ข้อใดคือความสามารถของโปรแกรม spss for windows

บทนำ

    SPSS for Windows (Statistical Package for Social Science) เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ สาารถบันทึกและสร้างไฟล์ข้อมูลได้ และมีการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ

9.1 การใช้โปรแกรม SPSS เบื้องต้น

การใช้โปรแกรม SPSS เบื้องต้น

 โปรแกรม SPSS เป็นโปรแกรมสําเร็จรูปที่ใช้สําหรับการวิเคราะห์หาข้อมูลทางสถิติ พัฒนาโดยบริษัท SPSS Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในระยะเริ่มต้นเรียก โปรแกรม SPSSX สําหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ชนิดมินิหรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ต่อมาเมื่อไมโครคอมพิวเตอร์ได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น จึงได้มี การพัฒนาโปรแกรม SPSS เป็น SPSS/PC+ ทํางานภายใต้ระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า DOS (Disk Operating System) ซึ่งใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 

    ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาระบบปฏิบัติการบนไมโครคอมพิวเตอร์ ให้สามารถติดต่อกับผู้ใช้ในระบบ กราฟฟากได้ซึ่งเรียกระบบนี้ว่า Microsoft Windows จึงได้มีการพัฒนาโปรแกรม SPSS สําหรับใช้งานบน Windows ขึ้น และเรียกว่า SPSS for Windows โดยในเวอร์ชัน 6.0 ได้ออกแบบมาใช้กับระบบปฏิบัติการ Windows 3.11 ต่อมาเมื่อมีการใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 95, 98 Windows NT Windows 2000 และ Windows XP จึงได้มีการปรับปรุงโปรแกรม SPSS for Windows เป็นเวอร์ชัน 7… 8… 9… 10... เรื่อยมา ซึ่ง ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเวอร์ชันแต่ละครั้ง ได้มีการปรับปรุงรูปแบบการใช้งานเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ สะดวกยิ่งขึ้นกว่าเดิม มีการเพิ่มความสามารถในการวิเคราะห์หาข้อมูลทางสถิติ ความสามารถในการจัดทํารายงานการวิเคราะห์ข้อมูล การนําเสนอข้อมูลในรูปแบบของกราฟ และยังปรับปรุงความสามารถในการ จัดการกับข้อมูลในลักษณะต่าง ๆ เช่น การสร้างแฟ้มข้อมูล การกําหนดและการสร้างตัวแปร การปรับปรุง แก้ไขข้อมูล ให้ผู้ใช้ทํางานได้ง่ายขึ้น ในการใช้โปรแกรม SPSS ผู้ใช้สามารถทําการเลือกใช้งานจากระบบเมนู ในรูปแบบมาตรฐานของโปรแกรมภายใต้ Microsoft Windows หรือเลือกใช้งานในลักษณะการเขียนโปรแกรม คําสั่งเช่นเดียวกับการใช้งาน SPSS/PC+ ใน DOS ก็ได้นอกจากนี้โปรแกรม SPSS for Windows ยังอนุญาต ให้ผู้ใช้ทําการบันทึกขั้นตอนการทํางานต่าง ๆ เป็นรูปแบบคําสั่งสําหรับการใช้งานครั้งต่อไป เพื่อให้เกิดความ สะดวกรวดเร็วในการทํางานได้อีกด้วย 

ข้อตกลงเบื้องต้น 

- สําหรับการใช้งานโปรแกรม SPSS for Windows ที่กล่าวถึงในเอกสารชุดนี้จะอธิบายการใช้งานโปรแกรม SPSS for Windows version 11.5 เป็นหลัก โดยจะขอเรียกย่อ ๆ ว่า SPSS และเนื่องจากโปรแกรม SPSS for Windows version 11.5 สามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการ Windows 98 ขึ้นไป ดังนั้นจะ ขอเรียกโดยรวมว่า Windows 

- รูปภาพ และผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่แสดงในหนังสือเล่มนี้เกิดจากการใช้งาน SPSS for Windows version 11.5 บนระบบปฏิบัติการ WindowsXP ซึ่งจะมีหน้าตาคล้ายคลึงกันกับการใช้งานบน Windows อื่นๆ 

- สําหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้การใช้โปรแกรม SPSS นี้ควรจะมีประสบการณ์ในการใช้งาน Windows มาบ้าง พอสมควร และควรมีความรู้ในเรื่องสถิติและการวิจัยบ้าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น

ความสามารถของโปรแกรม  SPSS  ชุดพื้นฐาน 

โปรแกรม  SPSS (Statistical Package for the Social Sciences)  เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่มีชื่อเสียงใช้กันอย่างแพร่หลาย  จัดเป็นโปรแกรมทางสถิติขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาหลายรุ่น  โปรแกรม SPSS มีความสามารถที่จัดแบ่งได้  2  ประเภทใหญ่ๆ  ดังนี้  (ศิริชัย พงษ์วิชัย, 2538, หน้า 4-5)

 1. ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคทางสถิติ

 2.  ความสามารถในการจัดการกับข้อมูล และผลลัพธ์ ในรูปของตารางและกราฟ

ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคทางสถิติ

การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคทางสถิติเบื้องต้น  เช่น  ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าฐานนิยม  ค่าแสดงตำแหน่งของข้อมูล  เช่น  ควอไทล์  การนำเสนอข้อมูลในรูปของกราฟ  การแจกแจงความถี่ในรูปของตาราง  การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ  Multiple Response 

การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคทางสถิติขั้นต้น  ที่ใช้ในการสรุปผลข้อมูลต่อไปนี้ ค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีของ  t-test χ2-test   F-test  ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of variance) ทั้งแบบทางเดียว แบบหลายทาง การทดสอบแบบจับคู่พหุคูณ การตรวจสอบ และหาค่าความสัมพันธ์ ด้วย χ2-test,Pearson Correlation, Speaman Rank Test ฯลฯ  การวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตร  (Linear Regression)  และการวิเคราะห์การถดถอยแบบไม่ใช่เส้นตรง (Non-Linear Regression)

การทดสอบด้วยวิธีนอนพาราเมตริก (Non-parametric) เช่น Kolmogorov – Smirnov, Mann – Whitney test, Friedman test ฯลฯ

การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคทางสถิติขั้นสูงที่ใช้ในการสรุปผลข้อมูล ซึ่งประกอบเทคนิคต่าง ๆ เช่น Factor Analysis, Discriminant Analysis, Cluster Analysis ฯลฯ

ความสามารถในการจัดการข้อมูล และผลลัพธ์

เป็นความสามารถที่จะดำเนินการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลในลักษณะต่าง ๆ ต่อไปนี้

 -การเปลี่ยนรูปข้อมูล (Data Transformation)

 -การเลือกข้อมูล (Select Case)

 -การจัดการกับไฟล์ข้อมูล

 -การดำเนินการกับข้อมูลในลักษณะอื่น ๆ 

การดำเนินการกับผลลัพธ์ ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS นอกจากใช้ คุณสมบัติทั่ว ๆ ไป ของวินโดวส์ คือ คัดลอก ย้าย และลบได้แล้ว ผู้ใช้ยังสามารถดำเนินการส่งผลลัพธ์ไปใช้ในโปรแกรมอื่น ๆ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แบบ Text แบบ Graphics แบบ HTMLวินโดวส์ที่มีอยู่ในโปรแกรม SPSS

ขั้นที่ 1. เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ รอจนจอภาพขึ้น Icon ของโปรแกรมต่างๆ ที่มีในคอมพิวเตอร์ขณะนั้น 

 

ข้อใดคือความสามารถของโปรแกรม spss for windows

ขั้นที่ 2. เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่Start จะได้เมนูย่อยเป็นดังนี้ 

ข้อใดคือความสามารถของโปรแกรม spss for windows

ขั้นที่ 3. คลิกที่Programs จะได้เมนูย่อยเป็นดังนี้

ข้อใดคือความสามารถของโปรแกรม spss for windows

9.2 ประเภทของ Window ของโปรแกรม SPSS

ประเภทของ Window ของโปรแกรม SPSS

    โปรแกรม SPSS (Statistical Package for the Social Science for Windows) เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูง ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ผู้ใช้โปรแกรมสามารถวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติประเภทต่าง ๆ และแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกมาในรูปของตาราง หรือแผนภูมิชนิดต่าง ๆ ได้ทั้งแบบ ๒ มิติ และ ๓ มิติ การใช้งานโปรแกรมไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว แต่ก็ยังมีคนอยู่จำนวนไม่น้อยที่ยังมีแนวคิดที่ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้ความรู้ทางสถิติเป็นอย่างดีบ้าง โอกาสในการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานค่อนข้างน้อยบ้าง แต่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากการใช้โปรแกรม SPSS ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางสถิติเป็นอย่างดีเสมอไป แต่ขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น เช่น ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วการใช้งานโปรแกรม SPSS มักจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัย แต่ก็ไม่เสมอไป กล่าวคือ SPSS สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี เช่น การทำบัญชีและคำนวณรายรับรายจ่ายในครอบครัว ใช้สำหรับการวิเคราะห์เพื่อประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงาน วิเคราะห์ทัศนคติ และความพึงพอใจต่อสิ่งต่าง ๆ นอกจากนี้ SPSS ยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือบุคคลในระดับอื่น ๆ อยู่ที่ว่าจะรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพดังกล่าวนั้นอย่างไร

ประเภทของ Window - ของโปรแกรม SPSS

โปรแกรม SPSS for Windows ประกอบด้วย Window ต่างงๆดังนี้

   1) SPSS Data Editor - Variable View

    2) SPSS Data Editor - Data View

    3) Output - SPSS Viewer

    4) Draft Menus Window

    5) Chart Editor Window

    6) Pivot Table Editor Window

    7) Script Editor Window

    8) Synlax Editor Window

1. SPSS Data Editor - Variable View

    SPSS Data Editor เป็น Window สําหรับเก็บแฟ้มข้อมูลที่จะนํามาวิเคราะห์้วยโปรแกรม SPSS ซึ่งผู้ใช้ อาจจะสร้างแฟ้มข้อมูลใหม่ หรือนําข้อมูลที่สร้างจากโปรแกรมอื่นๆ เรียกเข้ามาไวใน Data Editor แล้วใช้งาน ต่อไป Data Editor จะเป็นได้ครั้งละ 1 Window เท่านั้น และมีการแสดงลักษณะของแฟ้มข้อมูล 2 แบบคือ Data View และ Variable View ้อควรทราบเกี่ยวกับ SPSS Data Editor ในส่วนการทางานของ  Data View

2.SPSS Data Editor - Data View

    เป็นหน้าต่างสําหรับใช้แสดงผลลัพธ์และรายงานผลการ วิเคราะห์ข้อมูล เมื่อมีการสั่งวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการแสดงกราฟต่าง ๆ เมื่อมีการสร้างกราฟใน กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล

3.Output - SPSS Viewer

     เป็นหน้าต่างที่ใช้สําหรับแก้ไขผลการวิเคราะห์จากหน้าต่าง Output Navigator ใน ส่วนที่ไม่ใช้ตาราง

4.Draft Menus Window

    กรณีไม่ต้องการให้ผลลัพธ์การวิเคราะห์อยู่ในรูป Pivot table แต่ต้องการให้อยู่ในรูปข้อความ (text) ผู้ใช้สามารถกำหนดให้ Draft Viewer แสดงผลลัพธ์ลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเปิด Draft Viewer ได้หลาย window  ในเวลาเดียวกัน โดยแต่ละ Draft Viewer จะมีชื่อ Draft1,Draft2….. ตามลำดับแต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนชื่อให้แก่ Window ดังกล่าวได้โดยจะมีส่วนขยายเป็น .rtf

5.Chart Editor Window

     เป็น window ใช้แก้ไข Chart ชนิด high-resolution ซึ่งผู้ใช้สามารถแก้ไขในลักษณะเปลี่ยนสีเปลี่ยนรูปแบบหรือขนาดตักอักษร สลับระว่างแกนตั้งกับแกนนอน หมุน 3-Dscatterplot ตลอดจนเปลี่ยนชนิดของ Chart

6.Pivot Table Editor Window

     ถ้าผลลัพธ์การวิเคราะห์อยู่ในรูป pivot table โดยอาศัย Pivot Table Editor ผู้ใช้สามารถปรับแต่งผลลัพธ์การวิเคราะห์ในลักษณะ แก้ไขข้อความ หมุนข้อมูลระหว่างแถวและสดมภ์ เปลี่ยนสี เพิ่มเติมมิติต่าง ๆ ของตาราง ตลอดจนซ่อนหรือแสดงบางผลลัพธ์การวิเคราะห์ตามต้องการทั้งนี้ผู้ใช้สามารถ เปิด Pivot Table Editor ได้หลาย window ในเวลาเดียวกัน โดยแต่ละ Pivot Table Editor  จะได้ชื่อว่า table1,table2…..ตามลำดับ อนึ่ง ผลลัพธ์การวิเคราะห์ที่อยู่ในรูป pivot table  ที่ถูกปรับแต่งแล้วจะแสดงใน Viewer ดังเดิม

7.Script Editor Window

     เป็น Window สำหรับสร้างหรือแก้ไข basic script ผู้ใช้สามารถเปิด Script Editor ได้มากกว่าหนึ่ง window ในเวลาเดียวกัน โดยแต่ละ Script Editor จะมีชื่อ Script1,Script2,… ตามลำดับ แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนชื่อให้แก่ window ดังกล่าวได้ซึ่งจะมีส่วนขยายเป็น .sbs

8.Synlax Editor Window

    เป็น window สำหรับสร้างแฟ้มคำสั่งต่างๆ ของ SPSS 14.0  for windows ที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลซึ่งเกิดจากผู้ใช้คลิกที่ปุ่ม Paste ในกรอบคำสั่งของแต่ละคำสั่ง ผู้ใช้สามารถเปิด Syntax Editor ได้มากกว่าหนึ่ง window ในเวลาเดียวกัน โดยแต่ละ Syntax Editor จะมีชื่อ Syntax 1,Syntax2 ตามลำดับ แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนชื่อให้แก่ window ดังกล่าวได้ ซึ่งจะมีส่วนขยายเป็น .sps

ข้อใดคือความสามารถของโปรแกรม spss for windows

 9.3 เมนู (Menus) ของโปรแกรม SPSS

เมนู (Menus) ของโปรแกรม SPSS

    การทำงานของโปรแกรม SPSS เริ่มต้นด้วยการเลือกเมนู โดยแต่ละหน้าจอมี Menu Bar  ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งเลือกใช้งาน แต่จะมีคำสั่ง 2 คำสั่ง คือ Analyst และ Graphs ที่อยู่ในทุก ๆ หน้าจอเพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับเมนูคำสั่งในแต่ละหน้าจอมีดันี้
        ● Data Editor Menus
 ในหน้าจอของ Data Editor Menus มีคำสั่งต่าง ๆ ดังนี้
        File   เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้เปิด สร้าง หรือบันทึกไฟล์ข้อมูล อ่านไฟล์ข้อมูลที่สร้างโดยโปรแกรมอื่น ๆ เช่น Microsoft Excel, Microsoft Access
        Edit   เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้แก้ไข คัดลอก ตัด หรือค้นหาข้อมูล
View เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้ Customize toolbar, Status bar, Font และ Label
        Data  เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้ในการเปลื่ยนแปลงไฟล์ข้อมูล การรวมไฟล์ การสร้างเซตย่อยของๆฟล์เพื่อการวิเราะห์ข้อมูล การเพิ่มตัวแปร การเพิ่มข้อมูลการเรืยงลำดับข้อมูล การแยกไฟล์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว ไม่มีผลต่อไฟล์ข้อมูลเดิม ยกเว็นมีการสั่งให้บันทึกการเปลี่ยนแปลงนั้น
        Transform  เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงตัวแปรของไฟล์ข้อมูล คำนวณค่าตัวแปรใหม่โดยใช้ฟังก์ชันของตัวแปรเดิม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนชั่วคราว ไม่มีผลต่อไฟล์ข้อมูลเดิม ยกเว้นมีการสั่งให้บันทึกการเปลี่ยนแปลงนั้น
         Analyze  เป็นเมนูคำสั่งที่ประกอบด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสิติ เช่น การสร้างรายงาน   การหาค่าสถิติเบื้องต้น การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย การหาความสัมพันธ์ของข้อมูล
         Graphs เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้ในการสร้างกราฟประเภทต่างๆ
         Utilities เป็นเมนูคำสั่งที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวแปรในไฟล์ข้อมูลที่ใช้งานอยู่
         Window เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้ในการจัดเลือก และควบคุม window โดยใช้ window menu ในการสลับ SPSS windowหรือ minimize SPSS window ที่เปิดไว้ทุก window
          Help     เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้เชื่อมต่อกับ SPSS Internet Home Page และอธิบายความหมายของคำสั่งต่าง ๆ ที่มีใช้ในโปรแกรม SPSS

● Output – SPSS Viewer
 หน้าจอ Viewer เป็นหน้าจอแสดง Output จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ มีคำสั่งต่าง ๆ ดังนี้
          File  เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้เปิด บันทึก สร้าง และพิมพ์ไฟล์ข้อมูล
          Edit, View  การทำงานเหมือนใน Data Editor Menus
          Insert   เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้เพิ่ม/แทรก page bread, title, title, chart, graph, text file
          Format เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้เปลี่ยน alignment ของ output ที่เลือก
         Analyze, Graphs,   การทำงานเหมือนในData Editor   Menus
         Utilities, Windows,
 Help

 ● Draft Menus
      หน้าจอ Draft  Viewer เป็นหน้าจอแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ในรูป Draft ซึ่งการเปิด Draft viewer window ใช้คำสั่ง file →New → Draft output ซึ่งมีคำสั่งต่างๆ ดังนี้
          File  เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้เปิด บันทึ สร้าง และพิมพ์ไฟล์ข้อมูล Syntax output, Draft output
          Edit, View, Insert  การทำงานเหมือนใน Output – SPSS   Viewer
          Format, Analyze,   การทำงานเหมือนในData Editor Menus
   Graphs, Utilities,
   Window, Help

●  Pivot Table Editor Menus
            การเปิด Pivot Table Editor Menus จะต้องคลิก 2 ครั้งที่ตาราง (Pivot Table) ใน Output ทำให้ได้ Pivot Table Editor แทน Output viewer menu ซึ่งมีคำสั่งต่าง ๆ ดังนี้
           Pivot  ใช้สลับที่ระหว่างผลลัพธ์ใน  Rowและ Column ย้าย Layer ในMultidimensional pivot table
           Format ใช้แก้ไขตาราง แก้ไขรูปแบบตาราง เปลี่ยนตัวอักษร ความกว้าง ของ Cell
           File, Edit, Analyze, การทำงานเหมือนใน Output – SPSS Viewer
           Graph, Utilities

●  Chart Editor Menus
           การเปิด Chart Editor Menus ทำได้โดยการคลิก 2 ครั้งที่ Chart ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากคำสั่ง Graphs ซึ่งมีคำสั่งต่าง ๆ ดังนี้
           Pivot  ใช้สลับที่ระหว่างผลลัพธ์ใน   Row   และ   Column ย้าย Layer ใน Multidimensional pivot table
           Edit   ใช้คัดลอก Chart ไปยังโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ และการ   เปลี่ยนแปลง Option setting
   Gallery  ใช้เปลี่ยนชนิดของ Chart
          Chart    ใช้เปลี่ยนแปลงแก้ไข Layout และ Label ของ Chart
          Series   ใช้เลือก Data series และ Categories เพื่อนำมาแสดงหรือซ่อน และใช้สลับที่ข้อมูลสำหรับ Bar, Line และ Area chart ผู้ใช้สามารถเลือกแต่ละ Series ที่จะแสดงในกราฟ
          Format ใช้เลือกสี แบบของเส้น แบบของ Bar Label  ตัวอักษร และขนาดของตัวอักษร
   File, Analyze, การทำงานเหมือนใน Output – SPSS Viewer
          Graphs, Help

●  Text Output Editor Menus
การเปิด Text   Output  Editor Menus ทำได้โดยการคลิก 2 ครั้งที่ Output ที่อยู่ในรูป Text ซึ่งมีคำสั่งต่าง ๆ ดังนี้
 File, Edit, View,  การทำงานเหมือนใน Output – SPSS Viewer
         Analyze, Graphs,
 Utilities
         Graphs, Utilities, การทำงานเหมือนใน Output – SPSS Viewer
 Window, Help

●  Syntax Editor Menus
 เป็นหน้าจอที่เก็บคำสั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเมื่อเลือกวิธีเคราะห์ให้ปุ่ม Paste ซึ่งมีคำสั่งต่าง ๆ ดังนี้
 File, Edit, View,  การทำงานเหมือนใน Output – SPSS Viewer
 Analyze, Graphs,
 Utilities
        Run เป็นคำสั่งที่ให้ทำงานตามคำสั่งในไฟลื Syntax  ทั้งหมด  หรือบางส่วนของไฟล์ Syntax

●  Script Editor Menus
 File, Edit, View การทำงานเหมือนใน Output –SPSS Viewer
        Script   ใช้สร้าง Subroutines และ Functions ใหม่ เปลี่ยน Font ของ Script
        Debug   ใช้ Debug Basic Scripts และ Access Object Browser
        Analyze, Graphs,  การทำงานเหมือนใน Output – SPSS Viewer
 Utilities, Window
        Help

 9.4 คำสั่ง Help

คำสั่ง Help

ทุก ๆ window ของโปรแกรม SPSSจะมีเมนูหรือคำสั่ง Help อยู่บน Menu bar ซึ่งคำสั่ง Help จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจถึงการใช้โปรแกรม SPSSและอธิบายเทคนิคทางสถิติตามที่ผู้ใช้ต้องการโดยใช้คำสั่ง  Help --> Topics

ความสามารถของโปรแกรม SPSS for Windows มีอะไร

โปรแกรม SPSS for Windows สามารถรับข้อมูลที่สร้างจากโปรแกรมประเภทต่าง ๆ ได้เช่น Microsof Excel, MATHCAD, Microsoft Word ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกค าสั่งที่ เกิดจากขั้นตอนการท างานตามล าดับต่าง ๆ จากการใช้เมาส์เลือกเมนูของโปรแกรมที่มีอยู่มาบันทึก เป็นชุดค าสั่ง (Command Language) เพื่อประโยชน์ในการเรียกค าสั่งเหล่านี้ ...

โปรแกรม SPSS for Windows ย่อมาจากข้อใด

การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS(Statistics Package for Social Sciences) วิธีการลงโปรแกรม SPSS 16.0.

โปรแกรม SPSS ทำอะไรได้บ้าง

SPSS เป็นเครืองมือสําหรับจัดกระทําข้อมูล สามารถนําข้อมูลจาก แฟ้มข้อมูลมาประมวลผลด้วยตาราง สร้างกราฟ และวิเคราะห์ทางสถิติที หลากหลาย ถ้าผู้วิเคราะห์ต้องการใช้โปรแกรม SPSS ดําเนินการจัดการกับข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิเคราะห์จะต้องเขียน โปรแกรมคําสังเพือสังให้โปรแกรม SPSS กระทําตามทีผู้ ...

ส่วนประกอบของโปรแกรม SPSS for Windows มีทั้งหมดกี่ส่วน

11 ส่วนประกอบของ SPSS Data Editor Window Syntax Editor Window. Output Window Script Window. 12 ส่วนประกอบของ SPSS Sheet. Data Editor Window เป็นหน้าต่างที่ใช้ป้อนข้อมูล และสั่งให้คำนวณค่าสถิติ ลักษณะเป็น Work Sheet ประกอบด้วย Sheet Variable View Sheet Data View.