Bluetooth 3.0 กับ 4.0 ต่างกันอย่างไร

Home » Gadgets » เข้าใจเรื่องสัญญาณ Bluetooth ก่อนเลือกซื้อหูฟังคู่ใจ

346 Views

Bluetooth 3.0 กับ 4.0 ต่างกันอย่างไร

ขึ้นชื่อว่าหูฟังบลูทูธ หลายคนเวลาเลือกซื้ออาจมองแค่คุณภาพเสียง หรือแบตเตอรี่ แต่ความเป็นจริงแล้วการจะเลือกซื้อหูฟังบลูทูธสักตัวหนึ่งต้องอย่าลืมมองเรื่องเวอร์ชั่นของบลูทูธด้วย เพราะมันคือส่วนสำคัญในการส่งสัญญาณ แล้วอย่างนี้ต้องเลือกแบบไหนล่ะ มาติดตามกันเลยครับเดี๋ยว WeMall จะเล่าให้ฟัง

ยิ่งเข้าใจความหมาย ยิ่งเลือกซื้อง่ายขึ้น

เวอร์ชั่นของหูฟังบลูทูธนั้นปัจจุบันสูงสุดที่ 5.0 แล้ว แต่ใช่ว่าคนที่อยากซื้อหูฟังบลูทูธสักตัวต้องซื้อสินค้าที่มีเทคโนโลยีสูงสุด เพราะเพียงแค่ 3.0 หรือ 4.0 ก็สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดพลังงานได้ประมาณหนึ่งแล้ว แต่ไม่นับรวมเวอร์ชั่น 1.0 กับ 2.0 นะครับ เพราะมันค่อนข้างเก่าไปหน่อย

สำหรับ Bluetooth เวอร์ชั่น 3.0 นั้น พัฒนาขึ้นใช้อย่างแพร่หลายในปี 2552 สามารถเชื่อมต่อได้ความเร็วสูงสุดที่ 25 Mbit/s และจับคู่กับอุปกรณ์ได้ไกล 10 ม. รวมถึงมีการออกแบบให้ประหยัดพลังงานได้ระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีหูฟังบลูทูธบางรุ่นยังใช้เทคโนโลยีนี้อยู่

ถัดมาที่ Bluetooth เวอร์ชั่น 4.0 ที่เพิ่มจุดเด่นเรื่องการระยะการจับคู่อุปกรณ์ที่ไกลถึง 60 ม. ส่วนความเร็วในการรับส่งข้อมูลนั้นยังใกล้เคียงรุ่นก่อน เนื่องจากถูกพัฒนาเพื่อใช้งานอย่างแพร่หลายในปี 2553 ซึ่งหูฟังบลูทูธส่วนใหญ่นั้นอยู่ในเทคโนโลยีนี้

Bluetooth 3.0 กับ 4.0 ต่างกันอย่างไร

5.0 กับอนาคตของหูฟังบลูทูธ

มาว่ากันต่อที่ Bluetooth เวอร์ชั่น 5.0 ที่เพิ่งพัฒนาเพื่อใช้งานอย่างแพร่หลายเมื่อปี 2560 และยังไม่มีอุปกรณ์ที่รองรับเทคโนโลยีนี้มากนัก แต่เชื่อว่าในอนาคตจะมีมากขึ้นแน่ๆ เพราะเวอร์ชั่นนี้สามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 50 Mbit/s และส่งสัญญาณได้ไกลกว่า 240 ม. หรือดีกว่าเทคโนโลยีเก่าเกิน 2 เท่าตัวเลยด้วย

และเมื่อประเมินดูแล้ว การเลือกซื้อหูฟังบลูทูธในแต่ละเวอร์ชั่นนั้น ย่อมเหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่นเวอร์ชั่น 3.0 นั้นอาจเหมาะกับการใช้งานที่ไม่ได้นานมาก รวมถึงไม่ได้ต้องการการส่งข้อมูลที่รวดเร็ว เช่นการสนทนาโทรศัพท์ทั้งวันเป็นต้น ส่วนถ้าอยากฟังเพลง และได้รับคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น การยอมเพิ่มเงินอีกเล็กน้อย เพื่อแลกมาด้วยหูฟังบลูทูธเวอร์ชั่น 4.0 ก็น่าจะเหมาะสมกว่า เพราะมีความสามารถเรื่องการประหยัดแบตเตอรี่ที่ดีกว่าเดิม ทำให้สามารถใช้งานได้ยาวนาน แม้จะต้องใช้พลังงานจำนวนมากก็ตาม

หากเป็นเทคโนโลยี 5.0 นั้น อาจไม่ได้เกี่ยวกับหูฟังบลูทูธเท่าไรนัก เพราะ 5.0 นั้นจะเหมาะสมกับเทคโนโลยี IoT หรือ Internet of Things ที่ต้องใช้พลังงาน การรับส่งข้อมูล และระยะทางในการรับส่งที่มากกว่า เพื่อรีดประสิทธิภาพของอุปกรณ์เชื่อมต่อเหล่านั้นออกมาได้ดีที่สุด

ดังนั้นเวลาเลือกซื้อหูฟังบลูทูธ ก็อย่าลืมมองเรื่องเวอร์ชั่นที่บริเวณข้างกล่อง หรือรายละเอียดบนเว็บไซต์ด้วย เพื่อซื้อมาใช้งานได้คุ้มค่ากับที่จ่ายเงินไปมากที่สุด ส่วนใครที่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกซื้อหูฟังบลูทูธยี่ห้อไหนดี ก็เข้ามาดูที่ wemall ได้เลยครับ เพราะเขารวมเอาไว้ให้เลือกตั้งหลากหลายยี่ห้อ คลิกได้เลยที่ >>หูฟังบลูทูธ<<

Bluetooth 3.0 กับ 4.0 ต่างกันอย่างไร

0.00 avg. rating (0% score) - 0 votes

Comments

comments

โพสโดย 13 / 02 4198 เข้าชม หูฟัง Hi-Fi ออกกำลังกาย

Bluetooth 3.0 กับ 4.0 ต่างกันอย่างไร
Bluetooth คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการเชื่อต่อของอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ และใช้ รับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ฺ (Device) ไร้สาย ในรูปแบบคลื่นวิทยุความถี่ช่วง 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ การใช้งานเทคโนโลยีบลูทธเข้ามาบทบาทในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น เพื่อเข้ามาเพิ่มความอำนวยความสะดวกต่อการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย อาทิเช่น การฟังเพลงจากหูฟังบลูทธกับสมาร์ทโฟน โดยไม่จำเป็นต้องใช้เชื่อมต่อด้วย 3.5 mm อีกต่อไป ทั้งหมดนี้ช่วยให้การใช้งานอุปกรณ์ต่างๆเป็นเรื่องง่ายกว่าเดิม!

เวอร์ชั่นของ Bluetooth

  • Bluetooth 2.0 = 2.1 Mbps
  • Bluetooth 3.0+HS = 24 Mbps
  • Bluetooth 4.0 = 24 Mbps (ประหยัดแบตเตอรี่กว่า 3.0)
  • Bluetooth 4.1 = 24Mbps
  • Bluetooth 4.2 = 42Mbps
  • Bluetooth 5.0 (เร็วกว่า 4.0 ประมาณ์2 เท่า รองรับการเชื่อมต่อที่ไกลขึ้นรองรับได้ถึง 800 ฟุต)

MP3 (.mp3) คือไฟล์เสียงดิจิตอลที่เป็นที่นิยมหรือเป็นพื้นฐานของการถอดรหัสสัญญานเสียงดิจิตัลในอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งข้อดีคือสามารถบีดอัดข้อมูลใช้พื้นที่การจัดเก็บข้อมูลที่น้อยลดแต่อาจสูญเสียข้อมูลไปบางส่วนไป (Lossy) ซึ่งไฟล์ที่ได้ก็จะมี Bitrate (บิตเรต) ต่างกัน

ความเกี่ยวข้องระหว่าง MP3 กับ Bluetooth

หากเราฟังเพลงผ่าน Bluetooth เสียงเหล่านั้นจะถูกบีดอัดซ้ำอีกครั้ง ให้เป็น MP3 ไม่ว่าไฟล์ที่คุณกำลังเล่นนั้นจะเป็นไฟล์อะไรก็ตาม เพื่อให้เสียงสามารถส่งผ่านแบบไร้สายได้ มาตราฐานนี้เรียกว่า Subband Codec (รูปแบบการถอดรหัสเสียง SBC) จะมี Bitrate 328 kbps(สำหรับสเตอริโอ)

ต่อมาก็จะเป็นเรื่อง Latency (ดีเลย์) หรือความหน่วงเสียง ใช้หน่วยเป็น ms (1 millisecond = 1/1000 วินาที) เสียงที่เราได้ยินจะผ่าน Bluetooth กระบวนการดังนี้เปิดเพลง > แปลงเป็นรหัสเสียง(SBC) > ส่งขอมูลไร้สาย > ถอดรหัสเสียง > ได้ยินเสียง(ฟัง)

ซึ่งอาจมีความหน่วงถึงประมาณ 200 ms ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมากๆ โดยปกติหากใช้เสียงผ่านสายค่า Latency ไม่ถึง 10 ms
เป็นสาเหตุที่ทำให้เวลาดูหนัง ฟังเพลง คาราโอแกะ วีดีโอ ภาพที่เราเห็นไม่ตรงกับเสียงที่ได้ยิน

เกร็ดความรู้

  • รู้หรือไม่  ไฟล์ MP3 ทั่วไปมี บิตเรต 128 Kbps และ บิตเรต มีผลต่อคุณภาพเสียง
    ยิ่งบิตเรตสูง ยิ่งมีคุณภาพเสียงที่ดี
  • อาการดีเลย์ของ Bluetooth อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ประสิทธิภาพการรองรับของอุปกรณ์ /เวอร์ชั่นของ Bluetooth / แอพที่ใช้ / สัญญาณรบกวนอื่นๆ
  • อุปกรณ์ที่มี Bluetooth เดียวกัน ไม่ได้หมายความว่าจะประสิทธิภาพเท่ากัน เพราะขึ้นอยู่กับ Hardware ของอุปกรณ์ด้วย