สาเหตุของความเครียดในวัยรุ่นมีอะไรบ้าง

กรมสุขภาพจิต สะท้อนสถานการณ์วัยรุ่นมีแนวโน้มความเครียดกว่าวัยทำงานถึง 4 เท่า  แนะครอบครัว-สังคมใส่ใจความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของสมาชิก


พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต เปิดเผยเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2565 ว่า ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว มักจะถูกเพิกเฉยเพราะมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว จึงขอให้สังคมอย่าปล่อยปละให้ความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องเล็กน้อยอีกต่อไป เพราะในปัจจุบันนั้นมี พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ที่ให้การคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหา โดยเจตจำนงที่สำคัญก็เพื่อให้สังคมสามารถช่วยเหลือกัน

อย่างไรก็ดี หากพบเห็นความรุนแรงในครอบครัวสามารถแจ้งตำรวจหรือในชนบทเองสามารถแจ้งได้ทั้งกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านเพื่อทำหารช่วยเหลือได้ทันที วงจรการทำร้ายกันในครอบครัวก็จะสิ้นสุดลง แต่สิ่งสำคัญที่สุดคนในชุมชนอย่านิ่งเฉยและอย่ายอมให้มีการทำร้ายซ้ำแล้วซ้ำเล่า 

ทั้งนี้ การเกิดความรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่มีลูกวัยรุ่น มักมีที่มาจากปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่มีความเป็นตัวของตัวเอง ชอบคิดเอง ทำเอง พึ่งตนเอง ไม่ชอบที่จะถูกบังคับ รวมทั้งเป็นช่วงที่อารมณ์จะเปลี่ยนแปลงง่าย อีกทั้งในภาวะปัจจุบันจากผลสำรวจของ Mental Health Check In พบว่า วัยรุ่นมีแนวโน้มความเครียดสูงขึ้นมาก โดยระดับความเครียดในรอบเดือน มี.ค. ที่ผ่านมายังสูงกว่าในกลุ่มวัยทำงานถึง 4 เท่า 

สาเหตุที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ก่อความรุนแรง นอกจากเป็นขัดใจในเรื่องของ ความรัก ยังมีเรื่องการเรียน การใช้จ่าย รวมไปถึงการใช้เวลากับสิ่งที่เด็กสนใจจนแต่ถูกตำหนิเพราะเหมือนหมกมุ่นในสายตาผู้ใหญ่จนนำมาสู่การทะเลาะกัน ขัดแย้งกัน และนำไปสู่ความรุนแรงในที่สุด 

พญ.วิมลรัตน์ กล่าวว่า การสร้างความเข้าใจกันในครอบครัว การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เริ่มจากการรับฟังกันอย่างตั้งใจ เพื่อให้เข้าใจความคิด ความต้องการของกันและกัน เป็นการแสดงถึงความเข้าใจ ให้เกียรติ ยอมรับซึ่งกันและกัน เพิ่มการสื่อสารเชิงบวกเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาด้วยกัน

“ไม่ใช่เพียงตำหนิต่อว่ากันแล้วจบไป แต่ควรพูดคุยเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมร่วมกัน โดยการบอกความรู้สึก ความต้องการ ความเป็นห่วงของตนเองอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ผู้รับฟังเข้าใจความรู้สึกที่หวังดีของเรา ไม่ใช่เพียงรับรู้ถึงแค่ความโกรธความไม่พอใจถึงพฤติกรรมของอีกฝ่าย” พญ.วิมลรัตน์  ระบุ

 พญ.วิมลรัตน์ กล่าวต่อไปว่า สมาชิกในครอบครัวต้องสังเกตความขัดแย้งที่เด็กจัดการด้วยความสร้างสรรค์ไม่ได้เพื่อหาทางออกในการช่วยเหลือที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรง และอีกประเด็นที่สำคัญการคือขอความร่วมมือให้สื่อหรือประชาชนไม่นำเสนอการสัมภาษณ์เด็กที่เป็นจำเลยของคดีหรือสังคมผ่านช่องทางต่างๆ เนื่องจากเป็นคดีที่สร้างความอ่อนไหวอีกทั้งการเปิดเผยข้อมูลย่อมส่งผลกระทบในเชิงลบทั้งต่อจิตใจของเยาวชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทำให้ถูกตีตราและกีดกันต่อสังคมอีกด้วย 

กรมสุขภาพจิตเล็งเห็นว่าปัญหาทางอารมณ์ของเด็กเป็นเรื่องที่ทุกคนในสังคมต้องร่วมมือกันแก้ไข โดยสามารถเริ่มจากครอบครัวของตนเอง ไม่ควรมองว่าเรื่องของเด็กหรือความเครียดของเด็กเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ควรปรับวิธีการแก้ไขปัญหา โดยการรับฟังกัน เพิ่มการสื่อสารเชิงบวกในครอบครัว เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดี และครอบครัวต้องเป็นตัวอย่างในการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมโดยไม่ใช้ความรุนแรงต่อไป 

หากพ่อแม่ ผู้ปกครองสงสัยว่าสมาชิกในครอบครัวอาจมีปัญหามาจากเรื่องสุขภาพจิต สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือจิตแพทย์เพื่อร่วมกันวางแผนช่วยเหลือ หรือโทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับคำปรึกษาเบื้องต้นเพื่อไม่ให้ทุกอย่างสายเกินไป

       การจัดการกับความเครียด หรือ “Coping” หมายถึง ความพยายามในการแก้ไขความเครียดที่เกิดขึ้น โดยในที่นี้จะหมายถึง ความเครียดที่มากเกินกว่าความเครียดที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ ซึ่งสามารถใช้ความสามารถในการจัดการความเครียดระดับปกติจัดการได้ เป็นความพยายามทั้งทางด้านการควบคุมอารมณ์ ความคิด พฤติกรรม และการตอบสนองทางสรีรวิทยาของร่างกาย รวมไปถึงความพยายามในการควบคุมปัจจัยสภาพแวดล้อมด้วย โดยมีเป้าหมายเพื่อกำจัดความเครียดและทำให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตตามปกติได้ ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดนั้นอาจเป็นปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยภายในตัวเองก็ได้ แม้ว่าการจัดการกับความเครียด เป็นความพยายามที่เกิดขึ้นในระดับจิตสำนึกเป็นส่วนใหญ่ ต่างจากกลไกทางจิต (defense mechanism) ที่เกิดขึ้นในระดับจิตไร้สำนึกทั้งหมด แต่การจัดการกับความเครียดบางส่วนก็เป็นผลจากการทำงานของจิตใจในระดับจิตไร้สำนึก หรือเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติต่อปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียด

พบ “วัยรุ่น” เครียดสูง แนะ 3 เทคนิค จัดการความเครียด ฝึกแก้ปัญหา-ผ่อนคลาย-นำเทคโนโลยี ใช้ดูแลความเครียด  ย้ำสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 ช่วยได้ 

สังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และความเร่งรีบมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากการใช้ชีวิต เรียน ทำงาน เศรษฐกิจ การเมือง ค่านิยม และวัฒนธรรม ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นสาเหตุ ให้เกิดความเครียด โดยเฉพาะ “วัยรุ่น” ซึ่งถือเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ถือเป็นกลุ่มที่มีระดับความเครียดมากขึ้นในตอนนี้

จากสถิติสถาบันสุขภาพจิตเด็ก และวัยรุ่นราชนครินทร์ ที่ให้บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต ทางโทรศัพท์สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ปีงบประมาณ 2562 พบว่า มีวัยรุ่นโทรเข้ามาขอรับบริการปรึกษาในเรื่องความเครียดสูงสุด

กลุ่มของวัยรุ่น อายุ 11-19 ปี โทรมาขอรับบริการปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต ประมาณ 10,000 สาย ซึ่งปัญหาสุขภาพจิตที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรกสำหรับวัยรุ่น ได้แก่

อันดับที่ 1 ความเครียด/วิตกกังวล 51.36%

อันดับที่ 2 ปัญหาความรัก 21.39%

อันดับที่ 3 ซึมเศร้า 9.82%

สาเหตุของความเครียดในวัยรุ่นมีอะไรบ้าง

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า หากความเครียดที่เกิดขึ้น อยู่ในระดับที่มากจนเกินไป ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของบุคคล โดยเฉพาะ “วัยรุ่น” ซึ่งถือเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโต จากเด็กเป็นผู้ใหญ่ ที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และอารมณ์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

ดังนั้นวัยรุ่น จึงเป็นช่วงวัยที่สำคัญของชีวิต การเปลี่ยนแปลงของสังคม และสิ่งแวดล้อม ที่อยู่รอบตัววัยรุ่น ทำให้มีความเครียด และบางครั้ง ไม่สามารถปรับตัวให้เผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ หากวัยรุ่นมีความเครียดสะสม ในระดับที่มากเกินไป จะส่งผลกระทบทางด้านลบต่อ ปัญหาสุขภาพกาย และใจ

  • ด้านสุขภาพกาย ได้แก่ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดท้อง ปวดหลัง ใจสั่น
  • ด้านสุขภาพจิต ได้แก่ หงุดหงิด โกรธง่าย เบื่อหน่าย คิดมาก วิตกกังวล เศร้าหมอง ไม่มีสมาธิ

สาเหตุของความเครียดในวัยรุ่นมีอะไรบ้าง

รวมทั้งทางพฤติกรรม ได้แก่ เงียบขรึม เก็บตัว สูบบุหรี่ หรือดื่มสุรามากขึ้น ชวนทะเลาะ มีเรื่องขัดแย้งกับผู้อื่นบ่อยๆ อาจใช้สารเสพติด หากวัยรุ่นมีภาวะเครียดรุนแรงมากยิ่งขึ้น อาจถึงขั้นเกิดภาวะซึมเศร้า หรือเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้ นำมาซึ่งความสูญเสีย

ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันความเครียดในวัยรุ่น ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกจะช่วยลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้

จึงขอแนะนำ 3 เทคนิค จัดการกับความเครียด ที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่น ซึ่งวัยรุ่นแต่ละคนนั้น จะมีความคิด ความรู้สึก การรับรู้ ความคาดหวัง ความเป็นตัวตน และอารมณ์ที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

1. ฝึกแก้ปัญหา โดยให้วัยรุ่น มุ่งจัดการปัญหาเป็นลำดับแรก ฝึกแก้ปัญหา เมื่อเริ่มเกิดปัญหา ก่อนที่จะรู้สึกเครียดมากเกินไป แนะนำแหล่งให้ข้อมูลที่เหมาะสมกับปัญหา การช่วยเหลือวัยรุ่นปรับมุมมองต่อปัญหา หรือสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความตึงเครียด การสร้างความคิดเชิงบวก และมองเห็นข้อดีของตนเอง

รวมทั้งการมีเวลาให้กันภายในครอบครัว รับฟังทุกข์สุขของกันและกัน สร้างความสุขด้วยการช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน ในทุกโอกาสที่ทำได้

สาเหตุของความเครียดในวัยรุ่นมีอะไรบ้าง

2. ฝึกผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น การฝึกสมาธิ ฝึกหายใจ คลายกล้ามเนื้อ จินตนาการถึงบรรยากาศ ที่ทำให้เกิดความสุข การฟังเพลง ออกกำลังกาย ท่องเที่ยว เล่นดนตรี รวมทั้งหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือ ดื่มสุรา และการใช้สารเสพติด

3. การใช้เทคโนโลยี ในการดูแลความเครียด เป็นแนวทางหนึ่ง ที่จะช่วยรับมือ และป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาได้ในอนาคต

ในปัจจุบันมีการใช้ Mobile Application เข้ามาช่วยในการดูแลความเครียดของวัยรุ่น เช่น แอปพลิเคชัน Mental health Check Up 6 Packages พัฒนาโดยกรมสุขภาพจิต ร่วมกับสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้วัยรุ่นสามารถประเมินความเครียดเบื้องต้น และคัดกรองความเสี่ยงต่อปัญหาความเครียด ที่วัยรุ่นสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ กรมสุขภาพจิต ได้จัดให้มีบริการคลินิกคลายเครียด เพื่อแนะนำเทคนิ คและวิธีการในการคลายเครียดให้กับผู้รับบริการ หรือสามารถโทรขอรับคำปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง

“การป้องกันความเครียดในวัยรุ่น ต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ในสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลเฝ้าระวังความเครียดในวัยรุ่น รวมถึงการให้วัยรุ่นได้มีความรู้ในการตระหนักเกี่ยวกับภาวะเครียด เพื่อสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม”