การส่งเสริมด้านการปฏิบัติตามหลักธรรมและพิธีกรรม เวียดนาม

พระพุทธศาสนาที่เข้ามาสู่เวียดนามในยุคแรกแบบ 100%นั้น เป็นพุทธศาสนาแบบมหายาน โดยสันนิษฐานว่าท่านเมียวโป ได้เดินทางมาจากประเทศจีนเข้ามาเผยแผ่ เวียดนามจึงได้รับเอาศาสนาจากจีน รวมทั้งคัมภีร์ทางศาสนา ก็เป็นภาษาจีนเหมือนกัน สันนิษฐานกันว่า ได้มีพระภิกษุชาวอินเดีย คือ พระมหาชีวก พระกัลยาณรุจิ และ พระถังเซงโฮย ได้เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนา ในยุคเดียวกับท่านเมียวโป แต่การเผยแผ่พุทธศาสนาก็ไม่เจริญนัก เพราะกษัตริย์จีนในขณะนั้นนับถือศาสนาขงจื้อ ไม่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา และยังไม่พอพระทัยที่มีคนนับถือพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อชาวเวียดนามกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ พระพุทธศาสนาได้รับการฟื้นฟูอย่างจริงจัง ในครั้งนั้นได้มีพระภิกษุชาวอินเดีย ชื่อ วินีตรุจิ ท่านได้ศึกษาพุทธศาสนาในอินเดียแล้วยัง ได้เดินทางมาศึกษาพุทธศาสนานิกายเซน หรือ เธียน ในประเทศจีน แล้วเดินทางมาเผยแผ่ พุทธศาสนานิกายเธียร หรือ เซน ในเวียดนามจนพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ คราวที่เวียดนามกู้อิสรภาพ ได้ตั้งอาณาจักรไคโคเวียด ใน พ.ศ. 1482 หลังจากได้อิสรภาพแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันเอง ประมาณ 30 ปีแบบ 200% ระยะนี้พุทธศาสนาซบเซาขาดการทำนุบำรุง ต่อมาเมื่อราชวงศ์ดินห์ ขึ้นครองอำนาจในปี พ.ศ. 1212 แล้ว พระพุทธศาสนากลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง พระพุทธศาสนาได้มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก

การเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศเพื่อนบ้าน

การเผยแพร่พระพุทธศาสนาเริ่มจากการที่พระพุทธเจ้าทรงได้พระสาวก 60 รูป และเห็นว่ามีจำนวนมากพอแล้ว จึงส่งสาวกออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนายังแคว้นอื่นๆ ซึ่งระหว่างที่เหล่าสาวกได้เผยแพร่พระพุทธศาสนา ก็มีการบิดเบือนพระพุทธศาสนาทำให้พระพุทธศาสนามัวหมองหรือได้รับความกระทบกระเทือน จึงทำให้เหล่าสาวกต้องมีการปรับให้พระพุทธศาสนากลับมาเป็นเหมือนเดิม การกระทำแบบนี้เรียกว่า "การสังคายนาพระธรรมวินัย"

 การเผยแพร่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเมียนม่าหรือพม่า 

  • ในระยะแรกมีการเผยแพร่พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเข้ามาก่อนผ่านเมืองสุธรรมวดีหรือสะเทิมของพวกมอญ
  • พระเจ้าอนุรุทธมหาราชสถาปนาเมืองพุกามเป็นราชธานีของพม่า นิกายมหายานจึงถึงเผยเเพร่มาจากแคว้นเบงกอลประเทศอินเดีย  
  • สาเหตุที่ทำให้พม่านับถือนิกายเถรวาท  -> พระเจ้าอนุรุทธมหาราชเคยทำศึกกับพระเจ้ามนูหะ ผู้ครองเมืองสุธรรมวดีเพื่อแย่งชิงพระไตรปิฏก แต่พม่าชนะ พวกพระของมอญที่นิกายเถรวาทถูกนำตัวเข้าพม่า จึงเริ่มเผยแพร่นิกายเถรวาทในพม่ามากขึ้น
  • พ.ศ 1827 พม่าพ่ายแพ้ให้แก่มอญ ในขณะที่กษัตริย์มอญขึ้นครองราชพระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมมาก พระสงฆ์แบ่งออกเป็นหมู่คณะ 6 คณะ กระปฏิบัติธรรมถูกละเลย พระพุทธศาสนาเสื่อมเสียมาก จึงมีพระราชดำรัส ให้พระสงฆ์ 22 รูป ฆราวาส 22 คนเดินทางไปลังกา โดยมี  พระโมคคัลลานะเป็นหัวหน้า และได้รับการอุปสมบทใหม่ จึงทำให้พระพุทธศาสนาเริ่มกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง
  • พระเจ้ามินดงทรงอุปถัมภกในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 5 ณ เมืองมัณฑะเลย์
  • พ.ศ. 2429 พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมลง แต่ชาวพม่าก็ยังคงศรัทธาในพระพุทธศาสนา
  • พ.ศ. 2491 พม่าได้รับเอกราชขากอังกฤษและอยู่ภายใต้การปกครองของนายอูนุ ซึ่งได้พยายามจัดการสังคายนาครั้ง 6 ขึ้น ( ฉัฏฐสังคายนา )ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2497 โดยมีพระธรรมโกศาจารย์ ( ท่านพุทธทาสภิกสุ ) จากประเทศไทยได้ไปร่วมแสดงปาฐกถาธรรมพิเศษเป็นภาษาอังกฤษ เรื่อง "ลักษณะที่น่าอัศจรรย์บงประการของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท"
  • คณะสงฆ์ของพม่าได้มีการจัดตั้ง "สมาคมพระพุทธศาสนาเถรวาทนานาชาติ" จัดประชุมครั้งแรกที่เมืองย่างกุ้ง และครั้งที่สองในเมืองสะกาย ประเทศเมียนม่า
  • พระสงฆ์ในพม่ามีบทบาททางการเมือง โดยมีการจัดตั้ง "ยุวสงฆ์แห่งพม่า" เพื่อดำเนินการเรียกร้องและต่อสู้อย่างสันติภาพเพื่อความยุติธรรมของพระพุทธศาสนา
  • กำรท ำสังคำยนำพระไตรปิฎก ครั้งที่ 6 นั้น มีพระเถระผู้เชี่ยวชำญพระไตรปิฎกจำกประเทศไทย   ศรีลังกา ลาว และกัมพูชา ไปร่วมในกำร สังคำยนำ 
  •  พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
  • มีประชากร 89 %เป็นชาวพุทธ

  การเผยแพร่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย 

  • พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศอินโดนีเซียในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 
  • มีข้อสันนิษฐานว่าพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เพราะมีหลักฐานส าคัญ คือ พระพิมพ์ดินดิบ และรูปพระโพธิสัตว
  • ราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งศรีวิชัย ที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านศาสนากับกษัตริย์ราชวงศ์ปาละ แห่งแคว้นเบงกอล ราชวงศ์ไศเลนทร์
  • พระพุทธศาสนาในอินโดนีเซียเริ่มเสื่อมลงเมื่ออาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอ ำนาจ 
  • กระเด่นปาทา ประกาศห้ามเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรของพระองค์  เพราะพระองค์มีศรัทธาเลื่อมใสในศาสนาอิสลามมาก 
  • ปัจจุบันศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาประจ ำชาติของอินโดนีเซีย
  • ปัจจุบันยังมีชาวอินโดนีเซียในแถบชวา สุมาตรา และเกาะบาหลี ที่ยังคงมีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
  • พระวิหารบุโรพุทโธดแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนานิกายมหายานเคยเจริญรุ่งเรืองในประเทศอินโดนีเซียในสมัย อาณาจักรศรีวิชัยมาก่อน 
  • มีการจัดฉลองวันวิสาขบูชาเป็นเวลานานนับเดือน 
  • ประชากรที่นับถือมีเพียงน้อยละ 1 ในปัจจุบัน

  การเผยแพร่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซีย 

  • พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศมาเลเซีย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 
  • นิกายเถรวาทเป็นนิกายแรกที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในมาเลเซีย
  • ประชากรชาวพุทธส่วนใหญ่นับถือมหายาน
  • การนับถือของราชวงศ์ในประเทศ และบังคับประชาชนให้นับถือศาสนาอิสลาม คือสาเหตุส าคัญที่สุดที่ทำให้ศาสนาอิสลามเจริญรุ่งเรืองในประเทศมาเลเซียมากกว่าศาสนาพุทธ 
  •  พระพุทธศาสนาได้รับความกระทบกระเทือนในรัชสมัยของพระเจ้าปรเมศวร
  • สุลต่านมัลโมชาห์ สั่งทาลายศาสนสถาน พระพุทธรูป เทวรูปของพระพุทธศาสนา
  • นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ
  • มีพุทธศาสนิกชนเพียงร้อยละ 19 
  • ปัจจุบันมีการนับถือ 2 นิกาย คือ มหายานกับเถรวาท

  การเผยแพร่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศสิงคโปร์

  • ได้รับการเผยแพร่ลักษณะเดียวกับมาเลเซีย 
  • นิกายที่ได้รับความนิยมมาก คือ นิกายมหายาน
  • มีการเผยแพร่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจังเป็นอย่างมาก
  • มีการนำหลักธรรมที่ว่าด้วยเรื่องความมีเมตตามาใช้กันอย่างเคร่งครัด
  • มีประชากรนับถือพระพุทธศาสนาร้อย 42 ของทั้งหมด เนื่องจากมีความหลากหลายทางเชื้อชาติเเละวัฒธรรม
  • มีการจัดตั้งสมาคมต่างๆเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา เช่น สหภาพพุทธศาสนิกชน
  • มีวัดไทยที่สำคัญในสิงคโปร์ 2 วัด คือ วัดอานันทเมตยาราม และ วัดป่าเลไลยก์ เป็นศูนย์รวมใจของพุทธศาสนอกชนชาวพุทธ
  • สิงคโปร์มีสมาคมของชาวพุทธประมาณ 2,000 สมาคม
  • วัดฝ่ายนิกายเถรวาทที่ส ำคัญในสิงคโปร์ ได้แก่ วัดศรีลังการามายณะ ของศรีลังกา และวัดอานันทเมตยาราม ของไทย
  • องค์กรยุวพุทธแห่งสิงคโปร์ มีการแสดงพระธรรมเทศนา การแสดงปาฐกถา การอภิปรายธรรม การจัดพิธีกรรมทาง พระพุทธศาสนาใน โอกาส สำคัญ และการแปลคัมภีร์และเอกสารทางพระพุทธศาสนา 
  • การส่งเสริมด้านการปฏิบัติตามหลักธรรมและพิธีกรรมมีกิจการทางสาธารณกุศลให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้

  การเผยแพร่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศลาว 

  • มีการเผยแพร่ศาสนาเข้ามาในช่วงของเจ้าฟ้างงุ้มแห่งอาณาจักรล้านนา ซึ่งพระมเหสีของพระองค์ พระนางแก้วยอดฟ้า ซึ่งเดิม นับถือนิกายเถรวาท มาจากเมืองอินทปัตย์ มาพบเห็นการบูชาของลัทธิต่างๆ ในล้านนา จึงเกิดความไม่สบายพระทัย จึงทูลพระเจ้าฟ้างุ้มให้มีการเผยแพร่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
  • ลาวมีประชากราส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาและได้ประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา ประจำชติ 
  • การปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ของลาวได้ส่งผลกระทบต่อพระพุทธศาสนามาก มีการบังคับให้พระสงฆ์ทำไร่ ทำนาเยี่ยงบุคคลทั่วไป 
  • ในรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชพระพุทธศาสนาในลาวได้รับการอุปถัมภ์บำรุงเป็นอย่างดี แต่หลังจากสิ้นสุดสมัยนี้ไปแล้ว พระพุทธศาสนาก็ค่อย ๆ เสื่อมลง 
  • พุทธศาสนสถานที่สำคัญในลาวเกือบทั้งหมด ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแทบทั้งหมด
  • ลาวได้รับอืทธิพลนิกายเถรวาทจากไทย
  • ในช่วงสงครามอินโดจีนลาวได้รับผลกระทบด้านศาสนาอย่างมาก เพราะ ขาดการทุนุบำรุงดูแลเอาใจใส่ แต่ประชาชนชาวลาวยังคงมีศรัทธาในศาสนา
  • รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของลาวทำทุกวิถีทางเพื่อลดบทบทาของพระพุทธศาสนา
  • ในปี พ.ศ. 2530 จึงเริ่มมีการฟื้นฟูศาสนาอีกครั้งจากคอมมิวนิสต์
  • ประชากรร้อยละ 90 นับถือพระพุทธศาสนา
  • มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน
  • พระพุทธศาสนาได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องของ หลักสูตรการสอนธรรม ซึ่งพระที่เรียนจบหลักสูตรจะได้เกียรติบัตรจากกระทรวงศึกษาธการและมีสิทธิได้รับขนานาม ว่า มหา
  • พรสงฆ์ส่วนใหญ่เป็นกำลังสำคัญที่จะไปพัฒนาพระพุทธศาสนาในประเทศลาวให้รุงเรืองยิ่งขึ้น
  • พระพุทธศาสนาในประเทศลาวมีความเจริญรุ่งเรืองเเละมั่นคง เนื่องจาก คนในประเทศลาวมีความเคารพและศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก

  การเผยแพร่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา 


  • พระพุทธศาสนาที่เข้ามาในอาณาจักรฟูนันของกัมพูชาในสมัยแรก ๆ คือนิกายเถรวาท โดยมี พระสงฆ์ชาวอินเดียนำมาเผยแผ่ อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลจากจีนและอินเดียด้วย
  • พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราชาของอาณาจักรเจนละ ที่ขึ้นมาเเทนอาณาจักรฟูนัน ได้ทำนุบำรุงเอาใจใส่พระพุทธศาสนาอย่างดี และได้มีการสร้างพระพุทธศาสนสถานขนาดใหญ่ซึ่งมีพระปรางค์น้อยใหญ่กว่า 50 องค์ เรียกว่า "ปราสาทบายน"
  • พะรพุทธศาสนาได้รับผลกระทบจากการสู้รบต่อต่างๆ ภายในประเทศ เช่น การเเย่งชิงสมบัติของกษัตริย์ หรือการก่อการร้ายของพวกเขมรแดง
  • ในช่วงที่เฮง สัมริน เป็นรัฐบาลของกัมพูชา พระพุทธศาสนาไม่ได้รับการฟื้นฟู อีกทั้ง ชยังมีนโยบายไม่ให้ประชาชนมีศาสนา มีการใช้วัดเป็นสถานตั้งกองทหาร ทำให้วัดตกเป็นเป้าหมายของผู้ก่อการร้าย
  • ในปัจจุบันพระพุทธศาสนาเริ่มถูกทำนุบำรุงให้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง
  • ความเจริญรุ่งเรืองและความเสื่อมถอยของพระพุทธศาสนาในกัมพูชาขึ้นอยู่กับระบอบการเมือง และผู้นำประเทศ
  • มีประชากรร้อยละ 95 นับถือพระพุมธศาสนา
  • ปัจจุบันในกัมพูชาแบ่งเป็น 2 นิกาย ได้แก่ มหานิกาย และ ธรรมยุติกนิกาย 

  การเผยแพร่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนาม

  • เวียดนามรับพระพุทธศาสนามาจากจีน เพราะเวียดนามเคยเป็นเมืองขึ้นของจีนมาก่อน 
  • พระพุทธศาสนาในเวียดนามที่มีคนนิยมนับถือมากคือนิกาย สุขาวดี 
  • ปัจจุบันความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนามเกิดจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศโดยใช้ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
  • พระพุทธศาสนาแบบมหายานเคยได้รับความนิยมในประเทศเวียดนาม เนื่องจาก ได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนาจากจีน ซึ่งเป็นนิกายมหายาน
  •  พระพุทธศาสนาในเวียดนามเจริญรุ่งเรืองควบคู่กับการปกครองของกษัตริย์ ราชวงศ์ดินห์ ราชวงศ์เล ราชวงศ์ไล และราชวงศ์ตรันห์ 
  • ปัจจุบันชาวเวียดนามนับถือพระพุทธศาสนามากที่สุด และรองลงมา คือ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
  • พระภิกษุสงฆ์ของเวียดนามเป็นที่เคารพศรัทธาจากชาวเวียดนาม เนื่องจาก มีความรอบรู้ทางพระพุทธศาสนาด้านวิชาการ เช่น กฎหมาย วรรณคดี รัฐศาสตร์ จริยศาสตร์ ปรัชญา โหราศาสตร์และแพทย์ศาสตร์ 
  • พระพุทธศาสนาในเวียดนามเสื่อมลงในสมัยราชวงศ์ตรัน ราชวงศ์เลตอนปลาย
  • ในช่วงที่เวียดนามตกเป็นเมืองขึ้น รัฐบาลฝรั่งเศษเป็นผู้ควบคุมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเวียดนาม และทำลายคัมภีร์และหนังสือพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก
  • คอมมิวนิสต์เข้าไปปกครองเวียดนาม วัดและพระสงฆ์ถูกทำลาย ที่ดินของวัดถูกยึดเป็นของรัฐบาลฝรั่งเศษจัดเป็นวิกฤตทางศาสนาที่เลวร้ายที่สุด
  • หลังจากสงครามอินโดจีนสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2530 พระพุทธศาสนาได้ฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง โดยมีการส่งทูตไปแลกเปลี่ยนหลักสูตรพระพุทธศานาที่ต่างประเทศ เช่น ไทย เมียนม่า กัมพูชา และ จีน เป็นต้น
  • ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา
  • รัฐบาลสนับสนุนการอบรมและเผยแผ่ธรรมะ กำหนดหลักสูตรพระพุทธศาสนาให้อยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนของประเทศ
  • จัดตั้งองค์กรระดับชาติ 5 องค์กร

     

    การจัดทำBlogนี้ หากเกิดข้อมูลผิดพลาดประการใด เจ้าของBlogขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย 

อ้างอิงจาก : หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานพรพุทธศาสนา ม. 2 บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด