การ สั่น สะเทือน ของ แผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่มีสาเหตุมาจากการปลดปล่อยพลังงานจากความเครียดที่เก็บอยู่ในหินใต้ผิวโลกอย่างทันทีทันใด กล่าวคือเป็นกระบวนการที่พื้นที่บนโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเด่นชัด เมื่อแรงเค้น (stress) ที่เกิดขึ้นตามรอยแตก หรือรอยเลื่อนที่เกิดขึ้นบนเปลือกโลก ภายในโลกถูกปลดปล่อยขึ้นมาสู่พื้นผิวโลกแผ่นดินไหวจากธรรมชาติเป็นธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่ง โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยในบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค (lithosphere) เรียกแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น (interplate earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า แผ่นดินไหวภายในแผ่น (intraplate earthquake)

แผ่นดินไหวจากธรรมชาติแผ่นดินไหวจากการกระทำของมนุษย์มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิด การทำเหมือง สร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนใกล้รอยเลื่อน การทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร เป็นต้นผลที่เกิดจากแผ่นดินไหวมีหลายประการ ที่สำคัญ ได้แก่ พื้นดินสั่นสะเทือน เกิดไฟไหม้ (ที่อาจมีสาเหตุมาจากท่อแก๊สแตกรั่วและไฟฟ้าลัดวงจร) แผ่นดินถล่ม (landslide) แผ่นดินเลื่อนจากกันอย่างถาวร แผ่นดินไหวระลอกหลัง (after shock) ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็กเกิดตามมาหลังจากการเกิดแผ่นดินไหวระลอกแรก บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว กล่าวได้ว่าไม่มีส่วนใดเลยที่ไม่เคยได้รับการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวแต่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นแต่ละที่อาจต่างกัน

การ สั่น สะเทือน ของ แผ่นดินไหว

ภาพถนนที่เสียหายเนื่องจากไม่ได้ออกแบบมาให้ทนต่อปรากฏการณ์แผ่นดินไหวแผ่นดินไหวและเพลทเทคโทนิกเพลทเทคโทนิก (plate tectonic) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยความไม่หยุดนิ่งของโลก กล่าวคือส่วนธรณีภาคชั้นนอกแตกออกเป็นแผ่นและเคลื่อนที่อยู่บนส่วนของเนื้อโลกส่วนบน (upper mantle) บริเวณขอบของแผ่นพบปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาหลายประการ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด การก่อเทือกเขา เป็นต้น แผ่นดินไหวที่เกิดบริเวณแนวต่อของแผ่นเปลือกโลก (plate) มีแนวเขตติดต่อกันของแผ่นสัมพันธ์กันเป็น 3 แบบ คือ แนวตะเข็บที่แยกห่างออกจากกัน (perging boundaries) ซึ่งแผ่นจะเคลื่อนออกจากกันและกัน แนวแผ่นที่ฉีกออกจากกัน (transform boundaries)

ซึ่งแผ่นเคลื่อนที่ผ่านกันและกันในแนวราบ และแนวขอบที่เคลื่อนที่เข้าหากัน (converging boundaries) ซึ่งแผ่นเคลื่อนเข้าหากันและกันรอยเลื่อน หรือ รอยเหลื่อม (fault)รอยเลื่อน หรือรอยเหลื่อม คือ รอยแตกแยกในหิน ซึ่งมีการเคลื่อนที่ของหินทั้งสองข้างโดยขนานกับระนาบรอยเลื่อน (fault plane) ลักษณะของระนาบรอยเลื่อนนี้อาจเป็นระนาบที่อยู่ในแนวดิ่งไปจนถึงแนวราบได้ ถ้าระนาบของรอยแตกมีค่าเบี่ยงไปจากแนวดิ่ง ชั้นหินที่อยู่เหนือระนาบของรอยแตก เรียกว่า หินเพดาน (hanging wall) ส่วนหินที่อยู่ด้านล่างระนาบของรอยแตกเรียกว่า หินพื้น (foot wall)การจำแนกรอยเลื่อนมีได้หลายแบบ แล้วแต่นักธรณีวิทยาจะยึดอะไรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา เช่น หากยึดการเกิดรอยเลื่อนเป็นเกณฑ์ในการจำแนกจะได้ดังนี้1. รอยเลื่อนปกติ (normal fault) เป็นรอยเลื่อนที่หินเพดานเลื่อนลง เมื่อเปรียบเทียบกับหินพื้น

การ สั่น สะเทือน ของ แผ่นดินไหว

ภาพรอยเลื่อนปกติ (normal fault)2. รอยเลื่อนย้อน (reverse fault) เป็นรอยเลื่อนที่หินเพดา เลื่อนขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับหินพื้น ถ้ารอยเลื่อนย้อนมีค่ามุมเทเท่ากับหรือน้อยกว่า 45 องศาเซลเซียส เรียกว่า รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (thrust fault)

การ สั่น สะเทือน ของ แผ่นดินไหว

รอยเลื่อนย้อน (reverse fault)3. รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) หรือลอยเลื่อนเหลื่อมข้าง (transcurrent fault) เป็นรอยเลื่อนในหินที่สองฟากของรอยเลื่อนเคลื่อนตัวในแนวราบ

การ สั่น สะเทือน ของ แผ่นดินไหว

ภาพรอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault)การเกิดรอยเลื่อนมักจะมีความสัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศเสมอ ซึ่งอาจทำให้-เปลือกโลกยกตัวสูงขึ้น ลดระดับลง หรือ เอียงไปจากแนวเดิม
- ตามแนวรอยเลื่อนมักจะมีหินที่ถูกบดอัด หรือ กรวดเหลี่ยม ซึ่งง่ายต่อการกัดกร่อนมากกว่าหินที่อยู่ข้างเคียง
- รอยเลื่อนอาจพาเอาหินพวกที่มีความทนทานน้อยมาอยู่ติดกับหินที่มีความทนทานมาก ทำให้เกิดความแตกต่างของการกัดกร่อนทำลายในบริเวณสองข้างของรอยเลื่อนศูนย์การเกิดแผ่นดินไหวคลื่นความไหวสะเทือนเป็นผลจากกระบวนการเคลื่อนที่และแยกตัวของแผ่นธรณีภาค/แผ่นเปลือกโลก ตำแหน่งที่กำเนิดคลื่น ความไหวสะเทือนใต้ผิวโลกเรียกว่าศูนย์การเกิดแผ่นดินไหว(focus)โดยที่ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือจุดโฟกัสเรียกว่าอีพิเซ็นเตอร์ (epicenter) คลื่นความไหวสะเทือนที่ออกมาจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมี 2 ประเภท คือ- คลื่นปฐมภูมิ (primary waves: P-waves) เป็นคลื่นตามยาวที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลาง โดยอนุภาคของตัวกลางนั้นเกิดการเคลื่อนไหวแบบอัดขยายในแนวเดียวกับที่คลื่นส่งผ่านไป คลื่นนี้สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส เป็นคลื่นที่สถานีวัดแรงสั่นสะเทือนสามารถรับได้ก่อนชนิดอื่น โดยมีความเร็วประมาณ 6 – 7 กิโลเมตร/วินาที

การ สั่น สะเทือน ของ แผ่นดินไหว

- คลื่นทุติยภูมิ (secondary waves: S-waves) เป็นคลื่นตามขวางที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลางโดยอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนไหวตั้งฉากกับทิศทางที่คลื่นผ่าน มีทั้งแนวตั้งและแนวนอน คลื่นชนิดนี้ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น ไม่สามารถเดินทางผ่านของเหลว คลื่นทุติยภูมิมีความเร็วประมาณ 3 – 4 กิโลเมตร/วินาที

การ สั่น สะเทือน ของ แผ่นดินไหว

การกำหนดตำแหน่งของแผ่นดินไหวและการตรวจวัดทำโดยใช้เครื่องตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวที่เรียกว่าไซสโมมิเตอร์ (seismometer) โดยข้อมูลจะถูกบันทึกลงและแปรผลเพื่อให้ทราบถึงลักษณะของวัตถุที่คลื่นเคลื่อนผ่านมา

การ สั่น สะเทือน ของ แผ่นดินไหว

แสดงศูนย์เกิดแผ่นดินไหว และคลื่นความไหวสะเทือนใต้ผิวโลกจากภาพ อธิบายได้ว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ทั้งคลื่น P และ คลื่น S จะเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งหนึ่งใต้ผิวโลก ซึ่งเรียกตำแหน่งนี้ว่าเรียกว่า จุดโฟกัส หรือ ศูนย์การเกิดแผ่นดินไหว เมื่อคลื่นทั้ง 2 ชนิดคลื่นที่ผ่านไปในชั้นหินใต้ผิวโลก อนุภาคต่างๆ ในชั้นหินที่ถูกคลื่น P กระทบจะสั่นไปมาในแนวที่คลื่นพุ่งไป ดังนั้น ชั้นหินจึงตกอยู่ในสภาพถูกอัด และขยายตัวเหมือนการยืดหดของลวดสปริงในกรณีของคลื่น S นั้น อนุภาคต่างๆ ในชั้นหินจะเคลื่อนที่ในแนวขึ้นลงที่ตั้งฉากกับทิศการพุ่งไปของคลื่น เหมือนลูกคลื่นที่เกิดจากการขยับเส้นเชือกผูกปลายขึ้นลงคลื่น P นั้น ตามปกติจะมีความเร็วมากกว่าคลื่น S ดังนั้นการวัดเวลาที่คลื่นที่ P และ S เดินทางถึงเครื่องรับสัญญาณ ซึ่งอยู่ที่ตำแหน่งต่างๆ บนผิวโลก จะทำให้นักธรณีวิทยาสามารถวิเคราะห์และรู้ได้ว่าจุดโฟกัสของการเกิดคลื่นอยู่ที่ใดคลื่น p-wave จะเดินทางไปได้ทั้งในตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ส่วนคลื่น s-wave จะเดินทางไปได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้นคลื่นพื้นผิว (surface wave) คือลักษณะที่คลื่นแผ่รังสีอยู่รอบเปลือกโลก

การ สั่น สะเทือน ของ แผ่นดินไหว

ลักษณะของคลื่นพื้นผิวที่แผ่รังสีรอบเปลือกโลกส่วนคลื่นในตัวกลาง (body wave) คือลักษณะที่คลื่นแผ่รังสีภายในเปลือกโลก

การ สั่น สะเทือน ของ แผ่นดินไหว

ลักษณะของคลื่นในตัวกลางที่แผ่รังสีภายในโลกขนาดของแผ่นดินไหวสามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัดความไหวสะเทือน (seismograph) หลักการโดยสังเขปของเครื่องมือคือ มีตัวโครงยึดติดกับพื้นดิน และมีกระดาษหมุนไปด้วยความเร็วคงที่ เมื่อแผ่นดินมีการเคลื่อนไหวสะเทือน กระดาษกราฟที่ติดอยู่กับโครงจะเคลื่อนที่ตามแผ่นดินแต่ลูกตุ้มซึ่งมีความเฉื่อยจะไม่เคลื่อนที่ตามปากกาที่ผูกติดกับลูกตุ้มก็จะเขียนกราฟลงบนกระดาษ และในขณะเดียวกันทำให้ได้กราฟแสดงความสัมพันธ์ของขนาดการเคลื่อนที่ของแผ่นดินต่อหน่วยเวลา
การ สั่น สะเทือน ของ แผ่นดินไหว

เครื่องมือวัดแผ่นดินไหวพร้อมกระดาษบันทึกเพื่อแปรผล (seismometer)การวัดแผ่นดินไหวนิยมวัดอยู่ 2 แบบ ได้แก่ การวัดขนาด (magnitude) และการวัดความรุนแรง (intensity) การวัดขนาดเป็นการวัดกำลัง หรือพลังงานที่ปลดปล่อยในการเกิดแผ่นดินไหว ส่วนการวัดความรุนแรงเป็นการวัดผลกระทบของแผ่นดินไหว ณ จุดใดจุดหนึ่งที่มีต่อคน โครงสร้างอาคาร และพื้นดิน มาตราการวัดแผ่นดินไหวมีอยู่หลายมาตรา ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่นิยมใช้ทั่วไป 3 มาตรา ได้แก่ มาตราริกเตอร์ มาตราเมอร์แคลลี และมาตราการวัดขนาดโมเมนต์

มาตราริกเตอร์เป็นการวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวได้จากการคำนวณปริมาณพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจากศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว โดยวัดจากความสูงของคลื่น (amplitude) จากเส้นไซสโมแกรม ซึ่งแอมพลิจูดยิ่งสูงเท่าไรก็เท่ากับพื้นดินสะเทือนมากเท่านั้น หรือแผ่นดินไหวรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น วิธีการนี้ชาร์ล เอฟ ริกเตอร์(Charles F. Richter) ได้คิดค้น และคำนวณออกมาเป็นสมการลอกกาลิธึม เพื่อคำนวณหาระดับขนาดต่างๆ โดยใช้หลักการจากผลบันทึกของเครื่องวัดความไหวสะเทือน และมีการปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับระยะทางจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ได้ผลลัพธ์ออกมาจนเป็นมาตราที่เรียกว่า มาตราริกเตอร์ (Richter scale) ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 0-9 มาตราที่ใช้กันทั้งสองวิธีนี้ใช้เปรียบเทียบ หรือวัดขนาดแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นตามที่ต่างๆ ได้

มาตราเมอร์แคลลี วัดจากความรู้สึกของคนร่วมกับการประเมินผล และความเสียหายของสิ่งปลูกสร้างที่เกิดขึ้นจากการเกิดแผ่นดินไหว วิธีนี้ถูกกำหนดขึ้นเป็นมาตราที่เรียกว่ามาตราเมอร์แคลลี(mercalli scale)

มาตราการวัดขนาดโมเมนต์การวัดขนาด ด้วยมาตราริกเตอร์เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่วิธีการของริกเตอร์ยังไม่แม่นตรงนักในเชิงวิทยาศาสตร์ เมื่อมีสถานีตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวมากขึ้นทั่วโลก ข้อมูลที่ได้ แสดงว่า วิธีการของริกเตอร์ใช้ได้ดีเฉพาะในช่วงความถี่และระยะทางหนึ่งเท่านั้น ใน ค.ศ. 1977ฮิรู คะนะโมะริ( Hiroo Kanamori นักธรณีฟิสิกส์ ชาวญี่ปุ่น) ได้เสนอวิธีวัดพลังงานโดยตรงจากการวัดการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อน มาตราการวัดขนาดของคะนะโมะริ เรียกว่า มาตราขนาดโมเมนต์ ( moment magnitude scale)แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว

แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือบริเวณตำแหน่งศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะอยู่ตรง- บริเวณขอบหรือรอยตะเข็บของแผ่นเปลือกโลก (แผ่นธรณีภาค) ในกรณีของประเทศไทย และสุมาตรา แนวแผ่นดินไหวโลกที่ใกล้ ๆ ได้แก่ แนวเกาะอันดามัน-นิโคบา ในมหาสมุทรอินเดีย- แนวรอยเลื่อนต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ได้แก่ แนวรอยเลื่อนมีพลังในประเทศ และแนวรอยเลื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า จีนตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - บริเวณที่มนุษย์มีกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหว เช่น การทดลองระเบิดเขื่อน บ่อน้ำมัน เป็นต้น

แนวของแผ่นดินไหวบนโลกนี้ ส่วนใหญ่จึงเกิดขึ้นตามแนวตะเข็บรอยต่อของแผ่นธรณีภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอยต่อที่เป็นการรวมตัวหรือเป็นบริเวณที่มีการมุดของแผ่นธรณีภาค ดังนั้นพื้นที่ซึ่งมีรอยเลื่อนมีพลัง (active fault) และเป็นตะเข็บรอยต่อของแผ่นธรณีภาคจะทำให้ภูมิลักษณ์เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะเมื่อเกิดแผ่นดินไหวพื้นที่จะมีการเคลื่อนที่ทั้งในแนวดิ่งและในแนวราบ เปลี่ยนสภาพหรือรูปลักษณ์ของพื้นที่ไปจากเดิม มีการเกิดรอยแตก รอยแยกบนพื้นดิน มีการเกิดแผ่นดินถล่ม (landslides) จึงทำให้หินในพื้นดิน ภูเขา พังทลายลงสู่ที่ต่ำ

สำหรับประเทศไทยซึ่งไม่ได้อยู่แนวเขตแผ่นดินไหวรุนแรง พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวจึงมาจากพื้นที่ที่อยู่ใกล้แนวรอยเลื่อนที่มีพลัง ภูมิลักษณ์ที่เกิดจากรอยเลื่อน และอาจจะเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวในอดีตของไทย ได้แก่ แนวรอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนแม่ปิง รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ และรอยเลื่อนระนอง เป็นต้นการพยากรณ์แผ่นดินไหวแผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ยังคงไม่สามารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำ ทั้งเรื่องตำแหน่ง ขนาด และเวลาเกิด ด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์เครื่องมือตรวจวัดที่มีอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ได้มีความพยายามอย่างยิ่งในการศึกษาวิเคราะห์ถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ของบริเวณแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพยากรณ์แผ่นดินไหว

คุณลักษณะทางกายภาพของเปลือกโลก ที่เปลี่ยนแปลงจากปกติก่อนเกิดแผ่นดินไหว
• แรงเครียดในเปลือกโลกที่เพิ่มขึ้น
• การเปลี่ยนแปลงสนามไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก สนามโน้มถ่วง
• การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก
• น้ำใต้ดิน (ชาวจีน สังเกต การเปลี่ยนแปลง ของน้ำในบ่อน้ำ 5 ประการ ก่อนเกิดแผ่นดินไหวได้แก่ น้ำขุ่นขึ้น มีการหมุนวนของน้ำ ระดับน้ำเปลี่ยนแปลง มีฟองอากาศ และ รสขม)
• ปริมาณก๊าซเรดอน เพิ่มขึ้น
• การส่งคลื่นวิทยุความยาวคลื่นสูงๆ

การ สั่น สะเทือน ของ แผ่นดินไหว

ตัวอย่างภาพความเสียหายจากการเกิดแผ่นดินไหวการสังเกตพฤติกรรมของสัตว์หลายชนิดที่มีการรับรู้ถึงภัยก่อนเกิดแผ่นดินไหว• แมลงสาปจำนวนมากวิ่งเพ่นพ่าน
• สุนัข เป็ด ไก่ หมู หมี ตื่นตกใจ
• หนู งู วิ่งออกมาจากรู
• ปลา กระโดดขึ้นจากผิวน้ำ ฯลฯ

ขณะเกิดแผ่นดินไหว

- ตั้งสติ อยู่ในที่ที่แข็งแรงปลอดภัย ห่างจากประตู หน้าต่าง สายไฟฟ้า เป็นต้น

- ปฏิบัติตามคำแนะนำ ข้อควรปฏิบัติของทางราชการอย่างเคร่งครัด ไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป

- ไม่ควรทำให้เกิดประกายไฟ เพราะหากมีการรั่วซึมของแก๊สหรือวัตถุไวไฟ อาจเกิดภัยพิบัติจากไฟไหม้ ไฟลวก ซ้ำซ้อนกับแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นอีก

- เปิดวิทยุรับฟังสถานการณ์ คำแนะนำคำเตือนต่าง ๆ จากทางราชการอย่างต่อเนื่อง

- ไม่ควรใช้ลิฟต์ เพราะหากไฟฟ้าดังอาจมีอันตรายจากการติดอยู่ภายใต้ลิฟต์

- มุดเข้าไปนอนใต้เตียงหรือตั่ง อย่าอยู่ใต้คานหรือที่ที่มีน้ำหนักมาก อยู่ใต้โต๊ะที่แข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งปรักหักพังร่วงหล่นลงมา

- อยู่ห่างจากสิ่งที่ไม่มั่นคงแข็งแรง ให้รีบออกจากอาคารเมื่อมีการสั่งการจากผู้ที่ควบคุมแผนป้องกันภัย หรือผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้

- หากอยู่ในรถ ให้หยุดรถจนกว่าแผ่นดินจะหยุดไหวหรือสั่นสะเทือนหลังเกิดแผ่นดินไหว

- ตรวจเช็คการบาดเจ็บ และการทำการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อให้แพทย์ได้ทำการรักษาต่อไป

- ตรวจเช็คระบบน้ำ ไฟฟ้า หากมีการรั่วซึมหรือชำรุดเสียหาย ให้ปิดวาล์ว เพื่อป้องกันน้ำท่วมเอ่อ ยกสะพานไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด หรือไฟฟ้าช็อต

- ตรวจเช็คระบบแก๊ส โดยวิธีการดมกลิ่นเท่านั้น หากพบว่ามีการรั่วซึมของแก๊ส (มีกลิ่น) ให้เปิดประตูหน้าต่าง แล้วออกจากอาคาร

- แจ้งเจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนผู้ที่รับผิดชอบได้ทราบในโอกาสต่อไป

- เปิดฟังข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำ จากทางราชการอย่างขวัญดีโดยตลอด ไม่ใช้โทรศัพท์โดยไม่จำเป็น

- อย่ากดน้ำล้างส้วม จนกว่าจะมีการตรวจเช็คระบบท่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะอาจเกิดการแตกหักของท่อในส้วม ทำให้น้ำท่วมเอ่อหรือส่งกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนา