สาเหตุใดที่ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนามหยุดชะงัก

 7.1     การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านและการนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศเพื่อนบ้าน ในปัจจุบัน

         หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพานที่เมืองกุสินาราแล้ว ได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย จัดไว้เป็นหมวดหมู่จนกระทั่งสมัย
ของพระเจ้าอโศกมหาราชพระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งและได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งที่ 3 ในสมัยของพระองค์หลังจากทำสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงจัดส่งสมณทูต จำนวน 9 สาย เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่างๆทำให้พระพุทธศาสนาขยายไปทั่วและเจริญรุ่งเรืองเท่าทุกวันนี้สำหรับดินแดนสุวรรณภูมิ(เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)คณะสมณทูตที่เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้แก่ พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ ซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะเผยแผ่เข้ามาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 500 เพราะปรากฏหลักฐานอยู่ในดินแดนแถบนี้ ได้แก่ เจดีย์ สถูป พระพุทธรูป ธรรมจักรศิลา เป็นต้น

                                                  1. พระพุทธศาสนาในประเทศสหภาพพม่า หรือเมียนมาร์(MYANMAR

สาเหตุใดที่ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนามหยุดชะงัก

         พระพุทธศาสนาที่เผยแผ่เข้าสู่ประเทศสหภาพพม่าในระยะแรกคือพระพุทธศาสนาสัทธิเถรวาทหรือนิกายหินยานได้เข้าไปประดิษฐานที่เมืองสุธรรมบุรีหรือเมืองสะเทินซึ่งเป็นเมืองหลวงของมอญซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศส่วนพม่าตอนเหนือมีเมืองพุกามเป็นเมืองหลวง
พระพุทธศาสนาลัทธิอาจริยวาทหรือนิกายมหายานได้เผยแผ่มาจากแคว้นเบงกอลและโอริสาของอินเดียในสมัยของพระเจ้าอนุรุทธมหาราช
(พระเจ้าอโนรธามังช่อ)ทรงครองราชย์ที่เมืองพุกาม(พ.ศ. 1587) พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ทรงปรีชาสามารถมากทรงรวบรวมดินแดนของพม่าให้เป็นแผ่นดินเดียวกัน ได้สำเร็จและเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองสะเทินได้จึงทรงโปรดให้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์และไตรปิฎกจากเมืองสะเทิมไว้ที่เมืองพุกาม พร้อมกันนี้ประชาชนส่วนใหญ่ได้นับถือพระพุทธศาสนานิกายหินยาน และพระองค์ทรงเสื่อมใสศรัทธาในลัทธิหินยานด้วย ทำให้พระพุทธศาสนาในพม่าตอนใต้เสื่อมลง 

        
         นอกจากนี้พระเจ้าอโนรธามังช่อยังได้ทรงส่งสมณฑูตไปติดต่อกับลังกาและไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์มาจากลังกาด้วยในรัชสมัยของพระเจ้าธรรมเจดีย์กษัตริย์มอญขึ้นครองราชย์พระองค์ได้ทรงมีพระราชดำริว่าพระพทุธศาสนาในเมืองมอญในขณะนั้นเสื่อมลงมากจึงโปรดให้มีการชำระพระพุทธศาสนาในบริสุทธิ์โดยทรงให้พระภิกษุทุกรูปในเมืองมอญลาสิกขาและเข้ารับการอุปสมบทใหม่จากพระอุปัชฌาย์และพระอันดับที่ล้วนได้รับอุปสมบทจากลังกาเป็นผู้ให้อุปสมบทแต่หลังจากนั้นพระพุทธศาสนาก็เลื่อมลงอีก สาเหตุเนื่องมาจากพม่ากับมอญทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่กันอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งถึงประมาณ พ.ศ. 2300 เมื่อพระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่าได้ยกทัพไปทำลายกรุงหงสาวดีอย่างราบคาบ ชนชาติมอญก็สูญสิ้นอำนาจลงอย่างเด็ดขาดพระพุทธศาสนาในประเทศพม่าได้รับการทำนุบำรุงจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในสมัยพระเจ้ามินดง( พ.ศ. 2395-2420) พระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์การทำสังคายนาพระไตรปิฎกที่พม่าระหว่าง พ.ศ. 2411-2414 ณ เมืองมัณฑเลย์และโปรดเกล้าฯให้จารึกพระไตรปิฎกลงบนแผ่นหินอ่อนแล้วทำสถูปครอบไว้ ซึ่งยังปรากฎอยู่ที่เชิงเขาเมืองมัณฑะเลจนถึงทุกวันนี้ปี พ.ศ. 2429 พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกล้มลง จึงส่งผลให้พระพุทธศาสนาได้รับความกระทบกระเทือนตามไปด้วยแต่ถึงกระนั้น ประชาชนชาวพม่าก็ยังคงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแนบแน่นตลอดมา จนเมื่อพม่าได้รับเอกราช เมื่อ พ.ศ. 2491 ฯพณฯ อุนุ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกเมื่อ พ.ศ. 2493 และต่อมารัฐบาลได้ออกกฎหมายรับรองให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในปี พ.ศ. 2500

  พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย

สาเหตุใดที่ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนามหยุดชะงัก

       ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเผยแผ่เข้าสู่ประเทศกัมพูชาในช่วงที่อาณาจักรฟูนันและอาณาจักรเจนละเจริญรุ่งเรืองแต่เดิมประชาชนในอาณาจักรเหล่านี้นับถือนิกายไศวะ คือนับถือพระศิวะประพระอิศวรตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์
ส่วนพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาภายหลัง สาเหตุที่ชาวกัมพูชาหันมานับถือพระพุทธศาสนา เนื่องจากในรัชสมัยของพระเจ้าวรมัน
(พ.ศ. 1021-1057) พระภิกษุนาคเสนซึ่งได้ติดตามพ่อค้าชาวฟูนันมาจากเมืองกวางตุ้งและได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ด้วย ทำให้พระองค์เกิดความเลื่อมใสและทรงยกย่องและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ต่างก็มีความเจริญและความเสื่อมใสไม่คงที่สุดแล้วแต่พระมหากษัตริย์ในแต่ละสมัยทรงเลื่อมใสศาสนาใดพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนี่งในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ( พ.ศ. 1511-1544)โดยทรงโปรดให้มีการนำเอาคัมภีร์จากต่างประเทศเข้ามาสู่อาณาจักรเป็นครั้งแรกและมีการส่งเสริมการปฎิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น


       ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545-1593) พระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานซึ่งได้รับอิทธิพลจากนครศรีธรรมราชอย่างเคร่งครัด จนกระทั่งในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 – 1762) ทรงโปรดฯให้สร้างวัดคติมหายาน ต่อมาประชาชนส่วนใหญ่ได้หันมานับถือพระพุทธศาสนานิกายหินยานมากขึ้นและแม้แต่ปัจจุบันนี้ประชาชนส่วนใหญ่ของกัมพูชาก็นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานเช่นเดียวกับไทย เนื่องมาจากการได้รับอิทธิพลการแพร่หลายไปจากไทยนั่นเอง

                                                         พระพุทธศาสนาในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

สาเหตุใดที่ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนามหยุดชะงัก

    พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศลาวสมัยอาณาจักรหนองแส ราวๆ พุทธศตวรรษที่ 7 ต่อมาในรัชสมัยของเจ้าฟ้างุ้ม(ประมาณ พ.ศ. 1890) ซึ่งเป็นราชโอรสของเจ้าผีฟ้า เจ้าฟ้างุ้มได้อภิเษกสมรสกับพระนางแก้วยอดฟ้า ผู้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าศรีจุลราช
กรุงอินปัตถ์ในราชอาณาจักรกัมพูชาเมื่อเจ้าฟ้างุ้มได้ตีเมืองหลวงพระบางและเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1896 พระองค์ได้ทรงรวบรวมหัวเมืองต่างๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กล่าวสำหรับพระนางแก้วยอดฟ้าพระนางเองทรงเลื่อมใสและเคารพนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เมื่อพระนางเสด็จมาประทับ ณ อาณาจักรล้านช้าง ซึ่งขณะนั้นชาวอาณาจักรล้านช้างยังนับถือลัทธิผีสางเทวดาอยู่พระนางจึงกราบทูลให้เจ้าฟ้างุ้มแต่งคณะฑูตไปทูลของพระสงฆ์จากพระเจ้าศรีจุลราชและพระเจ้าศรีจุลราชก็ได้ทรงให้ความร่วมมือโดยส่งพระมหาปาสมัตเถระและพระมหาเทพลังกา พร้อมพระสงฆ์อีก 20 รูป เดินทางนำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ยังดินแดนประเทศลาว พร้อมกับได้พระราชทานพระพุทธรูปปัญจโลหะองค์หนึ่ง พระนามว่า “พระบาง”พร้อมด้วยพระไตรปิฎก และหน่อพระศรีมหาโพธิ์มาถวายแก่เจ้าฟ้างุ้มด้วยนับแต่นั้นมาพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทก็ได้ประดิษฐานในประเทศลาวและได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติในที่สุดพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองสืบมา จนถึงรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2091 – 2114) พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง ได้ทรงนำพระแก้วมรกตจากเมืองเชียงใหม่มาไว้ที่เมืองหลวงพระบาง เมื่อย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางไปเมืองเวียงจันทร์ ก็ทรงนำพระแก้วมรกตไปไว้ที่เมืองเวียงจันทร์ด้วย และได้ทรงโปรดฯให้สร้างพระธาตุหลวงไว้ที่นี้ด้วย

          เมื่อสิ้นสุดรัชกาลของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชพระพุทธศาสนาในประเทศลาวไม่ค่อยเจริญรุ่งเรืองนักแต่ด้วยเหตุที่ประเทศลาวกับประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกัน ทำให้ประเทศทั้ง 2 มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นต่อกัน ไทยได้ให้ความช่วยเหลือทางศาสนามาโดยตลอดและเมื่อลาวตกเป็นอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2436พระพุทธศาสนาก็เสื่อมโทรมลงเพราะขาดการทำนุบำรุงและเมื่อลาวได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสแล้ว คณะสงฆ์ไทยก็มีส่วนช่วยปรับปรุงการศึกษาด้านศาสนาในลาว แต่เมื่อลาวตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลคอมมิวนิสต์แล้ว การติดต่อให้ความช่วยเหลือทางศาสนาระหว่างประเทศก็หยุดชะงักลง แต่ถึงกระนั้นก็ตามชาวลาวส่วนใหญ่ก็ยังมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแนบแน่นและพยายามประคับประคองพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นอยู่ในจนถึงปัจจุบัน

                                                              พระพุทธศาสนาในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

สาเหตุใดที่ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนามหยุดชะงัก

          การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเวียดนามตั้งแต่สมัยใด ยังไม่ชัดเจนนักแต่จากหลักฐานจดหมายเหตุของจีนที่ปรากฎอยู่สรุปได้ว่า เวียดนามทางตอนใต้เป็นที่ตั้งของอาณาจักรจัมปา แต่เดิมนั้นประชาชนในดินแดนนี้นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดูและมีการนับถือพระพุทธศาสนาประมาณกว่า พ.ศ. 950

          ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1403-1433)พระองค์ทรงเสื่อมใสในพระพุทธศาสนามากทรงโปรดฯให้สร้างวัดทางพระพุทธศาสนาแห่งหนึ่งที่ดองเดือง ชื่อวัดมีโซนในพระพุทธศตวรรษที่ 8 พระภิกษุชาวอินเดียชื่อมหาชีวกะได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ยังเวียดนามและหลังจากนั้นก็ได้มีพระภิกษุหลายรูปได้เข้าไปมีบทบาทเกี่ยวกข้องกับพระพุทธศาสนาอย่างหลากหลาย เช่นการแปลคัมภีร์ประกาศคำสอน เป็นต้น แต่เรื่องทางศาสนาก็หยุดชะงักลง แต่คราวใดบ้านเมืองสงบสุขเพระพุทธศาสนาก็กลับมาเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีก จนถึงรัชสมัยของพระเจ้าดินห์โมดินห์ พระองค์ได้ทรงรวบรวมประเทศชาติให้เป็นปึกแผ่นเดียวกันได้สำเร็จและพ้นจากอำนาจของจีนและพระองค์ได้เอาใจใส่ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นที่นับถือกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ส่วนในสมัยราชวงศ์เล และราชวงศ์ลี พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เพราะพระมหากษัตริย ์ทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงมาโดยตลอดเมื่อเวียดนามตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2426พระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมและไม่ได้รับการทำนุบำรุงเท่าที่ควรพุทธศาสนานิกชนถูกกีดกันในการประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาชาวพุทธจึงเริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นแต ่ก็ได้รัการต่อต้านจากฝรั่งเศสที่เข้ามาครอบครองเวียดนาม ทั้งการยึดคัมภีร์และหนังสือทางพระพุทธศาสนาเอาไปเผาทำลายเสียเห็นจำนวนมากและเมื่อเวียดนามได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสแล้วก็ยังมีเหตุการณ์ทางการเมืองที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับศาสนา จนถึงกับมีการเดินขบวนประท้วงและเผาตัวเองของพระภิกษุ สามเณร และแม่ชี และเมื่อเวียดนามถูกรัฐบาลคอมมิวนิสต์เข้ามาปกครองพระพุทธศาสนาก็กลับเสื่อมโทรมลงอีกนับจากพุทธศตวรรษที่ 25 เป็นต้นมาพระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนามทั้งนิกายมหายานและนิกายเถรวาทไม่ค่อยเจริญรุ่งเรืองมากนัก ตรงกันข้ามกลับเสื่อมโทรมลงตามลำดับมากทั้งนี้เป็นเพราะสภาพความวุ่วายภายในประเทศทั้งการเมืองและภาวะสงครามที่มีขึ้นอยู่ตลอดเวลา

                                                                     พระพุทธศาสนาในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

สาเหตุใดที่ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนามหยุดชะงัก



        
 ได้มีการสันนิษฐานกันว่า ชาวอินเดียคงเป็นผู้นำพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์เข้ามายังดินแดนประเทศอินโดนีเซียประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 และพระพุทธศาสนาในระยะแรกคงเป็นแบบเถรวาทหรือหินยานมี อาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งมีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่ภาคใต้ของไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียทั้งหมดเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาระหว่างจีนและอินเดีย หลักฐานที่ค้นพบส่วนใหญ่เป็นโบราณวัตถุ ที่สำคัญได้แก่ พระพิมพ์ดินดิบและรูปพระโพธิสัตว์ เป็นต้น ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14ได้ทรงนับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานและได้โปรดฯให้สร้างพุทธวิหารโบโรพุทธโธและราชวงศ์ไศเลนทร์ก็ได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับราชวงศ์ปาละแห่งแคว้นเบงกอล จึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันขึ้น ทั้งการส่งพระภิกษุไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยลันทา และการสร้างพระพุทธรูป เป็นต้น

         เมื่อตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ศาสนาพราหมณ์ฮินดูได้เข้ามาเจริญรุ่งเรืองยังดินแดนอินโดนีเซีย ต่อมาเมื่อศาสนาพราหมณ์ฮินดูเสื่อมลง ศาสนาอิสลามก็เข้ามาเจริญแทนที่ กษัตริย์พระองค์แรกของอินโดนีเซียที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยมีเมืองมะลากาก็กลายเป็นศูนย์กลางศาสนาอิสลามและแพร่หลายเข้าสู่ชาวอินโดนีเซียในที่สุดส่วนชาวอินโดนีเซียที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานก็ยังคงมีอยู่บ้างประปรายในเกาะชวาสุมาตรา และเกาะบาหลี


                                                          พระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซีย และสาธารณรัฐสิงคโปร์

สาเหตุใดที่ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนามหยุดชะงัก

         พระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ยังประเทศมาเลเซียประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 โดยเป็นแบบนิกายเถรวาทต่อมาบริเวณแหลมมลายูตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรศรีวิชัย พระพุทธศาสนานิกายมหายานจึงได้เผยแผ่เข้ามาสู่บริเวณนี้ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 พระพุทธศาสนาในมาเลเซียเสื่อมลงเนื่องจากมีการนับถือศาสนาอิสลามของราชวงศ์และประชาชนมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของพระเจ้าปรเมศวรแห่งอาณาจักรมะละกา พระองค์ได้ละทิ้งพระพุทธศาสนาหันไปนับถือศาสนาอิสลามและในสมัยสุลต่านมัลโมชาห์ พระองค์ศรัทธาในศาสนาอิสลามอย่างมาก รับสั่งให้ทำลายศาสนาสถาน พระพุทธรูป ตลอดถึงเทวรูปของศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ บังคับให้ประชาชนนับถือศาสนาอิสลาม ทำให้พระพุทธศาสนานิกายมหายานสิ้นสุดลงกลับกลายเป็นศาสนาอิสลามเข้ามาแทนที่ประเทศสิงคโปร์มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย แต่เดิมนั้นสิงคโปร์เป็นสหพันธ์เดียวกับมาเลเซีย การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน และประชาชนส่วนใหญ่ของสิงคโปร์เป็นชาวจีน นับถือพุทธศาสนานิกายมหายานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสิงคโปร์มีการกระทำกันอย่างจริงจังมีการแปลตำราและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเป็นภาษาต่าง ๆ อีกด้วย