แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีดุลยภาพ 3 ประการ คือ อะไร

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีดุลยภาพ 3 ประการ คือ อะไร

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีดุลยภาพ 3 ประการ คือ อะไร
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีดุลยภาพ 3 ประการ คือ อะไร
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีดุลยภาพ 3 ประการ คือ อะไร
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีดุลยภาพ 3 ประการ คือ อะไร
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีดุลยภาพ 3 ประการ คือ อะไร
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีดุลยภาพ 3 ประการ คือ อะไร
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีดุลยภาพ 3 ประการ คือ อะไร

แผนพัฒนางานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2545-2549)

  1. หน้าหลัก
  2. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารสป.พม.
  3. ผลการดำเนินงานใน สป.พม.
  4. Master Plan
  5. แผนพัฒนางานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2545-2549)

ภาคผนวก 1 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)

Admin / 26/06/2556 / 23033 / พิมพ์หน้านี้ / 0


ภาคผนวก 1

      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545 - 2549) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานสวัสดิการ สังคม และสังคมสงเคราะห์ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545 - 2549) เป็นแผนที่ ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ ให้เป็นไปในทางสาย กลาง เพื่อให้มีการพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพ และยั่งยืน

วิสัยทัศน์ร่วม

  1. จุดมุ่งหมายและค่านิยมร่วม มุ่งเน้นให้เกิด "การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย" โดยให้ ความสำคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง ของการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในสังคมมีความสุขถ้วนหน้า สามารถพึ่งตนเองอย่างมีภูมิคุ้มกันที่ดี โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นไทย มีการปรับเปลี่ยน กระบวนการคิด ทัศนคติ และกระบวนการทำงาน โดยยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญานำทางเพื่อให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง ระบบบริหารจัดการ ประเทศ ที่มุ่งสู่ประสิทธิภาพ คุณภาพ และก้าวตามโลกได้อย่างรู้เท่าทัน

  2. สังคมไทยที่พึงปรารถนา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างคุณค่าที่ดีในสังคมไทยบนพื้นฐานของการ อนุรักษ์ วัฒนธรรม และเอกลักษณ์ ของความเป็นไทย จึงได้กำหนดสังคมที่พึงประสงค์ โดยมุ่งพัฒนาสู่ "สังคมที่ เข้มแข็งและมีดุลยภาพ" ใน 3 ด้าน คือ สังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญา การเรียนรู้ สังคมสมานฉันท์ และเอื้อ อาทรต่อกัน

  3. วิสัยทัศน์ร่วมการพัฒนาประเทศไทยจะยึดหลัก "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ให้การพัฒนาอยู่บน พื้นฐานของความสมดุลพอดี และความพอประมาณอย่างมีเหตุผลนำไปสู่สังคมทีมีคุณภาพทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง สามารถพึ่งตนเอง มีภูมิคุ้มกัน และรู้เท่าทันโลก คนไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาและรู้จักเรียนรู้ ต่อเนื่อง ตลอดชีวิต เป็นคนดี มีคุณธรรม และซื่อสัตย์สุจริต อยู่ในสังคมแห่งภูมิปัญญา และการเรียนรู้ สามารถรักษาภูมิ ปัญญาท้องถิ่นควบคู่ไปกับการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ดำรงไว้ซึ่งคุณธรรม และคุณค่า ของสังคมไทย ที่มีความสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน อันจะเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล มีคุณภาพ และยั่งยืน สำหรับแนวทางการพัฒนางานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ จะอยู่ในส่วนที่การเสริมสร้างฐานราก ของ สังคมให้เข้มแข็ง และยุทธศาสตร์ การพัฒนาคุณภาพคน และการคุ้มครองทางสังคม โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

     การเสริมสร้างฐานรากของสังคมให้เข้มแข็ง การพัฒนาและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ฐานรากของ สังคมมีคุณภาพ และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในระยะ ที่ผ่านมา ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ส่งผลให้คนไทยจำนวน มากยังขาดภูมิคุ้มกันและไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากกระแสโลกาภิวัตน์ และ เศรษฐกิจยุคใหม่ ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งขาดโอกาสในการเข้าถึงและไม่ได้รับการคุ้มครอง จากหลักประกัน ความมั่นคงทางสังคมที่มีอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจน และผู้ด้อยโอกาส ความเหลี่ยมล้ำระหว่างเมืองและชนบท ขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากการจัดการจัดพื้นที่แบบแยกส่วนการพัฒนาเมืองและชนบทออกจากกัน ทำให้การเติบโต ของเมืองไม่ได้ เกื้อหนุน การพัฒนาชนบทเท่าที่ควร ขณะเดียวกัน ปัญหาสังคมที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างสำคัญ ระดับชาติ ทั้งปัญหา ยาเสพติด ความไม่ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน และการทุจริตประพฤติมิชอบมีแนวโน้ม ทวีความรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งปัญหาความเสื่อมถอยของเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยที่กระทบต่อความสามัคคีของ คนในชาติ ขณะที่ทรัพย์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่อยหรอและเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็วภายใต้ การจัดการฟื้นฟู บูรณะ ที่ทำได้ค่อนข้างจำกัด ปัญหาต่างๆ ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความอยู่ดีมีสุขของประชาชน รวมทั้ง เป็นปัจจัยบั่นทอนความเข็มแข็ง ฐานรากของสังคมไทยอย่างมาก ดังนั้น การเสริมสร้างของสังคมให้ เข็มแข็ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลมีคุณภาพและยั่งยืนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จึงต้องให้ความสำคัญกับ การพัฒนาคนไทยให้เป็นคนดีมีคุณภาพ มีความพร้อมที่จะรับกระแสการเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่าง รู้เท่าทันบนพื้นฐานของความเป็นไทย และการดำเนินวิถีชีวิตในทางสายกลาง โดยยึดหลักความพอประมาณความ มีเหตุผล มีความอดทน ขยันหมั่นเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ อีกทั้งมีจิตสำนึกยึดมั่นในคุณธรรม ความ ซื่อสัตย์สุจริต ความสามัคคี และความรักชาติ ขณะเดียวกันต้องพัฒนาสภาพแวดล้อมรอบตัวคนให้เกื้อหนุนการ พัฒนา โดยเชื่อมโยงการพัฒนาชนบทและเมือง ให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่ออำนวยประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ และช่วยแก้ปัญหาความยากของประเทศ รวมทั้ง ส่งเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่ในการเตรียมประเทศ ไทย เป็นประตูเศรษฐกิจ ของภูมิภาคที่เชื่อมโยงกับตลาดโลก นอกจากนี้ จะต้องสร้างความสมดุลระหว่างการ พัฒนาเศรษฐกิจกับการจัดการทางด้านทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีการใช้ประโยชน์ มีการอนุรักษ์ฟื้นฟู และมีการควบคุมดูแลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ ด้วย ทั้งนี้ โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาใน ๓ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพคนและการคุ้มครอง ทางสังคม การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ในการพัฒนาคุณภาพคน และการคุ้มครองทางสังคมต้องมุ่งเน้นการเสริมสร้างคนไทย ให้มี คุณภาพ เป็นคนเก่ง คนดี มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถปรับตัวรู้เท่าทันการ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม โดยมีการพัฒนาคุณภาพในทุกมิติทั้งด้านสุขภาพ การศึกษา การเรียนรู้ และ การพัฒนาทักษะฝีมือ ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคงทางสังคมให้ครอบคลุมประชาชนทุกคน ตลอดทุกช่วงวัย โดยเฉพาะการคุ้มครองและข่วยเหลือกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสให้สามารถดำรงชีวิตได้ อย่างเหมาะสมตามอัตภาพ สามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว รวมทั้งการสร้างให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชนโดยเฉพาะการเร่งรัดป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติด และอาชญากรรมอย่างจริงจัง ขณะเดียวกัน ต้องมีการปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน โดยมีการประสานเชื่อมโยงการ พัฒนาชนบท และเมืองให้เกื้อกูลซึ่งกันและกัน นำไปสู่การกระจายโอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ช่วยลดความยากจน และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมเท่าเทียมกันของประชาชนในทุกพื้นที่ มีการปรับแนวคิดการพัฒนา มุ่งให้คนในพื้นที่เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในสังคม โดยอาศัยความ เข็มแข็งของชุมชนฐานราก ศักยภาพของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ของชุมชนทั้งในชนบทและเมือง ควบคู่กับการพัฒนาเมืองและชนบท ให้สงบ สะดวก สะอาด ปลอดภัย มีระเบียบวินัย เพื่อนำไปสู่ความน่าอยู่มากขึ้น รวมทั้งสร้างความเชื่อมโยงของการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ให้เป็นรากฐานการลงทุนทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอต่อการนำประเทศ ไปสู่การเป็นประตูเศรษฐกิจของภูมิภาคที่เชื่อมโยงกับตลาดโลกมากขึ้นด้วยสิ่งสำคัญ อีกประการหนึ่ง คือ ต้องมีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพโดยให้ความ สำคัญกับการกำกับ ควบคุมและชี้แนะการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด คุ้มค่าและสอดคล้องกับศักยภาพ ที่มีอยู่มีการสร้าง จิตสำนึก ทางด้านสิ่งแวดล้อม ให้แก่สาธารณชนอย่างทั่วถึงในทุกระดับ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและลดผลกระทบด่านสิ่งแวดล้อมโดยผ่านกระบวนการ มีส่วนร่วม ของประชาชน ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการสร้างเครือข่ายการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ระดับพื้นที่ถึงระดับ ชาติ รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และมาตรการทางสังคมในการ จัดการทรัพยกร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการใช้ประโยชน์ไดอย่างยั่งยืนในระยะยาว
     ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและการคุ้มครองทางสังคม การพัฒนาคนและสังคมในช่วงที่ผ่านมาส่วน ใหญ่เป็นบทบาทของภาครัฐที่เน้นการทำงานเชิงตั้งรับเพื่อฟื้นฟู และแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น และมุ่งขยาย บริการทางสังคม ให้กระจายครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง ทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง แต่ยังไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเชิงโครงสร้างที่เป็น จุดอ่อนของการพัฒนาหลายประการ อาทิ ภาครัฐมีข้อจำกัดในเรื่องทรัพยากรและการบริหารจัดการที่ไม่สามารถ สนองตอบสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงที การจัดสรรเงินลงทุนเพื่อการพัฒนายังเน้นด้านกายภาพมาก กว่าการพัฒนาคุณภาพคน ส่งผลให้คนไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิทยาการใหม่ๆ อย่างรู้เท่าทันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กระแสโลกาภิวัตน์และ เศรษฐกิจยุคใหม่มีผลกระทบต่อประชาคมโลกอย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกัน ปัญหาสังคมที่มีความเด่นชัด คือ คนไทยยังมีการว่างงานอยู่ในระดับสูงคนไทยบางกลุ่มขาดโอกาส ในการเข้าถึง และไม่ได้รับการคุ้มครองจากหลัก ประกันความมั่นคงทางสังคมที่มีอยู่อย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะในกลุ่มคนยากจน และผู้ด้อยโอกาส ขณะเดียวกัน ปัญหาความรุนแรง และเลือกปฏิบัติต่อเด็ก สตรีและผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งปัญหายาเสพติดและความไม่ปลอดภัยใน ชีวิตและทรัพยกรมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งกระทบต่อ คุณภาพชีวิต และความอยู่ดีมีสุขของประชาชน นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเชิงโครงสร้างด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา ความยากจน ปัญหาการ ทุจริต ประพฤติมิชอบ รวมทั้งปัญหาความเสื่อมถอยของเอกลักษณ์วัฒนธรรม ค่านิยมความเป็นไทย ความสามัคคี และความรักชาติ อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยเงื่อนไขที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาและสังคมหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นบท บัญญัติรัฐธรรมนูญ การปฏิรูปการศึกษาและการจัดทำกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นความ เข้มแข็งของประชาสังคม รวมทั้งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ล้วนแต่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้โอกาส การพัฒนาศักยภาพคนและการสร้างระบบการคุ้มครองทางสังคมมีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น แนวทางการพัฒนา คุณภาพคนและการคุ้มครองทางสังคมจะต้องคำนึงการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาผสมผสานกับจุดเด่น ของสังคมไทย ที่มีความเปิดกว้าง และยืดหยุ่นบนพื้นฐานวัฒนธรรมช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกัน และกันโดยเน้นการ ปรับปรุงและกระบวนการและกลไก เพื่อระดม ความร่วมมือจากทุกฝ่าย ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้คนทั้งประเทศ และเสริมสร้างขีดความสามารถจากฐานรากของสังคมให้เข้มแข็งและรู้เท่าทันโลกเพื่อนำไปสู่กาแก้ไขปัญหาความ ยากจน การกระจายผลประโยชน์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้ง การเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งตนเองและ การแข่งขันในระยะยาว ดังนั้น ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและการคุ้มครองทางสังคมจึงให้ความสำคัญกับ การพัฒนาคนไทยทุกคน ให้มีคุณภาพ มีสุขภาพแข็งแรง เป็นคนเก่ง คนดี มีระเบียบ วินัย รู้หน้าที่ มีความซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกทางสังคมทุก ระดับโดยเฉพาะสถาบันครอบครัว องค์กรทางศาสนา องค์กรส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สื่อมวลชนและประชาชน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาพลังปัญญา ศีลธรรม และวัฒนธรรมของคนไทย รวมทั้ง พัฒนาการบริหารจัดการ หลักประกันทางสังคม ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมประชาชนทุกคน และพัฒนาระบบโครงข่ายการ คุ้มครองทางสังคม เพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนยากจน และผู้ด้อยโอกาสให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม และพึ่ง ตนเองได้ในระยะยาว ตลอดจนเสริมสร้างสภาพแวดล้อมและพัฒนากลไกที่ทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยใน ชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหายาเสพติด และปัญหาอาชญากรรม

1. วัตถุประสงค์

เพื่อให้บรรลุการเสริมสร้างขีดความสามารถของประชาชนจากรากฐานของสังคมให้เข้มแข็ง จึงกำหนดวัตถุ ประสงค์หลักของการพัฒนาคุณภาพคน และการคุ้มครองทางสังคมไว้ ดังนี้
     1.1 เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง คิดเป็นทำเป็น มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีวิธีคิดอย่างมีเหตุผล มีคุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัย ซื่อสัตย์สุจริต และรับผิดชอบต่อส่วนรวม รวมทั้งสามารถนำเทคโนโลยี สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานให้เกิดความสมดุล ในการยกระดับคุณภาพชีวิต
     1.2 เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้งช่วยเหลือและพัฒนา คนยากจน และผู้ด้อยโอกาส ให้สามารถพึ่งตัวเองได้มากขึ้น
     1.3 เพื่อเสริมสร้างความสงบสุขในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและความ ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
     1.4 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง และบทบาทของครอบครัว และชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ สถาบันทางสังคม ในการพัฒนาด้านต่างๆ รวมทั้งปลุกจิตสำนึกในความรักชาติและความเป็นคนไทย

2. เป้าหมาย

     2.1 การพัฒนาคุณภาพคน
          (1) ขยายการประกันสุขภาพให้ครอบคลุมอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
          (2) ลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยสาเหตุที่ป้องกันได้ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง อุบัติเหตุ เป็นต้น
          (3) ให้ประชาชนมีการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเพิ่มขึ้น
          (4) ให้ประชาชนมีการศึกษาโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 9 ปี ในปี 2549
          (5) เพิ่มคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับให้ได้มาตรฐาน
          (6) ยกระดับการศึกษาของกำลังแรงงานไทยให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของ กำลังแรงงาน ในปี 2549
          (7) เพิ่มโอกาสการมีงานทำในประเทศไม่ต่ำกว่า 230,000 คนต่อปี
     2.2 การสร้างความมั่นคงทางสังคมและความเข้มแข็งของครอบครัว
          (1) ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางสังคมของกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอการให้ครอบคลุมทุกคน
          (2) ลดสัดส่วนคดีที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น คดียาเสพติด คดีอาชญากรรม เป็นต้น
          (3) เพิ่มแหล่งเผยข้อมูลข่าวสารที่ดูแลโดยชุมชนให้ทั่วถึง

3. แนวทางการพัฒนา

     3.1 การพัฒนาคนให้มีคุณภาพและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง โดยพัฒนาให้ประชาชนสามารถสร้างเสริม สุขภาพด้วยตนเอง ภายใต้ระบบสุขภาพ ที่มีความหลากแหลกเป็นองค์รวม มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและเป็นธรรม มีการปฏิรูปการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะที่ทำให้คนไทยทุกคนได้รับการพัฒนา อย่างสมดุลทั้งด้านคุณธรรม วิชาการ คุณภาพ และมาตรฐานฝีมือแรงงาน รวมทั้งตระหนักในความสำคัญที่จะ พัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพ โดยให้ ความสำคัญ กับ
     (1) การปฏิรูประบบสุขภาพ โดย
          (1.1) ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคทั้งร่างกาpและจิตใจ โดยให้ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพให้เหมาะสม โดยเฉพาะมีการบริโภคที่ถูกต้องและมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีการพัฒนาสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยและสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งมีการใช้อุปกรณ์ป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงต่ออันตรายจากการ ทำงาน ตลอดจนมีการให้ความรู้ และควบคุมการใช้สารพิษ สารอันตรายอย่างถูกวิธี ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
          (1.2) ปรับปรุงและพัฒนาระบบประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมและครอบคลุมกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ควบคุมกับการสร้างความตระหนัก และแรงจูงใจทั้งระดับบุคคล และองค์กรที่นำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพ และ ป้องกันโรคในระบบประกันสุขภาพ
          (1.3) ส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยการสร้าง และพัฒนาระบบการให้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ ประชาชนทุกคน สามารถเข้าได้สะดวก โดยเฉพาะในเรื่องผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ การใช้ยาเทคโนโลยี ราคาของ สินค้าและบริการ ควบคู่ไปกับการพัฒนากลไก การมีส่วนร่วม ของประชาชน อาสาสมัคร องค์กรเอกชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และสื่อมวลชน
          (1.4) พัฒนาคุณภาพบริการด้านสุขภาพ โดยส่งเสริมการพัฒนา และรับรองคุณภาพสถานพยาบาลทั้ง ภาครัฐ และเอกชน ให้ครอบคลุมเพิ่มขึ้น รวมทั้งสนับสนุนให้สถานพยาบาลมีบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน โรคในชุมชน และมีระบบการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
          (1.5) พัฒนาแพทย์ทางเลือก แพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทยให้ได้มาตรฐานทางการแพทย์ รวมทั้งให้มี การฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากร ทางการแพทย์และสาธารณสุข
     (2) การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดย
          (2.1) ปฏิรูปกระบวนการพัฒนาครูที่มีอยู่ควบคู่กับการปรับปรุงกระบวนการผลิตครูเพื่อให้ได้คนดี คนเก่ง มาเป็นครู โดยพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่ไปกับการพัฒนาวิชาการ และทักษะในการถ่ายทอดความรู้ที่มี ระบบการประกันคุณภาพที่ได้มาตรฐานทุกขั้นตอน พร้อมสนับสนุนให้ครูพัฒนาตนเองให้รู้เท่าทันความก้าวหน้า ทางวิทยาการอย่างต่อเนื่อง
          (2.2) จัดให้มีระบบและกลไกส่งเสริมให้ครูที่มีผลงานดีเด่นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและ เรียนรู้อย่างมีความสุข และครูภูมิปัญญาไทยได้รับการยกย่องเชิดชูและมีกองทุนสนับสนุนให้สามารถขยายผลงาน ได้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
          (2.3) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด ได้ทดลองปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจสามารถแสวงหา และสร้างความรู้ด้วยตนเอง ที่นำไปสู่ การรู้จักคิด วิเคราะห์ กลั่นกรองเลือกรับข้อมูลข่าวสารและวัฒนธรรมใหม่ๆ อย่างรู้เท่าทันควบคู่กับการปรับปรุงวิธีการสอบและ การวัดผล ให้สะท้อนถึงความรู้ ความเข้าใจ และสติปัญญาของ นักเรียน นักศึกษา
          (2.4) ปรับปรุงการจัดหลักสูตรให้มีความหลากหลาย ยืดหยุ่น สามารถปรับให้สอดคล้องกับสภาพและความ ต้องการของท้องถิ่น โดยเพิ่มเนื้อหาสาระที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ เช่น ภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น รวมทั้งเนื้อหาสาระทางด้านศีลธรรม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์จริงจัง
          (2.5) สนับสนุนให้ครอบครัว ชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน และสถาบันทางศาสนามีบทบาทในการจัดการ ศึกษามากขึ้น เพื่อสร้างทางเลือกที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพและความพร้อมของเรียนในแต่ละพื้นที่ และกลุ่ม เป้าหมายได้อย่างหลากหลาย และเหมาะสม
          (2.6) ปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างพื้นฐานความคิดตามหลักวิทยาศาสตร์ ทั้งในและนอกระบบ โรงเรียนควบคู่กับ การจัดให้มีแหล่งเรียนรู้อย่างเพียงพอ เพื่อให้นักเรียนและประชาชนมีวิธี คิดอย่างมีเหตุผล ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมทั้งการแก้ไขปัญหาสังคม
          (2.7) ใช้สื่อเพื่อการศึกษาทุกรูปแบบให้กระจายสู่ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้วยโอกาส เช่น คนพิการ คนที่อยู่ ในพื้นที่ห่างไกล เป็นต้นรวมทั้งการพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศที่เชื่อมโยงกับ แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
          (2.8) ผลิตและพัฒนาบุคลากรและนักวิจัย โดยเฉพาะในสาขาที่มีศักยภาพสูง และมีความจำเป็นต่อการ พัฒนาประเทศ เช่น การเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร การแพทย์และสาธารณสุข พลังงาน เทคโนโลยี ชีวภาพ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
          (2.9) เสริมสร้างความพร้อมของสถาบันการศึกษาและฝึกอบรมทั้งในด้านโครงสร้างการบริหารจัดการด้าน ระบบการเรียน การสอน และหลักสูตร และด้านบุคลากรให้ได้มาตรฐานและเป็นสากลมากขึ้น เพื่อสนับสนุนบทบาท ของประเทศในการเป็นศูนย์กลางการศึกษาและวิทยาการ ของภูมิภาค 

    

3.2 การส่งเสริมให้คนมีงานทำ โดยมุ่งสร้างอาชีพแก่แรงงานให้สามารถประกอบอาชีพส่วนตัว และเป็น ผู้ประกอบการขนาดเล็ก กระจายโอกาสการมีงานทำในทุกๆ พื้นที่ทั่วประเทศ ส่งเสริมการจ้างงานนอกภาคเกษตร และส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานในต่างประเทศเป็นการขยายตลาดแรงงานใหม่ๆ ให้แก่แรงงานไทยควบคู่ไปกับการ พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานแบละตัวชี้วัดด้านแรงงานให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยให้ความสำคัญ กับ
     (1) สร้างผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวและผู้ประกอบการขนาดเล็ก โดย
          (1.1) ส่งเสริมให้ผู้ที่ตกงานและผู้ว่างงานโดยเฉพาะผู้ที่สำเร็จอาชีวศึกษาหรืออุดมศึกษามีความรู้ในการ ประกอบอาชีพส่วนตัว หรือธุรกิจขนาดเล็ก โดยให้การฝึกอบรมเพิ่มความรู้ด้านเทคนิคการทำธุรกิจ การเงิน การตลาด การจัดการแหล่งเงินทุน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
          (1.2) เพิ่มทักษะความรู้ความสามารถแก่ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ตลอดจนแรงงานที่อยู่ในตลาดแรงงานที่มี ฝีมือ และกึ่งฝีมือ ให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม และเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง
          (1.3) สนับสนุนแหล่งเงินกู้เพื่อประกอบอาชีพทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น รวม ทั้ง ส่งเสริมให้ชุมชน รวมกันจัดตั้งกองทุนหรือสหกรณ์
          (1.4) สนับสนุนให้แรงงานไทยทำงานในภาคการผลิตที่ขาดแคลนแรงงาน โดยกำหนดมาตรการจูงใจให้มี การจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้น ควบคู่กับการจัดระบบการทำงานของแรงงานต่างด้าว ให้เป็นไปตามกฎหมายความ มั่นคงของประเทศ และการมีงานทำของแรงงานไทย โดยคำนึงถึงข้อผูกพันระหว่างประเทศ 
     (2) กระจายโอกาสการมีงานทำ โดย
          (2.1) ขยายการจ้างงานนอกภาคเกษตร โดยส่งเสริมการฝึกอาชีพที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่และตามศักยภาพ ให้แก่ เกษตรกร และกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน
          (2.2) สร้างโอกาสการจ้างงานเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มยากจนโดยกระตุ้นให้เกิดการ ลงทุนใน กิจกรรม ทางธุรกิจ ที่ใช้แรงงานมีทักษะฝีมือน้อย และกระจายไปในพื้นที่ต่างๆ 
     (3) ส่งเสริมการจ้างงานในต่างประเทศ โดยการฝึกอบรมทักษะอาชีพใหม่ๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดต่าง ประเทศ ให้กับแรงงานไทย โดยเฉพาะอาชีพ ในภาคบริการ เช่น พนักงานดูแลเด็ก และผู้สูงอายุ ผู้ประกอบอาหาร ไทย เป็นต้น เพื่อสร้างโอกาสให้คนไทยมีงานทำต่างประเทศมากขึ้น สนับสนุนเงินกู้ยืม ดอกเบี้ยต่ำแก่แรงงานไทย ที่จะไปทำงานต่างประเทศ และหาลู่ทางเปิดตลาดแรงงานใหม่ๆ ในต่างประเทศ รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับข้อพึง ปฎิบัติในการไปทำงานในแต่ละประเทศด้วย
     (4) พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานและดัชนีชี้วัด โดย
          (4.1) พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานและระบบจัดหางานให้มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจัดทำทะเบียนผู้ว่างงานทั่วประเทศ ภาค จังหวัด อำเภอ และชุมชน พร้อมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน สามารถรวบรวมข้อมูลด้านแรงงาน ได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์
          (4.2) พัฒนาระบบตัวชี้วัดด้านแรงงานเพื่อสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้าและใช้ในการกำหนดนโยบาย โดย การวิเคราะห์ และจัดทำตัวชี้วัดด้านตลาดแรงงาน รายได้ ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานในทุกระดับ

    

3.3 การปรับระบบการคุ้มครองทางสังคมให้มีประสิทธิภาพ โดยพัฒนาหลักประกันทางสังคมที่มีอยู่ให้มี ประสิทธิภาพในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ และคุณภาพชีวิตแก่ประชาชน โดยเฉพาะการคุ้มครองและ ช่วยเหลือกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสให้พึ่งตนเองได้ในระยะยาว โดยให้ความสำคัญกับ 
     (1) การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการหลักประกันทางสังคม โดย
          (1.1) ขยายขอบเขตและประเภทการคุ้มครองของกองทุนประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานทั้งในและนอก ระบบ รวมทั้งปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนประกันชราภาพ ทั้งโดยสมัครใจ และโดยการบังคับให้มี ประสิทธิยิ่งขึ้น
          (1.2) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนที่เกี่ยวข้องการพัฒนาคนและสังคมให้เป็นกลไกสำคัญใน การพัฒนาทั้งด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย ทักษะฝีมือ และระบบสวัสดิการทางสังคม
          (1.3) พัฒนามาตรฐานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้สอดคล้องกับ มาตรฐานสากล รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองแรงงานเพื่อสร้างความเป็นธรรมแก่แรงงานสตรีและแรงงาน นอกระบบ โดยเฉพาะแรงงานภาคเกษตร และผู้รับงานไปทำที่บ้าน
     (2) การปรับปรุงรูปแบบและแนวทางการดำเนินโครงข่ายการคุ้มครองกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส โดย
          (2.1) พัฒนาระบบการจัดสวัสดิการสังคมที่เน้นการเสริมสร้างศักยภาพให้กับคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสให้ สามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว รวมทั้งการสร้างระบบและกลไกการติดตามประเมินผลในการตรวจสอบคุณภาพ และความโปร่งใสในการ ดำเนินงาน
          (2.2) ส่งเสริมให้องค์การบริหารส่วนตำบล จัดสวัสดิการสังคม ที่สอดคล้องกับปัญหาของชุมชน และ กลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่ให้สนับ สนุนการดำเนินงาน รวมทั้ง ประสานเครือข่ายความร่วมมือ ในการดำเนินงานระหว่างภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคเอกชน
          (2.3) พัฒนาเครื่องชี้วัดความด้อยโอกาสของชุมชน โดยการปรับใช้ ข้อมูลด้านคุณภาพชีวิตที่มีอยู่ เช่น ข้อมูลความจำเป็นขั้นพื้นฐาน เพื่อติดตามและเฝ้าระวังภาวะด้อยโอกาสในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง
          (2.4) ปรับปรุงกองทุนหมุนเวียนที่มีอยู่ในระดับตำบลให้มีเอกภาพ และมีการระดมทุนจากเอกชน ชุมชน ประชาสังคม องค์กรศาสนา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การช่วยเหลือคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสใน ชุมชนบนพื้นฐานวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่เกื้อกูล ซึ่งกันและกัน

    

3.4 การปรับปรุงระบบบริหารจัดการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน โดยปรับเปลี่ยนแนวคิดและกระบวนการดำเนินการให้เป็นไปในเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับ การเพิ่มบทบาทของทุกฝ่ายในสังคมให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุกขั้นตอน โดย
     (1) การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดย
          (1.1) ให้ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น ภาคเอกชน และสื่อมวลชน มีส่วนร่วมในการ ดำเนินงานด้านความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินและแก้ปัญหายาเสพติดของชุมชน ด้วยกระบวนการประชา สังคมและชุมชนเข้มแข็ง โดยเฉพาะการเฝ้าระวังปัญหาอาชญากรรม การบรรเทาสาธารณภัย และการผลิต การเสพ และการค้ายาเสพติด ตลอดจนเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยให้ความรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสมในการป้องกัน ตนเองแก่เด็ก และเยาวชน ที่ไม่เคยใช้ยาเสพติด
          (1.2)ให้มีการคัดกรองกลุ่มผู้เสพยาเสพติดที่ไม่ใช่ผู้ค้าออกมาบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมทั้ง ช่วยเหลือ และให้กำลังใจผู้ที่ผ่านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อให้มีโอกาสได้รับการฝึกอาชีพ สร้าง รายได้และดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
          (1.3) เร่งรัดการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการปราบปรามที่รวดเร็ว เด็ดขาด จริงจัง และเป็น ธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการพัฒนากฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนประสานความร่วมมือ กับต่างประเทศ เพื่อสกัดกั้นขบวนการผลิต และค้ายาเสพติด โดยเฉพาะพื้นที่รอยต่อบริเวณชายแดน
     (2) การปรับระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดย
          (2.1) ปรับปรุงและพัฒนาการจัดองค์กรและระบบการบริหารงานกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพ รวมทั้ง พัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ และคุณธรรม โดยเน้นการเร่งรัดบังคับใช้กฎหมาย และ ระเบียบ ที่สร้างหลักประกันความเป็นธรรมในสังคม เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะการ คุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน สตรี และการคุ้มครองผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิจากสื่อและอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สารสนเทศให้มีผลบังคับใช้ทางปฏิบัติอย่างจริงจัง
          (2.2) สร้างความรู้ความเข้าใจและเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐ ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรเอกชน มีส่วนร่วมในกระบวนการออกกฎหมาย มีบทบาทในการพัฒนาและตรวจสอบการดำเนินงานใน กระบวนการยุติธรรม บางขั้นตอน รวมทั้งสนับสนุนการระงับข้อพิพาทในภาคประชาชน
          (2.3) พัฒนาระบบการป้องกัน และการแก้ไขปัญหาอุบัติภัย และปัญหาอาชญากรรมให้มีประสิทธิภาพใน การสนองตอบปัญหา ได้ทันท่วงที ภายใต้กลไกการมีส่วนร่วม และประสานการดำเนินงานของทุกฝ่าย โดยมีฐาน ข้อมูลที่ทันสมัยและมีเครือข่ายเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ

3.5 การส่งเสริมบทบาทครอบครัว องค์กรทางศาสนา โรงเรียน ชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชนอาสาสมัคร และสื่อมวลชน มีส่วนร่วมในการพัฒนา เพื่อให้เป็นกลไกเกื้อหนุนให้คนไทยเป็นคนดี มีคุณธรรมมีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์สุจริต มีความสามัคคี ความรักชาติ มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม และลดปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบ รวมทั้งมีส่วนสนับสนุนการสร้างหลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิตของประชาชนตลอดทุกช่วงอายุ โดย
     (1) สร้างและปลุกจิตสำนึกในความรักชาติและความเป็นไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยเน้นการรณรงค์ ให้ทุกฝ่ายในสังคม รวมทั้ง ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครในการกระตุ้นให้คนไทยมีระเบียบวินัย รู้จักหน้าที่ มีความ ซื่อสัตย์สุจริต มีความสามัคคี และความรักชาติ มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม ตระหนักถึงคุณค่าของความเป็น ไทย มีส่วนร่วม ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสังคมที่สำคัญ
     (2) ใช้กลไกที่มีอยู่ในการสนับสนุนบทบาทชุมชน ธุรกิจเอกชน สถาบันต่างๆ ในสังคมและสื่อมวลชนในการ ทำนุบำรุง และพัฒนาแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ มรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมทั้งเชิดชู เอกลักษณ์ และค่านิยมความเป็นไทยอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง โดยเฉพาะการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องการรณรงค์ แต่งกายประจำชาติและการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติและท้องถิ่น
     (3) ส่งเสริมให้สถาบันครอบครัวมีความเข้มแข็งในการดูแลและพัฒนาคุณภาพของสมาชิกในทุกมิติ โดย เน้นการเสริมสร้างความรู้ และทักษะในการสร้างรายได้ ควบคู่ไปกับการมีพฤติกรรมการออม และการบริโภค ที่ เหมาะสม การจัดบริการทางสังคมแบบเบ็ดเสร็จแก่ครอบครัวตามความเหมาะสมขอวงชุมชน เช่น การส่งเสริม อนามัย การเจริญพันธุ์ การให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและช่วยเหลือแก่เด็กและสตรี ที่ถูกกระทำรุนแรงจากสังคม
     (4) ให้องค์กรวิชาชีพมีบทบาทในการกำกับดูแลและตรวจสอบสื่อมวลชนทุกประเภทอย่างมีประสิทธิภาพ มากขึ้น และให้มีการกระจายเงิน จากกองทุน เพื่อพัฒนากิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เพื่อสาธารณะมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรด้านสื่อ และการผลิตสื่อที่มีคุณภาพ รวมทั้ง สนับสนุน การพัฒนาสื่อ สิ่งพิมพ์ และสื่อชุมชน ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
     (5) พัฒนาบุคลากรทางศาสนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องให้มีความรู้และทักษะในการถ่ายทอดหลักธรรม สู่การปฎิบัติได้อย่างมีคุณภาพ และสนับสนุนให้บุคลากรทางศาสนาที่มีคุณภาพได้มีโอกาสเผยแผ่ศาสนธรรมผ่าน สื่อต่างๆ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กรทางศาสนาทำหน้าที่ตรวจสอบกำกับดูแลพฤติกรรมของบุคลากรทาง ศาสนาอย่างเคร่งครัด
     (6) ส่งเสริมการวิจัย การรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทยในทุก พื้นที่อย่างเป็นระบบ และเลือกสรรวัฒนธรรมสากล และวัฒนธรรมไทยที่ดีงานมาผสมผสาน เพื่อใช้ประโยชน์ใน การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการพัฒนาประเทศ



หมวดอื่นๆที่น่าสนใจ

    สถิติผู้เข้าชมวันนี้ : 1,217 ครั้ง | สถิติผู้เข้าชมเมื่อวานนี้ : 6,065 ครั้ง | สถิติผู้เข้าชมเดือนนี้ : 66,435 ครั้ง | สถิติผู้เข้าชมปีนี้ : 675,687 ครั้ง | สถิติผู้เข้าชมทั้งหมด : 3,746,230 ครั้ง

    แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีดุลยภาพ 3 ประการ คือ อะไร
    แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีดุลยภาพ 3 ประการ คือ อะไร