ศาสนาพราหมณ์มีหลักปฏิบัติอย่างไร

อาศรม 4

ศาสนาพราหมณ์มีหลักปฏิบัติอย่างไร

หลักการสูงสุดของฮินดูคือ “อาศรม 4″ (ข้อปฏิบัติของพราหมณ์) ที่ระบุในพระเวท ได้แก่

1. พรหมจารี เป็นการประพฤติตนเป็นพรมจารีของพราหมณ์เด็ก ที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน จะต้องใช้เวลา 12 ปี ในการศึกษาจนจบหลักสูตร ภายหลังจึงจะแต่งงานได้ ……ก่อนจะเข้าศึกษา สมณพราหมณ์ จะทำพิธีเสกมนตราบนตัวนักศึกษา และคล้องด้วยด้ายศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า ยัชโญประวีตคือ สายคุรำ หรือสายมงคล เฉวียงบ่าให้แล้วจึงเริ่มเรียน ตอนคล้องด้ายนั้น พราหมณ์ถือว่า เกิดอีกครั้งหนึ่งเป็น ทวิช (เกิดครั้งที่สอง)

2. คฤหัสถ์ เป็นการครองเรือน คือ การแต่งงาน ข้อปฏิบัติคือ การบูชาเทวดาเช้า ค่ำ ปฏิบัติตามหลักผู้ครองเรือน มีครอบครัว เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่อ่านคัมภีร์ สอน บูชา และช่วยผู้อื่นบูชา

3. วานปรัศน์ หลังจากมีลูกหลาน กลายเป็นผู้เฒ่า ก็ให้ละทิ้งครอบครัว บำเพ็ญเพียรในที่สงบ หรือบำเพ็ญตบะเพื่อบรรลุธรรมขั้นสูง มีชื่อเรียกต่างๆ คือ
ฤาษี (ผู้แสวงหาโมกษ) , โยคี (ผู้บำเพ็ญโยคะ) , ตาปส (ผู้บำเพ็ญตบะ ทรมานกาย) , มุนี (ผู้สงบ บำเพ็ญตปะ นุ่งห่มสีเหลือง) , สิทธา (ผู้สำเร็จได้ฌานสมาบัติ) , นักพรต (ผู้บวชบำเพ็ญพรตพรหมจรรย์) , ชฎิล (ผู้มุ่นผมสูงเป็นชฎา จนตลอดชีวิต) แล้วแต่พราหมณ์ผู้นั้นจะเลือกปฏิบัติ

4. สันยาสี ให้สละโสดแล้วออกไปอยู่ในป่า คือเป็นนักบวชที่ออกจาริกไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพราหมณ์ผู้ท่องเที่ยว เลี้ยงชีพด้วยภิกขาจาร ใจมุ่งตรงต่อพระพรหม

หลักธรรม 10 ประการ

ธฤติ  ได้แก่  ความมั่นคง  ความกล้า  ความสุข  คือ ความพากเพียรจนสำเร็จ และพอใจในสิ่งที่ตนมี

กษมา  ได้แก่ความอดกลั้น ความอดทน

ทมะ  ได้แก่  การระงับจิตใจ  การข่มใจ

อัสเตยะ  ได้แก่  การไม่ลักขโมย

เศาจะ  ได้แก่  การทำตนให้บริสุทธิ์ ทั้งกายและใจ

อินทรียนิครหะ  ได้แก่  การระงับอินทรีย์ทั้ง 10 คือ ประสาทความรู้ 5 ประการ ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น  และผิวหนัง ประสาทความรู้สึก ทางการกระทำ ได้แก่ มือ เท้า ทวารหนัก ทวารเบา และลำคอ

ธี  ได้แก่  ปัญญา  สติ

วิทยา  ได้แก่  ความรู้ทางปรัชญา

สัตยะ  ได้แก่  ความจริง  ความสุจริต  ความซื่อสัตย์

อโกธะ  ได้แก่ ความไม่โกรธ

หลักธรรม  10  ประการ มีจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติ รู้จักควบคุมตนเอง ไม่ให้หลงมัวเมาในสิ่งผิด

หลักปุรุษารถะ

หลักปุรุษารถะ หรือจุดมุ่งหมายของชีวิต

ธรรม หมายถึง  หลักศีลธรรมในสังคม เพื่อให้สังคมอยู่อย่างสันติสุข

กาม  เป็นการหาความสุขทางโลก  โดยให้ดำเนิน ไปตามแนวของธรรม ซึ่งมีผลให้ตนเอง มีความสุข ขณะที่สังคมก็มีความสุขด้วย

อรรถ  เป็นการแสวงหาทรัพย์ หรือการสร้างฐานะ ทางเศรษฐกิจ โดยยึดแนวทางธรรมเป็นหลัก

โมกษะ  เป็นอิสรภาพแห่งวิญญาณ  หลุดพ้น จากการเวียนว่ายตายเกิด หรือหลุดพ้น จากสังสารวัฏ  เป็นอุดมคติและคุณค่าสูงสุด ของชีวิต  ถือเป็นความสุขอันเป็นนิรันตดร์ (ข้อนี้ น่าจะเลียนแบบพุทธ  เนื่องจากพราหมณ์ มีหลักการ คือ ต้องเข้าสู่ปรมาตมัน คือ พระพรหม ไม่ใช่หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด)

หลักปรมาตมันและโมกษะ

ปรมาตมัน  เป็นดวงวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นเอง  เป็นต้นเหตุของสรรพสิ่ง (คล้ายกับ พระเจ้า (GOD) ในคริสต์ศาสนา) หรือสรรพสิ่ง เกิดจากปรมาตมัน ปรมาตมันเป็นอมตะ ไม่มีเบื้องต้น และไมีมีที่สิ้นสุด ไม่ทีเพศ เป็นสันติสุขในตัวเอง  เป็นปฐมวิญญาณ ของสิ่งทั้งปวง  และเป็นบ่อเกิดของอาตมัน

อาตมัน เป็นดวงวิญญาณของปรมาตมัน คือ ที่เกิดเป็นสัตว์ต่าง ๆ  เช่น มนุษย์ เทพเจ้า เดรัจฉาน ฯลฯ

โมกษะ  การที่ดวงวิญญาณย่อยหรือาตมัน รวมเป็นหนึ่งเดียวกับปรมาตมันได้นั้น จะต้องเข้าถึงจุดหมายของชีวิตให้ได้ ซึ่งก็คือ โมกษะ หรือการหลุดพ้นจากสังสารวัฏ ส่วนวิธี ที่จะหลุดพ้นจากสังสารวัฏ คือ มรรคสี่ ได้แก่

กรรมมรรค  คือการละกรรม ที่เป็นต้นเหตุ ให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิด พึงกระทำกรรมที่เป็นเหตุให้เข้าถึง การหลุดพ้น

ชญานมรรค  คือ วิถีแห่งการหลุดพ้น ด้วยการรู้แจ้งในบรมสัตย์

ภักติมรรค คือ วิถีแห่งการหลุดพ้น ด้วยการภักดีในองค์พระเป็นเจ้า

ราชมรรค คือ วิถีแห่งการหลุดพ้น ด้วยการฝึกฝนทางจิต

หลักทรรศนะ 6

หลักทรรศนะ 6 เป็นหลักธรรม และการปฏิบัติ ที่เป็นการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง ที่ทำให้ความเป็นพราหมณ์กลายมาเป็นความเป็น ฮินดูในปัจจุบัน  หลักทรรศนะ 6 ได้แก่ ลัทธิสังขยา  ลัทธิโยคะ (เน้นการบริกรรม คำว่า “โอม” เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้ในการภาวนา) ลัทธินยายะ  ลัทธิไวเศษิกะ  ลัทธิมีมางสา หรือปูรวมีมางสา  และลัทธิเวทานตะ

หลักปรัชญาภควคีตา

         หมายถึง ”บทเพลงแห่งพระเป็นเจ้า” เป็นชื่อคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่เล่าเรื่องโดย ฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วยาส โดยฤาษีตนนี้ ได้เล่าเรื่องราวของมหาภารตะให้แก่ พระพิฆเนศ และพระพิฆเนศก็ได้จดจาร บันทึกไว้เป็นตัวอักษร ก่อเกิดเป็นมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวฮินดูใช้ปฏิบัติกันจวบจนปัจจุบัน  มหาภารตะ เป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลก แต่งเป็นกาพย์มี 700บท โศลกรูปเรื่องแต่งเป็นการสนทนาระหว่างบุคคล 2 บุคคล คือ พระอรชุน กับ พระกฤษณะ

คำสั่งสอนของพระกฤษณะที่กล่าวในภควัทคีตา มิใช่เพียงสั่งสอนอรชุนเท่านั้น หากยังเหมาะสำหรับทุกคน เพราะแต่ละคำสอน จะสามารถอธิบาย และครอบคลุมปัญหาต่าง ๆ ที่เกิด หรือสิ่งที่อยู่ในใจของศาสนิกชนให้หมดสิ้นเช่น ใครเป็นผู้สร้างจักรวาลและสิ่งต่าง ๆ ในจักรนวาล ที่ปัญหานี้อรชุนได้ถามพระกฤษณะ คำตอบคือ พระองค์นั่นเองเป็นผู้สร้าง และเป็นผู้ทำลาย พระองค์จะมาในรูปแบบที่ต่างกัน ทุก ๆ สิ่งในจักรวาล จะมีพระองค์เป็นส่วนหนึ่งเสมอ แม้สิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของพระองค์ และเขาเหล่านั้น ก็พยายามที่จะกลับไปสู่จุดหมายอันเดียวกันนั่นคือ พระองค์ หรือพระกฤษณะนั่นเอง เมื่อใดเขาเหล่านั้นสามารถที่จะกลับมาพบพระองค์แล้ว วิญาณนั้นก็ถือว่าเป็นอมตะ และเมื่อสิ่งใดหรือเขาเหล่านั้นได้กลับมาพบกับพระกฤษณะ การพบนี้ก็เรียกว่า นิรวาน ตราบใดที่สิ่งเหล่านั้นไม่ถึงนิรวาน วิญาณก็จะไม่มีการสิ้นสุด จะเวียนว่ายตายเกิดไปเรื่อย ๆ โดยจะเปลี่ยนแปลงไปตามกรรม ที่แต่ละบุคคลได้กระทำขึ้น ซึ่งจะเปลี่ยนแปลง เกิดในสิ่งต่าง ๆ ถึง ๘ ล้าน ๖ แสน ๔ หมื่นชนิด
ในจำนวนสัตว์ทุกชนิดนั้น มนุษย์ถือว่าเป็นสัตว์ชั้นสูงที่สุด ประเสริฐที่สุด แต่การที่จะเกิดเป็นมนุษย์ได้นั้นยากมากเพราะจะต้องสร้างกรรมดีมาตลอด มนุษย์สามารถมีอิสระที่จะทำความดีได้ และอาจจะบรรลุถึงนิพพาน
กรรมในภควัทคีตา  กรรมที่จะทำขึ้นในมนุษย์ประกอบด้วยกรรมสามชนิดคือ กรรมดี กรรมชั่ว และกรรมที่เป็นไปตามปกติ สม่ำเสมอ
ยังมีกรรมวอีกประเภทหนึ่งถือว่าเป็นกรรมชั้นสูงที่สุดคือการสร้างกรรมหรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่เห็นประโยชน์ส่วนตน ทำเพื่อคนอื่น ในการทำกรรมนี้ มนุษย์ต้องเสียสละตนเองเพื่อประเทศชาติ
กรรมชั้นสอง คือการปฏิบัติหนัาที่ตามความเหมาะสมในนอันที่ควร เช่นนักเรียนควรมีหน้าที่ศึกษา
กรรมชั้นสาม คือกรรมที่ทำเพราะความจำเป็น

การปฎิบัติระหว่างบุคคลต่อบุคคล

ในคัมภีร์ และตำราของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ได้บัญญัติการปฎิบัติระหว่างบุคคลไว้เป็นอันมาก เช่น

ปิตฤธรรม  คือ การปฎิบัติหน้าที่ของบิดาต่อบุตร บิดาต้องรับหน้าที่เลี้ยงดูบุตร ถึงบุตรมีอายุบรรลุนิติภาวะในการเลี้ยงดูบุตรนั้น

มคฤธรรม  คือ การปฎิบัติหน้าที่ของมารดาต่อบุตร มารดาจะต้องรับหน้าที่เหมือนบิดา แต่เอาใจใส่เป็นพิเศษกับบุตร ตอนที่บุตรอยู่ในบ้าน หากบุตรนั้นเป็นเพศหญิง จะรับหน้าที่อบรมสั่งสอนเป็นพิเศษ  เพื่อสร้างอนาคตของบุตรหญิงนั้น ๆ มารดาเป็นครูคนแรกของเด็ก ๆ มารดาจึงต้องระมัดระวัง สร้างนิสัย อุปนิสัยเด็กก่อน

อาจารยธรรม  คือ การปฎิบัติหน้าที่ของครู อาจารย์ต่อศิษย์ครูอาจารย์จะต้องรับหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ ให้แก่ศิษย์อย่างถูกต้อง ยุติธรรม เลี้ยงดูลูกศิษย์อย่างที่พ่อแม่เลี้ยงดูบุตร สร้างและแก้ไขความประพฤติ นิสัย อุปนิสัยของลูกศิษย์ ร่วมกับพ่อแม่ของลูกศิษย์

บุตรธรรม และศิษยธรรม  คือ การปฎิบัติหน้าที่ของบุตรต่อบิดามารดา และการปฎิบัติหน้าที่ของลูกศิษย์ต่อครู ในตำราของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ได้บัญญัติไว้ว่า  บุคคลที่จงรักภักดีต่อมารดา ผู้นั้นเป็นผู้ชนะโลกนี้ บุคคลที่จงรักภักดีต่อบิดา ผู้นั้นย่อมชนะโลกสวรรค์ และบุคคลที่จงรักภักดีต่อครู – อาจารย์ ผู้นั้นย่อมชนะโลกพระพรหม  (พรหมโลก)

ภราตฤธรรม  คือ การปฎิบัติของพี่ต่อน้อง และร้องต่อพี่ น้องต้องเคารพนับถือพี่เหมือนบิดามารดา และครูจึงมีบัญญัติว่า จะถือว่าครู อาจารย์เป็นรูปพระปรมาตมัน บิดาเป็นรูปพระประชาบดี มารดาเป็นรูปพระแม่ธรณี และพี่เป็นรูปพระครู จงอย่าดูถูกทั้งบิดามารดา ครู และพี่ ไม่ว่าตนเองอยู่ในฐานะใดก็ตาม

ปติธรรม  คือ การปฎิบัติหน้าที่ของสามีต่อภรรยา ผู้เป็นพี่ชายต้องเลือเจ้าสาว ผู้ที่เหมาะสมแก่ตระกูลของตน เหมาะต่อสังคมที่ตนอาศัยอยู่ ดังนั้น ก่อนเลือกเจ้าสาวจึงต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ก่อน  เมื่อเป็นภรรยาแล้วก็ต้องเลี้ยงดูกันไปตลอดชีพ เอาใจใส่ต่อภรรยาอย่างจริงจัง ถือว่าผู้หญิงอื่น ๆ เป็นเสมือนมารดา พี่น้อง หรือลูกหลาน (ตามวัย) ของตน ได้มีบัญญัติไว้ว่า ที่ไหนสตรีเพศ (ภรรยา) ได้รับความนับถือจากฝ่ายชาย (สามี) ที่นั้นย่อมมีเทพทั้งหลายอาศัยอยู่ตลอดกาล  ที่ไหนภรรยาได้รับแต่อนาทร ที่นั้นการกระทำการกุศลของฝ่ายชายกลายเป็นโมฆะ ตระกูลใดหรือครอบครัวใดในระหว่างสามีกับภรรยา มีความพอใจซึ่งกันและกัน ตระกูลนั้น หรือครอบครัวนั้น ย่อมมีแต่ความสุขความเจริญอย่างแน่นอน

ปัตนีธรรม  คือ การปฎิบัติหน้าที่ของภรรยาต่อสามี ผู้เป็นภรรยาต้องปฎิบัติหน้าที่ต่อสามีด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ต้องเอาใจใส่ต่อสามีอย่างจริงจัง อยู่ในโอวาทและความควบคุมดูแลของสามีตลอด

สวามี – เสวกธรรม  คือ การปฎิบัติหน้าที่ของสวามี (นายจ้าง)  ต่อเสวก (ลูกจ้าง)   และการปฎิบัติหน้าที่ของเสวกต่อสวามี  ผู้เป็นนายจ้างมีหน้าที่เลี้ยงลูกจ้าง และครอบครัวของเขา จ่ายเงินเดือน หรือให้ตอบแทนประการใด ก็ควรพิจารณาก่อนว่า ปัจจัยที่มอบให้แก่ลูกจ้างนั้น มีเพียงพอเพื่อการครองชีพของเขา และครอบครัวหรือไม่  ต้องเอาใจใส่ในทุกข์สุขของเขา เช่นเดียวกับผู้เป็นลูกจ้าง ต้องปฎิบัติงานซื่อสัตย์ต่อนายจ้าง  และทำอย่างที่นายจ้างได้รับผลมากที่สุด

ราชธรรม  คือ การปฎิบัติหน้าที่ของพระราชาต่อประชาชน กับปฎิบัติหน้าที่ของประชาชนต่อพระรชา จงถือว่าประชาชนเป็นเสมือนบุตรหลาน และเอาใจใส่ความสุขทุกข์ของประชาชนอย่างใกล้ชิด ในด้านประชาชนมีหน้าที่ต้องถวายความเคารพนับถือพระราชาอย่างสูงสุด พระราชาธิราชเจ้า ทรงเป็นเสมือนเทพเจ้าแปดองค์คือ พระอินทร พระยมราช พระวายุ พระสูรย์ พระอัคนี พระวรุณ พระจันทร พระกุเวร  ในคัมภีร์ได้กล่าวไว้ว่า พระพรหมธาดาได้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ โดยเอาพระเดชาบารมีของเทพเจ้าทั้งแปดดังกล่าวแล้ว เพื่อปกป้องปกครองและรักษาประชาชน ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู  ได้ถวายความเคารพนับถือพระราชาเสมือนดังพระนารายณ์ด้วย

มานวธรรม  มีการสั่งสอนไว้หลายประการด้วยกัน เช่น

– หากเกิดมาเป็นมนุษย์ จงปฎิบัติแต่ทางกุศล

– บุคคลที่ได้กระทำโดยการพูด โดยกาย โดยใจ แล้ว ผลแห่งการกระทำนั้นก็จักอำนวยให้แก่บุคคลนั้น เป็นอุดมคติ จึงจงทำแต่ดีตลอด

– คิดแต่ทรัพยสมบัติของผู้อื่น คิดแต่ทำเสียประโยชน์ของผู้อื่น ไม่ยอมนับถือผู้ใหญ่  เป็นโทษทางจิตใจ จงอย่าทำ

– ก่อนจะลงมือกระทำใด ๆ  จงพิจารณาดูว่าขัดกับธรรมเนียมประเพณีของประเทศชาติ หรือขัดแย้งกับขนบธรรมเนียมของตระกูลตนเอง หรือของสังคมที่ตนสังกัดอยู่หรือไม่  หากไม่ขัดแล้วจึงลงมือทำ

– บุคคลใดไม่ซื่อตรงต่อมิตร ไม่รู้จักบุญคุณ หักหลังผู้อื่น ต้องไปตกนรก

– บุคคลใดที่เสียสละชีวิตเพื่อประเทศชาติ เพื่อธรรมบุคคลนั้นจะไปสุคติสูงสุด โดยผ่านสุริยจักรวาลไป

– ในโลกนี้ ใครมาแย่งที่ดิน (ประเทศชาติ)  ของเรา ซึ่งปู่ย่าและบิดามารดาได้รักษาไว้ ผู้นั้นจะเป็นศัตรูที่หนึ่งของเรา ขอให้ทำลายผู้นั้นเสีย ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นญาติมิตรก็ตาม

– พระราชาเป็นญาติของผู้ที่ไม่มีญาติ  เป็นตาของผู้ที่ไม่มีความสว่างในดวงตา เป็นบิดาและมารดาของประะชาชน ที่เดินบนทางยุติธรรม

– ทรัพยสมบัติเงินทองมีคติ ๓ ประการ คือ จ่ายออกโดยจัดทานในกุศลธรรมต่าง ๆ จ่ายออกเพื่อหาเครื่องอุปโภคบริโภค หากไม่จัดทำทั้งสองประการนี้แล้ว ก็ถูกวินาศไป

– จงฟังสาระสำคัญธรรม คือ สิ่งที่ตนเองไม่ชอบ สิ่งนั้นอย่าอำนวยให้แก่ผู้อื่น  การกระทำของผู้อื่นประการใดที่เราไม่ชอบ อย่ากระทำการนั้นต่อผู้อื่น สารธรรมนี้จงถือไว้ตลอดไป ก็มีแต่ความสุขสันต์เป็นนิตย์

การปฏิบัติประจำวันทางศาสนา

การปฏิบัติประจำวันทางศาสนาคือทำบูชาห้าประการหรือการกระทำพิธียัญญะห้าประเภท

พรหมยัญญะ  ได้แก่ การตั้งจินตนาการถึงเฉพาะแต่พระปรมาตมันและอาตมา โดยตั้งสมาธิทางลัทธิโยคะ หรือกระทำพิธีบูชาตามคำสั่งสอนของคัมภีร์พระเวท หรือมิฉะนั้นก็ทำการศึกษาพระธรรมให้แตกฉานยิ่งขึ้น ผู้บรรลุพรหมยัญญะจะสามารถบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่คนทั้งปวงได้ด้วยใจบริสุทธิ์ โดยมิได้เลือกหน้า

พรหมยัญญะ กระทำสามเวลา ตอนเช้าระหว่าง ๐๔.๐๐ น. ถึง ๐๘.๐๐ น. ตอนกลางวันระหว่าง ๑๑.๓๐ น. ถึง ๑๓.๐๐ น. ตอนเย็นระหว่าง ๑๗.๑๕ น. ถึง ๒๐.๐๐ น. ตอนเช้าตื่นขึ้นมาแล้วชำระร่างกายให้บริสุทธิ์ก่อนเข้าพิธี ใช้คาถาพระคายตรีอ่านในใจและจินตนาการ พระรูปกายตรีปางทรงพรหมา ไปพร้อมกัน กลางวันอ่านคาถาพระกายตรีและจินตนาการพระแม่กายตรีปางพระนารายณ์ ตอนเย็นอ่านคาถาพระกายตรีและจินตนาการรูปพระแม่กายตรีปางพระศิวะ

การอ่านพระคาถากายตรีต้องวอ่านหนึ่งพันครั้งในแต่ละเวลา หากปฎิบัติได้ ๑๒ ปี ก็จะมีบารมีสูงขึ้นในร่างกายและจิตใจของผู้ปฏิบัติ มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเองเป็นพิเศษ หากไม่สามารถปฏิบัติได้ถึงขั้นนี้ ก็ต้องอ่านหนึ่งร้อยแปดครั้งในแต่ละเวลา ถ้าเห็นว่ายังทำไม่ได้อีกก็อ่านเพียงสองเวลาเช้า เย็น

เทวยัญญะ  ได้แก่ การทำพิธีบูชาไฟชนิดที่เรียกว่า การหวน หมายถึงการเวียนกลับหรือหมุนเวียนกลับ ในการบูชาไฟย่อมมีสิ่งของต่าง ๆ เช่น เนยงาดำ ธูป ผง ไม้จันทน์ กำยาน ฯลฯ ของเหล่านี้เมื่อนำมาเผาก็ทำให้เกิดควัน ควันเหล่านี้ก็จะกลายมาเป็นเมฆ เมฆกลายเป็นฝน

ปิตฤ ยัญญะ ได้แก่การสักการะบูชาบรรพบุรุษ ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ และล่วงลับไปแล้ว มีสี่ประเภทด้วยกันคือ

– บิดามารดา น้า อา ป้า ลุง ที่เป็นบรรพบุรุษสายเลือดแห่งตระกูล ที่ยังมีชีวิตอยู่

– ครู อาจารย์ ผู้สอนศาสนา ตลอดจนผู้เขียนหนังสือธรรมะ นักบวช พระเจ้าแผ่นดินที่ยังมีชีวิตอยู่

– สิ่งที่มีประโยชน์แก่มนุษย์ชาติโดยธรรมชาติเช่น มาตุภูมิ ดิน น้ำ ลม ไฟ พระอาทิตย์ พระจันทร์ ฯลฯ

– บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

มนุษยยัญญะ ได้แก่ การรู้จักต้อนรับแขก และการปฏิบัติในทางที่ดีต่ออาคันตุกะ ผู้มาเยี่ยมเยียน รวมถึงการกระทำเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษย์

ภูตยัญญะ ได้แก่ การมีอุปการะและเมตตากรุวณาต่อชีวะทุกประเภททั่วโลกคือการไม่เบียดเบียนใคร

คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

คัมภีร์ศุรติ

ศรุติ แปลตามรูปศัพท์ว่า ได้ยิน ได้ฟัง ได้แก่ คัมภีร์ที่ถือว่าได้ยินได้ฟังมาจากพระผู้เป็นเจ้าโดยตรง ไม่มีผู้แต่ง เป็นสัจธรรมที่มีความจริงแท้ เพราะเป็น คาสอนของพระเจ้า เป็นประมวลความรู้ต่างๆอันเป็นความรู้ทางศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นบทสวดสรรเสริญอ้อนวอน พิธีกรรมเพื่อการบูชาพระเจ้า เวทมนต์คาถา และกวีนิพนธ์ อันไพเราะ บันทึกด้วยภาษาสันสกฤต เรียกว่า คัมภีร์พระเวท แบ่งออกเป็น 4 คัมภีร์หรือหมวด เรียกว่า สังหิตา คือ
1) ฤคเวท เป็นคัมภีร์เก่าแก่ที่สุด เป็นบทสวดหรือมนต์สรรเสริญอ้อนวอน พระผู้เป็นเจ้า บทสวดในคัมภีร์ฤคเวทเป็นบทร้อยกรอง
2) ยชุรเวท เป็นคัมภีร์ที่เป็นคู่มือประกอบพิธีกรรมของพราหมณ์ ซึ่งเป็นบท ร้อยแก้วที่อธิบายวิธีการประกอบพิธีกรรม บวงสรวงและการทาพิธีบูชายัญ
3) สามเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทสวดมนต์ ซึ่งเป็นบทร้อยกรอง ใช้สาหรับสวดในพิธีถวายน้าโสมและขับกล่อมเทพเจ้า
4) อาถรรพเวท เป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นใหม่ในปลายสมัยพราหมณ์ เป็นคาถาอาคมมนต์ขลังศักดิ์สิทธิ์ สาหรับทาพิธีขับไล่เสนียดจัญไร และอัปมงคลให้กลับมาเป็นมงคล นาความชั่วร้ายไปบังเกิดแก่ศัตรู
คัมภีร์พระเวท แม้จะมีจานวน 4 เล่ม แต่ก็เรียกว่า ไตรเพทหรือไตรเวท เพราะพวกพราหมณ์ได้แต่งคัมภีร์อาถรรพเวท ขึ้นมาในภายหลังยุคพระเวท

คัมภีร์สมฤติ

สมฤติ แปลตามรูปศัพท์ว่า สิ่งที่จาไว้ได้ จึงเป็นคัมภีร์ที่จดจาและถ่ายทอดกันสืบต่อมา ได้แก่ คัมภีร์ที่ปราชญ์ทางศาสนาได้แต่งขึ้นเพื่ออธิบายเนื้อหา และ สนับสนุนให้การศึกษาคัมภีร์พระเวทเป็นไปโดยถูกต้อง