คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมส มีสาขาอะไรบ้าง

Ваш запрос не может быть обработан
С данным запросом возникла проблема. Мы работаем чтобы устранить ее как можно скорее.

Зарегистрируйтесь или войдите на Facebook, чтобы продолжить.

Присоединиться

или

Вход

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมส มีสาขาอะไรบ้าง

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

From Wikipedia, the free encyclopedia

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นคณะ 1 ใน 3 คณะแรกที่ก่อตั้งมาพร้อมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยก่อตั้งในสมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามพร้อมกับ คณะวิชาการศึกษาและคณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์[1] คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นคณะด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิตแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นคณะที่เน้นการผลิตบัณฑิตเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาค  ด้วยสถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์  ส่งผลให้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีความเข้มแข็งด้านการวิจัยและงานบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน อีกทั้งยังสามารถบูรณาการและสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะที่ต้องการพัฒนาเป็น “คณะชั้นนำด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในระดับเอเชีย”

                คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีรากฐานการกำเนิดมาพร้อมกับการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ปัจจุบันมีหลักสูตรที่เปิดสอนหลากหลายสาขาวิชา ทั้งหลักสูตรทางภาษา (ภาษาไทย ภาษาอาเซียน ภาษาตะวันออก และภาษาตะวันตก) ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และการพัฒนาชุมชน ส่งผลให้เป็นคณะที่มีความโดดเด่นในการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคมจากรุ่นสู่รุ่นอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การกำกับดูแลของ รศ.ดร.นิตยา วรรณกิตร์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมส มีสาขาอะไรบ้าง

เป็นมาของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นคณะที่จัดตั้งขึ้นโดยการยุบรวมกันระหว่าง 2 คณะ คือ คณะมนุษยศาสตร์กับคณะสังคมศาสตร์ ภายหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม เปลี่ยนสถานะภาพเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคามในปี 2537 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการบริหารจัดการ และแบ่งส่วนราชการแยกเป็นภาควิชา และสำนักงานเลขานุการ  ในส่วนภาควิชาแบ่งเป็น 5 ภาควิชา คือ

1. ภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์

2. ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก

3. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

4. ภาควิชาประวัติศาสตร์

5. ภาควิชาภูมิศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมส มีสาขาอะไรบ้าง

กล่าวถึงการเรียนการสอนในภาพรวมของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

การเรียนการสอนในภาพรวมของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในแต่ละหลักสูตรจะสอนในด้านหลักการ ทฤษฎี และการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้สามารถสื่อสารภาษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสอดแทรกความรู้ทางด้าน สังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ที่มีความแตกต่าง  การใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อเรียนรู้ ปรับตัว และอยู่ร่วมกันในสังคม  

ปัจจุบันคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรี จำนวน 13 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท จำนวน 4 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก จำนวน 3 สาขาวิชา มีจำนวนนิสิตรวมกว่า 3,000 คน

รายละเอียดการเปิดสอนในระดับปริญญาตรี 12 หลักสูตร 15 สาขาวิชา

-ศศ.บ. สาขาภาษาไทย

-ศศ.บ. สาขาภาษาเพื่อการสร้างสรรค์สื่อ

-ศศ.บ. สาขาภาษาจีน

- ศศ.บ. สาขาภาษาตะวันออก (สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น)

-ศศ.บ. สาขาภาษาตะวันออก (สาขาวิชาภาษาเกาหลี)

-ศศ.บ. สาขาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน (สาขาวิชาภาษาเขมร)

-ศศ.บ. สาขาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน (สาขาวิชาภาษาลาว)

-ศศ.บ. สาขาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน (สาขาวิชาภาษาเวียดนาม)

-ศศ.บ. สาขาภาษาอังกฤษ

-ศศ.บ. สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ

-ศศ.บ. สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ (หลักสูตรนานาชาติ)

-ศศ.บ. สาขาภาษาฝรั่งเศส

-ศศ.บ. สาขาประวัติศาสตร์

-ศศ.บ. สาขาการพัฒนาชุมชนและสังคม

-วท.บ. สาขาภูมิศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมส มีสาขาอะไรบ้าง

รายละเอียดการเปิดสอนในระดับ ระดับปริญญาโท 5 หลักสูตร

-ศศ.ม. ภาษาไทย

-กศ.ม. การสอนภาษาอังกฤษ

- ศศ.ม. ศาสนาและภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

-ศศ.ม. ภาษาอังกฤษ (หลักสูตรใหม่)

-กศ.ม. การสอนภาษาและวรรณกรรมไทย

รายละเอียดการเปิดสอนในระดับ ระดับปริญญาเอก 3 หลักสูตร

-ปร.ด. ภาษาไทย

-ปร.ด.การสอนภาษาอังกฤษ (หลักสูตรใหม่)

-ปร.ด. ศาสนาและภูมิปัญญาเพื่อพัฒนา(หลักสูตร)

การเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา เป็นการเรียนการสอนที่เน้นในการต่อยอดองค์ความรู้ เน้นการทำวิจัย เพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น

จุดเด่นของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 

จุดเด่นของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีหลักสูตรที่หลากหลายผู้เรียนสามารถ เลือกเรียนในหลักสูตร หรือสาขาที่ตัวเองสนใจได้ เรามีหลักสูตรทางด้านภาษาที่มีความโดดเด่น และมีผู้เชี่ยวชาญเจ้าของภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี นอกจากนี้คณะเรายังมีหลักสูตรภาษา และวัฒนธรรมอาเซียน (เขมร ลาว และเวียดนาม) ซึ่งเป็นหลักสูตรเดียวในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งหลักสูตรทางด้านสังคมศาสตร์ เช่น ประวัติศาสตร์ การพัฒนาชุมชนและสังคม และภูมิศาสตร์ ด้วยเหตุนี้บัณฑิตที่จบไปจึงมีงานทำในหลากหลายอาชีพและยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างต่อเนื่อง

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมส มีสาขาอะไรบ้าง

อาชีพที่รองรับเมื่อนิสิตสำเร็จการศึกษา

สำหรับนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วนั้น สามารถไปประกอบอาชีพได้หลากหลายในตลาดแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น ครู อาจารย์ พนักงานราชการ เจ้าหน้าที่สถานทูต พนักงานในบริษัทเอกชน บริษัทนำเข้าส่งออกระหว่างประเทศ ล่าม นักแปล นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการ พนักงานในธุรกิจด้านบริการ เช่น สายการบิน และโรงแรม รวมทั้งยังสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวได้อีกด้วย

ฝากประชาสัมพันธ์หลักสูตรของคณะถึงผู้ที่สนใจจะเข้าศึกษาต่อ

สำหรับผู้ที่สนใจเรียนต่อในระดับบัณฑิตศึกษาของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สามารถติดตามข่าวสารได้ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://grad.msu.ac.th/th/index.php 

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมส มีสาขาอะไรบ้าง

Author