ยาลดความอ้วนโรงพยาบาลยันฮี ของแท้ 100

แบบไหนที่เรียกว่า “อ้วน”

หลายท่านสงสัยว่า “ตอนนี้เราอ้วนหรือยังนะ” “แล้วแบบไหนที่เรียกว่าอ้วน” ก่อนอื่นเราคงต้องมาวิเคราะห์เบื้องต้นกันก่อนว่า แต่ละคนมีรูปร่างอย่างไร ซึ่งค่า BMI จะสามารถบ่งบอกได้ว่าคุณมีภาวะผอมเกินไป, สมส่วนตามมาตรฐาน, น้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน โดยจะใช้วัดในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับค่า BMI ที่หลายท่านคุ้ยหูแต่ยังไม่ทราบรายละเอียดกันก่อนดีกว่า ค่า BMI คือ ค่าดัชนีที่ใช้ชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) และส่วนสูง (เซนติเมตร) ซึ่งนำมาใช้เป็นสูตรที่จะหาได้ว่าตอนนี้คุณมีรูปร่างที่สมส่วนหรือไม่

….ทีนี้ลองหยิบปากกากับกระดาษมาลองคำนวณค่า BMI กันดีกว่า!

ยาลดความอ้วนโรงพยาบาลยันฮี ของแท้ 100

ถ้าหาค่า BMI ได้แล้ว เราลองมาดูกันว่าตอนนี้รูปร่างคุณเป็นอย่างไร

ยาลดความอ้วนโรงพยาบาลยันฮี ของแท้ 100

ควบคุมน้ำหนักด้วยวิธีไหนดี

ในปัจจุบันมีวิธีควบคุมน้ำหนักอย่างปลอดภัยภายใต้การควบคุมดูแลโดยแพทย์มีหลากหลายวิธีด้วยกัน อาทิ การรักษาด้วยยาภายใต้การดูแลของแพทย์, การดูดไขมัน/ตัดไขมัน (เหมาะกับผู้ที่มีค่า BMI 30 ขึ้นไป ), การใส่บอลลูนกระเพาะอาหาร (เหมาะกับผู้ที่มีค่า BMI 27-29 ) ฯลฯ และในปัจจุบันยังมีอีกหนึ่งทางเลือกในการควบคุมน้ำหนัก ไม่กลับมาโยโย่อีก นั่นก็คือ “ยาฉีดควบคุมความหิว”

ทำความรู้จักกับ “ยาฉีดควบคุมความหิว”

ยาฉีดควบคุมความหิวเป็นการฉีดยา Liraglutide (ลิรากลูไทด์) เข้าชั้นใต้ผิวหนัง โดยสารชนิดนี้เป็นเปปไทด์โปรตีนที่ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมน GLP-1 ซึ่งมีอยู่แล้วในร่างกายที่จะหลั่งออกมาจากลำไส้หลังรับประทานอาหารเสร็จ ส่งผลให้รู้สึกอิ่มนาน หิวน้อยลง กินน้อยลง ลดการกินจุกจิกระหว่างวัน ลดการผลิตน้ำตาลที่ตับ ช่วยเพิ่มความไวของอินซูลินบริเวณตับอ่อนและกล้ามเนื้อ

โดยยาฉีดควบคุมความหิวได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาช่วยในการควบคุมน้ำหนักภายใต้การดูของทีมแพทย์และนักโภชนาการ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารแบบยั่งยืนและที่สำคัญต้องทำควบคู่ไปกับการคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จึงจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการควบคุมน้ำหนักดียิ่งขึ้น

“ยาฉีดควบคุมความหิว” เหมาะกับใคร

ยาลดความอ้วนโรงพยาบาลยันฮี ของแท้ 100

  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือภาวะโรคอ้วน
  • มีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากน้ำหนักเกินมาตรฐาน เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดผิดปกติ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจขณะนอนหลับ (หยุดหายใจขณะหลับเนื่องจากเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ) เป็นต้น
  • ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักแต่ไม่อยากผ่าตัด
  • ผู้ที่ต้องการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร

อยากใช้ “ยาฉีดควบคุมความหิว” ต้องทำอย่างไรบ้าง

ยาฉีดควบคุมความหิว เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือภาวะโรคอ้วน โดยก่อนรักษาจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมไปถึงตรวจเลือดเพื่อดูไขมันในเลือด, การทำงานของตับ ไต และฮอร์โมนในร่างกาย ควรใช้ยาฉีดควบคุมความหิวจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

วิธีใช้ยาฉีดควบคุมความหิว

ในการใช้ยาฉีดควบคุมความหิวในครั้งแรก แพทย์และพยาบาลจะเป็นผู้บอกรายละเอียดขั้นตอนการใช้ยา รวมถึงสาธิตวิธีการใช้ยาฉีดอย่างละเอียด ซึ่งแพทย์แนะนำให้ฉีดยาวันละครั้ง (แนะนำฉีดหลังมื้ออาหาร) โดยจะต้องฉีดในเวลาเดิมหรือใกล้เคียงกันในทุกวัน และตำแหน่งที่ฉีดคือ ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง หรือด้านหน้าของต้นแขนหรือต้นขา (ห้ามฉีดเข้าเส้นเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ)

ขนาดของยา

การเริ่มต้นใช้ยาครั้งแรกจะเริ่มต้นที่ 0.6 มิลลิกรัม ทุกวัน ๆ ละ 1 ครั้ง อย่างน้อย 1 สัปดาห์ และจะปรับยาเพิ่มขึ้นครั้งละ 0.6 มิลลิกรัมในแต่ละสัปดาห์ จนกว่าจะถึงขนาดยาที่แนะนำคือ 3.0 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง

ยาลดความอ้วนโรงพยาบาลยันฮี ของแท้ 100

อาการข้างเคียง

โดยส่วนใหญ่อาการที่เกิดขึ้นหลังฉีดยาได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือท้องผูก ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียงช่วงสัปดาห์แรก ๆ ที่ได้รับยา และอาการจะหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ เมื่อได้รับยาอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์หลังการใช้ยาฉีดควบคุมความหิว

หลังการใช้ยาในช่วงวันแรก ๆ คุณจะเริ่มรู้สึกอยากอาหารน้อยลง อิ่มไวและอิ่มนานขึ้น เมื่อคุมหิวได้นานขึ้นก็จะส่งผลให้ทานอาหารได้น้อยลงอย่างต่อเนื่อง และมีผลให้น้ำหนักลดลงตามด้วย

หากลืมฉีดยา…ทำอย่างไรดี?

  • หากลืมฉีดยาน้อยกว่า 12 ชั่วโมง สามารถฉีดยาได้ทันทีที่นึกได้
  • หากลืมฉีดยามากกว่า 12 ชั่วโมง ให้ฉีดยาให้วันถัดไปตามเวลาปกติ
  • ไม่ควรเพิ่มขนาดการฉีดยาเองเพื่อชดเชยยาที่ลืมฉีด

การเก็บรักษายา

  • ยาฉีดที่ยังไม่เคยเปิดใช้ให้เก็บในตู้เย็น (อุณหภูมิ 2ºC – 8ºC)
  • ยาฉีดหลังเปิดใช้ครั้งแรกแล้ว เก็บที่อุณหภูมิห้อง (อุณหภูมิต่ำกว่า 30ºC) ยามีอายุอยู่ได้ 1 เดือน
  • ห้ามแช่ยาฉีดในช่องแช่แข็ง
  • ควรสวมปลอกยาทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้งาน
  • ให้ใช้ยาฉีดแต่ละด้ามสำหรับผู้ป่วยรายเดียวเท่านั้น ไม่ควรใช้ร่วมกันถึงแม้จะเปลี่ยนหัวเข็มก็ตาม

การที่จะมีน้ำหนักและรูปร่างที่สมส่วนอย่างปลอดภัยโดยวิธีทางการแพทย์ นอกจากจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์แล้ว ก็จะต้องทำควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกายเป็นประจำ เท่านี้ก็จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างยั่งยืนซึ่งส่งผลดีกับสุขภาพแบบองค์รวมทั้งภายในและภายนอก