ประโยชน์ที่สมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนียนจะได้รับมีอะไรบ้าง

ประโยชน์ที่สมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนียนจะได้รับมีอะไรบ้าง
คู่มือสมาชิก 2565

ประโยชน์ที่สมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนียนจะได้รับมีอะไรบ้าง

คู่มืออบรมสมาชิกใหม่ขั้นพื้นฐาน

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี จำกัด
ที่พึ่งทางการเงินเพื่อคนทุกระดับชั้น ของชาวอำเภอบ้านดุง

 

จัดทำโดย
1.นายไชยง             วังคะฮาด               ประธานกรรมการศึกษา
2.นางถนอมศรี        โสภา                      กรรมการศึกษา
3.นายนีรนาท           เกียรติสยมภู         กรรมการศึกษา
5.นายประเสริฐ        สุวรรณไตร            เลขานุการกรรมการศึกษา

คณะกรรมการศึกษาและประชาสัมพันธ์ ชุดที่ 35/2565

ที่ตั้งสำนักงาน เลขที่ 500/101-2 ถ.ศรีจันทร์ ต.ศรีสุทธโธ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี 41190
โทร./แฟ็กซ์.042-271209 www.culbd.or.th
ชื่อไลน์กลุ่ม:สมาชิกยูเนี่ยนใหม่
 

ยามมีให้มาฝาก ยามยากให้มาถอน เดือดร้อนให้มากู้

ดูแลสวัสดิการแก่สมาชิกตลอดชีวิต

1.สหกรณ์คืออะไร

สหกรณ์ทั่วไป  
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตรัสว่า     สหกรณ์แปลว่าการทำงานร่วมกันการทำงานร่วมกันนี้ลึกซึ้งมากเพราะว่าจะต้องร่วมมือกันในทุกด้านทั้งในด้านงานการที่ทำด้วยร่างกาย  ทั้งในด้านงานการที่ทำด้วยสมองและงานการที่ทำด้วยใจ  ทุกอย่างนี้ขาดไม่ได้ต้องพร้อม
คำนิยม  สหกรณ์ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง การรับผิดชอบตนเองความเป็นประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม และความเป็นเอกภาพ
ความหมายตามกฎหมายว่าด้วย พรบ.สหกรณ์ พ.ศ. 2562
        คณะบุคคลซึ่งรวมกันดำเนินการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกสหกรณ์ผู้มีสัญชาติไทย โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนตาม พรบ.นี้
พระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562 ณ วันที่ 17 มีนาคม 2562
          “สหกรณ์จึงเป็นการรวมกลุ่มกันของคนที่มีปัญหาเดือดร้อนในเรื่องของความเป็นอยู่ จับจ่ายใช้สอย (เศรษฐกิจ) ตั้งเป็นองค์การธุรกิจ ที่จดทะเบียนตามกฎหมายสหกรณ์”
ภาพรวมของสหกรณ์
สหกรณ์เป็นองค์กรประชาชนที่เป็นของประชาชนและเพื่อประชาชนเป็นองค์กรที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาบ้านเมืองเป็นอย่างมาก และสหกรณ์เป็นตัวชี้วัดการพัฒนาประเทศ เพราะสหกรณ์สอนคนให้ช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถ้าบ้านเมืองของเรา เต็มไปด้วยคนที่ช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันไซร้ ชาติของเราจึงจะไปรอด
อุดมการณ์สหกรณ์
แนวความคิดที่เชื่อว่า วิธีสหกรณ์จะช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคมของมวลสมาชิก ให้มีความอยู่ดีกินดีและมีสันติสุข โดยการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กล่าวโดยสรุป
                   1. ช่วยเหลือตนเอง  (อย่างมีศักดิ์ศรี)
                   2. ช่วยเหลือกันและกัน (อย่างมีเมตตาธรรม)
                   3. ขยัน-ประหยัด (เป็นตัวอย่างที่ดี)
อุดมการณ์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เชื่อว่าการให้ในสิ่งที่เป็นไปได้และยั่งยืนคือ
แรงกาย(พลัง) มนุษย์เรายิ่งออกกำลังยิ่งทำให้ร่างกายแข็งแรง
แรงน้ำใจ คือคุณธรรมทางจิตที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่ในมโนสำนึก น้ำใจเป็นสิ่งที่ผลักดันให้ทำ คิด พูด
ในสิ่งที่สร้างสรรค์  ประโยชน์แก่ส่วนรวม
แรงสติปัญญา ทุกคนมีสติปัญญาตามธรรมชาติจะมากน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม
แรงจำนวน ทุกคนมีแรงเท่ากับหนึ่ง การมารวมกับผู้อื่นเท่ากับมา  เพิ่มแรงจำนวนให้แก่กลุ่ม
หลักการสหกรณ์ทั่วไป
เป็นแนวทางสำหรับสหกรณ์ต่าง ๆ ในการนำคุณค่าของสหกรณ์ไปสู่การปฏิบัติ มี 7 ประการ
1.การเปิดรับสมาชิกโดยทั่วไปตามความสมัครใจ
สหกรณ์เป็นองค์การแห่งความสมัครใจ เปิดรับบุคคลทั่วไปที่สามารถใช้  บริการสหกรณ์ได้และเต็มใจจะรับผิดชอบในฐานะสมาชิกเข้าเป็นสมาชิกโดยปราศจากการกีดกันทางเพศ ฐานะทางสังคม เชื้อชาติการเมืองหรือศาสนา
2. การควบคุมโดยสมาชิกตามแนวทางประชาธิปไตย
มีการควบคุมโดยสมาชิกซึ่งมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ สมาชิกในการออกเสียงเท่าเทียมกัน (สมาชิกหนึ่งคนหนึ่งเสียง)
3. การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก
สมาชิกมีส่วนร่วมในการลงทุน (ซื้อหุ้น) และสามารถจัดสรรเงินส่วนเกินของสหกรณ์
เพื่อวัตถุประสงค์
1. เพื่อการพัฒนาสหกรณ์ โดยอาจกันไว้เป็นเงินสำรองซึ่งอย่างน้อย ๆจะต้องมีส่วนหนึ่งที่นำมา  แบ่งปันกันไม่ได้
2. เพื่อตอบแทนแก่สมาชิกตามสัดส่วนของปริมาณธุรกิจที่สมาชิกได้ทำกับสหกรณ์
3. เพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่มวลสมาชิกเห็นชอบ
4. มีการปกครองตนเองและมีอิสระ
หากสหกรณ์จะต้องมีข้อตกลงผูกพัน  กับองค์การอันใดหรือจะต้องเพิ่มเงินลงทุนโดยอาศัยแหล่งเงินทุนภายนอก สหกรณ์จะต้องกระทำการดังกล่าวภายใต้เงื่อนไข  ที่มั่นใจได้ว่ามวลสมาชิกจะยังคงธำรง ไว้ซึ่งอำนาจในการควบคุมสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตยและยังคงดำรงความเป็นอิสระ
5. การให้การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร        
สหกรณ์ควรให้การศึกษาและการฝึกอบรมแก่สมาชิก กรรมการ ฝ่ายจัดการเพื่อบุคลากรเหล่านี้สามารถช่วยพัฒนาสหกรณ์และพึงให้ข่าวสารแก่สาธารณชนโดยเฉพาะเยาวชนและบรรดาผู้นำทางความคิด
6. การร่วมมือระหว่างสหกรณ์
สหกรณ์จะสามารถให้บริการแก่สมาชิกได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ขบวนการสหกรณ์ได้ โดยร่วมมือกันในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ
7. ความห่วงใยต่อชุมชน
สหกรณ์พึงดำเนินกิจการต่างๆเพื่อการพัฒนาชุมชนให้ความเจริญยั่งยืนตามนโยบายที่มวลสมาชิกเห็นชอบ
วิธีการสหกรณ์
การรวมกันร่วมมือทำธุรกิจ(แรงกาย แรงความคิด หรือปัญญาและแรงทรัพย์) โดยนำหลักการสหกรณ์มาใช้ในการปฏิบัติซึ่งสหกรณ์แต่ละประเภทจะมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันไป เช่น การจัดตั้งการระดมทุน การบริหารงาน การดำเนินธุรกิจและการส่งเสริมประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสมาชิกให้เป็นไปตามอุดมการณ์ หลักการสหกรณ์ โดยยึด - ข้อบังคับ- ระเบียบ - มติการประชุม
ประเภทของสหกรณ์ในประเทศไทย มี 8 ประเภท ดังนี้
1. สหกรณ์การเกษตร              5. สหกรณ์บริการ
2. สหกรณ์ประมง                  6. สหกรณ์ออมทรัพย์
3. สหกรณ์นิคม                    7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
4. สหกรณ์ร้านค้า                  8. สหกรณ์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคืออะไร
          ความหมาย   สหกรณ์สมบูรณ์แบบประเภทหนึ่งจัดตั้งขึ้นในหมู่สมาชิกที่มีวงสัมพันธ์เดียวกันดำเนินการภายใต้หลักประชาธิปไตย คือหนึ่งคนต่อหนึ่งเสียง สมาชิกสะสมทรัพย์รวมกันเพื่อเป็นทุนดำเนินการให้สมาชิกที่มีความจำเป็นกู้ยืมไปคณะกรรมการได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะได้รับการจัดสรรสู่มวลสมาชิก  ในรูปของดอกเบี้ยและเงินปันผล
เป็นองค์การที่เป็นกลางทั้งทางการเมือง ศาสนา  เชื้อชาติ และผิวพรรณ เป็นองค์การที่เสริมสร้างให้มีการรวมกันแบบสมัครใจ โดยยึดถือ “หลักของสิทธิมนุษย์ชน”และมีการปกครองแบบ “ปกครองตัวเองโดยสมาชิก” เป็นองค์การที่วางรากฐานให้สมาชิกเห็นประโยชน์ในการ “ร่วมกันคิดร่วมกันทำ”
“เครดิตยูเนี่ยน” เป็นคำที่ ฟริดริช วิลเลี่ยม ไรฟ์ไฟเซน บิดาเครดิตยูเนี่ยนโลกผู้ริเริ่มก่อตั้ง โดยแยกได้สองคำ คือ
เครดิต (Credit) หมายถึง ความเชื่อถึงได้ ความไว้วางใจได้
ยูเนี่ยน (Union) หมายถึง การรวมเป็นหนึ่งเดียว
ดังนั้นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน  คือ การรวมเอาคนที่ไว้เนื้อเชื่อใจกันไว้วางใจกัน ได้เข้าเป็นหนึ่งเดียวกันเพี่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุจุดหมาย
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี จำกัด เป็นสหกรณ์ประเภทเครดิตยูเนี่ยนตามประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2548  จัดตั้งขึ้นในหมู่สมาชิกที่มีวงสัมพันธ์เดียวกัน  ดำเนินการภายใต้หลักประชาธิปไตย คือ หนึ่งคนต่อหนึ่งเสียง สมาชิกจะสะสมเงินทุนเรือนหุ้นร่วมกัน เพื่อดำเนินการให้สมาชิกที่มีความจำเป็นเดือดร้อนกู้ยืมนำไปใช้  คณะกรรมการได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกและโดยสมาชิกของสหกรณ์นี้เอง  ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะได้รับการจัดสรรสู่มวลสมาชิกในรูปของเงินปันผล เงินเฉลี่ยคือ และสวัสดิการต่างๆ

 ตราของสหกรณ์  และมีความหมายดังต่อไปนี้
“รูปโลก ภาพเงาคน 4 คน และรูปมือคู่”
หมายถึง ตราของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี จำกัด เป็นสัญลักษณ์ของการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของมวลสมาชิก จากบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่งทั่วโลก ตามอุดมการณ์หลักการ และวิธีการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
วงสัมพันธ์ หมายถึง  ท้องที่ดำเนินงานของสหกรณ์ เช่น การมีที่อยู่อาศัยในท้องถิ่นเดียวกัน การมีอาชีพการงานเดียวกัน การเป็นสมาชิกในสมาคม หรือหน่วยงานเดียวกัน

         วัตถุประสงค์ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี จำกัด             
          ตามข้อบังคับของสหกรณ์ฯ มีจุดมุ่งหมายส่งเสริมสนับสนุนให้เป็นสถาบันการเงินและสวัสดิการชุมชน มีขอบเขตวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้สมาชิกช่วยตนเอง เพื่อดำเนินธุรกิจและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยใช้หลักคุณธรรมพื้นฐานห้าประการ ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความเห็นใจกัน และความวางใจกัน รวมทั้งจริยธรรมอันดีงาม อันมีการประหยัด เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกและส่วนรวม ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม จนสามารถอยู่ดี กินดี มีสันติสุข
รวมทั้งในข้อต่อไปนี้
1.ส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
2.จัดหาทุนและบริการสินเชื่อเพื่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีพ
3.ทำหรือจัดหาปัจจัยการผลิต รวมซื้อ รวมขาย สินค้าและบริการของสมาชิก รวมทั้งจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค หรือ แปรรูปผลผลิตของสมาชิก
4.ร่วมมือกับสหกรณ์อื่น องค์กรชุมชน ภาคเอกชน และหน่วยงานของรัฐ
5.ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกและชุมชน

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแตกต่างจากธนาคาร แชร์และนายทุนเงินกู้อย่างไร

ข้อเปรียบเทียบสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนธุรกิจการเงินรูปอื่นวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สะสมทรัพย์ให้กู้ยืมบำบัดความเดือดร้อนและสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวเพื่อธุรกิจการค้าและการแสวงหาผลกำไรนโยบายมุ่งด้านการรวบรวมคนมากกว่าทุนมุ่งด้านการรวบรวมทุนต้องการทุนในการดำเนินงานมากขึ้นอำนาจในการบริหารอำนาจสูงสุดเป็นของสมาชิกทุกคนโดยผ่านการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ษมาชิกออกเสียงได้คนละหนึ่งเสียงอำนาจสูงสุดเป็นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ การออกเสียงขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นที่ถือการบริหารงานโดยคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ทำงานอาสาสมัครไม่มีเงินตอบแทนยกเว้นเหรัญญิกหรือพนักงานโดยกรรมการบริหาร หรือพนักงานระดับต่างตำแหน่งต้องมีเงินเป็นค่าตอบแทนมูลค่าหุ้นมูลค่าหุ้นคงที่และมีอัตราต่ำเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถือหุ้นได้ หุ้นมีจำนวนไม่จำกัดมูลค่าหุ้นเปลี่ยนแปลงตามฐานะของกิจการจำนวนหุ้นมีจำกัดการกู้ให้เงินกู้แก่สมาชิกโดยพิจารณาจากความจำเป็น อุปนิสัย และความสามารถในการชำระคืนของสมาชิกเป็นสำคัญให้เงินกู้แก่ผู้ที่มีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกันอย่างเพียงพอเป็นสำคัญการเสริมสร้างความมั่นคงเพื่อความมั่นคงของครอบครัวสมาชิก เช่น สวัสดิการเงินสะสมและสวัสดิการเงินกู้ โดยชุมนุมฯ จะสมทบเงินสะสมให้แก่สมาชิก และชำระคืนเงินกู้แทนสมาชิกให้แก่สมาชิกเมื่อสามาชิกตายหรือทุพพลภาพ ฯลฯไม่มีบริการด้านนี้การให้การศึกษามุ่งให้ความรู้แก่สมาชิกและกรรมการอย่างต่อเนื่องในเรื่องการบริหารงานสหกรณ์ การประหยัด อดออม และการใช้จ่ายเงินอย่างฉลาดไม่มีโครงการให้การศึกษาอย่างต่อเนื่องแก่ลูกค้าสมาชิก
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเกิดขึ้นครั้งแรกที่ไหน เมื่อไร
เครดิตยูเนี่ยนก่อกำเนิดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ "ข้าวยาก หมากแพง" ในสังคมของชาวเยอรมัน ในมณฑลเวสเตอร์วาล์ด (Westerwald)  แคว้นไรน์  (Rhine) ประเทศเยอรมันนี ในปี ค.ศ. 1847(พ.ศ.2390) หรือเมื่อ 173 ปีที่แล้ว อันเป็นยุคเดียวกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ภาวะเศรษฐกิจโดยทั่วไปตกต่ำ ประชาชนในมณฑลเวสเตอร์วาล์ด ขาดแคลนสิ่งอุปโภคและบริโภคระดับพื้นฐาน อาหารที่จะหารับประทานได้มีเพียงขนมปังกับมันฝรั่งเท่านั้น แต่ราคาซื้อขายกันในตลาดสูงมาก ฟริดริช วิลเฮล็ม  ไรฟ์ไฟเซ่น นายกเทศมนตรีหนุ่มแห่งเมืองเวเยอร์บุสซ ร่วมมือกับคหบดีในเมืองตั้งสมาคมผู้บริโภค โดยยึดปรัชญา “การเสียสละเพื่อผู้ได้รับทุกข์”ต่อมาไรฟ์ไฟเซ่นได้ย้ายไปเมืองเฮดเดสดอร์ฟ พร้อมทั้งได้ตั้งสมาคมใหม่ชื่อว่า “สมาคมเพื่อการส่งเคราะห์แห่งเมืองเฮดเดสดอร์ฟ” การดำเนินงานเน้นการสร้างความเป็นอยู่ที่ดี และพัฒนาคุณธรรมของประชาชน ต่อมาในปี ค.ศ.1864(พ.ศ.2407) หรือ 156 ปีที่แล้วได้ปรับบทบาทของสมาคมใหม่โดยเน้นการจัดบริการสินเชื่อ และได้ตั้งชื่อสมาคมใหม่ว่า “เฮดเดสดอร์ฟเครดิตยูเนี่ยน” นับเป็นเครดิตยูเนี่ยนแห่งแรกของโลก สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศเยอรมันโดยท่าน เฟรดดริก   วิลเลี่ยม   ไรฟไฟเซ่น ชาวเยอรมันเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1864 (พ.ศ. 2407) หรือ 156 ปีที่แล้ว ชื่อกลุ่มเครดิตยูเนี่ยน เฮดเดสดอฟ
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเกิดขึ้นในประเทศไทยที่ไหน เมื่อไร
ปี 2506 เมื่อ 57 ปีที่แล้ว ผู้เผยแพร่ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก คณะเยซูอิตได้จัดการสัมมนาระดับชาติขึ้นที่บ้านเซเวียร์ ในหัวข้อเรื่อง “การพัฒนาเครดิตยูเนี่ยน” โดยมีผู้แทนจากประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง และประเทศไทยเข้าร่วมสัมมนา คนไทยเริ่มรู้จักเครดิตยูเนี่ยน ปี พ.ศ. 2508 เมื่อ 55 ปีที่แล้ว นายแพทย์ชวลิต จิตรานุเคราะห์ และบาทหลวงบอนแนงค์ ซึ่งเป็นนักพัฒนาในแหล่งสลัมที่ห้วยขวาง ได้ร่วมกันจัดตั้ง “เครดิตยูเนี่ยนศูนย์กลางเทวา” ผู้นำบุกเบิก ได้แก่ บาทหลวงอัลเฟรด  บอนแนงค์ นายแพทย์ชวลิต จิตรานุเคราะห์ และนายอัมพร วัฒนวงศ์ ได้ก่อตั้งกลุ่มเครดิตยูเนี่ยน เป็นกลุ่มแรก เมื่อวันที่  25 กรกฎาคม พ.ศ.2508 ชื่อว่า เครดิตยูเนี่ยนแห่งศูนย์กลางเทวา ในปี พ.ศ.2515 ผู้นำ 103 คน จาก  60   เครดิตยูเนี่ยนทั่วประเทศรวมตัวสถาปนาชุมนุมระดับชาติ  ได้ขึ้นเป็นครั้งแรกและปี 2522 จดทะเบียนใช้ชื่อว่า “ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด
ประวัติความเป็นมาสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี จำกัด
ครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522  ได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในย่านธุรกิจการค้าของอำเภอบ้านดุง ซึ่งเป็นการสูญเสียทรัพย์สินอย่างมหาศาลที่สุดนับตั้งแต่การจัดตั้งอำเภอบ้านดุง ทำให้ประชาชนต้องประสบปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและการทำมาหากิน ทำให้เกิดการรวมกลุ่มคนของชาวอำเภอบ้านดุง เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการนำหลักการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมาใช้ จากการชักชวนของบาทหลวงเล้ง โคธิเสน และได้จัดตั้งกลุ่มครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2525 เมื่อ 38 ปีที่แล้ว ใช้ชื่อว่า “กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี” มีสมาชิกเริ่มต้น 15 คน และมีทุนเรือนหุ้น 1,030 บาท โดยมี นายรส เสียงล้ำ เป็นประธานกรรมการกลุ่ม(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) แต่การดำเนินการหยุดไปชั่วคราว เนื่องจากกลุ่มขาดความรู้ ความเข้าใจ และวิธีการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2527 ได้มีเจ้าหน้าที่ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด มาติดตามฟื้นฟูอีกครั้งหนึ่ง โดยอาศัยบ้านคณะกรรมการเป็นที่ทำการ และใช้ริมฟุตบาทข้างถนนเป็นที่ประชุมของสมาชิก จนได้รับความสำเร็จอีกระดับหนึ่ง เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2530 เมื่อ 33 ปีที่แล้ว ได้จดทะเบียนเป็นสหกรณ์ ตามความพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 ใช้ชื่อว่า “สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี จำกัด”เลขทะเบียนที่ สทส(อ)115/2530  ขณะนั้นมีสมาชิก 50 คน มีทุนดำเนินงาน 493,783.02  บาท  โดยมีนายชินพงษ์ พันธ์คุณากร เป็นประธานกรรมการดำเนินงานคนแรก แต่สหกรณ์ยังไม่มีรายได้ที่จะจัดจ้างเจ้าหน้าที่สหกรณ์มาปฏิบัติหน้าที่ประจำได้ จึงอาศัยกรรมการเป็นผู้ปฏิบัติงานในฐานะอาสาสมัคร ผู้เสียสละ โดยไม่มีค่าตอบแทน เมื่อปี พ.ศ. 2531 คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ได้มีการจัดจ้างเจ้าหน้าที่สหกรณ์มาปฏิบัติงานอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อการบริการสมาชิก ระดมทุน ตลอดจนการบริหารจัดการ และการให้บริการด้านต่างๆแก่สมาชิกจากการดำเนินงานที่ทุ่มเทเวลา และเสียสละทั้งแรงกาย แรงสติปัญญา ตลอดจนแรงทรัพย์ของคณะกรรมการดำเนินการ ทำให้สมาชิกของสหกรณ์ได้แพร่กระจายไปสู่บุคคลทุกชนชั้นอาชีพ ในเขตอำเภอบ้านดุง กิจการของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี จำกัด จึงมีฐานะมั่นคงและเจริญเติบโตมาเป็นลำดับ จนสามารถมีอาคารสำนักงานเป็นของสหกรณ์เอง เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2536 เมื่อ 27 ปีที่แล้ว ในวิสัยทัศน์ของคณะกรรมการในยุคนั้นได้ใช้ความพยายามในการสร้างอาคารสำนักงานสหกรณ์ขึ้นโดยไม่ได้ใช้งบประมาณสร้างจากสหกรณ์แต่อย่างใด โดยอาคารดังกล่าวนั้น ตั้งอยู่ที่ที่ดินราชพัสดุ เลขที่  500/101-2 หมู่ 6 ถนนศรีจันทร์ ตำบลศรีสุทโธ  อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี เมื่อปี พ.ศ.2542 ได้รับคัดเลือกเป็น สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนดีเด่นระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเมื่อปี พ.ศ.2543 ได้รับคัดเลือกเป็น“สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนดีเด่นแห่งชาติ”นับจากวันที่จดทะเบียนถึงปัจจุบัน สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี จำกัด มีอายุ 33 ปี มีสมาชิกสามัญ 5,143 กว่าคน ทุนเรือนหุ้น 195 ล้านบาท เงินรับฝากออมทรัพย์ 99 ล้านบาท ทุนดำเนินงาน 227 ล้านบาท สินทรัพย์หมุนเวียนรวม 337 ล้านบาท ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวอำเภอบ้านดุง ที่มีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี จำกัด เป็นสถาบันการเงินเป็นของตนเอง เป็นที่พึ่งของสมาชิกทุกระดับชั้น
รางวัลที่เคยได้รับ
*เมื่อปี พ.ศ.2542 ได้รับคัดเลือกเป็น สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนดีเด่นระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
*เมื่อปี พ.ศ.2543 ได้รับคัดเลือกเป็น“สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนดีเด่นแห่งชาติ”
*เมื่อปี พ.ศ.2559 ได้รับเลือกเป็นสหกรณ์ดีเด่น เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี สหกรณ์ไทย
บริหารงานโดยยึดหลักจิตตารมณ์ 4 ประการของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
  1 ความสนใจ   สนใจในเรื่องให้เกียรติ และเคารพในศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน สนใจในความทุกข์ยากของเพื่อน เพื่อช่วยแก้ไขและปกป้องความทุกข์  สนใจชักชวนผู้คนในสังคมเดียวกันให้มาร่วมกลุ่มกัน สนใจที่ช่วยเหลือให้สังคมเดียวกันพ้นจากปัญหาอุปสรรคต่างๆ  สนใจที่จะร่วมทำงานกับเพื่อนสมาชิก ช่วยคิด ช่วยทำ ช่วยปรับปรุงแก้ไข สนใจใส่ใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์ฯ
 2.ความห่วงใย ห่วงใยในชีวิตความเป็นอยู่ซึ่งกันและกัน ห่วงใยในความเป็นสุข ความเจริญของกันและกัน ห่วงใยกิจการสหกรณ์
3.การแบ่งปัน แบ่งปันน้ำใจ หรือปันใจให้กันและกัน แบ่งปันแรงงาน แรงความคิด แบ่งปันทรัพย์ กรณีมีทรัพย์มากร่วมลงทุนในกลุ่มเพื่อให้เพื่อนที่เดือดร้อนนำไปบรรเทาความเดือดร้อน
4. การรับใช้ รับใช้ช่วยเหลือกิจการงาน โดยไม่มุ่งหวังค่าจ้างตอบแทน รับใช้ อาสาทำงานส่วนรวม รับใช้ ช่วยเหลือเพื่อนในยามเดือดร้อน จำเป็น และร้องขอ รับใช้ ด้วยการร่วมมือทำงานกับเพื่อนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของสหกรณ์
บริหารยึดหลักหลักคุณธรรม 5 ประการของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
1.ความซื่อสัตย์ เป็นคุณภาพทางจิต ซื่อสัตย์ต่อตนเอง เละผู้อื่น
2.ความเสียสละ เป็นการแสดงความมีน้ำใจต่อกัน เสียสละทั้งทรัพย์และ เวลา เพื่อสนับสนุนกิจการของสหกรณ์ให้เจริญรุ่งเรือง
3.ความรับผิดชอบ เป็นการแสดงตนให้เห็นว่าตนเองเป็นคนมั่นคง พร้อมจะปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับหมอบหมายให้สำเร็จ มีความมั่นคงต่อกฎเกณฑ์ของส่วนรวม ไม่เอาใจตนเองเป็นใหญ่
4.ความเห็นใจกัน เป็นการแสดงไม่มองคนอื่นในแง่ร้าย พร้อมสนับสนุนผู้อื่นให้ได้ดี โดยเฉพาะผู้ที่ด้อยกว่าตน
5.ความไว้วางใจกัน การแสดงตนให้เพื่อนสมาชิกไว้วางใจและไว้วางใจผู้อื่น
ทำไมต้องรวมกันเป็นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
จะแก้ไขหรือลดปัญหาในสังคม ต้องมีระบบ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันขึ้น โดยระบบนั้นต้อง
ทำให้คนที่เหลือมาก ช่วยคนที่เหลือน้อย หรือไม่เหลือ  อย่างไม่กลัวหมด คนเหลือน้อย หรือไม่เหลือ ที่เข้ามารับความช่วยเหลือต้องไม่เสียศักดิ์ศรี
การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนและได้ประโยชน์ทุกฝ่าย
ระบบที่ว่านั้นคือเครดิตยูเนี่ยน (สหกรณ์) ปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาสังคมนั้น เป็นปัญหาใหญ่ ต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา จึงคลี่คลาย และพลังของคนๆ เดียวแก้ไขไม่ได้
การสมัครเป็นสมาชิก ข้อปฏิบัติ และหน้าที่ของสมาชิก
ประเภทของสมาชิกสหกรณ์ มี 2 ประเภท คือ
1.สมาชิกสามัญ2.สมาชิกสมทบ1.ตั้งบ้านเรือนในเขตอำเภอบ้านดุงเท่านั้น
2.มีอายุตั้งแต่20 ปี ขึ้นไป1.บุคคลธรรมดา อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
2.เปิดรับสมาชิกได้ทั่วประเทศไทย
การเป็นสมาชิกสามัญสหกรณ์
ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกตามข้อบังคับ ต้องยื่นใบสมัครด้วยตนเอง ณ ที่ทำการของสหกรณ์ตามแบบที่กำหนดไว้ โดยมีสมาชิกรับรองอย่างน้อยสองคน และต้องผ่านการอบรม  ฝึกหัดสะสมหุ้นอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน
คุณสมบัติการเป็นสมาชิกสามัญสหกรณ์
1.อายุตั้งแต่ 20 ขึ้นไป ตั้งบ้านเรือนอยู่ท้องที่ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เท่านั้น
2.เป็นผู้มีความประพฤติและนิสัยดีงาม
3.เป็นผู้เห็นชอบในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์และต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์
4.มิได้เป็นสมาชิกในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอื่น
                                      ผู้สมัครจะเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์เมื่อใด
1.สมาชิกต้องฝึกหัดสะสมหุ้นละ 10 บาท มูลค่าหุ้นละ 10 บาท หรือ 1 หุ้น สะสมหุ้นตามความสามารถตนเอง แต่ไม่เกินเดือนละ 100,000 บาท ที่ให้สัญญาไว้ในใบสมัครสมาชิก ระยะเวลาสะสมไม่น้อยกว่า 6 เดือน
2.สมาชิกต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรเครดิตยูเนี่ยนพื้นฐานด้วยตนเอง และผ่านการอบรม
3.ต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการอำนวยการ ให้เป็นสมาชิกสมบูรณ์แล้ว
เป็นสมาชิกสหกรณ์แล้วต้องปฏิบัติตัวอย่างไร?
1.ควบคุมรายได้ของตนหรือของครอบครัวให้พอกับรายจ่ายและให้มีเหลือเพื่อเก็บออมอย่างสม่ำเสมอ
2.ปฏิบัติตามข้อบังคับ และระเบียบสหกรณ์
3.เข้าร่วมอบรมหลักสูตรความรู้เครดิตยูเนี่ยนขั้นพื้นฐาน (อบรมสมาชิกใหม่)
4.เข้าร่วมกิจกรรม และประชุมใหญ่ ที่สหกรณ์จัดขึ้น
5.หมั่นศึกษาความรู้เรื่องเครดิตยูเนี่ยน
6.เป็นแบบอย่างที่ดี ภาพลักษณ์  ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
สิทธิของสมาชิกของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
1.       เสนอข้อคิดเห็นและลงคะแนนเสียงในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี
2.      ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่เป็นกรรมการดำเนินการ หรือผู้ตรวจสอบกิจการ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ในข้อบังคับสหกรณ์
3.      ได้รับบริการทางการเงิน  ทางวิชาการ และสวัสดิการต่างๆ ของสหกรณ์
4.      สิทธิอื่นๆ ตามที่กำหนดในข้อบังคับสหกรณ์
หน้าที่ของสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
1.       เข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือประชุมใหญ่วิสามัญที่สหกรณ์จัดให้มีขึ้น
2.      ปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของสหกรณ์
3.      สอดส่องดูแลและให้การสนับสนุนการดำเนินกิจการและธุรกิจของสหกรณ์ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการดำเนินการเพื่อการพัฒนาของสหกรณ์
ถือว่าเป็นสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสามัญทุกคนต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี
การขาดจากสมาชิกภาพ
สมาชิกขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุหนึ่งเหตุดังต่อไปนี้
1.       ตาย
2.      วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
3.      ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย หรือต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือความผิดอันกระทำโดยประมาท
4.      ลาออกและได้รับอนุมัติแล้ว
5.      ถูกให้ออกจากสหกรณ์
การลาออกจากสหกรณ์  สมาชิกผู้ไม่มีพันธะต่อสหกรณ์ในฐานะผู้กู้หรือผู้ค้ำประกันเงินกู้หรือหนี้สินที่ผูกพันจะต้องชำระต่อสหกรณ์ โดยคณะกรรมการอำนวยการได้สอบสวนพิจารณาเห็นว่าเป็นการชอบด้วยข้อบังคับ ระเบียบ  และอนุมัติแล้วจึงให้ถือว่าออกจากสหกรณ์ได้ สมาชิกที่ขอลาออก หากมีประสงค์จะกลับเข้ามาเป็นสมาชิกอีกต้องเว้นระยะเวลานับจากวันที่อนุมัติให้ออกจากการเป็นสมาชิกแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
การให้สมาชิกออกจากสหกรณ์ สมาชิกอาจถูกให้ออกสหกรณ์ เพราะเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้
1.       นำเงินกู้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์และโครงการที่คณะกรรมการเงินกู้ได้อนุมัติ
2.      ไม่จัดการแก้ไขหรือเพิ่มเติมหลักประกันสำหรับเงินกู้ที่เกิดบกพร่องให้คืนดีภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการเงินกู้กำหนด
3.      ผิดนัดชำระหนี้เงินกู้ตามที่กำหนดถึงสามคราวติดต่อกัน หรือเกินกว่า 180 วัน ในกรณีที่ผิดนัดชำระหนี้เป็นรายเดือน
4.      จงใจปิดบังความจริงอันควรแจ้งให้ทราบในใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกเฉพาะเกี่ยวกับหนี้สิ้นของตน
5.      จงใจฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบ หรือมติของสหกรณ์ หรือที่ประชุมกลุ่ม ซึ่งตนสังกัด หรือประพฤติ หรือกระทำการใดๆ  อันเป็นเหตุให้เห็นว่าไม่ซื่อสัตย์สุจริต  หรือเป็นปฏิปักษ์ หรือเสื่อมเสียต่อสหกรณ์ หรือกลุ่มสมาชิกไม่ว่าประการใดๆ
        เมื่อคณะกรรมการอำนวยการได้สอบสวนพิจารณาปรากฏว่า  สมาชิกมีเหตุหนึ่งเหตุใดดังกล่าวข้างต้น ให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณา เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้ลงมติให้สมาชิกออกโดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามแห่งจำนวนกรรมการดำเนินการที่มาประชุม ก็เป็นอันถือว่าสมาชิกนั้นถูกให้ออกจากสหกรณ์ คณะกรรมการอำนวยการ มีหน้าที่แจ้งมติของคณะกรรมการดำเนินการให้สมาชิกผู้นั้นทราบ โดยมิชักช้า
หน้าที่ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ช่วยพัฒนาคนอย่างไร
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเป็นสถาบันการเงินของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชนซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดที่มุ่งพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้น สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนช่วยพัฒนาคนโดยแยกแต่ละด้าน ดั้งนี้
1.ในด้านการพัฒนาจิตใจ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเน้นปลูกฝังคุณธรรมห้าประการ อันได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความเห็นใจกัน ความไว้วางใจ รวมทั้งการประหยัด อดออมและปราศจากอบายมุข
2.ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ สมาชิกที่เป็นเจ้าของสหกรณ์ทุกสถานะมีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเอง ปฏิบัติตนตามข้อบังคับระเบียบสหกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิก คณะกรรมการ คณะผู้ตรวจสอบกิจการฝ่ายจัดการ
3.ด้านเศรษฐกิจส่วนบุคคล ในสังคมปัจจุบัน เงินเป็นสื่อกลางที่สำคัญในอันที่จะได้มาซึ่งสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการยังชีพ สหกรณ์ต้องการให้คนในขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ทุกคนมีฐานดีขึ้น โดยให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเป็นสถาบันการเงินหนุนหลัง ไม่ว่าจะพัฒนาอาชีพเดิมสร้างอาชีพใหม่ ลงทุนประกอบอาชีพต่างๆ ที่สุจริต โดยปราศจากอบายมุขและรู้จักประหยัด อดออม
4.ด้านสังคมของบุคคล สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบริหารงานภายใต้ความเอื้ออาทร ความรัก ความเมตตา คุณธรรม ความดี ทุกคนต้องพยายามทำตัวให้เป็นคนดีเป็นที่เชิดชู ยกย่องในความเป็นคนดีของสังคม
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ช่วยพัฒนาครอบครัวได้อย่างไร
1.       ช่วยสร้างอาชีพหลักและอาชีพเสริมของครอบครัว บริการด้านเงินกู้ให้แก่สมาชิก
2.      สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ครอบครัวสมาชิกเพื่อบำรุงสุขแก่ครอบครัวสมาชิก
3.      ช่วยเสริมสร้างเงินทุนและหลักประกันแก่ครอบครัวสมาชิก โดยที่สมาชิกประหยัด อดออม โดยสหกรณ์มีสวัสดิการส่งเสริมในการออมสมทบให้ เพิ่มเพื่อเป็นหลักประกันของครอบครัวสมาชิก
เป็นสมาชิกสหกรณ์แล้วได้รับบริการอะไร
1.การสะสมเงินทุนเรือนหุ้น
1.1 สมาชิกสามารถสะสมหุ้นได้ตามกำลังความสามารถของตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยมูลค่าหุ้นละ 10 บาท เท่ากับ 1 หุ้น แต่ต้องไม่เกินหนึ่งในห้า หรือ 20%ของหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมดของสหกรณ์ฯ หรือไม่เกินเดือนละ 100,000 บาท
1.2 สมาชิกจะสะสมค่าหุ้นเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน สุดแต่ความสะดวกของสมาชิก
1.3 สมาชิกจะนำเงินสะสมค่าหุ้น ต้องนำสมุดประจำตัวสมาชิกมาเพื่อลงบันทึก และต้องเรียกใบเสร็จรับเงินจากสหกรณ์ ฯ เป็นหลักฐานทุกครั้ง
1.4 สมาชิกควรสะสมเงินค่าหุ้นภายในวันที่ 5 ของเดือน เพื่อเป็นประโยชน์ในการคำนวณเงินปันผลตามหุ้นตั้งแต่เดือนนั้น ส่วนหุ้นที่ชำระหลังวันที่ 5 ของเดือน สหกรณ์ฯ จะคิดเงินปันผลในเดือนถัดไป
1.5 เงินสะสมค่าหุ้นของสมาชิกจะได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผลตามปีบัญชีของสหกรณ์ฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี โดยการจัดสรรกำไรสุทธิตามข้อบังคับของสหกรณ์ฯ และมติที่ประชุมใหญ่สมัญประจำปี เมื่อที่ประชุมใหญ่อนุมัติ จะนำจ่ายต่อไป
1.6 เงินสะสมค่าหุ้น ของสมาชิกจะได้รับความคุ้มครองด้านสวัสดิการ ตามระเบียบว่าด้วยสวัสดิการของสหกรณ์ฯ
1.7 สมาชิกจะขอถอนหุ้นในระหว่างที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ไม่ได้  หรือสมาชิกจะขายหรือโอนหุ้นซึ่งตนถือให้ผู้อื่นไม่ได้ จะโอนหุ้นต่อเมื่อถึงแก่กรรม และขอถอนหุ้นได้ต้องออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุงสามัคคี จำกัด ได้กำหนดระเบียบว่าด้วยสมาชิกภาพ ไว้ให้สมาชิกถือปฏิบัติ
2.การรับฝากเงิน
2.1 ประเภทออมทรัพย์  หมายถึง  เงินฝากประเภทที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการฝาก จะฝากหรือจะขอถอนตามที่สมาชิกต้องเมื่อใดก็ได้ ตามวันเวลาที่ทำการ การจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยตามประกาศของสหกรณ์ฯ ปัจจุบันร้อยละ 1.50 บาทต่อปี การคำนวณดอกเบี้ยคิดตามยอดคงเหลือเป็นรายวัน สหกรณ์ฯ จะจ่ายดอกเบี้ยให้  ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของปี
2.2 ประเภทประจำ หมายถึง เงินฝากประเภทที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการฝาก จะฝากเมื่อใดก็ได้ แต่การถอนต้องไม่เกินเดือนละ 1 ครั้ง ถ้าเกิน 1 ครั้งขึ้นไป ต้องเสียค่าธรรมเนียมการถอน  การจ่ายผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยตามประกาศของสหกรณ์ การคำนวณดอกเบี้ยคิดตามยอดคงเหลือเป็นรายวัน สหกรณ์ฯ จะจ่ายดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของปี อัตราดอกเบี้ย  2.00 ต่อปี หรือตามประกาศของสหกรณ์
3.การบริการสินเชื่อ (เงินให้กู้)
   3.1 เงินให้สมาชิกกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน  หมายถึง เงินกู้ที่สหกรณ์ฯ บริการแก่สมาชิก ที่มีเหตุจำเป็นเดือดร้อน เร่งด่วน ต้องนำเงินไปใช้จ่าย เช่น การรักษาพยาบาล เป็นต้น โดยไม่มีหลักค้ำประกัน
          วัตถุประสงค์
(1) เพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่มีเหตุฉุกเฉินอันแสดงหลักฐาน  พิสูจน์ได้
(2) เพื่อช่วยเหลือสมาชิกเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว
(3) เพื่อช่วยเหลือสมาชิกเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อพาหนะ
(4) เพื่อช่วยเหลือสมาชิกเป็นค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาล
(5) เพื่อช่วยเหลือสมาชิกเป็นค่าใช้จ่ายค่าเล่าเรียนบุตร
เงื่อนไขการขอกู้เงินฉุกเฉิน
1.เป็นสมาชิกสามัญ
 2.ต้องไม่อยู่ระหว่างผิดนัดชำระหนี้ ไม่เกิน 6 งวด เงินกู้สามัญ เงินกู้พิเศษ ต้องชำระหนี้ให้เป็นปัจจุบันจึงสามารถกู้เงินเพื่อเหตุฉุกเฉินได้
3.ต้องนำเงินไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์เท่านั้น
4.ถ้าหากมีหนี้เงินกู้สามัญ เงินกู้พิเศษ อยู่ก่อนแล้ว ส่งคืนต้นเงินมาเท่าไหร่ก็จะยืมเงินกู้ฉุกเฉินได้เท่านั้น หรือกู้ได้สูงสุดไม่เกินหุ้นที่ตนเองมีขณะนั้น
5.ต้องมีหุ้นไม่น้อยกว่า 1,250 บาท กู้ได้ไม่เกิน 80%ของหุ้นสะสมของผู้กู้ในขณะนั้น กู้ขั้นต่ำ 1,000 บาท หากมีหุ้นสะสม 50,000 บาท กู้ได้ไม่เกิน 80%ของหุ้นสะสม กู้ได้ไม่เกิน 40,000 บาท
                 ระยะเวลาชำระคืน กำหนดภายใน  12  เดือน ชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทุกเดือนอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 10 ต่อปี หรือตามที่คณะกรรมการดำเนินการประกาศ หลักประกันเงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน นอกจากหนังสือกู้ซึ่งผู้กู้ได้ทำไว้ต่อสหกรณ์ฯแล้วก็ไม่ต้องมีหลักประกันอย่างอื่นอีก ใช้หุ้นตนเองค้ำประกัน
เงื่อนไขการตัดลดยอดเงินกู้
*สมาชิกขาดชำระเงินกู้ 2 ครั้งใน 12 เดือน ตัดลด 10%ของยอดกู้
*สมาชิกขาดชำระเงินกู้ 3 ครั้งใน 12 เดือน ตัดลด 15% ของยอดกู้
                                        การส่งเงินงวดชำระหนี้เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน ซึ่งผู้กู้ต้องส่งต่อสหกรณ์นั้น ให้ส่ง ณ ที่ทำการของสหกรณ์ตามกำหนดในกรณีมีเหตุจำเป็นให้ชำระภายในรอบเดือนนั้น นับแต่วันครบกำหนดในเวลาเปิดทำการของสหกรณ์สมาชิกผู้ขอกู้ต้องยื่นเอกสารคำขอกู้ด้วยตนเองตามแบบการขอกู้เงินที่สหกรณ์กำหนด พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน
3.2     เงินกู้สามัญ  หมายถึง  เงินกู้ที่ถือเป็นวัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์ฯ ที่จะบริการให้แก่สมาชิก เรื่องของการประกอบอาชีพ การอุปโภค บริโภค ในด้านต่าง ๆ
          วัตถุประสงค์
(1) เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในการลงทุนประกอบอาชีพทั่วไป
(2) เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในการปลดเปลื้องหนี้สิน
(3) เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในการปลูกสร้างและการซ่อมแซมบ้าน
(4) เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในการลงทุนประกอบอาชีพเกษตรกรรม
(5) เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในการปรับโครงสร้างหนี้
เงื่อนไขการกู้สามัญในหุ้นและเงินกู้สามัญไม่เกินสองเท่าของหุ้นตนเอง
1.เป็นสมาชิกสามัญและต้องมีทุนเรือนหุ้น ตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป
2.กรณียื่นกู้ใหม่ต้องชำระติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน หรือชำระครบทั้งจำนวน หรือชำระสัญญาเงินกู้เดิมแล้วอย่างน้อย 1 ใน 3
3.จำนวนเงินกู้สามัญครั้งแรกได้ไม่เกิน 80 % ของหุ้นสะสมที่มีในขณะนั้น
เงื่อนไขการกู้สามัญสามเท่าของหุ้นตนเอง
1.เป็นสมาชิกสามัญอย่างน้อย 6 เดือน มีหุ้นตนเอง 20,000 บาท ขึ้นไป
2.กรณียื่นกู้ใหม่ต้องชำระติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน หรือชำระครบทั้งจำนวน หรือชำระสัญญาเงินกู้เดิมแล้วอย่างน้อย 1 ใน 3
เงื่อนไขการกู้สามัญห้าเท่าของหุ้นตนเอง
1.เป็นสมาชิกสามัญอย่างน้อย 1  ปี มีหุ้นตนเอง 30,000 บาท ขึ้นไป
2.กรณียื่นกู้ใหม่ต้องชำระติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน หรือชำระครบทั้งจำนวน หรือชำระสัญญาเงินกู้เดิมแล้วอย่างน้อย 1 ใน 3
เงื่อนไขการตัดลดจำนวนเงินที่ขอกู้
* ขาดชำระเงินกู้ทุกประเภท 2 ครั้งใน 12 เดือน ตัดลด   10% ของยอดกู้
* ขาดชำระเงินกู้ทุกประเภท 3 ครั้งใน 12 เดือน ตัดลด   15 % ของยอดกู้
จำนวนเงินกู้สามัญที่ให้แก่สมาชิกผู้กู้คนหนึ่ง ๆ นั้นย่อมสุดแต่คณะกรรมการดำเนินการหรือคณะกรรมการเงินกู้พิจารณาเห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 5 เท่า ของเงินค่าหุ้นที่สมาชิกมีอยู่ในขณะนั้น
มีหุ้น 120,000 บาท กู้ได้ไม่เกิน 600,000.00 บาท
ระยะเวลาชำระคืนกำหนดภายใน 240 เดือน ชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทุกเดือนและช่วงเวลาในการชำระหนี้ดังต่อไปนี้
*ยอดเงินกู้ไม่เกิน 200,000 บาท           ชำระคืนภายใน 150 เดือน 12.5 ปี
*ยอดเงินกู้ตั้งแต่  200,001 ถึง 300,000 บาท     ชำระคืนภายใน 180 เดือน 15 ปี
*ยอดเงินกู้ตั้งแต่  300,001 ถึง 600,000  บาท    ชำระคืนภายใน 240 เดือน 20 ปี
อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 10 ต่อปี หรือตามที่คณะกรรมการดำเนินการประกาศ

หลักประกันเงินกู้เงินกู้สามัญ
1. ถ้าเงินกู้สามัญ มีจำนวนไม่เกิน 80 % ของค่าหุ้นที่ผู้กู้มีอยู่ในสหกรณ์ ก็ไม่ต้องมีหลักประกันอีก
2. กรณีขอกู้เกินกว่าค่าหุ้นที่มีอยู่ ต้องมีหลักประกันอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
      ก.สมาชิกที่มิได้เป็นคู่สมรสของผู้กู้ ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการหรือคณะกรรมการเงินกู้เห็นควรอย่างน้อยหนึ่งคน ค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัดเพื่อหนี้สินเกี่ยวกับเงินกู้สามัญรายนั้น
     ข.ส่วนที่เกินกว่าค่าหุ้นของผู้กู้เพื่อความมั่นคงในการให้เงินกู้สามัญ คณะกรรมการดำเนินการ หรือคณะกรรมการเงินกู้มีอำนาจวินิจฉัยเรียกให้มีผู้ค้ำประกันมากกว่าหนึ่งคนก็ได้ สมาชิกผู้ค้ำประกันต้องทำหนังสือค้ำประกัน ให้ไว้ต่อสหกรณ์ตามแบบที่กำหนด
      ค.สมาชิกคนหนึ่งจะเป็นผู้ค้ำประกันสำหรับผู้กู้มากกว่าสองคนในเวลาเดียวกันได้ โดยพิจารณาจากทุนเรือนหุ้นผู้ค้ำประกัน
     ง.เมื่อผู้ค้ำประกันคนใดตายหรือออกจากสหกรณ์โดยเหตุอื่น หรือมีเหตุที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นว่าไม่สมควรที่จะเป็นผู้ค้ำประกันต่อไป ผู้กู้ต้องจัดให้สมาชิกอื่น ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควรเข้าเป็นผู้ค้ำประกันแทนคนเดิม ให้เสร็จภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด  การให้สมาชิกผู้ค้ำประกัน ออกจากสหกรณ์ไม่ว่าเหตุใดๆ ไม่เป็นเหตุให้ผู้นั้นหลุดพ้นจากการค้ำประกัน จนกว่าผู้กู้จะได้จัดให้สมาชิกอื่น ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควรเข้าเป็นผู้ค้ำประกันแทน อนึ่งภายหลังการทำหนังสือค้ำประกันแล้ว ถ้าสมาชิกผู้ค้ำประกันหนี้เงินกู้ได้เป็นคู่สมรสของผู้กู้ ผู้กู้จะต้องจัดให้มีสมาชิกอื่นที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควร เป็นผู้ค้ำประกันหนี้เงินกู้ในส่วนที่เกินกว่าค่าหุ้นของผู้กู้โดยเร็วด้วย
3. มีอสังหาริมทรัพย์ยกเว้นที่ราชพัสดุ สิทธิการเช่าหรือหลักทรัพย์ห้ามโอนไม่เกินห้าปี อันปลอดจากภาระจำนองรายอื่นจำนองเป็นประกันเต็มจำนวนเงินกู้รายนั้นโดยต้องเป็นที่พอใจของคณะกรรมการดำเนินการ หรือคณะกรรมการเงินกู้ว่าจำนวนเงินกู้ส่วนที่เกินกว่าค่าหุ้นของผู้กู้ต้องอยู่ภายในร้อยละแปดสิบแห่งค่าของอสังหาริมทรัพย์นั้น กรณีมีสิ่งปลูกสร้างอยู่ในอสังหาริมทรัพย์และนำมาประเมินเพื่อเป็นหลักประกันเงินกู้ ต้องอยู่ภายในร้อยละแปดสิบแห่งค่าของอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้กู้จะต้องจัดทำประกันอัคคีภัยภายในวงเงินเท่ากับมูลค่าของสิ่งปลูกสร้างที่นำมาจดทะเบียนจำนอง โดยให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุง สามัคคี จำกัด เป็นผู้รับผลประโยชน์
4. มีหลักทรัพย์รัฐบาลหรือเอกสารการฝากเงินในธนาคารหรือในสหกรณ์ ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการหรือคณะกรรมการเงินกู้เห็นสมควรกำหนดเป็นประกันโดยจำนวนเงินกู้ส่วนที่เกินกว่าค่าหุ้นของผู้กู้ต้องอยู่ภายในร้อยละแปดสิบแห่งค่าของหลักทรัพย์นั้น
5. หลักทรัพย์อื่นที่ไม่มีภาระผูกพันใด ๆ ตามที่คณะกรรมการเงินกู้เห็นสมควร โดยจำนวนเงินกู้  ร้อยละ 80 แห่งมูลค่าหลักทรัพย์
6. ให้ผู้กู้ทุกรายต้องทำประกันชีวิตเพื่อค้ำประกันสินเชื่อแบบกลุ่มในส่วนเงินกู้ที่เกินวงเงินคุ้มครองสูงสุดที่ ช.ส.ค.ที่ถือประกาศใช้ในปัจจุบันด้วยความสมัครใจ ซึ่งผู้กู้เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเบี้ยประกันตลอดระยะการกู้
7.สมาชิกที่ขอกู้เงินประเภทสามัญตั้งแต่ 200,001 บาท แต่ไม่เกิน 600,000 บาท ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์อันปลอดจำนองในการค้ำประกัน  เว้นแต่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการเงินกู้ พิจารณาให้สมาชิกค้ำประกันได้ โดยพิจารณาเป็นราย ๆ ไป และนำเสนอเหตุผลต่อคณะกรรมการดำเนินการในคราวต่อไป ให้คณะกรรมการดำเนินการ มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยให้เงินกู้สามัญแก่สมาชิกได้ และอาจแต่งตั้งคณะกรรมการเงินกู้ทำหน้าที่ในการพิจารณา วินิจฉัยให้เงินกู้สามัญแก่สมาชิกเว้นแต่กรณีรายใดที่คณะกรรมการเงินกู้ไม่อาจชี้ขาดได้ ให้เสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการ เพื่อพิจารณาต่อไป
                3.3  เงินกู้พิเศษ  หมายถึง  เงินกู้ที่เหลือจากการให้บริการเงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน เงินกู้สามัญ สหกรณ์ฯ มีเงินเหลือมากพอที่จะให้บริการแก่สมาชิกที่ต้องการใช้วงเงินกู้ที่สูงกว่าเงินกู้ประเภทอื่น            วัตถุประสงค์
(1) เพื่อการเคหะซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน
(2) เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพครอบครัว
(3) เพื่อซื้อยานพาหนะ
(4) เพื่อการศึกษา
(5) เพื่อส่งเสริมธุรกิจ
(6) เพื่อชำระหนี้สถาบันการเงินอื่น,ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
(7) โครงการสินเชื่อพิเศษอื่นตามที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด
เงื่อนไขการกู้
1. เป็นสมาชิกสหกรณ์ฯอย่างน้อย 2 ปี เงินสะสมทุนเรือนหุ้นในสหกรณ์ตั้งแต่ 20,000.00 บาท ขึ้นไป
3. ผ่านการกู้เงินกู้ประเภทสามัญมาแล้วไม่น้อยกว่า  2 ครั้ง
เงื่อนไขการตัดลด ของยอดเงินกู้
*สมาชิกขาดชำระเงินกู้ทุกประเภท 2 ครั้งใน 12 เดือน ตัดลด   10%
*สมาชิกขาดชำระเงินกู้ทุกประเภท 3 ครั้งใน 12 เดือน ตัดลด   15%
ดอกเบี้ยเพิ่ม(ค่าปรับ)
ในกรณีที่สมาชิกผู้กู้ไม่ชำระคืนต้นเงินทั้งหมดหรือบางส่วนหรือรายงวดตามที่กำหนดไว้ในหนังสือกู้ให้สหกรณ์เรียกดอกเบี้ยเพิ่มหรือค่าปรับ สำหรับต้นเงินส่วนที่มิได้ชำระตามกำหนดตั้งแต่ 3 งวดขึ้นไป ในอัตราร้อยละ 0.50 ของต้นเงินค้างชำระโดยคำนวณเป็นรายวัน นับแต่วันที่สมาชิกผู้กู้ผิดสัญญาเป็นต้นไป จนถึงวันชำระ การส่งเงินงวดชำระหนี้เงินกู้พิเศษ ผู้กู้ต้องส่งต่อสหกรณ์นั้นให้ส่ง ณ ที่ทำการของสหกรณ์ จำนวนเงินกู้พิเศษที่ให้แก่สมาชิกผู้กู้คนหนึ่ง ๆ นั้นย่อมสุดแต่คณะกรรมการดำเนินการหรือคณะกรรมการเงินกู้พิจารณาเห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 10 เท่า ของเงินค่าหุ้นที่สมาชิกมีอยู่ขณะนั้นและต้องไม่เกิน 3,000,000.00 บาท
ระยะเวลาชำระคืน  ภายใน 300 เดือน ชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทุกเดือน
* ยอดเงินกู้ไม่เกิน 200,000 บาท                              ชำระคืน 120 เดือน
* ยอดเงินกู้ตั้งแต่ 200,001 ถึง 300,000 บาท               ชำระคืน 180 เดือน
* ยอดเงินกู้ตั้งแต่ 300,001 ถึง 3,000,000 บาท  ชำระคืน 300 เดือน
          อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 5.00 ถึง 9.00 บาทต่อปี หรือตามที่คณะกรรมการดำเนินการประกาศ
หลักประกันเงินกู้
ก. มีอสังหาริมทรัพย์ยกเว้นที่ราชพัสดุ สิทธิการเช่าหรือหลักทรัพย์ห้ามโอนไม่เกินห้าปี อันปลอดจากภาระจำนองรายอื่นจำนองเป็นประกันเต็มจำนวนเงินกู้รายนั้นโดยต้องเป็นที่พอใจของคณะกรรมการดำเนินการ หรือคณะกรรมการเงินกู้ว่าจำนวนเงินกู้ส่วนที่เกินกว่าค่าหุ้นของผู้กู้ต้องอยู่ภายในร้อยละแปดสิบแห่งค่าของอสังหาริมทรัพย์นั้น กรณีมีสิ่งปลูกสร้างอยู่ในอสังหาริมทรัพย์และนำมาประเมินเพื่อเป็นหลักประกันเงินกู้ ต้องอยู่ภายในร้อยละแปดสิบแห่งค่าของอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้กู้จะต้องจัดทำประกันอัคคีภัยภายในวงเงินเท่ากับมูลค่าของสิ่งปลูกสร้างที่นำมาจดทะเบียนจำนอง โดยให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุง สามัคคี จำกัด เป็นผู้รับผลประโยชน์
ข. มีหลักทรัพย์รัฐบาลหรือเอกสารการฝากเงินในธนาคารหรือมีบัญชีเงินฝากในสหกรณ์ ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการหรือคณะกรรมการเงินกู้เห็นสมควรให้เป็นประกันโดยจำนวนเงินกู้ส่วนที่เกินกว่าค่าหุ้นของผู้กู้ ต้องอยู่ภายในร้อยละแปดสิบแห่งค่าของหลักทรัพย์นั้น
เงินกู้พิเศษ ผู้กู้ทุกรายต้องทำประกันชีวิตเพื่อค้ำประกันสินเชื่อแบบกลุ่มในส่วนเงินกู้ที่เกินวงเงินคุ้มครองสูงสุดที่ ช.ส.ค.ที่ถือประกาศใช้ในปัจจุบัน ด้วยความสมัครใจ ซึ่งผู้กู้เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเบี้ยประกันตลอดระยะการกู้ ยกเว้นเงินกู้พิเศษเงื่อนไขพิเศษ
สมาชิกผู้ประสงค์ขอกู้เงินพิเศษ ต้องเสนอคำขอกู้ต่อสหกรณ์ตามแบบที่กำหนดไว้ ให้คณะกรรมการดำเนินการ มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยและอนุมัติ ให้เงินกู้พิเศษแก่สมาชิกได้ ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้วงเงินกู้ยืมต่อสัญญา ไม่เกิน 600,000 บาท และให้รายงานต่อคณะกรรมการดำเนินการคราวถัดไป วงเงินกู้ยืมเกิน 600,000 บาท ให้คณะกรรมการเงินกู้มีอำนาจเพื่อเสนอพิจารณาอนุมัติต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการในคราวต่อไป

3.3.1 เงินให้สมาชิกกู้พิเศษปกติ
เป็นสมาชิกสหกรณ์อย่างน้อย 2 ปี ต้องผ่านการกู้สามัญมาแล้ว 2 ครั้ง มีทุนเรือนหุ้น 20,000 บาท ขึ้นไป สมาชิกกู้ได้ไม่เกิน 10 เท่าของทุนเรือนหุ้น แต่ไม่เกิน 3,000,000.00 บาท ชำระคืนทุกเดือน ระยะเวลาสัญญาสูงสุด ไม่เกิน 300 เดือน อัตราดอกเบี้ย  9.00 ต่อปี
3.3.2 เงินกู้พิเศษเงื่อนไขพิเศษ
เป็นสมาชิกสามัญสมบูรณ์ของสหกรณ์ฯ ตั้งแต่   2 ปีขึ้นไป และไม่มีสัญญาใด ๆ กับสหกรณ์ฯ  ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้เงินกู้ทุกประเภทกับสหกรณ์เกิน 3 งวดติดต่อกันในรอบ 12 เดือน  ต้องมีทุนเรือนหุ้นตั้งแต่  30,000.00 บาท ขึ้นไป และสามารถกู้ได้ไม่เกิน 90% ของทุนเรือนหุ้น ชำระคืนเป็นรายเดือน ภายในไม่เกิน 300 เดือน อัตราดอกเบี้ย  7.00 บาทต่อปี
3.3.3 เงินกู้โครงการพิเศษ 2562
เป็นสมาชิกสามัญสมบูรณ์ของสหกรณ์ฯ อย่างน้อย   2 ปีขึ้นไป ต้องไม่มีเงินกู้ค้างชำระทุกประเภท ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้เงินกู้เกิน 3 งวดติดต่อกันในรอบ 12 เดือน  ต้องมีทุนเรือนหุ้นตั้งแต่  20,000.00 บาท ขึ้นไป กู้ได้ไม่เกิน 90% ของทุนเรือนหุ้น ชำระคืนเป็นรายเดือน ภายในไม่เกิน 300 เดือน อัตราดอกเบี้ย 5.00 บาทต่อปี กู้ในระยะเวลา 2 ปี (14 มิถุนายน 2562 ถึง 13 มิถุนายน 2564)
3.3.4 เงินกู้พิเศษเพื่อส่งเสริมธุรกิจ
วัตถุประสงค์เพื่อ
(1) ให้สมาชิกที่ประกอบธุรกิจ ได้มีเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบธุรกิจมากขึ้น
(2) ส่งเสริมให้สมาชิกที่ต้องการเงินทุน ได้ใช้บริการของสหกรณ์อย่างเพียงพอ
คุณสมบัติ ผู้ขอรับสินเชื่อเพื่อส่งเสริมธุรกิจจะต้องมีดังนี้
(1) จะต้องเป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 2  ปี
(2) มีเงินทุนเรือนหุ้นไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และให้กู้ได้ไม่เกิน  10 เท่าของทุนเรือนหุ้น
(3) การผิดนัดชำระหนี้สัญญาสุดท้ายกับสหกรณ์ ไม่เกิน  3 งวด
(4) จะต้องเป็นสมาชิกที่ผ่านการคัดกรองจากคณะกรรมการเงินกู้มาแล้ว
(5)  คณะกรรมการเงินกู้เป็นผู้พิจารณาอนุมัติสินเชื่อส่งเสริมธุรกิจวงเงินกู้ไม่เกิน 600,000 บาท วงเงินกู้เกิน 600,000 บาท ให้คณะกรรมการเงินกู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัย เสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุมัติในคราวถัดไป
เอกสารประกอบการพิจารณา ดังต่อไปนี้
(1)  สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ขอกู้ และคู่สมรส  (ถ้ามี)
(2)  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอกู้ และ คู่สมรส  (ถ้ามี)
(3)  สำเนาทะเบียนสมรส / ใบหย่าร้าง / ใบมรณะบัตร (ถ้ามี)
(4) สมุดประจำสมาชิก
(5)  แผนธุรกิจ พร้อมรายละเอียดในการดำเนินงาน
          วงเงินกู้สินเชื่อเพื่อส่งเสริมธุรกิจ ให้แก่สมาชิกรายหนึ่ง ๆ ไม่เกิน  3,000,000.00 บาท (สามล้านบาทถ้วน) สมาชิกหนึ่งคนมีสิทธิกู้ได้ไม่เกินหนึ่งสัญญาเท่านั้น ในทุกประเภทของสินเชื่อของสหกรณ์ฯ
ให้เรียกดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อเพื่อส่งเสริมธุรกิจ ในอัตราร้อยละ 9.00 บาทต่อปี  โดยคำนวณจากต้นเงินคงเหลือเป็นรายวันถัดจากวันรับเงินกู้จนถึงวันชำระเงินกู้เสร็จสิ้น
 ในกรณีที่สมาชิกผู้กู้ไม่ชำระคืนต้นเงินทั้งหมดหรือบางส่วนหรือรายงวดตามที่กำหนดไว้ในหนังสือกู้ให้สหกรณ์เรียกดอกเบี้ยเพิ่มสำหรับต้นเงินส่วนที่มิได้ชำระตามกำหนดตั้งแต่ 3 งวดขึ้นไปในอัตราร้อยละ 0.50 ของต้นเงินค้างชำระโดยคำนวณเป็นรายวัน นับแต่วันที่สมาชิกผู้กู้ผิดสัญญาเป็นต้นไป จนถึงวันชำระ โดยคำนวณเป็นรายวันนับแต่วันที่สมาชิกผู้กู้ผิดสัญญา ยกเว้นแต่เงินกู้ในรายที่สมาชิกขอผ่อนผัน และคณะกรรมการดำเนินการมีมติให้การผ่อนผันแล้วเท่านั้น
สมาชิกผู้ขอกู้สินเชื่อส่งเสริมธุรกิจต้องจัดให้มีอสังหาริมทรัพย์อันปลอดจากภาระจำนองรายอื่น  จำนองเป็นหลักประกันเต็มจำนวนเงินกู้ ยกเว้นที่ราชพัสดุสิทธิการเช่าหรือหลักทรัพย์ห้ามโอนไม่เกินห้าปี โดยต้องเป็นที่พอใจของคณะกรรมการดำเนินการ หรือคณะกรรมการเงินกู้ว่าจำนวนเงินกู้ส่วนที่เกินกว่าค่าหุ้นของผู้กู้ต้องอยู่ภายในร้อยละแปดสิบแห่งค่าของอสังหาริมทรัพย์นั้น กรณีมีสิ่งปลูกสร้างอยู่ในอสังหาริมทรัพย์และนำมาประเมินเพื่อเป็นหลักประกันเงินกู้ ต้องอยู่ภายในร้อยละแปดสิบแห่งค่าของอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้กู้จะต้องจัดทำประกันอัคคีภัยภายในวงเงินเท่ากับมูลค่าของสิ่งปลูกสร้างที่นำมาจดทะเบียนจำนอง โดยให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านดุง สามัคคี จำกัด เป็นผู้รับผลประโยชน์
          ผู้กู้ทุกรายต้องทำประกันชีวิตเพื่อค้ำประกันสินเชื่อแบบกลุ่มในส่วนเงินกู้ที่เกินวงเงินคุ้มครองสูงสุดที่ ช.ส.ค.ที่ถือประกาศใช้ในปัจจุบัน ด้วยความสมัครใจ ซึ่งผู้กู้เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเบี้ยประกันตลอดระยะการกู้
         การชำระคืนเงินกู้สินเชื่อส่งเสริมธุรกิจ ให้มีระยะเวลาการชำระคืนภายในสิบห้าปี (180 เดือน) โดยชำระคืนเป็นรายงวด หรือตามที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนดการชำระคืน ในสินเชื่อส่งเสริมธุรกิจ นับตั้งแต่วันที่ทำหนังสือสัญญาจนชำระเสร็จสิ้น  การอนุมัติสินเชื่อส่งเสริมธุรกิจให้คณะกรรมการดำเนินการ  มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยอนุมัติเงินกู้ให้แก่สมาชิก
ในกรณีต่อไปนี้ให้สหกรณ์เรียกเงินกู้คืน และให้สมาชิกผู้กู้ชำระคืนต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่ สหกรณ์โดยสิ้นเชิง
(1) เมื่อผู้กู้ออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ
(2) เมื่อปรากฏแก่คณะกรรมการดำเนินการว่า ผู้กู้นำเงินไปใช้ผิดความมุ่งหมายที่ให้เงินกู้นั้น หรือ
(3) เมื่อคณะกรรมการดำเนินการเห็นว่า หลักประกันสำหรับเงินกู้เกิดบกพร่องและผู้กู้ไม่ได้จัดการแก้ไขให้ดีภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด หรือ
(4) เมื่อผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้เงินกู้ตามกำหนดและคณะกรรมการดำเนินการไม่ได้ผ่อนผันเวลาให้
       ให้คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการเงินกู้เพื่อดูแลและรับผิดชอบสินเชื่อส่งเสริมธุรกิจ
ระยะเวลาชำระคืน ภายใน 180 เดือน ชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทุกเดือน
*ยอดเงินกู้ไม่เกิน 200,000 บาท ชำระคืนภายใน 120 เดือน
*ยอดเงินกู้ตั้งแต่  200,001 ถึง 300,000 บาท ชำระคืนภายใน 180 เดือน
*ยอดเงินกู้ตั้งแต่ 300,001 ถึง 5,000,000 บาท ชำระคืน 300 เดือน
บริการด้านสวัสดิการต่างๆแก่สมาชิกสหกรณ์
สวัสดิการที่สหกรณ์จัดเองให้แก่สมาชิก มี 6 สวัสดิการ คือ
1.สวัสดิการคุ้มครองเงินกู้ของสมาชิก (สก.1)
คุ้มครองเงินกู้สูงสุด 500,000 บาท ต่อราย กรณีที่สมาชิกเสียชีวิต หรือไร้ความสามารถโดยสิ้นเชิงถาวร สมาชิกรับเงินกู้
*อายุไม่เกิน 69 ปี รับการคุ้มครอง 100% ของยอดเงินกู้คงเหลือ
*อายุระหว่าง 70-75 ปี รับการคุ้มครอง 40% ของยอดเงินกู้คงเหลือ
*อายุเกิน 75 ปี ไม่ได้รับการคุ้มครอง
2.สวัสดิการคุ้มครองเงินสะสมหุ้น (สก.2)
สมาชิกจะได้รับสมทบสูงสุด 300,000 บาท ตามระยะช่วงอายุของสมาชิก และทุนเรือนหุ้น จะได้รับเมื่อสมาชิกเสียชีวิตเท่านั้น รายละเอียดตามตัวอย่าง

อายุสมาชิกเสียชีวิตได้รับเงินสมทบร้อยละ20 –  55 ปีบริบูรณ์10056 ปี – 60 ปีบริบูรณ์8061 ปี – 65 ปีบริบูรณ์5566 ปี – 70 ปีบริบูรณ์3071 ปีขึ้นไป15

3.สวัสดิการผู้สูงอายุจากสหกรณ์ฯ
เป็นสมาชิกสหกรณ์ฯมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี มีหุ้นสะสมอย่างน้อย 30,000 บาท มีอายุเกิน 70 ปี ขึ้นไป รับเงินอัตราร้อยละ 0.25 ของเงินสะสมหุ้นตนเองและรับเงินทุกเดือน แต่ไม่เกินรายละ 1,000 บาทต่อเดือน และต้องไม่ผิดนัดชำระหนี้ทุกประเภทในเดือนนั้น และต้องไม่ขาดการสะสมหุ้นในเดือนนั้น ต้องไม่อยู่ระหว่างฟ้องร้องดำเนินคดี หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งผู้กู้และคนค้ำประกัน

4.สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลและคลอดบุตร จากสหกรณ์ฯ
เป็นสมาชิกสามัญไม่น้อยกว่า 1 ปี จะได้รับตามเกณฑ์อายุการเป็นสมาชิกสหกรณ์ เข้ารักษาเป็นผู้ป่วยใน ทุกโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน โดยนำใบเสร็จรับเงินมาขอเบิก จะได้รับเงินสมทบ ดังนี้

อายุการเป็นสมาชิกสหกรณ์ฯค่ารักษาพยาบาลไม่เกินปีละ(บาท)1 ถึง 5 ปี2,000.005 ถึง 10 ปี2,500.0010 ถึง 15 ปี3,500.0015 ถึง 20 ปี4,500.0020 ปีขึ้นไป5,000.00สำหรับค่าคลอดบุตรต้องเป็นสมาชิกสามัญมาแล้ว 1 ปี ขึ้นไป จะได้รับเฉพาะสมาชิกที่คลอดบุตรคนแรก จำนวน 2,000 บาท

5.สวัสดิการสงเคราะห์สมาชิกเสียชีวิต
เป็นสวัสดิการที่จัดให้แก่สมาชิกสหกรณ์ที่เสียชีวิต เพื่อเป็นการแสดงความอาลัยแก่สมาชิกจะได้รับพวงรีดเคารพศพ และเงินสมทบค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์อายุการเป็นสมาชิกของสหกรณ์ เป็นสมาชิกสมบูรณ์ ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอำนวยการแล้ว จ่ายเงินสมทบ ดังนี้

อายุการเป็นสมาชิกสหกรณ์เงินสงเคราะห์(บาท)6 เดือน ถึง 3 ปี1,000.003 ถึง 6 ปี2,000.006 ถึง 9 ปี3,000.009 ถึง 12 ปี4,000.0012 ถึง 15 ปี5,000.0015 ปี ขึ้นไป6,000.00

6.สวัสดิการช่วยเหลือภัยพิบัติแก่สมาชิก
ต้องเป็นสมาชิกสามัญมีหุ้นสะสมอย่างน้อย 3,000 บาท ขึ้นไป ไม่ขาดการชำระหนี้ทุกประเภทติดต่อกันเกิน 90 วัน ไม่ถูกสหกรณ์ฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งผู้กู้และผู้ค้ำประกัน ภัยพิบัติเกิดจากอัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย กับบ้านเรือนเพื่อการอยู่อาศัยของสมาชิก จะได้รับเงินช่วยเหลือครอบครัวละไม่เกิน 10,000 บาท

สวัสดิการที่สมาชิกซื้อเองหรือตามความสมัครใจ
สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์สวัสดิการสมาชิกเครดิตยูเนี่ยน(ส.ส.ค.) หรือ สก.5 เดิม
ต้องเป็นสมาชิกสามัญผ่านการอบรมแล้ว มีหุ้นสะสม 6,000 บาทขึ้นไป มีอายุในวันสมัครไม่เกิน 65 ปี บริบูรณ์ มีสุขภาพแข็งแรง มีใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น จะคุ้มครองกรณีเสียชีวิตเท่านั้น จะได้รับความคุ้มครอง นับจากวันที่ สมาคมแจ้งวันเริ่มมีผลความคุ้มครอง วงเงินคุ้มครองประมาณ 140,000 บาท สมาชิกต้องจ่ายสมทบเป็นรายศพตามเกณฑ์ของจำนวนสมาชิกทั่วประเทศ เมื่อสมาชิกของสมาคมคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย สมาชิกทุกคนต้องชำระเงินสงเคราะห์ ศพละ 1.00 บาท ค่าสมัครสมาชิกใหม่และค่าธรรมเนียมแรกเข้ารวม 1,100 บาท เงินฝากออมทรัพย์ล่วงหน้า 2,000 บาท

เงินปันผล / เงินเฉลี่ยคืน
เงินปันผล  หมายถึง  การแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่สมาชิก ในอัตราที่เท่าเทียมกัน โดยคิดคำนวณจากเงินสะสมค่าหุ้น  ตามส่วนแห่งระยะเวลา ตามระเบียบ ข้อบังคับ อัตราเงินปันผลตามผลกำไรสุทธิและมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีนั้นๆ

เงินเฉลี่ยคืน  หมายถึง  การแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่สมาชิกในอัตราที่เท่าเทียมกันโดยคิดคำนวณจากดอกเบี้ยที่สมาชิกผู้กู้จ่ายให้แก่สหกรณ์ฯ ในระหว่างปีนั้น ๆ กรณีสมาชิกผิดนัดชำระหนี้ไม่ว่าต้นเงินหรือดอกเบี้ยในปีใดก็มิให้รับเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีนั้น อัตราเงินเฉลี่ยคืนตามผลกำไรสุทธิ และมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีนั้นๆ

ประโยชน์ที่สมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนียนจะได้รับมีอะไรบ้าง
ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 320.47 KB

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ทำอะไรบ้าง

เครดิตยูเนียน (อังกฤษ: credit union) เป็นสถาบันการเงินที่สมาชิกเป็นเจ้าของ และบริหารงานโดยสมาชิก มีจุดประสงค์ในการระดมเงินออมเพื่อใช้สำหรับเป็นทุนให้บริการแก่สมาชิกในรูปแบบของสินเชื่อโดยคิดอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม และไม่เน้นผลกำไรสูงสุด ผลกำไรที่ได้จะถูกจัดสรรเป็นสวัสดิการต่างๆ ให้แก่สมาชิก

การเป็นสมาชิกของสหกรณ์มีประโยชน์อย่างไร

เป็นสมาชิกสมทบกับสหกรณ์ ดีอย่างไร?.
1 . สิทธิ์รับฝากเงิน พร้อมดอกเบี้ยสูง ... .
2 . สิทธิ์การกู้หุ้น หรือ เงินฝาก ของสมาชิก ... .
3. สิทธิ์การซื้อหุ้น และ รับเงินปันผล ... .
4. สิทธิ์ร่วมกิจกรรมของสหกรณ์ ... .
5. รับ 7 สวัสดิการ ครบทุกความต้องการ.

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

ชุมนุมสหกรณ์มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมสนับสนุนสมาชิกให้เป็นสถาบันการเงินและสวัสดิการของชุมชน สถานประกอบการและสถาบันการศึกษา โดยดำเนินธุรกิจการผลิต การค้า การบริการ อุตสาหกรรม และการลงทุนร่วมกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยใช้หลักคุณธรรมพื้นฐาน 5 ประการ ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความเห็นใจกัน และความ ...

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจัดอยู่ในประเภทใด

สหกรณ์ เครดิตยูเนี่ยนเดิมเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ในชุมชน จึงอยู่ในรูปย่อยของประเภท "สหกรณ์ออมทรัพย์" และต่อมาได้รับการกําหนดให้เป็นประเภท "สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน" ตามกฎกระทรวง กําหนดประเภทสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียน พ.ศ.2548.