มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวมีอะไรบ้าง

นักธรณีวิทยาประมาณว่า ทุกวันจะมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นบนโลกนับ 1,000 ครั้ง แต่คนส่วนมากจะไม่รู้สึก เพราะมันสั่นและแผ่วเบาจนเกินไป เมื่อเหตุผลเป็นเช่นนี้นั่นก็หมายความว่า 50% ของคลื่นแผ่นดินไหวอาจจะมีคนตรวจรับได้ แต่อีก 50% ที่เหลือที่เกิดในบริเวณที่ไม่มีคนอาศัยก็จะไม่มีใครรู้สึกอะไรเลย

ขนาด (Magnitude) เป็นปริมาณที่มีความสัมพันธ์กับพลังงานที่พื้นโลก ปลดปล่อยออกมาในรูปของการสั่นสะเทือน
คำนวณได้จากการตรวจวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัด ได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหวโดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว มีหน่วยเป็น " ริกเตอร์"

ในปี พ.ศ. 2178 ริกเตอร์ (C.F. Richter)
ได้เสนอมาตรการระบุความรุนแรงของภัยแผ่นดินไหวที่ผู้คนทั่วไปรู้จักกันจนทุกวันนี้ โดยริกเตอร์ได้แบ่งสเกลความรุนแรงออกหลายระดับ เช่น ระดับ 2 แสดงว่า ดังและเป็นภัยได้มากเท่าๆ กับเหตุการณ์ฟ้าผ่า ระดับ 4 แสดงว่า มีความเสียหายเล็กน้อย เกิดขึ้น ระดับ 6 คือรุนแรงเทียบเท่าการระเบิดของลูกระเบิดปรมาณูที่สหรัฐฯ ทิ้งลงฮิโรชิมา และระดับ 8.5 คือระดับโลกแตกซึ่งแยกเป็นตารางได้ดังนี้

มาตราริกเตอร์

ขนาด ความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง
1-2.9     เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มมีความรู้สึกถึงการสั่นไหว บางครั้ง รู้สึกเวียน ศีรษะ
3-3.9     เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน
4-4.9       เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคารรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนวัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว
5-5.9     เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
6-6.9     เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
7.0       ขึ้นไป เกิดการสั่นไหวร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างมีความเสียหายอย่างมาก แผ่นดินแยกวัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น

ส่วนความรุนแรงแผ่นดินไหว (Intensity) แสดงถึงความรุนแรงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น วัด
ได้จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเกิด และหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ความรู้สึกของผู้คน ลักษณะที่วัตถุหรือ
อาคารเสียหายหรือสภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น ในกรณีของประเทศไทยใช้ มาตราเมอร์แคลลี
สำหรับเปรียบเทียบอันดับ ซึ่งมีทั้งหมด 12 อันดับ เรียงลำดับความรุนแรงแผ่นดินไหวจากน้อยไปมาก ดังนี้

มาตราเมอร์แคลลี่

อันดับที่ ลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบ
I         เป็นอันดับที่อ่อนมาก ตรวจวัดโดยเครื่องมือ
II             พอรู้สึกได้สำหรับผู้ที่อยู่นิ่ง ๆ ในอาคารสูง ๆ
III           พอรู้สึกได้สำหรับผู้อยู่ในบ้าน แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก
IV           ผู้อยู่ในบ้านรู้สึกว่าของในบ้านสั่นไหว
V             รู้สึกเกือบทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว
VI       รู้สึกได้กับทุกคนของหนักในบ้านเริ่มเคลื่อนไหว
VII           ทุกคนต่างตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มปรากฎความเสียหาย
VIII         เสียหายค่อนข้างมากในอาคารธรรมดา
IX           สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้อย่างดี เสียหายมาก
X        อาคารพัง รางรถไฟบิดงอ
XI           อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบน พื้นดินอ่อน
XII      ทำลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน

ทั้งนี้ เครื่องมือสำหรับวัดการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว เรียกว่า “ไซสโมกราฟ” (Seimograph) แต่ในปัจจุบันใช้ทั้งระบบเครือข่ายสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวในระดับแต่ละประเทศ และเครือข่ายในระดับโลกเพื่อการวิเคราะห์ตำแหน่ง ขนาดและเวลาเกิดของเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้อย่างรวดเร็ว

ประเทศไทยเริ่มมีการตรวจแผ่นดินไหว เมื่อปี พ.ศ. 2506 สถานีตรวจแผ่นดินไหวแห่งแรกของกรมอุตุนิยมวิทยา ติดตั้ง ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเข้าร่วมอยู่ในเครือข่ายระบบมาตรฐานโลก Worldwide Standardized Seismograph Network : WWSSN และต่อมาปรับเปลี่ยนเป็นระบบเครือข่าย Incorporated Research Institution of Seismology : IRIS ซึ่งเป็นเครือข่ายโดยความร่วมมือของสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ในสหรัฐอเมริกาและบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหว “ริกเตอร์”

23 July 2018

Posted by Kasorn Sansuwan

เรื่องทั่วไป | Tags: แผ่นดินไหว | | No Comments »

จากการทำงานเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์สาระสนเทศน่ารู้จากวารสาร  การประชาสัมพันธ์การใช้บริการวารสารผ่านสื่อหอสมุดฯ และจากการตรวจบทความจากวารสารเพื่อทำดรรชนี ทำให้พบบทความที่ให้สาระความรู้ในเรื่องต่าง ๆ มากมาย วันนี้มาทำความรู้จักกับคำว่า “ริกเตอร์” กันค่ะ
เรามักได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า แผ่นดินไหวขนาดกี่ริกเตอร์
คำว่า “ริกเตอร์” เป็นหน่วยของขนาดแผ่นดินไหวเรียกว่า “มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวของริกเตอร์” พัฒนาโดยชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ (Charles Francis Richter) นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหวชาวสหรัฐอเมริกา แห่งสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียเมื่อปี ค.ศ. 1935 (พ.ศ. 2478)
หน่วยของ “ริกเตอร์” เป็นการวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือวัดแผ่นดินไหว โดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว เราจึงนิยมใช้หน่วยของขนาดแผ่นดินไหวว่า “ริกเตอร์” (Richter) ตั้งแต่นั้นมา
สำหรับการวัดขนาดของแผ่นดินไหว ที่เป็นที่นิยมที่สุด คือ มาตราวัดขนาดของแผ่นดินไหวแบบริกเตอร์
จะบอกได้เป็นตัวเลขจำนวนเต็มและจุดทศนิยม โดยขนาดของแผ่นดินไหวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นมีดังนี้ (ข้อมูลตาราง)

มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวมีอะไรบ้าง

การเพิ่มขึ้นของระดับความรุนแรง 1 หน่วยเต็ม เช่น จาก 5 เป็น 6 ริกเตอร์ เท่ากับแผ่นดินไหวขนาดความรุนแรงมากขึ้น 10 เท่า ในขณะเดียวกัน แต่ละริกเตอร์ที่เพิ่มขึ้นก็หมายถึงพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาเพิ่มขึ้นประมาณ 30 เท่าด้วย
ข้อควรปฏิบัติขณะเกิดแผ่นดินไหว
1. ให้ตั้งสติ อย่าตกใจ อยู่ในที่ที่แข็งแรง ปลอดภัย ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้า-ออกจากบ้าน
2. ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืน หรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนักได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง
3. หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้
4. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง
5. อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลว หรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
6. ถ้ากำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
7. ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
8. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
ที่มาแหล่งข้อมูล : 
โกเมศ สุขบัติ.  “ริกเตอร์ ผู้คิดมาตรวัดขนาดแผ่นดินไหว.”Science Magazine. 2, 6 (มกราคม-มีนาคม 2458) : 17
“คำว่า “ริกเตอร์” มาจากไหน.” ผลิใบ. 12, 68 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2548) : 41
“Richter ริกเตอร์.” สารคดี. 20, 240 (กุมภาพันธ์ 2548) : 111 
กรมทรัพยากรธรณี.  ความร้ายแรงของแผ่นดินไหว.  สืบค้นจาก   http://www.dmr.go.th/main.php?filename=severity   สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม.
รู้จักมาตราวัดแผ่นดินไหวยอดนิยม. สืบค้นจาก  https://www.thairath.co.th/content/155945
สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม.
แผ่นดินไหวทำไงดี! ข้อควรปฏิบัติขณะเกิดแผ่นดินไหว. สืบค้นจาก   https://hilight.kapook.com/view/23826   สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม.
 
 
 
 

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.