายถึง งบประมาณที่จัดทำขึ้น เพอใช้ในการบริหารงาน
ด้านต่าง ๆ ของท้องถิ่นโดยมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่สังกัดการบริหารท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบ
ดำเนินการ

๒. งบประมาณเฉพาะการ หมายถึง งบประมาณที่จัดทำขึ้น เพื่อกำหนดวงเงิน
ที่ใช้ในการปฏิบัติงานเฉพาะอย่างพิเศษ ต่างจากงบประมาณเพื่อการบริหารทั่วไป เช่น

งบประมาณของเทศพาณิชย์ เป็นต้น

๑๕
โดยทั่วไปรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มี ๒ ประเภท คือ
๑. รายจ่ายประจำ ได้แก่ รายจ่ายประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน

ค่าใช้จ่ายค่าวัสดุ ค่าสาธารณูปโภค และเงินอุดหนุน

๒. รายจ่ายเพื่อการลงทุนหรือรายจ่ายเพื่อการพัฒนา ได้แก่ รายจ่ายประเภท
ครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้างซึ่งการแบ่งรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าว

จะทำให้สามารถพิจารณาฐานะการคลัง ขีดความสามารถ ประสิทธิภาพและทิศทางในการ

บริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ได้ การจำแนกงบประมาณออกเป็น
๒ ส่วนแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทข้างต้นทำให้การแยกประเภทของงบประมาณท้องถิ่น

แตกต่างจากการแยกประเภทของงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาลกลางซึ่งไม่มีการแยก
ดังกล่าว
๑๖

๑๕ พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์, การคลังรัฐบาลและการคลังท้องถิ่น, (กรุงเทพมหานคร :
โอ.เอส.พริง ติง้ เฮ้าส์, ๒๕๕๐), หน้า ๒๗๐.

๑๖ พนม ทินกร ณ อยุธยา, การบริหารงานคลังรัฐบาล เล่มที่ ๒ การบริหารงานคลัง
รัฐบาลมหภาค ๒, (กรุงเทพมหานคร : สยามศิลป์การพิมพ์, ๒๕๓๒), หน้า ๒๗๕.

๑๗๐

๑. งบประมาณทั่วไป คือ งบประมาณที่จัดขึ้น เพื่อกำหนดวงเงินที่ใช้ในการ
บริหารงานด้านต่าง ๆ ของท้องถิ่น โดยแต่ละหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในหน่วยการปกครอง

ส่วนท้องถิ่นนั้นจะเป็นผู้ดำเนินงาน

๒. งบประมาณเฉพาะการ คือ งบประมาณที่จัดทำขึ้น เพื่อกำหนดวงเงินที่ใช้ใน
การปฏิบัติงานเฉพาะอย่างเป็นพิเศษ แตกต่างออกไปจากการบริหารงานทั่วไปของท้องถิ่น


ได้แก งบประมาณของเทศพาณิชย์ เป็นต้น

๘.๕ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อฐานะทางการคลังท้องถิ่น

คุก (Cook ) ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อฐานะทางการคลังของ
๑๗
ท้องถิ่นซึ่งโดยทั่วไปรายได้และรายจ่ายของท้องถิ่นจะถูกกำหนดโดยปัจจัยต่าง ๆ ทั้ง
ภายในและภายนอกท้องถิ่นประกอบไปด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

๑. ปัจจัยด้านรสนิยมและความจำเป็นของชุมชน

ปัจจัยด้านรสนิยม และความจำเป็นของชุมชน จะมีผลกระทบต่อรายได้และ
รายจ่ายของชุมชน เพราะปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดการบริโภคและการใช้จ่ายในชุมชน ซึ่งการ

บริโภคและการใช้จ่ายดังกล่าวจะมีผลกระทบทั้ง ด้านรายได้และรายจ่ายของรัฐบาลท้องถิ่น
๒. ปัจจัยสภาวะการผลิตและการบริการของชุมชน

ปัจจัยสภาวะการผลิตและการบริการของชุมชน จะมีอิทธิพลต่อรายได้และ

รายจ่ายของรัฐบาลท้องถิ่น เพราะการผลิตและการบริการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้าน
รายได้และรายจ่ายของท้องถิ่น ถ้าท้องถิ่นใดมีอัตราการผลิตและการบริการเป็นจำนวนมาก

รายได้ด้านภาษีของท้องถิ่นนั้นจะอยู่ในเกณฑ์ดี จะทำให้ฐานะทางการคลังของท้องถิ่นดี
ตามไปด้วย หากท้องถิ่นใดมีภาระทางด้านการบริการมาก ท้องถิ่นนั้นก็มีความจำเป็น

จะต้องจัดการบริการมาก ค่าใช้จ่ายของท้องถิ่นจะสูงตามขึ้น ไปด้วย ดังนั้นการผลิตและ

การบริการของชุมชนจะมีอิทธิพลในการกำหนดรายได้และรายจ่ายของท้องถิ่นเป็นอย่าง
มาก

๑๗ Cook,Timothy Q., In Determinants of Individual Tax - Exempt Bond Yields
:A Survey of the Evidence. Economi Review. (๑๙๘๒, June) ๖๓(๓): ๑๔ -๓๙.

๑๗๑

๓. ปัจจัยทุน แรงงาน และตลาด
ทุน แรงงาน และตลาด ถือเป็นหัวใจสำคัญของกลไกทางเศรษฐกิจชุมชน

ชุมชนใดที่มีปัจจัยทุน แรงงาน และตลาด อยู่ในเกณฑ์ดีจะทำให้มีรายได้มาก และฐาน

ทางการคลังของชุมชนนั้นจะดีตามไปด้วย แต่ถ้าชุมชนใดขาดแคลนปัจจัยเหล่านี้ ฐานะ
ทางการคลังของชุมชนนั้นจะอ่อนแอตามไปด้วย

๔. ปัจจัยด้านทรัพยากรในชุมชน

ทรัพยากรในชุมชนจะมีผลต่อรายได้ภายในชุมชน หากชุมชนใดมีทรัพยากร
ภายในมาก ชุมชนนั้นจะมีแนวโน้มฐานะทางการคลังที่ดี ตรงกันข้ามกับชุมชนใดที่มีความ

ขาดแคลนของทรัพยากรในชุมชน ชุมชนนั้นจะมีแนวโน้มฐานทางการคลังที่ไม่ดี
๕. ปัจจัยทางด้านโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง

ปัจจัยโครงสร้างทางการเมืองการปกครองจะมีอิทธิพลต่อฐานะทางการคลัง
ของท้องถิ่น เนื่องจากนโยบายทางการเมืองจะมีผลกระทบโดยตรงต่อรายได้และรายจ่าย

ของท้องถิ่น

๖. ปัจจัยแนวนโยบายจากส่วนกลาง
ส่วนกลางหรือรัฐบาลกลางจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อรัฐบาลท้องถิ่น เพราะ

นโยบายของรัฐบาลกลางจะมีอิทธิพลเป็นอย่างยิ่งต่อรายได้และรายจ่ายของท้องถิ่น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลกลางจะมีการโอนเงินส่วนหนึ่งมาสู่ท้องถิ่น ดังนั้นหากรัฐบาล
กลางมีการโอนเงินดังกล่าวมาสู่รัฐบาลท้องถิ่นมาเป็นจำนวนมาก ฐานะทางการคลังของ

ท้องถิ่นจะดี

๗. ปัจจัยนโยบายและข้อปฏิบัติทางการเงินของท้องถิ่น
โดยทั่วไปท้องถิ่นสามารถออกนโยบายและข้อบัญญัติของตนเองได้ ดังนั้น

นโยบายและข้อบัญญัติที่ท้องถิ่นกำหนดขึ้น จะมีอิทธิพลต่อฐานะทางการคลังของ
ท้องถิ่นเอง

๘.๖ ปัญหาสำคัญทางการคลังท้องถิ่น

ปัญหาที่สำคัญของหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นคือ ไม่มีความสามารถในการ
หารายได้ให้เพียงพอกับความต้องการใช้เงิน ซึ่งเกิดจาก ๒ ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยภายนอก

๑๗๒

และปัจจัยภายใน ซึ่งปัจจัยภายนอก ได้แก่ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยการ
กระจายอำนาจทางการคลังให้แก่หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับปัจจัยภายใน


๑๘
ได้แก ปัจจัยในการบริหารงานของหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ
๘.๖.๑ ปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอก
๑. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ หมายถึง ความเจริญและการพัฒนาเศรษฐกิจใน

ท้องถิ่นนั้นๆโดยพิจารณารายได้ของประชาชนในท้องถิ่น ลักษณะของความเป็นเมืองและ

ชนบท โดยพิจารณาจากแหล่งการค้า ตลาด การพาณิชย์ ภาวการณ์จ้างงานในท้องถิ่นนั้นๆ
นอกจากนี้ยังพิจารณาถึงความเจริญทางด้านอุตสาหกรรม ความเจริญด้านคมนาคมขนส่ง

ื้
การพาณิชย์ และการสาธารณูปโภคพนฐาน ได้แก ไฟฟ้า ประปา

๒. ปัจจัยทางสังคมวิทยา หมายถึง ความรับผิดชอบของประชาชนต่อส่วนรวม
ในการเสียภาษีอากาให้แก่รัฐบาลกลางหรือหน่วยการปกครองท้องถิ่น ถ้าประชาชนใน
ท้องถิ่นมีความรับผิดชอบและมีความสามารถในการที่จะจ่ายภาษีอากรให้แก่ท้องถิ่นแล้ว

ิ่
จะทำให้รายได้ของท้องถิ่นเพมมากขึ้น
๓. ปัญหาการกระจายอำนาจทางการคลังแก่หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น
การปกครองของไทยในปัจจุบัน ท้องถิ่นไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ นโยบายส่วนใหญ่จะ

กำหนดมาจากส่วนกลาง ซึ่งปัญหาจากการกระจายอำนาจทางการคลังของท้องถิ่นที่สำคัญ

มี ๔ ประการ ดังนี้คือ
๓.๑ ข้อจำกัดทางด้านการคลังของหน่วยการปกครองท้องถิ่น อันได้แก่ รัฐบาล

กลางเป็นผู้รวมอำนาจทางการคลังและการบริหารเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ท้องถิ่นมีรายได้ไม่

เพียงพอที่จะพัฒนาท้องถิ่นของตนเองตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยการ
ปกครองท้องถิ่น

๑๘ ชัชโยดม พูนผล, “การศึกษาการบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนตำบลใน
จังหวัดสมุทรปราการ กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลสุวรรณภูมิ”, ปริญญานิพนธ์ศึกษา

ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์การจัดการ, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,
๒๕๕๐), หน้า ๑๒-๑๓.

๑๗๓

๓.๒ แหล่งรายได้ท้องถิ่น ส่วนใหญ่กฎหมายทางด้านภาษีอากรและ
ค่าธรรมเนียมท้องถิ่นมีผลบังคับใช้มาเป็นเวลานาน โดยไม่ได้มีการพิจารณาปรับปรุงแก้ไข

ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

๓.๓ เกณฑ์การจัดสรรรายได้ โครงสร้างอัตราภาษีอากรท้องถิ่นที่รัฐบาลเก็บ
เพิ่มให้ท้องถิ่นหรือรายได้ที่รัฐบาลกลางแบ่งให้ท้องถิ่น มีหลักเกณฑ์จัดสรรให้ตามสัดส่วน

รายได้ภาษีที่ท้องถิ่นเคยได้รับ ซึ่งเป็นเกณฑ์การจัดสรรตามกฎหมายที่ใช้มาเป็นเวลานาน

ทำให้หลักเกณฑ์ไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรมกับท้องถิ่น
๓.๔ หลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุน ซึ่งเมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์การจัดสรร

เงินอุดหนุนแล้วจะพบว่า เป็นหลักเกณฑ์ที่ไม่เอออำนวยที่จะกระตุ้นให้ท้องถิ่นพยายามช่วย
ื้
ตนเองทางด้านการคลัง แต่ก่อให้เกิดความยินยอมที่ท้องถิ่นจะปฏิบัติตามนโยบายและ

เงื่อนไขส่วนกลาง
๘.๖.๒ ปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายใน

๑. ประสิทธิภาพในการจัดเก็บ ท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังคงดำเนินการจัดเก็บรายได้

อยู่ ณ สำนักงาน ไม่มีเครื่องมือหรือมาตรการที่จะติดตามจัดเก็บให้ครบถ้วนและถูกต้อง
เจ้าพนักงานที่รับผิดชอบในการจัดเก็บรายได้ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ กฎหมายและ

ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีอากร และค่าธรรมเนียมแต่ละประเภท อีกทั้ง ยังขาด

แหล่งข้อมูล ทำให้การปฏิบัติการจัดเก็บรายได้มีลักษณะกระทำตามความเคยชินที่ปฏิบัติ
กันมา

๒. หน่วยงานที่จัดเก็บรายได้มีอัตรากำลังไม่เพียงพอ จำนวนเจ้าหน้าที่จัดเก็บ

รายได้มีไม่เพียงพอที่จะติดตามจัดเก็บรายได้ในท้องถิ่นได้ครบถ้วน ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
จัดการมีในสัดส่วนที่น้อย

๓. การปฏิบัติการจัดเก็บรายได้ตามกฎหมาย ภาษีและค่าธรรมเนียมบาง
ประเภทที่กฎหมายให้อำนาจท้องถิ่นในการออกเทศบัญญัติ ข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติ ใน

การจัดเก็บรายได้แต่ปรากฏว่ามีบางท้องถิ่นยังคงเพิกเฉยการจัดเก็บรายได้ หรือถ้ามีการ

จัดเก็บก็เลือกเก็บในอัตราและจำนวนที่ต่ำ
๔. ความเต็มใจของผู้เสียภาษี ประชาชนในท้องถิ่นยังขาดความเข้าใจใน

หลักการของการจัดเก็บภาษี และค่าธรรมเนียม นอกจากนี้ยังขาดความเข้าใจในกฎหมาย