สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับ ประชาธิปไตย แตกต่างกันอย่างไร

วารสาร วิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

Keywords : The king’s power as the head of the government in the democratic regime, The constitutional provisions, Royal authority บทนำ� นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนธรรม) ได้อธิบายถึง ผู้ที่เป็น ประมุขของอ�ำนาจบริหารว่าเป็นบุคคลชนิดใด ถ้าเป็นพระเจ้าแผ่นดิน (กษัตริย์) ก็เรียกว่า “ราชาธิปไตย” (Monarchy) ถ้าเป็นเป็นบุคคลอื่นไม่ใช้พระเจ้าแผ่นดิน (กษัตริย์) (King) เรียกว่า “ประชาธิปไตย” 1 (Democracy) จากค�ำอธิบาย ของปรีดี พนมยงค์ ท�ำให้ทราบถึงรูปแบบการปกครองของรัฐมีประมุข อยู่ 2 รูปแบบ คือ 2 ราชอาณาจักร (Kingdom) กับ สาธารณรัฐ (Republic) ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนจะศึกษาวิเคราะห์ถึงการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขเท่านั้น และการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พบว่าในปัจจุบันจะมีการปกครองอยู่ 2 ระบอบ คือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้ 3 1. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) คือ ระบอบที่มีการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นประมุขของรัฐและ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอ�ำนาจเป็นล้นพ้น กล่าวคือ ไม่ตกอยู่ภายใต้ ข้อจ�ำกัดใด ๆ ในทางกฎหมาย พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือกฎหมายทั้งหลาย ทั้งปวง ซึ่งพระราชอ�ำนาจของพระมหากษัตริย์จึงเป็นล้นพ้นมีพระราชอ�ำนาจ ในทุกทางไม่มีข้อจ�ำกัด หากแต่จะมีข้อจ�ำกัดก็เป็นเพราะพระมหากษัตริย์ทรงจ�ำกัด 1 วรเจตน์ ภาคีรัตน์ “การปฏิวัติสยาม 2475 (ชั่วคราว) ? พระราชอ�ำนาจของพระมหากษัตริย์และอ�ำนาจ ตุลาการหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง” วารสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2553 หน้า 70 2 วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ “ทฤษฎีหลักกฎหมายมหาชน” ค�ำบรรยายในชั้นปริญญาโท สาขานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ภาคการศึกษา 1/2540 (อัดส�ำเนา) และโปรดดูรายละเอียด ในสิทธิกร ศักดิ์แสง “หลักกฎหมายมหาชน” กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์นิติธรรม, 2554 3 สิทธิกร ศักดิ์แสง “กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง” นนทบุรี : ภีมปริ้นติ้งเฮ้าส์ แอน ดีไซน์, 2551 หน้า 178-182 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 กรกฎาคม 2561 - มิถุนายน 2562 71

Made with FlippingBook

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับ ประชาธิปไตย แตกต่างกันอย่างไร

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับ ประชาธิปไตย แตกต่างกันอย่างไร
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (อังกฤษ: Absolute Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมาย กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้นจะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์ ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด

ในทางทฤษฎี กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีอำนาจทั้งหมดเหนือประชาชนและแผ่นดิน รวมทั้งเหนืออภิชนและบางครั้งก็เหนือคณะสงฆ์ด้วย ส่วนในทางปฏิบัติ กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักจะถูกจำกัดอำนาจ โดยทั่วไปโดยกลุ่มที่กล่าวมาหรือกลุ่มอื่น

กษัตริย์บางพระองค์ (เช่นจักรวรรดิเยอรมนี ค.ศ. 1871–1918) มีรัฐสภาที่ไม่มีอำนาจหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ และมีองค์กรบริหารอื่น ๆ ที่กษัตริย์สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกได้ตามต้องการ แม้จะมีผลเท่ากับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่โดยทางเทคนิคที่เป็นไปได้แล้ว นี่คือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) เนื่องจากการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายพื้นฐานของประเทศ

ประเทศที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันคือ ซาอุดีอาระเบีย บรูไน โอมาน สวาซิแลนด์ กาตาร์ รวมทั้ง นครรัฐวาติกัน ด้วย
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทย
ประเทศไทยเคยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์เด็ดขาดในการปกครองแผ่นดิน ดังคำกล่าวที่ว่า "พระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดิน กรุงสยามนี้ไม่ได้ปรากฏในกฎหมายอันหนึ่งอันใด ด้วยเหตุที่ถือว่าเป็นที่ล้นพ้น ไม่มีข้อสั่งอันใดจะเป็นผู้บังคับขัดขวางได้"
ในทัศนะของ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่าระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ของไทยนั้น ไม่ได้เป็นระบอบที่มีมาแต่สมัยโบราณ แต่เพิ่งมีมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากในรัชกาลนี้ พระองค์ทรงรวบอำนาจจากเหล่าขุนนาง ข้าราชการ ที่เคยมีอำนาจและบทบาทมากก่อนหน้านั้น มาไว้ที่ศูนย์กลางการปกครอง คือ ตัวพระองค์ และพระประยูรญาติ ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงดำรงสถานะเป็นทั้งประมุขของรัฐและประมุขของฝ่ายบริหารอย่างแท้จริง เท่ากับว่าระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ของไทยมีเพียง 3 รัชกาลเท่านั้น คือ รัชกาลที่ 5, รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7
การสิ้นสุดระบอบ
เมื่อมีการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัชกาลที่ 7 และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 แล้ว ในทางนิตินัย พระราชอำนาจที่เคยมีมาอย่างล้นพ้นมิได้ถูกจำกัดลงให้อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ เรียกขานกันต่อมาว่า " ราชาธิปไตย " ผู้ให้คำๆ จำกัดความโดย พลตำรวจเอก วิศิษฐ์ เดชกุญชร

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับ ประชาธิปไตย แตกต่างกันอย่างไร

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับ ประชาธิปไตย แตกต่างกันอย่างไร
https://th.wikipedia.org/wiki/สมบูรณาญาสิทธิราชย์

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับ ประชาธิปไตย แตกต่างกันอย่างไร